[爆卦]clavius meaning是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇clavius meaning鄉民發文沒有被收入到精華區:在clavius meaning這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 clavius產品中有6篇Facebook貼文,粉絲數超過18萬的網紅Engadget 中文版,也在其Facebook貼文中提到, NASA 確認了月球長年受光照的表面也有水分子存在 ---- FB 追蹤我們,按讚、搶先看! IG 搜尋 https://www.instagram.com/engadgetchinese/ TG 加入 https://t.me/engadgetchineserss ---- #科技 #Tech #...

 同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...

  • clavius 在 Engadget 中文版 Facebook 的最讚貼文

    2020-10-27 17:43:20
    有 18 人按讚

    NASA 確認了月球長年受光照的表面也有水分子存在
    ----
    FB 追蹤我們,按讚、搶先看!
    IG 搜尋 https://www.instagram.com/engadgetchinese/
    TG 加入 https://t.me/engadgetchineserss
    ----
    #科技 #Tech #新聞 #評測 #香港 #台灣

  • clavius 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳解答

    2020-10-27 05:57:10
    有 2,264 人按讚

    "ข่าวใหญ่ด้านอวกาศ : นาซาพบหลักฐานว่ามี "น้ำ" อยู่บนดวงจันทร์"

    หลังจากลุ้นกันว่า นาซ่าจะประกาศข่าวอะไรเมื่อคืน เกี่ยวกับการค้นพบครั้งใหม่ที่ "ดวงจันทร์" คำตอบที่เกินคาดก็คือ มีหลักฐานยืนยันอย่างเป็นทางการแล้วว่า บนดวงจันทร์ก็มี "น้ำ" อยู่เช่นกัน และจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการไปตั้งถิ่นฐานบนดวงจันทร์ในอนาคต

    ระบบ โซเฟีย หรือ Stratospheric Observatory for Infrared Astronomy (หอดูดาวที่ชั้นบรรยากาศระดับสตราโตสเฟียร์ เพื่อดาราศาสตร์แสงอินฟราเรด SOFIA โซเฟีย) ได้ยืนยันเป็นครั้งแรกว่า เจอน้ำ จากพื้นผิวดวงจันทร์ด้านที่ถูกแสงแดดส่องกระทบ การค้นพบนี้แสดงว่าอาจจะมีน้ำกระจายอยู่ทั่วไป ไม่ใช่มีแต่เฉพาะตรงบริเวณที่เป็นเงามืดหนาวเย็น-ไม่ถูกแดดส่อง เท่านั้น

    ระบบ SOFIA ซึ่งเป็นโครงการร่วมกันระหว่างนาซ่ากับศูนย์การบินอวกาศประเทศเยอรมนี ได้ตรวจพบโมเลกุลของน้ำที่เครเตอร์ (หลุมอุกกาบาต) เคลวิอุส Clavius Crater ซึ่งเป็นหนึ่งในเครเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดบนดวงจันทร์ที่มองเห็นจากโลก โดยอยู่ทางซีกล่างของดวงจันทร์

    ก่อนหน้านี้ เคยมีการค้นพบโมเลกุลของธาตุไฮโดรเจนบ้างแล้ว แต่ไม่อาจจะแยกแยะได้ว่าเป็นน้ำ (H2O) หรือเป็นโมเลกุลของไฮดรอกซิล (hydroxyl, OH) กันแน่

    แต่ข้อมูลจากการค้นพบนี้ระบุว่า ที่สมดังกล่าวมีน้ำอยู่ในความเข้มข้น 100 - 412 ส่วนในล้านส่วน เทียบเท่ากับมีน้ำขวด ประมาณ 355 มิลลิลิตร ฝังอยู่ในดินขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร กระจายอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ ซึ่งผลการค้นพบเหล่านี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Astronomy

    หรือถ้าจะเปรียบเทียบกันง่ายๆ ทะเลทรายซาฮาร่านั้นมีน้ำอยู่มากกว่าที่ SOFIA ตรวจพบจากดินของดวงจันทร์ประมาณ 100 เท่า แต่ถึงแม้จะมีน้อย การค้นพบครั้งนี้ได้นำไปสู่คำถามใหญ่ว่า มีน้ำเกิดขึ้นบนดวงจันทร์ได้อย่างไร และทำไมมันถึงยังคงอยู่บนพื้นผิวที่ไม่มีอากาศเช่นนั้น

