[爆卦]Determinism คือ是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇Determinism คือ鄉民發文沒有被收入到精華區:在Determinism คือ這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 determinism產品中有18篇Facebook貼文,粉絲數超過124萬的網紅หนังโปรดของข้าพเจ้า,也在其Facebook貼文中提到, Devs (สามารถดูได้ใน Disney+ Hotstar) • ซีรีส์แนว Hard Sci-fi ไม่ได้มีมาบ่อย ๆ แค่เห็นชื่อ อเล็กซ์ การ์แลนด์ คนเขียนบทและกำกับ Ex Machina, Annihilatio...

 同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過173的網紅電扶梯走左邊 Jacky,也在其Youtube影片中提到,✨本集來賓:Audrey Liu 😇 IG: https://www.instagram.com/audreyliugulu FB: https://www.facebook.com/liu.audrey.96 Linkedin: https://www.linkedin.com/in/audrey...

  • determinism 在 หนังโปรดของข้าพเจ้า Facebook 的精選貼文

    2021-09-16 12:30:07
    有 759 人按讚

    Devs (สามารถดูได้ใน Disney+ Hotstar)

    • ซีรีส์แนว Hard Sci-fi ไม่ได้มีมาบ่อย ๆ แค่เห็นชื่อ อเล็กซ์ การ์แลนด์ คนเขียนบทและกำกับ Ex Machina, Annihilation ก็ไว้ใจได้
    • ทั้ง Ex Machina และ Devs มีจุดร่วมคล้ายกันคือการสวมบทเป็นพระเจ้าผ่านจักรกล เรื่องแรกต้องการพิสูจน์ความเป็นปัญญาประดิษฐ์ ส่วนเรื่องหลังพิสูจน์ว่าโลกดำรงอยู่ด้วยเหตุวิสัย (Determinism) เหตุของการกระทำถูกกำหนดด้วยผลที่เกิดขึ้นก่อนหน้า
    • แค่เปิด EP. แรกมาก็จูนติดทันที ซีรีส์เริ่มต้นด้วยการทดลองทำนายการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจากระบบประสาท ซึ่งสามารถคาดเดาล่วงหน้าได้เป็น 10 วินาที มีความแม่นยำเกือบจะ 100% แล้วถ้าเรามีควอนตัมคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีที่ประมวลผลได้ดีกว่านี้ มันก็น่าเชื่อว่าจะคาดเดามนุษย์ได้
    • ต้องยอมรับว่าซีรีส์เนือยมาก แต่ละตอนเนื้อเรื่องเดินหน้าน้อยแต่มีความน่าติดตามสูง ถ้าตัดจริง ๆ เชื่อว่าสามารถเหลือความยาวพอเป็นหนังได้ อย่างช่วงแรกที่ดูรู้สึกว่ามันขายเนื้อเรื่องประมาณ 30% ส่วนที่เหลือโชว์งานออกแบบ โชว์งานกำกับภาพ ซึ่งก็เจ๋งดี
    • คนออกแบบงานสร้างคือ Mark Digby ส่วนตกแต่งภายในก็ Michelle Day ทั้งคู่เคยร่วมงานกับการ์แลนด์มาทั้ง Ex Machina และ Annihilation คิดว่า Devs นี่คือยกไปอีกระดับเลย
    • ส่วนตัวเป็นคนเชื่อใน Free Will แต่ซีรีส์ชักจูงจนเราเชื่อใน Determinism ว่าทุกอย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว เผลอ ๆ จะไม่เชื่อใน Random Experiment อย่างเช่นการโยนเหรียญที่สามารถโต้แย้งได้ทั้งเรื่องแรงดีด, ความเร็วลม, มุมตกกระทบ, น้ำหนักของเหรียญ

