[爆卦]Laggard是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇Laggard鄉民發文沒有被收入到精華區:在Laggard這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 laggard產品中有12篇Facebook貼文,粉絲數超過178萬的網紅ลงทุนแมน,也在其Facebook貼文中提到, สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง เปิดสูตรเฟ้นหา หุ้นอนาคตในอเมริกาเข้าพอร์ตระยะยาว BBLAM x ลงทุนแมน อังคารที่ 8 กันยายน ที่ผ่านมา ลงทุนแมนได้ชวนผู้เชี่ย...

 同時也有6部Youtube影片,追蹤數超過18萬的網紅MONEY HERO,也在其Youtube影片中提到,สนับสนุนรายการและช่อง Money Hero ได้ที่ บัญชี นายธวัชชัย ธูปอ่อน ธนาคารไทยพาณิชย์ เลขบัญชี 530-402255-0 เพื่อเป็นรายได้ให้กับเด็กฝึกงาน การจัดกิจกรรมข...

laggard 在 CheckCheckCin Instagram 的最佳解答

2021-03-03 02:35:31

【認識體質】你和體質相近的人特別投契嗎?   ⭐體質會影響性格 ⭐記住體質是可以靠後天努力改變的 #星期一踢走BlueMonday   火星撞地球的兩類體質 心急人 vs 豬油膏 體質除了反映身體狀況,也能略略反映性格。當陰虛和濕熱體質的人體內熱偏盛,遇上陽虛和痰濕體質的人,隨時像火星撞地球一樣,因...

  • laggard 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文

    2021-09-13 18:00:52
    有 4,463 人按讚

    สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง
    เปิดสูตรเฟ้นหา หุ้นอนาคตในอเมริกาเข้าพอร์ตระยะยาว
    BBLAM x ลงทุนแมน

    อังคารที่ 8 กันยายน ที่ผ่านมา ลงทุนแมนได้ชวนผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, Head of Investment Strategy กองทุนบัวหลวง

    มาพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นการเฟ้นหาหุ้นอนาคตในอเมริกาเข้าพอร์ตระยะยาว
    โดยเริ่มตั้งแต่อัปเดตสถานการณ์ล่าสุดในสหรัฐอเมริกา ที่เริ่มเปิดเผยตัวเลขทางเศรษฐกิจในช่วงเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ไปจนถึงผลประกอบการของบริษัทต่าง ๆ ในไตรมาสที่ 2

    ตัวเลขเหล่านี้กำลังส่งสัญญาณอะไร ?
    เราจะมีวิธีการปรับพอร์ตการลงทุนอย่างไร ?
    ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง..

    มาเริ่มต้นกันที่ สรุปภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐอเมริกา เกิดอะไรบ้างในช่วงที่ผ่านมา ?

    ที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกา มีการทำ QE หรือ การซื้อสินทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ เพื่อให้ระบบมีเงินหมุนเวียนมากขึ้น ทำให้ภาพรวมตลาดหุ้นสามารถดำเนินต่อไปได้

    โดยประเด็นหลักที่ตลาดยังคงจับตามองในปีนี้คือ การลดขนาดการเข้าซื้อสินทรัพย์ หรือที่เรียกว่า QE Tapering ซึ่งประธาน FED ออกมาพูดว่า การทำ Tapering จะเริ่มขึ้นในปีนี้ และเป็นการตัดสินใจแยกกันกับ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
    หมายความว่า หากเริ่มทำ Tapering ดอกเบี้ยก็ไม่จำเป็นจะต้องปรับขึ้นในทันที

    นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกาจะยังใช้นโยบายการเงินที่ค่อนข้างผ่อนคลายต่อไป ทำให้ตลาดสหรัฐอเมริกา กลับมาเป็นขาขึ้น และเงินก็จะวิ่งเข้าหาสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง

    ซึ่งทางกองทุนบัวหลวงคาดว่า FED จะค่อย ๆ ลดการทำ QE ลงโดยจะใช้เวลาประมาณ 8 เดือน และ FED มีแนวโน้มจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในปี 2024 แต่ก็ยังเป็นอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ

    ดังนั้น นโยบายโดยรวม จึงยังเอื้ออำนวยให้การลงทุนในตลาดหุ้นยังให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าสินทรัพย์อื่น ๆ ไปอีกสักระยะ

    แต่ก็ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้ FED ชะลอการทำ QE Tapering ได้ เช่น ตัวเลขการจ้างงาน ที่ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ไปมาก

    อีกหนึ่งประเด็นที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง คือ เงินเฟ้อ ที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 5.4%
    ถึงแม้ว่า ราคา สินค้าโภคภัณฑ์บางตัว ลดลงมาแล้ว เช่น ราคาไม้ ทองแดง แต่ราคาบ้านและค่าเช่าบ้านในสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่ลดลงมา ก็อาจทำให้เงินเฟ้อยังคงสูงได้

    แล้วโหมดการลงทุนช่วงนี้ต้องปรับ หรือจับสัญญาณต่ออย่างไรดี ?

