[爆卦]ประทับ หมายถึง是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ประทับ หมายถึง鄉民發文沒有被收入到精華區:在ประทับ หมายถึง這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ประทับ產品中有15篇Facebook貼文,粉絲數超過0的網紅,也在其Facebook貼文中提到, ช่วง​ปฐม​กาล​ เมื่อ​พระนาง​สิริ​มหา​มายา​พระ​ครรภ์​แก่​ ได้เสด็จ​ฯ​ จาก​กรุง​กบิลพัสดุ์​เพื่อ​กลับไป​ประสูติ​ใน​บ้าน​ตระกูล​เดิ​มที่​กรุง​เท​วะ​ท​หะ​ ...

 同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過1,550萬的網紅Grammy Gold Official,也在其Youtube影片中提到,"อ๊อด โอภาส" ความรู้สึกที่มีต่อ “แกรมมี่ โกลด์” กับ 25 ปี แกรมมี่ โกลด์ 25 ปี แห่งความผูกพัน ฉันและเธอ #25ปีแกรมมี่โกลด์ #อ๊อดโอภาส #แกรมมี่โกลด์ #...

ประทับ 在 ICEAMORE Instagram 的最讚貼文

2020-09-21 13:34:29

คุ้มค่าและไม่เสียดายเงินเลย~ วันนี้ต้องขอมาอัพเดตจริงๆ เพราะช่วงก่อนไอซ์ก็ไม่ได้อินกับการต้องมาหาปลอกหมอนผ้าไหมดีๆ ในการนอนเท่าไร จนช่วงหลังๆ ทนกระแสท...

  • ประทับ 在 Facebook 的最佳貼文

    2021-05-27 13:31:08
    有 837 人按讚

    ช่วง​ปฐม​กาล​ เมื่อ​พระนาง​สิริ​มหา​มายา​พระ​ครรภ์​แก่​ ได้เสด็จ​ฯ​ จาก​กรุง​กบิลพัสดุ์​เพื่อ​กลับไป​ประสูติ​ใน​บ้าน​ตระกูล​เดิ​มที่​กรุง​เท​วะ​ท​หะ​ ตาม​ความเชื่อ​ดั้งเดิม​แต่​โบราณ​ เมื่อ​เสด็จ​ถึง​ลุ​ม​พ​ิ​นีสถาน​ ระหว่าง​กรุง​กบิลพัสดุ์​กับ​กรุง​เท​ว​ท​หะ​ ก็​ประสูติ​พระราช​กุมาร​ใน​พระ​อริ​ยา​บท​ยืน​เหนี่ยว​กิ่ง​ต้น​สาละ​ ตรง​กับ​วันเพ็ญ​ขึ้น​ ๑๕​ ค่ำ​เดือน​ ๖​ วัน​วิ​สา​ข​บูชา

    ช่วงปัจฉิม​กาล​ พระ​บรม​ศาสดา​เสด็จ​ไปถึง​สา​ล​ว​โ​นท​ยาน​ กรุง​กุ​สิ​นารา​ ทรง​ตรัส​ให้​พระ​อานนท์​ปู​ลาด​พระ​แท่น​ระหว่าง​สาละ​พฤกษ์​สอง​ต้น​ แล้ว​เสด็จ​ประทับ​ปลงสังขาร​และ​ดับขันธ์​ปรินิพพาน​ใน​วันขึ้น​ ๑๕​ ค่ำ​ เดือน​ ๖​ หรือวันวิสาขปุ​ร​ณ​มี​ ใต้​ต้น​สาละ​คู่​นั้น​เอง​

    Credit อาจารย์วีระชัย ณ นคร

  • ประทับ 在 Kanok Ratwongsakul Fan Page Facebook 的精選貼文

    2021-05-26 09:19:04
    有 10,769 人按讚

    วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา "
    แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ "
    ปีนี้มีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน จึงตรงกับ
    วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗
    .
    วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด
    ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ​ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ
    เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ

    ๑. “ประสูติ” เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖
    ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ
    ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี หรือราวประมาณ ๒,๖๔๔ ปีก่อน
    .
    เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน
    เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้า
    สุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ
    พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี
    ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ
    ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง
    เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น
    .
    ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน
    พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น
    .
    ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ"
    ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    (ญาณอันประเสริฐสูงสุด)
    สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
    จึงถือว่า วันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
    .
    ๒. “ตรัสรู้” เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
    ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา
    ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี
    ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา
    เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
    .
    การตรัสรู้อริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ
    ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
    ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก
    .
    ชาวพุทธทั่วไปจึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า
    พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้น
    พระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ...

    ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ"
    คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น

    ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ"
    คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย

    ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ"
    คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่
    ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค )

    ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖
    ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา
    .
    ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ ๔ หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่

    ๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกาย
    ไม่สบายใจ

    ๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

    ๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ

    ๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์

    ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป
    .
    ๓. “ปรินิพพาน” หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศ
    พระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ เป็นระยะเวลา
    ๔๕ พรรษา
    .
    พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
    เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
    .
    การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
    ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีปของโลก
    เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลดเสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา
    .
    อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก

    ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ
    ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
    .
    ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า
    และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย
    เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า
    .
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
    .
    หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น
    นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี
    บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖
    .
    ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์
    และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ
    เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ
    พระปัญญาธิคุณ
    และพระบริสุทธิคุณ
    ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก

    --------------

    ตามรอย​ ธรรม
    FB​ : ใต้ร่ม ธรรม

  • ประทับ 在 Roundfinger Facebook 的最讚貼文

    2020-12-27 19:54:56
    有 1,738 人按讚

    "ทำยังไงถึงมีเรื่องเขียน"

    ผมมักเจอคำถามนี้บ่อยๆ แม้จนถึงวันนี้ยังไม่ค่อยกล้าเรียกตัวเองว่านักเขียน แต่ยอมรับเต็มปากเต็มคำว่าชอบเขียนหนังสือ และสนุกกับการเขียนเล่าเรื่องนู้นนี้มาก แอบเชื่อว่าถ้าให้เขียนไปเรื่อยๆ ทั้งวันก็ทำได้ หมายถึงมีเรื่องให้เล่าไปเรื่อยๆ จะเมื่อยก็แต่สมอง ซึ่งทำให้ต้องพักบ้าง

    ที่เป็นแบบนั้นเพราะผมชอบเล่าเรื่อง และเรื่องที่เล่าส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน ไม่ได้แปลกพิสดารอะไร ผมจึงคิดเสมอว่าใครๆ ก็เล่าเรื่องได้ ใครๆ ก็เขียนได้ อันนี้พูดถึงมาตรฐานประมาณตัวผมเอง เพราะถ้าจะเล่าเรื่องให้ได้แบบนักเขียนที่เก่งๆ ก็ยอมรับว่าไม่ง่ายเหมือนกัน

    ทีนี้ คำตอบของคำถามยอดฮิตนั้นคืออะไร

    "ทำยังไงถึงมีเรื่องเขียน"

    ผมพบว่าคำตอบสำหรับตัวเองนั้นเรียบง่ายมากเลยครับ "ฟัง" คือคำตอบ ทุกครั้งที่ได้พบผู้คนใหม่ๆ หรือคนเดิมในครั้งใหม่ เพียงนั่งคุยกันไม่กี่นาทีผมก็สัมผัสได้ทันทีว่า 'ต่อมรับรส' ในสมองถูกกระตุ้นให้ทำงาน ลิ้นชักวัตถุดิบเปิดออกเตรียมบรรจุเรื่องราวใหม่ๆ ใส่ลงไป จังหวะนั้นจะรู้ทันทีว่าคนตรงหน้าคือเหมืองทองคำ

    เปรียบเทียบแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าเขาคือคนที่มีเรื่องราวให้เรามาทำมาหากิน (ม่ายช่ายอย่างง้าน) แต่เป็นความรู้สึกว่า คนตรงหน้าคือ 'ครู' ที่มีวิชาที่เราไม่รู้มาสอนให้เราได้รู้

    แล้วทุกสิ่งก็เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ จู่ๆ ผมก็ปรับโหมดเป็น 'ผู้ฟัง' และ 'นักเรียน' (ซึ่งผมอยู่ในโหมดนี้แทบจะเป็นปกติ) สำหรับผม บทสนทนาจะสนุกหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ผมได้พูดเยอะแค่ไหน ไม่จำเป็นว่าสองฝ่ายต้องได้พูดเท่าๆ กัน แต่อยู่ตรงที่ทั้งสองฝ่ายเอ็นจอยบรรยากาศนั้นหรือเปล่า

    คำถามสนุก คนตอบก็สนุก
    คนฟังอยากรู้ คนเล่าก็อยากเล่า
    นี่คือช่วงเวลาที่ทั้งวิน-วิน และฟิน-ฟิน
    นี่คือการสนทนาที่มีความสุข

    ...

