[爆卦]จาง จินอวี้是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇จาง จินอวี้鄉民發文沒有被收入到精華區:在จาง จินอวี้這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 จาง產品中有132篇Facebook貼文,粉絲數超過178萬的網紅ลงทุนแมน,也在其Facebook貼文中提到, เส้นทางชีวิต จาง อี้หมิง เจ้าของสตาร์ตอัปยูนิคอร์น ใหญ่สุดในโลก - ลองใช้ Blockdit เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ แล้วอาจพบว่า สังคมนี้กับเหมาะกับคุณ Blockdit.co...

 同時也有22部Youtube影片,追蹤數超過0的網紅CarDebuts,也在其Youtube影片中提到,เกรท วอลล์ มอเตอร์ เปิดโรงงานเต็มรูปแบบแห่งที่สองนอกประเทศจีน ณ ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ วางแผนสร้างฐานการผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวา พร้อมเฉลิมฉลองรถคันแร...

จาง 在 Eat Food BKK Bangkok, Thailand Instagram 的最讚貼文

2021-02-02 09:58:40

รีวิว 6 ร้านใหม่ Bib Gourmand ในปี 2021!!! #EatAround EP.245 การันตีความเด็ด ในราคาที่จับต้องได้! รวมมาให้แล้วนะคะสำหรับใครที่กำลังตามหาร้าน อาหารสุด...

  • จาง 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文

    2021-09-23 20:01:08
    有 1,300 人按讚

    เส้นทางชีวิต จาง อี้หมิง เจ้าของสตาร์ตอัปยูนิคอร์น ใหญ่สุดในโลก
    - ลองใช้ Blockdit เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ แล้วอาจพบว่า สังคมนี้กับเหมาะกับคุณ Blockdit.com/download -

  • จาง 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答

    2021-09-08 19:30:06
    有 4,518 人按讚

    ใครคือผู้ก่อตั้ง TSMC ผู้ผลิตชิป ให้คนครึ่งโลก /โดย ลงทุนแมน
    แม้ว่าระบบปฏิบัติการ iOS ของแอปเปิลและ Android ของกูเกิล จะเรียกได้ว่าเป็นคู่ปรับตลอดกาล

    แต่รู้หรือไม่ว่า ชิปเซต หรือ สมองของสมาร์ตโฟนที่อยู่บนสมาร์ตโฟน เช่น ชิป A-Series ของแอปเปิล หรือชิป Snapdragon หลายรุ่นบน Android กลับถูกผลิตขึ้นโดยบริษัทเดียวกันที่ชื่อว่า Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC

    ซึ่งนอกจากชิปบนสมาร์ตโฟนแล้ว TSMC ยังมีส่วนแบ่งการตลาดชิปเซตทั้งหมดบนโลกมากถึง 55.6% หรือเรียกได้ว่าชิปเกินกว่าครึ่งโลก ถูกผลิตขึ้นจากบริษัทแห่งนี้

    ปัจจุบัน TSMC มีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านล้านบาท เป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกและมีมูลค่าเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชีย เป็นรองเพียง Saudi Aramco บริษัทน้ำมันแห่งชาติซาอุดีอาระเบีย

    แล้ว TSMC มีที่มาอย่างไร ?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    สำหรับผู้ก่อตั้งบริษัท TSMC ก็คือ “Morris Chang”

    Morris Chang หรือ มอร์ริส จาง เกิดที่เมือง Ningbo
    ซึ่งเป็นเมืองทางตะวันออกของประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1931

    แม้จางจะเรียกได้ว่าเติบโตมาในครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง แต่ชีวิตในวัยเด็กของเขากลับไม่ได้สุขสบายมากนัก นั่นก็เพราะว่าเขาต้องเจอกับสงครามถึง 3 ครั้งด้วยกัน ได้แก่

    - สงครามกลางเมืองในจีน ช่วงปี ค.ศ. 1927 ถึง 1949
    - สงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่สอง ช่วงปี ค.ศ. 1937 ถึง 1945
    - สงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงปี ค.ศ. 1939 ถึง 1945

    ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ครอบครัวของเขาต้องทำการย้ายไปมาอยู่บ่อยครั้ง
    จนในปี ค.ศ. 1948 ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามกลางเมืองในจีน กำลังร้อนระอุ
    จางในวัย 17 ปี พร้อมกับครอบครัว จึงได้ตัดสินใจย้ายไปอยู่ ฮ่องกง

    แม้ในช่วง 17 ปีแรกของชีวิต จางจะได้รับผลกระทบจากสงครามเป็นอย่างมาก

    แต่สิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากสงคราม ก็คือ เขาต้องขยันและทำงานหนัก โดยสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อของเขาคอยสนับสนุนเขาอย่างเต็มที่ ก็คือ “เรื่องการเรียน” ด้วยเหตุนี้ จางจึงสามารถเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Harvard ได้สำเร็จ

    หลังจากเข้าเรียนได้เพียง 1 ปี เขาก็ได้ย้ายไปเรียนที่ Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT และเขาก็ได้จบการศึกษาในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท

    งานแรกของ มอร์ริส จาง เริ่มต้นขึ้นที่ Sylvania Semiconductor เป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้กับบริษัทแม่ Sylvania Electric Products อีกทีหนึ่ง

    แต่หลังจากทำงานได้ 3 ปี เขารู้สึกว่าแนวทางของบริษัทในอนาคต ไม่ได้เป็นแบบที่เขาคิด
    แนวทางของบริษัทคือ การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ชนิด
    ซึ่งต่างจากเป้าหมายของจางที่ต้องการโฟกัสไปที่ การพัฒนาตัวเซมิคอนดักเตอร์เป็นหลัก

    เรื่องดังกล่าว จึงทำให้จางตัดสินใจออกจากบริษัท Sylvania Semiconductor เพื่อมาเริ่มงานใหม่ที่ Texas Instruments ในปี ค.ศ. 1958 และด้วยความสามารถของเขาทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมของบริษัท ภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี

    หลังจากนั้น เขาได้ไต่เต้าขึ้นมาเรื่อย ๆ จนได้รับตำแหน่ง รองประธานในการดูแลฝ่ายเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมด แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ในช่วงปี ค.ศ. 1980

    บริษัท Texas Instruments ต้องการที่จะขยายธุรกิจเข้าไปสู่ลูกค้ารายย่อยมากขึ้น
    โดยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะรุ่น TI-99/4

    ซึ่งเดิมทีโมเดลธุรกิจหลักของ Texas Instruments คือเป็นซัปพลายเออร์ให้กับบริษัทอื่น
    ไม่ได้ทำการค้าขายกับลูกค้ารายย่อยโดยตรง ซึ่งทางบริษัทก็ได้มอบหมายหน้าที่การขายสู่ลูกค้ารายย่อยให้กับจาง

    หลังจากใช้เวลาไป 2 ปีครึ่ง ผลงานภายใต้การบริหารของจางกลับไม่ได้เป็นไปตามที่บริษัทคาดหวังเนื่องจากในช่วงนั้นมีผลิตภัณฑ์จากคู่แข่งที่แข็งแกร่งมากมาย เช่น คอมพิวเตอร์ Apple 2 ในยุคของ สตีฟ จอบส์

    แม้ตำแหน่งในบริษัทของเขายังคงเป็นรองประธานก็ตาม
    แต่จากผลงานที่ค่อนข้างแย่ เขาจึงถูกทางบริษัทลดตำแหน่งลง

    เหตุการณ์นี้เอง ก็ได้สร้างความผิดหวังให้กับจางเป็นอย่างมาก
    เพราะที่ผ่านมา เขาได้สร้างผลงานมากมายให้บริษัทเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปี

    ในปี ค.ศ. 1983 จางในวัย 52 ปี จึงตัดสินใจลาออกจาก Texas Instruments
    ซึ่งทันทีหลังจากที่เขาลาออก ก็ได้มีหลายบริษัทติดต่อเขาให้เข้าไปทำงานมากมาย

    หนึ่งในนั้นคือ General Instrument Corporation หรือ GIC
    บริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านเซมิคอนดักเตอร์และเคเบิลทีวี

    ซึ่งเขาได้เลือกทำงานในบริษัทนี้ ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ
    ด้วยเหตุผลที่ว่า GIC ก็ถือเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ แม้จะไม่เท่า Texas Instruments
    แต่ก็ตรงกับเป้าหมายของเขา ที่อยากเป็น CEO ของบริษัทระดับโลก

    แต่หลังจากเข้าทำงานที่ GIC ได้ไม่ถึง 1 ปี เขาพบว่า
    GIC เป็นบริษัทที่มีแนวทางการเติบโต จากการควบรวมกิจการอื่น ๆ
    ต่างจากแนวทางการเติบโตแบบ Organic Growth ที่เขาตั้งใจไว้
    ทำให้ระยะเวลาไม่นาน จางจึงได้ตัดสินใจลาออกอีกครั้ง

    และแล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็เกิดขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1985
    ในช่วงนั้น รัฐบาลไต้หวันต้องการเสริมสร้างความสามารถในการผลิตสินค้าของประเทศ
    ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะสินค้าไอที
    และหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ถูกผลักดัน ก็คือ “อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์”

    สิ่งที่รัฐบาลไต้หวันทำในตอนนั้นคือ
    มีการจัดสรรเงินทุนเพื่อก่อตั้ง “สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม”
    หรือ Industrial Technology Research Institute (ITRI)

    สิ่งที่ยังขาดไปสำหรับ ITRI ของไต้หวัน คือ “ผู้นำ” ที่จะพาให้โครงการนี้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง

    และด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของจาง เขาจึงได้รับข้อเสนอจากทางรัฐบาลไต้หวัน ให้เข้ารับตำแหน่งประธานของ ITRI ด้วยเหตุผลที่ว่า ต้องการความสามารถของเขาในการพัฒนาและสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ

    หลังจากที่เขาตกลงรับข้อเสนอในครั้งนี้ ทางรัฐบาลไต้หวันได้ให้โจทย์กับเขาว่า
    ต้องการยกระดับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวัน ผ่านการตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา

    จางจึงได้เริ่มวิเคราะห์ โมเดลธุรกิจที่จะทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ

    ซึ่งเขาพบว่าไต้หวันในตอนนั้นมีจุดอ่อนเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยและพัฒนา
    การออกแบบ และการตลาด ไต้หวันไม่มีความสามารถมากพอ
    ที่จะสู้กับทาง Intel หรือ Texas Instruments ซึ่งเป็นเจ้าตลาดอยู่ได้เลย

    จุดแข็งเดียวที่พอมี คือ “การผลิต” และจากการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง
    ทำให้คำตอบของโจทย์นี้ออกมาเป็น “จัดตั้งบริษัทรับจ้างผลิตให้กับบริษัทอื่น”

    แม้ความคิดนี้จะโดนคัดค้านในตอนแรก เนื่องจากในตอนนั้นยังไม่มีบริษัทที่มีโมเดลแบบ Fabless หรือ ไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง เช่น Apple หรือ Nvidia ในปัจจุบัน จึงทำให้ไม่มีตลาดรองรับ

    แต่จากประสบการณ์ทำงานในวงการมาอย่างยาวนานเกือบ 30 ปี เขาสังเกตเห็นว่า
    ทุก ๆ ปี จะมีพนักงานหลายคนของ Texas Instruments หรือ Intel ที่มีความคิด อยากออกมาสร้างธุรกิจเกี่ยวกับ ชิปเซตเป็นของตัวเอง

    แต่ทุกครั้งความคิดนี้ต้องล้มเลิกไป เพราะการที่จะสามารถดำเนินธุรกิจ ชิปเซต ได้นั้น จำเป็นต้องมีโรงงานการผลิตเป็นของตัวเอง

    ทำให้ยุคนั้นยังไม่มีบริษัทไหนที่ทำโมเดลธุรกิจรับจ้างผลิตเลย เพราะการสร้างโรงงานจำเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาล ซึ่งต้นทุนในการสร้างโรงงานใหม่ถ้าคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่หลักแสนล้านบาทเลยทีเดียว

    ในปี ค.ศ. 1987 Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้นมา
    ซึ่งมีโมเดลการดำเนินธุรกิจ รับจ้างผลิตชิปเซตให้กับบริษัทอื่นโดยไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง ซึ่งนับเป็นบริษัทแรกของโลกที่มีโมเดลแบบนี้เกิดขึ้น

    โดยในช่วง 3 ปีแรก บริษัทมีลูกค้าเพียงไม่กี่ราย ส่วนใหญ่มาจากภายในประเทศ
    แต่หลังจากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา สิ่งที่จางคิดไว้ในตอนแรกก็เริ่มเป็นจริง
    เพราะเริ่มมีบริษัทที่ต้องการชิปเซตเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากแต่ไม่มีทุนสร้างโรงงานผลิต
    บริษัทเหล่านี้จึงได้กลายมาเป็นลูกค้าของ TSMC และได้ทำให้บริษัทเติบโตขึ้น

    เหตุผลที่ทำให้หลายบริษัทเข้ามาเป็นลูกค้าของ TSMC เพราะบริษัทมีเทคโนโลยีในการผลิตที่มีความซับซ้อนสูง สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งเป็นผลจากนโยบายการลงทุนในเรื่องการวิจัยและพัฒนา ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

    ในปี ค.ศ. 2020 TSMC มีมูลค่าในการวิจัยและพัฒนาสูงถึง 1.2 แสนล้านบาท คิดเป็น 8.5% เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งบริษัท ซึ่งมากกว่า Apple หนึ่งในเจ้าแห่งนวัตกรรมที่มีสัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 6.8% เสียอีก

    โดย TSMC มีลูกค้ารายใหญ่คือ Apple, Nvidia และ Qualcomm และมีส่วนแบ่งการตลาดธุรกิจกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ มากถึง 55.6% เลยทีเดียว

    ปัจจุบัน TSMC มีมูลค่าบริษัท สูงถึง 20 ล้านล้านบาท มากกว่า Intel ที่มีมูลค่า 7 ล้านล้านบาท และ AMD ที่มีมูลค่า 4 ล้านล้านบาท ซึ่งนับเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมดทั่วโลกอีกด้วย

    จากเรื่องทั้งหมดนี้จึงทำให้ตัวเจ้าของบริษัทอย่าง มอร์ริส จาง มีมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 93,000 ล้านบาท ขึ้นแท่นเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 15 ของไต้หวัน

    ถ้าถามว่าแนวคิดอะไร ที่ทำให้จางประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้

    เราน่าจะสรุปได้เป็น 2 ข้อ

    1. มีเป้าหมายที่ชัดเจน

    จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า มอร์ริส จาง เป็นคนที่มีเป้าหมายชัดเจนมาก
    หากเขารู้สึกว่างานที่เขาทำอยู่ไม่ได้อยู่ในเส้นทางที่เขาต้องการ
    เขาก็พร้อมออกมาเพื่อตามหาสิ่งที่ตรงกับเป้าหมายของเขาเสมอ อย่างเช่น ตอนที่เขาออกจาก Sylvania Semiconductor และ GIC เพราะเขาต้องการงานที่โฟกัสไปที่การพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์เป็นหลัก

    2. ความไม่ยอมแพ้

    แม้หลายคนจะไม่เห็นด้วยกับการก่อตั้ง TSMC ให้เป็นบริษัทรับจ้างผลิตชิป แต่เขาก็ไม่ยอมแพ้และเชื่อมั่นในแนวคิดของตนเอง ก่อนที่จะก่อตั้งบริษัทจนสำเร็จ

    จากการมีเป้าหมายที่ชัดเจนบวกกับการไม่ยอมแพ้ของจาง จึงไม่แปลกใจเลยที่ในวันนี้เขาสามารถพา TSMC ให้ประสบความสำเร็จจนมีมูลค่าบริษัท 20 ล้านล้านบาท ขึ้นแท่นเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกไปแล้ว นั่นเอง..
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - longtunman.com
    Blockdit - blockdit.com/longtunman
    Facebook - facebook.com/longtunman
    Twitter - twitter.com/longtunman
    Instagram - instagram.com/longtunman
    Line - page.line.me/longtunman
    YouTube - youtube.com/longtunman
    Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
    Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
    Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
    References:
    -https://en.wikipedia.org/wiki/TSMC
    -https://en.wikipedia.org/wiki/Morris_Chang
    -https://www.longtunman.com/27349
    -https://www.longtunman.com/27702
    -https://sahilbloom.substack.com/p/the-amazing-story-of-morris-chang
    -https://www.yourtechstory.com/2018/08/16/morris-chang-chip-industry-tsmc/
    -https://www.semi.org/en/Oral-History-Interview-Morris-Chang
    -https://www.forbes.com/profile/morris-chang/?sh=7eb878d45fc4
    -https://en.wikipedia.org/wiki/Sylvania_Electric_Products
    -https://www.investopedia.com/articles/markets/012716/how-taiwan-semiconductor-manufacturing-makes-money-tsm.asp
    -https://en.wikipedia.org/wiki/Semiconductor_fabrication_plant
    -https://en.wikipedia.org/wiki/Texas_Instruments
    -https://www.counterpointresearch.com/global-smartphone-share/

  • จาง 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文

    2021-08-31 20:00:35
    有 2,248 人按讚

    เจ้าของสตาร์ตอัปยูนิคอร์น ใหญ่สุดในโลก คือใคร ? /โดย ลงทุนแมน
    หากพูดถึงบริษัทเทคโนโลยีในจีน หลายคนคงนึกถึง Alibaba หรือ Tencent
    แต่รู้หรือไม่ว่ายังมีอีกบริษัทเทคโนโลยีจากจีนที่กำลังมาแรง
    ถึงขนาดที่ก้าวขึ้นมาเป็นสตาร์ตอัปยูนิคอร์น ที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้
    บริษัทนั้น ก็คือ “ByteDance” เจ้าของแอปพลิเคชัน TikTok
    ที่มีมูลค่าประเมินล่าสุดอยู่ที่ 14.0 ล้านล้านบาท

    โดยผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของยูนิคอร์นตัวนี้ คือ “จาง อี้หมิง”
    แล้วกว่าจะมาเป็นวันนี้ จาง อี้หมิง และ ByteDance ผ่านอะไรมาบ้าง ?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    จาง อี้หมิง เกิดในปี ค.ศ. 1983 ที่เมือง Longyan จังหวัด Fujian ประเทศจีน ปัจจุบันมีอายุ 38 ปี

    แม้เขาจะเกิดและเติบโตในครอบครัวธรรมดา ฐานะปานกลาง แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือครอบครัวของจาง ค่อนข้างให้อิสระกับเขา ไม่ได้มีกฎเกณฑ์หรือมีระเบียบเคร่งครัด ต่างจากครอบครัวชาวจีนในสมัยนั้น

    นอกจากนี้ ทั้งพ่อและแม่ของจางก็ยังสนับสนุนให้เขาลองผิดลองถูกอยู่เสมอ
    เรื่องนี้เอง ก็ได้ทำให้เขาเติบโตมาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์
    และมีความกล้าที่จะลองอะไรใหม่ ๆ ตลอดเวลา

    จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2001 เขาได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Nankai ในสาขา Microelectronics
    ต่อมาก็ได้เปลี่ยนมาศึกษาในสาขาวิชา Software Engineer

    หลังจากจบการศึกษา จางก็ได้เริ่มธุรกิจของตัวเองเป็นครั้งแรก ร่วมกับรุ่นพี่ที่รู้จักกันจากมหาวิทยาลัย

    โดยธุรกิจที่เขาก่อตั้งขึ้นนั้น เป็นธุรกิจที่ทำระบบจัดการข้อมูลและการเข้าถึงสำหรับองค์กร
    แต่ในตอนนั้นด้วยความที่ยังไม่มีประสบการณ์ จึงทำให้เขาทำผิดพลาดในหลายเรื่อง
    เช่น การวางตำแหน่งทางการตลาดที่ไม่ดี สุดท้ายเขาก็ต้องล้มเลิกกิจการไป ภายในระยะเวลาเพียงปีเดียว

    ในปี ค.ศ. 2006 เขาได้เข้าทำงานกับสตาร์ตอัป Kuxun ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม ที่ให้บริการสำหรับการจองตั๋ว เช่น เครื่องบิน โรงแรม และรถไฟ คล้าย ๆ กับ Agoda, Booking, Traveloka

    ในช่วงที่เขาได้เข้ามาทำงานที่นี่ บริษัทยังถือว่ามีขนาดเล็กและมีพนักงานเพียงไม่กี่คน
    เล็กในระดับที่เขา เป็นพนักงาน Software Engineer คนแรกขององค์กร

    หลังจากผ่านไปได้เพียง 2 ปี Kuxun ที่ตอนแรกเป็นเพียงสตาร์ตอัปขนาดเล็ก
    ก็ได้เติบโตขึ้นกลายเป็นบริษัทที่มีพนักงานกว่า 40 คน

    และด้วยความสามารถที่โดดเด่นของจาง ทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายเทคนิค
    แต่แน่นอนว่าตำแหน่งหัวหน้าย่อมต้องมีเรื่องการบริหารเข้ามาเกี่ยวข้อง

    ด้วยความที่เขารู้สึกว่าตนเองยังไม่เก่งเรื่องการบริหารและทำได้ไม่ค่อยดี
    เขาจึงอยากพัฒนาและต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารมากกว่านี้

    เขาจึงมีเป้าหมายว่าต้องการเรียนรู้วิธีการบริหารจากบริษัทระดับโลก
    ซึ่งนั่นก็นำไปสู่การเดินทางออกนอกประเทศบ้านเกิดในปี ค.ศ. 2008 เพื่อไปร่วมงานกับ Microsoft
    แต่จางก็ทำงานที่นี่ได้ไม่นาน เพราะเขารู้สึกว่าบริษัทแห่งนี้ มีกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดเกินไป

    หลังจากลองผิดลองถูกและสะสมประสบการณ์มาพอสมควร
    เขาก็ได้ตัดสินใจลาออกจาก Microsoft เพื่อกลับไปลองก่อตั้งบริษัทของตนเองอีกครั้ง
    ชื่อว่า “99fang” แพลตฟอร์มที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

    หลังจากก่อตั้งได้เพียง 6 เดือน 99fang ก็สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานได้
    จนแพลตฟอร์มของเขาเติบโตจนมีผู้ใช้งานมากถึง 1.5 ล้านบัญชี
    และได้ก้าวขึ้นเป็นแพลตฟอร์มสำหรับอสังหาริมทรัพย์ของจีนอันดับต้น ๆ ในเวลานั้นเลยทีเดียว

    ในขณะเดียวกัน เขาเริ่มเห็นว่าผู้คนมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟนมากขึ้น
    ทำให้เขามองว่าการใช้อินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟนจะเติบโตขึ้นอีกมากในอนาคต
    เขาจึงมองไปที่ตลาดที่ใหญ่กว่าตลาดในประเทศจีน นั่นก็คือ “ตลาดโลก”

    จาง อี้หมิง ในวัย 29 ปี จึงได้ตัดสินใจจ้างผู้บริหารมารับไม้ต่อในการบริหาร 99fang
    เพื่อที่เขาจะได้มาโฟกัสในธุรกิจใหม่ ในตอนนั้นเขาจึงก่อตั้ง “ByteDance” ขึ้นมา
    โดยครั้งนี้เขาต้องการสร้าง แพลตฟอร์มโซเชียลที่ขับเคลื่อนด้วย AI เป็นหลัก

    แม้จะมีไอเดียที่ดี แต่ในตอนนั้นแทบไม่มีใครเชื่อมั่น และให้เงินสนับสนุนกับเขาเลย

    ถึงขนาดว่าในช่วงเริ่มต้น ByteDance ถูกปฏิเสธจาก Venture Capital หรือผู้ให้เงินระดมทุนกว่า 30 ครั้ง

    ก็จะมีแต่ Susquehanna International Group ซึ่งเป็นบริษัทด้านการค้าและเทคโนโลยีระดับโลก
    ที่ได้ให้เงินสนับสนุนกับจางราว 155 ล้านบาท

    หลังจากที่ได้เงินสนับสนุนมา ในปีเดียวกันบริษัท ByteDance ได้เปิดตัว Toutiao ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม
    ที่ให้บริการแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งจุดเด่นของ Toutiao คือจะนำเสนอเนื้อหาตามความชอบ
    โดยใช้ AI ในการวิเคราะห์ หลังจากเปิดตัวได้ 2 ปีมีผู้ใช้งานสูงถึง 13 ล้านบัญชีต่อวัน

    จุดนี้เอง ก็ได้เริ่มทำให้เหล่าบริษัทขนาดใหญ่เริ่มให้ความสนใจและให้เงินสนับสนุน

    ไม่ว่าจะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง SoftBank รวมถึง Sequoia Capital ที่เคยปฏิเสธจางไปในครั้งแรก
    ก็ได้กลับมาให้เงินสนับสนุนมากถึง 3,200 ล้านบาทในปี ค.ศ. 2014

    ต่อมา จางยังได้สังเกตเห็นว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะดูคลิปวิดีโอสั้นมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่
    นั่นจึงเป็นไอเดียที่ทำให้ในปี ค.ศ. 2016 ByteDance ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้นในจีน
    ชื่อว่า “Douyin” หรือในเวอร์ชันสากลที่เรารู้จักกันคือ “TikTok” นั่นเอง

    TikTok เป็นแพลตฟอร์มสำหรับสร้างและรับชมวิดีโอสั้น ซึ่งจะมีฟีเชอร์เสริมที่สามารถใส่เพลงประกอบได้
    โดยในตอนแรกจะมีความยาวของวิดีโอเพียง 15 วินาทีเท่านั้น แต่ในภายหลังได้เพิ่มให้วิดีโอสามารถมีความยาวได้ถึง 3 นาที

    และแน่นอนว่า TikTok ก็มีระบบแนะนำวิดีโอที่เราชอบหรืออาจจะสนใจ โดยการใช้ AI
    ซึ่งเป็นจุดแข็งของบริษัท ซึ่ง TikTok ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

    เร็วในระดับที่หลังจากเปิดให้บริการได้เพียง 1 ปี TikTok มียอดผู้ใช้งานทั่วโลกสูงถึง 54 ล้านบัญชี
    และเติบโตต่อเนื่อง จนปัจจุบันยอดผู้ใช้งานของ TikTok ได้กลายเป็น 732 ล้านบัญชีทั่วโลก

    แล้วที่ผ่านมา ByteDance มีผลประกอบการเป็นอย่างไร ?

    ปี 2018 มีรายได้ 230,000 ล้านบาท
    ปี 2019 มีรายได้ 650,000 ล้านบาท
    ปี 2020 มีรายได้ 1,200,000 ล้านบาท

    รายได้เพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี ซึ่งถือเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด
    และปัจจุบัน ByteDance ได้กลายเป็นบริษัทเนื้อหอม ที่มีแต่ผู้เข้ามาให้เงินระดมทุนมหาศาล
    จนล่าสุดบริษัท ถูกประเมินมูลค่าอยู่ที่ 14.0 ล้านล้านบาท

    และด้วยมูลค่าบริษัทที่เพิ่มขึ้นนี้เอง จึงทำให้ตัวเจ้าของอย่างจาง มีมูลค่าทรัพย์สินสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท
    ขึ้นแท่นเป็นคนที่รวยที่สุดอันดับ 9 ของจีน และอันดับ 39 ของโลก

    แล้วถ้าถามว่าเคล็ดลับความสำเร็จของจาง อี้หมิง คืออะไร ?
    เราก็น่าจะนำมาสรุปแบ่งได้เป็น 2 ข้อ นั่นก็คือ

    1. เขากล้าที่จะคิดในสิ่งใหม่ ๆ และลงมือทำอย่างจริงจัง

    เหมือนตอนที่เขาตัดสินใจจ้างผู้บริหารใหม่มาดูแล “99fang” ทั้ง ๆ ที่บริษัทกำลังไปได้ดี
    เพื่อจะมาทำตามความฝัน โดยการก่อตั้ง “ByteDance”
    ที่ในตอนแรกแทบไม่มีใครเชื่อว่าเขาจะทำได้

    2. เขายอมรับข้อเสียของตัวเอง เพื่อที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น

    เหมือนกับในช่วงที่เขาลาออกจาก Kuxun เพื่อที่จะเข้าไปเรียนรู้การบริหารในบริษัทที่ใหญ่กว่าอย่าง Microsoft และเมื่อกลางปีที่ผ่านมา จาง อี้หมิง เพิ่งประกาศว่าจะลงจากตำแหน่ง CEO ของ ByteDance โดยให้เหตุผลว่า “เขายังคงขาดทักษะบางอย่าง ในการเป็นผู้บริหารที่ดี”

    แม้ว่าวันนี้ จาง อี้หมิง จะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากคนหนึ่ง
    แต่เขายังคงถ่อมตน ไม่หลงตัวเอง คอยมองหาข้อผิดพลาดเพื่อที่จะแก้ไขและเรียนรู้อยู่เสมอ

    ด้วยแนวคิดนี้ เราจึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไม ByteDance ภายใต้การบริหาร
    ของจาง อี้หมิง ได้ก้าวขึ้นมาเป็น ยูนิคอร์นที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ นั่นเอง..
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - longtunman.com
    Blockdit - blockdit.com/longtunman
    Facebook - facebook.com/longtunman
    Twitter - twitter.com/longtunman
    Instagram - instagram.com/longtunman
    Line - page.line.me/longtunman
    YouTube - youtube.com/longtunman
    Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
    Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
    Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
    References:
    -https://en.wikipedia.org/wiki/Zhang_Yiming
    -https://www.youtube.com/watch?v=kqxbO067y4g
    -https://en.wikipedia.org/wiki/ByteDance
    -https://www.businessinsider.com/bytedance-cofounder-zhang-yiming-steps-down-as-ceo-report-2021-5
    -https://forbesthailand.com/news/global/zhang-yiming-เจ้าของแอปฮิต-tiktok-บริจาค-10.html
    -https://www.forbes.com/profile/zhang-yiming/?sh=686eec81993c
    -https://www.businessofapps.com/data/tik-tok-statistics/
    -https://en.wikipedia.org/wiki/Toutiao
    -https://en.wikipedia.org/wiki/TikTok
    -https://www.longtunman.com/31622
    -https://2.flexiple.com/founders/zhang-yiming
    -https://asia.nikkei.com/Business/36Kr-KrASIA/TikTok-creator-ByteDance-hits-425bn-valuation-on-gray-market#:~:text=BEIJING%20%2D%2D%20The%20valuation%20of,stakes%20for%20sale%20in%20ByteDance.

  • จาง 在 CarDebuts Youtube 的最佳貼文

    2021-06-09 18:54:04

    เกรท วอลล์ มอเตอร์ เปิดโรงงานเต็มรูปแบบแห่งที่สองนอกประเทศจีน ณ ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

    วางแผนสร้างฐานการผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวา พร้อมเฉลิมฉลองรถคันแรกจากสายการผลิต เตรียมส่งมอบให้กับผู้บริโภคชาวไทย

    - เกรท วอลล์ มอเตอร์ เปิดโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ที่จังหวัดระยอง ประเทศไทย ถือเป็นโรงงานผลิตแบบเต็มรูปแบบแห่งที่สอง นอกประเทศจีนของ เกรท วอลล์ มอเตอร์

    - พร้อมเดินสายการผลิตด้วยมาตรฐานระดับโลกและเทคโนโลยีอัจฉริยะอันล้ำสมัยภายใต้แนวคิด “ฉลาด ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” (Intelligence, Safety and Green)

    - เฉลิมฉลองรถคันแรก All New HAVAL H6 Hybrid SUV จากสายการผลิตในประเทศ ตอกย้ำความพร้อมเพื่อส่งมอบรถยนต์คุณภาพสูงให้แก่ผู้บริโภคชาวไทย โดยจะเริ่มเปิดจองสิทธิ์ลงทะเบียนเพื่อซื้อ 15 มิถุนายนนี้

    (ระยอง) – 9 มิถุนายน 2564 – (เกรท วอลล์ มอเตอร์ จัดพิธีเปิดโรงงานอัจฉริยะ ฐานการผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวาที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน ที่จังหวัดระยอง ประเทศไทย อย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ “GWM Smart Factory for Smart xEV World” โรงงานแห่งนี้ถือเป็นโรงงานการผลิตแบบเต็มรูปแบบที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สอง ของโรงงานการผลิตนอกประเทศจีน โดยมี มร. เอลเลียต จาง ประธาน มร. เกร็ก ลี รองประธานบริหาร ฝ่ายการผลิตในโรงงาน เกรท วอลล์ มอเตอร์ ภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทย ทีมผู้บริหารระดับสูง ร่วมด้วย มร. หวัง ลี่ผิง อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและพาณิชย์ ประจำสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก แขกผู้มีเกียรติจากรัฐบาล หน่วยงานจากภาครัฐ ตลอดจนพันธมิตรทางธุรกิจ ให้เกียรติเข้าร่วมงาน

    เกรท วอลล์ มอเตอร์ สร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอีกครั้ง ตอกย้ำความเป็น “บริษัทที่ให้บริการการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีระดับโลก (Global Mobility Technology Company)” ด้วยการเปิดโรงงานอัจฉริยะ หรือ “Smart Factory” ซึ่งเป็นโรงงานผลิตรถยนต์เต็มรูปแบบแห่งที่ 2 ของเกรท วอลล์ มอเตอร์ นอกประเทศจีนเป็นทางการ ในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC จังหวัดระยอง ภายใต้แนวคิด “ฉลาด ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” (Intelligence, Safety and Green) พร้อมเผยโฉม All New HAVAL H6 Hybrid SUV คันแรกจากสายการผลิตในประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและตอกย้ำความพร้อมในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ผู้บริโภคชาวไทยในเร็วๆ นี้

    เกรท วอลล์ มอเตอร์ สร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอีกครั้ง ตอกย้ำความเป็น “บริษัทที่ให้บริการการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีระดับโลก (Global Mobility Technology Company)” ด้วยการเปิดโรงงานอัจฉริยะ หรือ “Smart Factory” ซึ่งเป็นโรงงานผลิตรถยนต์เต็มรูปแบบแห่งที่ 2 ของเกรท วอลล์ มอเตอร์ นอกประเทศจีนเป็นทางการ ในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC จังหวัดระยอง ภายใต้แนวคิด “ฉลาด ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” (Intelligence, Safety and Green) พร้อมเผยโฉม All New HAVAL H6 Hybrid SUV คันแรกจากสายการผลิตในประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและตอกย้ำความพร้อมในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ผู้บริโภคชาวไทยในเร็วๆ นี้

    ติดตามช่องของเราทาง Facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/CarDebuts-891205251089964
    หรือเว็บไซต์ https://cardebuts.com/