    กองทุนบัวหลวงก็เชื่อว่าในระยะสั้น เงินจะยังไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และเงินยังอยู่ในหุ้นสหรัฐอเมริกา

    โดยในเดือนที่ผ่านมา ผู้จัดการกองทุนหลายรายในสหรัฐอเมริกาเข้าลงทุนกลุ่ม Healthcare มากที่สุด
    จากความต้องการหาการลงทุนในเชิงคุณภาพ และหุ้นใหญ่ที่ปลอดภัย และที่ผ่านมากลุ่ม Healthcare ยังถือเป็นกลุ่มที่ Laggard หรือเติบโตได้ช้า เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น

    แต่ถ้าหากดูกลุ่มที่ผู้จัดการกองทุนมีการถือครองมากที่สุด ก็ยังคงเป็นกลุ่มเทคโนโลยี

    ถ้าเทียบระหว่างเทคโนโลยีที่เป็น Hypergrowth อย่างเช่น หุ้น Tesla, Roku, Shopify กับ ดัชนี Nasdaq ที่ เป็นหุ้นเทคโนโลยีใหญ่ ๆ เช่น Microsoft, Facebook, Amazon ก็จะเห็นว่าในภาพรวม เงินไหลออกจากกลุ่ม Hypergrowth มาเข้าฝั่ง Nasdaq

    ซึ่งปริมาณเงินส่วนที่ไหลเข้ามาในตลาด Nasdaq ยังอยู่ที่ประมาณค่าเฉลี่ย ซึ่งหมายความว่า ไม่น่าเกิดฟองสบู่หุ้นเทคโนโลยี อย่างที่หลายคนกังวล

    โดย Nasdaq ให้ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีเพิ่มมา 18% ประกอบกับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ยังมีผลกำไรที่ยังเติบโตต่อเนื่อง

    กองทุนบัวหลวงมองว่า หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีได้ต่อไป แต่อาจต้องใช้วิธี Active Management หรือการบริหารพอร์ตเชิงรุก เพื่อหาบริษัทที่มูลค่ายังไม่สูงเกินไป

    นอกจากนั้น กองทุนบัวหลวงยังมองว่าในสามเดือนสุดท้ายของปีนี้ เงินจะยังอยู่ในฝั่งตลาดพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น เนื่องจากมีความสามารถในการบริหารจัดการโควิด 19 ได้ดี และมีอัตราการฉีดวัคซีนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เศรษฐกิจกลับคืนสู่ภาวะปกติได้เร็ว

    สำหรับรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ผ่านมา ถือว่าเติบโตได้ดีมาก
    ผลกำไรภาพรวมของตลาด ออกมาสูงกว่าตลาดคาดการณ์ไว้

    อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีความเสี่ยงและความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ จากห่วงโซ่การผลิตที่มีปัญหาและค่าจ้างที่สูงขึ้น ซึ่งกองทุนบัวหลวงมองว่า เป็นเพียงระยะสั้น และจะคลี่คลายในระยะปานกลางจนกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

    คำถามต่อมาคือ S&P 500 จะสามารถไปได้ต่ออีกหรือไม่ และแพงไปแล้วหรือยัง ?

    ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นมา ตามกำไรของบริษัทที่ปรับตัวดีขึ้นมาต่อเนื่อง และนักวิเคราะห์มีการปรับประมาณการเป้าหมาย S&P 500 เป็น 4,600 (ตอนนี้อยู่ที่ราว ๆ 4,500) หมายความว่า ดัชนี S&P 500 จะยังคงไปต่อได้

    อีกทั้งสหรัฐอเมริกายังเป็นตลาดการเงินที่สภาพคล่องสูงที่สุดในโลก รวมไปถึงมีบริษัทที่มีคุณภาพดีมากที่สุดในโลก ทำให้ P/E ที่ 20 เท่า ก็ยังสามารถลงทุนได้

    แล้วควรลงทุนเมื่อไร ดอกเบี้ยขึ้น จับจังหวะอย่างไร ?

