[爆卦]ท่านเซอร์ คือ是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ท่านเซอร์ คือ鄉民發文沒有被收入到精華區:在ท่านเซอร์ คือ這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ท่านเซอร์產品中有2篇Facebook貼文,粉絲數超過116萬的網紅อวยไส้แตกแหกไส้ฉีก,也在其Facebook貼文中提到, Rocketman หนังดีเหลือเกิน เพลงก็เพราะเนื้อหาก็ประทับใจ ชีวิตท่านเซอร์ช่างมีสีสันเหลือเกิน . ท่านเซอร์ เอลตัน จอห์น หรือที่หลายๆคนชอบเรียกว่า ป้าแอ๋ว น...

 同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過92萬的網紅NRsportsRadio,也在其Youtube影片中提到,➤ ติดตาม NRsportsRadio ได้ที่ ☺ Facebook : https://www.facebook.com/nrsportsradio ☻ สตรีมเกมส์ : https://www.facebook.com/nresport ☺ Youtube : https:/...

  • ท่านเซอร์ 在 อวยไส้แตกแหกไส้ฉีก Facebook 的精選貼文

    2019-06-13 08:00:00
    有 1,900 人按讚

    Rocketman หนังดีเหลือเกิน เพลงก็เพราะเนื้อหาก็ประทับใจ ชีวิตท่านเซอร์ช่างมีสีสันเหลือเกิน
    .
    ท่านเซอร์ เอลตัน จอห์น หรือที่หลายๆคนชอบเรียกว่า ป้าแอ๋ว นี่คือความภูมิใจของชาว LGBT จริงๆนะ แกก้าวขึ้นมาจนมีวันนี้ได้คือพรสวรรค์และฝีมือล้วนๆ แกคงเป็นคนไม่กี่คนที่มีหนังประวัติชีวิตตัวเองออกมาให้คนดูในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และด้วยความที่ว่าชีวิตแกเต็มไปด้วยสีสัน การทำหนังเล่าเรื่องไปเรื่อยๆคงธรรมดาไป ด้วยความเป็นร็อคสตาร์เป็นหนังร้อง ทำเป็นหนังเพลงเฉยๆก็ธรรมดาไปอีก ก็เลยออกมาเป็นมิวสิ...
    Continue Reading

