[爆卦]Averse是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇Averse鄉民發文沒有被收入到精華區:在Averse這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 averse產品中有21篇Facebook貼文,粉絲數超過0的網紅,也在其Facebook貼文中提到, 一開始的戰鬥重試了幾次因為brotherhood of steel 的成員一直死掉. fallout 3 playing, DC ruins exploration, super mutant battles and more wasteland exploration... and fina...

 同時也有3部Youtube影片,追蹤數超過11萬的網紅ลงทุนแมน,也在其Youtube影片中提到,กรณีศึกษา เทคนิคการตลาด "ซื้อให้ครบเพื่อส่งฟรี" เคยเป็นไหม เมื่อเราซื้อสินค้าออนไลน์แล้วมีค่าส่ง แต่ถ้ามีเงื่อนไขว่า ซื้อเพิ่มอีกให้ถึงยอดที่กำหนด แล...

averse 在 Benjamin Kheng Instagram 的最讚貼文

2021-09-03 18:00:42

when you’re a kid nobody talks about the weight of the dollar on your family; your parents skip around the subject to shield you from the burden, but ...

averse 在 Tim Fung ? 馮重謙 Instagram 的最佳貼文

2021-05-09 12:06:03

😋A Taste of Bitcoin ✨ . Not gonna lie, I’m pretty risk-averse when it comes to investments, but have always had an interest in Bitcoin! I’m not the ty...

  • averse 在 Facebook 的最佳貼文

    2021-06-06 13:45:33
    有 53 人按讚

    一開始的戰鬥重試了幾次因為brotherhood of steel 的成員一直死掉.

    fallout 3 playing, DC ruins exploration, super mutant battles and more wasteland exploration... and finally looking for dad.

  • averse 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文

    2020-11-05 19:49:01
    有 1,940 人按讚

    กรณีศึกษา เทคนิคการตลาด “ซื้อให้ครบเพื่อส่งฟรี” /โดย ลงทุนแมน
    เคยเป็นไหม เมื่อเราซื้อสินค้าออนไลน์แล้วมีค่าส่ง
    แต่ถ้ามีเงื่อนไขว่า ซื้อเพิ่มอีกให้ถึงยอดที่กำหนด แล้วเราจะไม่ต้องเสียค่าส่ง
    เรามักจะยินยอมพร้อมจ่ายเงินซื้อสินค้าเพิ่ม
    ทั้งที่เราอาจไม่ได้อยากได้สินค้านั้นเลยด้วยซ้ำ..

    เรื่องนี้สามารถอธิบายได้ด้วย Prospect Theory
    แล้วทฤษฎีนี้มันเป็นอย่างไร?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ทฤษฎีคาดหวัง หรือ Prospect Theory เป็นหนึ่งในทฤษฎีภาคเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ที่ใช้อธิบายการตัดสินใจของมนุษย์ ต่อสิ่งรอบตัว

    ทฤษฎีนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยนักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัล Nobel อย่าง Daniel Kahneman และ Amos Tversky

    พวกเขาค้นพบว่า เวลาเราสูญเสียสิ่งใดไป มักจะมีผลกระทบต่อจิตใจมากกว่าสิ่งที่เราได้รับมา ถึงแม้จะเป็นในปริมาณที่เท่ากัน

    แล้วพวกเขาทดสอบทฤษฎีนี้อย่างไร?

    ทาง Kahneman และ Tversky ได้แบ่งการทดสอบออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน

    กลุ่มแรก คือ การที่เราอยู่ภายใต้สถานการณ์โรคระบาดที่ส่งผลกระทบต่อคน 600 คน โดยเรามี 2 ทางเลือกระหว่าง

    ทางเลือกที่ 1 เลือกวัคซีนที่สามารถช่วยชีวิตคนได้จำนวน 200 คน
    ทางเลือกที่ 2 เลือกวัคซีนที่สามารถช่วยชีวิตคนได้ 1 ใน 3 ของคน 600 คน ในขณะที่ 2 ใน 3 จะเสียชีวิต

    ถึงตรงนี้เป็นเรา เราจะเลือกทางเลือกที่เท่าไร?

