[爆卦]รายรับ ภาษาจีน是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇รายรับ ภาษาจีน鄉民發文沒有被收入到精華區:在รายรับ ภาษาจีน這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 รายรับ產品中有51篇Facebook貼文,粉絲數超過178萬的網紅ลงทุนแมน,也在其Facebook貼文中提到, รวมแอปพลิเคชันบันทึก รายรับ รายจ่าย ช่วยจัดการเงิน...

 同時也有419部Youtube影片,追蹤數超過18萬的網紅MONEY HERO,也在其Youtube影片中提到,สนับสนุนรายการและช่อง Money Hero ได้ที่ บัญชี นายธวัชชัย ธูปอ่อน ธนาคารไทยพาณิชย์ เลขบัญชี 530-402255-0 เพื่อเป็นรายได้ให้กับเด็กฝึกงาน การจัดกิจกรรมข...

รายรับ 在 Nat Aniporn Chalermburanawong Instagram 的最讚貼文

2021-08-02 07:07:45

อัพเดท เมื่อวานมอบข้าวกล่อง ผัดผงกะหรี่ทะเล 50กล่อง จาก Potternatt × @kodungtalay และเครื่องดื่มจาก @duemphloen_official 70 ขวด เบื้องต้น คุยกับตรงก...

  • รายรับ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答

    2021-09-18 14:02:33
    有 454 人按讚

    รวมแอปพลิเคชันบันทึก รายรับ รายจ่าย ช่วยจัดการเงิน

  • รายรับ 在 Money Coach Facebook 的最佳解答

    2021-09-17 18:20:14
    有 5,490 人按讚

    ยิ่งเงินน้อย ยิ่งต้องวางแผนการเงิน
    .
    ทุกวันนี้ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าใจผิดในเรื่องของ “การวางแผนการเงิน” และความเข้าใจผิดอันดับ 1 ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็คือ “การวางแผนการเงินเป็นเรื่องของคนมีเงินเยอะ” หรือ “ต้องมีเงินเหลือให้วางแผน” ส่วนคนเงินน้อยหรือเงินไม่ค่อยพอใช้นั้นหมดสิทธิ์
    .
    โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดเห็นตรงกันข้ามเลยครับ ผมคิดว่า ยิ่งมีเงินน้อยนั่นแหละ ยิ่งต้องวางแผน และต้องวางแผนให้ละเอียดด้วย
    .
    เวลาเราพูดถึงคำว่า วางแผนการเงิน เอาเข้าจริงมันมีหลายเรื่องแตกย่อยไปได้อีกมากมาย ตั้งแต่การวางแผนสภาพคล่อง (การใช้จ่าย) การวางแผนจัดการความเสี่ยง การวางแผนภาษี การวางแผนการลงทุน การวางแผนเกษียณ การวางแผนมรดก รวมไปถึงอื่นๆ ตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคล
    .
    แต่ไม่ว่าจะวางแผนเรื่องอะไร หลักของคำว่า “วางแผน” ก็เหมือนกันหมด นั่นคือ “มองไปข้างหน้า กำหนดเป้าหมาย แล้วย้อนกลับมานั่งคิดเตรียมการในปัจจุบัน”
    .
    หลักมันง่ายๆ แค่นี้เองครับ ...
    .
    ยกตัวอย่างการวางแผนเกษียณ โดยหลักมันก็คือการมองไปข้างหน้าในวันที่เราหยุดทำงาน ว่าเมื่อถึงเวลานั้นรายได้จากการทำงานของเราอาจจะหายไป เพราะเลิกทำงาน แต่รายจ่ายในชีวิตหลายอย่างยังคงอยู่ อาจลดลงบ้าง (เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ กรณีผ่อนหมดแล้ว) บางรายการอาจเพิ่มขึ้น (เช่น ค่ารักษาพยาบาล)