    ถ้าเราลองย้อนไปดูสถิติ 12 เดือนก่อนที่จะมีการขึ้นดอกเบี้ย จะเห็นว่าตลาดสามารถปรับตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถปรับตัวขึ้นได้อีกหลังจากที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นครั้งแรก

    โดยกองทุนบัวหลวง แนะนำหนึ่งเทคนิคที่น่าสนใจ คือให้เข้าสะสมแบบมีวินัย ลงทุนแบบสม่ำเสมอ หรือ DCA เนื่องจากการจับจังหวะตลาดสหรัฐอเมริกา หรือไม่ว่าตลาดไหน ๆ เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

    ทีนี้หลายคนคงกังวลว่า เงินทุนเริ่มไหลออกจากกลุ่ม Hypergrowth แล้วเงินส่วนนี้ย้ายไปอยู่ที่ไหน ?

    จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือปัจจุบัน เงินทุนไหลออกจากหุ้นในกลุ่ม Hypergrowth แต่ปรากฏว่าดัชนี Nasdaq นั้นยังคงปรับตัวสูงขึ้น ที่เป็นแบบนี้เพราะเงินกำลังไหลไปยังบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ๆ นั่นเอง

    หลายคนอาจมองว่า บริษัทเหล่านี้น่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 แต่กลับกลายเป็นว่า จากวิกฤตินี้ทำให้คนหันมาพึ่งเทคโนโลยีกันมากขึ้น

    โดยสังเกตได้จากรายได้ของบริษัทเทครายใหญ่ ที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเรื่องของแผนในอนาคตที่น่าจับตามอง ทำให้นักลงทุนยังคงให้ความสนใจ

    ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Facebook และ Microsoft

    Facebook เป็นบริษัทเจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, WhatsApp ที่มีรายได้หลักมาจากค่าโฆษณาออนไลน์

    โดยจุดเด่นของ Facebook คือ ความสามารถในการยิงโฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากกว่าคู่แข่งรายอื่น ๆ พร้อมทั้งยังมีโอกาสเติบโตไปกับอุตสาหกรรมสื่อออนไลน์อีกมาก เนื่องจากโควิด 19 ก็เป็นตัวเร่งที่ทำให้คนหันมาพึ่งเทคโนโลยีกันมากขึ้น

    สำหรับแผนในอนาคตของ Facebook นั้นยังคงเป็นเรื่องของแผนการปรับตัวให้บริษัทเป็น บริษัท “Metaverse” หรือโลกแห่งการผสมผสาน ระหว่างโลกจริงและโลกเสมือน อย่างเต็มตัว

    โดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก CEO ของ Facebook มองว่า โลกของ Metaverse จะกลายเป็นอนาคตของโลกอินเทอร์เน็ต โดยล่าสุดก็ได้มีการเปิดตัว Horizon Workrooms ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปประชุมได้แบบเสมือนจริง ผ่านตัวละคร Avatar

    มาต่อกันที่บริษัทซอฟต์แวร์ที่เราคุ้นเคยกัน อย่าง “Microsoft” ซึ่งในปีที่ผ่านมายังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุน โดยมูลค่าบริษัทยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

    ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก ผลประกอบการในไตรมาสที่ผ่านมา ที่ยังคงเติบโต 17% จากบริการ Intelligence Cloud ที่เติบโตได้ดี

    แต่ที่น่าสนใจคือเรื่องของแผนในอนาคต อย่างการทำโลกเสมือน หรือที่ทาง Microsoft เรียกว่า Digital Twin ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการทำ Metaverse ของ Facebook แต่จะเป็นการก๊อบปี้ของจริงมาไว้บนโลกออนไลน์แทน เช่น จำลองสถานที่ จำลองตึก เพื่อนำมาใช้ทดสอบการบินของโดรนก่อนเอาออกไปใช้งานจริง

    ทั้งนี้ในส่วนของ Theme โลกเสมือนนั้น อาจมีความเสี่ยง เรื่องที่จะต้องใช้เวลาอีกไม่น้อย กว่าที่เราจะได้สัมผัสแบบเต็ม ๆ

    แต่นี่เป็นเหมือนการส่งสัญญาณว่าบริษัทเทคโนโลยีหลายรายกำลังตื่นตัวกับการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และมีการเตรียมพร้อม มองหาช่องทางการเติบโตใหม่ ๆ หรือที่เรียกว่า New S-Curve อยู่ตลอดเวลา

    มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะเริ่มสงสัยแล้วว่า แล้วกระแสเงินลงทุนที่ดูมีการเปลี่ยนทิศเปลี่ยนทางเช่นนี้ จะมีผลกระทบกับกองทุน B-USALPHA และ B-FUTURE แค่ไหน ?

