[爆卦]Feeder 海運是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇Feeder 海運鄉民發文沒有被收入到精華區:在Feeder 海運這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 feeder產品中有284篇Facebook貼文,粉絲數超過178萬的網紅ลงทุนแมน,也在其Facebook貼文中提到, 5 Megatrends น่าลงทุน ประเดิมครั้งแรกที่เราจะ “ซื้อขายกองทุนโดยตรง” ได้ทั่วโลก FinVest x ลงทุนแมน หลายประเทศเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ผู้คนใช้ชีวิตปกติ...

 同時也有113部Youtube影片,追蹤數超過7萬的網紅FriesBro,也在其Youtube影片中提到,👉幫助達到70,000 訂閱▶ http://bit.ly/2ItnvA6 👉公開Line群: https://reurl.cc/Xkzyja 👉LBRY: https://lbry.tv/@FriesBro:2 👉Discord: https://discord.gg/X8Pft8X 👉Faceb...

  • feeder 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文

    2021-09-27 16:00:51
    有 1,918 人按讚

    5 Megatrends น่าลงทุน ประเดิมครั้งแรกที่เราจะ “ซื้อขายกองทุนโดยตรง” ได้ทั่วโลก
    FinVest x ลงทุนแมน
    หลายประเทศเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ผู้คนใช้ชีวิตปกติมากขึ้น
    เป็นสัญญาณสะท้อนภาวะเศรษฐกิจ และธุรกิจต่าง ๆ เริ่มฟื้นตัว

    ขณะที่โลกการลงทุน ยังเป็นสิ่งที่นักลงทุนต่างเฝ้าจับตา
    แน่นอนว่า กลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมในต่างประเทศกำลังเติบโตโดดเด่น
    เช่น Blockchain, Healthcare Innovation, Smart Mobility, Long Term Global Growth, Clean Energy
    ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ คงหาได้ยากในประเทศไทย

    จังหวะนี้เอง คือโอกาสกระจายการลงทุนที่ดีไปสู่ต่างประเทศ ในช่วงที่เศรษฐกิจในประเทศยังไม่ฟื้นตัวมากนัก
    แล้วจะดีอย่างไร.. หากเราสามารถลงทุนกองทุนต่างประเทศโดยตรง
    โดยไม่ต้องผ่านกองทุนรวมคนกลางใด ๆ

    ความน่าสนใจของเรื่องนี้เป็นอย่างไร ?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

    ก่อนหน้านี้ หากเราต้องการลงทุนในกองทุนต่างประเทศ
    มักจะเป็นการลงทุนผ่านกองทุนรวมตัวกลางที่มีนโยบายการลงทุนในกองทุนต่างประเทศอีกทีหนึ่ง
    ซึ่งก็อาจจะไม่ได้เป็นไปตามใจที่นักลงทุนต้องการเสียทีเดียว
    และที่หลายคนอาจลืมไป ก็คือการลงทุนผ่าน Feeder Fund จะมีค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการกองทุนที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน อีกด้วย

    ด้วยเหตุนี้ ธนาคารกสิกรไทย, ลู อินเตอร์เนชันแนล และ กลุ่มโรโบเวลธ์
    จึงได้ร่วมพัฒนาฟีเจอร์ใหม่บนแอปพลิเคชัน “FinVest” ที่ทำให้เป็นแอปพลิเคชันการลงทุนแรกในประเทศไทยที่มีฟีเจอร์ Offshore
    เพื่อให้ลูกค้าสามารถลงทุนในกองทุนทั่วโลกได้โดยตรงจากบลจ. ชั้นนำระดับโลก ไม่ต้องผ่านกองทุนรวมคนกลาง

    แล้วการลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศโดยตรง (Offshore) ผ่านแอปพลิเคชัน FinVest ดีอย่างไร ?

    1. ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน รับกำไรเต็ม ๆ

    เนื่องจากจะไม่มีค่าบริหารจัดการกองทุน 1-1.5% เหมือนกับกองทุนรวม Feeder Fund ที่มีนโยบายลงทุนผ่านกองทุนต่างประเทศ

    2. เพิ่มโอกาสลงทุนกองทุนทั่วโลก ช่วยกระจายความเสี่ยง

    เนื่องจากรองรับการลงทุนจากบลจ. ชั้นนำทั่วโลก
    เช่น Baillie Gifford, Schroders, BlackRock, Invesco ฯลฯ
    จึงครอบคลุมหลากหลาย Theme การลงทุนและ Megatrends ของโลกที่เราสนใจ

    นอกจากนี้ FinVest ยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อีกด้วย

    3. ลงทุนง่าย สะดวกทุกขั้นตอน ครบ จบในแอปพลิเคชันเดียว

    เช่น
    - ลงทุนกองทุนทั่วโลกโดยตรง ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 30,000 บาท
    - ลงทุนกองทุนต่างประเทศได้ด้วยสกุลเงินบาท โดยไม่ต้องแลกเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
    - แอปพลิเคชันใช้งานง่าย เพราะคำนึงถึง User Experience
    - เปิดบัญชีได้ทันทีผ่านสมาร์ตโฟน และเลือกผูกบัญชีได้หลายธนาคาร