    ผลการทดสอบของ Kahneman และ Tversky
    พบว่าทุกๆ 100 คน จะมี 72 คน ที่เลือกทางเลือกที่ 1
    หรือเลือกวัคซีนที่สามารถช่วยชีวิตคนได้จำนวน 200 คน

    จุดนี้ก็น่าสนใจ เพราะว่าจริงๆ แล้วทางเลือกที่ 1 กับ 2 สามารถช่วยชีวิตคนได้เท่ากัน
    แต่เพียงแค่ข้อความในทางเลือกที่หนึ่งไม่ได้บอกจำนวนผู้เสียชีวิต..

    หลังจากนั้น Kahneman และ Tversky ก็ได้ทดสอบทฤษฎีเพิ่มเติมกับผู้ทดลองอีกกลุ่มหนึ่งภายใต้สถานการณ์เดียวกัน คือ มีโรคระบาดที่สร้างผลกระทบให้กับคน 600 คน

    แต่มี 2 ทางเลือกใหม่ เปลี่ยนจากการช่วยชีวิต เป็นการสูญเสีย คือ

    ทางเลือกที่ 1 วัคซีนนี้จะทำให้คน 400 คนเสียชีวิต
    ทางเลือกที่ 2 วัคซีนนี้จะสามารถช่วยชีวิตคนได้ 1 ใน 3 ของคน 600 คน ในขณะที่ 2 ใน 3 จะเสียชีวิต

    ผลปรากฏว่า ผู้ทดสอบกลับเลือกทางเลือกที่ 2 มากถึง 78%

    แล้วการทดสอบนี้ สะท้อนให้เห็นถึงอะไร?

    หากเราสังเกตดีๆ ทั้ง 2 การทดสอบนั้นมีผลลัพธ์เหมือนกัน
    คือช่วยชีวิตคนได้ 200 คน และทำให้ 400 คนเสียชีวิต

    แต่เมื่อเรามีโอกาสช่วยชีวิตใครสักคน เรามีแนวโน้มที่จะเลือกการช่วยชีวิตได้ 200 คน มากกว่าที่จะเลือกทางเลือกที่สร้างการสูญเสีย

    ในทางกลับกัน พอเราเผชิญเข้ากับการสูญเสียแล้ว เรากลับเลือกที่จะ “เสี่ยง” กับโอกาส
    มากกว่าการเลือกให้คนเสียชีวิต 400 คน

    ทั้งหมดนี้ ผู้คิดค้นทฤษฎีอย่าง Kahneman และ Tversky ได้สรุปว่ามนุษย์ไม่ได้มีเหตุผลเสมอไป

    การตัดสินใจของมนุษย์จะขึ้นอยู่กับมูลค่าความเป็นไปได้ของความสูญเสีย กับสิ่งที่เราจะได้รับ

    โดยมนุษย์เรามีแนวโน้มที่เป็นทั้ง ผู้ไม่ชอบความเสี่ยง (Risk Averse) และยอมเสี่ยงในเรื่องที่จะต้องสูญเสีย (Risk Seeking)

    ทฤษฎีนี้สามารถนำมาใช้อธิบายการตัดสินใจในชีวิตประจำวันได้ว่าทำไมบางครั้งเราถึงไม่ชอบความเสี่ยง และทำไมบางครั้งเราถึงชอบความเสี่ยง

    นอกจากจะอธิบายถึงพฤติกรรมของมนุษย์ได้แล้ว เราก็ยังสามารถนำทฤษฎีมาต่อยอดทำการตลาดให้กับธุรกิจได้อีกด้วย

    และนั่นเป็นเหตุผลที่อธิบายว่า
    ทำไมเราเลือกที่จะซื้อสินค้าให้ครบ 1,000 บาท เพื่อที่จะได้รับสิทธิ์ส่งฟรี
    เพราะมันจะทำให้เกิด “อคติ” ในการไม่อยากให้เกิดความสูญเสีย นั่นก็คือ “เสียค่าส่ง”

