雖然這篇mid-cycle peak鄉民發文沒有被收入到精華區:在mid-cycle peak這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 mid-cycle產品中有14篇Facebook貼文,粉絲數超過178萬的網紅ลงทุนแมน,也在其Facebook貼文中提到, สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง “กางกลยุทธ์ พิชิตหุ้นสหรัฐฯ” BBLAM x ลงทุนแมน ช่วงเวลาที่ผ่านมา คงไม่มีตลาดหุ้นไหนสามารถทำผลงานได้โดดเด่น อย่างตลาดหุ้นสห...
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過14萬的網紅RagaFinance財經台,也在其Youtube影片中提到,成為 RF 鐵粉團的一分子!只需港幣 $40 一個月,即享獨家影片及專屬貼圖優惠! https://www.youtube.com/channel/UCETuQf4lzTrfevoHdSGo8Ew/join 成為一名經人Patreon : https://www.patreon.com/awes...
mid-cycle 在 Jolam 林作 Instagram 的最讚貼文
2020-05-11 08:22:04
自細有睡眠問題 - 晚睡,早上醒不來。失眠倒還好。看過不同的建議,也知道很多名人早起得很,但我偶像是邱吉爾當年完全是亂來的,於是我也亂來。 但之前看中醫,他說我的晚睡讓身體機能變得很糟糕,於是我就馬上開始讀這本由曼聯、皇馬、英格蘭國家隊等體育隊伍都諮詢的睡眠專輯寫的書。總的來說還行,不過廢話多了點...
-
mid-cycle 在 RagaFinance財經台 Youtube 的最讚貼文
2021-05-11 23:56:29成為 RF 鐵粉團的一分子!只需港幣 $40 一個月,即享獨家影片及專屬貼圖優惠!
https://www.youtube.com/channel/UCETuQf4lzTrfevoHdSGo8Ew/join
成為一名經人Patreon :
https://www.patreon.com/awesomomists
www.RagaFinance.com
RagaFinance Facebook:
https://www.facebook.com/ragafin/
?是日焚道 - Everyday's Vin! Patreon ?
http://patreon.com/calvinchoy
◎◎◎訂閱 ◎◎◎
▶
Ragazine : https://www.youtube.com/channel/UC5DWcqCjBne2-wRnrjxkuHQ?sub_confirmation=1
▶
Raga Finance: https://www.youtube.com/channel/UCETuQf4lzTrfevoHdSGo8Ew?sub_confirmation=1
#RagaFinance #美股 #債息
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
免責聲明:《Raga Finance》竭力提供準確資訊,惟不保證絕對無誤,資訊如有錯漏而令閣下蒙受損失(不論公司是否與侵權行為、訂立契約或其他方面有關),本公司概不負責。
同時,《Raga Finance》所提供之投資分析技巧與建議,只可作為參考之用,並不構成要約、招攬、邀請、誘使、任何不論種類或形式之申述或訂立任何建議及推薦,讀者務請運用個人獨立思考能力自行作出投資決定,如因相關建議招致損失,概與《Raga Finance》主持、嘉賓、編輯及記者無關。
同時,《Raga Finance》所有節目或資訊,相關內容屬作者個人意見,並不代表《Raga Finance》立場。
Raga Finance
網址: www.ragafinance.com
#美股焚化爐 #台積電 #中國人口
mid-cycle 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง “กางกลยุทธ์ พิชิตหุ้นสหรัฐฯ”
BBLAM x ลงทุนแมน
ช่วงเวลาที่ผ่านมา คงไม่มีตลาดหุ้นไหนสามารถทำผลงานได้โดดเด่น อย่างตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
ที่ทำให้นักลงทุนสัมผัสได้ถึงความร้อนแรง จนเกิดคำถามว่า หลังจากนี้ โอกาสของหุ้นสหรัฐอเมริกาจะเป็นอย่างไร ?
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา ลงทุนแมน ร่วมพูดคุยกับ 2 ผู้เชี่ยวชาญจากกองทุนบัวหลวง
คือ คุณพูนสิน เพ่งสมบูรณ์ AVP, Portfolio Solutions
และ คุณนวรัตน์ เจียมกิจรุ่ง SVP, Product Development
ถึงประเด็นสำคัญในการลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลานี้
เรื่องราวสำคัญที่นักลงทุนควรรู้ จะมีอะไรบ้างนั้น ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟังเป็นข้อ ๆ แบบเข้าใจง่าย
1. ภาพรวมของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ?
ความร้อนแรงของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ผ่านมา เป็นผลมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ
- นโยบายการเงินการคลัง ที่สามารถส่งต่อไปยังภาคธุรกิจ และภาคการบริโภคได้จริง
- การกลับมาของภาคธุรกิจ ทั้งจากกลุ่มธุรกิจที่เติบโต และกลุ่มธุรกิจที่ฟื้นตัวจากปีก่อน
ประเด็นที่ต้องจับตาต่อจากนี้คือ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกากำลังเข้าสู่ช่วง Mid Cycle ซึ่งแปลว่า เราอาจจะไม่ได้เห็นการปรับตัวขึ้นแรง ๆ ของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาเหมือนในช่วงที่ผ่านมา
ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนจากนี้ไป จึงต้องมีการคัดเลือกหุ้นรายตัว รายกลุ่มอุตสาหกรรมให้มากขึ้น
2. ความน่าสนใจของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา อยู่ที่ตรงไหน ?
