[爆卦]FBL PTT是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇FBL PTT鄉民發文沒有被收入到精華區:在FBL PTT這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 fbl產品中有95篇Facebook貼文,粉絲數超過27萬的網紅อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์,也在其Facebook貼文中提到, "อย่ากลัวลูกสาว เล่นอะไรแผลงๆ ครับ" ได้ดู TED Talk ตอนนี้ (ดูลิงค์ด้านล่าง) แล้วรู้สึกประทับใจมาก โดยเฉพาะในฐานะคนที่เป็นพ่อของลูกสาว (#น้องพรีส) .. ...

 同時也有6部Youtube影片,追蹤數超過657萬的網紅The Inner Studio,也在其Youtube影片中提到,CHOREOGRAPHY by Arnon Fbl D Crew (ออกแบบท่าเต้นโดย Arnon Fbl D Crew) ? เรียนเต้นออนไลน์ได้ที่: https://www.theinner.Studio ▶ รับสมัครผู้สอนเต้น: htt...

fbl 在 かほにゃん Instagram 的精選貼文

2021-09-03 16:49:58

有意義な時間❁𖥧ܾ☼ わたし自身、 芸術的な才能やセンスは ひとかけらもないけど...😂苦笑 昔から博物館や美術館が好き。 自分の世界が広がるというか、 作品を見ることで いろんな人の生き方に触れられるのが好き😌 上手く言葉にできないけど、 こんな表現方法もあるんだとか。 たくさん得るものが...

  • fbl 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最讚貼文

    2021-09-19 13:08:47
    有 1,478 人按讚

    "อย่ากลัวลูกสาว เล่นอะไรแผลงๆ ครับ"

    ได้ดู TED Talk ตอนนี้ (ดูลิงค์ด้านล่าง) แล้วรู้สึกประทับใจมาก โดยเฉพาะในฐานะคนที่เป็นพ่อของลูกสาว (#น้องพรีส) .. เลยอยากจะเอามาแชร์ให้ได้ดูกันนะครับ ว่าการที่เราเลี้ยงลูกสาวเราตั้งแต่เด็ก ให้โตมาแบบ "หญิงๆ" มากเกินไป อาจจะเป็นผลเสียต่อทัศนคติและความมั่นใจของเขาในอนาคตครับ

    แคโรลีน พอล Caroline Paul นักดับเพลิง ที่กลายมาเป็นนักเขียนระดับเบสต์เซลเลอร์ จากหนังสือ "The Gutsy Girl: Escapades for Your Life of Epic Adventure" ได้พูดไว้ในงาน TEDWomen 2016 เพื่อปฏิวัติแนวทางที่เราจะเลี้ยงลูกสาว ให้เล่นกิจกรรมที่เสี่ยงๆ แผลงๆ และจะได้โตขึ้นมาเป็นสตรีที่กล้าหาญ

    ขอแปล แบบสรุปๆ ดังนี้

    - เรากำลังเลี้ยงดูลูกสาว ให้กลายเป็นคนขี้อายและทำอะไรๆ ไม่ได้ ตั้งแต่ที่เราเริ่มเตือนพวกเธอไม่ให้ทำกิจกรรมเสี่ยงๆ

    - ถ้ามีเสานักดับเพลิง (firefighter pole) ในสนามเด็กเล่น เด็กผู้หญิงมักจะถูกพ่อแม่เตือนไม่ให้ปีนเล่น แต่เด็กผู้ชายกลับถูกกระตุ้นให้ปีน

    - เหมือนกันเราส่งสัญญาณให้เด็กๆ ว่า เด็กผู้หญิงนั้นเปราะบางและต้องการความช่วยเหลือ ส่วนเด็กผู้ชายนั้น กลับควรจะต้องสามารถทำสิ่งยากๆ ได้ด้วยตนเอง

    - แต่ความจริงแล้ว ตอนเราเด็กๆ นั้น ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายมีความสามารถทางกายภาพพอๆ กัน แถมเด็กผู้หญิงจะมีมากกว่าด้วยซ้ำ จนกว่าจะเข้าช่วงวัยรุ่น