    ในบางครั้งเราจึงยอมเสียเงินเพิ่มในการซื้อสินค้า
    ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ต้องการสินค้านั้นเลยด้วยซ้ำไป..
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - longtunman.com
    Blockdit - blockdit.com/longtunman
    Facebook - ลงทุนแมน
    Twitter - twitter.com/longtunman
    Instagram - instagram.com/longtunman
    Line - page.line.me/longtunman
    YouTube - youtube.com/longtunman
    References
    https://www.investopedia.com/terms/p/prospecttheory.asp
    https://www.invespcro.com/blog/prospect-theory/
    https://brandtrust.com/prospect-theory/
    https://corporatefinanceinstitute.com/resources/knowledge/other/prospect-theory/

  • averse 在 คุยการเงินกับที Facebook 的精選貼文

    2020-11-04 09:35:44
    有 202 人按讚

    Political Cycle ประกาศผลการเลือกตั้ง หุ้นจะขึ้นหรือจะลง?
    .
    วันที่เราจะได้รู้ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐก็อยู่อีกไม่ไกลแล้ว
    ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์และกระแสมากมายจากสำนักข่าวทั่วโลก
    นักข่าวและนักวิเคราะห์มากมายได้พูดถึงผลกระทบต่างๆในด้านนโยบายของประธานาธิบดีสองคนนี้
    .
    ไม่ว่าจะเป็น นโยบายต่างประเทศกับจีน, Trans-Pacific Partnership, การเพิ่มภาษีกลุ่มบริษัท Technology, ผลประโยชน์ต่อบริษัทกลุ่ม renewable energy, ถ้าไบเดนได้ หุ้นจะลง? หุ้นจะขึ้น?, ฯลฯ และอีกมากมาย
    เรื่องเหล่านี้หาอ่านได้จากหลายบทความและหลายสำนักข่าว
    การคาดเดาอนาคตที่ทุกคนก็พยายามจะตีความ, ทำนายและกะเก็งราคาไปต่างๆนาๆ
    .
    แต่...การเลือกตั้งไม่ใช่สิ่งใหม่ที่คนเพิ่งสนใจ
    แน่นอน! ตั้งแต่ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาดำรงตำแหน่งในปี 1789 สหรัฐอเมริกามีประธานาธิบดีมา 45 คน (รวมถึง Donald Trump)
    และผ่านการเลือกตั้งมาหลายต่อหลายครั้ง ย่อมไม่แปลกที่จะมีนักเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยจำนวนมาก
    ให้ความสนใจถึงผลกระทบของตลาดการเงินและทำการศึกษาและตีพิมพ์ผลงานวิจัยออกมาอย่างมากมายเลยครับ
    .
    วันนี้ผมอยากจะมาเล่าอีกมุมมองหนึ่งของการเลือกตั้งและตลาดการเงิน
    ผ่านมุมมองของงานวิจัยแบบ empirical evidence (หลักฐานที่เกิดขึ้นจริงในอดีต) เรามาดูกันดีกว่าว่า มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจบ้างครับ !
    .
    * อย่าลืมว่านี่เป็นเพียงการศึกษาจากหลักฐานและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งอาจไม่ได้เป็นตัวชี้วัดได้ 100% กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
    ** บทความนี้ไม่ได้เป็นการชี้แนะให้ซื้อหรือขายหุ้นแต่อย่างใด อยากให้ทุกคนลงทุนอย่างระมันระวังกันด้วยนะครับ
    *** ผมไม่ได้เชียร์ใครเป็นพิเศษนะครับ เพียงแต่อยากจะเอา empirical fact มาพูดให้เพื่อนๆฟังกันครับ
    .
    =============
    .
    เริ่มกันเลยดีกว่า
    มาดูกันว่าจากงานวิจัยมากมายที่ได้รับการตีพิมพ์ในสำนักพิมพ์ชั้นนำระดับโลก มีการกล่าวถึงหัวข้อนี้อย่างไร
    .
    1. การเลือกตั้ง หมายถึง ความผันผวนที่เพิ่มขึ้น และ ผลตอบแทนระยะสั้นอาจะเป็นขาลง
    .
    (Increase Volatility & Short Term Negative Impact)
    ในหนึ่งปีหลังการเลือกตั้ง ผลตอบแทนจากตลาดหุ้นมักจะน้อยกว่าปีอื่นเล็กน้อย ข้อมูลจากปี 1926 - 2019 พบว่า CRSP index (ดัชนีหนึ่งที่บ่งบอกถึงผลตอบแทนตลาดหุ้นทั่วโลก อะไรคือ CRSP index? อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://riskproadvisor.com/factsheets/tpfgtamp/strategy1/models/VG_CRSP_100__Equity_063017_17-07-31-07-05.pdf)