ย้อนกลับไปช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาพบปัญหาระหว่างทางมาโดยตลอด
ไม่ว่าจะเป็น สงครามการค้ากับจีน หรือผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 ประกอบกับการเติบโตของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาที่เริ่มตั้งแต่ปี 2009 ก็ดูเหมือนจะจบรอบไปแล้วในปีที่ผ่านมา
ถ้าดูตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ปี 2020 ออกมา -30% แต่ที่น่าสนใจก็คือ สหรัฐอเมริกาฟื้นตัวกลับมาได้ค่อนข้างเร็ว โดยเห็นได้จาก GDP ไตรมาส 3 ปี 2020 ปรับตัวขึ้นกลายเป็น +33%
และถ้าหากสังเกตดัชนี S&P 500 ก็ยิ่งฟื้นตัวแรงไม่แพ้กัน
โดยใช้เวลาฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด 19 แค่ 1 เดือนเท่านั้น และก็ยังทำ New High ต่อเนื่อง อย่างในปี 2021 นี้ก็ +20% จากต้นปีอีกด้วย
ซึ่งต่างไปจากวิกฤติซับไพรม์ปี 2007 ที่ต้องใช้ระยะเวลาฟื้นตัวกว่า 18 เดือน แต่เมื่อฟื้นตัวกลับมาได้ ก็ไปต่อได้ดีเช่นกัน
ดังนั้น จุดที่น่าสนใจของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา เมื่อสังเกตจาก 2 วิกฤติที่ผ่านมาก็คือ เมื่อสหรัฐอเมริกาประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจแล้ว มักจะกลับมาฟื้นตัวได้เร็ว และก็ดีกว่าเดิมเสมอ
3. แล้วจุดขับเคลื่อนสำคัญ ที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาฟื้นตัวได้เร็ว คืออะไร ?
ปัจจัยที่ 1 คือ อำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ผ่าน 2 เครื่องมือสำคัญ นั่นคือ
- นโยบายทางการเงิน ที่จะช่วยให้ตลาดการเงินของสหรัฐอเมริกายังคงดำเนินต่อไปได้ โดยการซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ในตลาด เพื่อพยุงราคาไม่ให้ถูกเทขาย
เช่น พันธบัตรรัฐบาล, Mortgage-Backed Securities (ตราสารทางการเงินที่มัดรวมสินเชื่อบ้านเข้าด้วยกัน โดยมีสถาบันการเงินเป็นคนกลางจับคู่ระหว่างผู้กู้ยืมและนักลงทุน), หุ้นกู้ในกลุ่ม Fallen Angels ที่ถูกปรับลดระดับเครดิตต่ำกว่า BBB (Non-Investment Grade)
- นโยบายการคลัง ที่จะช่วยเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
เช่น การอัดฉีดเงินกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐไปให้ชาวอเมริกันที่ได้รับผลกระทบจากการว่างงาน
เนื่องจากโครงสร้าง GDP สหรัฐอเมริกามาจากภาคการบริโภค 70%
ดังนั้น หากชาวอเมริกันกลับมาบริโภคได้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็จะกลับคืนมาด้วย
แต่ก็ต้องยอมรับว่า ทั้ง 2 นโยบายที่ว่านี้ คงจะมีแต่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น ที่สามารถทำได้
หากเป็นประเทศอื่น ๆ เราคงเห็นปัญหาตามมาอีกมากมาย เช่น ประเทศไทยที่มีสัดส่วนการบริโภคแค่ 1 ใน 4 ถ้าหากเราอัดฉีดเม็ดเงินเช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาค่าเงินบาทอ่อนหรือปัญหาเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นแรง เป็นผลมาจากการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่มากเกินไป
โดยเหตุผลที่สหรัฐอเมริกาสามารถทำเช่นนี้ได้ เพราะความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจโลกครองสัดส่วน 1 ใน 4 ของมูลค่า GDP โลก และเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ก็ยังเป็นเงินสกุลหลักของการค้าระหว่างประเทศ
ปัจจัยที่ 2 คือ โครงสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งและหลากหลาย ส่งผลให้ภาพรวมฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
หากสังเกตดัชนี S&P 500 จะพบว่า Market Cap. ของกลุ่มเทคโนโลยี 27% สูงเป็นอันดับที่ 1 ถัดมาจะเป็นกลุ่ม Health Care 13% และกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย 12% ล้วนเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโต
ที่น่าสนใจคือ เทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราขึ้นเรื่อย ๆ เสมือนเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิตคนเรา และหลากหลายกลุ่มเทคโนโลยีอนาคตอย่าง Innovation, FinTech, Digital Advertising ยังมีส่วนสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการแข่งขันในอนาคตอีกด้วย
นอกจากนี้ วิกฤติโควิด 19 ยังเป็นปัจจัยผลักดันการเติบโตของสินค้าเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เช่น การช็อปปิงออนไลน์, การดูวิดีโอสตรีมมิงแทนการเข้าโรงภาพยนตร์
ขณะที่ภาคธุรกิจเอง ก็หันมาให้ความสนใจ Digital Advertising มากกว่าป้ายบิลบอร์ดเดิม ๆ ส่งผลให้ลดต้นทุน, ลดขั้นตอน Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งหมดนี้ จึงทำให้เชื่อว่า หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐอเมริกาจะยังเติบโตตามผลประกอบการต่อไปได้
4. หลังจากการฟื้นตัว ก้าวต่อไปคือการเข้าสู่ Mid Cycle ?
เมื่ออัตราการว่างงานลดลง ซึ่งคาดว่า 8-10 เดือนข้างหน้า ก็จะสามารถกลับเข้าสู่ระดับปกติก่อนเกิดวิกฤติโควิด 19 ได้ ขณะเดียวกัน Fed ก็เริ่มส่งสัญญาณถอนคันเร่งมาตรการกระตุ้น ด้านสวัสดิการว่างงานก็เริ่มลดลง สะท้อนได้ว่า สหรัฐอเมริกากำลังเข้าสู่ช่วง Mid Cycle
ดังนั้น เราน่าจะไม่ได้เห็นสภาพคล่องท่วมตลาดเหมือนอย่างเคยอีกต่อไป
กลยุทธ์การลงทุนในช่วง Mid Cycle จึงต้องเลือกลงทุนหุ้น Growth เช่น หุ้นเทคโนโลยี
หรือลงทุนหุ้นที่จะได้รับผลประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ ในโครงการที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กำลังผลักดันอยู่ในขณะนี้ เช่น
- American Rescue Plan วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นสวัสดิการชดเชยการว่างงาน
- Infrastructure Bill วงเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศ
- American Families Plan วงเงิน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมนุษย์
- American Jobs Plan วงเงิน 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน, Health Care, อุตสาหกรรม EV, พลังงานสะอาด
- U.S. Innovation and Competition Act วงเงิน 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแข่งขันกับจีน
หากโครงการเหล่านี้ได้รับการอนุมัติทั้งหมด จะกลายเป็นเม็ดเงินพัฒนาเศรษฐกิจที่เยอะที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ที่จะช่วยพัฒนาประเทศระยะยาว 5-10 ปี เลยทีเดียว
5. ตอนนี้ Master Fund ระดับโลก มองการลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาอย่างไร ?
