[爆卦]Nitrile rubber是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇Nitrile rubber鄉民發文沒有被收入到精華區:在Nitrile rubber這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 nitrile產品中有8篇Facebook貼文,粉絲數超過178萬的網紅ลงทุนแมน,也在其Facebook貼文中提到, ทำไม IRPC ต้องปรับตัวเป็น “องค์กรนวัตกรรม” IRPC x ลงทุนแมน ในโลกของการทำธุรกิจ เรามักเห็นนวัตกรรมเกิดมาจากการต่อยอดความถนัดในแต่ละธุรกิจนั้น สำหรับ IR...

 同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過15萬的網紅umino ASMR,也在其Youtube影片中提到,後半は部分的に音を重ねました。 SR3D版 / https://youtu.be/UsPQImdvh8s イヤホンまたはヘッドホンをつけてお楽しみください。もし動画が良かったら高評価を押していただけると励みになります。 ◎サブチャンネル https://goo.gl/C7yDgn ◎SNS...

nitrile 在 ᴄᴇʟɪɴᴀ ʜᴜʏɴʜ Instagram 的最佳貼文

2020-09-07 20:41:45

covid essentials: sparkle dust and nitrile gloves...

  • nitrile 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文

    2021-02-08 09:59:51
    有 2,286 人按讚

    ทำไม IRPC ต้องปรับตัวเป็น “องค์กรนวัตกรรม”
    IRPC x ลงทุนแมน
    ในโลกของการทำธุรกิจ เรามักเห็นนวัตกรรมเกิดมาจากการต่อยอดความถนัดในแต่ละธุรกิจนั้น
    สำหรับ IRPC ที่มีความถนัดในธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
    ก็ได้ปรับเพื่อเปลี่ยนเป็นองค์กรนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม

    โดยเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับธุรกิจหลัก และต่อยอดสู่ธุรกิจใหม่
    รวมถึงตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยการพัฒนาระบบดิจิทัลเทคโนโลยี และระบบปฏิบัติการที่ทันสมัย เข้ามาร่วมใช้ในขั้นตอนการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

    เรื่องราวของการปรับเปลี่ยนเป็น “องค์กรนวัตกรรม” เป็นอย่างไร?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

    บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือเรียกสั้นๆ ว่า IRPC
    คือ ธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    โดยมีสัดส่วนรายได้ แบ่งเป็น 3 กลุ่มธุรกิจ คือ
    71% มาจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียม เช่น น้ำมัน, ก๊าซ, ยางมะตอย
    28% มาจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี เช่น เม็ดพลาสติก
    1% มาจากกลุ่มธุรกิจสนับสนุนอื่น เช่น ท่าเรือน้ำลึก, คลังน้ำมัน

    จากตัวเลขนี้ เราจะเห็นได้ว่า รายได้หลักของ IRPC มาจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียม

    แต่ความน่าสนใจ อยู่ที่ธุรกิจปิโตรเคมี ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
    โดยเฉพาะธุรกิจผลิตเม็ดพลาสติก ที่สามารถนำไปผลิตเป็นชิ้นส่วนของยานยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, อุปกรณ์การแพทย์ และอื่นๆ อีกมากมาย

    จุดนี้เอง คือโอกาสทางธุรกิจครั้งสำคัญของ IRPC
    กลยุทธ์ของ IRPC คือ การใช้ความรู้และประสบการณ์กว่า 40 ปี ผนวกเข้ากับเทคโนโลยี เพื่อพัฒนานวัตกรรม ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

    ซึ่ง IRPC เลือกพัฒนาตัวเองให้เป็นองค์กรนวัตกรรมในทุกๆ ด้าน
    ทั้งด้านการผลิต, การขาย, การจัดซื้อจัดจ้าง, การบริหารจัดการบุคคล และโดยเฉพาะด้านการวิจัยและพัฒนา

    โดยการทำงานภายในองค์กร ได้นำระบบดิจิทัลต่างๆ เข้ามาช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น

    ในด้านการปฏิบัติการ มีการใช้ระบบแสดงผลตัวชี้วัดแบบ Real-time ที่แสดงค่าเป็นตัวเงิน และสามารถคาดการณ์การซ่อมบำรุงล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ

    ด้านซัพพลายเชน มีระบบจัดการข้อมูลตั้งแต่ Crude Supply ไปจนถึงการจัดส่งสินค้า

    ด้านการตลาด ได้นำ Big Data มาใช้วิเคราะห์ความต้องการของตลาด และติดตาม Inventory ของลูกค้าเพื่อนำเสนอสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็ว

    ด้านงานจัดซื้อจัดจ้าง ใช้ระบบบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนให้กับบริษัท