    น้ำ เป็นทรัพยากรอันมีค่ายิ่งยวดในอากาศ แล้วเป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิต (ในรูปแบบที่เรารู้จัก) ถึงแม้ว่าเรายังไม่รู้ว่าจะสามารถนำน้ำที่ SOFIA ค้นพบนี้มาใช้ได้โดยง่ายหรือไม่ แต่ก็หวังว่ามันจะมีส่วนช่วยเหลือโครงการ Artemis อาร์ทีมิส ของนาซ่า ที่จะส่งนักบินอวกาศหญิงคนแรก และนักบินอวกาศชายคนต่อไป ไปลงยังดวงจันทร์อีกครั้งในปี ค.ศ. 2024 นี้ เพื่อเตรียมการในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์บนดวงจันทร์อย่างยั่งยืนในช่วงปลายของทศวรรษนี้

    ผลที่ได้จาก SOFIA นี้ เป็นการต่อยอดผลการศึกษาในอดีตถึงการค้นหาน้ำบนดวงจันทร์ เช่น เมื่อนักบินอวกาศของยานอพอลโล Apollo ได้กลับมาจากดวงจันทร์เมื่อปี 1969 นั้นเป็นที่เชื่อกันว่าดวงจันทร์แห้งสนิท ไม่มีน้ำอยู่เลย

    แต่โครงการอื่นๆ ที่ไปโคจรหรือลงกระแทกบนดวงจันทร์ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เช่นโครงการ Lunar Crater Observation and Sensing Satellite ได้ยืนยันว่าพบน้ำแข็งที่อยู่อย่างถาวร ในหลุมเครเตอร์ซึ่งไม่ถูกแสงแดดส่อง แถวๆ ขั้วโลกของดวงจันทร์

    หลังจากนั้น ยานอวกาศอื่นๆ เช่น โครงการแคสซินี่ Cassini และโครงการ Deep Impact ของนาซ่า รวมไปถึงโครงการ จันทรายาน-1 Chandrayaan-1 ขององค์การอวกาศประเทศอินเดีย ตลอดจนระบบกล้องโทรทัศน์แสงอินฟราเรด (Infrared Telescope Facility) บนภาคพื้นดินของนาซ่า ได้ศึกษาพื้นผิวบนดวงจันทร์และพบหลักฐานของโมเลกุลที่มีไฮโดรเจนในบริเวณที่มีแสงส่องกระทบมากกว่าที่ขั้วของดวงจันทร์ แต่โครงการเหล่านั้นยังไม่สามารถจะแยกแยะได้อย่างชัดเจนว่า มันอยู่ในรูปของ H2O หรือ OH กันแน่

    ระบบ SOFIA ทำให้เรามีวิธีการใหม่ที่จะใช้ศึกษาดวงจันทร์ ด้วยการนำเอาเครื่องบินโบอิ้ง 747SP ที่ติดกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 106 นิ้ว (2.7 เมตร) ขึ้นบินที่ความสูง 45,000 ฟุต (13.716 กิโลเมตร) เพื่อให้สูงเกินกว่าไอน้ำถึง 99% ของชั้นบรรยากาศโลก เราจะได้เห็นภาพของอวกาศในช่วงแสงอินฟราเรดได้ดีขึ้น ซึ่งจากกล้องโทรทัศน์พิเศษ ที่ชื่อว่า Faint Object infraRed CAmera for the SOFIA Telescope (FORCAST ฟอร์แคสต์) ระบบ SOFIA สามารถตรวจจับความยาวคลื่นที่จำเพาะต่อโมเลกุลของน้ำ คือ 6.1 ไมครอนได้ แล้วจึงทำให้สามารถค้นพบน้ำจากเครเตอร์เครเวียสได้ในที่สุด

    คำถามที่ตามมาก็คือ ปกติแล้ว เมื่อไม่มีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่น น้ำที่อยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์สาดส่องก็ควรจะสลายหายไปเมื่อถูกแสงอาทิตย์สาดส่อง แล้วอะไรล่ะที่ทำให้มีน้ำเกิดขึ้นและถูกเก็บเอาไว้บนดวงจันทร์ได้

    อาจเป็นไปได้ว่า พวกอุกกาบาตขนาดจิ๋ว (micrometeorite) จำนวนมากที่ตกลงสู่ผิวดวงจันทร์เหมือนห่าฝน ได้นำเอาน้ำปริมาณเล็กน้อยมาด้วย ทำให้เกิดการสะสมของน้ำบนพื้นผิวของดวงจันทร์หลังจากตกกระทบ