  • ท่านเซอร์ 在 KIM Property Live Facebook 的最佳貼文

    2017-07-02 18:05:00
    有 69 人按讚


    "ช่างเเม่ง ลุยเลย" - Richard Branson
    #ชีวิตอย่างมันส์

    หลักการง่ายๆ และทรงพลังมาก ของผู้ประกอบระดับโลกอย่างเซอร์ ริชาร์ด แบรนสัน คือ
    .
    “อย่ากลัวที่จะทำ อย่ากลัวที่จะผิดพลาดจนไม่ได้ทำ”
    “มองโอกาสและจำกัดความเสียหายไว้เสมอ”
    “เจ็บแล้วไม่ใช่แค่จำ และต่อนำประสบการณ์มาเรียนรู้และเดินหน้าต่อไป ไม่มาจมกับอดีต”
    .
    พูดนั้นดูเหมือนง่าย ฟังดูก็คล้ายกับเป็นเรื่องเบสิก ดังนั้นเรามาเรียนรู้จากประสบการณ์ของท่านเซอร์ดีกว่าครับ
    .
    สำหรับหลักการแรก....... เซอร์ ริชาร์ด แบรนด์สัน มีปรัชญาประจำตัว อันนึงที่เขาใช้ ประจำครับ เป็นแนวคิดเรียบง่าย.....
    .
    "Screw it--let's do it" ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า “ช่างแม่ม รีบลุยทำเลยดีกว่า”
    .
    แนวคิดอันนี้มาจากการที่ เขาเชื่อว่าหากต้องการสิ่งใด คุณต้องลงมือทำ ไม่ยอมให้คำว่า "ไม่" มาเป็นอุปสรรค และไม่ยอมให้กฎเกณฑ์ใดๆ มาขัดขวางจากเป้าหมาย สำหรับเขาแล้ว ทุกสิ่งย่อมมีทางเป็นไปได้ ถ้าคุณมีความมุ่งมั่นมากพอ และเชื่อมั่นในตัวเอง ถึงไม่มีประสบการณ์ตรง ก็หาได้จากทางอื่น คุณไม่จำเป็นต้องเข้าเรียนศิลปะโดยตรง เพื่อจะเป็นดีไซเนอร์ ไปสมัครเข้าทำงานในห้องเสื้อชื่อดังเลยสิ เริ่มจากระดับต่ำสุด แล้วคุณก็จะเรียนรู้ได้มากกว่า และไต่เต้าขึ้นมาได้เช่นกัน
    .
    ฟังดูแล้วก็ค่อนข้างสอดคล้องกับหลักทางจิตวิทยานะครับ
    พอเราคิดจะทำอะไร ก็มัว คิดๆ แต่ไม่ได้ลงมือทำสักที
    พอวันที่จิตตกหน่อย ก็คิดแต่ว่ามันคงทำไม่ได้ เพราะเหตุผลเป็นร้อยๆ อย่าง
    พอวันที่ฝันหวานหน่อย ก็ฝันกลางวันไปไกลว่า ถ้าทำอันนี้นะ เราสามารถขยายไปทางโน้นทางนี้ทางนั้น ได้ไกลมากมาย
    .
    บอกตรงๆ เลยนะครับว่า การไม่ลงมือทำจริงจัง ไม่ต่างอะไรกับการไม่ทำอะไรเลยนั่นแหละครับ
    เพราะทุกอย่างก็อยู่แค่ความฝัน ที่ไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเหมือนกัน
    .
    สิ่งที่ เซอร์ ริชาร์ด แบรนสันสื่อออกมาเลยก็คือ “อย่ากลัวที่จะทำ”
    คุณต้องเริ่มต้น และ ทำ ทำ ทำ ก่อน เหมือนอย่างที่ ถ้าคุณอยากลดความอ้วน คุณต้องวิ่งให้ได้วันละ 30 นาที และจากนั้น คือ “วิ่ง วิ่ง และ วิ่ง” ให้ได้ทุกวันนั่นเอง
    .
    ถ้าคุณมัวแต่ “กลัวความผิดพลาด” ชีวิตก็จะไม่ได้ เริ่มต้นสิ่งใหม่” สักที
    .
    หลักการที่สอง ที่ เซอร์ ริชาร์ด แบรนสัน เขาเน้นมาก ก็คือ “หาโอกาสให้ได้ และ จำกัดความเสียหายเสมอ”