    4. มีทีมผู้เชี่ยวชาญ ช่วยแนะนำการลงทุน ชี้เป้าทุกสัปดาห์
    โดยจะมีบริการสรุปข้อมูลที่อ่านเข้าใจง่าย และมีข้อมูลอัปเดตแนะนำการลงทุนอย่างเป็นกลาง

    ที่น่าสนใจก็คือ ภายในแอปพลิเคชัน FinVest ยังมีตัวช่วยคัดเลือกกองทุนรวมที่น่าสนใจ
    ในรูปแบบ Thematic Investment เข้าถึงการลงทุนที่หลากหลายทั่วโลก
    และตอนนี้ FinVest ได้แนะนำ 5 กองทุนเด่นที่สอดคล้องกับ Megatrends ของอุตสาหกรรมระดับโลก 5 ด้าน นั่นคือ

    1. ด้าน Global Energy Transition

    ด้วยกองทุน Global Energy Transition จาก Schroder ISF
    เน้นลงทุนในบริษัทชั้นนำด้านธุรกิจและเทคโนโลยีพลังงานสะอาดระดับโลก
    ซึ่งสอดคล้องกับเมกะเทรนด์รูปแบบพลังงานที่จะช่วยแก้ภาวะโลกร้อน
    โดยในปี 2050 จะมีเม็ดเงินลงทุน 120 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อแก้ปัญหา Climate Change
    และยังมีนโยบายลดมลภาวะที่กำลังถูกผลักดันโดยภาครัฐอย่างจริงจัง โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา
    ปี 2563 กองทุน Global Energy Transition เติบโต 91.9%

    2. ด้าน Smart Mobility

    ด้วยกองทุน Robeco Smart Mobility จาก UOBAM
    เน้นลงทุนในบริษัทชั้นนำทางด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ไร้คนขับ
    ซึ่งจะเป็นเมกะเทรนด์เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าที่จะปฏิวัติการเดินทางในอนาคตตลอดทั้ง Supply Chain
    จากเครื่องยนต์สันดาปไปสู่การใช้ไฟฟ้า (Electrification) มากขึ้น
    ปี 2563 กองทุน Robeco Smart Mobility เติบโต 61.3%

    3. ด้าน Blockchain Innovation

    ด้วยกองทุน Blockchain Innovation จาก BNY Mellon
    เน้นลงทุนในบริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนในหลากหลายอุตสาหกรรม
    เช่น บริการทางการเงิน, การแพทย์, ความปลอดภัยทางอาหาร, การจัดการโลจิสติกส์
    ซึ่งในปี 2030 คาดการณ์ไว้ว่า มูลค่าธุรกิจที่ถูกสร้างขึ้นโดยนวัตกรรมบล็อกเชน
    จะมีมูลค่าสูงถึง 3.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
    ปี 2563 กองทุน Blockchain Innovation เติบโต 46.2%

    4. ด้าน Healthcare Innovation

    ด้วยกองทุน Healthcare Innovation จาก Schroder ISF
    เน้นลงทุนในบริษัทชั้นนำด้านอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์
    ทั้งในด้านการรักษาโดยเทคนิคพิเศษ, เทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างหุ่นยนต์ผ่าตัด, การบริการทางการแพทย์อย่าง Telehealth และการนำข้อมูลดิจิทัลเพื่อวิเคราะห์ร่างกาย
    รวมทั้งธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์ยาและวัคซีนต่าง ๆ เช่น Johnson & Johnson, AstraZeneca, Pfizer
    ปี 2563 กองทุน Healthcare Innovation เติบโต 42.5%

    5. ด้าน Long Term Global Growth

    ด้วยกองทุน Long Term Global Growth จาก Baillie Gifford
    เน้นการแสวงหาบริษัทที่เติบโตอย่างโดดเด่นจากทั่วโลก ได้เปรียบในการแข่งขัน และด้วยความสามารถของผู้บริหารยอดเยี่ยมในช่วงเวลามากกว่า 5 ปี
    เพื่อที่จะสะท้อนถึงศักยภาพออกมาในมูลค่าหุ้นและเป็นที่รับรู้ของตลาดได้อย่างแท้จริง
    ปี 2563 กองทุน Long Term Global Growth เติบโต 95.6%

    ซึ่งถ้าถามว่าในอนาคตข้างหน้า เราจะได้เห็นการเติบโตของกลุ่มธุรกิจใดบ้าง
    หนึ่งในนั้นก็คงจะเป็นธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานสะอาด, ยานยนต์ไฟฟ้า, เทคโนโลยีบล็อกเชน, เฮลธ์แคร์
    สอดคล้องกับ 5 ตัวอย่างกองทุนเกาะติด Megatrends ที่กล่าวไปข้างต้น นั่นเอง