    สำหรับกองทุน B-USALPHA นั้น หลายคนอาจจะคิดว่ากองนี้มีแต่ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอย่างเดียว

    แต่ถ้ามาดูสัดส่วนของหุ้นในพอร์ตการลงทุนนั้นจะพบว่า กองทุนพยายามให้ความสมดุลระหว่างหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี กับกลุ่มวัฏจักรในสหรัฐอเมริกา โดยกองทุนนี้มีแบ่งส่วนการลงทุนด้วยกันหลัก ๆ 3 อย่าง คือ

    1. กลุ่ม Digital Advertising เช่น Facebook, Pinterest, Snap
    2. กลุ่ม สถาบันการเงิน เช่น Morgan Stanley, PayPal, Square
    3. กลุ่ม Technology Enabled หรือก็คือ ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสร้างนวัตกรรม เช่น Deere & Company, Freeport-McMoRan, Zillow Group

    ทั้งกลุ่ม Digital Advertising และ Technology Enabled นั้นยังมีโอกาสเติบโตไปพร้อมกับการเปิดเมือง

    ส่วนการลงทุนในกลุ่มสถาบันการเงิน จะช่วยสร้างสมดุล และลดความเสี่ยงของพอร์ตในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่อาจปรับตัวสูงขึ้น ที่ทำให้กลุ่มของธุรกิจสถาบันการเงินนั้นได้รับประโยชน์ไปด้วย จากอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับสูงขึ้น

    ส่วนกองทุน B-FUTURE นั้น มีการกระจายลงทุนในธุรกิจ 3 กลุ่มคือ เทคโนโลยี Hypergrowth, อุตสาหกรรม และกลุ่มธุรกิจ Theme เปิดเมือง

    โดยในส่วนของกลุ่ม Hypergrowth นั้น ทางผู้จัดการของกองทุน ก็ได้เน้นอย่างมาก กับการลงทุนในหุ้นที่ยังมี Valuation ไม่สูงจนเกินไป

    นอกจากนี้ ทางกองทุนยังเน้นการลงทุนใน Theme อนาคต ไม่ได้เจาะจงในประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยมีผู้จัดการกองทุนที่คอยปรับพอร์ตตามสถานการณ์การลงทุนต่าง ๆ

    ด้วยนโยบายการบริหารแบบ Active Management ทำให้ B-FUTURE สามารถปรับเปลี่ยนพอร์ตให้เข้ากับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา

    เช่น หากมองว่าในระยะยาว หุ้นกลุ่มเอเชียหรือจีน ยังมีโอกาสเติบโตมาก ความกดดันของรัฐบาลจีนคลี่คลายลง แล้วยังมี Valuation ที่ไม่สูงเกินไป ทางกองทุนก็สามารถปรับน้ำหนักพอร์ตมาลงในหุ้นเอเชียหรือจีนเพิ่มขึ้นได้

    ทำให้เห็นว่า B-FUTURE นั้นเป็นกองทุนที่สามารถทยอยสะสมเข้าได้เรื่อย ๆ และเหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเวลามาก แต่อยากลงทุนในหุ้นแห่งอนาคต

    สำหรับใครที่กำลังมองหาโอกาสในการลงทุน จากหุ้นในสหรัฐอเมริกา หรือหุ้นใน Theme อนาคต
    ทั้งกองทุน B-USALPHA และ B-FUTURE ก็ยังเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ ที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทน ได้โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล พร้อมคอยปรับพอร์ตการลงทุนให้ในระยะยาว ซึ่งการใช้กลยุทธ์ DCA ทยอยลงทุนทุกเดือนก็เป็นวิธีการที่น่าสนใจ

    คำเตือน
    การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้นผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

  • laggard 在 麥克風的市場求生手冊 Facebook 的精選貼文

    2021-04-19 17:08:03
    有 673 人按讚

    笑傲股市算是我的早期投資啟蒙書之一,左邊那本第二集是十幾年前買的初版書,第一集不知不覺也出到第四版了。

    想走動能成長股路線的話,笑傲股市跟超級績效系列都很值得收藏。本書的重點就是 CANSLIM 這套選股原則:

