[爆卦]Filing meaning是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇Filing meaning鄉民發文沒有被收入到精華區:在Filing meaning這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 filing產品中有313篇Facebook貼文,粉絲數超過0的網紅,也在其Facebook貼文中提到, GitHub 已被微軟收購,他的對手Gitlab則要IPO上市了...

 同時也有53部Youtube影片,追蹤數超過4,260的網紅LadyMoko,也在其Youtube影片中提到,Subscribe LadyMoko👉https://bit.ly/2JUIR6m Can't resist this creamy caramel ? Yea, me, too ! 😂 It's pretty simple and we need only 3 ingredients to mak...

filing 在 ????? 张恩慈 Instagram 的最讚貼文

2021-09-24 09:43:07

🌥 tea time with a view. 🌥 🏮 mooncake festival is around the corner!! 🥮 a lot of you, like myself don’t get to visit & celebrate with friends & long...

  • filing 在 Facebook 的精選貼文

    2021-09-18 19:25:53
    有 273 人按讚

    GitHub 已被微軟收購,他的對手Gitlab則要IPO上市了

  • filing 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文

    2021-09-15 13:18:46
    有 3,389 人按讚

    สรุปโอกาสและการลงทุนบน LiVE Exchange ตลาดหลักทรัพย์สำหรับ SMEs และ Startups
    จากงาน LiVE Demo Day: The New Road to Capital Market

    14 กันยายน 2564 ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงาน ก.ล.ต. และองค์กรพันธมิตรอีกกว่า 25 ราย จัดงาน “LiVE Demo Day: The New Road to Capital Market”

    โดยถือเป็นการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ “LiVE Platform” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับให้ธุรกิจ SMEs และ Startups ได้เข้ามาเรียนรู้ และเตรียมความพร้อมสู่การระดมทุนผ่านกลไกตลาดทุน

    และอีกหนึ่งส่วนที่น่าสนใจมากก็คือ “LiVE Exchange” ที่จะเป็นตลาดหลักทรัพย์สำหรับ SMEs และ Startups ซึ่งมีแผนจะเปิดให้บริการภายในปี 2021 นี้แล้ว

    LiVE Exchange ตลาดหลักทรัพย์สำหรับ SMEs และ Startups มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจบ้าง ?
    ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง

    ด้วยแนวคิดที่ต้องการให้ SMEs และ Startups สามารถเข้าถึงแหล่งระดมเงินทุน ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ สำนักงาน ก.ล.ต. จึงมีการพัฒนากระดานซื้อขายใหม่ที่ชื่อว่า LiVE Exchange ขึ้นมา

    โดยมีจุดประสงค์ก็เพื่อ ลดกฎเกณฑ์บางอย่างลง ให้ SMEs และ Startups สามารถเข้าถึงการระดมทุนผ่านกลไกตลาดทุนได้ง่ายขึ้น ภายใต้แนวคิด “Light Touch Supervision”

    ซึ่งสำหรับบริษัท SMEs และ Startups ที่ต้องการจะเข้ามาระดมทุนใน LiVE Exchange ทางสำนักงาน ก.ล.ต. ก็ได้กำหนดคุณสมบัติหลัก ๆ เอาไว้ว่า

    1. ต้องเป็นบริษัทมหาชน และประกอบกิจการธุรกิจในบริษัท ไม่ใช่บริษัท Investment Company ที่เน้นไปลงทุนในบริษัทอื่น
    2. บริษัทต้องไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผิดกฎหมาย
    3. กรรมการและผู้บริหารของบริษัท ต้องไม่อยู่ใน Blacklist หรือมีประวัติทำผิดกฎหมาย
    4. บริษัทต้องมีมูลค่าระดมทุน 10 ล้านบาทขึ้นไป และต้องระดมทุนได้ 80% ของมูลค่าระดมทุนที่ตั้งไว้
    5. หลังจากบริษัทเสนอขายหุ้นต่อนักลงทุนทั่วไปแล้ว ต้องเข้าจดทะเบียนบน LiVE Exchange

    ส่วนทางฝั่งตลาดหลักทรัพย์ฯ เน้นเรื่องความพร้อมของตัวธุรกิจเป็นหลักสำคัญ ซึ่งประกอบด้วย ความพร้อมในเรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของตลาดทุน และความพร้อมในด้านธุรกิจของตนเอง

    ทำให้บริษัทที่จะเข้ามาระดมทุนได้ จึงจำเป็นต้องผ่านการอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดทุนเสียก่อน