    มาถึงตรงนี้ สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนใน 5 กองทุนต่างประเทศแนะนำที่พูดถึงนี้
    จะได้รับสิทธิพิเศษฟรี! ค่าธรรมเนียมจากการซื้อหน่วยลงทุน (Front-end-fee) แบบไม่มีเพดานใด ๆ ในช่วงเปิดตัวฟีเจอร์ซื้อขายกองทุนรวมต่างประเทศโดยตรงบนแอปพลิเคชัน FinVest
    ระหว่างวันนี้ ถึง 15 พฤศจิกายน 2564 เท่านั้น

    • ดาวน์โหลดและลงทะเบียนใช้งานแอปพลิเคชัน FinVest App ได้แล้ววันนี้ ที่ https://finvest.onelink.me/CoWV/b25ebb88

    • ติดตามความรู้ด้านการลงทุนและเทรนด์เด่น กองทุนที่ไม่ควรพลาดได้ที่ Facebook FinVest และเว็บไซต์ https://bit.ly/3Ev8A2p

    • และสามารถลงทะเบียนเพื่อรับ Link เข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์ “ติดปีกการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ” ที่จัดโดย FinVest ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันที่ 5 ตุลาคม 2564 เวลา 19.00-20.20 น. เพื่อรับฟังโอกาสทำกำไรช่วงเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ได้ที่ https://finvest.onelink.me/CoWV/43b242b3 (ลงทะเบียนได้ถึง 3 ตุลาคม 2564)

    คำเตือน
    - การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น)
    - ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน
    - กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้นผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

    Reference
    -เอกสารประสัมพันธ์ FinVest

  • feeder 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答

    2021-09-20 13:00:33
    有 2,027 人按讚

    กองทุน KKP GNP โอกาสลงทุนในหุ้นต่างประเทศ แบบผู้ชนะระยะยาว
    เกียรตินาคินภัทร x ลงทุนแมน
    วิกฤติโควิด 19 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา หรือนโยบายภาครัฐจีน
    ล้วนเป็นปัจจัยมหภาคที่กำลังส่งผลต่อโลกการลงทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    ทำให้การลงทุนหุ้นต่างประเทศในช่วงเวลานี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

    คำถามคือ หากเราไม่ใช่นักลงทุนมืออาชีพ
    แล้วเราจะเข้าสู่โลกการลงทุนหุ้นต่างประเทศในช่วงเวลานี้ ได้อย่างไร

    หนึ่งตัวเลือกในการลงทุนหุ้นต่างประเทศที่น่าสนใจในช่วงเวลานี้
    ก็คือ กองทุนเปิดเคเคพี โกลบอล นิว เพอร์สเปกทีฟ หรือ KKP GNP
    ที่มีรางวัลการันตีจากการจัดอันดับของ วารสารการเงินธนาคาร
    ว่าเป็น “กองทุนหุ้นต่างประเทศ ยอดเยี่ยมแห่งปี 2021” อีกด้วย

    ความน่าสนใจของกองทุน KKP GNP เป็นอย่างไร ?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

    กองทุน KKP GNP เป็นกองทุนประเภท Feeder Fund
    ที่มีนโยบายลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว
    ที่มีชื่อว่า Capital Group New Perspective (LUX) (กองทุนหลัก) ไม่ต่ำกว่า 80% ของ NAV

    ซึ่ง Capital Group New Perspective (LUX) มีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญทั่วโลก
    ภายใต้การบริหารจัดการของ The Capital Group ที่มีประสบการณ์ลงทุนถึง 90 ปี

    พูดง่าย ๆ ว่า หากเราลงทุนในกองทุน KKP GNP
    ก็เท่ากับว่า เรากำลังลงทุนในหุ้นสามัญทั่วโลกที่น่าสนใจ ผ่านกองทุน Capital Group New Perspective (LUX) ภายใต้การบริหารของ The Capital Group นั่นเอง

    แล้ว The Capital Group คือใคร ?

    The Capital Group คือบริษัทจัดการกองทุนที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 6 ของโลก
    มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ 81.9 ล้านล้านบาท และทีมนักวิเคราะห์กว่า 400 คนทั่วทุกมุมโลก
    สะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพในโลกการลงทุนได้อย่างดี

    อีกหนึ่งจุดเด่นของ The Capital Group ที่น่าสนใจ
    ก็คือ ระบบการบริหารจัดการกองทุนที่เรียกว่า The Capital System
    ซึ่งเป็นรูปแบบบริหารกองทุนแบบผสมผสานระหว่างผู้จัดการกองทุน 7 คน
    ที่มีประสบการณ์การลงทุนสาขาต่าง ๆ ราว 30 ปีโดยเฉลี่ย มาทำงานร่วมกันอย่างเป็นอิสระ

    โดยยึดหลักเดียวกันคือ การคัดเลือกหุ้นรายตัว ที่มาจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานตามแนวคิดที่มั่นใจที่สุด (Highest-Conviction Ideas) ของผู้จัดการกองทุนคนนั้น ๆ

    ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ Capital Group New Perspective (LUX) กลายเป็นกองทุนที่มีโอกาสลงทุนหุ้นในตลาดโลก จากหลากหลายมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน นั่นเอง

    แล้วกองทุน KKP GNP มีความน่าสนใจอย่างไร ?