หลังจากที่กองทุนบัวหลวงได้พูดคุยกับผู้จัดการกองทุน J.P. Morgan หนึ่งใน Master Fund ระดับโลก
พบว่า หากเป็นการลงทุนระยะกลาง J.P. Morgan กำลังพุ่งเป้าไปที่กลุ่มธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจหลังจากผ่านวิกฤติโควิด 19 เช่น
- กลุ่มธุรกิจ Reopening ที่เชื่อว่าจะกลับมาฟื้นตัว และได้รับประโยชน์จากความต้องการซื้อที่อัดอั้นมาจากวิกฤติโควิด 19 เช่น การจองโรงแรม, การเช่ารถ, ร้านอาหาร
- กลุ่ม Health Care ทั้งในแง่ของการรับมือกับโควิด 19, การพัฒนาวัคซีน, การวิจัยเชื้อกลายพันธุ์ และพฤติกรรมพร้อมจ่ายของคนเราเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง จึงมองว่ากลุ่มยา และกลุ่ม Biotech ยังเติบโตได้ดี
- กลุ่มพลังงานสะอาด จากการผลักดันนโยบาย EU Green Deal ขณะที่ต้นทุนของพลังงานลม และพลังงานโซลาร์เซลล์ ที่ถูกลงมากเมื่อเทียบกับพลังงานดั้งเดิม รวมทั้งกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์กักเก็บพลังงานก็น่าสนใจ
ขณะเดียวกัน หากเป็นการลงทุนระยะยาว J.P. Morgan กำลังจับตากลุ่มธุรกิจที่สอดรับกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า
ซึ่งนอกจาก 3 กลุ่มข้างต้นแล้ว ก็ยังมีกลุ่มเครื่องจักรอัตโนมัติ หรือกลุ่ม Smart ต่าง ๆ เช่น Smart Home, Smart TV ที่กำลังเติบโตตามโลกอนาคต อีกด้วย
6. กลยุทธ์การลงทุนหุ้น Growth ในช่วงเวลานี้ ?
กลยุทธ์การวิเคราะห์ลงทุนหุ้น Growth ของ J.P. Morgan จะออกเป็น 2 รูปแบบ นั่นคือ
- รูปแบบ Bottom Up คือการวิเคราะห์หุ้นรายตัวเป็นหลัก
- รูปแบบ Micro Focus คือการวิเคราะห์ลงรายละเอียดเล็ก ๆ เพราะเชื่อว่าจุดเล็ก ๆ จะนำไปสู่ความแตกต่างจากบริษัทอื่นอย่างมีนัยสำคัญได้ เช่น Facebook ที่กำลังได้รับประโยชน์จากโฆษณาออนไลน์อย่างต่อเนื่อง
เป้าหมายคือ การค้นหาหุ้นสหรัฐอเมริกาที่กำลังเติบโตมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ภายใต้ 3 ลักษณะสำคัญคือ
- ธุรกิจที่มีผลต่อการบริโภค หรือการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป
- ธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว มีกำไรที่แข็งแกร่ง
- ธุรกิจที่มีการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น (Momentum) ทิศทางเชิงบวก ดังนั้นต้องรู้จักทำใจให้นิ่งเพื่อรอจังหวะ Momentum ที่ดีได้
อีกหนึ่งกลยุทธ์การลงทุนที่สำคัญก็คือ การปรับพอร์ตลงทุนอยู่เสมอ โดยจะลดน้ำหนักหุ้นที่มีราคาปรับตัวขึ้นมานานหลายปี และตลาดรับรู้ข่าวทั้งหมดแล้ว
เช่น กลุ่มเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง Microsoft, Apple ถูกลดสัดส่วนตั้งแต่ปีที่แล้ว เพื่อนำเงินไปลงทุนหุ้นที่จะเป็น “Big Winner” ตัวต่อไป แต่ก็ไม่ได้ขายหมดทั้งพอร์ต เพราะยังมองว่าเป็นธุรกิจที่ดีระยะยาว
นอกจากนี้ ด้วยความเป็นกองทุนแบบ Active ของ J.P. Morgan ยังมองเห็น 2 กลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจคือ
- กลุ่มการเงิน โดยจะลงทุนทั้งสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น และกลุ่ม Online Payment
- กลุ่มเทคโนโลยี 5G และ EV โดยที่มองลงลึกไปถึง “ทองแดง” ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของกลุ่มเทคโนโลยี จึงเข้าไปลงทุนบริษัท Freeport-McMoRan หนึ่งในธุรกิจเหมืองแร่ทองแดงที่ใหญ่ที่สุดในโลก
7. ตัวอย่างธุรกิจที่เข้าข่ายหุ้น Growth ที่น่าสนใจ ?