    เราอาจเห็น เซอร์ ริชาร์ด แบรนสัน คิดว่าธุรกิจอะไรดูทำแล้ว สนุกก็ไปทำ แต่จริงๆ ในทุกสิ่งที่จะทำ เขาเริ่มที่การหาโอกาสที่ดีก่อน และก็ดูเรื่องจำกัดความเสียหายในกรณีที่ไม่เป็นตามที่คาดด้วย
    ตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดเลยก็คือ ตอนที่เขาตัดสินใจทำสายการบิน Virgin คนทั่วไปอาจคิดว่านี่คือการเอาเงินล้านมาเดิมพันกับธุรกิจใหม่ ที่เขาไม่มีความรู้เลย แต่ที่จริงแล้วมันไม่ใช่เลยครับ
    .
    ก่อนตัดสินใจเสี่ยงเขาศึกษาหาโอกาสก่อนแล้ว โดยเขาได้ไปขอคำปรึกษาจาก เซอร์เฟรดดี้ เลคเกอร์ ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของสายการบิน แนวคิดแบบ สายการบิน Low cost แห่งแรกในอังกฤษ หลังจากที่ เซอร์ ริชาร์ด แบรนสันรู้ว่าสายการบินทุนต่ำที่มีอยู่เดิมนั้นถึงมีลูกค้ามาก แต่บริการยังไม่ทั่วถึง จึงยังพอมีที่ว่างสำหรับสายการบินน้องใหม่
    .
    พอโอกาสธุรกิจยังเปิดกว้างอยู่ เซอร์ ริชาร์ด แบรนสัน ก็มาศึกษาเรื่องความเสียหายที่ยอมรับได้ คำนวณต้นทุนที่ธุรกิจใหม่ต้องใช้ ซึ่งเรื่องหลักเลยก็คือ เครื่องบินที่จะเป็น ยานพาหนะมาส่งผู้โดยสาร โดยเจรจาต่อรองกับโบอิ้ง ว่าเครื่องบินนั้นจะเป็นการเช่า และเมื่อ ครบ 12 เดือน เขามีสิทธิ์คืนเครื่องบินที่เช่ามาได้ก่อนหมดอายุสัญญาเท่านั้น ตรงนี้เราเห็นได้เลยว่า ถ้าธุรกิจการบินนี้ไปไม่รอด เขาก็ได้จำกัดความเสียหายไว้แล้ว ยิ่งกว่านั้น เซอร์ ริชาร์ดยังมาดูด้วยว่า ผลกระทบของความเสียหายที่เกิดขึ้นมันมากแค่ไหนกับธุรกิจโดยรวม หลังจากคำนวณดูแล้วพบว่ามันไม่ถึงหนึ่งในสามของกำไรต่อปีของค่ายเพลง และหากสูญเสียเงินจำนวนนี้ไป มันก็ไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่มีอยู่เดิม นี่แหละครับสิ่งที่เขาดูว่า ควรเสี่ยงและลุยกับธุรกิจใหม่ได้เลยไหม
    ต่อไปนี้ ทุกครั้ง ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจเสี่ยงกับเรื่องใด อย่าลืมถามตัวเองก่อนว่ามีข้อมูลครบทุกด้านแล้วหรือยัง และพร้อมที่จะสูญเสียได้แค่ไหนนะครับ
    .
    ไม่มีใครไม่เคยแพ้ครับ เซอร์ ริชาร์ด แบรนสัน ก็อยู่ในกฎนี้เหมือนกัน แต่เมื่อล้มเหลวแล้วควรทำอย่างไรต่อ
    อันนี้สิ คือสิ่งที่เราน่าเรียนรู้ จากประสบการณ์อันโชกโชนของเขา
    .
    ในปี 1994 เซอร์ ริชาร์ด แบรนสันได้บุกเข้าสู่ธุรกิจน้ำอัดลม โดยหวังว่า แบรนด์ เวอร์จิ้น โคล่าจะโค่นยักษ์ใหญ่อย่างโค้กและเป๊ปซี่ให้ได้
    .
