雖然這篇Jutes 中文鄉民發文沒有被收入到精華區:在Jutes 中文這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 jutes產品中有2篇Facebook貼文,粉絲數超過1萬的網紅sittikorn saksang,也在其Facebook貼文中提到, ประวัติศาสตร์กฎหมายอังกฤษ : ต้นรากระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ในระบบกฎหมายของประเทศอังกฤษ (คอมมอนลอว์ Common law) เริ่มต้นจากขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี เช่น...
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
jutes 在 Sazzy Falak Instagram 的最佳貼文
2020-05-13 11:22:40
Our showroom is almost ready! Can't wait to ajak you alls to come over 💃 Our design girl Estée rocks : - Qudsiyah Kimono & Pants set - Jutes XL bag b...
jutes 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
ประวัติศาสตร์กฎหมายอังกฤษ : ต้นรากระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
ในระบบกฎหมายของประเทศอังกฤษ (คอมมอนลอว์ Common law) เริ่มต้นจากขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี เช่นเดียวกับระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil law) แต่ในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์(Common law) ไม่ได้รวบรวมเอากฎหมายประเพณีบันทึกเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common law) เริ่มมาจากประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรก ทั้งนี้เนื่องจากมีประวัติศาสตร์ในทางการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมตลอดจน รากเหง้าของกฎหมายมาจากลัทธิศักดินา (Feudalism) และเหตุการณ์ต่างๆ สืบเนื่องมาจากลัทธิดังกล่าว สามารถแบ่งประวัติศาสตร์อังกฤษออกได้ 4 ยุคด้วยกัน ดังนี้
1.1 ยุคกฎหมายแองโกล-แซกซอน
ยุคกฎหมายแองโกล-แซกซอน ระหว่างปี ค.ศ. 600-1485 นักประวัติศาสตร์ถือกันว่ากฎหมายอังกฤษเริ่มต้นเมื่อชนเผ่าเยอรมันได้แก่ พวก แซกซอน (Saxons) แองเจิล (Angles) จู๊ตส์ (Jutes) และพวกเดนิส (Denish) เข้าปกครองดินแดนอังกฤษ และได้ยอมรับนับถือศาสนาคริสเตียนเป็นศาสนาของตน ใน ปี ค.ศ. 596 หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 600 กษัตริย์แห่ง Kent ได้จัดทำกฎหมายขึ้นหนึ่งฉบับ โดยใช้ภาษาแองโกล-แซกซอน กฎหมายฉบับนี้มีข้อความ 90 ประโยค ถือว่าเป็นกฎหมายที่ข้อความสั้นและมีความคล้ายคลึงกับกฎหมายชาวบาวาเรียน (กฎหมายเยอรมัน) โดยทั่วไป คือ บทบัญญัติถึงเฉพาะความสัมพันธ์ของประชาชนผู้อยู่ร่วมกันในสังคมเท่านั้น
ต่อมา ปี ค.ศ. 1028 กษัตริย์เชื้อชาติเดนมาร์ก คือ กษัตริย์ Canuteได้จัดทำกฎหมายขึ้นมาอีกฉบับหนึ่ง ประกาศใช้เป็นกฎหมายที่ Winchester ระหว่างปี ค.ศ. 1028-1035 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้มีผลใช้บังคับแก่ทุกเผ่าในอังกฤษ แต่ความพยายามนี้ยังไม่เป็นผลสำเร็จและอาจกล่าวได้ว่าในยุคนั้นยังไม่มีกฎหมายฉบับใดที่สามารถใช้บังคับได้ทั่วทั้งอังกฤษ
1.2 ยุคการก่อตัวของ คอมมอนลอว์ (Common Law)
ยุคการก่อตัวของ คอมมอนลอว์ (Common Law) นี้จะอธิบายถึงการเข้าครอบครองอังกฤษของชาวนอร์แมน การเกิดศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) และการเกิดขึ้นคอมมอนลอว์ การจัดตั้งศาลหลวง และวิวัฒนาการคอมมอนลอว์ สมัยกลาง ดังนี้
1.2.1 การเข้าครอบครองอังกฤษของชาวนอร์แมน
การเข้าครองครองอังกฤษของชาวนอร์แมน (Norman) ในปี ค.ศ. 1066 โดยพระเจ้าวิลเลี่ยม เข้ามาปกครองอังกฤษแต่ไม่ต้องการที่จะบังคับประชาชนให้ปฏิบัติตามกฎหมายของชานนอร์แมน ตรงกันข้าม พระเจ้าวิลเลี่ยมได้ประกาศชัดแจ้งว่าให้ใช้กฎหมายแองโกล-แซกซอน ใช้บังคับต่อไป โดยไม่กระทบกระเทือนจากการเข้ามายึดครองเกาะอังกฤษและกล่าวได้ว่าแม้กระทั่งปัจจุบันนี้นักกฎหมายและผู้พิพากษายังคงนพกฎหมายแองโกล-แซกซอนมาบังคับใช้เป็นครั้งคราว