ธุรกิจในกลุ่ม Digital Advertising เช่น Snap Inc. เจ้าของแอปพลิเคชัน Snapchat ที่มียอดผู้ใช้งานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ยังมีการขยายฐานผู้ใช้งานไปยังประเทศอินเดีย ทำให้มีโอกาสเติบโตในเรื่องของเม็ดเงินโฆษณาได้อีกมาก ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา รายได้ของ Snapchat ก็เติบโตเฉลี่ยปีละ 46%
ธุรกิจในกลุ่มต่อมาก็คือ Online Payment เช่น PayPal ที่ได้ประโยชน์จากการใช้ชีวิตในยุค New Normal และตอบโจทย์ในการชำระเงินยุคใหม่
ซึ่งจากผลการดำเนินงานในไตรมาสล่าสุด PayPal มีจำนวนบัญชี Active User เติบโต 16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่จำนวนธุรกรรมเติบโต 40% จากปีก่อนหน้า
ธุรกิจในกลุ่มสุดท้ายก็คือ ธุรกิจนอกกลุ่มเทคโนโลยี เช่น John Deere ผู้ผลิตและจำหน่ายรถแทรกเตอร์ อุปกรณ์การเกษตรที่นำเทคโนโลยีมาใช้กับการเกษตร ตอบโจทย์การเกษตรสมัยใหม่และเทรนด์ความยั่งยืน
หากสหรัฐอเมริกามีการเก็บภาษีจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็จะเป็นประโยชน์โดยตรงกับ John Deere
ซึ่งหุ้น 3 ตัวนี้ ก็เป็นหุ้นที่ J.P. Morgan ลงทุนเป็น Top Holding อีกด้วย
8. ตอนนี้หุ้น Growth แพงไปหรือยัง ?
ในมุมมองของกองทุนบัวหลวง คิดว่าหุ้น Growth ยังไม่แพงเกินไป ถึงแม้ว่าจะผ่านช่วงสูงสุดไปแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสเติบโตได้อยู่
โดยหากมาดูในส่วนของค่ากลางของ P/E Ratio S&P 500 พบว่า อยู่ที่ 20 เท่า สะท้อนให้เห็นว่า ยังมีโอกาสที่เรายังสามารถหาหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตในราคาที่สมเหตุสมผลได้อยู่
และที่ผ่านมาดัชนี S&P 500 ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ P/E ทยอยปรับลดลง ซึ่งมีสาเหตุมาจากกำไรของบริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว
โดยในปี 2021 มีการคาดการณ์ว่ากำไรของบริษัทใน S&P 500 จะโต 60% ในขณะที่ในปี 2022 S&P มีการคาดการณ์ว่ากำไรจะโตต่ออีก 15% จากปี 2021
จากตรงนี้ก็จะเห็นได้ว่า ยังมีอีกหลายธุรกิจที่ผลการดำเนินงานยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อยู่
9. ผลตอบแทนการลงทุน ด้วยกลยุทธ์แบบ J.P. Morgan เป็นอย่างไร ?
จากกลยุทธ์ Active Management ที่เน้น Micro Focus ทำให้กองทุน JPM US Growth ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกา มีผลการดำเนินงานที่ค่อนข้างดีมาอย่างต่อเนื่อง
หากเรามาดูผลการดำเนินงานของกองทุน JPM US Growth จะพบว่า ถ้าดูย้อนหลังไป 3 ปี เฉลี่ยต่อปีแล้ว ผลตอบแทนจะเท่ากับ 27% สูงกว่าเมื่อเทียบกับ Benchmark ที่เป็น Russell 1000 ที่เน้นเฉพาะหุ้นเติบโต ซึ่งถ้าย้อนหลัง 5 ปี ผลการดำเนินงานก็ดีกว่าเช่นกัน
เมื่อมาดูการจัดอันดับของ Morningstar พบว่ากองทุน JPM US Growth อยู่ใน First Quartile คือเป็นหนึ่งในกองทุนที่ทำผลการดำเนินงานได้ดีอยู่ในเกณฑ์ดีที่สุดในกลุ่มอีกด้วย
หากมาดูด้าน Valuation ของกองทุน JPM US Growth จะเห็นว่า กองทุนนี้มี P/E Ratio ที่ต่ำกว่า Benchmark แต่มีอัตราการเติบโตของกำไร (%EPS Growth) สูงกว่า Benchmark และ S&P 500
10. เราจะลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาในรูปแบบกองทุน ได้อย่างไร ?
กองทุน B-USALPHA เป็นกองทุน Feeder Fund ที่ลงทุนในกองทุนหลัก คือ JP Morgan US Growth Fund ไม่ต่ำกว่า 80%
ซึ่ง JP Morgan US Growth Fund เป็นกองทุนแนว Active Management เน้นลงทุนในหุ้นที่เติบโตสูงกว่าที่ตลาดมองไว้
และในส่วนที่เหลือผู้จัดการกองทุนของบัวหลวง ก็อาจลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกาที่น่าสนใจเป็นรายตัว
ซึ่งน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีระยะยาวได้ เหมือนที่ทำกับ B-FUTURE และ B-CHINE-EQ
กองทุนนี้ ยังมีนโยบายการจ่ายเงินปันผล เพราะปัจจุบันอยู่ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ผู้ลงทุนส่วนใหญ่จึงหันมาหาสินทรัพย์เสี่ยง หรือหุ้น กันมากขึ้น การจ่ายเงินปันผลจะช่วยให้ผู้ลงทุนมีเงินระหว่างทาง ไม่ต้องคอยดูจังหวะการขายทำกำไร และสามารถลงทุนได้นานขึ้น
11. สุดท้ายแล้ว แนวทางของกองทุน B-USALPHA จะช่วยบริหารพอร์ตการลงทุนภาพรวมของคุณได้อย่างไร ?
