雖然這篇นพ คืออะไร鄉民發文沒有被收入到精華區:在นพ คืออะไร這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 นพ產品中有1310篇Facebook貼文,粉絲數超過27萬的網紅อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์,也在其Facebook貼文中提到, ที่มีการแชร์ภาพ "มือเด็ก มีรอยพยาธิ ชอนไช" เป็นเรื่องจริงนะครับ ... มันคือ "พยาธิปากขอ" ครับ ระวังๆ เวลาเด็กไปเล่นดินเล่นทรายที่ไม่สะอาด มีหมาแมวไปอึท...
同時也有164部Youtube影片,追蹤數超過265萬的網紅WOODY,也在其Youtube影片中提到,WOODY FM Special Presented by Merz Aesthetics สร้างความมั่นใจในตัวเองมากขึ้นแบบ “Confidence to be” ความมั่นใจบนคาแรคเตอร์และความสวยงามของตัวเอง เมื่อม...
「นพ」的推薦目錄
- 關於นพ 在 peckratthapoom Instagram 的精選貼文
- 關於นพ 在 KASIDEJ HONGLADAROMP. Instagram 的精選貼文
- 關於นพ 在 POKMINDSET Instagram 的最佳貼文
- 關於นพ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳解答
- 關於นพ 在 Facebook 的最讚貼文
- 關於นพ 在 Facebook 的最佳解答
- 關於นพ 在 WOODY Youtube 的最佳貼文
- 關於นพ 在 ืNANAKE555 Youtube 的最佳解答
- 關於นพ 在 WOODY Youtube 的最佳解答
นพ 在 peckratthapoom Instagram 的精選貼文
2021-09-24 10:38:22
Cr. Pastor varun ใครอยากมีพระพรและชัยชนะ ใครอยากเกิดผล ข้อแนะนำ 1. กลับใจจากบาปให้เร็วที่สุด และดำเนินชีวิตที่บริสุทธิ์ 2. อ่านพระคำและฟังคำสอนที่มีก...
นพ 在 KASIDEJ HONGLADAROMP. Instagram 的精選貼文
2021-09-24 10:05:10
ทุกคนครับ มีอะไรดีๆมาบอก ผมกำลังจะเข้าร่วมกิจกรรม Asia Pacific Get Moving With Good Nutrition 2021 Virtual Run ครั้งที่ 2 ได้ข่าวมาว่า ครั้งก่อนคนเข้า...
นพ 在 POKMINDSET Instagram 的最佳貼文
2021-09-24 08:04:04
แก๊งค์ผมไม่ได้ใหญ่ เพื่อนที่สนิทกันจริงๆก็ไม่ได้เยอะ แต่ผมก็แฮปปี้มากๆเพราะสิ่งที่สำคัญจริงๆคือ quality ไม่ใช่ quantity 💯💯💯 ขอบคุณเพือนพี่น้องและทีมงา...
-
นพ 在 WOODY Youtube 的最佳貼文
2021-06-20 13:00:08WOODY FM Special Presented by Merz Aesthetics สร้างความมั่นใจในตัวเองมากขึ้นแบบ “Confidence to be” ความมั่นใจบนคาแรคเตอร์และความสวยงามของตัวเอง เมื่อมีความมั่นใจแล้ว ก็จะรู้สึกดี และดูดีกว่าที่เคยเป็น
.
EP ที่เราจะมาทำความเข้าใจ เรื่องการเติม สารบริสุทธิ์ต่างๆเข้าไป
เลือกอย่างไรให้ดี เติมอย่างไรให้เป๊ะ เหมาะสมกับรูปหน้า
โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง รศ. นพ. วาสนภ วชิรมน
จาก ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมด้วย ดีเจ นุ้ย ที่จะมาแชร์ประสบการณ์ เคยเสี่ยงจากความไม่รู้ เติมฟิลเลอร์ ในจุดที่เสี่ยงถึงชีวิต!!!
.
ฝากติดตาม WOODY FM Special Presented by Merz Aesthetics ได้ใน Facebook, Instagram และทุกช่องทางใน Podcast ตามด้านล่าง
Soundcloud: https://bit.ly/3gkfOfq
Spotify: https://spoti.fi/3cFYrTZ
Podbean: https://bit.ly/3gzBZNs
Apple podcast: https://apple.co/3pX9nCb
.