    เนื่องจาก Capital Group New Perspective (LUX) เป็นกองทุนหลักของ KKP GNP
    ที่มีกลยุทธ์ลงทุนเชิงรุกแบบ Active Management ที่จะสร้างผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ยตลาด

    ภายใต้แนวคิดการลงทุนแบบ Bottom Up
    หรือก็คือการค้นหาบริษัทที่มีโครงสร้างธุรกิจแข็งแกร่ง มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันในอุตสาหกรรม
    และมีโอกาสที่จะเป็นผู้ชนะในระยะยาว จากนั้นจึงมาวิเคราะห์ถึงปัจจัยมหภาคต่อไป

    โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การลงทุนในหุ้นที่จะเป็นผู้ชนะในระยะยาว

    ดังนั้น หากเราลงทุนในกองทุน KKP GNP ก็เท่ากับว่า เรากำลังลงทุนในหุ้นที่จะมีโอกาสเป็นผู้ชนะระยะยาว
    ตามการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนระดับโลก นั่นเอง

    ซึ่งหนึ่งธุรกิจที่กำลังเติบโต และถูกจับตามองไม่น้อยในช่วงเวลานี้
    ก็คือ ธุรกิจเทคโนโลยี ที่กำลังได้รับประโยชน์จากสถานการณ์โควิด 19 และยังมีแนวโน้มเติบโตระยะยาว
    เราจึงเห็น 3 ธุรกิจที่มีสัดส่วนลงทุนสูงสุดในพอร์ตลงทุน (ณ 31 สิงหาคม 2564) คือ
    - Tesla Inc สัดส่วน 5.3%
    - Microsoft สัดส่วน 3.6%
    - Facebook สัดส่วน 3.2%

    นอกจากหุ้น 3 ธุรกิจเทคโนโลยีชั้นนำนี้แล้ว
    ก็ยังมีหุ้นกลุ่มธุรกิจน่าสนใจอื่น ๆ เกือบ 300 ตัวในพอร์ตลงทุน
    เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงการลงทุนให้เหมาะสมตามแต่สถานการณ์ อีกด้วย

    มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า การลงทุนหุ้นต่างประเทศที่ดูจะเป็นเรื่องยากในช่วงเวลานี้
    ก็สามารถเป็นเรื่องง่าย ๆ ได้เพียงลงทุนในกองทุน KKP GNP ที่มีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมาคอยคัดเลือกหุ้นทั่วโลกที่มีโอกาสจะเป็นผู้ชนะระยะยาว และคอยบริหารพอร์ตลงทุนให้กับเรา นั่นเอง

    สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนหุ้นต่างประเทศด้วยกองทุน KKP GNP สามารถขอรับหนังสือชี้ชวนและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 0 2305 9559 หรือ ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขา หรือ https://am.kkpfg.com หรือ ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอื่นที่ได้รับการแต่งตั้ง

    หมายเหตุ: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน / ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต / เนื่องจากกองทุนมีการลงทุนในต่างประเทศ กองทุนอาจมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม รวมถึงความเสี่ยงที่เกิดจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศที่กองทุนไปลงทุนด้วย / กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / โปรดศึกษาคำเตือนที่สำคัญอื่นได้ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม

  • feeder 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文

    2021-08-23 18:00:14
    有 4,553 人按讚

    สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง “กางกลยุทธ์ พิชิตหุ้นสหรัฐฯ”
    BBLAM x ลงทุนแมน
    ช่วงเวลาที่ผ่านมา คงไม่มีตลาดหุ้นไหนสามารถทำผลงานได้โดดเด่น อย่างตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
    ที่ทำให้นักลงทุนสัมผัสได้ถึงความร้อนแรง จนเกิดคำถามว่า หลังจากนี้ โอกาสของหุ้นสหรัฐอเมริกาจะเป็นอย่างไร ?

    เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา ลงทุนแมน ร่วมพูดคุยกับ 2 ผู้เชี่ยวชาญจากกองทุนบัวหลวง
    คือ คุณพูนสิน เพ่งสมบูรณ์ AVP, Portfolio Solutions
    และ คุณนวรัตน์ เจียมกิจรุ่ง SVP, Product Development
    ถึงประเด็นสำคัญในการลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลานี้

    เรื่องราวสำคัญที่นักลงทุนควรรู้ จะมีอะไรบ้างนั้น ?
    ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟังเป็นข้อ ๆ แบบเข้าใจง่าย

    1. ภาพรวมของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ?