ในมุมมองการจัดพอร์ตลงทุน การกระจายสินทรัพย์เสี่ยงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ในมุมมองของกองทุนบัวหลวงคือ การจัดพอร์ตให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยง ทั้งในส่วนสินทรัพย์เสี่ยงต่ำและเสี่ยงสูง
ในส่วนสินทรัพย์เสี่ยงสูงที่เป็นหุ้นทั่วโลก ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การเอามาเป็นแกนหลักของพอร์ต (Core Port) กับเอาเป็นตัวเร่งในแต่ละธีม (Thematic) โดยส่วนที่เป็นแกนหลัก ควรที่จะให้มีการกระจายหลายประเทศ และหลายกลุ่มอุตสาหกรรม
แล้วควรลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกาเท่าไร ? หากอ้างอิงจาก MSCI Index มีสัดส่วนบริษัทในสหรัฐอเมริกา กว่า 58% อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับความชอบ ความเสี่ยงที่รับได้ และความเข้าใจของแต่ละคนด้วย
เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ที่พัฒนาแล้ว มีผลการดำเนินงานดีที่สุดใน 10 ปีที่ผ่านมา คือปีละ 14% และมีความผันผวนต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ
สรุปได้ว่า การลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นของต้องมีในพอร์ต และกลยุทธ์การลงทุนแบบ Active ในหุ้นเติบโต ย่อมมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย นั่นเอง..
mid-cycle 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
สรุปประเด็นจากห้อง Clubhouse ทำไมคนไทยไม่ควรพลาด ในการลงทุนหุ้นเทคโนโลยี ?
BBLAM x ลงทุนแมน
หลังจาก ลงทุนแมน ได้ชวนผู้เชี่ยวชาญหุ้นเทคโนโลยีจากกองทุนบัวหลวง
มาร่วมพูดคุยในเรื่องหุ้นเทคโนโลยีกันแบบเจาะลึก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา
โดยมี 2 Speakers มากประสบการณ์จากกองทุนบัวหลวง ได้เปิดเผยข้อมูลน่าสนใจมากมาย
- คุณเศรณี นาคธน AVP, Portfolio Management กองทุนบัวหลวง
- คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, AVP, Portfolio Management กองทุนบัวหลวง
สถานการณ์ความท้าทาย, โอกาสในอนาคต รวมทั้งแนวทางการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้จะเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
คำถามที่ 1 : หุ้นเทคโนโลยีจะกลับมาอีกครั้งหรือยัง ?
สังเกตไหมว่าในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเทคโนโลยีให้ผลตอบแทนได้ดีมาโดยตลอด
โดยในปีนี้ ดัชนีที่รวบรวมบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง Nasdaq ก็ให้ผลตอบแทน 12%
ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บอกว่านักลงทุนเริ่มกลับมาให้ความสนใจหุ้นเทคอีกครั้ง
อย่างในช่วงโควิดที่ผ่านมา เราก็คงได้มีโอกาสใช้บริการแพลตฟอร์มเทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Grab, Lazada, Shopee หรือ Netflix
แต่ถ้าถามว่ามุมมองต่อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในอนาคตจะเป็นอย่างไร ?
แน่นอนว่า สิ่งที่จะทำให้โลกขับเคลื่อนต่อไปได้ก็คือเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสินค้าหรือบริการ ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการพัฒนา ให้ถูกขึ้น ดีขึ้น และเร็วขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่
รวมไปถึงเรื่องของสังคมผู้สูงวัยทั่วโลก ส่งผลให้แรงงานมีจำนวนน้อยลง จึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีอย่าง หุ่นยนต์ หรือ AI เพิ่มมากขึ้น หรือแม้แต่แนวโน้มการนำเทคโนโลยีเข้ามาผสมกับการแพทย์อื่น ๆ เช่น การหาหมอออนไลน์, การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ, 3D printing ฯลฯ
ซึ่งถ้าถามว่าถึงเวลาของหุ้นเทคโนโลยีหรือยัง ก็จะเห็นได้ว่า ตลาดเริ่มส่งสัญญาณบวกแล้ว เพราะแม้จะมีความชัดเจนในเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่หุ้นเทคในช่วงที่ผ่านมาก็ยังปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งคุณเอมได้เสริมว่า ทุกวันนี้ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นเทคโนโลยียังไม่เปลี่ยนแปลง และกำไรยังเติบโต อีกด้วย จากเหตุผลที่ว่ามานี้หุ้นเทคโนโลยีจึงเป็น Theme ลงทุนหลักของโลกในระยะต่อไปแน่นอน
คำถามที่ 2 : “เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย” ส่งผลต่อหุ้นเทคโนโลยีอย่างไร ?
ปกติแล้ว การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย หรืออัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) จะส่งผลต่อหุ้นเทคโนโลยี 2 เรื่องสำคัญ นั่นคือ
- ต้นทุนในการกู้ยืมเงินของบริษัท เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ต้นทุนในการกู้ยืมเงินก็จะสูงตามไปด้วย
- การประเมินมูลค่าหุ้นแบบ Dividend Discount Model (DDM) เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อัตราคิดลดก็จะเพิ่มขึ้น เมื่อคิดเป็นมูลค่าหุ้นกลับมา จึงทำให้มูลค่าหุ้นเทคโนโลยีลดลง
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมหุ้นเทคโนโลยีค่อนข้างอ่อนไหวกับอัตราดอกเบี้ย นั่นเอง
ซึ่งในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว หลายประเทศเริ่มเปิดเมืองและมีการเร่งฉีดวัคซีน
จึงเป็นไปได้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น นักลงทุนจึงคาดว่า Bond Yield ต้องปรับตัวขึ้นอย่างแน่นอน
ซึ่ง Bond Yield อายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ก็เคยปรับขึ้นไปสูงถึงเกือบ 1.8% จากเดิมที่มีตัวเลข 1%
แต่แล้ว.. เมื่อประกาศอัตราเงินเฟ้อออกมาสูงตามที่นักลงทุนคาดไว้จริง ๆ Bond Yield ที่ปรับขึ้นมารออยู่แล้ว จึงเริ่มกลับปรับตัวลดลง ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่แท้จริง หรือที่เรียกว่า Real Yield ที่คำนวณจาก Bond Yield หลังหักเงินเฟ้อคาดการณ์ ยังอยู่ในระดับต่ำ -0.8%
สะท้อนได้ว่า ผลตอบแทนพันธบัตรไม่น่าจะเอาชนะเงินเฟ้อได้
จึงส่งผลให้การลงทุนในตลาดหุ้นกลับมาน่าสนใจ จากนั้นมาหุ้นเทคโนโลยีก็เริ่มปรับตัวขึ้นมาเรื่อย ๆ
นอกจากนี้ ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ผ่านเครื่องมือ Dot Plot
ยังมองว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ (Fed Fund Rate) อาจเกิดขึ้น 2 ครั้งภายในปี 2023
ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เร็วกว่าที่นักลงทุนคาดไว้
นักลงทุนจึงมองว่า ยิ่งการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยมาเร็วมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดอัตราเงินเฟ้อย่อมลดลง
ดังนั้น Bond Yield คงไปต่อได้ไม่ไกล จึงน่าจะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้น รวมทั้งหุ้นเทคโนโลยี อีกด้วย
คำถามที่ 3 : ปัจจัยใดส่งผลต่อ “การปรับฐานของหุ้นเทคโนโลยี” ในตอนนี้ ?