    หรืออาจจะเกิดจาก 2 ขั้นตอน ที่กระแสลมสุริยะ (solar wind) จากดวงอาทิตย์ได้นำเอาไฮโดรเจนมาสู่พื้นผิวดวงจันทร์ แล้วเกิดปฏิกิริยาเคมีกับแร่ธาตุในดิน ที่มีออกซิเจนอยู่ เกิดเป็นโมเลกุลของไฮดรอดซิลเกิดขึ้น จากนั้นรังสีที่เกิดขึ้นจากห่าฝนของอุกกาบาตจิ๋วที่มาปะทะดวงจันทร์ อาจจะสามารถเปลี่ยนไฮดรอกซิลให้กลายเป็นน้ำได้

    แล้วน้ำถูกกับเก็บอยู่บนนั้นได้อย่างไร ? น้ำอาจจะถูกกักเก็บอยู่ในโครงสร้างขนาดจิ๋วคล้ายเม็ดลูกปัดที่อยู่ในดิน ซึ่งเกิดขึ้นจากความร้อนสูงเมื่ออุกกาบาตจิ๋วตกกระทบดวงจันทร์ หรืออาจเป็นไปได้ว่าน้ำนั้นแทรกตัวอยู่ระหว่างเม็ดดินทรายบนดวงจันทร์ และถูกปกป้องเอาไว้จากแสงอาทิตย์ (ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ จะทำให้เอาน้ำออกมาใช้ได้ง่ายกว่ากรณีที่น้ำถูกจับอยู่ในโครงสร้างคล้ายลูกปัด)

    จริงๆ แล้ว SOFIA ถูกออกแบบมาให้ใช้ในการศึกษาเทหวัตถุที่อยู่ไกลโพ้นและมีแสงน้อยมาก ดังเช่น หลุมดำ กระจุกดาว และกาแล็คซี่ โดยอาศัยดวงดาวต่างๆ เป็นเครื่องนำทาง ระบุตำแหน่งในการทำให้กล้องอยู่นิ่ง

    แต่การนำมาศึกษาดวงจันทร์นั้น เป็นเรื่องที่ยากลำบาก เพราะมันอยู่ใกล้โลกและมีแสงสว่างมาก ทำให้ใช้ดวงดาวต่างๆ เป็นเครื่องบอกตำแหน่งไม่ได้ง่ายๆ จึงนำไปสู่การทดลองหาวิธีบินศึกษาดวงจันทร์เป็นครั้งแรก ในเดือนสิงหาคม ปี 2018 แต่ผลที่ได้ออกมานี้ (ที่ค้นพบน้ำ) เกินกว่าที่คาดไปมหาศาลมากนัก

    ในเที่ยวบินรอบต่อๆ ไปของ SOFIA จะพยายามค้นหาน้ำบนผิวดวงจันทร์บริเวณอื่นๆ และในช่วงเวลาข้างขึ้นข้างแรมอื่นๆ เพื่อศึกษาเพิ่มว่า น้ำถูกสร้างขึ้น เก็บไว้ และเคลื่อนที่ไปบนดวงจันทร์ได้อย่างไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปรวมกับโครงการศึกษาดวงจันทร์อื่นๆ ในอนาคต เช่น ยานโรเวอร์ Volatiles Investigating Polar Exploration Rover (VIPER ไวเปอร์) เพื่อสร้างแผนภูมิทรัพยากรน้ำบนดวงจันทร์ ขึ้นเป็นครั้งแรก สำหรับการสำรวจอวกาศของมนุษย์ในอนาคต

    ในวารสาร Nature Astronomy ฉบับเดียวกันนี้ ยังมีการตีพิมพ์บทความวิจัยที่ใช้แบบจำลองต่างๆ ทางทฤษฎี และข้อมูลจากยาน Lunar Reconnaissance Orbiter ของนาซ่า มาระบุว่ามีน้ำถูกกักเก็บเอาไว้ภายในเงามืดเล็กๆ ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำระดับเยือกแข็ง กระจายอยู่ทั่วดวงจันทร์ มากกว่าที่เคยคาดกันไว้