    C(Current Quarterly Earnings)當季每股盈餘與每股營收愈高愈好:潛在飆股的首要條件,就是每股盈餘(EPS)的年成長率是否大幅成長?排除一次性獲利(如出售資產所得)後,當季盈餘最好能成長 25% 以上,就可以成為飆股候選人,再進一步推估未來幾季的盈餘是否可以保持在正向軌跡。

    A(Annual Earnings Growth)年度盈餘增加:過去三年的年度每股盈餘,年年都要成長。更要檢視股東權益報酬率與現金流量是否維持在一定水平,才能帶給投資人最大報酬。

    N(New Product, Service, Management or Price High)新公司、新產品、新管理:一家公司若是可以開發出新的產品與服務,變可以創造額外收入,增加獲利。或是公司更換管理層,扭轉原本的劣勢,讓公司營運明顯改善,都是很好的買入時機,激勵股價重新反彈,甚至創新高。

    S(Supply and Demand)籌碼供需:股價突破創新高位置,一定要伴隨大成交量。觀察籌碼供需狀況,若內部人持股比率高,或買回庫藏股的公司,都是需求上升的正面訊號。但是倘若過度股票分割與發行可轉債,投資人可就要小心了。

    L(Leader or Laggard)強勢股或弱勢股:不要害怕股價漲太多,愈強的股票愈該買進。使用相對價格強度(Relative Price Strength,RS)找出最強勢上漲個股票,在大盤上漲時期比大盤還強,在大盤下跌時有強勁支撐,才是我們該選擇的股票。

    I(Institutional Sponsorship)法人機構認同:隨時追蹤法人機構的動向與持股,例如避險基金與退休基金的持股組合,可以更了解股票籌碼結構。

    M(Market Direction)市場方向:不要預測大盤,但投資人必須觀察大盤指數的價格與成交量,才有辦法體會毎天的市場動向。掌握市場的頭部及底部,不要在空頭市場逆勢做多,更不要多頭市場逆勢放空,順著趨勢走。

  • laggard 在 คุยการเงินกับที Facebook 的最佳貼文

    2021-03-02 09:30:00
    有 280 人按讚

    ส่อง EGCO หุ้นโรงไฟฟ้าที่มี กำไรสุทธิ มากที่สุดในกลุ่ม

    ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาการเกิดวิกฤติโควิด-19 ได้สร้างความผันผวนให้กับตลาดหุ้นอย่างมาก ในวันที่ 13/3/2563 SET Index ปรับตัวลงมาต่ำสุดที่ 967 จุด และกลับขึ้นมาบวก ณ วันที่ 30/12/2563 ที่ 1449 จุด คิดเป็น +50% จากจุดต่ำสุด แต่ดูเหมือนว่ากลุ่มโรงไฟฟ้ายักใหญ่อันดับต้นๆของประเทศอย่าง EGCO กลับ มีราคาที่ Laggard อย่างชัดเจน ( EGCO +20% จากจุดต่ำสุด ) รวมถึงหากดูจาก P/E เทียบกับ โรงไฟฟ้าในกลุ่มอุตสาหกรรมก็ยังจัดว่าต่ำกว่าตัวอื่นมาก เกิดอะไรขึ้นกับ EGCO มาดูไปพร้อมๆกันครับ

    EGCO เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเป็น Holding Company หรือ ถือหุ้นบริษัทอื่นๆในธุรกิจโรงไฟฟ้าและธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า รวมถึงกิจการพลังงาน โดย EGCO มีรายได้หลักจากเงินปันผล และกิจการร่วมค้า
    โครงสร้างรายได้ ของ EGCO
    บริษัทผลิตไฟฟ้าขนอม (จังหวัดนครศรีธรรมราช) โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมจาก ก๊าซธรรมชาติ 970MW จำหน่ายไฟฟ้าให้ กฟผ.
    ถือหุ้น100% สัดส่วนรายได้ 31.5%

    บริษัทเคซอนเพาเวอร์ (ฟิลิปปินส์) โรงไฟฟ้าถ่านหิน 502.5MW จำหน่ายไฟฟ้าให้ Manila Electric Company
    ถือหุ้น100% สัดส่วนรายได้ 21.5%

    บริษัทบ้านโป่ง ยูทิลิตี้จำกัด (จังหวัดราชบุรี) โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมจาก ก๊าซธรรมชาติ 256MW จำหน่ายไฟฟ้าให้ กฟผ. และ ลูกค้าอุตสาหกรรม
    ถือหุ้น100% สัดส่วนรายได้ 10.3%