1.2.2 การเกิดศักดินาสวามิภักดิ์ของอังกฤษ
การเกิดศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ของอังกฤษ เนื่องจากชาวนอร์แมนมีความรู้ทางด้านการปกครองมากโดยเฉพาะหลักการปกครองแบบศักดินาสวามิภักดิ์ ของชาวนอร์แมนมาใช้ในอังกฤษด้วย สืบเนื่องมาจกบรรดาสวามิน (ลูกน้องผู้ติดตาม)ชาวนอร์แมนซึ่งติดตามกษัตริย์วิลเลี่ยมพูดภาษาพื้นเมืองของอังกฤษไม่ได้และดูถูกเหยียดหยามชาวพื้นเมืองว่าไม่มีความเจริญ รวมทั้งความรู้สึกว่าชาวพื้นเมืองทำตัวเป็นปรปักษ์กับพวกตน ดังนั้นจึงมีความต้องการที่จะรวมกันอยู่ใกล้ๆกษัตริย์ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการที่จะรวมกันปราบปรามผู้ถูกยึดครองหรือปกป้องทรัพย์สินของตน ส่วนตัวกษัตริย์เองก็ไม่ต้องการให้บรรดาสวามินเหล่านี้มีอำนาจมากเกินไปซึ่งอาจจะกลายเป็นภัยต่อพระองค์ ดังนั้นพระองค์จะพระราชทานที่ดินให้แก่บรรดาสวามินที่มีความสวามิภักดิ์ทั้งหลายก็ไม่โปรดฯพระราชทานที่ดินแปลงใหญ่เกินไปอันจะเป็นช่องทางให้มีการสร้างอำนาจมากขึ้น นอกจากนั้นบรรดาสวามินทั้งหลายยังจะต้องจัดทหารให้แก่กษัตริย์ตามจำนวนที่ดินที่ได้รับพระราชทาน โดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง แต่พวกสวามินก็มีทางหารายได้ชดเชยโดยการทำประโยชน์จากที่ดินและจัดแบ่งที่ดินให้ราษฎรเข้าทำประโยชน์โดยจะต้องแบ่งเงินเป็นค่าตอบแทน
เมื่อพิจารณาถึงการจัดทหารให้กับกษัตริย์ของบรรดาสวามิน ก็คือ การที่กษัตริย์จัดตั้งกองทัพส่วนกลางขึ้นมานั่นเองและมีจำนวนมากมากขึ้น ก็จำต้องมีกฎเกณฑ์ มีกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆเพื่อให้ทหาได้อยู่ร่วมกันโดยมีระเบียบวินัยและการจัดแบ่งส่วนของกองทัพได้เป็นไปโดยเรียบร้อย จึงได้จัดทำกฎดังกล่าวขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1086 และอาจกล่าวได้ว่ากฎนี้อาจเป็นจุดเริ่มแรกของ คอมมอนลอว์ ของอังกฤษ
1.2.3 การก่อตัวของคอมมอนลอว์
การก่อตัวของคอมมอนลอว์ (Common Law) คำว่า Common law มาจากคำภาษาโบราณว่า “Comune ley” ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศส ทั้งนี้เพราะภาษาพูดที่นักกฎหมายใช้กันอยู่ในอังกฤษตั้งแต่สมัยที่ชาวนอร์แมนเข้ามายึดครองได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ส่วนภาษาเขียนได้แก่ภาษลาตินจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่ความหมายที่แท้จริงของ Common law หรือ Comune ley ได้แก่ กฎหมายที่เกิดขึ้นในอังกฤษ มีรากฐานมาจากประเพณีและมิได้จัดทำขึ้นเป็นรูปกฎหมายลายลักษณ์อักษร นอกจากนั้น Common Law ยังได้รับอิทธิพลจากกฎหมายอื่นๆมาผสม เช่น กฎหมายโรมัน และกฎหมาย Cannon Law อันเนื่องมาจากการที่ศาล Common Law ได้นำกฎหมายเหล่านี้มาใช้และในที่สุดคำพิพากษาของศาลได้กลายเป็นบ่อเกิดหรือที่มาของ Common Law
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าใน ปี ค.ศ. 1066 อังกฤษยังไม่มีกฎหมายที่สามารถใช้บังคับได้ทั่วไป เพราะฉะนั้นศาลต่างๆจึงต้องนำเอาจารีตประเพณีประเพณีท้องถิ่นมาใช้บังคับ ศาลต่างๆในขณะนั้นคือ County Court หรือ Hundred Court ในระยะหลังต่อมาพวกนอร์แมนเข้ายึดครองอังกฤษแล้ว แม้ว่า County Court และ Hundred Court ยังคงศาลที่มีอำนาจอยู่ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ โดยมีศาลที่เรียกว่า “ศาลสวามิน” (Seignoral Court) เพราะเป็นศาลที่อยู่ภายใต้อำนาจของสวามินและได้เรียกชื่อว่า “Court Baron” “Court Leet” “Manorial Court” แต่ศาลเหล่านี้ก็ยังคงนำจารีตประเพณีที่สำคัญมาใช้บังคับอยู่นั้นเอง นอกจากนั้นภายหลังการยึดครองของนอร์แมนแล้ว ได้มีศาลใหม่เกิดขึ้นอีกได้แก่ ศาลพวกพระ (Ecclesiaatical) ซึ่งนำเอา Cannon law อันเป็นกฎหมายที่สามารถใช้บังคับกับชาวคริสเตียนทั่วไปมาใช้บังคับ