ปัจจัยแรกคือ Bond Yield
หากถามว่า Bond Yield เท่าไรถึงจะส่งผลต่อตลาดหุ้น คำตอบจากการสำรวจของ Bank of America นั้นอยู่ที่ 2.5% ซึ่งปัจจุบันนี้ อัตราดอกเบี้ยยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบ บวกลบไม่เกิน 1.5%
ดังนั้น กว่าที่ Bond Yield จะปรับตัวสูงถึงระดับนั้น อาจใช้เวลานาน ตลาดหุ้นถึงจะเริ่มปรับฐาน
ปัจจัยที่สองคือ Sector Rotation
เมื่อต้นปีเกิดแรงขายของหุ้นเทคโนโลยี ไปลงทุนในหุ้นวัฏจักรที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดเมือง
โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีราคาปรับสูง จนกลายเป็น Commodity Supercycle
สะท้อนได้ว่า สินค้าโภคภัณฑ์กลายเป็น Most Crowded Trade ที่อาจเข้าใกล้จุดสูงสุดไปแล้ว
ดังนั้น เมื่อนักลงทุนเริ่มคลายกังวลในเรื่องอัตราเงินเฟ้อ บวกกับผลประกอบการของเหล่าบริษัทเทคโนโลยีที่ออกมาดี จึงเป็นเหตุผลให้นักลงทุนเริ่มกลับมาลงทุนหุ้นเทคโนโลยีอีกครั้ง
ปัจจัยสุดท้ายที่หลายคนกังวลคือ เมื่อสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น คนยังจะพึ่งพาเทคโนโลยีอยู่หรือไม่ ?
ซึ่งต้องยอมรับว่า พฤติกรรมหลาย ๆ อย่างได้กลายเป็น New Normal ไปเรียบร้อยแล้ว
อาทิ Work From Home, การช็อปปิงออนไลน์, การสั่งอาหารแบบ Delivery
สิ่งเหล่านี้สะท้อนได้ว่า ปัจจัยพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีจะยังคงอยู่ต่อไป ไม่เปลี่ยนแปลง
คำถามที่ 4 : “QE Tapering” กระทบหุ้นเทคโนโลยีหรือไม่ ?
การปรับลดวงเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการ QE ของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า QE Tapering
แม้ว่าจะมีวงเงินลดลง แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในสถานะอัดฉีดเงินอยู่ดี
โดย QE Tapering เป็นหนึ่งในสัญญาณชี้ว่า สภาวะเศรษฐกิจอาจดีขึ้นแล้วจริง ๆ
เพราะแม้ว่า FED จะลดวงเงินอัดฉีดเงิน แต่เศรษฐกิจและภาคธุรกิจก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้
สะท้อนได้ว่า เราอาจจะกำลังอยู่ในช่วง Mid-cycle ของวงจรเศรษฐกิจ
ซึ่ง Mid-cycle จะเป็นช่วงที่ระดับอัตราดอกเบี้ยไม่ได้สูงมาก และเศรษฐกิจยังโตต่อเนื่องได้
โดยปกติแล้วจะส่งผลดีต่อกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก
ขณะเดียวกัน ต้องยอมรับว่าความกังวลเรื่องสภาพคล่องก็ถูก Price In ไปแล้วบางส่วน
เมื่อทุกอย่างชัดเจน เชื่อว่ากลุ่มหุ้นเทคโนโลยีก็พร้อมจะไปต่อได้
นอกจากนี้ ต้องให้เครดิตคุณเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ
ผู้เป็นสุดยอดนักสื่อสาร และเข้าใจตลาดการลงทุน ซึ่งการค่อย ๆ ออกมาพูด ทำให้ตลาดปรับตัวได้
ที่น่าสนใจคือ หุ้นเทคโนโลยีตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา มีเพียงปีเดียวที่ให้ผลตอบแทนที่เป็นลบ คือปี 2018 ที่ให้ผลตอบแทน -1.1% จากมรสุมลูกใหญ่ อาทิ Trade War, ทรัมป์ ทวีต และการประกาศขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีเดียว ส่วนปีอื่นๆ ล้วนให้ผลตอบแทนในอัตราเลขสองหลัก
สะท้อนได้ว่า หุ้นเทคโนโลยีเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ และให้ผลตอบแทนที่ดีได้
คำถามที่ 5 : ถ้าอนาคตเกิด “การดูดกลับสภาพคล่อง” หุ้นเทคโนโลยีจะยังไปต่อไหม ?