#WOODYFM #MerzAesthetics -
นพ 在 ืNANAKE555 Youtube 的最佳解答
2021-06-05 23:48:45Sexadventure สามหมอกับหนึ่งหมา หมอโอ หมอโอ๋ หมอโอ๊ต
มาพร้อมหน้า คอยตอบปัญหาเรื่องเพศให้ลูกเพจ ไม่ว่าจะปัญหาของผู้หญิง ผู้ชาย
หรือเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยา เรื่องบนเตียง ปัญหาคู่ชีวิต แบบครบจบได้ที่ไลฟ์นี้
พวกพี่รอรับสายอยู่ แค่พวกเอ็งโทรมาให้ติด..!!
#หงี่เหลาดรีมทีม #สามหมอกับหนึ่งหมา #หงี่เหลาเป่าติ้ว
นพ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳解答
ที่มีการแชร์ภาพ "มือเด็ก มีรอยพยาธิ ชอนไช" เป็นเรื่องจริงนะครับ ... มันคือ "พยาธิปากขอ" ครับ ระวังๆ เวลาเด็กไปเล่นดินเล่นทรายที่ไม่สะอาด มีหมาแมวไปอึทิ้งไว้ จะมีพยาธิปนเปื้อนอยู่ได้ครับ
ขอเอาข่าวจาก PPTV ที่อธิบายเรื่องนี้ไว้ มาเพิ่มเติมครับ
-------
(รายงานข่าว) "โซเซียลแชร์พยาธิไชใต้ผิวหนังเด็กเล็ก"
30 ก.ย. 2564
อุทาหรณ์สำหรับผู้ปกครองที่มีลูกเล็ก หลังออกไปเล่นดินทรายอาจทำให้พยาธิเข้าไปชอนไชใต้ผิวหนังได้ แพทย์เผยอาจเป็นพยาธิปากขอที่มีตัวอ่อนอยู่ในดินทราย ส่วนใหญ่พบในดินที่มีความชื้นและพบได้บ่อยในเด็กเล็ก หากเข้าไปในชั้นผิวหนังอาการไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตแต่แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับยาฆ่าเชื้อ
เฟซบุ๊กแฟนเพจ “อีซ้อขยี้ข่าว2” โพสต์ภาพที่ได้มาจากผู้ปกครองท่านหนึ่ง ฝากเตือนเด็กเล็กที่ออกไปเล่นดินทรายกลับมาแต่อาจลืมล้างมือ ทำให้พยาธิที่มากับดินทรายเข้าไปชอนไชใต้ผิวหนังของเด็กได้ ประเด็นนี้ทีมข่าวสอบถาม ศ.ดร.นพ.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ.เผด็จ ให้ข้อมูลว่าอาจเป็นกลุ่มพยาธิปากขอ หรือพยาธิเส้นด้ายที่อยู่บนดินและชอนไชเข้าไปในผิวหนัง
หากเด็กเล็กเล่นดินทรายที่มีตัวอ่อนพยาธิอยู่ก็อาจจะชอนไชเข้าไปในผิวหนังได้ และส่วนใหญ่จะพบในดินที่มีความชื้นและพบได้บ่อยในเด็กเล็กที่เล่นดินทราย
นพ.เผด็จ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าวงจรชีวิตของพยาธิปากขอ ในคน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะตายไปเอง ส่วนใหญ่หมอจะรักษาด้วยการให้ยาฆ่าพยาธิไปกิน
จาก https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/157510/amp
--------
(รายงานข่าว) "แพทย์แนะไม่ควรเดินเท้าเปล่าตามพื้นดิน-พื้นทราย เสี่ยง “โรคตัวอ่อนพยาธิไชตามผิวหนัง”
หลังจากโลกออนไลน์ได้มีการส่งข้อเกี่ยวกับเรื่องของตัวอ่อนพยาธิชอนไชผิวหนัง ล่าสุดกรมควบคุมโรค ได้เตือนประชาชนระวังตัวอ่อนพยาธิไชตามผิวหนัง เผยเป็นตัวอ่อนพยาธิปากขอของสุนัขและแมวอาศัยในดิน ตัวอ่อนพยาธินี้จะไชเข้าไปในเท้าคนที่เดินเท้าเปล่า แนะให้หลีกเลี่ยงพื้นดินที่ชื้นแฉะ ไม่ควรเดินเท้าเปล่าตามพื้นดินและพื้นทรายตามชายหาด