1.2.4 การจัดตั้งศาลหลวง
การจัดตั้งศาลหลวง (The King Court) จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าที่ประชาชนมีปัญหาข้อพิพาทเกิดขึ้นจะต้องฟ้องร้องกันยังศาลต่างๆดังกล่าวมาแล้วและกฎหมายที่นำมาใช้ในศาลก็ได้แก่จารีตประเพณีท้องถิ่น หรือกฎหมายคริสต์ศาสนาก็แล้วแต่กรณีที่เกิดมีคดีที่มีความสำคัญพิเศษ เช่น กรณีที่มีความคุกคามต่อสันติภาพแห่งราอชอาณาจักรหรือในพฤติการณ์ใดซึ่งคู่ความไม่สามารถแสวงหาความยุติธรรมได้จากศาลธรรมดา จึงจะเสนอคดีให้กษัตริย์ทรงพิจารณา เพื่อให้มีผู้ช่วยเหลือในการพิจารณาคดีของกษัตริย์ จึงได้ทรงจัดตั้ง ศาลหลวง (The King Court) โดยให้ศาลนี้เป็นศาลพิเศษ มีอำนาจพิจารณาเฉพาะคดีใหญ่ๆที่เป็นข้าราชบริพารใกล้ชิดกับกษัตริย์เท่านั้น
ต่อมาคริสต์ศตวรรษ ที่ 13 ได้มีการจัดตั้งศาลหลวงขึ้นอีกต่างหากจากศาลหลวง The King Court และมีชื่อเรียกตามเมืองที่กษัตริย์ประทับอยู่ คือ มีชื่อว่า Westminster Courtทั้งนี้เพื่อให้เป็นศาลที่สามารถตัดสินข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างศาลต่างๆ ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของสวามินและคดีที่มีความสำคัญถึงขนาดที่กษัตริย์ควรจะเข้าแทรกแซง ซึ่งคดีที่มีความสำคัญ มีอยู่ 3 ประการ คือ
1.คดีที่เกี่ยวกับการเงินขอกษัตริย์ เช่น ภาษีอากร เป็นต้น
2.คดีที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินและการครอบครองอสังหาริมทรัพย์
3. คดีอาญาร้ายแรงที่เกี่ยวกับสันติภาพแห่งราชอาณาจักร เช่น การกบฏ เป็นต้น
เนื่องจากคดีที่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาล Westminster Court มีอยู่ 3 ประเภท ข้างต้น ศาลหลวงจึงได้แบ่งออกเป็น 3 ศาล คือ
1.Court of Exchequer
2.Court of Common Pleas
3. King’s Bench
ซึ่งศาลทั้ง 3 มีหน้าที่แยกกันพิจารณาคดีทั้ง 3 ประเภทกล่าวคือ Court of Exchequerพิจารณาคดีเกี่ยวกับการภาษีอากรของรัฐ Court of Common Pleas พิจารณาคดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และ King’s Bench พิจารณาคดีอาญาที่เป็นภัยต่อความสงบสุขแห่งรัฐหรือราชบัลลังก์ อย่างไรก็ตาม หลังจากตั้งขึ้นมาได้เพียงเล็กน้อย ศาลทั้ง3 ต่างก็มีอำนาจพิจารณาคดีที่อาจนำขึ้นสู่ศาลหลวงได้ทุกประเภท
นอกจากคดีทั้ง 3 ประเภทที่ ศาลหลวงทั้ง 3 พิจารณาแล้ว ศาลธรรมดา คือ ศาลCounty Court ,ศาลHundred Court,ศาลSeignoral Courtและศาล Ecclesiaatical ยังคงเป็นศาลที่มีอำนาจอยู่
ข้อสังเกต การขยายเขตอำนาจของศาลหลวง
เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลหลวง คือ ศาลThe King CourtและศาลWestminster Court ขึ้นแล้ว ต่อมากษัตริย์ได้พยายามที่จะให้ศาลเหล่านี้มีอำนาจมากยิ่งขึ้น เพราะเห็นว่าเป็นทางที่จะช่วยให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนั้น โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนร้องขอเพื่อนำคดีมาสู่ศาลได้ในบางคดี ซึ่งเป็นที่นิยมของประชาชน เพราะศาลหลวงเป็นศาลที่สูงกว่าศาลอื่นอื่นๆ การที่คดีของตนถูกวินิจฉัยโดยศาลหลวงน่าจะทำให้คดีนั้นได้รับความเป็นธรรมและมีความแน่นอนมากกว่าการพิจารณาโดยศาลธรรมดา เช่น การเรียกพยานมาให้การต่อศาลโดยศาลหลวงสามารถทำได้มีประสิทธิภาพกว่าศาลธรรมดา การบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาก็มีประสิทธิภาพกว่า นอกจากนั้นการให้คู่ความสาบานตนก่อนเบิกความจะทำได้เฉพาะในศาลหลวงเท่านั้น
