[爆卦]UOB Bank是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇UOB Bank鄉民發文沒有被收入到精華區:在UOB Bank這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 uob產品中有410篇Facebook貼文,粉絲數超過135萬的網紅ติดโปร - PRO addict,也在其Facebook貼文中提到, 📱 วางแผนการเงินก่อนจอง iPhone 13 อยากผ่อนกี่เดือน จ่ายเดือนละเท่าไร? คำนวณไว้เลยยย ⚡️ Apple เตรียมเปิดให้จอง iPhone 13 mini, iPhone 13, iPhone 13 Pro...

 同時也有26部Youtube影片,追蹤數超過58的網紅Jusjusruns world,也在其Youtube影片中提到,Hello everyone! Managed to do an afternoon tea just before Phase 2 Heightened Alert kicked in. Royale was having a UOB credit card one-for-one promoti...

uob 在 ᴛʀᴀᴄʏ ʟ. Instagram 的最讚貼文

2021-09-17 05:14:36

- 不知道怎麼的.. 要在這裡分享自己的作品有點彆扭🙈 回歸到設計本業 (不知道自己要不務正業多久😂 某一天靈感在半夜來敲門 就這樣排版排到天亮 但是我的心裡有了從未有過的踏實感 說了好幾年關於設計商品的事 這件事比紙上旅行早了好幾年 在心中想了千百回 但也沒想過它會有完成的一天 或許這只是一個開...

  • uob 在 ติดโปร - PRO addict Facebook 的精選貼文

    2021-09-30 15:03:23
    有 1,476 人按讚

    📱 วางแผนการเงินก่อนจอง iPhone 13 อยากผ่อนกี่เดือน จ่ายเดือนละเท่าไร? คำนวณไว้เลยยย

    ⚡️ Apple เตรียมเปิดให้จอง iPhone 13 mini, iPhone 13, iPhone 13 Pro และ iPhone 13 Pro Max ในวันพรุ่งนี้ (1 ตุลาคม 2564) ก่อนจะกดจอง มาเช็กราคาได้เลย แอดรวมมาให้แล้วทุกรุ่น ซื้อเต็มไม่ไหว ต้องผ่อนเดือนละเท่าไหร่ถึงจะได้เป็นเจ้าของน้อง 13 กันนะ บริหารเงินกันให้ดี เตรียมบัตรเครดิตให้พร้อม แล้วรอสั่งจองได้เลยยย

    👨🏻‍💻 เที่ยงคืน วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เตรียมซื้อเครื่องเปล่าลดสูงสุด 13,000 บาท ได้จากลิงก์นี้เลย https://ttid.pro/2XprbvW

    💳 โปรโมชั่นผ่อน 0% จะร่วมกับบัตรเครดิตต่างๆ ถ้ายังไม่มี สามารถสมัครบัตรเครดิตได้เลย รออนุมัติและรับบัตรภายใน 7-14 วันทำการ
    - สมัครบัตรเครดิต KTC ฟรีค่าธรรมเนียมรายปี ได้ที่ https://ttid.pro/3kSpVu1
    - สมัครบัตรเครดิต Citi พร้อมรับคะแนนสะสมหรือเครดิตเงินคืน ได้ที่ https://ttid.pro/3okCoZH
    - สมัครบัตรเครดิต UOB รับเครดิตเงินคืน ได้ที่ https://ttid.pro/3BacPyl

    #iPhone13mini #iPhone13 #iPhone13Pro #iPhone13ProMax #iPhone #TIDPRO #ติดโปร

  • uob 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文

    2021-09-18 11:00:33
    有 2,130 人按讚

    ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ? /โดย ลงทุนแมน
    ประเทศเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีประชากรเพียงราว ๆ 5.7 ล้านคน
    แต่สามารถส่งออกบริการด้านการเงินมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
    คิดเป็นมูลค่าถึง 1,210,000 ล้านบาท ในปี 2019