    .
    การวางแผนเกษียณก็จะเริ่มต้นจากตรงนั้น ก็คือ กะเกณฑ์ค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในวันเกษียณ แล้วถอยกลับมาคิดมาวางแผนในวันนี้ ว่าต้องเก็บเงินเท่าไหร่ อย่างไร เก็บในรูปเงินก้อนดี หรือว่า Passive Income ดี หรือผสมกันเท่าไหร่ยังไง
    .
    หรืออย่างการวางแผนภาษี มันก็คือการประเมินรายได้ล่วงหน้าทั้งปี โดยการประมาณการ แล้วก็มาคิดคำนวณดูว่า ถ้าได้รายได้ตามที่คาด ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าอยากลดหรือเบาภาระภาษีลง ก็ต้องคิดเรื่องค่าลดหย่อนต่างๆ ซึ่งก็ต้องประเมินให้ดี เพราะ “ค่าลดหย่อนมีต้นทุนที่ต้องจ่ายแลกมา” ด้วยเหมือนกัน
    .
    กลับมาที่คนสตางค์น้อย เงินไม่ค่อยพอใช้ การวางแผนการเงินที่จำเป็นสำหรับคนกลุ่มนี้มาก ก็คือ การวางแผนสภาพคล่อง หรือจะเรียกอีกอย่างว่า การวางแผนใช้จ่ายก็ได้
    .
    เงินน้อย เงินขาด เงินไม่พอใช้ อันดับแรกเราต้องไม่ยอมรับมันครับ ชีวิตการเงินแบบนี้ขวางความก้าวหน้าของชีวิตอย่างมาก ดังนั้นเราจึงต้อง “วางแผน”
    .
    สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ รู้ให้ได้ว่า “เงินพอใช้หรือเปล่า” หรือ “ขาดเท่าไหร่” อันนี้สำคัญมาก หลายคนรู้อย่างเดียวเงินไม่พอใช้ พอถามว่า เดือนหน้าขาดเงินเท่าไหร่ ตอบ “ไม่รู้” แล้วก็จัดการเงินมั่วไปหมด
    .
    พอขาดก็หาหยิบยืมไปทั่ว กลายเป็นภาระเพิ่มขึ้นอยู่ตลอด อารมณ์เหมือนคนที่ตกลงไปในหลุม แต่ไม่ได้หาทางตะกายขึ้นอย่างจริงจัง หนำซ้ำในมือยังถือพลั่วขุดหลุมให้ลึกลงกว่าเดิมเสียอีก (บ้าไปแล้ว)
    .
    คนที่รู้ทั้งรู้ว่ามีปัญหา แล้วไม่ได้เตรียมการรับมือ อาศัยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นคนวิสัยทัศน์การเงินสั้น เพราะคิดเรื่องเงินได้ไกลไม่เกิน 30 วัน (รอบการทวงหนี้ครั้งถัดไป) แบบนี้โดยส่วนตัวผมมองว่า เป็นการขาดความรับผิดชอบทางการเงินอย่างหนึ่ง และประสบความสำเร็จได้ยากมากกกกกก
    .
    ถ้าวันนี้คุณเงินไม่ค่อยพอใช้ หรือเก็บออมไม่ค่อยได้ ถึงเวลาต้องจริงจังกับตัวเองแล้วครับ มาเริ่มวางแผนการเงินกัน​ โดยเริ่มจากวางแผนสภาพคล่องก่อนเป็นอันดับแรก
    .
    หยิบกระดาษ A4 มาตีตาราง หรือจะใช้ Excel ก็ได้ แล้วลงข้อมูลรายการรับจ่ายล่วงหน้า 6 เดือน ถัดจากเดือนนี้ไปโดยละเอียด ไล่เรียงตั้งแต่ รายรับ เงินออมที่หักก่อนใช้จ่าย และรายจ่าย ทีละรายการ
    .