นอกจากนั้นศาลหลวงยังได้นำวิธีพิจารณาคดีแบบใหม่ โดยการให้มีคณะลูกขุน (Jury) เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นวิธีที่แตกต่างกับวิธีพิจารณาที่ใช้ในศาลอื่นๆ เพราะศาลอื่นๆยังคงรักษาระบบดั้งเดิมเอาไว้ เช่น การสืบพยานด้วยวิธีการให้มีการดำน้ำ ลุยไฟ หรือให้คู่ความต่อสู้กัน เป็นต้น
จนกระทั้งปลายยุคกลาง (Middle Age) ศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีทั่วๆไป ได้แก่ ศาลหลวงเท่านั้น ส่วนศาลศาลCounty Court ,ศาลHundred Court ,ศาลSeignoral Court จะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเล็กๆน้อยๆที่ไม่มีความสำคัญ ส่วนศาลของพวกพระ คือ ศาลEcclesiaatical ก็มีอำนาจเฉพาะการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับแบบพิธีการสมรสและการกระทำที่เกี่ยวกับวินัยของพวกพระเท่านั้น และเพื่อขจัดข้อขัดแย้งต่างๆที่อาจเกิดขึ้นระหว่างศาลหลวงกับศาลพระ ได้มีการบัญญัติกฎหมายออกมาใช้บังคับฉบับหนึ่ง คือ Clarendon Constitution ค.ศ. 1164 วางหลักเกณฑ์กำหนดอำนาจของศาลหลวงไว้ในกรณีที่บุคคลธรรมดามีคดีพิพาทกับพระด้วย
แม้ในทางปฏิบัติจะยอมรับกันทั่วไปว่าศาลหลวงมีอำนาจมากขึ้นแต่ในทางทฤษฎีศาลหลวงยังเป็นศาลพิเศษที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้เฉพาะในกรณีพิเศษเท่านั้น ดังนั้นผู้ที่ต้องการให้ศาลหลวงพิจารณาคดีของตนจึงต้องทำคำร้องเสนอไปยัง Office of The Crown ที่เรียกว่า Chancellor (ซึ่งเป็นราชเลขาของกษัตริย์) แล้ว Chancellor ออกเอกสารสำคัญที่เรียกว่า “Writ” ให้ คดีนั้นๆจึงจะเสนอเข้ารับการพิจารณาของศาลหลวงได้ เมื่อมีผู้ร้องขอให้ศาลหลวงพิจารณาคดีมากขึ้น Writ ที่ออกให้ก็มากตามไปด้วยและไม่ว่าศาลจะปฏิบัติตามทั้งหมดหรือไม่ก็ตาม Writ เหล่านี้ก็ยังถือว่าเป็นหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีพิจารณาของศาลหลวงพิจารณา อย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการขยายอำนาจของศาลหลวงออกไปในท้องถิ่นต่างๆ จึงทำให้บรรดาขุนนางชั้น Baron เกิดความไม่พอใจเพราะถือว่าตนถูกริดรอนอำนาจและมีการคัดค้านเกิดขึ้น
ในที่สุดได้มีการตกลงรอมชอมกันเพื่อให้ขจัดข้อบาดหมางระหว่างกษัตริย์กับพวกบรรดาขุนนางชั้น Baron โดยการจัดทำ Status of Westminster I ขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ.1285 ซึ่งผลของ Status ฉบับนี้ทำให้การขยายอำนาจของศาลหลวงยุติลงและกลับไปใช้วิธีการเดิมที่เคยเป็นอยู่ก่อนการขยายอำนาจของศาลหลวงและผลที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้ไม่มีการออก Writ ขึ้นมาใหม่อีกและนำคดีสู่ศาลหลวงก็ลดลง
1.2.5 วิวัฒนาการของคอมมอนลอว์ ในสมัยยุคกลาง
วิวัฒนาการของคอมมอนลอว์ (Common Law) ในสมัยยุคกลาง (Middle Age) ประเทศอังกฤษได้ให้ความสำคัญต่อกฎหมายวิธีพิจารณามากทำให้การพิจารณาคดีในศาลเป็นเรื่องการโต้เถียงเกี่ยวกับวิธีพิจารณาเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้นทนายความที่สามารถอาจถ่วงคดีให้ล่าช้าไปเป็นเดือนหรือไปเป็นปีก็ได้ โดยยกปัญหาวิธีพิจารณาขึ้นมาโต้เถียงกัน ทำให้หน้าที่ส่วนใหญ่ของผู้พิพากษาในศาลหลวงเป็นเรื่องวินิจฉัยกฎหมายวิธีพิจารณา ส่วนการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นหน้าที่ของลูกขุน โดยผู้พิพากษาเกือบจะไม่ได้มีบทบาทอะไร จนกว่าจะถึงเวลาทำคำพิพากษาภายหลังที่ลูกขุนตัดสินแล้ว