    ในเรื่องความพร้อมด้านธุรกิจ ของทางฝั่ง SMEs ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ จะใช้เกณฑ์รายได้ของธุรกิจมาเป็นตัวกำหนด
    - ภาคบริการ ต้องมีรายได้ขั้นต่ำ 50 ล้านบาท
    - ภาคการผลิต ต้องมีรายได้ขั้นต่ำ 100 ล้านบาท

    ส่วนทางฝั่ง Startups ที่อาจจะมีรายได้ยังไม่มาก หรือค่อนข้างผันผวน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มีเกณฑ์อื่นมาพิจารณา

    คือหาก Startups ใดที่มี Private Equity หรือ Venture Capital เข้ามาลงทุนอยู่ก่อนแล้ว ก็จะสามารถเข้าระดมทุนผ่าน LiVE Exchange ได้

    นอกจากนั้นแล้ว เพื่อให้ SMEs และ Startups สามารถเข้าระดมทุนผ่าน LiVE Exchange ได้ง่ายขึ้น
    ทาง ก.ล.ต. จึงผ่อนผันอนุญาต ให้บริษัทแต่ละรายไม่จำเป็นต้องยื่นคำขออนุญาตจาก ก.ล.ต. และไม่จำเป็นต้องมีที่ปรึกษาทางการเงิน หรือ Financial Advisor (FA)

    เพียงแต่ต้องเปิดเผยข้อมูลสำคัญ สำหรับให้นักลงทุนใช้พิจารณาประกอบการลงทุนได้
    ซึ่งจะมีเนื้อหาหลัก ๆ อยู่ 4 ส่วนคือ
    1. ลักษณะการประกอบธุรกิจ
    2. ความเสี่ยงของธุรกิจ
    3. งบแสดงฐานะการเงิน
    4. รายละเอียดผู้บริหาร

    ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังได้พัฒนาระบบกระบวนการดิจิทัล เพื่อรองรับการระดมทุน การเสนอขาย ไปจนถึงการจดทะเบียน ที่ทำได้ครบจบบนช่องทางดิจิทัล

    มีการพัฒนาระบบ SME Filing ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการประกอบการตัดสินใจให้กับผู้ลงทุน มีระบบจัดการข้อมูลที่เป็นระเบียบ สามารถจัดหมวดหมู่และแสดงผล ให้ผู้ลงทุนสามารถดูรายละเอียดของแต่ละบริษัทได้ง่าย เช่น ข้อมูลงบการเงิน ข่าวสารของบริษัท

    พร้อมจัดทำระบบ Crowd Opinion ผ่านเว็บไซต์
    ซึ่งจะเป็นช่องทางที่ให้ผู้ลงทุนสามารถสอบถามข้อมูลหรือข้อสงสัยไปยัง SMEs และ Startups หรือ ก.ล.ต. ได้ เรียกได้ว่าเป็น Two-way Communication ระหว่างนักลงทุนกับผู้ประกอบการนั่นเอง

    คราวนี้มาดูในฝั่งของผู้ลงทุนกันบ้าง
    ในเบื้องต้น ทาง ก.ล.ต. ได้อนุญาตให้ผู้ลงทุน 3 ประเภท ที่มีความรู้ความเข้าใจ และรับความเสี่ยงจากการลงทุนในธุรกิจ SMEs และ Startups สามารถลงทุนในกระดาน LiVE Exchange ได้ ประกอบด้วย

    1. กลุ่มนักลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญ เช่น สถาบันการเงิน, Private Equity หรือ Venture Capital และบรรดา Angel Investor

    2. กลุ่มผู้ลงทุนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการลงทุนและมีทรัพย์สินในระดับหนึ่ง ที่ทาง ก.ล.ต. พิจารณาเห็นสมควรแล้วว่าสามารถลงทุนใน LiVE Exchange ได้

    3. กลุ่มคนที่คุ้นเคยกับกิจการ ตั้งแต่ตำแหน่งสูงสุดอย่าง ผู้บริหารและกรรมการ จนถึงตำแหน่งพนักงานทั่วไป

    สำหรับผู้ที่ผ่านเกณฑ์จากตลาดหลักทรัพย์ฯ และสนใจลงทุนบริษัทต่าง ๆ บน LiVE Exchange
    สามารถติดต่อผ่านบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ ได้โดยตรง ซึ่งขณะนี้มีบริษัทหลักทรัพย์ที่แสดงความสนใจเข้าร่วมแล้ว 25 ราย

    สำหรับการเปิดบัญชีสำหรับซื้อขายหลักทรัพย์จะไม่แตกต่างจาก SET และ mai แต่รูปแบบการซื้อขายจะมีความแตกต่างกัน ในเบื้องต้นรายละเอียดคือ