    สุดท้ายหักลบกันให้เห็น “เงินคงเหลือ” (บรรทัดสุดท้าย) ในแต่ละเดือน ไอ้เจ้าเงินคงเหลือนี่แหละ คือ สภาพคล่อง มันตอบเราได้ว่าเงินพอใช้มั้ย ขาดเหลือเดือนละเท่าไหร่ (ติดลบเท่าไหร่ก็ขาดเท่านั้น)
    .
    คำถามถัดมาคือ เห็นบรรทัดสุดท้ายของงบการเงิน “ติดลบ” แล้วคุณรู้สึกอย่างไรบ้าง ถ้าเฉยๆ ก็แยกย้าย อย่าเสียเวลาคุยกันต่อ หรือถ้าเห็นแล้วดรามา อันนี้ก็เสียเวลาเหมือนกัน
    .
    แต่ถ้าติดลบแล้วไม่ยอม เฮ้ย! ชีวิตแบบนี้ไม่เอาแล้วโว้ย ก็ให้กลับมาไล่เรียงค่าใช้จ่ายแต่ละตัว วางแผนว่าจะลดการใช้มันได้อย่างไรบ้าง ภาระหนี้แต่ละรายการ ผ่อนหนักไปมั้ย ถ้าหนักไปให้ลองเจรจากับเจ้าหนี้
    .
    วางแผนโดยละเอียดกับรายจ่ายทุกตัวก่อน แล้วตอบให้ได้ในทุกรายการว่าจะจัดการกับมันอย่างไร??? ค่ากินจะลดอย่างไร ค่าเดินทางจะเบายังไง หนี้บัตรเครดิตหลายใบรวมเป็นรายการเดียวได้มั้ย สินเชื่อบ้านเริ่มผ่อนไม่ไหว ขอลดค่างวดได้หรือเปล่า ต้องคุยกับใคร
    .
    การจัดการกับรายจ่ายที่เกินกำลัง เหมือนกับการห้ามเลือด เลือดไหลต้องห้ามเลือดก่อน พอเลือดหยุดไหลค่อยคิดต่อว่า จะหาทางเพิ่มเลือด (รายได้) ให้กับตัวเองยังไง “เราพอทำอะไรได้บ้าง” ให้มีเงินไหลเข้ากระเป๋าเพิ่ม
    .
    ในบรรดาการวางแผนการเงินทั้งหมด การวางแผนสภาพคล่องเป็นเรื่องเบสิคที่สุด เป็นพื้นฐานที่ทุกคนต้องทำให้ได้ ถ้าวันนี้คุณรู้สึกว่าตัวเองจน การเงินกระเบียดเกษียร แสดงว่าคุณยังไม่ได้จริงจังกับเรื่องนี้ และผมอยากแนะนำให้คุณเริ่มต้นวางแผนมันอย่างจริงจัง
    .
    คนเราเวลาตกอยู่ในหลุม ผมรู้ว่ามันทุกมันท้อ แต่ไม่ว่าอย่างไรเราต้องมีสติ และสู้กลับอย่างมีแบบแผน
    .
    วันนี้ถ้าคุณกำลังติดลบอยู่ หรือเงินกินใช้เดือนชนเดือน อย่าไปท้อครับ ค่อยๆ วางแผนการเงินจัดการสภาพคล่องซะ อาจใช้เวลาสักพักในการตะกายขึ้นจากหลุมที่เราขุดล่อตัวเอง แต่พอมือเราแตะขอบหลุม และเริ่มดันตัวขึ้นโผล่พ้นจากหลุมทีละน้อย คุณจะเริ่มมีกำลังใจ
    .
    หนี้ยังไม่หมด แต่เงินเริ่มไม่ติดลบ หนี้ยังต้องจ่าย แต่เริ่มมีเงินออม เมื่อนั่นคุณก็สามารถคิดต่อไปยังการวางแผนการเงินเรื่องต่อๆไปได้ ไม่ว่าจะเป็น การวางแผนจัดการความเสี่ยง (เช่น การวางแผนซื้อประกัน) การวางแผนการลงทุน หรือการวางแผนเกษียณ ทั้งหมดเร่ิมจากการวางแผนสภาพคล่องเป็นอันดับแรก
    .
    วันนี้ผมอยากชวนทุกคนที่เงินไม่ค่อยพอใช้ เงินเก็บเงินออมไม่ค่อยมี มาวางแผนการเงินกันทุกคนนะครับ อ่านจบบทความวันนี้แล้ว เอื้อมไปหยิบกระดาษ A4 มาเขียนรายการรับจ่ายได้เลยครับ
    .
    เงินน้อยยิ่งต้องวางแผนการเงิน และต้องวางแผนให้ละเอียดด้วย จำคำนี้ไว้ให้ดีนะครับ
    .
    ขอส่งกำลังใจให้กับทุกคนครับ
    #โค้ชหนุ่ม #TheMoneyCoachTH