    ความร้อนแรงของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ผ่านมา เป็นผลมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ
    - นโยบายการเงินการคลัง ที่สามารถส่งต่อไปยังภาคธุรกิจ และภาคการบริโภคได้จริง
    - การกลับมาของภาคธุรกิจ ทั้งจากกลุ่มธุรกิจที่เติบโต และกลุ่มธุรกิจที่ฟื้นตัวจากปีก่อน

    ประเด็นที่ต้องจับตาต่อจากนี้คือ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกากำลังเข้าสู่ช่วง Mid Cycle ซึ่งแปลว่า เราอาจจะไม่ได้เห็นการปรับตัวขึ้นแรง ๆ ของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาเหมือนในช่วงที่ผ่านมา

    ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนจากนี้ไป จึงต้องมีการคัดเลือกหุ้นรายตัว รายกลุ่มอุตสาหกรรมให้มากขึ้น

    2. ความน่าสนใจของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา อยู่ที่ตรงไหน ?

    ย้อนกลับไปช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาพบปัญหาระหว่างทางมาโดยตลอด
    ไม่ว่าจะเป็น สงครามการค้ากับจีน หรือผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 ประกอบกับการเติบโตของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาที่เริ่มตั้งแต่ปี 2009 ก็ดูเหมือนจะจบรอบไปแล้วในปีที่ผ่านมา

    ถ้าดูตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ปี 2020 ออกมา -30% แต่ที่น่าสนใจก็คือ สหรัฐอเมริกาฟื้นตัวกลับมาได้ค่อนข้างเร็ว โดยเห็นได้จาก GDP ไตรมาส 3 ปี 2020 ปรับตัวขึ้นกลายเป็น +33%

    และถ้าหากสังเกตดัชนี S&P 500 ก็ยิ่งฟื้นตัวแรงไม่แพ้กัน
    โดยใช้เวลาฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด 19 แค่ 1 เดือนเท่านั้น และก็ยังทำ New High ต่อเนื่อง อย่างในปี 2021 นี้ก็ +20% จากต้นปีอีกด้วย

    ซึ่งต่างไปจากวิกฤติซับไพรม์ปี 2007 ที่ต้องใช้ระยะเวลาฟื้นตัวกว่า 18 เดือน แต่เมื่อฟื้นตัวกลับมาได้ ก็ไปต่อได้ดีเช่นกัน

    ดังนั้น จุดที่น่าสนใจของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา เมื่อสังเกตจาก 2 วิกฤติที่ผ่านมาก็คือ เมื่อสหรัฐอเมริกาประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจแล้ว มักจะกลับมาฟื้นตัวได้เร็ว และก็ดีกว่าเดิมเสมอ

    3. แล้วจุดขับเคลื่อนสำคัญ ที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาฟื้นตัวได้เร็ว คืออะไร ?

    ปัจจัยที่ 1 คือ อำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ผ่าน 2 เครื่องมือสำคัญ นั่นคือ

    - นโยบายทางการเงิน ที่จะช่วยให้ตลาดการเงินของสหรัฐอเมริกายังคงดำเนินต่อไปได้ โดยการซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ในตลาด เพื่อพยุงราคาไม่ให้ถูกเทขาย

    เช่น พันธบัตรรัฐบาล, Mortgage-Backed Securities (ตราสารทางการเงินที่มัดรวมสินเชื่อบ้านเข้าด้วยกัน โดยมีสถาบันการเงินเป็นคนกลางจับคู่ระหว่างผู้กู้ยืมและนักลงทุน), หุ้นกู้ในกลุ่ม Fallen Angels ที่ถูกปรับลดระดับเครดิตต่ำกว่า BBB (Non-Investment Grade)

    - นโยบายการคลัง ที่จะช่วยเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา

    เช่น การอัดฉีดเงินกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐไปให้ชาวอเมริกันที่ได้รับผลกระทบจากการว่างงาน
    เนื่องจากโครงสร้าง GDP สหรัฐอเมริกามาจากภาคการบริโภค 70%
    ดังนั้น หากชาวอเมริกันกลับมาบริโภคได้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็จะกลับคืนมาด้วย

    แต่ก็ต้องยอมรับว่า ทั้ง 2 นโยบายที่ว่านี้ คงจะมีแต่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น ที่สามารถทำได้
    หากเป็นประเทศอื่น ๆ เราคงเห็นปัญหาตามมาอีกมากมาย เช่น ประเทศไทยที่มีสัดส่วนการบริโภคแค่ 1 ใน 4 ถ้าหากเราอัดฉีดเม็ดเงินเช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาค่าเงินบาทอ่อนหรือปัญหาเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นแรง เป็นผลมาจากการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่มากเกินไป

    โดยเหตุผลที่สหรัฐอเมริกาสามารถทำเช่นนี้ได้ เพราะความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจโลกครองสัดส่วน 1 ใน 4 ของมูลค่า GDP โลก และเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ก็ยังเป็นเงินสกุลหลักของการค้าระหว่างประเทศ

    ปัจจัยที่ 2 คือ โครงสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งและหลากหลาย ส่งผลให้ภาพรวมฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

    หากสังเกตดัชนี S&P 500 จะพบว่า Market Cap. ของกลุ่มเทคโนโลยี 27% สูงเป็นอันดับที่ 1 ถัดมาจะเป็นกลุ่ม Health Care 13% และกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย 12% ล้วนเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโต

    ที่น่าสนใจคือ เทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราขึ้นเรื่อย ๆ เสมือนเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิตคนเรา และหลากหลายกลุ่มเทคโนโลยีอนาคตอย่าง Innovation, FinTech, Digital Advertising ยังมีส่วนสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการแข่งขันในอนาคตอีกด้วย

    นอกจากนี้ วิกฤติโควิด 19 ยังเป็นปัจจัยผลักดันการเติบโตของสินค้าเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เช่น การช็อปปิงออนไลน์, การดูวิดีโอสตรีมมิงแทนการเข้าโรงภาพยนตร์

    ขณะที่ภาคธุรกิจเอง ก็หันมาให้ความสนใจ Digital Advertising มากกว่าป้ายบิลบอร์ดเดิม ๆ ส่งผลให้ลดต้นทุน, ลดขั้นตอน Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

    ทั้งหมดนี้ จึงทำให้เชื่อว่า หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐอเมริกาจะยังเติบโตตามผลประกอบการต่อไปได้

    4. หลังจากการฟื้นตัว ก้าวต่อไปคือการเข้าสู่ Mid Cycle ?

    เมื่ออัตราการว่างงานลดลง ซึ่งคาดว่า 8-10 เดือนข้างหน้า ก็จะสามารถกลับเข้าสู่ระดับปกติก่อนเกิดวิกฤติโควิด 19 ได้ ขณะเดียวกัน Fed ก็เริ่มส่งสัญญาณถอนคันเร่งมาตรการกระตุ้น ด้านสวัสดิการว่างงานก็เริ่มลดลง สะท้อนได้ว่า สหรัฐอเมริกากำลังเข้าสู่ช่วง Mid Cycle

    ดังนั้น เราน่าจะไม่ได้เห็นสภาพคล่องท่วมตลาดเหมือนอย่างเคยอีกต่อไป
    กลยุทธ์การลงทุนในช่วง Mid Cycle จึงต้องเลือกลงทุนหุ้น Growth เช่น หุ้นเทคโนโลยี
    หรือลงทุนหุ้นที่จะได้รับผลประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ ในโครงการที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กำลังผลักดันอยู่ในขณะนี้ เช่น

    - American Rescue Plan วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นสวัสดิการชดเชยการว่างงาน
    - Infrastructure Bill วงเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศ
    - American Families Plan วงเงิน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมนุษย์
    - American Jobs Plan วงเงิน 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน, Health Care, อุตสาหกรรม EV, พลังงานสะอาด
    - U.S. Innovation and Competition Act วงเงิน 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแข่งขันกับจีน

    หากโครงการเหล่านี้ได้รับการอนุมัติทั้งหมด จะกลายเป็นเม็ดเงินพัฒนาเศรษฐกิจที่เยอะที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ที่จะช่วยพัฒนาประเทศระยะยาว 5-10 ปี เลยทีเดียว

    5. ตอนนี้ Master Fund ระดับโลก มองการลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาอย่างไร ?

    หลังจากที่กองทุนบัวหลวงได้พูดคุยกับผู้จัดการกองทุน J.P. Morgan หนึ่งใน Master Fund ระดับโลก
    พบว่า หากเป็นการลงทุนระยะกลาง J.P. Morgan กำลังพุ่งเป้าไปที่กลุ่มธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจหลังจากผ่านวิกฤติโควิด 19 เช่น

    - กลุ่มธุรกิจ Reopening ที่เชื่อว่าจะกลับมาฟื้นตัว และได้รับประโยชน์จากความต้องการซื้อที่อัดอั้นมาจากวิกฤติโควิด 19 เช่น การจองโรงแรม, การเช่ารถ, ร้านอาหาร

    - กลุ่ม Health Care ทั้งในแง่ของการรับมือกับโควิด 19, การพัฒนาวัคซีน, การวิจัยเชื้อกลายพันธุ์ และพฤติกรรมพร้อมจ่ายของคนเราเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง จึงมองว่ากลุ่มยา และกลุ่ม Biotech ยังเติบโตได้ดี

    - กลุ่มพลังงานสะอาด จากการผลักดันนโยบาย EU Green Deal ขณะที่ต้นทุนของพลังงานลม และพลังงานโซลาร์เซลล์ ที่ถูกลงมากเมื่อเทียบกับพลังงานดั้งเดิม รวมทั้งกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์กักเก็บพลังงานก็น่าสนใจ

    ขณะเดียวกัน หากเป็นการลงทุนระยะยาว J.P. Morgan กำลังจับตากลุ่มธุรกิจที่สอดรับกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า

    ซึ่งนอกจาก 3 กลุ่มข้างต้นแล้ว ก็ยังมีกลุ่มเครื่องจักรอัตโนมัติ หรือกลุ่ม Smart ต่าง ๆ เช่น Smart Home, Smart TV ที่กำลังเติบโตตามโลกอนาคต อีกด้วย

    6. กลยุทธ์การลงทุนหุ้น Growth ในช่วงเวลานี้ ?