    .
    ในปีมีการเลือกตั้ง ผลตอบแทนอยู่ที่ 10.6% เทียบกับปีอื่นๆที่อยู่ที่ 11.9%
    ถึงแม้พิจารณาค่าเฉลี่ยดูไม่ต่างกันมาก แต่ถ้าพิจารณารายปีแล้ว 23 ครั้งที่มีการเลือกตั้ง ดัชนี CRSP มีผลตอบแทนติดลบถึง 7 ครั้ง
    .
    ในขณะที่ปีอื่นๆที่ไม่ได้มีการเลือกตั้งนั้น ผลตอบแทนเป็นบวกทั้งหมด
    นอกเหนือจากนั้น การที่ประธานาธิบดีคนปัจจุบันได้ดำรงตำแหน่งต่อไป หากดูจากผลตอบแทน S&P500 index ย้อนหลังตั้งแต่ปี 1928 - 2019
    พบว่าผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 13.9% ในปีเลือกตั้ง ในขณะที่ถ้าประธานาธิบดีคนใหม่ได้รับการเลือกตั้งนั้น ผลตอบแทนอยู่ที่ 9.3%
    คนเราไม่ชอบความไม่แน่นอนครับ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากความไม่มั่นใจในนโยบายทางเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและแน่นอนจะส่งผลต่อความผันผวนระยะสั้นดังที่ได้กล่าวไว้ในงานวิจัยโดย Zorina et al ในปี 2019 หัวข้อ With Greater Uncertainty Comes Greater Volatility ตีพิมพ์ใน Journal of Index Investing
    ว่าความผันผวนในระยะสั้นนั้น (วัดโดย VIX: Cboe Volatility Index (VIX) อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.investopedia.com/terms/v/vix.asp) มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่มีความสูสีคู่คี่มากครับ
    .
    2. ถ้าพรรคที่เชียร์ได้ เราจะมีมุมมองบวกต่อการลงทุน
    .
    ทุกคนย่อมมีพรรคการเมืองที่ตนเองชอบทั้งนั้น สำหรับสหรัฐแล้วคงหนีไม่พ้นสองพรรคใหญ่อย่าง Democrat และ Republican
    จากงานวิจัยโดย Yosef, et al ในปี 2012 หัวข้อ Political Climate, Optimism, and Investment Decisions พบว่า
    คนที่เชียร์พรรคอะไรอยู่มักจะมองว่า พรรคที่ตัวเองได้จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้น และส่งผลให้ประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าความเป็นจริงได้
    .
    อย่างที่ทราบกันว่า ก็มีคนที่ชื่นชอบทั้งสองพรรค ดังนั้นมุมมองและความคาดหวังของนักลงทุนในด้านที่ใครจะได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ไม่ได้เป็นปัจจัยส่งผลโดยตรงต่อตลาดหรือสามารถใช้ในการทำนายตลาดได้เลยครับ
    แต่ที่น่าสนใจกว่านั่นคือ หัวข้อถัดไป
    .
    3. Democrat vs. Republican and Medium term
    .
    งานวิจัยที่โด่งดัง โดย Santa-Clara และ Valkano ตีพิมพ์ใน Journal of Finance ปี 2003 ในหัวข้อ The Presidential Puzzle: Political Cycles and the Stock Market ได้ทำการศึกษาข้อมูลตั้งแต่ปี 1927 - 1998, ตั้งแต่ Roosevelt จนถึงสมัย Clinton มีบทสรุปที่น่าสนใจว่า
    .
    - ผลตอบแทนจากตลาดหุ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ
    ในปีที่ ประธานาธิบดี Democrat ได้รับการเลือกตั้ง ผลตอบแทนจาก Largest Firms (หุ้นกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่) สูงกว่าในปีที่ Republican ได้รับเลือก ถึง 7% และยิ่งไปกว่านนั้น สำหรับ Smallest Firms (หุ้นกลุ่มบริษัทขนาดเล็ก) ผลตอบแทนในสมัยของ Democrat มากกว่าถึง 22%! โดยเฉลี่ยแล้วผลตอบแทนของ CRSP ต่างกันมากถึง 16%!นอกจากนั้น 3 month Treasury Bill โดยเฉลี่ยแล้ว ในสมัยของ Democrat ก็ยังคงสูงกว่าถึง 9%
    .
    - Santa-Clara และ Valkano พิสูจน์ว่าผลตอบแทนที่ต่างกันนั้นไมเกี่ยวข้องกับ Business Cycle Variable (ปัจจัยที่เกี่ยวกับวงจรของธุรกิจ)
    - ความแตกต่างของผลตอบแทนไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างการเลือกตั้ง แต่ใช้เวลาในการเกิดขึ้นหลังจากได้รับการเลือกตั้งแล้ว
    - ความผันผวนมักจะสูงกว่า ในสมัยที่ ประธานาธิบดีจาก Republican ได้รับการเลือกตั้ง !
    .
    ซึ่งนี่แปลว่า พรรค Democrat ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของสหรัฐและของโลกโดยรวม ใช่หรือไม่?
    อาจจะไม่ใช่! เพราะว่าอะไร? เรามาดูกันในหัวข้อถัดไปกันครับ
    .
    4. Risk Aversion & Risk Premium
    .
    Risk Aversion คือ การที่คนหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (เช่นการลงทุนในหุ้นในสัดส่วนที่น้อยลง อาจจะลงในอย่างอื่นเช่นพันธบัตรมากขึ้นหรือเลือกท่ีจะเก็บในบัญชีธนาคารมากกว่า มีความระวังมากขึ้น รอลงเมื่อหุ้นราคาลงมามากๆเท่านั้น)
    .
    Risk Premium คือ อัตราส่วนต่างที่เราต้องการเพื่อเป็นค่าความเสี่ยง เหมือนเป็นส่วนต่างไว้กันเหนียว (เช่น ถ้าเรามองหุ้นบริษัท ก ไก่ มีความเสี่ยงมาก เราจะขอ Risk Premium มากขึ้น คือหุ้นต้องราคาต่ำมากจริงๆ มี Risk Premium มากจริงๆ ถึงจะกล้าซื้อ)เป็นธรรมดาที่คนเราจะกล้ารับความเสี่ยงที่มากขึ้น เวลาเราคิดว่าเศรษฐกิจกำลังจะไปได้ดี, และเป็นธรรมดาที่เมื่อเรากล้ารับความเสี่ยงที่มากขึ้น โอกาสที่เราจะได้ผลตอบแทนน้อยลงก็มากขึ้นเพราะขาด Risk Premium ที่สมเหตุสมผล ในขณะเดียวกัน ถ้าเรามองเศรษฐกิจไม่ดี เราจะมี Risk Aversion ที่มากขึ้นและต้องการ Risk Premium มากขึ้น และโอกาสในการกำไรก็มากขึ้น
    .
    ในช่วงเวลาที่คนมีความกลัวและรู้สึกถึงความไม่แน่นอน คนมักจะเลือกพรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายซ้าย หรือ Democrat (งานวิจัยที่สนับสนุนเรืองนี้มากมาย เช่น จาก Pastor & Veronesi, Political Cycles and Stock Returns ปี 2019 และ L. Guiso et al., Time varying risk aversion ปี 2018) ด้วยความกลัวความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจ, การตกงาน, ความฝืดเคือง และส่งผลให้คนแสวงหารัฐสวัสดิการมากขึ้น
    .
    ดังนั้น จากหลักฐานเท่าที่มีเราอาจจะกล่าวได้ว่า ไม่ใช่ Democrat ที่ทำให้ผลตอบแทนของตลาดทุนไปได้ดี แต่เป็นเพราะว่า คนมักเลือก Democrat ในจังหวะที่คนมี Risk Aversion และเพราะ Risk Aversion ต่างหากที่ทำให้คนมีความรอบคอบในการลงทุนที่มากขึ้น และนั่นเองส่งผลให้ผลการตอบแทนในการลงทุนเป็นไปได้ดีครับ
    .
    ==========
    .
    Risk Averse นั้น สำคัญมาก เพราะไม่มีอะไรแน่นอนครับ
    .
    ในปี 2016 ที่ Donald Trump แข่งกับ Hillary Clinton ก็ไม่มีใครคาดคิดว่าปี Trump จะชนะ จนกระทั่งประกาศผล
    อเมริกาก็เพิ่งเคยมีประธานาธิบดีแบบ Donald Trump ที่สำหรับนักวิเคราะห์หลายๆสำนักแล้ว ยากที่จะเดาทางได้ เล่นเอาปวดหัวกันไปทั่วโลก
    ไม่มีใครคาดว่าจะเกิด Covid-19 และจะเกิดการระบาดขนาดนี้และส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกไปอีกหลายปี
    .
    ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกคนลงทุนอย่างระมัดระวังและรอบคอบครับ
    Risk Averse ไม่ใช่การไม่รับความเสี่ยงแต่คือการรับความเสี่ยงแต่พอประมาณ
    ลงทุนด้วยความไม่ประมาท กระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
    และขอให้ผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ด้วยกันนะครับ
    .
    ขอบคุณข้อมูลจาก
    .
    https://www.forbes.com/sites/kristinmckenna/2020/08/18/heres-how-the-stock-market-has-performed-before-during-and-after-presidential-elections/?sh=595fb9754f86

    ช่อง Common Sense Investing by Ben Felix: https://www.youtube.com/watch?v=HYHu9PMY_C4

    https://eprints.pm-research.com/17511/34817/index.html?49834
    [2019] Pageant Media. Republished with permission of PMR Journal of Index Investing [With Greater Uncertainty Comes Greater Volatility, Inna Zorina, Jamie Khatri, Carol Zhu, and James J. Rowley Jr., Volume 10, Issue 3]

    https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=1509168
    Bonaparte, Yosef and Kumar, Alok and Page, Jeremy K., Political Climate, Optimism, and Investment Decisions (February 26, 2012). AFA 2012 Chicago Meetings Paper, Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=1509168 or http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.1509168

    Pastor, Lubos and Veronesi, Pietro, Political Cycles and Stock Returns (May 26, 2019). Chicago Booth Research Paper No. 17-01, Fama-Miller Working Paper, Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=2909281 or http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.2909281
    https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=2909281

    Luigi Guisoa,b , Paola Sapienza b,c,d, Luigi Zingales, Time varying risk aversion / Journal of Financial Economics 128 (2018) 403–421
    http://www.eief.it/eief/images/Guiso-Sapienza-Zingales_JofFE_2018.pdf

    แอดโจ

  • averse 在 ลงทุนแมน Youtube 的最佳解答

    2020-12-22 19:00:11

    กรณีศึกษา เทคนิคการตลาด "ซื้อให้ครบเพื่อส่งฟรี"

    เคยเป็นไหม เมื่อเราซื้อสินค้าออนไลน์แล้วมีค่าส่ง
    แต่ถ้ามีเงื่อนไขว่า ซื้อเพิ่มอีกให้ถึงยอดที่กำหนด แล้วเราจะไม่ต้องเสียค่าส่ง
    เรามักจะยินยอมพร้อมจ่ายเงินซื้อสินค้าเพิ่ม
    ทั้งที่เราอาจไม่ได้อยากได้สินค้านั้นเลยด้วยซ้ำ..