    จากการจัดอันดับเมืองศูนย์กลางการเงินโลกของ Long Finance ประจำปี 2021
    สิงคโปร์คือศูนย์กลางการเงินอันดับ 5
    เป็นรองเพียงนิวยอร์ก กรุงลอนดอน และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นมหานครหลักของประเทศมหาอำนาจ
    กับฮ่องกง ที่เป็นเมืองเชื่อมต่อธุรกิจระหว่างโลกกับจีนแผ่นดินใหญ่

    สำหรับประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1965 และแทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
    แม้แต่น้ำจืดก็ยังขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน

    แต่สามารถเติบโตจนแซงหน้ามหานครในหลายประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า
    และก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแถวหน้าของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี..

    ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ มีเส้นทางเป็นอย่างไร ?
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
    ตอน ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ?

    ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูก และแทบไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
    แต่เกาะสิงคโปร์ยังมีความโชคดีอยู่ประการหนึ่ง คือ
    “ทำเลที่ตั้งที่อยู่ปลายสุดของคาบสมุทรมลายู”

    ทำเลนี้เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดินเรือ ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออก กับอินเดียและยุโรป
    ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อังกฤษรวบรวมดินแดนแถบนี้และเรียกว่า “อาณานิคมช่องแคบ”

    สิงคโปร์จึงถูกวางให้เป็นเมืองท่าสำคัญของบริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทที่เดินเรือทำการค้าขายระหว่างยุโรป กับอินเดียและโลกตะวันออก

    ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกิดอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องที่ได้รับความนิยมสูงในยุโรป แร่ธาตุที่จะนำมาทำกระป๋องก็คือ ดีบุก ซึ่งพบมากแถบคาบสมุทรมลายู เมืองท่าสิงคโปร์จึงถูกพัฒนาให้เป็นตลาดค้าดีบุกที่สำคัญของโลก

    นอกจากดีบุกแล้ว การนำยางพาราเข้ามาปลูกในแถบมลายูในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
    ก็ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของตลาดประมูลยางพาราอีกหนึ่งตำแหน่ง

    การเป็นทั้งเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการค้าดีบุกและยางพารา ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในสิงคโปร์คึกคัก ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาเปิดกิจการธนาคาร

    ธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่เข้ามาเปิดทำการในสิงคโปร์ คือ The Union Bank of Calcutta
    เปิดในปี 1840 มีการจัดตั้งสกุลเงินประจำอาณานิคมช่องแคบ คือ Straits Dollar ในปี 1845

    ส่วนธนาคารแห่งแรกที่ก่อตั้งในสิงคโปร์ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากกวางตุ้ง
    ชื่อว่า Kwong Yik Bank ในปี 1903 และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยธนาคารอีกหลายแห่ง

    แต่ก็มีธนาคารมากมายที่ล้มหายตายจาก หรือถูกควบรวมกับธนาคารอื่น ๆ
    ส่วนธนาคารที่ยังดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันก็คือ

    OCBC หรือ Oversea-Chinese Banking Corporation Limited ซึ่งเกิดจากการควบรวมธนาคารของชาวจีนฮกเกี้ยน 3 แห่ง ในปี 1932

    และอีกธนาคารหนึ่งก็คือ UOB หรือ United Overseas Bank ซึ่งก่อตั้งโดยชาวมาเลย์เชื้อสายจีนในปี 1935

    แต่ท่ามกลางการวางรากฐานด้านการเงินการธนาคารของสิงคโปร์
    การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองท่าแห่งนี้ต้องหยุดชะงักลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น

    เมื่อหลังจบสงคราม อาณานิคมช่องแคบได้รับเอกราชจากอังกฤษ และสิงคโปร์ก็ได้ขอรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ในปี 1963

    แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ และอุดมการณ์ทางการเมือง
    ท้ายที่สุดสิงคโปร์จึงแยกตัวออกจากมาเลเซีย และก่อตั้งประเทศในปี 1965
    พร้อมกับตั้งสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ของตัวเองในอีก 2 ปีถัดมา

    สิงคโปร์ถือกำเนิดประเทศด้วยการไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
    และเต็มไปด้วยแรงงานชาวจีนที่หลั่งไหลมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในช่วงหลังสงครามโลก

    ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิภาพความเป็นอยู่ รวมไปถึงการสร้างทักษะให้กับแรงงาน ต่อยอดจากการเป็นเมืองท่าค้าขาย

    มีการจัดตั้ง Housing and Development Board เพื่อดูแลในเรื่องที่พักอาศัย
    และสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเขต Jurong ทางตะวันตกของเกาะ
    เพื่อสร้างงานในภาคอุตสาหกรรม

    โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทั้ง 2 โครงการ ต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลสิงคโปร์จึงลงทุนเองบางส่วนในโครงการเหล่านี้ และได้ตั้ง The Development Bank of Singapore Limited หรือ ธนาคาร DBS ในปี 1968 เพื่อรองรับเงินทุน กระตุ้นให้เงินทุนหมุนเวียน และโครงการพัฒนาดำเนินไปอย่างราบรื่น

    เมื่อผู้คนมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ และค่อย ๆ หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว รัฐบาลก็ต้องวางแผนต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน

    ประการแรก: พัฒนาการศึกษา

    เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างสิงคโปร์ ก็คือ “ทรัพยากรมนุษย์”
    รัฐบาลสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญต่อนโยบายการศึกษาอย่างสูงสุด โดยมีการปฏิรูปคุณภาพของระบบ และมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

    เริ่มจากการมีบุคลากรครูคุณภาพสูง โดยครูทุกคนต้องจบการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้อง หลังจบการศึกษาต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพครูจากสถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ (National Institute of Education หรือ NIE) เป็นเวลา 1 ปี เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครูแล้วต้องได้รับการประเมิน และพัฒนาในทุก ๆ ปี

    และด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษาของผู้คนในสิงคโปร์ ที่มีทั้งชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬ ซึ่งแต่ละเชื้อชาติต่างก็มีการใช้ภาษาเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป
    สิ่งที่จะหลอมรวมให้คนทุกเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันก็คือ

    “ชาวสิงคโปร์ทุกคนจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้”

    นำมาสู่ระบบการเรียนการสอนสองภาษา ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
    ส่วนภาษาที่สองก็เป็นภาษาของแต่ละเชื้อชาติ

    รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างทางเลือกในการศึกษาระดับมัธยมให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็น
    หลักสูตรมัธยมศึกษาเชิงวิชาการ สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
    และหลักสูตรมัธยมศึกษาโพลีเทคนิค สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในสายอาชีวะ

    ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ก็ผลักดันมาตรฐานในการเรียนสายอาชีวะให้มีคุณภาพสูง
    เพราะมองว่านักเรียนแต่ละคนมีความถนัดทางวิชาการไม่เท่ากัน และสายอาชีวะสามารถผลิตบุคลากรเพื่อป้อนตลาดแรงงานในทันที

    โดยหนึ่งในสายวิชาชีพ ที่รัฐบาลผลักดันตั้งแต่การก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวะแห่งแรก ๆ ก็คือ “นักบัญชี”

    สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการจัดตั้ง National University of Singapore (NUS) ที่เกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งในปี 1980 และเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจัดตั้ง NUS Entrepreneurship Centre ในปี 1988

    ซึ่งในปีการศึกษา 2022 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
    จากการจัดอันดับโดย QS

    ต่อมาในปี 1981 มีการจัดตั้ง Nanyang Technological University (NTU)
    ซึ่งก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย
    โดยมี Nanyang Business School เป็นสถาบันด้านบริหารธุรกิจอันดับ 1 ของสิงคโปร์

    เมื่อสร้างแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะในภาคบริหารธุรกิจและการเงิน รวมไปถึงด้านกฎหมาย และแรงงานส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี

    ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเมืองนานาชาติ และมีข้อได้เปรียบดึงดูดบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน บริษัทด้านบัญชี และกฎหมาย ให้เลือกมาตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในสิงคโปร์

    รัฐบาลได้จัดตั้ง ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS) ในปี 1971 เพื่อควบคุมสถาบันการเงิน และบริหารจัดการนโยบายทางการเงิน

    ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กและเป็นเมืองท่าค้าขาย และพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศสูงมาก สิงคโปร์จึงอาศัยกลไก “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน ภายใต้การบริหารจัดการของ MAS

    ประการที่ 2: ปฏิรูประบบราชการ

    เมื่อวางแผนระบบการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติก็คือ “ความโปร่งใส”

    ในช่วงหลังการแยกตัวเป็นเอกราช
    สิงคโปร์เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคอร์รัปชันสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

    รัฐบาลภายใต้การนำของนายก ลี กวน ยู ได้ย้ายสำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (Corrupt Practices Investigation Bureau หรือ CPIB)
    ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1952 มาอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี

    และทำการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
    ทั้งการตัดสินลงโทษผู้ต้องหาโดยไม่ต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่มีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อสัตย์ก็สามารถตัดสินได้ หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริง ก็จะได้รับโทษอย่างรุนแรง

    นอกจากโทษทางกฎหมายแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่ทำการทุจริตด้วย

    หลังจากตัวบทกฎหมาย และกระบวนการลงโทษเริ่มเข้าที่เข้าทาง
    ขั้นต่อมา คือการเพิ่มผลตอบแทนให้ข้าราชการ โดยเริ่มในปี 1989
    เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ารับราชการ และลดการรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ

    รัฐบาลสิงคโปร์ใช้เวลาต่อสู้กับการคอร์รัปชันมาเป็นเวลากว่า 50 ปี
    จนสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index)
    สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020

    เมื่อประเทศมีความโปร่งใส ก็ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลก็มีเงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งการคมนาคมขนส่ง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

    รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ก่อตั้ง คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Board หรือ EDB) เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน

    จากเมืองท่าปลอดภาษี ในช่วงทศวรรษ 1970s สิงคโปร์ต่อยอดมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ในทศวรรษ 1980s

    และในช่วงทศวรรษ 1990s ประเทศแห่งนี้ก็เปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ประการที่ 3: พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ

    รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้ง The Smart Nation and Digital Government Group หรือ SNDGG รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเก็บข้อมูล และประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์มี Big Data โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน

    รัฐบาลจึงสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินได้ ป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้สิงคโปร์ได้รับความน่าเชื่อถือ สามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงิน

    รัฐบาลยังต่อยอดและให้การสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สิงคโปร์เป็น The FinTech Nation

    ทั้งการเปิดให้บริษัท FinTech จากทั่วโลก ขอใบอนุญาต Digital Banking ได้เต็มรูปแบบ
    ไม่ปิดกั้นเฉพาะองค์กรในสิงคโปร์ และให้การสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงินหลายรูปแบบ
    ทั้งระบบชำระเงิน, บล็อกเชน ไปจนถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

    ในขณะที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ ก็เป็นผู้ริเริ่มจัดงาน Singapore FinTech Festival ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2016 และจัดขึ้นติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นมหกรรม FinTech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

    ปัจจุบัน ธนาคารสิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง คือ DBS, OCBC และ UOB
    ล้วนเป็น 3 ธนาคารที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน มีผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ทั้งประกันภัย ผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ ไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล

    ภาคบริการการเงินคิดเป็นสัดส่วนราว 7.4% ของการส่งออกสินค้าและบริการของสิงคโปร์ ซึ่งบริการขั้นสูงเหล่านี้ มีส่วนสำคัญที่ผลักดัน GDP ต่อหัวของชาวสิงคโปร์ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ

    ในปี 1965 ที่ก่อตั้งประเทศ ชาวสิงคโปร์เคยมี GDP ต่อหัวน้อยกว่า เจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักร ประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเยอรมนี หรือประเทศมหาอำนาจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น

    แต่ในปี 2020 GDP ต่อหัวชาวสิงคโปร์แซงหน้าประเทศเหล่านี้ทั้งหมด และมากเป็นเกือบ 1.5 เท่า ของอดีตเจ้าอาณานิคม..

    เรื่องทั้งหมดนี้เกิดจากการวางแผนระยะยาว
    ทั้งการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมสำหรับงานบริการ
    การพัฒนาประเทศให้โปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
    รวมไปถึงการช่วยเหลือของภาครัฐในทุก ๆ ด้าน

    จากเมืองท่าศูนย์กลางการค้า สิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีทางการเงินแห่งศตวรรษที่ 21

    เรื่องราวของประเทศเกาะมหัศจรรย์แห่งนี้ บอกให้เรารู้ว่า
    เมื่อเริ่มเป็นศูนย์กลางอะไรสักอย่าง และสั่งสมประสบการณ์จนมากพอแล้ว
    ก็จะง่ายในการดึงดูดสิ่งใหม่ ๆ และกลายเป็นศูนย์กลางด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
    และในวันนี้ สิงคโปร์กำลังเตรียมพร้อมทุกอย่าง
    สำหรับการเป็นศูนย์กลางอีกหลายด้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต..
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - longtunman.com
    Blockdit - blockdit.com/longtunman
    Facebook - ลงทุนแมน
    Twitter - twitter.com/longtunman
    Instagram - instagram.com/longtunman
    Line - page.line.me/longtunman
    YouTube - youtube.com/longtunman
    Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
    Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
    Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
    References:
    -http://prp.trf.or.th/download/2538/
    -https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=404&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
    -https://remembersingapore.org/2011/10/07/money-never-sleeps-a-brief-history-of-banking-in-sg/
    -https://lkyspp.nus.edu.sg/docs/default-source/case-studies/entry-1516-singapores_transformation_into_a_global_financial_hub.pdf
    -https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=SG-GB-JP-DE
    -https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/dbs-cryptocurrency-trading-130964?fbclid=IwAR2VVHEH9_n29fpyXSQ6EgSGDm63Lhm3aQF0aj7I8LIQ_B2wgjIXSazIVxU

  • uob 在 Tracy L. Facebook 的精選貼文

    2021-09-10 21:00:42
    有 1 人按讚

    -
    不知道怎麼的..
    要在這裡分享自己的作品有點彆扭🙈

    回歸到設計本業 (不知道自己要不務正業多久😂
    某一天靈感在半夜來敲門
    就這樣排版排到天亮
    但是我的心裡有了從未有過的踏實感
    說了好幾年關於設計商品的事
    這件事比紙上旅行早了好幾年
    在心中想了千百回 但也沒想過它會有完成的一天
    或許這只是一個開端
    但總是..萬事起頭難
    也謝謝在發佈作品之後給我反饋與鼓勵的你們 真心感謝❤️
    很幸運的 一路上遇到許多的貴人朋友們
    不管是互相勉勵或是回答我上千個菜鳥才會問的問題
    沒有你們 我這個系列也不會完成
    特別感謝 loi_design 一路相挺
    一直鼓勵我「期待你做自己的商品」
    我真的瘋狂聽到這句話哈哈哈
    設計期間也像在趕鴨子一樣讓我完成
    不然我自己絕對是一拖再拖哈哈哈
    然後,就會沒有然後了...😂

    最後特別放上了 iambrownholic (開外掛) 收到樣品的反饋截圖
    隻身一人離開自己熟悉的家
    到一個沒有人認識你的地方生活
    看到這上面的字 你會更有深刻的感觸
    體會過的人 一定更能理解我想表達的
    而這一路走來 真的不容易
    回想那個自己 不知道當時的你是如何?
    又或者 若是在回到那個時間點
    你會選擇過怎麼樣的生活?