    บริษัทคลองหลวง ยูทิลิตี้จำกัด (จังหวัดปทุมธานี) โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมจาก ก๊าซธรรมชาติ 121MW จำหน่ายไฟฟ้าให้ กฟผ. และ ลูกค้าอุตสาหกรรม
    ถือหุ้น100% สัดส่วนรายได้ 5.3%

    บริษัทเอ็กโก โคเจนเนอเรชั่นจำกัด (จังหวัดระยอง) โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมจาก ก๊าซธรรมชาติ 117MW จำหน่ายไฟฟ้าให้ กฟผ. และ ลูกค้าอุตสาหกรรม
    ถือหุ้น80% สัดส่วนรายได้ 4.6%

    บริษัทน้ำเทิน 2 เพาเวอร์จำกัด (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) โรงไฟฟ้าน้ำเทิน 1086.8MW จำหน่ายไฟฟ้าให้ กฟผ. และ EDL (Electricite du Laos)
    ถือหุ้น35% สัดส่วนรายได้ 3%

    บริษัทพาจูเอ็นเนอร์ยี่ เซอร์วิสจำกัด (สาธารณรัฐเกาหลี) โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมจาก ก๊าซธรรมชาติ 1823MW จำหน่ายไฟฟ้าให้ KEPCO (Korea Electric Power Corparation)
    ถือหุ้น49% สัดส่วนรายได้ 2.6%

    ปี 2561 รายได้ 35522 ล้านบาท กำไร 21116 ล้านบาท
    ปี 2562 รายได้ 37509 ล้านบาท กำไร 13126 ล้านบาท
    ปี 2563 ไตรมาส 1 รายได้ 8728 ล้านบาท ขาดทุน 406 ล้านบาท
    ปี 2563 ไตรมาส 2 รายได้ 17815 ล้านบาท กำไร 5081 ล้านบาท
    ปี 2563 ไตรมาส 3 รายได้ 8326 ล้านบาท กำไร 2268 ล้านบาท

    Comment : จากข้อมูลงบการเงินของ EGCO จะเห็นว่าช่วงปี 2561 มีกำไรที่โดดเด่นเป็นพิเศษแต่หากเปิดงบดูอย่างละเอียดแล้วจะเห็นว่ามีกำไรพิเศษจากการ ขายเงินลงทุนในกิจการร่วมค้า 9818 ล้านบาท + ขายเงินลงทุนระยะยาวในหลักทรัพย์ 4358 ล้านบาท รวมกำไรพิเศษ = 14176 หากนำไปหักลบออกจากกำไร ปี2561 จะได้ 21116-14176=6940 ล้านบาท แต่หากมองไปที่ ปี2562 รายได้ และผลกำไรจากการดำเนินงานก็ยังคงมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ประมาณการกำไรสุทธิปี 2563 ด้วยอัตราส่วน (-406+5081+2268)*(4/3) = 9257ล้านบาท โดยหากดูถึงสาเหตุของรายได้ที่ลดลงนั้นมาจาก ต้นทุนทางการเงินในไตรมาสแรกที่สูงถึง 4480 ล้านบาท โดยเป็นการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในกิจกรรมการจัดหาเงินถึง 3480 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้ไตรมาสแรกมีกำไรติดลบที่ 406 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามกำไรที่ลดลงนั้นไม่ได้มีผลมาจาก วิกฤติโควิด 19 ตามดัชนี SET Index ที่ลดลงเลยแต่มีผลมาจากการขาดทุนด้วยอัตราการแลกเปลี่ยนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมองว่าเป็นปัจจัยที่สามารถบริหารได้ ดังนั้นส่วนตัวจึงมองว่าด้านพื้นฐานของ EGCO ยังคงไม่ได้กระทบกับวิกฤติในครั้งนี้มากนัก

    หมายเหตุ ทั้งนี้บทความนี้ไม่ได้เป็นการเชิญชวนให้เพื่อนๆทุกคน ซื้อหรือขายหุ้นแต่อย่างใดเพียงแต่ผู้เขียนต้องการนำข้อมูลที่รวบรวมไว้จากแหล่งข้อมูลต่างๆมานำเสนอให้เพื่อนๆพร้อมมุมมองส่วนตัวเท่านั้น การลงทุนมีความเสี่ยงเพื่อนๆควรศึกษาก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้งครับ

    แอดตอง

    ที่มา
    https://investor-th.egco.com/financials.html
    https://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=EGCO&ssoPageId=4&language=th&country=TH

你可能也想看看

搜尋相關網站