  • รายรับ 在 Money Coach Facebook 的精選貼文

    2021-09-12 12:18:20
    有 5,772 人按讚

    อยากเริ่มวางแผนการเงิน เค้าบอกว่าต้องทำงบการเงิน
    แล้วงบการเงิน! นี่มันคืออะไรกันฮะ?
    .
    “งบการเงินส่วนบุคคล” (Personal Financial Statement) ประกอบด้วยงบการเงินสำคัญ 2 รายการ คือ “งบรายรับรายจ่าย” และ “งบแสดงสถานะการเงิน” ซึ่งเปรียบเหมือนกระดาษ 2 แผ่น ที่ช่วยแสดงให้เห็นถึงสภาพคล่องและความมั่งคั่งของแต่ละบุคคลในช่วงเวลาหนึ่งๆ ได้
    .
    รายละเอียดของกระดาษ 2 แผ่น (หรือไฟล์ Excel) ที่ว่านี้ มีอะไรบ้าง
    .
    1.
    งบรายรับรายจ่าย คือ รายการแสดงรายรับรายจ่ายของแต่ละบุคคลในแต่ละเดือน จะได้เงินมาจากทางไหน เท่าไหร่ มีเก็บออมเท่าไหร่ และใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง? บ่งบอกถึง “สภาพคล่อง” ทางการเงินของแต่ละบุคคลในแต่ละเดือน
    .
    รายการที่จะระบุในงบนี้ก็แน่นอนว่า ต้องประกอบด้วย “รายรับ” “เงินออม” “รายจ่าย” และ “เงินคงเหลือ” โดยมีความสัมพันธ์กันเป็นคณิตศาสตร์ง่ายๆ ได้ว่า …
    .
    “รายรับ - เงินออม - รายจ่าย = เงินคงเหลือ”
    .
    ซึ่งงบรายรับรายจ่ายนี้ควรทำล่วงหน้าอย่างน้อย 6-12 เดือน เพื่อให้เห็นว่าจะมีรายได้เข้ามาแต่ละเดือนเท่าไหร่ และต้องเตรียมจ่ายไปกับอะไรบ้าง จะได้สามารถวางแผนการเงินล่วงหน้าได้
    .
    [ถ้าบันทึกรายการหลังจากใช้จ่ายไปแล้ว อันนั้น เรียก “บัญชีรายรับรายจ่าย” (จดสิ่งใช้จ่ายไป)]
    .
    2.
    งบแสดงสถานะทางการเงิน คือ รายการแสดง “ทรัพย์สิน” และ “หนี้สิน”​ ทั้งหมดที่บุคคลมีอยู่ (บางคนเรียกง่ายๆ ว่า “รายการทรัพย์สิน-หนี้สิน”) ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง บอกถึงระดับความ “มั่งคั่ง” ของบุคคล
    .
    ตัวอย่างทรัพย์สิน (Assets) ก็เช่น เงินฝาก สลากออมทรัพย์ พันธบัตร หุ้นกู้ ประกันชีวิต กองทุนรวม หุ้น บ้าน รถยนต์ และของมีค่าอื่นๆ ฯลฯ ทั้งหมดที่เราเป็นเจ้าของ
    .
    ส่วนหนี้สิน (Debts) อันนี้น่าจะรู้จักกันดี หนี้กู้ซื้อบ้าน หนี้กู้ซื้อรถยนต์ หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้สหกรณ์​ และอื่นๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราติดค้างอยู่ทั้งหมด
    .
    งบแสดงสถานะทางการเงินควรทำอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อดูทรัพย์สินหนี้สินของเราว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อจะได้นำมาวางแผนการเงินกันอีกที
    .
    ตัวชี้วัดที่บ่งบอกสถานะทางการเงินว่าอยู่ในระดับที่ดีหรือไม่ ก็คือทรัพย์สินสุทธิ หรือ “ความมั่งคั่งสุทธิ” (Net worth) โดยคำนวณจาก มูลค่าทรัพย์สินรวม - หนี้คงค้างรวม ซึ่งควรจะเป็น บวก (+) และบวกเพิ่มขึ้นทุกปี
    .
    เชื่อว่าถึงตรงนี้ทุกท่านน่าจะพอเห็นรายละเอียดของงบการเงินทั้ง 2 รายการแล้ว ยังไงก็ลองทำกันดูนะครับ จะได้เริ่มวางแผนการเงิน เพื่ออนาคตทางการเงินที่ดีและมีความสุขกันทุกคนครับ

    #TheMoneyCoachTH

你可能也想看看

搜尋相關網站