    เรื่องนี้สามารถอธิบายได้ด้วย Prospect Theory
    แล้วทฤษฎีนี้มันเป็นอย่างไร?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

    ทฤษฎีคาดหวัง หรือ Prospect Theory เป็นหนึ่งในทฤษฎีภาคเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ที่ใช้อธิบายการตัดสินใจของมนุษย์ ต่อสิ่งรอบตัว

    ทฤษฎีนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยนักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัล Nobel อย่าง Daniel Kahneman และ Amos Tversky

    พวกเขาค้นพบว่า เวลาเราสูญเสียสิ่งใดไป มักจะมีผลกระทบต่อจิตใจมากกว่าสิ่งที่เราได้รับมา ถึงแม้จะเป็นในปริมาณที่เท่ากัน
    แล้วพวกเขาทดสอบทฤษฎีนี้อย่างไร?

    ทาง Kahneman และ Tversky ได้แบ่งการทดสอบออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน
    กลุ่มแรก คือ การที่เราอยู่ภายใต้สถานการณ์โรคระบาดที่ส่งผลกระทบต่อคน 600 คน โดยเรามี 2 ทางเลือกระหว่าง

    ทางเลือกที่ 1 เลือกวัคซีนที่สามารถช่วยชีวิตคนได้จำนวน 200 คน
    ทางเลือกที่ 2 เลือกวัคซีนที่สามารถช่วยชีวิตคนได้ 1 ใน 3 ของคน 600 คน ในขณะที่ 2 ใน 3 จะเสียชีวิต
    ถึงตรงนี้เป็นเรา เราจะเลือกทางเลือกที่เท่าไร?

    ผลการทดสอบของ Kahneman และ Tversky
    พบว่าทุกๆ 100 คน จะมี 72 คน ที่เลือกทางเลือกที่ 1
    หรือเลือกวัคซีนที่สามารถช่วยชีวิตคนได้จำนวน 200 คน

    จุดนี้ก็น่าสนใจ เพราะว่าจริงๆ แล้วทางเลือกที่ 1 กับ 2 สามารถช่วยชีวิตคนได้เท่ากัน
    แต่เพียงแค่ข้อความในทางเลือกที่หนึ่งไม่ได้บอกจำนวนผู้เสียชีวิต..

    หลังจากนั้น Kahneman และ Tversky ก็ได้ทดสอบทฤษฎีเพิ่มเติมกับผู้ทดลองอีกกลุ่มหนึ่งภายใต้สถานการณ์เดียวกัน คือ มีโรคระบาดที่สร้างผลกระทบให้กับคน 600 คน

    แต่มี 2 ทางเลือกใหม่ เปลี่ยนจากการช่วยชีวิต เป็นการสูญเสีย คือ
    ทางเลือกที่ 1 วัคซีนนี้จะทำให้คน 400 คนเสียชีวิต
    ทางเลือกที่ 2 วัคซีนนี้จะสามารถช่วยชีวิตคนได้ 1 ใน 3 ของคน 600 คน ในขณะที่ 2 ใน 3 จะเสียชีวิต

    ผลปรากฏว่า ผู้ทดสอบกลับเลือกทางเลือกที่ 2 มากถึง 78%
    แล้วการทดสอบนี้ สะท้อนให้เห็นถึงอะไร?

    หากเราสังเกตดีๆ ทั้ง 2 การทดสอบนั้นมีผลลัพธ์เหมือนกัน
    คือช่วยชีวิตคนได้ 200 คน และทำให้ 400 คนเสียชีวิต

    แต่เมื่อเรามีโอกาสช่วยชีวิตใครสักคน เรามีแนวโน้มที่จะเลือกการช่วยชีวิตได้ 200 คน มากกว่าที่จะเลือกทางเลือกที่สร้างการสูญเสีย
    ในทางกลับกัน พอเราเผชิญเข้ากับการสูญเสียแล้ว เรากลับเลือกที่จะ “เสี่ยง” กับโอกาส มากกว่าการเลือกให้คนเสียชีวิต 400 คน