    ด้านการเงิน มีการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ ทำให้ทุกธุรกรรมมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทั้งลูกค้าและคู่ค้า

    รวมถึงด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ก็มีเว็บไซต์ “PLASTKET.COM” สำหรับให้ผู้ซื้อและผู้ขายในอุตสาหกรรมพลาสติกทำธุรกรรมได้อย่างสะดวกรวดเร็วทุกที่ทุกเวลา

    นอกจากนี้ IRPC ยังมีศูนย์นวัตกรรม ซึ่งภายในมีห้องวิจัยแบบยืดหยุ่น หรือที่เรียกว่า Flexi Lab ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้ และมีระบบสนับสนุนการทำงาน พร้อมพื้นที่อำนวยความสะดวกให้เกิดการทำงานร่วมกัน

    ทำให้ห้องวิจัยนี้ กลายเป็นศูนย์กลางให้กับนักวิจัย ลูกค้า ฝ่ายขาย และส่วนผลิต ได้เข้ามาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และช่วยกันคิดค้นนวัตกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม และตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งรูปแบบ B2B ไปจนถึงลูกค้าแบบ B2C

    โดยตัวอย่างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ที่ประสบความสำเร็จของ IPRC ก็มีตั้งแต่ เม็ดพลาสติก HDPE สีเทา สำหรับทุ่นโซลาร์ลอยน้ำ,เม็ดพลาสติกเกรดพิเศษ สำหรับรถ EV, เม็ดพลาสติก สำหรับชุด PPE และอุปกรณ์ทางการแพทย์ และหน้ากาก Graphene ที่ป้องกันแบคทีเรียและ PM2.5 เป็นต้น

    ซึ่งหากในอนาคต ยิ่งมีความต้องการของนวัตกรรมเชิงพาณิชย์เหล่านี้มากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ของ IRPC ด้วย

    คำถามต่อมาก็คือ นอกจากเรื่อง โอกาสทางธุรกิจแล้ว IRPC ยังให้ความสำคัญกับเรื่องใดอีกบ้าง?

    เพื่อให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน IRPC จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรม ที่สามารถสร้างสมดุลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

    เช่น นวัตกรรมพลาสติกเพื่อคนพิการ ที่ได้รับรางวัล นวัตกรรมแห่งชาติ ปี 2563
    ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง IRPC และ มูลนิธิขาเทียม เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการ

    รวมถึงการขยายธุรกิจไปยังปิโตรเคมีปลายน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Smart Material กลุ่มอุปกรณ์การแพทย์ จึงมุ่งพัฒนาและผลิตผ้า Melt Blown แห่งแรกของไทย ซึ่งใช้ผลิตชั้นกรองในหน้ากากอนามัย, หน้ากาก N95, หน้ากากทางการแพทย์, ชุดกาวน์ ฯลฯ รวมถึง Nitrile Butadiene Latex (NBL) ที่ใช้ทำถุงมือทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มเสถียรภาพด้านสาธารณสุขของประเทศ

    แม้ IRPC จะเป็นองค์กรที่มีความถนัดด้านปิโตรเลียม และปิโตรเคมีภัณฑ์ แต่เมื่อมองไปยังความต้องการของผู้บริโภค และสังคม IRPC ก็สามารถต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมในด้านอื่นๆ ได้เหมือนกัน

    ทั้งหมดนี้ คงทำให้เห็นแล้วว่า IRPC ได้ปรับตัวเป็น “องค์กรนวัตกรรม”
    โดยมีเจตนารมย์ในการเป็น “องค์กรนวัตกรรมยั่งยืน”
    เพื่อให้องค์กรและสังคมไทยสามารถเติบโตอย่างยั่งยืน ไปพร้อมๆ กัน..

    References
    -รายงานประจำปี 2562 ของ IRPC
    -เอกสารประชาสัมพันธ์ของ IRPC

  • nitrile 在 故事:寫給所有人的歷史 Facebook 的最佳貼文

    2020-09-08 15:00:02
    有 1,116 人按讚

    說到金屬材質的文物,例如:銅香爐、錫杯、金瓶……等等,其實也是相當常見的東西,只是大家總覺得金屬好像比較能保存,而且不太需要照顧。
     
    不不不,看來無堅不摧的金屬,其實沒那麼堅強,除了常見的髒污之外,製造時的漆膜不完整,或者長期暴露在高溫高濕環境下造成的鏽蝕、氧化等問題,都會讓本該閃亮亮、金爍爍的文物失去光彩。
     