    การค้นพบน้ำบนดวงจันทร์นี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นที่ทราบดีว่า น้ำเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามาก ถ้าเราสามารถนำน้ำบนดวงจันทร์มาใช้ได้ ก็แปลว่าในการไปสำรวจดวงจันทร์ครั้งต่อๆ ไป เราก็จะจำเป็นต้องขนน้ำไปจากโลกด้วย ในปริมาณที่น้อยลง แล้วทำให้เราสามารถขนอุปกรณ์ไปศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ได้มากขึ้น

    ดูคลิปวีดีโอประกอบการค้นพบ ได้ที่ https://go.nasa.gov/2TnDWSd

    ภาพและข้อมูลจาก https://www.nasa.gov/press-release/nasa-s-sofia-discovers-water-on-sunlit-surface-of-moon/

  • clavius 在 Drama-addict Facebook 的最佳解答

    2020-10-27 01:17:14
    有 1,864 人按讚


    รุ่นเราจะอยูทันเห็นโคโลนี่ดวงจันทร์มั้ยหนอ

    >>BREAKING NEWS : SOFIA พบน้ำบนพื้นผิวด้านสว่างของดวงจันทร์

    เมื่อเวลาประมาณ 23:00 น. ของวันที่ 26 ตุลาคม 2563 ตามเวลาประเทศไทย NASA แถลงข่าว การค้นพบน้ำบนพื้นผิวด้านสว่างของดวงจันทร์โดยกล้องโทรทรรศน์ในช่วงอินฟราเรดไกลบนหอสังเกตการณ์ SOFIA

    >> ทำความรู้จักหอสังเกตการณ์ SOFIA

    SOFIA (Stratospheric Observatory for Infrared Astronomy) เป็นหอสังเกตการณ์ลอยฟ้าเพียงลำเดียวที่ยังประจำการอยู่ โดยเครื่องบินจัมโบ้เจ็ท Boeing 747SP ลำนี้ ได้ถูกดัดแปลงเพื่อบรรทุกกล้องโทรทรรศน์ขนาดมหึมา 2.7 เมตร (ใหญ่กว่ากล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร ของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน) หอดูดาวบินได้นี้จะทำงานที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลระหว่าง 38,000-45,000 ฟุต ซึ่งทำให้อยู่สูงกว่าชั้นบรรยากาศที่บดบังแสงในช่วงคลื่นอินฟราเรดไปมากกว่า 99 เปอร์เซนต์

    SOFIA นี้เป็นความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารการบินอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NASA - National Aeronautics and Space Administration) และศูนย์อวกาศเยอรมนี (German Aerospace Center - DLR)

    และด้วยความที่ SOFIA นั้นเป็นหอสังเกตการณ์ลอยฟ้า มันจึงสามารถเดินทางไปได้ทุกที่บนโลก และสามารถเดินทางไปสังเกตการณ์จากมหาสมุทรหรือที่ห่างไกล เพื่อสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเหนือน่านน้ำที่ไม่มีกล้องโทรทรรศน์ หรือผู้ใดอาศัยอยู่ได้ เช่น ในวันที่ 29 มิถุนายน 2015 ดาวพลูโตได้โคจรผ่านหน้าดาวฤกษ์ เงาของมันได้พาดผ่านเหนือมหาสมุทรใกล้ประเทศนิวซีแลนด์ SOFIA ได้ทำการศึกษาและสามารถศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวพลูโตเอาไว้ได้

    นอกจากนี้ การที่ SOFIA นั้นต้องลงจอดบนพื้นดินอยู่เป็นประจำ ทำให้การดูแลรักษาอุปกรณ์นั้นสามารถทำได้ง่ายกว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศมาก และสามารถปรับเปลี่ยนและดัดแปลงอุปกรณ์ให้เหมาะกับสถานการณ์ได้

    >> การสังเกตการณ์ในช่วงคลื่นอินฟราเรด

    ตามปกติแล้ว รังสีอินฟราเรดที่มาจากนอกโลกนั้น ส่วนมากจะถูกดูดกลืนโดยชั้นบรรยากาศ โดยเฉพาะจากความชื้นในชั้นบรรยากาศ การสังเกตการณ์จากภาคพื้นในช่วงคลื่นนี้ จึงสามารถทำได้เพียงบนยอดภูเขาสูง และ/หรือในทะเลทรายอันแห้งแล้ง การที่ SOFIA บินอยู่ในชั้นบรรยากาศที่สูง จึงทำให้สามารถสังเกตการณ์ในช่วงคลื่นที่กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินทั่วไปไม่สามารถสังเกตการณ์ได้

