雖然這篇เทพเจ้ากระต่าย鄉民發文沒有被收入到精華區:在เทพเจ้ากระต่าย這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 เทพเจ้ากระต่าย產品中有2篇Facebook貼文,粉絲數超過28萬的網紅อ้ายจง,也在其Facebook貼文中提到, #เล่าจีน ตำนานกระต่ายบนดวงจันทร์ผู้ลงมาปัดเป่าทุกข์โศกขจัดโรคระบาดลนโลกมนุษย์ ต้นกำเนิดการบูชาเทพเจ้ากระต่ายในวันไหว้พระจันทร์ . เมื่อถึงเทศกาลไหว้พระ...
เทพเจ้ากระต่าย 在 Worajan Sangngern Instagram 的最佳解答
2020-05-11 00:22:37
💕แฮปปี้วันวาเลนไทน์!! มาขอพร " เทพเจ้ากระต่าย" ให้ไม่ "นก" กันเถอะ อิอิ ถ้าอยากสมหวังเรื่องความรัก ลองมาขอพรที่ “ศาลเจ้ากระต่ายขาว” (Hakuto Jinja) ที่...
เทพเจ้ากระต่าย 在 อ้ายจง Facebook 的精選貼文
#เล่าจีน ตำนานกระต่ายบนดวงจันทร์ผู้ลงมาปัดเป่าทุกข์โศกขจัดโรคระบาดลนโลกมนุษย์ ต้นกำเนิดการบูชาเทพเจ้ากระต่ายในวันไหว้พระจันทร์
.
เมื่อถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์ สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับเทศกาลนี้ คือ "ตำนานเทพเจ้ากระต่าย" ซึ่งทำให้อ้ายจงนึกถึงเมื่อช่วงปี 2018 หรือ 3 ปีก่อน ได้รับเชิญไปทำกิจกรรมของสื่อหลักของจีน CRI (ในเครือ China Media Group) โดยได้ไปเยี่ยมชม Beijing Yuetan Inheritance Club ที่จัดแสดงผลงานทางศิลปะวัฒนธรรมของจีน
.
ครั้งนั้นอ้ายจงได้ฟังบรรยาย "ตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่ายปักกิ่ง" ตุ๊กตาและของเด็กเล่นคู่บ้านคู่เมืองปักกิ่งมาตั้งแต่อดีต อ้ายจงได้ระบายสีตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่ายด้วย แต่ก็อย่างในรูปครับ ผลงานนี่เด็กอยุบาลเห็นแล้วยิ้มเลย เฮ้ยยย เพื่อนกันนี่นา (ฝีมือเด็กน้อยมากๆ) มีลงข่าวในสื่อจีนด้วยนะครับ ดีนะ ไม่มีรูปผลงานเต็มๆของอ้ายจงไปลง ไม่งั้นต้องขอปี๊บหนึ่งใบ ><
กล่าวถึงตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่าย หลายคนคงจะสงสัยว่า "ทำไมถึงต้องเป็นเทพเจ้ากระต่าย?" เรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร มามา อ้ายจงจะเหลา เอ้ย เล่าให้กระจ่าง
.
มีเรื่องเล่ากันว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งในอดีตนานแสนนาน ที่เมืองปักกิ่งเกิดโรคระบาดอย่างหนัก เมื่อเทพธิดาฉางเอ๋อบนดวงจันทร์มองลงมา ก็เกิดความสงสารเป็นอย่างมาก จึงส่งกระต่ายหยกที่อยู่ข้างกายตนลงมารักษาชาวบ้าน โดยกระต่ายหยกแปลงกายเป็นหญิงสาวที่มารักษาชาวบ้านจนหายจากโรคจนหมดทุกคน (บางครั้งก็เห็นเป็นชายบ้าง หญิงบ้าง) ชาวบ้านจึงตอบแทนด้วยสิ่งของต่างๆ
.
แต่กระต่ายหยกที่แปลงกายเป็นคน ก็ปฏิเสธไปและขอเพียงชุดเสื้อผ้าเพื่อเอาไว้สวมใส่เท่านั้น ทำให้ชาวบ้านเห็นกระต่ายหยกในร่างคนที่แตกต่างไป
.
เมื่อแก้ไขโรคระบาดเสร็จแล้ว กระต่ายหยกตัวนั้นก็ลอยกลับสู่ดวงจันทร์ ท่ามกลางความซาบซึ้งใจของชาวบ้าน ทุกคนจึงพากันยกย่องให้เป็นเทพเจ้า และปั้นตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่ายเพื่อบูชาและระลึกถึง โดยคนจีนเรียกเทพเจ้ากระต่ายว่า 兔儿爷
.