    กลยุทธ์การวิเคราะห์ลงทุนหุ้น Growth ของ J.P. Morgan จะออกเป็น 2 รูปแบบ นั่นคือ

    - รูปแบบ Bottom Up คือการวิเคราะห์หุ้นรายตัวเป็นหลัก
    - รูปแบบ Micro Focus คือการวิเคราะห์ลงรายละเอียดเล็ก ๆ เพราะเชื่อว่าจุดเล็ก ๆ จะนำไปสู่ความแตกต่างจากบริษัทอื่นอย่างมีนัยสำคัญได้ เช่น Facebook ที่กำลังได้รับประโยชน์จากโฆษณาออนไลน์อย่างต่อเนื่อง

    เป้าหมายคือ การค้นหาหุ้นสหรัฐอเมริกาที่กำลังเติบโตมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ภายใต้ 3 ลักษณะสำคัญคือ

    - ธุรกิจที่มีผลต่อการบริโภค หรือการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป
    - ธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว มีกำไรที่แข็งแกร่ง
    - ธุรกิจที่มีการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น (Momentum) ทิศทางเชิงบวก ดังนั้นต้องรู้จักทำใจให้นิ่งเพื่อรอจังหวะ Momentum ที่ดีได้

    อีกหนึ่งกลยุทธ์การลงทุนที่สำคัญก็คือ การปรับพอร์ตลงทุนอยู่เสมอ โดยจะลดน้ำหนักหุ้นที่มีราคาปรับตัวขึ้นมานานหลายปี และตลาดรับรู้ข่าวทั้งหมดแล้ว

    เช่น กลุ่มเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง Microsoft, Apple ถูกลดสัดส่วนตั้งแต่ปีที่แล้ว เพื่อนำเงินไปลงทุนหุ้นที่จะเป็น “Big Winner” ตัวต่อไป แต่ก็ไม่ได้ขายหมดทั้งพอร์ต เพราะยังมองว่าเป็นธุรกิจที่ดีระยะยาว

    นอกจากนี้ ด้วยความเป็นกองทุนแบบ Active ของ J.P. Morgan ยังมองเห็น 2 กลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจคือ

    - กลุ่มการเงิน โดยจะลงทุนทั้งสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น และกลุ่ม Online Payment

    - กลุ่มเทคโนโลยี 5G และ EV โดยที่มองลงลึกไปถึง “ทองแดง” ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของกลุ่มเทคโนโลยี จึงเข้าไปลงทุนบริษัท Freeport-McMoRan หนึ่งในธุรกิจเหมืองแร่ทองแดงที่ใหญ่ที่สุดในโลก

    7. ตัวอย่างธุรกิจที่เข้าข่ายหุ้น Growth ที่น่าสนใจ ?

    ธุรกิจในกลุ่ม Digital Advertising เช่น Snap Inc. เจ้าของแอปพลิเคชัน Snapchat ที่มียอดผู้ใช้งานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

    นอกจากนี้ยังมีการขยายฐานผู้ใช้งานไปยังประเทศอินเดีย ทำให้มีโอกาสเติบโตในเรื่องของเม็ดเงินโฆษณาได้อีกมาก ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา รายได้ของ Snapchat ก็เติบโตเฉลี่ยปีละ 46%

    ธุรกิจในกลุ่มต่อมาก็คือ Online Payment เช่น PayPal ที่ได้ประโยชน์จากการใช้ชีวิตในยุค New Normal และตอบโจทย์ในการชำระเงินยุคใหม่

    ซึ่งจากผลการดำเนินงานในไตรมาสล่าสุด PayPal มีจำนวนบัญชี Active User เติบโต 16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่จำนวนธุรกรรมเติบโต 40% จากปีก่อนหน้า

    ธุรกิจในกลุ่มสุดท้ายก็คือ ธุรกิจนอกกลุ่มเทคโนโลยี เช่น John Deere ผู้ผลิตและจำหน่ายรถแทรกเตอร์ อุปกรณ์การเกษตรที่นำเทคโนโลยีมาใช้กับการเกษตร ตอบโจทย์การเกษตรสมัยใหม่และเทรนด์ความยั่งยืน
    หากสหรัฐอเมริกามีการเก็บภาษีจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็จะเป็นประโยชน์โดยตรงกับ John Deere

    ซึ่งหุ้น 3 ตัวนี้ ก็เป็นหุ้นที่ J.P. Morgan ลงทุนเป็น Top Holding อีกด้วย

    8. ตอนนี้หุ้น Growth แพงไปหรือยัง ?