    วัตถุท้องฟ้าเกือบทุกชนิดมีการแผ่รังสีในช่วงคลื่นรังสีอินฟราเรด ไม่เพียงเท่านั้น รังสีอินฟราเรดนั้นจะสามารถทะลุผ่านกลุ่มฝุ่นละอองได้ดี ทำให้การศึกษาในช่วงคลื่นนี้สามารถทำให้เรามองเห็นดาวที่ถูกบดบังโดยแถบฝุ่นหนาได้

    สิ่งที่พิเศษอย่างหนึ่งเกี่ยวกับช่วงคลื่นอินฟราเรด ก็คือในการศึกษาสเปกตรัมของมัน โมเลกุลทุกโมเลกุลที่มีการหมุน จะสามารถเปลี่ยนพลังงานในการหมุนได้โดยการดูดกลืนหรือปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา คลื่นที่ตรงกับสเปกตรัมในการหมุนของโมเลกุลทั่ว ๆ ไปนั้นอยู่ในช่วงคลื่นอินฟราเรดถึงไมโครเวฟพอดี การศึกษาสเปกตรัมในช่วงอินฟราเรดจึงสามารถบอกถึงชนิดของโมเลกุลที่พบอยู่ในวัตถุท้องฟ้าที่ห่างไกลออกไปได้

    ตัวอย่างที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งก็คือโมเลกุลของน้ำ เนื่องจากโมเลกุลของน้ำประกอบขึ้นด้วยอะตอมของไฮโดรเจนสองอะตอมที่ติดอยู่กับอะตอมของออกซิเจนหนึ่งอะตอมด้วยมุม 104.5 องศา ทำให้โมเลกุลของน้ำมีรูปแบบการหมุนที่แตกต่างออกไป จึงสามารถแผ่สเปกตรัมในการหมุนได้ทั้งในช่วงอินฟราเรด และช่วงไมโครเวฟ สเปกตรัมการหมุนของน้ำในช่วงคลื่นไมโครเวฟนี้เอง ที่เราใช้ในการอุ่นอาหารผ่านทางเตาไมโครเวฟ เนื่องจากเตาไมโครเวฟนั้นปล่อยรังสีที่ตรงกับสเปกตรัมการหมุนของน้ำ โมเลกุลของน้ำจึงสามารถดูดกลืนรังสีไปแล้วเปลี่ยนไปเป็นการหมุนที่เร็วขึ้น ทำให้มีอุณหภูมิที่สูงขึ้น

    >> น้ำบนพื้นผิวของดวงจันทร์

    ก่อนหน้านี้เราเคยพบน้ำในหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ที่ไม่มีแสงแดดส่องไปถึง แต่เรายังไม่เคยมีหลักฐานว่าเราสามารถพบน้ำได้นอกไปจากบริเวณหลุมอุกกาบาตที่มืดมิดเหล่านั้น นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าการศึกษาก่อนหน้านี้อาจมีการค้นพบของหมู่ไฮดรอกซิล (OH) แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ถึงการมีอยู่ของน้ำในพื้นผิวด้านสว่างของดวงจันทร์

    แต่การศึกษาของ SOFIA ทำให้ค้นพบสเปกตรัมการดูดกลืนที่เป็นลักษณะเฉพาะของโมเลกุลของน้ำในหลุมอุกกาบาต Clavius ซึ่งเป็นหลุมอุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดหลุมหนึ่งที่สามารถเห็นได้จากโลก และอยู่ในบริเวณที่แสงอาทิตย์ส่องถึง ถือเป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่าแม้กระทั่งบนพื้นผิวด้านสว่างของดวงจันทร์ที่ถูกส่องสว่างโดยแสงอันแรงจ้าจากดวงอาทิตย์ก็สามารถพบน้ำได้เช่นกัน

    ด้านสว่างของดวงจันทร์นั้นสามารถมีอุณหภูมิพื้นผิวสูงได้ถึง 127 องศาเซลเซียส (เทียบกับในเงาที่สามารถต่ำได้ถึง -173 องศาเซลเซียส) แต่เดิมเราจึงไม่คาดกันว่าจะมีน้ำหลงเหลืออยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ด้านที่แสงแดดส่องถึง แต่การค้นพบนี้ ยืนยันว่าไม่เพียงแต่จะสามารถค้นพบน้ำบนดวงจันทร์ได้เท่านั้น แต่เราค้นพบว่าบนดวงจันทร์มีน้ำถึง 100 ถึง 412 ppm เทียบเท่ากับน้ำหนึ่งขวด ต่อดินดวงจันทร์ทุก ๆ หนึ่งลูกบาศก์เมตร