    由於金屬文物的清潔需要使用一些特殊溶劑,一般不是修護專家的我們,只要用清水擦去表面的髒污放好就 ok 了。

    而清潔保養與存放文物時,不同金屬成分的文物應該分開存放,千萬不要使出銅盆裝錫碗、金香爐疊銀杯之類令人崩潰的收納術,避免器物之間的互相碰撞、磨損。
     
    另外,清潔工具也要分別使用,以免清潔後的髒污從這處黏到那處,原本沒事的也出事了。
     
    除此之外,金屬文物也很怕摔,移動、持拿的時候務必小心,不要跟旁人打打鬧鬧結果器物受傷、人也受傷。
     
    最後,要拿文物的時候千萬不要用手抓,因為皮膚中的鹽分,可能加速腐蝕金屬,請穿戴特製的丁腈手套(Nitrile Gloves)再去接觸文物喔~
     
    ★本文與 臺南市文化資產管理處 合作刊登 #臺南古JOB

  • nitrile 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文

    2020-06-11 17:59:19
    有 3,215 人按讚

    ลงทุนแมน x ศรีตรังโกลฟส์
    ส่องธุรกิจ ‘ศรีตรังโกลฟส์’ ผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่ เติบโตในวันที่เศรษฐกิจผันผวน

    ในวิกฤติย่อมมีโอกาส…
    สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 อาจทำให้บางธุรกิจต้องปิดตัว
    แต่บางธุรกิจเป็นโอกาสเร่งผลิตสินค้ารองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น

    เช่นเดียวกับสินค้าถุงมือยางที่กลายเป็นสิ่งที่ผู้คนต้องการเป็นอย่างมากในช่วงเวลานี้
    ทั้งในทางวงการแพทย์ สถานเสริมความงาม อุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ
    ส่งผลให้ถุงมือยางได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เสมือนเป็นอวัยวะที่ 33

    และในประเทศไทย ก็มีผู้ประกอบการที่ขึ้นแท่นผลิตและจำหน่ายถุงมือยางอยู่ในระดับเบอร์ต้นของโลก
    และประสบความสำเร็จจากการส่งออกต่างประเทศ
    เรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

    บริษัทผลิตถุงมือยางรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก มีชื่อว่า บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT
    มีสินค้าที่ผลิตและจัดจำหน่ายอยู่ 2 อย่าง คือ ถุงมือยางธรรมชาติ (Latex Glove) ที่ยืดหยุ่นสูง สวมใส่ง่าย และถุงมือยางสังเคราะห์ (Nitrile Glove) ผลิตจากน้ำยางไนไตรล์ ซึ่งเป็นน้ำยางสังเคราะห์ ทนต่อความร้อนและสารเคมีได้ดีกว่ายางธรรมชาติ

    แต่กว่าความสำเร็จจะทำให้ STGT ยืนหนึ่งในวันนี้ได้
    STGT เคยเป็นบริษัทที่ไม่ได้มีกำลังการผลิตมากมาย
    เริ่มต้นด้วยทุนจดทะเบียนบริษัทฯ 200 ล้านบาท เมื่อปี 2532 ภายใต้ชื่อ บริษัท สยามเซมเพอร์เมด จำกัด
    มีฐานการผลิต 1 แห่ง คือโรงงานสาขาหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีเพียง 4 สายการผลิตเท่านั้น

    กระทั่งอีก 9 ปีต่อมา บริษัทฯ เล็งเห็นโอกาสในการลงทุนในตลาดต่างประเทศ
    จึงจัดตั้ง Sempermed USA, Inc ขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทำธุรกิจขายถุงมือยางในสหรัฐอเมริกา

    และนอกจากจะบุกเบิกตลาดแถบตะวันตกแล้ว ยังรุกเข้าลงทุนในตลาดแถบตะวันออกอย่างต่อเนื่องด้วย
    โดยเข้าลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 100 ใน Shanghai Sempermed Glove Sales Co., Ltd . ในประเทศจีน เพื่อทำธุรกิจผลิตและขายถุงมือไวนิลในประเทศจีน

    การลงทุนด้วยการมุ่งเจาะตลาดต่างประเทศ ได้สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของผู้บริหารที่ต้องการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นการสร้างการรับรู้ของตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล

    ในปี 2556 STGT ยังได้จัดตั้งโรงงานขึ้นใหม่อีก 1 แห่ง คือ โรงงานสาขาสุราษฎร์ธานี ที่มีสายการผลิตครบ 14 สายการผลิต

    จนมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อบริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ และเป็นผู้ผลิตน้ำยางข้นสำหรับการผลิตถุงมือยาง เข้าซื้อหุ้นในบริษัท สยามเซมเพอร์เมด และเปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อปี 2560