    - ประสบการณ์และความกลัวที่เรียนรู้ตั้งแต่เด็กนี้ จะฝังใจไปจนโต และกลายไปเป็นนิสัยหลายๆ อย่าง เช่น กลัวที่จะแสดงออก กลัวที่จะพูดออกมา และขาดความมั่นใจในการตัดสินใจ

    - แล้วผู้หญิงจะกล้าหาญได้อย่างไร ? ข่าวดีคือ ความกล้าหาญนั้น เรียนรู้ได้ และต้องฝึกฝน

    1. พ่อแม่ต้องยุให้ลูกสาวเล่นอะไรแผลงๆ อย่างสเก็ตบอร์ด ปีนต้นไม้ เล่นเสาดับเพลิงในสนามเด็กเล่น ฯลฯ

    - ผลการวิจัยบอกว่า การฝึกเล่นอะไรเสี่ยงๆ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กทุกคน เพราะมันช่วยสอนให้เด็กรู้จักประเมินอันตราย ให้ความสนุก ฝึกความยืดหยุ่นร่างกาย สอนให้เกิดความมั่นใจ

    2. พ่อแม่ต้องเลิกเตือนลูกสาวให้กลัวนั่นกลัวนี่ หรือห้ามทำโน่นทำนี่ เพราะมันจะเจ็บตัว จะอันตราย

    - ระวังที่จะพูดเตือน เพราะยิ่งคุณพูดเช่นนั้น มันยิ่งเป็นการย้ำให้ลูกคิดว่า เธอไม่ควรจะมีความพยายาม เธอนั้นเก่งไม่พอ เธอควรจะกลัว ฯลฯ

    3. ผู้ใหญ่เอง ก็ควรสอนตัวเองให้มีความกล้าหาญมากขึ้นด้วย เพราะแม่เองก็ไม่อาจจะสอนลูกสาวให้กล้าได้ ถ้าตัวเองยังไม่กล้าพอ

    - ผู้หญิงควรเริ่มฝึกสร้างความกล้า ตั้งแต่ที่บ้าน ที่ทำงาน ลองเข้าไปทักทายคนที่คุณรู้สึกประทับใจ

    ดังนั้น คราวหน้า เมื่อลูกสาวของเรากลัวจนไม่กล้าทำอะไร ตัวอย่างเช่น ขี่จักรยานลงเนินที่เธอคิดว่ามันชันมาก จงให้กำลังใจและให้ลองเรียนรู้ดูจากประสบการณ์ ว่าเนินมันชันจริงมั้ย จากที่ได้กล้าลองแล้ว ไม่ใช่จากความกลัว

    การกล้าขี่จักรยานครั้งนั้น จะไม่ใช่แต่การเอาชนะเนินชัน แต่จะนำทางไปสู่อนาคตของเธอ ที่จะมีเครื่องมือติดไป ในการประเมินอันตรายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น และเราพ่อแม่ไม่อาจตามไปป้องกันได้ตลอดชีวิต

    (จาก https://www.facebook.com/29092950651/posts/10165715990015652/?app=fbl)

    "Bravery is learned, and like anything learned, it just needs to be practiced."

    ดูคลิปฉบับเต็มได้ที่ http://t.ted.com/FNGjUuh

  • fbl 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最讚貼文

    2021-09-09 20:23:54
    有 132 人按讚

    เมื่อวาน แชร์แถลงการณ์ของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องแนวทางในการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ให้กับเด็ก ที่แนะนำให้ฉีดวัคซีนให้เด็กอายุตั้งแต่ 16 ถึง 18 ปี "ทุกคน" (ด้วยวัคซีนที่ผ่านการรับรองจาก อย. แล้วตอนนี้ คือของ บ. ไฟเซอร์ ) , ส่วนเด็กอายุ 12 ถึง 16 ปีนั้น ให้ฉีดเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสุขภาพสูง , ส่วนกลุ่มที่สุขภาพแข็งแรงดี และกลุ่มที่อายุน้อยกว่า 12 ปีนั้น ให้รอผลการศึกษาวิจัยก่อน (ดู https://www.facebook.com/100003619303769/posts/2270816689715619/?app=fbl)