ก่อนหน้านี้ สภาพคล่องได้กระจายตัวไปทั่วตลาดหุ้น แม้แต่ในหุ้นที่ขาดทุนไม่มีกำไร
ดังนั้น เมื่อสภาพคล่องลดลง หุ้นที่มีคุณภาพและมีกำไร เชื่อว่าจะยังไปต่อได้
ต่างจากหุ้นพื้นฐานไม่ดี ยังไม่มีกำไร คงยากที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีได้ในปีนี้
ทีนี้น่าจะพอเห็นภาพแล้วว่า ไม่ใช่หุ้นเทคทุกตัว ที่จะน่ากลัวเสมอไป
หนึ่งวิธีที่จะช่วยเฟ้นหาหุ้นเทคในช่วงเวลานี้คือ วิธี Bottom Up
ซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานจากตัวธุรกิจ ไปยังกลุ่มอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจ
ตัวอย่างเช่น Shopify ธุรกิจ E-commerce แบบครบวงจรสัญชาติแคนาดา ทั้งในด้านการตลาด โกดังเก็บของ และบริการขนส่งสินค้า แม้จะมี P/E สูงมาก แต่ก็สร้างกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเท่าตัว และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องได้ นักลงทุนจึงได้เข้าไปลงทุนจนราคาหุ้นปรับตัวสูง 150% ในปีที่ผ่านมา
ดังนั้น คำตอบของคำถามที่ว่าหุ้นเทคโนโลยีจะยังไปต่อไหม จึงขึ้นอยู่กับการเลือกหุ้น นั่นเอง
โดยลักษณะหุ้นที่มีโอกาสไปต่อก็คือ หุ้นที่ยังไม่แพง หุ้นที่มีกำไรสม่ำเสมอ และเป็นหุ้นใหญ่
อาทิ หุ้นกลุ่ม FAANG, หุ้นกลุ่ม Software-as-a-Service (SaaS) ที่ให้บริการในด้านซอฟต์แวร์ที่มี Recurring Income หรือมีรายได้เข้ามาสม่ำเสมอ และราคาหุ้นยังไม่แพง ก็น่าจะยังไปต่อได้
คำถามที่ 6 : หุ้นเทคโนโลยี “ลงทุนระยะยาว” ได้ไหม ?
หลายคนอาจจะยังไม่กล้าถือหุ้นเทคโนโลยีในระยะยาวเพราะกลัวปัจจัยเรื่องดอกเบี้ย
ซึ่งคำถามสำคัญคือ หากมีการขึ้นดอกเบี้ยจริง ๆ จะเกิดอะไรขึ้น ?
อิงจากสถิติตั้งแต่ช่วงปี 1990 จนถึงปัจจุบัน FED ได้มีการขึ้นดอกเบี้ยทั้งหมด 7 ครั้ง บวกการทำ QE Tapering อีก 1 ครั้ง
ผลปรากฏว่า Sector ที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้มาโดยตลอดก็คือ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และยังให้ผลตอบแทนเป็นบวกมากที่สุดเมื่อเทียบกับ Sector อื่น ๆ
หรืออย่างในปัจจุบันเอง ที่มีปัจจัยมากระทบมากมาย อย่างเรื่อง Sector Rotation, ภาษีนิติบุคคลฉบับใหม่, กฎหมายเรื่องการผูกขาด แต่กองทุน B-INNOTECH ยังคงเติบโตกว่า 17%
ดังนั้น ทางกองทุนบัวหลวงก็มองว่า อาจไม่จำเป็นต้องดู Timing มาก แต่ให้เน้นจัดพอร์ตการลงทุนโดยให้คงสัดส่วนหุ้นเทคโนโลยีไว้ เพราะถือเป็น Sector ที่มีโอกาสเติบโตได้ดี เมื่อเทียบกับ Sector อื่น ๆ ในตลาด
คำถามที่ 7 : ตอนนี้ “ควรเลือกลงทุน” หุ้นเทคโนโลยี อย่างไรดี ?
หุ้นเทคโนโลยีในช่วงนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็นหลัก ๆ 3 ประเภท คือ
1. กลุ่ม Hardware เช่น อุปกรณ์ไอที คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร อย่างบริษัท HP หรือ Logitech
2. กลุ่ม Software as a Service หรือว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้ในบริษัทองค์กรใหญ่ ๆ เช่น Microsoft Office, Salesforce (CRM) และ ServiceNow
3. กลุ่ม Semiconductor เช่น ชิปเซต การ์ดจอ อย่าง TSMC และ NVIDIA
ซึ่งกลุ่มที่ 2 และ 3 นั้นตลาดจะให้ P/E ค่อนข้างสูง เนื่องจากมีอัตราการเติบโตของกำไรที่สูง ต่างกับกลุ่มที่ 1 ที่อาจเติบโตได้ดีแค่ในช่วงโควิด แต่เป็นสินค้าที่คนไม่ได้ซื้อบ่อย ทำให้ตลาดยังให้ราคาค่อนข้างต่ำ
อย่างบริษัท NVIDIA ผู้ผลิตการ์ดจอ ที่กำลังเป็นที่ต้องการของนักขุดเหรียญคริปโทฯ ที่มี P/E สูงถึง 76 เท่า แต่ก็มีอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น ในไตรมาสที่ผ่านมาสูงถึง 100% ในขณะที่กลุ่ม Hardware อย่าง HP หรือ Logitech นั้นจะมี P/E อยู่ที่ประมาณ 20 เท่า เท่านั้น
จะเห็นได้ว่า หุ้นเทคโนโลยีแต่ละกลุ่มนั้น ให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
ดังนั้น การเลือกกองทุนที่มีนโยบายบริหารแบบ Active Management หรือ กองทุนที่มีเป้าหมายเพื่อเอาชนะดัชนีอ้างอิง จึงเป็นนโยบายที่เหมาะกับการลงทุนใน Theme เทคโนโลยีนี้ เพราะจะช่วยให้กองทุนมีความยืดหยุ่นในการคัดเลือกหุ้นมากขึ้น โดยสามารถเลือกลงทุนในหุ้นที่เห็น Upside ได้เยอะกว่าได้ เมื่อเทียบกับแบบ Passive Management ที่ลงทุนอิงตามดัชนีเท่านั้น
คำถามที่ 8 : แล้ว “B-INNOTECH” เลือกหุ้นเทคโนโลยีเข้าพอร์ตอย่างไร ?