    ใช้เวลาไม่นานนัก, ถ้าฟัง, เราจะพบเลยว่าคุณครูตรงหน้าสอนวิชาอะไร ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้รู้หรืออาจารย์ ทุกคนที่เราตั้งใจฟังมีวิชาสอนเราเสมอ อาจเป็นวิชาความล้มเหลว วิชาอกหัก วิชาลำบาก ซึ่งครูไม่จำเป็นว่าต้องข้ามผ่านเรื่องยากเหล่านั้นสำเร็จแล้ว แต่ครูอาจแบ่งปันประสบการณ์และความรู้สึกในเรื่องยากที่กำลังเผชิญอยู่ให้เราได้รับรู้ นี่ก็วิชาเช่นกัน

    เมื่อฟังเป็น เราจะถามเป็น

    เพราะมีแต่การตั้งใจฟังเท่านั้นที่จะทำให้เราถามต่อได้ และตั้งคำถามที่น่าสนใจ คู่สนทนาจะยิ่งสนุกเมื่อคำถามน่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ และคำถามจะสนุกได้เมื่อเราอยากรู้เรื่องนั้นจริงๆ ไม่ใช่ถามแบบขอไปที หรือถามเป็นมารยาท หรือถามเพื่อหาเรื่องถมเดดแอร์

    ผู้ฟังจำนวนมากฟังเพื่อจะพูดเรื่องของตัวเอง

    ไม่ได้ผิดอะไร แค่คุณจะพลาดที่จะได้ฟังเรื่องของคนอื่น พลาดที่จะได้สร้างบรรยากาศสนทนาที่ดี พลาดที่จะได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนตรงหน้า และพลาดที่จะได้สร้างเพื่อนใหม่ที่ประทับใจกัน

    พลาดสำคัญคือ คุณจะจบการสนทนาโดยที่ตัวเองมีความรู้เท่าเดิม

    ...

    เวลาฟัง ผมไม่ได้คิดว่าจะฟังเพื่อมาถ่ายทอดในทุกครั้ง แต่ผมฟังเพราะอยากเข้าใจ บางครั้งก็อยากรู้สึกเหมือนที่เขารู้สึก (แน่นอนว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ก็อาจใกล้เคียง) ผมไม่ได้ฟังเพื่อจำ แต่ทุกครั้งที่ตั้งใจฟังจะจำได้เอง

    หลายคนถามว่า ทำไมเวลาคุยกับใครแล้วเอามาเล่าเหมือนถือสมุดจดระหว่างคุยกับเขา เอ๊ะ หรือแอบบันทึกเสียงไว้ ม่ายช่าย! ผมคิดว่าที่จำได้อาจเป็นเพราะเราใส่ใจ และอยู่ตรงนั้นกับคนนั้นจริงๆ อะไรที่ประทับใจมันก็ไม่ลืม มัน 'ประทับ' ลงไปในใจจริงๆ

    อีกเหตุผล, เป็นไปได้ว่าตอนนั้นผมไม่ได้คิดเลยว่าจะพูดเรื่องตัวเองยังไงดี ผมแค่คิดว่าอยากรู้อะไรจากเขาอีก อยากเข้าใจอะไรจากเขาให้มากขึ้น สมองก็เลยโล่ง พร้อมบรรจุเรื่องราวที่คนตรงหน้าเล่าให้ฟัง

    เช่นนี้แล้ว ทุกวันที่ได้พบเจอผู้คน ไม่ว่าคนใหม่หรือคนเดิมในครั้งใหม่ จึงไม่ต่างอะไรกับการเข้าห้องเรียน ผมได้เรียนรู้ผ่านการพูดคุยเสมอ เพราะคนตรงหน้ามีโลกคนละใบกับเรา ถนัดคนละอย่าง ผ่านชีวิตมาคนละแบบ ทุกคนคือเหมืองทองซึ่งเต็มไปด้วยทองคำเลอค่า แค่เราจะขุดขึ้นมาเพื่อเรียนรู้ปรับใช้หรือไม่

    บทสนทนาที่ดีคือหนึ่งในช่วงเวลาดีๆ ของชีวิต

    ได้บทเรียน ได้ใช้เวลาดีๆ ร่วมกัน ได้มีความสัมพันธ์และมิตรภาพ

    เรื่องการหยิบเก็บมาเขียนเป็นเพียงผลพลอยได้เล็กๆ ที่อยากนำมาแบ่งปันให้คนอื่น และเล่าซ้ำเพื่อย้ำเตือนตัวเอง

    เจอผู้คนก็มีความสุข นั่งฟังก็มีความสุข เล่าต่อก็มีความสุข

    ทั้งหมดนี้เริ่มจาก 'ฟัง'

你可能也想看看

搜尋相關網站