มีหลักฐานที่ชี้ถึงตำนานนี้ว่า ชาวจีนเริ่มปั้นตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่ายและนำของมาบูชาพระจันทร์ตั้งแต่ราวราชวงศ์หมิง ซึ่งเมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 วันไหว้พระจันทร์ ชาวบ้านจะนำของมากราบไหว้บูชา พร้อมปั้นตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่าย ที่อยู่ในชุดแต่งกายและขี่สัตว์ต่างๆ แต่ที่เห็นบ่อยสุดคือ ขี่เสือ
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #เทพเจ้ากระต่าย #兔儿爷 #ไหว้พระจันทร์ #中秋节
เทพเจ้ากระต่าย 在 อ้ายจง Facebook 的精選貼文
เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา อ้ายจงได้รับเชิญไปร่วมกิจกรรมของสื่อจีนที่กรุงปักกิ่ง ได้ร่วมทำกิจกรรมดูงานวัฒนธรรมของจีน โดยเฉพาะที่กรุงปักกิ่งที่ถือว่าเป็นทั้งเมืองหลวงในปัจจุบันและศูนย์กลางของวัฒนธรรม ที่ยังคงมีการเก็บรักษาวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดีจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
โดยอ้ายจงได้ลงในข่าวของสื่อทางการจีน CRI ด้วยครับ เป็นข่าวที่อ้ายจงไปเยี่ยมชม Beijing Yuetan Inheritance Club ที่จัดแสดงผลงานทางศิลปะวัฒนธรรมของจีน ซึ่งอ้ายจงได้ฟังบรรยาย "ตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่ายปักกิ่ง" ตุ๊กตาและของเด็กเล่นคู่บ้านคู่เทืองปักกิ่งมาตั้งแต่อดีต อ้ายจงได้ระบายสีตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่ายด้วย แต่ผลงานออกมาแบบศิลปะเด็กน้อยมาก 55
พูดถึง ตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่าย หลายคนคงจะสงสัยว่า "ทำไมถึงต้องเป็นเทพเจ้ากระต่าย?" เรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไรกันแน่ อ้ายจงจึงขอถือโอกาสเล่าเรื่องเมืองจีน ตอน เทพเจ้ากระต่าย เลยละกันครับ
มีเรื่องเล่ากันว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งในอดีต ที่เมืองปักกิ่งเกิดโรคระบาดอย่างหนัก เมื่อเทพธิดาฉางเอ๋อมองลงมา ก็เกิดความสงสารเป็นอย่างมาก จึงส่งกระต่ายหยกที่อยู่ข้างกายตนลงมารักษาชาวบ้าน โดยกระต่ายหยกแปลงกายเป็นหญิงสาวที่มารักษาชาวบ้านจนหายจากโรคจนหมดทุกคน (บางครั้งก็เห็นเป็นชายบ้าง หญิงบ้าง) ชาวบ้านจึงตอบแทนด้วยสิ่งของต่างๆ แต่กระต่ายหยกที่แปลงกายเป็นคน ก็ปฏิเสธไปและขอเพียงชุดเสื้อผ้าเพื่อเอาไว้สวมใส่เท่านั้น ทำให้ชาวบ้านเห็นกระต่ายหยกในร่างคนที่แตกต่างไป
เมื่อแก้ไขโรคระบาดเสร็จแล้ว กระต่ายหยกตัวนั้นก็ลอยกลับสู่ดวงจันทร์ ท่ามกลางความซาบซึ้งใจของชาวบ้าน ทุกคนจึงพากันยกย่องให้เป็นเทพ้จ้า และปั้นตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่ายเพื่อบูชาและระลึกถึง โดยคนจีนเรียกเทพเจ้ากระต่ายว่า 兔儿爷 ทู่เอ๋อเหย
มีหลักฐานที่ชี้ถึงตำนานนี้ว่า ชาวจีนเริ่มปั้นตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่ายและนำของมาบูชาพระจันทร์ตั้งแต่ราวราชวงศ์หมิง ซึ่งเมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 วันไหว้พระจันทร์ ชาวบ้านจะนำของมากราบไหว้บูชา พร้อมปั้นตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่าย ที่อยู่ในชุดแต่งกายและขี่สัตว์ต่างๆ แต่ที่เห็นบ่อยสุดคือ ขี่เสือ
เทศกาลวันไหว้พระจันทร์ ถือเป็นเทศกาลที่มีความสำคัญสำหรับคนจีนมากเป็นอันดับสองรองจากเทศกาลตรุษจีน โดยจะตรงกับเดือนกันยายนหรือตุลาคมของปฏิทินสากล โดยชาวจีน เรียกเทศกาลนี้ว่า เทศกาลจงชิว(中秋节) แปลว่า กลางฤดูใบไม้ร่วง
เล่าถึงจุดนี้แล้ว หลายคนคงจะสงสัยกันต่อว่าแล้วเทพธิดาฉางเอ๋อคือใคร? อันนี้อดใจรออ่านในโพสต์หน้านะครับ ^^
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน