[爆卦]ฐานะดี是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ฐานะดี鄉民發文沒有被收入到精華區:在ฐานะดี這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ฐานะดี產品中有27篇Facebook貼文,粉絲數超過12萬的網紅หมอแพมชวนอ่าน,也在其Facebook貼文中提到, #สมองลูกเกิดอะไรขึ้น_เมื่อคุณอ่านหนังสือให้เค้าฟัง #บทความส่งเสริมการอ่าน_ตอนที่ 1 . อ่านหนังสือให้เด็กฟัง เป็นเรื่องที่ดี หมอคิดว่า พูดเช่นนี้ ใครๆ...

 同時也有12部Youtube影片,追蹤數超過25萬的網紅FUJISAKI FUJI,也在其Youtube影片中提到,3 หลักคิดคนรวย ที่ต่างจากคนจน EP.39 - https://www.facebook.com/Drfujifujisaki/ - If you're searching for 3 หลักคิดคนรวย ที่ต่างจากคนจน EP.39 then watc...

ฐานะดี 在 กีฟ ดราภดา Instagram 的最讚貼文

2020-05-03 20:28:10

คืนนี้เริ่มตอนแรกนะคะ อย่าเพิ่งรีบนอนกันน้าาาาาา รอดูละครก่อนค่าาา 😆😆🙏 เรื่องนี้ กีฟ รับบทเป็น โสภาวรรณ เพื่อนสาวของนนที (พี่นาวิน ต้าร์)​ ทำงานธนาคาร...

  • ฐานะดี 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的精選貼文

    2021-05-19 22:00:30
    有 3,599 人按讚

    #สมองลูกเกิดอะไรขึ้น_เมื่อคุณอ่านหนังสือให้เค้าฟัง

    #บทความส่งเสริมการอ่าน_ตอนที่ 1
    .
    อ่านหนังสือให้เด็กฟัง เป็นเรื่องที่ดี
    หมอคิดว่า พูดเช่นนี้ ใครๆก็คงจะรู้แล้ว😁

    หากย้อนกลับไปสัก 50 ปีก่อน
    ที่เทคโนโลยี ยังไม่ทันสมัยขนาดนี้

    ถ้าเราจะวัดว่า อ่านหนังสือให้เด็กฟังมันดียังไง

    ก็คงบอกว่า
    เด็กที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ฟัง หรือเด็กที่รักการอ่าน
    จะประสบความสำเร็จมากกว่า
    (มักจะวัดจาก ผลการเรียน การจบมหาวิทยาลัย คะแนนสอบ ฯลฯ)

    ตัวชี้วัด ในงานวิจัยส่วนใหญ่
    เป็นเรื่องในอนาคตของเด็กคนนั้น

    ซึ่งสำหรับนักวิจัยที่ดี การจะบอกได้ว่า
    เด็กคนหนึ่งประสบความสำเร็จได้ดีกว่าอีกคนเป็นเพราะ การอ่านที่มากกว่า
    คงต้องตัดปัจจัยกวนทั้งหมดออก
    (confounding factors)

    ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก เช่น เชื้อชาติ ฐานอารมณ์ของเด็ก สติปัญญาของเด็กเอง รายได้และการศึกษาพ่อแม่ โรงเรียน ฯลฯ
    แถมยังมีปัจจัยกวนที่เราไม่สามารถวัดเป็นค่าตัวเลขได้อีกมากมาย
    นักวิจัยก็ได้แต่เพียงอนุมานผล

    ดังนั้นในงานวิจัยยุคก่อน
    แม้ผลจะชัดเจนมากแค่ไหน ก็ยังมีข้อค้านได้

    ลองคิดดูดีๆ เด็กที่ได้อ่านหนังสือมากกว่า
    เป็นเพราะอะไร??
    👉พ่อแม่ให้ความสำคัญกับการอ่าน
    👉มีเวลาให้ลูก ไม่ต้องปากกัดตีนถีบ หาเช้ากินค่ำ
    👉มีเงินซื้อหนังสือ หรือพ่อแม่ขวนขวายในการหาหนังสือให้ลูกอ่าน
    ซึ่งมักจะสัมพันธ์โดยตรงกับ ระดับการศึกษา รายได้ เศรษฐานะของพ่อแม่ (ถ้าเป็นยุคนี้ต้องบอกว่า ความรู้และ mindset) แม้แต่นโยบายรัฐ
    .
    การศึกษาที่โด่งดังมาก ในอดีต
    (งานวิจัยในปี 1960) เป็นที่มาของคำว่า
    “ช่องว่าง 30 ล้านคำ” ศึกษาพัฒนาการด้านภาษาในเด็กอายุ 2.5 ปี ใน 42 ครอบครัว
    โดยแบ่งครอบครัวเป็น
    ฐานะดี ฐานปานกลาง และกลุ่มยากจน

    นักวิจัยจะเข้าไปประเมินพัฒนาการด้านภาษาของเด็กทุกเดือน เก็บข้อมูลการเลี้ยงดูอย่างละเอียด
    จนเด็กอายุครบ 4 ปี พบว่า เด็กที่อยู่ในกลุ่มฐานะดี เด็กมีคลังศัพท์ 46 ล้านคำ
    ในกลุ่มปานกลาง มีคลังศัพท์ 26 ล้านคำ ในขณะที่เด็กที่อยู่ในกลุ่มฐานะยากจน มีคลังศัพท์ 13 ล้านคำ
    และนักวิจัยยังรายงานอีกว่า 98%ของคำศัพท์ที่เด็กใช้ คือสิ่งคำที่พ่อแม่ใช้ พ่อแม่พูดคุยกับลูก
    (พูดให้ตรงมากขึ้น คือ #เด็กเรียนรู้ภาษาเกือบทั้งหมดผ่านจากปากของพ่อแม่)
    หลังจากที่วิจัยนี้ได้เผยแพร่ออกไป ก็ทำให้วงการปฐมวัย สั่นสะเทือนเลยทีเดียว (ไม่ได้เว่อนะคะ🤣)
    เพราะนักวิจัยสนใจทำวิจัยเรื่องปฐมวัยมากขึ้น
    และรัฐบาลของ US สมัยนั้น
    ก็ทุ่มงบประมาณให้กับการพัฒนาด้านปฐมวัยมากขึ้นด้วย

    อย่างนั้นก็เถอะ
    นักวิจัยรุ่นหลังก็มีข้อกังขาหลายอย่าง
    เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยน้อยมาก 42 ครอบครัว สามารถเป็นตัวแทนของเด็กทั้งประเทศเลยหรือ?
    การเก็บข้อมูลทำอย่างไร นับจำนวนศัพท์อย่างไร? เด็กอายุแค่ 2.5-4 ขวบ
    มีคนแปลกหน้าไปสัมภาษณ์ เด็กพูดน้อย ถือว่าเด็กมีศัพท์น้อย? มีข้อสงสัย และข้อโต้แย้งมากมาย

    หลังจาก งานวิจัยนี้ ก็มีงานวิจัยเรื่อง
    พัฒนาการด้านภาษาในเด็กเล็กเต็มไปหมด
    .
    สำหรับตัวหมอเองในฐานะนักวิจัย ก็ต้องยอมรับว่า งานวิจัย 30 million gap มีจุดบกพร่องมากมาย
    แต่ก็ต้องยกย่องงานวิจัยนี้ เพราะถือว่าเป็น viral information ในยุคนั้นเลยก็ว่าได้😁😁
    .
    ตัดมาที่ปัจจุบันเลยค่ะ
    ยุคนี้ วิทยาศาสตร์สมอง
    มีเทคโนโลยีทันสมัย ไม่ต้องคาดเดา
    สามารถถ่ายรูปการทำงานของสมองได้แบบ real time (เอาให้เห็นกันจะจะ😂)
    งานวิจัยแรกที่จะเล่าให้ฟัง เป็นงานวิจัยของ Dr. John S. Hutton
    เพื่อจะตอบคำถามว่า

    ❤#สื่อแบบไหนที่กระตุ้นให้สมองเด็กเกิดการเชื่อมโยงด้านภาษาได้มากที่สุด❤
    โดยทำการศึกษาในเด็กอายุ 4 ขวบ 27 คน
    ให้เด็กแต่ละคน ฟังนิทานเรื่องเดียวกัน จาก 3 สื่อ
    และถ่ายภาพสมองเด็กจากเครื่อง fMRI ขณะที่ได้ฟังแต่ละสื่อ
    👉นิทานเป็นแบบ animation
    👉นิทานเป็นเล่มให้แม่อ่าน
    👉นิทานที่มีแต่เสียง
    •ผลคือ animation มีข้อมูล ภาพ เสียง การเคลื่อนไหว แค่รับข้อมูลอย่างเดียว สมองเด็กก็ต้องทำงานหนักมากแล้ว เมื่อดูจาก fMRI สมองส่วนอื่น ถูกกระตุ้นอย่างมาก แต่ส่วนที่ควบคุมด้านการเรียนรู้ภาษากลับถูกกระตุ้นน้อย
    เพราะสมองเอาพลังงานไปรับข้อมูลที่มากล้น รวดเร็ว จนเชื่อมโยงไม่ทัน เรียกว่า #Too_hot

    • นิทานภาพ: สมองของตอนเด็กขณะได้ฟังนิทานภาพ สมองส่วนรับภาพรับเสียงถูกกระตุ้น และพบว่า สมองส่วนภาษาถูกกระตุ้นมากพอกัน
    อธิบายได้ว่า เมื่อมีภาพ และมีเสียง ทำให้เด็กเข้าใจ เรียนรู้ และเชื่อมโยงภาษาได้ดี เรียกว่า #just_right

    • audio: สมองเด็กตอนฟัง นิทานเสียงไม่มีภาพ สมองถูกกระตุ้นน้อย อาจเพราะมีเสียง แต่ศัพท์บางคำเด็กไม่เคยรู้จักมาก่อน เมื่อไม่มีภาพมาให้ดู ก็ไม่เกิดการเชื่อมโยง เรียกว่า #too_cold

    ** การศึกษานี้ ตอกย้ำว่า ถ้าจะให้ลูกฟังนิทาน สิ่งที่ดีที่สุดคือ ฟังจากนิทานภาพ และเสียงของพ่อแม่นะคะ*

    งานวิจัยที่ 2 ที่หมออยากจะเล่าให้ฟัง
    เพื่อจะตอบคำถามว่า
    ❤ #เด็กที่ได้อ่านต่างกันที่บ้าน_เมี่อมาฟังนิทานจากครูที่โรงเรียนสมองทำงานต่างกันหรือไม่❤
    การศึกษานี้ทำในประเทศอังกฤษในเด็ก 3-5 ปี
    30 ราย นักวิจัยเก็บข้อมูล ระดับการอ่านของที่บ้านเด็กแต่ละคน
    (เวลาที่พ่อแม่อ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง, จำนวน ความหลากหลาย)
    และแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
    กลุ่มที่มีสิ่งแวดล้อมในการอ่านที่บ้านสูง
    และ กลุ่มอ่านน้อย
    เมื่อถ่ายภาพสมองเด็กด้วย fMRI ตอนเด็กฟังนิทานจากครูที่โรงเรียน
    พบว่าสมองของเด็กกลุ่มสิ่งแวดล้อมอ่านสูง ถูกกระตุ้นมากกว่า เด็กอีกกลุ่มอย่างชัดเจน
    (ดูภาพประกอบได้ สีแดง จะเกิดเมื่อบริเวณนั้นของสมองถูกกระตุ้น)

    ซึ่งหมอเคยเขียนถึงงานวิจัยนี้เอาไว้ในบทความเรื่อง
    #ช่องว่างที่ไม่มีวันตามทัน นะคะ
    ลองย้อนกลับไปอ่านกันได้
    .
    คิดว่าเรื่องที่เล่าวันนี้ ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่าน
    มั่นใจในแนวทางการเลี้ยงดูลูกด้วยหนังสือมากขึ้น
    และหมอคิดว่า เราสามารถส่งต่อความรู้นี้ได้
    เพราะวิธีการที่ลดความเหลื่อมล้ำ โดยที่พวกเราสามารถสร้างให้ลูกได้เองที่บ้าน
    โดยไม่ต้องพึ่งนโยบายใดๆ คือการสร้างความเท่าเทียมให้กับสมองของลูก
    ที่ต้องสร้างจากที่บ้าน เพราะถ้ารอให้ถึงอนุบาล....ก็สายไปเสียแล้วจริงๆ
    ภาพถ่ายสมองก็บอกคำนี้เหมือนกันค่ะ
    .
    หมอแพม

    ไม่ได้เขียนบทความนานมาก เหตุเกิดจากความเครียด😅

    Link
    1.วิจัยเรื่อง 30 million gap
    https://www.aft.org/sites/default/files/periodicals/TheEarlyCatastrophe.pdf

    2. เรื่องชนิดของสื่อนิทานต่อสมองเด็ก
    New studies measure screen-based media use in children
    https://www.eurekalert.org/pub_releases/2018-05/pas-nsm042618.php

    3. เรื่อง สิ่งแวดล้อมของการอ่านในบ้านต่อสมองเด็ก
    Home Reading Environment and Brain Activation in Preschool Children Listening to Stories

    https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26260716/

  • ฐานะดี 在 อวยไส้แตกแหกไส้ฉีก Facebook 的最佳貼文

    2021-01-31 11:46:00
    有 4,027 人按讚

    แค่ตอนสามนี่คนดูยังแทบจะบ้าอ่ะ เมียหลวงนี่อย่าได้ดูเลย ของขึ้นเส้นเลือดในสมองจะแตกตายเอา...

    Love (ft. Marriage & Divorce) | Love: รัก แต่ง เลิก EP3 รับชมได้ทาง Netflix

    สปอยล์ตอน3

    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .

    Love (ft. Marriage & Divorce) | Love: รัก แต่ง เลิก ตอนล่าสุดนี่แบบว่าอีเหี้ยยยยยยยยยยยยยยยยย มันไม่ประนีประนอมคนดูเลยอ่ะ คืออารมณ์แบบเมียจับได้ว่าผัวที่แต่งมาสามปีแอบซุกเมียน้อยเอาไว้อย่างแนบเนียนแบบมีโทรศัพท์ซ่อนสองเครื่องอ่ะ แล้วจับได้ ผัวเงียบกริบ เงียบอย่างเดียว ให้ตบให้ตีก็ไม่สู้ไม่เถียง ถามอะไรก็เงียบ พยักหน้า รับแบบทนายหัวหมอถามผิดไหมบอกแค่ว่ามันไม่ถูก ยอมรับว่ามันไม่ถูก งั้นหย่าไหม อีผัวบอกหย่า!!!

    โอ๊ยยยยยยยยยยยย มันไม่ใช่แค่กรีดหัวใจอ่ะ มันกระชากหัวใจมากระทืบเลย คือมันบอกเล่าถึงชีวิตแต่งงานได้แบบว่าแสบมากอ่ะ เมียหลวงเนี่ยทำไรแทบไม่ได้เลย คือบางทีนะ คนรักกันเนี่ยความซื่อสัตย์สำคัญที่สุดนะ บางครั้งเนี่ยคนถูกมันไม่ได้ชนะนะ อีเมียหลวงมันไม่ได้ผิดห่าไรเลย จับได้เหมือนชนะเหมือนรู้ทันนะ แต่แพ้แบบแพ้ราบคาบเลยอ่ะ คืออีผัวเนี่ยมองว่าตราบใดที่จับไม่ได้ชีวิตคู่มันก็อยู่กันต่อไปได้แบบมีความสุข เมียไม่รู้ก็คงมีความสุขอยู่กันไปแบบหลอกลวง แต่พอเมียรู้คือจบเลย เพราะการจะไปเรียกความรักความรู้สึกความไว้ใจกลับคืนมาเหมือนเดิมมันก็ไม่ได้แล้ว อยู่กันต่อไปก็ไม่สนิทใจ ที่เจ็บแค้นสุดคือเมียหลวงถามว่า รักเค้าไหม อีผัวพยักหน้าบอกว่า รัก โอ๊ยยยยยยยยย อีเหี้ยยยยยยย เอาไปฆ่ากันดีกว่า ทำไรไม่ได้แล้วอ่ะ จะทนอยู่มันก็ทนไม่ไ้ด้แล้ว หย่าได้ แต่ขอดูหน้าอีเมียน้อยหน่อย อีผัวยังไงก็ไม่ยอม โอ้โฮ อีเวร นี่คือทให้คนดูยิ่งอยากรู้เป็นร้อยเท่าพันทวี แบบเฮ้ย เมียหลวงแม่งเลือกอะไรได้ไหมวะ

    ชีวิตคู่แม่งจะบอกว่ามันไม่ได้มีไรมากนะ แค่ซื่อสัตย์ต่อกันและกันก็จบ แต่มันทำได้ยากด้วยความที่ว่าจิตใจมนุษย์แม่งยากแท้หยั่งถึง ผัวนอนด้วยกันมาเป็นปีๆ ไปทำงานไปนอกใจเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ไปนอนกับใครก็ส่วนนึง บางคนก็ยังแอบไปชอบคนอื่นโดยที่เมียหลวงไม่มีโอกาสได้รู้ บางทีการไม่รู้ห่าไรเลยแม่งก็มีความสุขได้นะไม่ต้องหลอกตัวเองเพราะไม่รู้อะไรเลย บางคนเลยเลือกที่จะแกล้งโง่บ้าง หลับตาข้างเดียวบ้าง แต่ลึกๆคือสงสัย คือเจ็บ และการทำตัวฉลาด รู้ทันไปเสียทุกอย่างแม่งก็ทำให้ตัวเองไม่มีความสุข แต่การที่อีกฝ่ายไปมีเล็กมีน้อยแม่งคือความเหี้ยแบบเหี้ย เหี้ย เหี้ย เหี้ย เหี้ย และยิ่งมาเจออีผัวแบบ ซองฮุน นี่แบบเหมือนลากไปฆ่าอ่ะ ผู้ชายหล่อ รวย เก่ง เพอเฟค ชาติตระกูลดี ฐานะดี มันสมบูรณ์แบบจนไม่รู้ว่าถ้าหลุดากนี้ไปชีวิตจะไปเจออะไรแบบนี้อีกไหม แต่ปัญหาคือมันทำเหี้ยกันได้ขนาดนี้อ่ะ เมียหลวงมันทนไม่ได้อ่ะ และพอรู้ปุ๊บ ผู้ชายเหมือนรู้เลยว่า มันไม่มีทางจะทำให้เมียหลวงเชื่อใจได้อีกแล้ว และทีร้ายสุด มียน้อยเสือกท้องด้วย คือเหี้ยนรกมากกกกกกกกกก กดดัน บีบคั้นแทนอีเมียหลวงฉิบหาย แต่สิ่งหนึ่งที่อยากจะบอกเลยคือโกรธยังไง การลงไม้ลงมือกับผัวนี่ไม่ควรเลย มันไม่ควรใช้ความรุนแรงแบบนี้ มันยิ่งไปสร้างความชอบธรรมให้เค้ารู้สึกว่าเค้ากลัวเรา จริงๆมันควรจะเงียบและปล่อยให้มันคิดเองโดยที่ให้มันรู้ว่าเออกูรู้นี่แหละ และอยู่แม่งไปแบบนี้แหละ ช่างหีแม่มึง คือการลงไม้ลงมือเนี่ย คนใช้ความรุนแรงมันก็จะกลายเป็นฝ่ายที่ผิดไปด้วย
    .
    ฮือออออ สนกจังเลยอ่ะ นี่ยังมีอีกสองคู่นะที่รอลุ้นกันต่อไปอ่ะ คู่คนแก่นี่คืออะไร ผัวมีฝาแฝด คู่โปรดิวเซอร์นี่ยังไงต่อเมื่อวานบทไม่คืบเลย แต่ตอนหน้าดูท่าทางจะพีค และก็พ่อพระเอกกับทงมีผู้หญิงที่แอบรักตั้งแต่เด็กจนเอาไปตั้งชื่อหมา แถมหมายังท่าทางมีความสำคัญในบ้านด้วย โอ๊ยยยมีเรื่องให้เราตามดูอีกเยอะมากกกกกกกกกกก

    อย่าเพิ่งตายนะ ซีรีส์เพิ่งเริ่ม อีดอก สนุกมากกกกก !!! ไม่อยากให้ค่อยๆมาเลย โอ๊ยยยยยยยยยย!!!

  • ฐานะดี 在 Roundfinger Facebook 的最讚貼文

    2020-12-02 12:07:56
    有 1,791 人按讚

    1
    ประเด็นชุดนักเรียนมีหัวข้อหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันเยอะคือ 'ความเหลื่อมล้ำ' ผมออกจะเห็นด้วยกับฝ่ายที่บอกว่า ไม่ว่าจะแต่งชุดนักเรียนหรือไม่ ความเหลื่อมล้ำก็ถูกแสดงออกมาให้เห็นอยู่ดี

    จำได้ว่า สมัยประถมผมเฝ้ามองกล่องดินสอของเพื่อนที่กดปุ่มได้ เปิดออกมีสองชั้น, กล่องสีไม้ของเพื่อนที่มีสีมากกว่าของตัวเอง บางคน 36 สี บางคน 48 สี ถ้าของเด็ดเลยคือมีสองแผงซ้อนกัน 72 สี, พอขึ้นมัธยมก็ต้องร้องขอพ่อซื้อกระเป๋านักเรียนหนังแท้ยี่ห้อจาคอบเอามาหนีบให้บางๆ เพื่อเข้าแก๊งค์กับเพื่อนได้, แล้วก็มาถึงยุคที่เขาฮิตนาฬิกา Tag Heuer กัน แม้พยายามตื้อจนพ่อซื้อรุ่นไม่แพงนักให้ แต่เมื่อเหลือบไปเห็นเพื่อนใส่รุ่นก้างปลาสีทอง ของเราก็หมองลงถนัดใจ

    นั่นคือสมัยที่เราทุกคนใส่ชุดนักเรียนในแบบเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงเราต่างรู้ว่าความเหลื่อมล้ำมีอยู่จริง และปฏิเสธไม่ได้ว่าเราก็อยากใช้ของดีแบบเพื่อนนั่นแหละ แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถ ถึงอย่างไรก็ยังมีมุมที่น่ารัก เพราะกลุ่มของผมก็ผสมผสานเพื่อนๆ ที่ฐานะแตกต่างเข้าด้วยกันโดยไม่มีใครแบ่งแยกเพื่อนด้วยวัตถุแสดงฐานะเหล่านี้

    ...

    2
    ประเด็นว่าโรงเรียนควรให้นักเรียนแต่งชุดไปรเวทไปโรงเรียนไหมนั้นคงถกกันอีกระยะหนึ่ง ซึ่งเหตุผลว่าชุดนักเรียนเป็นรายจ่ายที่พ่อแม่ต้องจ่ายเพิ่มก็เป็นเรื่องน่ารับฟัง ผมคิดว่าถ้าฟังความรอบข้างและไม่ยึดความคิดเดิมของตัวเองอย่างเหนียวแน่นนักก็จะมีโอกาสได้ฟังเหตุผลที่น่าทบทวนกฎระเบียบนี้

    แต่สิ่งที่คิดว่าคุณครูสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่วันนี้เลยก็คือการเปิดพื้นที่พูดคุยเรื่องความแตกต่างหลากหลายของนักเรียนในชั้น ไม่เฉพาะฐานะ แต่ยังรวมไปถึงเรื่องอื่นอย่างความหลากหลายทางเพศ ความคิดทางการเมือง ศาสนา ความเชื่อ ลักษณะครอบครัวที่แตกต่างกัน เช่น พ่อเลี้ยงเดี่ยว แม่เลี้ยงเดี่ยว ปู่ย่าเลี้ยง น้าอาเลี้ยง ลูกบุญธรรม ฯลฯ

    ความแตกต่างเหล่านี้เป็นประเด็นสำคัญที่นักเรียนสามารถเรียนรู้จากเพื่อนร่วมห้องได้ เพื่อจะได้ไม่ใช้ไม้บรรทัดส่วนตัวไปวัดและตัดสินคนอื่น

    เพราะองค์ประกอบต่างๆ ในสังคมมักหล่อหลอมให้มีทัศนคติเกี่ยวกับ 'ความปกติ' ไว้แคบๆ เพียงแบบใดแบบหนึ่ง เราต่างเติบโตขึ้นมาท่ามกลางเสียงที่สั่งสอนให้เรามีความคาดหวังกับผู้คนแบบใดแบบหนึ่งอยู่เสมอ

    เช่น คาดหวังว่าผู้ชายต้องแข็งแกร่ง ห้ามอ่อนแอ ผู้หญิงต้องสุภาพ อ่อนหวาน เด็กๆ ต้องเชื่อฟังพ่อแม่ครูอาจารย์ บางคนก็คาดหวังว่าคนเป็นเกย์ต้องตลก หรือครอบครัวที่สมบูรณ์แบบต้องมีพ่อแม่อยู่ด้วยกัน ฯลฯ

    ความคาดหวังหรือมายาคติเรื่อง 'ความปกติ' แบบนี้ที่ไม่ได้แลกเปลี่ยนกันทำให้เกิดลำดับชั้นทางความรู้สึกไม่ต่างจากฐานะ หรือความรวย-จน

    ค่านิยมเช่นนี้ทำให้มี 'แบบ' บางแบบที่มีคุณค่ากว่าแบบอื่น เช่น ผู้ชายเรียนดี เชื่อฟังครู เล่นกีฬาเก่ง ฐานะดี ผิวขาว สุภาพ จะเป็นแบบอย่างที่โรงเรียนภาคภูมิใจหรือเพื่อนๆ ชื่นชม ถามว่าผิวขาวเกี่ยวด้วยเหรอ ใครที่ผิวคล้ำคงตอบได้ดีว่าตอนอยู่โรงเรียนโดนล้อว่าอะไรบ้าง

    สิ่งที่น่าสนใจก็คือ มีงานวิจัยแสดงผลว่า ครู (ซึ่งนักเรียนหวังพึ่งพา) กลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของการบูลลี่นักเรียนด้วยเช่นกัน เราคงพอนึกกันออกเวลาครูเรียกเพื่อนหรือเรียกเราว่า อ้วน แว่น มืด หรือตั้งฉายาแปลกๆ รวมถึงล้อเพื่อนที่เป็นเพศทางเลือก

    เรื่องเหล่านี้คือความเหลื่อมล้ำในอีกมิติที่ทั้งครู โรงเรียน และนักเรียนควรให้ความสำคัญ เพราะมันสร้างบาดแผลในใจกับนักเรียนจำนวนไม่น้อยที่ถูกทำให้รู้สึกว่าตัวเองต่ำต้อยกว่าคนอื่น ในทางกลับกัน มันก็ทำให้คนที่ได้เปรียบ (เพราะโชคดีที่อยู่ใน 'แบบ' ที่สังคมคาดหวัง) กลายเป็นคนที่ไม่ใส่ใจคนอื่นที่แตกต่างไปจากตัวเอง หรือกระทั่งใช้ความได้เปรียบของตัวเองล้อเลียนคนอื่น

    ...

    3
    มากไปกว่าเรื่องใครแต่งตัวแสดงความต่างทางฐานะ ผมคิดว่าเราควรยอมรับว่าสังคมนี้มีความแตกต่างหลากหลาย ไม่เฉพาะแค่เรื่องรวย-จน แต่ยังมีความต่างอีกหลายมิติ

    โจทย์ของโรงเรียนหรือครู (อาจรวมถึงนักเรียนด้วย) จึงมิใช่พยายามใช้ 'ยูนิฟอร์ม' ของ 'แบบ' ที่ถูกคาดหวังมาเป็นแม่พิมพ์เพื่อยัดนักเรียนลงไปในพิมพ์นั้น เพราะมีหลายคนที่ไม่สามารถลงไปในพิมพ์เดียวกันได้ด้วยเงื่อนไขที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่ม LGBT ก็ควรมีสิทธิในการเลือกเสื้อผ้ามากไปกว่าเครื่องแบบที่คิดบนฐานคิดว่าโลกนี้มีแค่เพศชายและหญิง

    การทำให้ 'ความต่าง' ได้ปรากฏและเปิดพื้นที่ให้เกิดบทสนทนาเพื่อเรียนรู้จากความต่างเหล่านั้นน่าจะเป็นโอกาสสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ตามความเป็นจริงมากกว่า ให้ห้องเรียนเป็นแบบจำลองสังคมไทยจากตัวอย่างจริงๆ ซึ่งก็คือนักเรียนและเพื่อนๆ ของพวกเขา

    ไม่ต้องปิดกั้นว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีอยู่ การเปิดเผยให้ทุกคนเป็นตัวเองและบอกเล่าเรื่องราวของตัวเองให้เพื่อนฟัง ทำให้เพื่อนได้เห็นว่า 'แบบ' ที่ดีที่สุดนั้นไม่มีอยู่จริง คนมีหลายแบบกว่านั้น มี 'ความปกติ' อีกหลายอย่าง

    ดำก็ปกติ ขาวก็ปกติ อ้วนก็ปกติ ผอมก็ปกติ รวยก็ปกติ จนก็ปกติ ชายก็ปกติ หญิงก็ปกติ เกย์ก็ปกติ เลสเบี้ยนก็ปกติ และยังมีความปกติอีกหลายอย่างให้เรียนรู้จากเพื่อนๆ

    ถ้าจะมีความไม่ปกติก็คือ การดูถูกความเป็นอื่น หรือการใช้ความได้เปรียบของตัวเองกดขี่คนที่แตกต่าง หรือการที่คนรวยจะรวยขึ้นเรื่อยๆ และคนจนก็ไม่มีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิต ความรู้เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นผ่านการพูดคุยและเรียนรู้จากกันและกัน คุณครูอาจเป็นคนจุดประเด็นชวนคิดว่า เราจะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างไรได้บ้าง ทำยังไงให้คนยอมรับความแตกต่างของคนอื่น มาฟังเพื่อนว่าเวลาโดนบูลลี่ เขารู้สึกยังไง ฯลฯ

    เช่นนี้แล้ว ครูย่อมไม่ใช่คนที่ทำหน้าที่ 'ตบเข้ากรอบ' หากคือคนที่ 'ขยายกรอบ' ความคิดและความเป็นไปได้ ขยายหัวใจของนักเรียนให้กว้างขึ้น ให้คิดถึงคนอื่น ให้มองเห็นปัญหาสังคมเพื่อใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนไปแก้ปัญหาเหล่านั้น มิใช่เพียงเพื่อผลิตนักเรียนที่อยู่ในกฎระเบียบ ตั้งใจเรียน เพื่อทำคะแนนดีๆ แล้วสั่งสมความมั่งคั่งของตัวเองให้มากกว่าเพื่อนในสังคม

    ...

    4
    จากการฟังสัมภาษณ์นักเรียนหลายคนและครูหลายท่าน ผมเชื่อว่าบรรยากาศสนทนาเพื่อเรียนรู้ร่วมกันแบบนี้จะสนุกและมีสีสันอย่างมาก เพราะนักเรียนยุคนี้มีความคิดอ่านที่น่าสนใจ มีตรรกะที่น่าแลกเปลี่ยน และมีข้อมูลที่น่ารับฟัง

    ชุดนักเรียนเป็นเพียงหนึ่งในสัญลักษณ์ของ 'ยูนิฟอร์ม' ที่พยายามสร้าง 'แบบ' ที่เป็นระเบียบ โดยหุ้มห่อความหลากหลายเหล่านั้นไว้ และที่ผ่านมาโรงเรียนส่วนใหญ่ก็ดูคล้ายสถานที่ผลิตนักเรียนที่คล้ายๆ กันออกมา รวมถึงไม่ค่อยมีโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากความแตกต่างของกันและกัน ใช้หัวใจรับฟังความทุกข์ยากของเพื่อนร่วมชั้น และใช้สมองคิดเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาของเพื่อน

    ทำอย่างไรคุณครูจึงจะสลาย 'ยูนิฟอร์ม' ทางความคิดตามที่สังคมมักสร้างความคาดหวังว่าแบบที่ดีมีอยู่แค่ไม่กี่แบบเหล่านั้น แล้วทำให้นักเรียนช่วยกันขยายพื้นที่ความเป็นไปได้ของชีวิตออกไป เป็นตัวของตัวเอง มั่นใจในสิ่งที่เป็น และเคารพคนอื่นในแบบที่เขาเป็น รวมถึงมีจิตใจที่จะแก้ปัญหาของเพื่อนร่วมสังคม

    หากทำเช่นนี้ได้ โรงเรียนจะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างพลเมืองที่เคารพความหลากหลายและคิดถึงผู้อื่น ไม่ใช้ไม้บรรทัดของตัวเองตัดสินเรื่องราวต่างๆ แต่รับฟังข้อมูลและเหตุผลให้รอบด้านเสียก่อน โดยไม่เชื่อว่าฉันถูกที่สุด หรือสิ่งที่ฉันชอบเธอจะต้องชอบด้วย

    ประเด็นชุดนักเรียนเป็นโอกาสดีที่คุณครูจะได้ลองชวนนักเรียนมานั่งล้อมวงคุยเรื่องความแตกต่างหลากหลายในชั้นเรียน เพราะนี่คือบทเรียนสำคัญ ไม่เฉพาะสำหรับในห้องเรียน

    แต่เป็นบทเรียนที่ดูเหมือนสังคมไทยก็กำลังเรียนรู้ไปพร้อมกัน

  • ฐานะดี 在 FUJISAKI FUJI Youtube 的最佳解答

    2019-06-19 21:19:32

    3 หลักคิดคนรวย ที่ต่างจากคนจน EP.39 - https://www.facebook.com/Drfujifujisaki/ - If you're searching for 3 หลักคิดคนรวย ที่ต่างจากคนจน EP.39 then watch this video to learn everything you need to know about 3 หลักคิดคนรวย ที่ต่างจากคนจน EP.39

  • ฐานะดี 在 Trainer Nalisa Youtube 的最讚貼文

    2019-05-16 21:30:00

    ระหว่าง คนที่ถูกใจ กับ คนที่ทำให้ใจมีความสุข คุณจะเลือกใครมาเป็นแฟน?

    หาคำตอบได้ที่นี่ คลิ๊กเลย?? http://trainernalisa.com/miracle-me

    แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้เขาต้องอยู่กับคุณคะ ?

    อยากเรียนรู้เพิ่มเติม ทักมาเลย
    ⭭⭭⭭⭭⭭⭭⭭⭭⭭⭭⭭⭭⭭⭭⭭⭭⭭

    LINE : http://line.me/ti/p/~@trainernalisa

    LINE ID : @trainernalisa

    ___________________________________

    วันนี้หากคุณเรียนรู้ค่ะที่จะรักให้เป็น ผ่านการเลือกใหม่ คุณจะมีวิธีคิดแบบนี้

    ถ้าคุณพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ใครคนนึง ที่คุณถูกใจ มาเป็นของคุณ คุณจะแปลกใจมาก

    ที่คุณรู้สึกทุกข์ ทุกข์เวลาที่เขาอยู่กับคุณ ทุกข์เพราะกังวลใจว่าเขาจะไปกับใคร

    แต่ถ้าคุณตั้งใจนะคะที่จะมีความสุขด้วยกัน คนที่มีอยู่กลับจะยิ่งรู้สึกถูกใจ

    ให้คุณกลับไปเรียนรู้นะคะ ที่จะตั้งใจ ที่จะมีความสุข ที่จะอยู่ด้วยกันค่ะ


    ติดตามข่าวสารได้ที่

    Facebook : https://www.facebook.com/trainernalisa

    Youtube : https://www.youtube.com/trainernalisa

    Instragram : https://www.instagram.com/trainer_nalisa

  • ฐานะดี 在 FUJISAKI FUJI Youtube 的最佳解答

    2019-05-07 21:44:18

    ค้นหาตัวเอง อย่างไร?EP.19 - https://www.facebook.com/Drfujifujisaki/ - If you're searching for ค้นหาตัวเอง อย่างไร?EP.19 then watch this video to learn everything you need to know about ค้นหาตัวเอง อย่างไร?EP.19

你可能也想看看

搜尋相關網站