    วันนี้ก็มีข้อมูลจากคุณหมอสมศักดิ์ (ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ สมศักดิ์ โล่ห์เลขา) ประธานราชวิทยาลัยฯ มาเพิ่มเติม ขอเอามาสรุปให้ฟังกันนะครับ

    - จำนวนเด็กที่ป่วยจากโควิด มี 1.4 แสนคน (14% ของผู้ติดเชื้อ) โดยติดเชื้อจากที่บ้าน เพราะโรงเรียนยังไม่ได้เปิด

    -แต่เด็กที่ป่วยแล้วเสียชีวิต มีเพียง 20 คน เป็นเด็กที่มีโรคประจำตัวมาก่อนแล้ว

    - โดยกลุ่มเด็กที่ติดเชื้อสูงสุดคือ 12-18 ปี (38%) รองลงมาคือ 6-12 ปี (32%) และ ต่ำกว่า 6 ปี (5%)

    - เด็กที่อายุ 6-12 ปี ยังไม่พบการเสียชีวิต และที่เด็กเสียชีวิตน้อยกว่าผู้ใหญ่ เพราะมีภูมิคุ้มกันต่อสู้กับเชื้อโควิด ดีกว่าผู้ใหญ่

    - ที่เด็ก ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเพราะไม่มีวัคซีนสำหรับเด็ก

    - การฉีดวัคซีนให้เด็ก ต้องรอบคอบ เด็กไม่ใช่ "ผู้ใหญ่ตัวเล็ก" ที่จะบอกว่าผู้ใหญ่ฉีดได้ เด็กก็ฉีดได้เหมือนกัน เพราะการตอบสนองและภูมิคุ้มกันไม่เหมือนกัน

    - ในอนาคต น่าจะมีวัคซีนที่ปลอดภัย แต่ตอนนี้ยังเป็นแค่การใช้ฉุกเฉิน (อาจมีวัคซีนที่ปลอดภัยกว่าปัจจุบัน ออกมาต้นปีหน้านี้)

    - วัคซีนที่ขึ้นทะเบียนใช้กับเด็กได้มีตัวเดียว คือ ไฟเซอร์ สำหรับอายุ 12 ปี ขึ้นไป

    - อเมริกา ทดสอบฉีดไป 3 พันคนไม่มีปัญหา แต่พอฉีดเป็นแสนคน พบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลายคน ทำให้ไทยเราต้องรอก่อน

    - ไทยเริ่มฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้เด็กอายุเกิน 12 ปี กลุ่มเสี่ยงก่อน เช่น เด็กที่มีอาการทางสมอง หัวใจ เบาหวาน อ้วน (หลายประเทศ ไม่ฉีดเด็กที่ไม่มีความเสี่ยง)

    - ไทยควรฉีดผู้ใหญ่ให้ครบทุกคนก่อน เพราะอัตราการเสียชีวิตของผู้ใหญ่ สูงกว่าเด็ก 100 เท่า และถึงแม้จะฉีดวัคซีนแล้ว ก็ยังต้องใส่หน้ากาก

    - สำหรับการเปิดโรงเรียน : ประเทศญี่ปุ่น แม้จะล็อกดาวน์ทั้งหมด แต่ก็ยกเว้นโรงเรียนไว้ / สิงคโปร์ และอเมริกา ก็เปิดเรียน

    - การที่เด็กไม่ไปโรงเรียน เป็นเรื่องเสียหายมาก ทั้งการเรียนรู้ การออกกำลังกาย และการเข้าสังคม และสุดท้าย สร้างปัญหาเด็กลาออกจากโรงเรียน สร้างความเหลื่อมล้ำมาก