    Finally, I’m back to design industry. Having a Bachelor degree from UOB should do something haha! There was a midnight, the idea came into my head and I sit in front of the desk until the sun raised, and I was so happy that my designs are on the way. Speaking about design my own products, I have to through back years ago, even earlier than my brand: Traveling on paper. I thought about it for many times and never thought of I will actually achieve it one day! Thank you for all the kind and warm encouragement after I launched the collection! Specially thanks to Loi design, she helped me so much that I have no words to say! I wouldn’t complete this project without her! Hope you like my new collection as much as I do🥰
    -
    以下是商品相關資訊 / Product info 🙌🏼
    終於,在夢想的道路上再打一個勾
    Journey vol.1 誕生啦!
    第一個紙膠帶系列
    靈感來自於我的英國留學生活第一年
    很多時候有著不同的挑戰
    膠帶上的英文字句來自於我的日常和自我對話
    照片部分也都是我的生活紀錄 很多很多很美的時刻
    來自 布萊頓, 英國

    :: 售價 Price ::
    𝐁𝐞𝐠𝐢𝐧𝐧𝐢𝐧𝐠 𝟎𝟏 / 𝐁𝐞𝐠𝐢𝐧𝐧𝐢𝐧𝐠 𝟎𝟐 / 𝐋𝐢𝐯𝐢𝐧𝐠
    預購售價 NTD 355 (原價 NTD395)
    尺寸 Size 5cm x 10cm
    循環 Loop 90cm
    材質 霧面PET膠帶 / PET Tape
    🌟 預購限定 🌟
    包套即贈轉印貼紙,另外再折NTD60

    𝐑𝐨𝐮𝐧𝐝 𝐧 𝐑𝐨𝐮𝐧𝐝 轉印貼紙・Print-on sticker
    預購售價 NTD 81 (原價 NTD 90)
    2 款各一入 / pieces in a pack
    尺寸 Size 15 x 10cm

    My first ever collection is inspired by my first-year student life in the UK. There are a lot of overcome moments and challenges, and the words are from my daily basic or what I kept in my mind. Besides, the photographs are taken by myself in Beautiful Brighton, UK.

    #紙上旅行 #Journeyvol1
    #Topstudio #travelingonpaper_tw

  • uob 在 Jusjusruns world Youtube 的最佳貼文

    2021-05-30 10:05:11

    Hello everyone! Managed to do an afternoon tea just before Phase 2 Heightened Alert kicked in. Royale was having a UOB credit card one-for-one promotion which made this afternoon tea all the more worthwhile! Check out the pretty tier of goodies.

    Do like and subscribe to my channel!

    Follow me on IG too at Jusjusruns.

  • uob 在 Chang Family Youtube 的最佳解答

    2021-04-23 19:57:34

    好久不见, 送上好康

    UOB Mighty Insights makes money management easy.
    To learn more about UOB Mighty Insights, visit www.UOB.my/mighty.

    Don’t forget to use my referral code:
    "UOBJOE" to sign up for UOB ONE Account, Lady's Savings Account or Stash Account online and get RM60 Lazada e-cash voucher

    Shooting location
    IG @willowkualalumpur

  • uob 在 THE DC EDIT Youtube 的最讚貼文

    2021-03-08 11:16:35

    A big part of The DC Edit's vision is spotlighting women profiles who move and inspire us. In celebration of International Women's Day 2021, we invited 3 women-in-charge to tell us about who inspires them -- to bring you their stories about identity, growth and what it's like to carve out your own distinct journey.

    This year, we celebrate the dynamic female identity and the many definitions of what it means to be a woman. Happy International Women's Day!

    Read more on thedcedit.com.

    Wardrobe partners: Beyond The Vines, Love, Bonito, LUMINE SINGAPORE, Monica Vinader

    Proudly brought to you in partnership with UOB Lady's Card and UOB Lady's Savings Account. UOB is also a proud supporter of the Celebrating SG Women movement.

你可能也想看看

搜尋相關網站