วันนี้ ( 5 ก.พ.61) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยถึงกรณีที่มีการส่งต่อกันในโซเชียลเกี่ยวกับตัวอ่อนพยาธิชอนไชผิวหนัง กรมควบคุมโรค ขอให้ข้อมูลว่า โรคตัวอ่อนพยาธิชอนไชผิวหนัง (Cutaneous larva migrans) เป็นโรคที่เกิดจากตัวอ่อนพยาธิปากขอของสัตว์ เช่น สุนัข แมว แพะ แกะ ม้า สุกร โค หรือพยาธิเส้นด้ายของสัตว์ โดยตัวอ่อนพยาธิอาศัยอยู่ในดิน ส่วนใหญ่เป็นพยาธิปากขอ จะไชเข้าไปทางผิวหนัง ผ่านทางรอยแผลหรือรูขุมขนในผิวหนังชั้นนอกเท่านั้น หรือชั้นหนังกำพร้า เกิดผื่นเส้นนูนแดงคดเคี้ยวใต้ผิวหนังตามทางที่ตัวอ่อนพยาธิไชผ่าน แต่เนื่องจากคนไม่ใช่พาหะที่ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยได้ ดังนั้น ตัวอ่อนพยาธิจึงไปตามผิวหนังชั้นหนังกำพร้าเพื่อหาทางออกจากร่างกายคน ตัวอ่อนพยาธิจะตายเองใน 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือน พยาธิสภาพและอาการแสดงทางผิวหนังจะเป็นอยู่นานจนกว่าตัวอ่อนพยาธิจะถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกัน
ส่วนการติดต่อ คนจะติดโรคโดยบังเอิญ จากการที่ตัวอ่อนพยาธิ ที่อาศัยอยู่ตามพื้นดินชื้นแฉะแล้วไชเข้าผิวหนังของคนที่เดินเท้าเปล่าหรืออาจจะติดตามตัวทาก หรือเข้าตามผิวหนังของเด็กที่นั่งเล่นตามพื้นดินหรือทรายตามชายหาด และสามารถไชผ่านเสื้อผ้าบางๆ ของเด็กได้ สำหรับการเกิดโรคนั้น ตัวอ่อนพยาธิจะหลั่งเอ็นไซม์เพื่อไชผ่านผิวหนังปกติ ผิวหนังที่เป็นแผล หรือไชเข้ามาตามรูขุมขน มาอยู่ในชั้นหนังกำพร้า แต่ไม่สามารถไชผ่านหนังแท้ได้ หลังจากนั้น 2-3 ชั่วโมง ผิวหนังบริเวณนั้นจะเกิดการอักเสบ และอีก 2-3 วันจะเคลื่อนที่ไปใต้ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ผิวหนังจะอักเสบ บวมน้ำ มีเม็ดเลือดขาวมาคั่งอยู่ จากนั้นผู้ป่วยจะเกิดผื่น โดยตอนแรกเป็นตุ่มเล็กๆ สีแดง เมื่อตัวอ่อนพยาธิไชเข้าไปจะเห็นรอยแผล เป็นผื่นเส้นนูนสีแดงกว้าง 2-3 มิลลิเมตร คดเคี้ยวไปมา ซึ่งผื่นอาจมีความยาวได้ถึง 15-20 เซนติเมตร ตัวอ่อนของพยาธิจะเคลื่อนที่วันละ 2-3 มิลลิเมตร จนถึงหลายเซนติเมตร ผื่นมักพบบริเวณผิวหนังที่สัมผัสกับดินโดยตรงคือ มือ เท้า ในเด็กเล็กอาจพบผื่นที่ก้นได้ อาการร่วมที่สำคัญคือมีอาการคันมาก อาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ ทั้งนี้ ขอให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกวิธี ต่อไป