    การค้นพบนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้เราค้นพบว่าดวงจันทร์นั้นมีน้ำมากกว่าที่เราคาดคิดเอาไว้แต่เดิม แต่ยังเป็นการท้าทายความเข้าใจเกี่ยวกับกำเนิดของน้ำบนวัตถุในระบบสุริยะ และยังอาจบ่งชี้ว่าน้ำนั้น อาจจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่านั้นมากในเอกภพ ความเป็นไปได้หนึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากอุกกาบาตที่บรรทุกน้ำมาลงยังบนดวงจันทร์ แต่อีกความเป็นไปได้หนึ่งคืออาจจะเกิดจากการรวมตัวกันระหว่างหมู่ไฮดรอกซิล กับหมู่ไฮดรอกซิลด้วยกันอีกหมู่ หรือจากไฮโดรเจนที่มาจากดวงอาทิตย์ เกิดขึ้นมาเป็นน้ำอย่างต่อเนื่องบนพื้นผิวดวงจันทร์

    คำถามที่น่าสนใจถัดไปก็คือ น้ำที่ถูกผลิตขึ้นมานั้นสะสมขึ้นมาในปริมาณที่พบอยู่ได้อย่างไร ความเป็นไปได้ก็คือโมเลกุลของน้ำนั้นอาจจะไปแทรกตัวอยู่ระหว่างเม็ดดินบนดวงจันทร์ และถูกปกป้องเอาไว้จากแสงอาทิตย์

    นี่เป็นครั้งแรกที่ SOFIA ได้หันกล้องไปยังดวงจันทร์ ตามปกติแล้ว SOFIA จะทำการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าจาง ๆ ที่ห่างไกลออกไปเป็นอย่างมาก เช่น กาแล็กซี หลุมดำ หรือกระจุกดาว และการศึกษาดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่สว่างขนาดนี้ และปราศจากซึ่งดาวฤกษ์ที่ระบบกล้องจะสามารถติดตามตำแหน่งและการเล็งได้นั้นเป็นสิ่งที่ไม่เคยทำกันมาก่อน การศึกษาที่นำไปสู่การค้นพบนี้ แท้จริงแล้วเป็นเพียงการ "ทดสอบระบบ" เพื่อจะตรวจสอบว่าระบบกล้องของ SOFIA นั้นจะสามารถติดตามตำแหน่งของดวงจันทร์ได้หรือไม่

    เมื่อการทดสอบนำไปสู่การค้นพบเช่นนี้แล้ว แน่นอนว่านี่ย่อมจะต้องนำไปสู่การสังเกตการณ์ดวงจันทร์เพิ่มเติมในอนาคต และอาจจะนำไปสู่การทำ "แผนที่" ของน้ำบนพื้นผิวของดวงจันทร์ และดาวเคราะห์น้อยดวงอื่น ๆ ในอนาคต

    การพบน้ำบนดวงจันทร์นั้นมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับโครงการการส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ในอนาคต เช่นโครงการ Artemis ของนาซา ที่วางแผนจะส่งมนุษย์กลับไปเหยียบบนดวงจันทร์อีกครั้ง เนื่องจากน้ำเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ไม่เพียงต่อการดำรงอยู่ของชีวิต แต่ยังอาจจะสามารถนำไปเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานอวกาศได้

    นอกจากนี้ หากบนดวงจันทร์มีน้ำในปริมาณที่มากพอ นั่นหมายความว่าดวงจันทร์อาจจะเป็นจุดหมายสำคัญของโครงการสำรวจอวกาศในอนาคต ที่อาจจะต้องมาเติมเสบียงในการเดินทางต่อไปยังห้วงอวกาศที่ไกลออกไป

    เรียบเรียง : ดร. มติพล ตั้งมติธรรม - ผู้เชี่ยวชาญดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

    อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
    [1] https://www.nasa.gov/…/nasa-s-sofia-discovers-water-on-sunl…

  • clavius 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文

    2021-10-01 13:19:08

  • clavius 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文

    2021-10-01 13:10:45

  • clavius 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答

    2021-10-01 13:09:56