    แผนการตลาดขั้นเทพของ เวอร์จิ้น โคล่า มีตั้งแต่ จ้างเซ็กซี่สตาร์อย่าง พาเมล่า แอนเดอร์สันมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ โดยขวดมีสีแดงแรงตามแบรนด์ของกลุ่มเวอร์จิ้น นอกจากนี้ขวดยังมีรูปทรงที่มีส่วนเว้า โดยให้ขวดมีความ “กิ่ว” ตรงกลางเหมือนเอว ส่วนข้างบนก็มีความ “ตุ้ม” เหมือนหน้าอก จนมีการขนานนาม เวอร์จิ้น โคล่า ว่า The Pammy ซึ่งเป็นชื่อเรียกของ พาเมล่า แอนเดอร์สันเลยทีเดียว การเปิดตัวของ เวอร์จิ้น โคล่านั้นได้รับการกล่าวขวัญกันอย่างเซ็งแซ่ทั่วเกาะอังกฤษเลยทีเดียว
    .
    ส่วนในการเปิดตัวที่ฟากอเมริกานั้น เซอร์ ริชาร์ด แบรนสัน เลือก Time Square ใน New York แลนด์มาร์กสำคัญของโลกเป็นที่เปิดตัว เวอร์จิ้น โคล่า เขาจัดฉากให้ตัวเองอยู่บนรถถังเชอร์แมน แล้วค่อยๆ วิ่งรถถังมาบดขยี้ ขวดของทั้งโค็กและเป๊ปซี่ แบนเละ และกระจายเต็มถนนเลย เหตุการณ์นี้ทำให้ เวอร์จิ้นโคล่า ได้พื้นที่สื่อไปมากมาย
    .
    ไม่ใช่แค่ยึดพื้นที่สื่ออย่างเดียว เซอร์ ริชาร์ด แบรนสันยังจะกระจาย เวอร์จิ้น โคล่า เข้าไปขายใน ธุรกิจบริการต่างๆ ในเครือ เวอร์จิ้น เช่น รถไฟ, โรงแรม และบนสายการบิน ด้วย ส่วนการทำตลาดทั่วไปนั้น เวอร์จิ้นโคล่าใช้ กลยุทธ์ราคาขายที่ถูกกว่า คู่แข่งรายใหญ่ทั้ง 2 ราย เพราะมีต้นทุนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ถูกกว่า
    .
    การเข้ามาทำธุรกิจน้ำอัดลมนี้ของ เซอร์ ริชาร์ด แบรนสัน นั้นเขาไม่ได้มองแค่ทำให้ เวอร์จิ้น โคล่า เข้ามา สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดน้ำอัดลมเท่านั้น เพราะคนอย่างเขา หากคิดเพียงแค่นั้นก็ดูจะตื้นเกินไป แต่ เซอร์ ริชาร์ด แบรนสัน มองภาพนี้มาแบบเหนือชั้น เขาต้องการให้ เวอร์จิ้น โคล่า เป็นเครื่องกลในการสร้างฝันครั้งใหญ่ของเค้า
    .
    เขาประเมินภาพให้เราจินตนาการว่า
    “คุณลองเอาหมุดจิ้มลงไปในแผนที่โลกดูสิ บอกผมมาสิว่าตรงไหนบ้างที่ไม่มีคนดื่มน้ำอัดลม โคล่า?”
    .
    “โลกทั้งโลกอยู่ในวัฒนธรรมน้ำอัดลม โคล่าไปโดยไม่รู้ตัวกันหมดแล้ว หากคุณสามารถสร้าง โคล่าให้ติดตลาดได้สักยี่ห้อ คุณจะลากสินค้าตัวอื่นให้เข้าไปติดตลาดโลกได้อย่างง่ายดาย โดยใช้โคล่าเป็นตัวเหนี่ยวนำ”
    .
    เขามองการณ์ไกลโดยต้องการใช้ เวอร์จิ้น โคล่า เป็นเครื่องมือในการทำอะไรได้อีกสารพัด โดยสร้าง แบรนด์ที่แข็งแกร่งเพื่อที่จะสามารถทำสินค้าอย่างอื่นได้อีกมากมาย เช่น ลูกอม, กระดาษทิชชู, ขนม และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งมันก็คือ โลกแห่งวัฒนธรรม เวอร์จิ้น นั่นเอง
    .