    ในมุมมองของกองทุนบัวหลวง คิดว่าหุ้น Growth ยังไม่แพงเกินไป ถึงแม้ว่าจะผ่านช่วงสูงสุดไปแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสเติบโตได้อยู่

    โดยหากมาดูในส่วนของค่ากลางของ P/E Ratio S&P 500 พบว่า อยู่ที่ 20 เท่า สะท้อนให้เห็นว่า ยังมีโอกาสที่เรายังสามารถหาหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตในราคาที่สมเหตุสมผลได้อยู่

    และที่ผ่านมาดัชนี S&P 500 ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ P/E ทยอยปรับลดลง ซึ่งมีสาเหตุมาจากกำไรของบริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว

    โดยในปี 2021 มีการคาดการณ์ว่ากำไรของบริษัทใน S&P 500 จะโต 60% ในขณะที่ในปี 2022 S&P มีการคาดการณ์ว่ากำไรจะโตต่ออีก 15% จากปี 2021
    จากตรงนี้ก็จะเห็นได้ว่า ยังมีอีกหลายธุรกิจที่ผลการดำเนินงานยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อยู่

    9. ผลตอบแทนการลงทุน ด้วยกลยุทธ์แบบ J.P. Morgan เป็นอย่างไร ?

    จากกลยุทธ์ Active Management ที่เน้น Micro Focus ทำให้กองทุน JPM US Growth ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกา มีผลการดำเนินงานที่ค่อนข้างดีมาอย่างต่อเนื่อง

    หากเรามาดูผลการดำเนินงานของกองทุน JPM US Growth จะพบว่า ถ้าดูย้อนหลังไป 3 ปี เฉลี่ยต่อปีแล้ว ผลตอบแทนจะเท่ากับ 27% สูงกว่าเมื่อเทียบกับ Benchmark ที่เป็น Russell 1000 ที่เน้นเฉพาะหุ้นเติบโต ซึ่งถ้าย้อนหลัง 5 ปี ผลการดำเนินงานก็ดีกว่าเช่นกัน

    เมื่อมาดูการจัดอันดับของ Morningstar พบว่ากองทุน JPM US Growth อยู่ใน First Quartile คือเป็นหนึ่งในกองทุนที่ทำผลการดำเนินงานได้ดีอยู่ในเกณฑ์ดีที่สุดในกลุ่มอีกด้วย

    หากมาดูด้าน Valuation ของกองทุน JPM US Growth จะเห็นว่า กองทุนนี้มี P/E Ratio ที่ต่ำกว่า Benchmark แต่มีอัตราการเติบโตของกำไร (%EPS Growth) สูงกว่า Benchmark และ S&P 500

    10. เราจะลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาในรูปแบบกองทุน ได้อย่างไร ?

    กองทุน B-USALPHA เป็นกองทุน Feeder Fund ที่ลงทุนในกองทุนหลัก คือ JP Morgan US Growth Fund ไม่ต่ำกว่า 80%

    ซึ่ง JP Morgan US Growth Fund เป็นกองทุนแนว Active Management เน้นลงทุนในหุ้นที่เติบโตสูงกว่าที่ตลาดมองไว้

    และในส่วนที่เหลือผู้จัดการกองทุนของบัวหลวง ก็อาจลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกาที่น่าสนใจเป็นรายตัว
    ซึ่งน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีระยะยาวได้ เหมือนที่ทำกับ B-FUTURE และ B-CHINE-EQ

    กองทุนนี้ ยังมีนโยบายการจ่ายเงินปันผล เพราะปัจจุบันอยู่ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ
    ผู้ลงทุนส่วนใหญ่จึงหันมาหาสินทรัพย์เสี่ยง หรือหุ้น กันมากขึ้น การจ่ายเงินปันผลจะช่วยให้ผู้ลงทุนมีเงินระหว่างทาง ไม่ต้องคอยดูจังหวะการขายทำกำไร และสามารถลงทุนได้นานขึ้น

    11. สุดท้ายแล้ว แนวทางของกองทุน B-USALPHA จะช่วยบริหารพอร์ตการลงทุนภาพรวมของคุณได้อย่างไร ?

    ในมุมมองการจัดพอร์ตลงทุน การกระจายสินทรัพย์เสี่ยงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
    ในมุมมองของกองทุนบัวหลวงคือ การจัดพอร์ตให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยง ทั้งในส่วนสินทรัพย์เสี่ยงต่ำและเสี่ยงสูง

    ในส่วนสินทรัพย์เสี่ยงสูงที่เป็นหุ้นทั่วโลก ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การเอามาเป็นแกนหลักของพอร์ต (Core Port) กับเอาเป็นตัวเร่งในแต่ละธีม (Thematic) โดยส่วนที่เป็นแกนหลัก ควรที่จะให้มีการกระจายหลายประเทศ และหลายกลุ่มอุตสาหกรรม

    แล้วควรลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกาเท่าไร ? หากอ้างอิงจาก MSCI Index มีสัดส่วนบริษัทในสหรัฐอเมริกา กว่า 58% อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับความชอบ ความเสี่ยงที่รับได้ และความเข้าใจของแต่ละคนด้วย

    เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ที่พัฒนาแล้ว มีผลการดำเนินงานดีที่สุดใน 10 ปีที่ผ่านมา คือปีละ 14% และมีความผันผวนต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ

    สรุปได้ว่า การลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นของต้องมีในพอร์ต และกลยุทธ์การลงทุนแบบ Active ในหุ้นเติบโต ย่อมมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย นั่นเอง..

你可能也想看看

搜尋相關網站