สำหรับโรคนี้พบมากในภูมิภาคร้อนชื้นและอบอุ่น เช่น ประเทศแถบอเมริกาตอนใต้ อเมริกากลาง อเมริกาใต้ บราซิล แถบชายหาดทะเลแคริบเบียน แถบอากาศกึ่งร้อนชิ้นอบอุ่นทั่วโลก ประเทศอัพริกาตอนใต้ เอเชียตอนใต้ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง ประเทศอินโดนีเซีย บอร์เนียว มาเลเซีย
กรมควบคุมโรค แนะนำวิธีป้องกัน โดยขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงพื้นดินที่ชื้นแฉะ ไม่ควรเดินเท้าเปล่าตามพื้นดินหรือพื้นทราย เช่น ตามชายหาด ให้สวมรองเท้าทุกครั้งที่ต้องเดินบนพื้นดินและรีบล้างเท้าทำความสะอาดทุกครั้งหลังเดินชายหาด สวมถุงมือทุกครั้งที่ต้องสัมผัสกับดิน เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนพยาธิไชเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงให้ขับถ่ายอุจจาระลงส้วมทุกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ ล้างมือบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร และก่อนออกจากห้องน้ำ นอกจากนี้ ขอให้เจ้าของสุนัขและแมว นำสัตว์เลี้ยงไปตรวจรักษาโรคหนอนพยาธิในสัตว์ที่สามารถแพร่โรคสู่คนได้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่ตัวอ่อนพยาธิจากสัตว์ลงในพื้นดิน
จาก https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/75231
นพ 在 Facebook 的最讚貼文
ประธานราชวิทยาลัยอายุแพทย์ฯ แนะนำ คนจองโมเดอร์นา ที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็มแล้ว น่าจะฉีดบูสต์เข็ม 3 ด้วย “แอสตร้าเซนเนกา” ไม่ต้องรอครับ …
“ … ความเห็นส่วนตัวคิดว่า คนที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ถ้าได้รับการติดต่อให้ได้รับเข็ม 3 ด้วยวัคซีนแอสตราเซเนกาในช่วงนี้ ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็ม 2 มานานกว่า 3 เดือนแล้ว น่าจะรับวัคซีนแอสตราเซเนกาไปเลย ไม่ต้องรอ ไม่ต้องเสียดายเงินกัน ถือว่าจ่ายเป็นค่าบริหารความเสี่ยง เพราะเราไม่รู้มาก่อนเลยว่ารัฐบาลจะให้วัคซีนเข็มที่ 3 กับเราได้เร็วกว่าวัคซีนที่เราจองไว้แบบนี้
แต่การตัดสินใจว่าจะฉีดวัคซีนแอสตาเซเนกาตอนนี้เลย หรือจะรอวัคซีนโมเดอนาที่ยังไม่รู้จะมาเมื่อไหร่ คงขึ้นกับแต่ละคนว่าจะยอมรับความเสี่ยงที่จะเป็นโควิด 19 ระหว่างรอได้หรือไม่ครับ”
#ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด
พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โพสต์เฟซบุ๊ก Anutra Chittinandana ระบุ
“มีคนที่ได้รับวัคซีนของบริษัทซิโนแวค 2 เข็มแล้วถามว่า ตอนนี้มี รพ.ติดต่อมาสอบถามว่าจะฉีดวัคซีนของบริษัทแอสตราเซเนกากระตุ้นไหม แต่ก็จองและจ่ายเงินวัคซีนของบริษัทโมเดอนาไว้จะทำอย่างไรดี?