    แม้ว่าเวอร์จิ้น โคล่า ได้รับการตอบรับที่ค่อนข้างดีในการเปิดตัวช่วงกลางยุค 90 จนดูจะเป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อกับ โค้กและเป๊ปซี่ ทั้งในตลาดยุโรปและอเมริกา แต่ในที่สุด ฝันของ เซอร์ ริชาร์ด แบรนสัน ก็ต้องล่มสลาย หลังจากโดน โค้กและเป๊ปซี่จัดการรับน้องใหม่ อย่างหนักหน่วง
    .
    กระแสที่แรงจากแผนประชาสัมพันธ์แบบเหนือเมฆ ซึ่งมีการขยายตัวไปในวงกว้างเหมือนไฟที่กำลังจะลามทุ่งนั้น กลับมอดลงไปอย่างรวดเร็วด้วยกลยุทธ์ตัดไฟแต่ต้นลมของทั้งโค้กและเป๊ปซี่ ยักษ์ใหญ่ทั้งสองจัดการฆ่าตัดตอน เวอร์จิ้น โคล่า แบบไม่ให้ผุดเกิดด้วยการทำให้ เวอร์จิ้น โคล่า หายไปจากหิ้งวางขาย
    .
    ใช่ครับ คุณไม่ได้อ่านผิด มันคือการ “หายไปจากหิ้งวางขาย”
    .
    เวทย์มนต์นั้นเริ่มต้นโดย โค้ก ได้จัดข้อเสนอที่ปฎิเสธไม่ได้ ให้ทางเทสโก้ เพื่อให้เทสโก้หยุดวาง เวอร์จิ้น โคล่า บนหิ้งวางขายทุกสาขาของเทสโก้ และหลังจากนั้นห้างอื่นๆ ก็ทยอยทำตามในลักษณะเดียวกัน
    .
    การใช้กลยุทธ์ราคา โดยการกำหนดราคาขายของ เวอร์จิ้น โคล่า ให้ต่ำกว่า โค้กและเป๊ปซี่ ถึง 15% - 20% เพื่อเจาะตลาด กลายเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์โดยพลัน เพราะไม่มีช่องทางจำหน่ายรับสินค้าไปวาง
    อีกทั้ง รสชาติที่ไม่ได้มีความแตกต่างกับโค้กและเป๊ปซี่มาก ทำให้ เวอร์จิ้น โคล่า ไม่สามารถจุดกระแสให้คนไปแห่ตามหาซื้อ เวอร์จิ้น โคล่า มาดื่มได้
    และแล้ว ในที่สุด เวอร์จิ้น โคล่า ก็ค่อยๆ หายไปและ เวอร์จิ้น กรุ๊ปก็หยุดการทำตลาดไปอย่างเงียบๆ
    .
    ว่ากันว่า การปิดตัวลงของ เวอร์จิ้น โคล่า นั้นสร้างความเจ็บปวดให้ เซอร์ ริชาร์ด แบรนสัน รองจากขายธุรกิจ เวอร์จิ้น เรคคอร์ดเลยทีเดียว
    เซอร์ ริชาร์ด แบรนสัน กล่าวถึงบทเรียนที่ทรงคุณค่าในการพ่ายแพ้ในศึกโคล่านี้ว่า
    .
    “ปัญหาก็คือ เราไม่มีความเด่นมากพอ เรามีแบรนด์ที่ดีแต่โค้กก็มีแบรนด์ที่ดี รสชาติของโคล่าของเราอาจจะดีกว่าเล็กน้อย แต่มันก็แค่นั้นเอง ฉะนั้นหากเราจะต่อกรกับบริษัทระดับโลก เราต้องสร้างธุรกิจที่เหนือกว่าคู่แข่งจริงๆ ได้เท่านั้น”
    .
    ซึ่งนั่นคือสิ่งที่เขาได้ทำสำเร็จกับ สายการบิน เวอร์จิ้น แต่ไม่ใช่กับ เวอร์จิ้น โคล่า
    .
    สุดท้ายผมขอฝาก คำคมดีๆ ของ ท่านเซอร์ ริชาร์ด เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการทุกท่าน ให้ทราบว่าควรทำอย่างไรเมื่อล้มเหลวครับ
    “ผมเป็นคนที่สู้ขาดใจเพื่อที่ทำจะให้สำเร็จ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ ผมรู้แล้วว่ามันจะไม่สำเร็จ วันรุ่งขึ้นผมก็ลืมมันแล้ว มุ่งหน้าทำในสิ่งใหม่ๆ ต่อทันที”

    Mr. X
    *******
    ภาพ: CNBC

你可能也想看看

搜尋相關網站