  • จาง 在 สาระดี byมล Youtube 的精選貼文

    2021-03-28 07:39:43

    สวัสดีค่ะ พบกับมลทุกๆ วัน
    และวีดีโอที่มีประโยชน์ มีสาระดีๆ ฝากให้รับชม
    ฝากกดติดตาม กดไลน์ กดแช์ เพื่อเป็นกำลังใจ และไม่พลาดวีดีโอ ดี มีสาระประโยชน์

    ??บอกเลยๆๆๆ สูตรนี้..ทำง่าย..ทำเองได้
    ใช้แล้ว หน้าขาวใสถาวรในข้ามคืนจรืงๆ
    น้ำซาวข้าว ที่มีประโยชน์ต่อ
    ?ผิวหน้า ?ผิวกาย
    ?แบบหลายคนคาดไม่ถึง♥️

    วิตามินชี ผสม เชรั่มเข้มข้น
    ? ช่วยบำรุงฟื้นฟูหน้าขาวใสทันใจ
    ♥️สิวยุบ หลุมสิวตื้น
    ?ริ้วรอยตื้น หน้ากระชับ
    ♥️ฝ้า กระ จาง หน้าใสขึ้น
    ?เหมาะกับผิวแพ้ง่าย ทุกสภาพผิว
    ....+++++++....
    สนใจ /สอบถาม
    ? ทักทางข้อความเพจ ชื่อ
    #สาระดีbyมล
    โทร 065 426 3536

    https://www.facebook.com/Saradeebymon

    Hello. Meet Mon every day
    and useful videos with good
    news . Leave for viewing. Press follow. Press Line. Press Chat for encouragement. And never miss a good video, useful
    page https://www.facebook.com/Saradeebymon

  • จาง 在 CarDebuts Youtube 的精選貼文

    2021-03-17 23:25:54

    บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ – ซีพี จำกัด และ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์เอ็มจีในประเทศไทย เร่งผลักดันการใช้รถยนต์พลังานไฟฟ้าในประเทศให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง แถลงความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนาระบบการรับรองและมาตรฐาน EV Charging Station และเดินหน้าทยอยเปิดให้บริการสถานีชาร์จ MG SUPER CHARGE หลังบรรลุแผนติดตั้งสถานีชาร์จที่โชว์รูมเอ็มจีทั่วประเทศแล้วเสร็จจำนวนทั้งสิ้น 108 แห่ง พร้อมเดินแผนขยายเพิ่มอย่างต่อเนื่องอีก 500 แห่งภายในปีนี้

    เอ็มจี ถือเป็นผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่ให้ความสำคัญกับสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV Ecosystem) ของประเทศไทย โดยได้เดินหน้าแผนงานด้านยานยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้เข้าใกล้สังคมยานยนต์ไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งการแนะนำรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ ออกสู่ตลาด รวมทั้งการสนับสนุนและทำงานร่วมกับหน่วยงานของทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน เพื่อให้สังคมยานยนต์ไฟฟ้าเติบโตอย่างยั่งยืน โดยที่ผ่านมามีการลงนามความร่วมมือกับ การไฟฟ้านครหลวง (MEA) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) ในการร่วมกันขยายจุดชาร์จไฟเพื่อรองรับปริมาณยานยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น โดยล่าสุดได้ประกาศความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการร่วมกันส่งเสริมและสร้างสรรค์สังคมยานยนต์ไฟฟ้าให้มีความแพร่หลาย โดยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงด้านการพัฒนาระบบการรับรองและมาตรฐานสำหรับ EV Charging Station ผ่านการทดสอบสถานีอัดประจุไฟฟ้าของเอ็มจี หรือ MG SUPER CHARGE เพื่อให้เป็นต้นแบบในการศึกษาวิจัยและใช้งานสถานีชาร์จอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดมาตรฐานที่เป็นหนึ่งเดียวกันให้กับระบบการชาร์จไฟฟ้าของประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในการใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี

    มร. จาง ไห่โป กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด และบริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัดเปิดเผยถึงความคืบหน้าของแผนงานการขยายสถานีชาร์จของเอ็มจีที่ประกาศไว้ เมื่อปีที่ผ่านมา ล่าสุดได้บรรลุแผนระยะที่ 1 มีการติดตั้งสถานีชาร์จ จำนวน 108 สถานีที่โชว์รูมและศูนย์บริการเอ็มจีเรียบร้อยแล้ว โดยมีความพร้อมเปิดให้บริการแล้ว 67 สถานี ซึ่งราคาค่าบริการในช่วง Off Peak* จะอยู่ที่ 6.5 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง และในช่วงเวลา Peak* จะอยู่ที่ 7.5 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง พร้อมเดินหน้าสู่แผนระยะที่ 2 ในการติดตั้งสถานีชาร์จอีก 500 จุดทั่วประเทศด้วยงบลงทุนมูลค่า 500 ล้านบาท ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ เพื่อลดความกังวลเกี่ยวกับสถานีชาร์จ และเพิ่มความมั่นใจในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าด้วยจำนวนสถานีชาร์จที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น”