วิวัฒนาการที่เห็นชัดอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การไม่แบ่งแยกกฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชนออกจากัน ทั้งนี้เพราะอังกฤษในสมัยนั้นถือว่ากฎหมายที่มีความสำคัญได้แก่ กฎหมายมหาชนไม่ใช่กฎหมายเอกชน เหมือนกับประเทศในกลุ่มกฎหมายโรมัน กล่าวคือ ในกรณีที่มีข้อพิพาทไปสู่ศาลหลวงก็เป็นเรื่องข้อพิพาททางด้านกฎหมายมหาชนเกือบทั้งสิ้น เพราะศาลหลวงเองที่จัดตั้งขึ้นมาในชั้นแรกก็เพื่อผลประโยชน์ของกษัตริย์ และคดีที่จะนำขึ้นสู่การพิจารณาของศาลหลวงได้ ก็แต่เฉพาะคดีที่กระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของกษัตริย์หรือความมั่นคงแห่งราชบัลลังก์เท่านั้น ส่วนข้อพิพาทตามกฎหมายเอกชนจะไม่ได้รับการพิจารณาในศาลหลวงเลย ดังนั้นกฎหมายมหาชนจึงมีความสำคัญมาก ส่วนกฎหมายเอกชนมีความสำคัญน้อยหรือเกือบไม่มีความสำคัญเลย เพราะฉนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแบ่งแยกระหว่างกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนออกจากกัน
ข้อสังเกต ความเกี่ยวพันระหว่างกฎหมายอังกฤษและกฎหมายโรมัน ซึ่งแม้ว่าโดยหลักการแล้วกฎหมายทั้งสองมีความแตกต่างกันก็จริง แต่อาจมีความคล้ายคลึงกันบ้างในในบางกรณี ดังต่อไปนี้
1.ศาลในประเทศต่างๆของยุโรปซึ่งได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมัน ต่างก็มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีทุกประเภท และนับวันอำนาจของศาลจะมากขึ้นทุกที ทำให้อำนาจของกษัตริย์ลดน้อยลง
2.ศาลแต่ละศาลต่างก็มีอิสระในการกำหนดวิธีพิจารณาในศาล ทำให้สามารถรับเอาแบบอย่างวิธีพิจารณาที่เหมาะสมมาใช้ในศาล เช่น วิธีพิจารณาของกฎหมายพระ เป็นต้น ที่เอาแบบอย่างมาจากกฎหมายโรมัน
เมื่อพิจารณาถึงศาลในอังกฤษโดยเฉพาะศาลหลวง คือ ศาล Westminster Courtเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีได้เฉพาะบางประเภทเท่านั้น ดังนั้นในการพิจารณาคดีทุกคดี จึงต้องแสดงเหตุผลและกำหนดหลักเกณฑ์ให้เห็นว่า เพราะเหตุใดศาลหลวงจึงมีอำนาจพิจารณาคดีเหล่านั้น และมีหลักกฎหมายอย่างไรในการพิจารณาคดีและหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้จะได้รับการยึดถือให้เป็นแบบอย่างแก่คดีต่อๆไป และนำคดีไปใช้ทั่วไปในอังกฤษจึงกลายเป็นกฎหมายสำหรับประชาชนทั่วไป คือ Common law หรือ Commune ley –ขึ้น อย่างไรก็ตามการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆของ ศาลWestminster Court นอกจากจะรับแบบอย่างมาจากจารีตประเพณีท้องถิ่นแล้ว ยังได้รับแบบอย่างจากกฎหมายโรมันด้วย โดยดัดแปลงให้เข้ากันได้กับแบบวิธีพิจารณาของศาลหลวงของอังกฤษในทางปฏิบัติ แต่กล่าวโดยสรุป ศาลWestminster Court นอกจากจะเรียกว่าศาลหลวงแล้ว ยังอาจเรียกว่า “Common law Court” ได้อีกด้วย
1.3 กฎหมายอังกฤษ ระหว่าง ค.ศ. 1485-1832
กฎหมายอังกฤษ ระหว่าง ค.ศ. 1485-1832 กล่าวถึงการปฏิรูป คอมมอนลอว์ (Common law) ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า Common law ของอังกฤษในยุคก่อนขึ้นอยู่กับวิธีพิจารณาในศาลหลวงเป็นสำคัญ จึงทำให้การแก้ไขปรับปรุงทำได้ลำบากและไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในยุคที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเกิดหลักกฎหมายขึ้นมาอีกหลักหนึ่งเพื่อแก้ไขความไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นธรรมอันเกิดจาก Common law ซึ่งหลักดังกล่าว ก็คือ หลัก Equity การขัดแย้งระหว่าง Common law กับ Equity และการรวมกฎหมายพาณิชย์เข้ากับ Common law ดังนี้
1.3.1 ความจำเป็นที่ต้องปฏิรูป Common law