    -------------------------------------

    'เซอร์เกย์' นักพัฒนาด้าน AI ได้รับคำชวนจาก 'ฟอเรสต์' (Nick Offerman) เจ้าของบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ให้เข้าร่วมโครงการลับสุดยอดชื่อว่า Devs แต่ปรากฏว่าแค่เข้าทำงานวันแรกก็หายตัวไปอย่างลึกลับ ทำให้ 'ลิลี่' (Sonoya Mizuno) แฟนสาวที่เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องออกตามหาตัวเขา ก่อนจะพบข่าวร้ายที่ทำให้เธอใจสลาย
    .
    สิ่งแรกที่ดึงดูดเราให้จูนติดกับเรื่องราวคือไอเดียที่อยู่เบื้องหลังของซีรีส์ Devs ไม่ได้อ้อมค้อมในการเปิดจุดยืนของฟอเรสต์ในฐานะเจ้าของบริษัทและการพัฒนาเทคโนโลยีจากควอนตัมคอมพิวเตอร์เพื่อพิสูจน์ว่าทุกสิ่งอย่างบนโลกเป็นเหตุวิสัย จักรวาลถูกกำหนดไว้แล้วจากผลของการกระทำก่อนหน้า คนเราไม่ได้มีเจตจำนงเสรีที่จะเลือกจงรักภักดีหรือหักหลังใคร ทุกคนใช้ชีวิตอยู่บนรางที่เคลื่อนไปข้างหน้าพร้อมภาพลวงตาว่าเราสามารถเลือกตัดสินใจได้ เราแค่ทำในสิ่งที่เชื่อมโยงต่อกันมาจากผลก่อนหน้านี้ คล้ายกับที่เซอร์เกย์สามารถทำนายการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว แค่มีความซับซ้อนกว่ากันหลายเท่า
    .
    สิ่งต่อมาที่ดึงดูดเราเหลือเกินคือการออกแบบสถาปัตยกรรมอาคารแล็บ Devs จริง ๆ ถูกจริตตั้งแต่การเลือก The McHenry Library เป็นสถานที่ถ่ายทำออฟฟิศหลัก มันทำให้ดูเป็นบริษัทที่มีความลึกลับและล้ำสมัยในตัว เป็นอาคาร 3 ชั้นที่ผนังเป็นกระจกแนวสูงทั้งหมด ล้อมรอบด้วยป่าไม้สนยิ่งเสริมให้ทำเลมีเสน่ห์ชวนค้นหา แต่พอการออกแบบเพิ่มรูปปั้นเด็กสาวขนาดใหญ่ สูงพ้นแนวต้นส้นมันกลับทำให้สถานที่แห่งนี้มีความชวนรู้สึกอึดอัดจากรูปปั้นและงานเพ้นต์ตามผนัง มองไปทางไหนก็เจอแต่เด็กสาวอยู่รอบตัว แค่เพียงเพราะเจ้าของบริษัทต้องการดึงตัวตนของเด็กสาวที่ชอบงานปั้นและงานระบายสีออกมา
    .
    ส่วนอาคารแล็บ Devs คือไปสุดมาก ภายนอกเป็นคอนกรีตหนาทึบชวนให้นึกถึงโบสถ์หินที่ตั้งอยู่กลางป่าโล่ง ๆ แต่คนออกแบบเพิ่มความเท่ในตอนกลางวันด้วยแท่งเหล็กทอง ๆ เป็นเงาส่องสะท้อน ส่วนกลางคืนก็มีไฟเล็ก ๆ ตามแนวพื้นกับส่วนล่างผนังอาคารที่ดูแล้วโคตรคูล แล้วระหว่างทางเดินไปอาคารตอนกลางคืนเป็นป่าสนที่มีวงแหวนส่องสว่างรอบต้นสน โคตรล้ำโคตรไซไฟแบบมินิมอล ยิ่งพอเจอการออกแบบภายในคือปรบมือให้เลย ชอบการออกแบบห้องลูกบาศก์กลางสุญญากาศที่เชื่อมต่อด้วยลิฟต์แบบทำงานด้วยสนามแม่เหล็ก เรียบหรูเปิดโล่งดูล้ำ อลังการด้วยการตกแต่งภายในด้วยสีทองล้วน ๆ แล้วมันจงใจวางควอนตัมคอมพิวเตอร์ไว้เด่นหราแบบเสริมความไฮเทคเข้ากับงานออกแบบภายในมาก ๆ จนทั้งหมดของอาคารดูเป็นเนื้อเดียวกัน
    .
    ***** เปิดเผยเนื้อหาบางส่วน แต่ไม่เฉลยตอนจบ *****
    จุดเริ่มต้นของ Devs น่าสนใจมาก ตั้งแต่เปิดเรื่องเราจะเห็นว่างานออกแบบช่างทำให้รู้สึกได้เลยว่าฟอเรสต์หมกมุ่นอยู่กับการเสียชีวิตของลูกสาว ทั้งชื่อบริษัท อมายา ที่เป็นชื่อลูกสาวตัวเอง, รูปปั้นขนาดใหญ่ชวนอึดอัด, ภาพอมายาเต็มกระจกอาคาร เพียงแต่ที่เราแปลกใจคือความหมกมุ่นขนาดนี้ ไม่ใช่เรื่องความต้องการย้อนเวลากลับไปหาลูกสาว แต่เป็นความต้องการจะพิสูจน์ว่าการตายของลูกสาวเป็นสิ่งที่จักรวาลกำหนดไว้แล้วไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
    .
    อารมณ์เหมือนคนเรารู้สึกผิดแล้วเกิดสถานการณ์ what if... ขึ้นมาในใจ เช่น ฟอเรสต์มัวแต่ชวนภรรยาคุยโทรศัพท์ขณะขับรถจนทำให้เกิดอุบัติเหตุ ถ้าเกิดเขาตัดสินใจวางสายเร็วกว่านั้นสัก 30 วินาที อุบัติเหตุคงไม่เกิด แต่การที่เขาไม่มี free will คือไม่ว่าอย่างไรก็ตามเขาก็ไม่มีทางตัดสินใจด้วยตัวเองว่าต้องวางโทรศัพท์ ทุกอย่างถูกกำหนดไว้แล้วเป็นเหตุวิสัยจากผลก่อนหน้า การสร้างจักรกลสุดล้ำที่สามารถย้อนเวลาไปดูภาพจำลองตั้งแต่ยุคหิน และเวลาไหนก็ได้ตามใจต้องการ จึงมีหน้าที่เพียงพิสูจน์ข้อสงสัยเพื่อปลดล็อคความรู้สึกผิดในใจเท่านั้นเอง (ฉากที่ทำทึ่งไปเลยคือพอพิสูจน์ได้ถึงพหุภพ/จักรวาลคู่ขนาน แทนที่ฟอเรสต์จะดีใจในความคืบหน้าทางวิทยาศาสตร์ กลับกลายเป็นว่าเขาโมโหที่ไปเพิ่มความเป็นไปได้ของมิติที่ไม่ใช่มิติที่เราดำรงอยู่)
    .