    - สิ่งที่ต้องดำเนินการ คือ การหามาตรการรับมือเปิดเทอมโดยแนวการป้องกันคือ

    1) ฉีดวัคซีนให้ครูและคนในบ้าน เพราะหากผู้ใหญ่ไม่ติดเชื้อ เด็กก็ไม่ติดเชื้อ

    2) เน้นการใส่หน้ากากทั้งที่บ้าน และโรงเรียน รวมทั้งการเว้นระยะห่าง ล้างมือ

    3) ใครป่วยหรือมีประวัติสัมผัสต้องหยุดอยู่บ้าน ทำความสะอาดห้อง

    4) ควรมีการตรวจเด็กเป็นระยะ ในช่วงที่มีระบาดหนัก / ส่วนที่ไม่ระบาดหนัก อาจตรวจเฉพาะคนที่มีอาการ

    5) ไม่จำเป็นต้องใช้สูตรเดียวทั้งประเทศ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ เช่น นักเรียนติดคนเดียว ก็ไม่จำเป็นต้องปิดทั้งโรงเรียน ซึ่งจะสร้างความเสียหายมาก อาจะให้หยุดเรียนเฉพาะเด็กคนอื่น ที่สัมผัสเด็กที่ติดเชื้ออย่างใกล้ชิด

    - โรงเรียนควรเป็นที่ที่ปิดหลังสุด แต่กลับถูกปิดก่อน เพราะไปคิดเหมือนไข้หวัดใหญ่ ทั้งที่ปัญหาไม่เหมือนกัน

    - น่าเป็นห่วงเด็ก ที่ต้องหยุดในช่วงนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่สมอง กำลังพัฒนา

    - พบว่าเด็กติดเกมเยอะมากช่วงนี้ ถ้าไม่ดูให้ดีก็จะเป็นปัญหา

    - จำเป็นต้องมาช่วยกันให้เด็กได้รับการศึกษาที่ดี

    - องค์การอนามัยโลก บอกว่ามีปัญหาเรื่อง เด็กอ้วนเตี้ย ซึ่งมาจากไม่ได้ออกกำลังกาย อยู่แต่หน้าจอ

    - จะเกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามหาศาล เช่น อินเดีย มีคนที่ไม่ได้เรียน สุดท้าย เด็กก็ออกไปหางานเลี้ยงชีพ อนาคตก็แย่หมดไม่มีความรู้ ต้องหาทางแก้ไขปัญหาที่จะตามมา

    ------
    จากนี้ยังมีความเห็นของอาจารย์สมพงษ์ (ศาสตราจารย์ สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) กล่าวว่า

    - นโยบายที่เตรียมการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 4 ล้านโดส ให้เด็ก 12-18 ปี ถือว่ามาถูกทาง เพราะว่าเดือนพฤศจิกายนโรงเรียนจะเปิดอีกครั้ง

    - เด็กกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง กลุ่มยากจน กลุ่มที่อยู่ในชุมชน ควรได้รับการฉีดวัคซีนเป็นกลุ่มแรกๆ เพราะตอนนี้ติดเชื้อจำนวนมาก

    - ขณะนี้ ครู 45% ฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว แต่จะทำถึง 70% ก่อนเปิดเทอมเดือนพฤศจิกายนได้ทันหรือไม่

    - หากเด็กไปโรงเรียนแล้วมีการติดเชื้อเกิดขึ้น ควรเตรียมสถานที่พักคอย ดูแล บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

    - ไม่ใช่ว่าพบเด็กติดเชื้อ คนสองคน แล้วสั่งปิดโรงเรียนทันที

    - การมีสถานที่พักคอย จะทำให้แยกเด็กออกจากกันและทำให้เด็กส่วนใหญ่ก็ยังเรียนได้ปกติ

    - การจ้างงานพ่อแม่ การมีอาสาสมัครไปช่วยเยียวยา จะทำให้เด็กฟื้นตัวดีขึ้น

    - จากการปิดเรียน เด็กต้องอยู่ในชุมชนแออัด ทำให้เกิดความเครียดสะสมแบบ 3 เส้า ทั้งเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครอง และ ครู