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า Common law ของอังกฤษในยุคก่อนขึ้นอยู่กับวิธีพิจารณาในศาลหลวงเป็นสำคัญ จึงทำให้การแก้ไขปรับปรุงทำได้ลำบากและไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในยุคที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเกิดหลักกฎหมายขึ้นมาอีกหลักหนึ่งเพื่อแก้ไขความไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นธรรมอันเกิดจาก Common law ซึ่งหลักดังกล่าว ก็คือ หลัก Equity
สาเหตุสำคัญและแท้จริงที่ทำให้เกิดหลัก equity ขึ้นเป็นเพราะ Westminster Court ไม่สามารถวินิจฉัยข้อพิพาทให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่กรณีอย่างแท้จริง อันเนื่องมาจากการที่ศาลต้องยึดมั่นอยู่กับวิธีการของ Common law ซึ่งไม่มีลักษณะที่ยืดหยุ่นได้ ดังนั้นคู่กรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือไม่พอใจจึงถวายฎีกาต่อกษัตริย์ เพื่อให้ทรงวินิจฉัย แต่ในระยะแรกกรณีเช่นว่านี้ ถึงแม้จะเกิดขึ้นบ้างเป็นครั้งคราว แต่ก็มีจำนวนน้อย
ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 14 บรรดาคู่กรณีซึ่งไม่พอใจในคำวินิจฉัยของ Westminster Court ต่างก็ถวายฎีกาต่อกษัตริย์เพื่อให้เข้าแทรกแซงและช่วยเหลือ ซึ่งฎีกาเหล่านี้จะมีบุคคลซึ่งเป็นข้าราชบริพารใกล้ชิดของกษัตริย์ คือ Chancellor เป็นผู้รับฎีกา และนำเข้าปรึกษาในคณะกรรมการที่มีกษัตริย์ทรงเป็นประธาน สำหรับคดีที่ Chancellor พิจารณาเห็นสมควร ซึ่งการพิจารณาเช่นนี้ไม่ได้นำหลัก Common law มาใช้ แต่ใช้หลัก Equity แทน
ในระยะแรกวิธีการดังกล่าวนี้ไม่ได้รับการคัดค้านแต่ประการใด เพราะการที่คู่กรณีถวายฎีกาต่อกษัตริย์เพื่อร้องขอความเป็นธรรม เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของกษัตริย์อยู่แล้วและการถวายฎีกาก็ทำกันเฉพาะกรณีพิเศษบางกรณีเท่านั้น แต่ในระยะต่อมามีผู้ถวายฎีกาต่อกษัตริย์มากขึ้น จนทำให้กษัตริย์ไม่สามารถจะทรงนั่งเป็นประธานพิจารณาได้ทุกเรื่อง ทำให้อำนาจของ Chancellor มีมากขึ้น จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 15 Chancellor กลายเป็นผู้พิพากษาที่มีอำนาจวินิจฉัยฎีกาที่ถวายต่อกษัตริย์เด็ดขาด โดยกษัตริย์ทรงมอบอำนาจให้ แต่ Court of Chancery ใช้หลัก equity ในการวินิจฉัยคดีดังกล่าวแล้ว ทำให้การวินิจฉัยนั้นขัดแย้งกับหลักการวินิจฉัยของศาลหลวงซึ่งใช้หลัก Common law จึงเหมือนกับว่าหลัก equity ได้ถูกนำมาใช้เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลัก Common law ให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า Common law ได้เริ่มมีการปฏิรูปโดยการยอมรับหลัก equity เข้ามาแก้ไขหลัก Common law
1.3.2 Equity ในสมัย Tudors ในคริสศตวรรษที่ 16
อำนาจของกษัตริย์อังกฤษเพิ่มากขึ้น โดยเฉพาะหลังสงครามกลางเมือง ได้มีการปราบปรามผู้กระทำความผิดทางอาญาอย่างรุนแรง โดยการจัดตั้ง Star Chamber ขึ้นที่ Westminster ทั้งนี้เพื่อสถาปนาความสงบเรียบร้อยขึ้น แม้ว่าเสรีภาพของประชาชนจะถูกลิดรอนลงอย่างมากก็ตาม ในส่วนที่เกี่ยวกับคดีแพ่ง อำนาจของ Court of Chancery ก็ได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง โดยทำหน้าที่เป็นศาลอย่างแท้จริงแต่มีวิธีพิจารณาผิดกับ Common law Courts กล่าวคือ Court of Chancery ดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นลายลักษณ์อักษร คล้ายกับวิธีการของศาลพระ ส่วนกระบวนการวิธีพิจารณาของ Common law Courts กระทำโดยวาจาต่อหน้าสาธารณชนนอกจากนั้น Court of Chancery ยังยกเลิกและแก้ไขวิธีการเก่าๆ ที่ใช้อยู่เดิมในศาล Common law ด้วย รวมทั้งการวินิจฉัยคดี ยึดหลักประโยชน์สุขและความยุติธรรมในสังคมเป็นใหญ่ ดังนั้นทั้งกษัตริย์และประชาชนจึงมีความนิยมชมชอบในศาลใหม่นี้มากกว่าศาล Common law