    ***** เปิดเผยตอนจบ *****
    ตลอดทั้งเรื่องเราจึงเห็นว่ามนุษย์ทุกคนกระทำตามสิ่งที่จักรกลทำนายไว้ล่วงหน้า มีเพียงแค่ฟอเรสต์และ 'เคธี่' (Alison Pill) มือขวาของเขาที่แหกกฎด้วยการดูอนาคต แต่สิ่งที่เราสงสัยมาตลอดก็ได้รับการคลี่คลาย สมมุติเรารู้อนาคตเรียบร้อย เราจะยังตัดสินใจตามภาพที่เห็นจริงเหรอ ส่วนตัวเข้าใจได้ถ้าซีรีส์จะชักจูงให้เราคล้อยตามทฤษฎี Determinism เพราะยังไม่รู้อนาคต เท่ากับไม่รู้การตัดสินใจ จึงเป็นการตัดสินใจตามผลก่อนหน้าที่ถูกจักรวาลกำหนดชะตากรรมไว้แล้ว
    .
    แต่สมมุติเราเห็นภาพอนาคตเรียบร้อย เราจะไม่เปลี่ยนแปลงการตัดสินใจจริงเหรอ พอมาเจอฉากที่ลิลี่ ซึ่งเห็นภาพจำลองอนาคตหมดแล้วตัดสินใจทำสิ่งที่ไม่เหมือนกับภาพจำลอง มันเลยกลายเป็นฉากที่ทำให้เรากลับมาเชื่อใน free will ของตัวเองอยู่ดี แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังเข้าใจสถานการณ์ของซีรีส์ว่า Determinism เกิดเพราะทุกคนไม่เคยเห็นภาพจำลองอนาคต แต่ถ้าเราเห็นอนาคตเราจะสามารถตัดสินใจได้ แปลว่าโลกนี้ไม่ได้มีพระเจ้ากำหนดทุกสิ่ง เพราะมนุษย์ทุกคนมีเจตจำนงเสรี ต่อให้การกระทำของเราตรงกับที่พระเจ้ากำหนดก็ใช่ว่าจะเป็นผลของการกระทำก่อนหน้า แต่อาจเป็นเพราะเรามีความรู้สึกนึกคิดของตัวเองในการตัดสินใจ
    .
    ในทางลึก ๆ แล้ว Devs ของการ์แลนด์ ก็ยังคงเป็นงานที่ท้าทายความเชื่อในการพิสูจน์เรื่องพระเจ้ามาก ๆ และเราก็ชอบที่การ์แลนด์บอกว่า ไม่ว่าเราจะรับรู้ถึงเจตจำนงเสรีหรือภาพลวงตา สุดท้ายทุกคนก็มีสิ่งที่ตัวเองห่วงใยอยู่ เมื่อได้ทางเลือกในการตัดสินใจใหม่อีกครั้ง เราก็จะเลือกทำหรือเปลี่ยนแปลงเพื่ออยู่กับสิ่งที่ตัวเองแคร์ในท้ายที่สุด