    - ความเครียดที่เด็กต้องเรียนรู้ใบงานมากมาย อยู่หน้าจอวันละ 7-8 ชม. ที่เด็กเอือมระอา

    - เมื่อเปิดเทอม มีทั้งเด็กกำพร้า เด็กยากจนด้อยโอกาส และเด็กปกติที่เรียนด้วยกัน ครูจะมีวิธีการจัดการแนะแนวอย่างไร เยี่ยมบ้านเด็กอย่างไร

    - หากไปเจอเด็กที่มีภาวะซึมเศร้า เกิดการสูญเสีย จะประสานหน่วยงานไหนไปช่วยดูแล

  • fbl 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳解答

    2021-09-08 22:19:58
    有 2,421 人按讚

    "ยุงก็มี(สารคล้าย)เลือดครับ แต่แตกต่างจากเลือดของคนเรา"

    มีคนส่งคำถามจากเพจ สัตว์โลกอมตีน มาให้ตอบหน่อยว่า "ยุงไม่มีเลือดเหรอ ทำไมต้องมากินเลือดคน ?" .. คำตอบคือ "มี" ครับ แต่เป็นสารที่เรียกว่า ฮีโมลีมฟ์ (hemolymph) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายเลือดของคนเรา

    ฮีโมลีมฟ์ นั้นพบในสัตว์กลุ่มอาร์โทรปอด (arthropod) ซึ่งรวมถึงแมลงทั้งหมด มีองค์ประกอบเป็นน้ำ ผสมด้วยไอออนต่างๆ สารรงควัตถุ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน กรีเซอรอล กรดอะมิโน และฮอร์โมน

    ฮีโมลีมฟ์ มีหน้าที่เหมือนเลือดของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คือ นำส่งสารอาหารและของเสียในร่างกาย

    แต่มันไม่ได้มีสีแดงเหมือนเลือดคน จะออกใสๆ ไม่มีสี หรือออกเหลือง (ตามรงควัตถุของสิ่งที่มันกินแล้วย่อยเข้าไป)

    ส่วนที่เลือดเราเป็นสีแดง เพราะมีเม็ดเลือดแดงที่มีสารฮีโมโกลบิน คอยจับออกซิเจนไว้นำส่งไปทั่วร่างกาย ... แต่ฮีโมลีมฟ์ ไม่ได้นำส่งออกซิเจน เพราะร่างกายของแมลงใช้ท่อเทรเคียล (tracheal tube) ที่กระจายอยู่ทั่วตัว ในการหายใจ

    ส่วนที่ถามว่า แล้วทำไมยุงถึงดูดเลือดคนและสัตว์อื่น ? (ทั้งที่มันก็มีสารคล้ายเลือดอยู่แล้ว) คำตอบคือ เฉพาะยุงตัวเมียเท่านั้น ที่กัดดูดเลือด เพื่อเอาโปรตีนและธาตุเหล็กในเลือด ไปใช้ในการสร้างไข่ยุง ซึ่งมันจะดูดเลือดไปได้ประมาณ 3 มิลลิกรัมต่อครั้ง (ชีวิตปรกติของทั้งยุงตัวผู้และตัวเมีย คือจะกินน้ำหวานจากดอกไม้เป็นอาหาร)

    ปล. มีบางคนสงสัยว่า ทำไมเวลายุงกัดแล้วถึงรู้สึกคัน ? ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ เมื่อยุงดูดเลือด จะปล่อยน้ำลายซึ่งมีโปรตีนบางอย่างออกมาด้วย ทำให้ผิวหนังของเรา หลั่งสารฮิสตามีน (histamine) ออกมา ซึ่งจะไปกระตุ้นประสาทให้ส่งสัญญาณไปที่สมอง ทำให้เกิดอาการคันขึ้นที่รอยกัด

    ภาพจาก https://www.facebook.com/236785626505504/posts/1887890208061696/?app=fbl

    ข้อมูลจาก https://www.terminix.com/blog/science-nature/do-mosquitoes-have-blood/

你可能也想看看

搜尋相關網站