คนที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มแล้ว หลัง 3 เดือนส่วนใหญ่ภูมิคุ้มกันจะลดลงมากจนไม่น่าจะช่วยป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาได้ รวมทั้งไม่แน่ใจว่าจะป้องกันอาการรุนแรงของโควิด 19 ได้ดีแค่ไหน จึงควรได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ซึ่งมีการศึกษาในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการกระตุ้นด้วย วัคซีนแอสตราเซเนกาว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี ถึงแม้จะสู้การกระตุ้นด้วยวัคซีนไฟเซอร์ไม่ได้ แต่ก็สูงพอที่จะป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลตาได้ และยังมีข้อมูลล่าสุดที่พบว่าคนที่ได้รับการกระตุ้นด้วยวัคซีนแอสตราเซเนกามีภูมิคุ้มกันลดลงช้ากว่าคนที่กระตุ้นด้วยวัคซีนไฟเซอร์อีกด้วย
ส่วนข้อมูลของการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีนโมเดอนาในคนที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มยังไม่มี เพราะเรายังไม่มีวัคซีนนี้ใช้ในเมืองไทย แต่ผลก็ไม่น่าจะต่างจากการกระตุ้นด้วยวัคซีนไฟเซอร์ซึ่งเป็นวัคซีน mRNA เหมือนกัน
ปัญหาสำคัญคือถึงตอนนี้เรายังไม่รู้ว่าวัคซีนโมเดอนาจะมาเมื่อไหร่ แล้วคนที่จองไว้ก็ไม่รู้ว่าจะได้ฉีดในล๊อตไหนด้วย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขที่เสนอ ศบค.ยังลงว่ากว่าจะได้ คือเดือนธันวาคม 64
ความเห็นส่วนตัวคิดว่า คนที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ถ้าได้รับการติดต่อให้ได้รับเข็ม 3 ด้วยวัคซีนแอสตราเซเนกาในช่วงนี้ ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็ม 2 มานานกว่า 3 เดือนแล้ว น่าจะรับวัคซีนแอสตราเซเนกาไปเลย ไม่ต้องรอ ไม่ต้องเสียดายเงินกัน ถือว่าจ่ายเป็นค่าบริหารความเสี่ยง เพราะเราไม่รู้มาก่อนเลยว่ารัฐบาลจะให้วัคซีนเข็มที่ 3 กับเราได้เร็วกว่าวัคซีนที่เราจองไว้แบบนี้
แต่การตัดสินใจว่าจะฉีดวัคซีนแอสตาเซเนกาตอนนี้เลย หรือจะรอวัคซีนโมเดอนาที่ยังไม่รู้จะมาเมื่อไหร่ คงขึ้นกับแต่ละคนว่าจะยอมรับความเสี่ยงที่จะเป็นโควิด 19 ระหว่างรอได้หรือไม่ครับ”
นพ 在 Facebook 的最佳解答
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แนวทางการต่อสู้กับโควิดจากนี้ไปครับ …
วัคซีนที่ครอบคลุมมากขึ้น ทำให้รับมือกับโควิดได้ดีขึ้น ตามด้วย ATK , Universal Prevention และ CIVID Free Setting
“การล็อกดาวน์ที่ผ่านมา เหมือนเราเตะเข้าเป้าไปแล้ว ตามด้วยการฉีดวัคซีนทำให้โควิดเปลี้ยลง และเตะตัดขาด้วย ATK ทำให้เชื้อไวรัสเริ่มอ่อนกำลังลง แต่เราก็มีการ์ดป้องกันตัวเอง และโควิดฟรีเซ็ตติ้ง จะเป็นระยะห่างที่ทำให้ไวรัสชกเราได้ยาก ดังนั้น เราก็จะอยู่กับมันไปอย่างนี้ แต่โควิดจะเตี้ยลงทุกวันๆ คลัสเตอร์ใหญ่ๆ ก็เกิดได้ยาก ส่วนเรื่องการกลายพันธุ์ มีผู้เชี่ยวชาญระบุว่าไวรัสกลายพันธุ์ได้ระดับหนึ่งเท่านั้น น่าจะอยู่ร่วมกันได้โดยโรคไม่รุนแรง คาดว่าจะสามารถรักษาระบบอย่างนี้ไปได้ ต้นปีหน้า ราวๆ เดือน มี.ค. 2565 โรคน่าจะสงบพอสมควร ใกล้ภาวะปกติ แต่ประชาชนก็ต้องสวมหน้ากากอนามัยต่อไปอีกระยะหนึ่ง”
#ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด
28 กย.64 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงสถานการณ์โควิด-19 ว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงขาลง เป็นผลมาจากมาตรการล็อกดาวน์ก่อนหน้านี้ ผู้ป่วยหนักและผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจลดลงตามลำดับ จากก่อนหน้านี้ 4- 5 พันรายต่อวัน ล่าสุด 3 พันรายต่อวัน มีการประมาณการว่าจะมีผู้ติดเชื้อราว 5 พันรายต่อวันก่อนสิ้นเดือน ต.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายปัจจัยที่จะทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น คือ การติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน (คลัสเตอร์) และเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ และมีการประเมินฉากทัศน์ว่าตัวเลขจะกระดกขึ้นหลังเดือน ต.ค. เพราะหมดแรงเหวี่ยงของช่วงล็อกดาวน์ จึงต้องพยายามทำให้การพยากรณ์นี้ไม่เป็นจริง สิ่งที่เราต้องทำคือการการป้องกันตัวเอง การตรวจ ATK มาตรการโควิด ฟรี เซ็ตติ้ง ซึ่งคาดว่าน่าจะกดการติดเชื้อลงได้
“ถ้าถามว่าก่อนหน้านี้ก็ทำ แต่ทำไมไม่ลดลง ต้องบอกว่าตอนนี้บริบทเปลี่ยนไป 2 เดือนก่อน ตอนนั้นการติดเชื้อไม่ลดลง เพราะความครอบคลุมของวัคซีนต่ำ เลยไม่เสริมกัน แต่วันนี้อัตราการฉีดวัคซีนของไทยครอบคลุมสูงขึ้น อัตราการป่วยหนักก็เริ่มลดลง ซึ่งตอนนี้คนไทยเกือบ 50% ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม ส่วนเข็ม 2 ฉีดแล้วครึ่งหนึ่งของคนฉีดเข็ม 1 คาดว่าภายในสิ้นเดือน ต.ค.นี้ สัดส่วนการฉีดวัคซีนเข็ม 1 เท่ากับ 60% เข็ม 2 อยู่ที่ 50% ถ้าสิ้นเดือน ธ.ค. ตามเป้าหมายคือเข็ม 1 จำนวน 80 % และเข็ม 2 จำนวน 70% เท่ากับอารยประเทศ ก็เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้”
“ปัจจัยที่จะทำให้ผู้ติดเชื้อเหวี่ยงขึ้นไปอีก คือ เกิดคลัสเตอร์ใหญ่ และเชื้อกลายพันธุ์ ซึ่งตอนล็อกดาวน์เหมือนเราเตะเข้าเป้าไปแล้ว ตามด้วยการฉีดวัคซีนทำให้เปลี้ยลง และเตะตัดขาด้วย ATK ทำให้เชื้อไวรัสเริ่มอ่อนกำลังลง แต่เราก็มีการ์ดป้องกันตัวเอง และโควิดฟรีเซ็ตติ้ง จะเป็นระยะห่างที่ทำให้ไวรัสชกเราได้ยาก ดังนั้น เราก็จะอยู่กับมันไปอย่างนี้ แต่โควิดจะเตี้ยลงทุกวันๆ คลัสเตอร์ใหญ่ๆ ก็เกิดได้ยาก ส่วนเรื่องการกลายพันธุ์ มีผู้เชี่ยวชาญระบุว่าไวรัสกลายพันธุ์ได้ระดับหนึ่งเท่านั้น น่าจะอยู่ร่วมกันได้โดยโรคไม่รุนแรง คาดว่าจะสามารถรักษาระบบอย่างนี้ไปได้ ต้นปีหน้า ราวๆ เดือน มี.ค. 2565 โรคน่าจะสงบพอสมควร ใกล้ภาวะปกติ แต่ประชาชนก็ต้องสวมหน้ากากอนามัยต่อไปอีกระยะหนึ่ง”
นพ.เกียรติภูมิ กล่าวด้วยว่า รูปแบบการติดเชื้อของเราจะเหมือนกับยุโรป เช่น อังกฤษ ที่ประชากรใกล้เคียง เราจะฉีดวัคซีนให้ใกล้เคียงเขา ซึ่งเดือนหน้าก็จะเท่ากัน บวกกับมีมาตรการควบคุมป้องกันโรคเต็มที่ รูปแบบเราก็จะเป็นเหมือนยุโรป คาดว่ามีการติดเชื้อวันละไม่เกิน 5 พันคน ก็สามารถดูแลได้ และไม่มีการป่วยหนัก เสียชีวิตจำนวนมาก อัตราการติดเชื้อและเสียชีวิตไม่มากไปกว่าไข้หวัดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในระยะนี้ที่การติดเชื้ออยู่ในช่วงขาลง แต่จะเห็นอัตราการติดเชื้อยังเหวี่ยงหลักพันกับหลักหมื่นอยู่