วิธีคัดเลือกหุ้นของผู้จัดการกองทุน Fidelity ซึ่งเป็นกองทุนหลักของ B-INNOTECH
จะประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยสำคัญ นั่นคือ
- Growth คือ หุ้นบริษัทที่เน้นการสร้างนวัตกรรมทันสมัย มีแนวโน้มเติบโต และเป็นผู้นำได้ในระยะยาว
- Cyclical คือ หุ้นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และที่จะเติบโตไปตามสภาพเศรษฐกิจได้
ตัวอย่างเช่น หุ้นผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ Semiconductor ที่จะยังเติบโตต่อไปได้
- Special Situation คือ หุ้นบริษัทคุณภาพในช่วงเวลาไม่ปกติ
เมื่อกองทุนเห็นบริษัทคุณภาพที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น
หากบริษัทนั้น มีโอกาสฟื้นตัวได้สูง น่าสนใจในอนาคต ก็จะเข้าไปลงทุนเก็บสะสมไว้
ดังนั้น การเลือกหุ้นเทคโนโลยีของกองทุน B-INNOTECH ที่มักจะลงทุนในหุ้นใหญ่
ลักษณะไม่หวือหวา เช่น Alphabet, Microsoft
ด้วยพื้นฐานของการประเมินมูลค่าหุ้นที่เหมาะสม เป็นธุรกิจผู้นำในกลุ่ม
รวมทั้งเป็นธุรกิจมีรายได้และกำไรที่มีคุณภาพ และต้องเติบโตต่อเนื่องในอนาคตด้วย
ซึ่งการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีขนาดใหญ่, ธุรกิจเทคโนโลยีพื้นฐาน และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
ที่มีแนวโน้มผลการดำเนินการค่อยปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังส่งผลให้ B-INNOTECH เป็นกองทุนที่มีความผันผวนที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับกองทุนเทคโนโลยีและ Innovation อื่น ๆ อีกด้วย
ทั้งหมดนี้ สะท้อนได้ว่า B-INNOTECH เป็นอีกหนึ่งกองทุนหุ้นเทคโนโลยีที่น่าสนใจเลยทีเดียว ในตอนนี้..
คำเตือน:
การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อนู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
mid-cycle 在 半路出家軟體工程師在矽谷 Facebook 的最讚貼文
職場提升心得 (一): 觀察及反省自我能力
我過去寫了“矽谷科技公司和上級的 1: 1 討論及 mid-cycle check in” 及 “美國科技公司的績效考評 (Performance review)”, 分享目前我了解到矽谷科技公司對員工的評比方式、及如何定時和直屬老闆在個人績效及職業發展上尋求 feedback 及幫助。 從過去的分享中, 我也了解到許多讀者有興趣想知道如何可以成為獨當一面的工程師。
我對於自我提升及職業發展也是很有興趣的, 從我過往的經驗、讀的書籍學習、還有剛好有一些機會從更資深的工程師及層級比較高的領導者討論學習, 在我內化整理後, 分享在這一系列職場提升心得文章。
關於職場發展, 我體悟到最重要的一點是要有觀察及反省能力。 可能我們看到許多大神的成功案例, 覺得他們在對的時間, 做到對的事情, 事業就一飛沖天。 如果我們沒有這種 “先知先覺” 的能力, 至少我們可以先練習 “後知後覺”。 後知後覺是把我們過去做過的事情做個紀錄, 嘗試去發掘出我們在哪些部分做的不錯, 哪些是我們做的不好之處。
統計上的常態分布 (normal distribution) 大家都很清楚, 如果以能力來說, 每樣能力世界上人的分佈也應該像是常態分佈一樣。 如果我們的能力是在正向超過一個標準差以上, 或甚至是 2、3 個標準差以上的傑出範圍, 我們應該要想盡辦法多運用這方面的技能, 尋找職業戰場上以需要這類型的能力作為主要方向, 最能體現我們的價值,也更能事半功倍、得到最多成果。
如果有什麼方面是在負的標準差範圍, 則我們應該想盡辦法避免需要在這個領域和別人一較高下, 如果可以提升到正的標準差當然好, 但如果需要花太多精力, 也僅僅只是達到中間水平,考慮到時間成本及最後的產出, 可能可以認真考慮放棄掉在這個方向持續投入。
我讀過且很推薦的一本書 “The Effective Engineer: How to Leverage Your Efforts In Software Engineering to Make a Disproportionate and Meaningful Impact”, 在之前作者有書籍活動的時候, 我詢問他一個職業發展的問題:“我們應該要多強化我們的優勢能力, 還是花時間補足我們的弱點?” 當時他建議我的可以依照優勢能力, 把技能樹比較相關的能力一起加強, 有點像是做一個技能“山” (就像山的形狀一樣), 山峰是我們最重要、最強的能力、旁系的山峰相關的能力也要依照主山峰的情況做提升。 但如果是比較遠的能力, 就可以依照興趣再決定是否要花時間提升。
要做到對個人能力的分析,也是需要許多努力及嘗試, 有一個經驗法則就是,如果你覺得你做某一件事情通常可以比其他人做的快, 而且你自己沒有太大的壓力, 這應該就是你為在正標準差的能力。 如果你常要加班、且常常壓力很大會緊張結果的話, 這可能就是你比較弱勢在負標準差的部分。
以上當然是很籠統, 很高空的心得, 最近比較忙, 也就只能一次一小部分分享了 XD。 🤣
你如何評估自我的能力呢? 你有什麼先知先覺、或是成功後知後覺歸納自我的經驗呢? 歡迎留言分享。
部落格原文:https://brianhsublog.blogspot.com/2020/11/CareerSelfReflection.html