    หลังจากนั้นเกิดพัฒนาการที่สำคัญคือ บริษัท STA ได้เข้าลงทุนในบริษัท ไทยกอง จำกัด (มหาชน) หรือ TK ที่ถือหุ้นโดยบริษัท ไทยกองกรุ๊ป จำกัด หรือ TKG ร้อยละ 95 โดยวิธีการควบรวมบริษัทระหว่าง STGT กับบริษัท TK เพื่อให้บริษัทฯ เป็นบริษัทหลัก (Flagship Company) ของกลุ่ม STA ในการประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายถุงมือยาง

    นอกจากนี้ยังได้มีการปรับโครงสร้างภายในองค์กร โดย STGT ได้นำบริษัทผู้จัดจำหน่ายถุงมือยาง ได้แก่ บริษัท SDME และ STU ที่เดิมจัดตั้งเพื่อทำธุรกิจขายถุงมือในประเทศจีนและสหรัฐฯ เมื่อปี 2541 ช่วงที่บุกเบิกในตลาดต่างประเทศใหม่ๆ มาอยู่ภายใต้การบริหารของ STGT

    เส้นทางของ STGT จึงมีแต่เดินหน้า และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากการมีพันธมิตรที่ดีเพื่อคอยสนับสนุนและจากการขยายฐานการผลิต

    ปัจจุบัน STGT ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมผลิตถุงมือยาง ที่บ่มเพาะประสบการณ์มาเป็นเวลากว่า 30 ปี เน้นการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นเลิศ โดยเพิ่มทุนจดทะเบียนใหม่เป็นจำนวน 1,434 ล้านบาท

    พร้อมทั้งให้การลงทุนในสายการผลิตต่อเนื่อง จัดตั้งโรงงานขึ้นใหม่อีก 1 แห่ง คือ โรงงานสาขาตรัง
    รวมการจัดตั้งโรงงานของศรีตรังโกลฟส์ในตอนนี้มีอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ โรงงานสาขาหาดใหญ่ โรงงานสาขาสุราษฎร์ธานีและโรงงานสาขาตรัง

    โดย STGT ได้ทำการขยายกำลังผลิตติดตั้งของโรงงานสาขาหาดใหญ่ และโรงงานสาขาตรัง ซึ่ง ณ ปัจจุบัน STGT มีกำลังการผลิตติดตั้งรวมประมาณ 32,619 ล้านชิ้นต่อปี (ข้อมูล ณ 31 มีนาคม 2563) และยังมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตติดตั้งอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาความเป็นผู้นำในประเทศไทย

    หากเราวิเคราะห์ถึงปัจจัยการเติบโตของบริษัทฯ ที่มีเสถียรภาพ และผลิต จัดจำหน่ายสินค้าออกมารองรับความต้องการของผู้บริโภค
    คงต้องมองไปที่การลงทุนสร้างโรงงานแห่งใหม่ ที่เน้นนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ อย่างการผลิตแบบอัตโนมัติ และระบบ IoT มาใช้เป็นตัวซัพพอร์ต ทำให้ผลิตสินค้าได้รวดเร็วขึ้น ลดการใช้แรงงาน และลดความผิดพลาด

    ประกอบกับมีระบบ Supply Chain คอยรองรับ ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ ที่มีน้ำยางข้นเป็นของตัวเอง ผ่านการผลิตของบริษัท STA ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติแบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ STGT

    รวมไปถึงจุดแข็งของยุทธศาสตร์ด้านทำเลของโรงงานที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ปลูกสวนยาง ทำให้ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า และมีความยืดหยุ่นทางด้านการจัดหาวัตถุดิบ

    STGT ยังมีช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย ส่งออกสินค้ากว่า 140 ประเทศ และเป็นผู้บุกเบิกถุงมือยางในตลาดที่มีอัตราเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง อาทิ กลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก ทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ ฯลฯ

    เงินในส่วนที่ได้จากการระดมทุน STGT จะนำไปใช้ขยายกำลังการผลิตของสินค้า พร้อมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตถุงมือยางต่อไป

    สอดรับกับแนวทางการบริหารและวิสัยทัศน์ ที่ว่า “ส่งมอบการปกป้องทุกสัมผัส ด้วยความห่วงใย สู่ทุกชีวิตทั่วโลก”

    ถุงมือยางจึงเป็นมากกว่าสิ่งของไว้ใช้งาน แต่มันคืออุปกรณ์สวมใส่ที่มือชั้นดี ที่มอบความอุ่นใจ ให้แก่ผู้สวมใส่ทั่วโลกทุกครั้งที่ใช้..

    ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sritranggloves.com/