    1. เป็นการซื้อขายแบบ “Prepaid” คือฝั่งผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีหุ้นและเงินในบัญชีก่อน ถึงจะสามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้
    2. LiVE Exchange ในช่วงแรก จะเปิดให้ซื้อขายเพียงวันละ 1 รอบ ในเวลา 09.30-11.00 น. ในรูปแบบ Auction
    3. เป็นการชำระราคาและส่งมอบภายในวันนั้น (T) ทันที ซึ่งแตกต่างจาก SET และ mai ที่มีการชำระราคาและส่งมอบ T+2

    โดยนักลงทุนสามารถสั่งซื้อขายได้ทั้งผ่านโบรกเกอร์ที่ใช้บริการ หรือผ่านระบบ Internet Trading เช่นเดียวกับซื้อขายหุ้นบน SET และ mai

    ซึ่งโอกาสสำคัญ สำหรับเหล่านักลงทุนที่ใช้ LiVE Exchange
    คือสามารถเป็นเจ้าของบริษัทที่ชื่นชอบ ได้ตั้งแต่ช่วงที่ธุรกิจยังมีขนาดเล็ก ซึ่งมีโอกาสเติบโตอย่างรวดเร็ว ต่างจาก SET และ mai ที่หลายบริษัทอาจจะใหญ่โตมากแล้ว

    แต่อย่างที่เรารู้กันก็คือ “โอกาสมักจะมาพร้อมกับความเสี่ยงอยู่เสมอ” เนื่องจากธุรกิจระดับ SMEs และ Startups ยังถือว่ามีปัจจัยท้าทายอยู่มากพอสมควร

    และอีกประเด็นคือ เนื่องจากบริษัทบน LiVE Exchange สามารถซื้อขายได้เพียงวันละ 1 รอบ และสภาพคล่องอาจไม่สูงเหมือนตลาดใหญ่อย่าง SET และ mai
    ฉะนั้นนักลงทุนที่จะลงทุนใน LiVE Exchange จึงควรมองภาพการลงทุนในระยะยาว

    ทั้งนี้กฎเกณฑ์และระบบต่าง ๆ ของ LiVE Exchange คาดว่าจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ภายในปลายปีนี้ และคาดว่าในช่วงต้นปีหน้า นักลงทุนจะสามารถเริ่มทำการซื้อขายหุ้นบนกระดาน LiVE Exchange ได้

    นอกจากนั้น ภายในงานยังมี เวทีนำเสนอธุรกิจ “SMEs-Startups Showcase” ที่ให้บรรดาผู้ประกอบการ 21 บริษัท จากโครงการ LiVE Acceleration Program รุ่นที่ 1 ได้มาร่วมนำเสนอเป้าหมายการเติบโต และแผนการระดมทุนในอนาคตให้นักลงทุนได้รับชม

    ประกอบไปด้วยบริษัทจาก 5 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ Wellness & Recreation, Healthy Food & Food Supply Chain, Digital Platform & E-commerce, Smart Living & Smart City และ EV & Green Energy

    ซึ่งนักลงทุนท่านไหน หรือใครที่สนใจว่ามีธุรกิจอะไรบ้าง และแต่ละธุรกิจมีโมเดลธุรกิจอย่างไร มีแผนพัฒนาธุรกิจในอนาคตอย่างไร ก็สามารถเข้าไปรับชมย้อนหลังกันได้ในช่องทาง Facebook LiVE Platform

    ทั้งหมดนี้ก็คือ รายละเอียดกฎเกณฑ์ และความน่าสนใจ ของ “LiVE Exchange”
    ที่จะเข้ามาช่วยให้ SMEs และ Startups เข้าสู่การระดมทุนด้วยกลไกตลาดทุนได้สะดวกขึ้น และเสริมพลังสร้างการเติบโตในอนาคตต่อไป

    และก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการลงทุนที่น่าสนใจ
    สำหรับนักลงทุนที่สนใจ และอยากลงทุนในธุรกิจ SMEs และ Startups สามารถติดตามข้อมูลกันได้ที่เว็บไซต์ www.live-platforms.com และ Facebook LiVE Platform

  • filing 在 Focus Taiwan Facebook 的最讚貼文

    2021-09-11 08:00:28
    有 78 人按讚

    "I have not seen any case of animal cruelty result in penalties that cannot be commuted to fines," said Lu Chiu-yuan (呂秋遠), an #animalwelfare advocate and lawyer who is representing Lee's ex-girlfriend in filing a lawsuit against him. #animalprotectioin
    https://focustaiwan.tw/society/202109100015

你可能也想看看

搜尋相關網站