    ทั้งหมดนี้ ผู้คิดค้นทฤษฎีอย่าง Kahneman และ Tversky ได้สรุปว่ามนุษย์ไม่ได้มีเหตุผลเสมอไป

    การตัดสินใจของมนุษย์จะขึ้นอยู่กับมูลค่าความเป็นไปได้ของความสูญเสีย กับสิ่งที่เราจะได้รับ

    โดยมนุษย์เรามีแนวโน้มที่เป็นทั้ง ผู้ไม่ชอบความเสี่ยง (Risk Averse) และยอมเสี่ยงในเรื่องที่จะต้องสูญเสีย (Risk Seeking)

    ทฤษฎีนี้สามารถนำมาใช้อธิบายการตัดสินใจในชีวิตประจำวันได้ว่าทำไมบางครั้งเราถึงไม่ชอบความเสี่ยง และทำไมบางครั้งเราถึงชอบความเสี่ยง

    นอกจากจะอธิบายถึงพฤติกรรมของมนุษย์ได้แล้ว เราก็ยังสามารถนำทฤษฎีมาต่อยอดทำการตลาดให้กับธุรกิจได้อีกด้วย
    และนั่นเป็นเหตุผลที่อธิบายว่า
    ทำไมเราเลือกที่จะซื้อสินค้าให้ครบ 1,000 บาท เพื่อที่จะได้รับสิทธิ์ส่งฟรี
    เพราะมันจะทำให้เกิด “อคติ” ในการไม่อยากให้เกิดความสูญเสีย นั่นก็คือ “เสียค่าส่ง”

    ในบางครั้งเราจึงยอมเสียเงินเพิ่มในการซื้อสินค้า
    ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ต้องการสินค้านั้นเลยด้วยซ้ำไป..

    #ลงทุนแมน #ProspectTheory

    ลงทุนแมน ลงทุนในความรู้
    การลงทุนในความรู้ไม่มีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรกด Subscribe @ลงทุนแมน

    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website -https://www.longtunman.com/​
    Blockdit - https://www.blockdit.com/longtunman​
    Facebook - http://facebook.com/longtunman​
    Twitter - http://twitter.com/longtunman​
    Instagram - http://instagram.com/longtunman​
    Line - http://page.line.me/longtunman​
    YouTube - https://www.youtube.com/longtunman
    Spotify - http://open.spotify.com/show/4jz0qVn1...​
    Soundcloud - http://soundcloud.com/longtunman​
    Apple Podcasts - http://podcasts.apple.com/th/podcast/...​
    Clubhouse - @longtunman

    #ลงทุนแมน​ #ห้องประชุมลงทุนแมน​ #ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง​ #BREAKTHROUGH​ #THEBRIEFCASE​ #longtunman​ #ลงทุนแมนORIGINALS​ #ลงทุนเกิร์ลTALK​ #ลงทุนเกิร์ล

  • averse 在 Zermatt Neo Youtube 的最佳解答

    2020-08-04 20:30:00

    For this video, I present to you my attempts at the Monster Curry Level 100 Spicy Challenge! The challenge involves completing a plate of their standard Chicken/Pork Katsu Curry Rice, except the curry is topped with a deadly-looking black concoction made from ridiculously spicy chillies. For those spice-averse, eating the first few bites might make the challenge seem doable, but the excruciating burning sensation kicks in after a minute. Completing it in under 10 minutes makes the dish free.

    It was a true challenge for me due to my well-known low spice tolerance, but I grit my teeth and took it one bite (sometimes two) at a time, attempting this for a total of 6 times. Initially my time was in the 1-2 minute range, but by the end I was able to do it sub 1-min, with my final attempt being my best time at 52.13s and also the best ranked time for this challenge.

    Check out the end for a bonus clip of Mervin attempting the challenge!

    Connect with me!
    Facebook - https://www.facebook.com/zermattneofls
    Instagram - http://instagram.com/zermattneo

  • averse 在 hketvideo Youtube 的最佳貼文

    2016-03-02 11:38:54

你可能也想看看

搜尋相關網站