นอกจากเหตุผลดังกล่าวแล้ว Court of Chancery ยังได้รับความนิยมเพราะเหตุที่ได้นำหลักกฎหมายโรมันและกฎหมายพระมาใช้ในการวินิจฉัยคดีด้วย เพราะทำให้คู่กรณีที่มีความรู้สึกว่าได้รับความเป็นธรรมมากกว่าการวินิจฉัยคดีโดยศาล Common law จนกระทั่งกฎหมายอังกฤษเกือบจะเข้ามาอยู่รวมกลุ่มกับกฎหมายประเทศภาคพื้นยุโรปเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพราะความนิยมของประชาชนและกษัตริย์ที่มีต่อ Court of Chancery ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก กฎหมายโรมัน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้ศาล Common law หรือ Westminster Court ไม่พอใจ เพราะเหตุที่เสียความสำคัญ และถูกริดรอนอำนาจลง
1.3.3 การขัดแย้งระหว่าง Common law และ Equity
การขัดแย้งระหว่างอำนาจของศาลทั้งสองประเภทได้รุนแรงขึ้นทุกที จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1616 ศาล Common law ได้ร่วมมือกับรัฐสภายับยั้งการใช้อำนาจเด็ดขาดของกษัตริย์รวมทั้งสกัดกั้นการขยายเขตอำนาจของศาล Chancery ด้วย แม้ว่าในครั้งนั้นกษัตริย์อังกฤษ (King Jack I) จะตัดสินให้ Court of Chancery เป็นฝ่ายชนะก็ตาม แต่ Court of Chancery ก็ไม่ได้ชัยชนะนี้ไปทำลายความสำคัญของศาล common law และรัฐสภา กล่าวคือได้ยอมลดอำนาจตัวเองกลับไปสู่สถานะเดิม (status quo ) ไม่ก้าวก่ายอำนาจของศาล Common law ต่อไป ทำให้ข้อกล่าวหาที่ว่า Court of Chancery วินิจฉัยคดีตามอำเภอใจลดน้อยลง
ต่อมาในปี ค.ศ. 1621 Court of Chancery ได้กำหนดหลักเกณฑ์ยอมอยู่ภายใต้การควบคุมของ House of Lords อีกด้วย ส่วนศาล Common law เองก็ยอมรับรู้อำนาจของ Court of Chancery ในกรณีที่มีตัวอย่างการพิพากษาของศาลนี้ในกรณีเช่นเดียวกันมาแล้ว
1.3.4 การรวมกฎหมายพาณิชย์เข้ากับ Common law
ตั้งแต่เริ่มต้นของ Common law ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 จนกระทั่งได้มีหลัก equity เพิ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14 จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 อันเป็นยุคที่มีความประนีประนอมกันระหว่าง Common law กับ equity ได้เกิดมีความเปลี่ยนแปลงที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 คือ การรวมกฎหมายพาณิชย์ (Commercial law ) เข้ากับ Common law อันที่จริงกฎหมายพาณิชย์ในขณะนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในอังกฤษ โดยอังกฤษถือว่าเป็นกฎหมายที่มีลักษณะต่างประเทศ และประโยชน์สำหรับพ่อค้าวาณิช (merchants) เท่านั้น แต่เมื่อได้มีความพยายามที่จะทำกฎหมายเอกรูปขึ้นในอังกฤษตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 (เช่นเดียวกับการจักทำกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ในยุโรป)กฎหมายพาณิชย์จึงขาดความเป็นเอกเทศ เพราะต้องเข้ารวมอยู่กับ Common law ทำให้อภิสิทธืของบรรดาพ่อค้าวาณิชย์บางประการสิ้นสุดลงด้วย
1.4 กฎหมายอังกฤษยุคปัจจุบัน
กฎหมายอังกฤษยุคปัจจุบันจะกล่าวถึง การปฏิรูปกฎหมายในคริสต์ศตวรรษที่ 19 กฎหมายอังกฤษในยุครัฐสวัสดิการในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ดังนี้
1.4.1 การปฏิรูปกฎหมายในคริสต์ศตวรรษที่ 19
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1832-1833และ 1852 นับได้ว่าเป็นยุคที่มีการปฏิรูปทางกฎหมายในอังกฤษอย่างแท้จริง คือ มีการปฏิรูปวิธีพิจารณาเสียให้โดยให้ความสำคัญต่อกฎหมายวิธีพิจารณาลดลง และหันไปให้ความสำคัญแก่กฎหมายสาระบัญญัติมากขึ้นเหมือนกับประเทศในภาคพื้นยุโรป (ในกลุ่มประเทศใช้ที่ใช้กฎหมายโรมัน) นอกจากนั้นยังได้พยายามจัดทำคำพิพากษาให้เป็นหมวดหมู่
ในด้านการจัดระเบียบศาลยุติธรรมก็ได้มีการปรับปรุงแก้ไขอย่างขนานใหญ่ ในปี ค.ศ. 1873-1875 โดยกฎหมายที่เรียกว่า “Judicature Acts” ซึ่งกฎหมายฉบับนี้มีสาระสำคัญในการยกเลิกความแตกต่างของอำนาจศาล Common law กับCourt of Chancery กล่าวคือ ให้ศาลทั้ง 2 มีอำนาจพิจารณาโดยนำหลัก Common law กับ หลัก equity มาใช้ได้ทั้ง 2 หลัก ไม่ต้องมีการแบ่งแยกเหมือนในสมัยก่อน นอกจากนั้นยังมีการยกเลิกกฎหมายเก่าที่ล้าสมัย รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายสาระบัญญัติอื่นๆอีกมาก แต่การแก้ไขปรับปรุงนั้นยังคงรักษารูปแบบเดิมของกฎหมายอังกฤษไว้ คือ ยังให้ความสำคัญต่อศาลอยู่มาก คือ คำพิพากษาของศาล แม้ฝ่ายนิติบัญญัติจะเข้ามามีบทบาทในบัญญัติกฎหมายมากขึ้นก็ตามแต่ก็เพื่อเข้ามาบัญญัติกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่ออุดช่องว่างแห่งกฎหมายที่ไม่ยังมีคำพิพากษาของศาลมาใช้บังคับ
14.2 กฎหมายอังกฤษในยุครัฐสวัสดิการ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงยุคปัจจุบัน คริสต์ศตวรรษที่ 21
กฎหมายอังกฤษในยุครัฐสวัสดิการ (welfare state) ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าได้มีการปฏิรูปกฎหมายของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และการปฏิรูปดังกล่าวได้ดำเนินต่อมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 20-ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลง ทางสังคมจากระบบเสรีนิยมมาเป็นระบบสังคมนิยมมากยิ่งขึ้นทำให้กฎหมายอังกฤษต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามไปด้วย กล่าวคือ กฎหมายในระบบเสรีนิยมค่อยๆเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1914 และเริ่มยอมรับกฎหมายในรูปสังคมนิยมเข้ามาแทนที่ ทั้งนี้เพื่อให้ทันกับความต้องการของสังคมยุคใหม่ ซึ่งมีวัฒนาการและมีปัญหาใหม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้มีผลต่อเนื่องของระบบกฎหมายอังกฤษยุคปัจจุบัน (คริสต์ศตวรรษที่ 21) กับกฎหมายภาคพื้นยุโรป (กลุ่มกฎหมายที่ใช้กฎหมายโรมัน หรือเรียกว่า กลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Civil law) มีความโน้มเอียงเข้าหากัน เพราะประเทศเหล่านี้มีวัฒนธรรมที่เหมือนกันหลายอย่าง จึงมีปัญหาทางสังคมและกฎหมายเช่นเดียวกันหรือคล้ายกัน ดังนั้นในระยะหลังกฎหมายอังกฤษจึงได้รับแบบอย่างของกฎหมายจากกลุ่มกฎหมายภาคพื้นยุโรปไปผสมด้วย
jutes 在 stu sis Facebook 的最佳貼文
[92251] 33371. 羅聖鈞 - Chill (2018)★★
[92252] 33372. 賴品丞 - 佛珠2018 (2018)★★
[92253] 33373. 賴品丞 - 一直都放在我房間 (2018)★
[92254] 33374. 楊丞琳 - 缺氧 (2007)★★
[92255] 33375. Lambchop - The December-ish You (2018)★★
[92256] 33376. Lambchop - Is a Woman (2002)★★
[92257] 33377. 喬幼 & 鄔兆邦 - 拜託月娘 (2018)★★
[92258] 33378. 喬幼 - 無人比我卡堅強 (2018)★★
[92259] 33379. 喬幼 - 招弟 (2018)★★
[92260] 33380. 喬幼 - 用性命愛我 (2017)★★
[92261] 33381. 浪wave:山寨Supreme把事兒鬧大了,不過這次可不是我們國人的鍋! (2018)★★
[92262] 33382. 浪wave: Al Rocco和Naomi分手,Jony J和VaVa傳出緋聞;一起來盤點HipHop世界裡的那些名人CP! (2018)★★
[92263] 33383. Taichill Unite - 出城 (2018)★★-
[92264] 33384. D Rebound 99: Lil Mosey——年僅16歲的新生代饒舌歌手 (2018)★★
[92265] 33385. D Rebound 99: Cardi B和Offset因為其他女子的介入分手了… (2018)★★
[92266] 33386. Jutes - Walk On Me (2018)★★__Thomas Ridout
[92267] 33387. K. Roosevelt - One Night Stand (2018)★★
[92268] 33388. Smif-N-Wessun - Let It Go (2018)★★
[92269] 33389. 24hrs - Family & Money (2018)★★
[92270] 33390. Joey Purp - Aw Shit! (2018)★★★