    Creator: Alex Garland (เขียนบท Ex Machina, Annihilation, Sunshine)

    10 Episodes (เฉลี่ยตอนละ 50 นาที)
    A

    #หนังโปรดxDisneyplusHotstar

  • determinism 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文

    2021-05-21 20:00:01
    有 4,776 人按讚

    ภาษา เป็นตัวกำหนดความคิด ของคนประเทศนั้น /โดย ลงทุนแมน
    หลายศตวรรษที่ผ่านมา หลายคนมักคิดว่าภาษาเป็นเพียงแค่การใช้คำศัพท์
    หรือการเรียงประโยคที่ไม่เหมือนกันเท่านั้น

    แต่รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้ว กรอบความคิดและทักษะส่วนหนึ่งของเราเอง
    อาจจะถูกครอบงำจากภาษา โดยที่เราก็ไม่ทันรู้ตัว

    ทำไม คนจีนถึงมีความชำนาญด้านตัวเลข
    ทำไม คนอังกฤษกับสเปนอาจมีมุมมองต่อเรื่องเดียวกัน ไม่เหมือนกัน
    รวมถึงว่าทำไม ประเทศไทยถึงมีการปลูกฝังเรื่องความอาวุโสตั้งแต่ยังเล็ก

    ทุกอย่างนี้สามารถอธิบายได้ โดยสิ่งที่เรียกว่า “ภาษา”
    แล้วภาษา มีอิทธิพลต่อเราขนาดไหน ?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    บนโลกนี้มีภาษาที่ใช้สื่อสารถึงกว่า 7,000 ภาษาด้วยกัน
    ซึ่งแต่ละภาษามีความแตกต่างในหลายแง่มุม
    ทั้งจากการออกเสียง คำศัพท์ และโครงสร้างที่ไม่เหมือนกัน

    นอกจากนี้ สังเกตได้ว่าคนในแต่ละประเทศ
    มีทั้งวัฒนธรรมและความคิดแตกต่างกันไป
    นั่นจึงเป็นที่มาให้บรรดานักภาษาศาสตร์ศึกษาว่า
    ภาษานั้นส่งผลต่อความคิดและการกระทำหรือไม่

    เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์
    จึงได้ทำการวิจัยและทดลองคนแต่ละประเทศ
    แล้วพบว่าภาษาไม่ได้เพียงแค่ส่งผลต่อความคิดและทักษะเท่านั้น
    แต่มันอาจจะเป็น “ตัวกำหนดความคิดของเรา” เลยด้วยซ้ำ

    จึงเกิดเป็นทฤษฎี Linguistic Relativity หรือ ทฤษฎีสัมพันธภาพทางภาษา
    ถูกคิดโดยเอ็ดเวิร์ด ซาเพียร์ และเบนจามิน วอร์ฟ
    ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 2 แนวคิดคือ

    1. Linguistic Determinism ภาษาเป็นตัวกำหนดความคิดของเรา
    2. Linguistic Relativity คนที่ใช้ภาษาต่างกัน จะมีมุมมองและวิธีคิดที่ไม่เหมือนกัน

    แล้วทฤษฎีนี้ มีเหตุผลสนับสนุนอะไรบ้าง ?
    เรามาดูตัวอย่างงานวิจัยและทดลองที่ผ่านมา

    เบนจามิน วอร์ฟ ได้ยกตัวอย่างโดยการเทียบ
    ระหว่างภาษายุโรปกับภาษาอเมริกันอินเดียนหรือ Hopi

    ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นภาพว่า ภาษาที่มีไวยากรณ์ที่แตกต่างกันนั้นส่งผลต่อความคิดของเรา

    โดยภาษายุโรป จะมองว่าเวลานั้นมีตัวตนเหมือนสิ่งของทั่วไป
    สามารถนับเป็นหน่วยได้ เช่นเดียวกับสิ่งของที่นับเป็นชิ้น

    แต่เวลาจะนับเป็นหน่วยวินาทีหรือชั่วโมงแทน
    ซึ่งการมองว่าเวลาเป็นสิ่งที่มีตัวตนนี้เอง ส่งผลให้เกิดสิ่งที่ตามมา

    เช่น การให้ความสำคัญกับเวลา ซึ่งนำมาสู่สิ่งประดิษฐ์อย่าง ปฏิทินและนาฬิกา
    หรือกระทั่งความสนใจในอดีต อย่างการบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์
    หรือแม้กระทั่งหลักไวยากรณ์ในหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษก็จะมีรูปประโยคที่แสดงถึง อดีต ปัจจุบัน อนาคต

    ในขณะที่ Hopi เองนั้นมองเวลาเป็นเพียงแค่สิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นเพียงแค่สิ่งที่วนเวียนเหมือนเดิม

    จึงไม่แปลกที่จะไม่มีการจดบันทึกเหตุการณ์ด้วยภาษา Hopi และก็สะท้อนมายังสังคมของชาว Hopi ที่ให้ความสำคัญกับการกระทำปัจจุบันให้ดีที่สุด

    ตรงนี้แสดงให้เห็นว่า แม้จะพูดถึงสิ่งเดียวกัน
    แต่ความคิดและมุมมองจะแตกต่างกันไปตามแต่ละภาษา

    นอกจากความคิดแล้ว
    ภาษายังส่งผลต่อทักษะอีกด้วย

    สะท้อนมาจากงานวิจัยของเลรา โบโรดิตสกี
    ศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์
    ที่ได้ไปเจอกับชุมชนชาวอะบอริจินในออสเตรเลีย

    ซึ่งผู้คนในชุมชนนี้ไม่รู้จักคำว่าซ้ายหรือขวาเลย
    แต่จะบอกทิศทางโดยการใช้ศัพท์ตามเข็มทิศ
    ตัวอย่างรูปประโยคแปลเป็นภาษาไทย
    เช่น “มีมดเกาะอยู่บนขาข้างตะวันตกเฉียงใต้”

    นอกจากนี้ พวกเขามักจะทักทายด้วยคำว่าสวัสดี
    แล้วต่อด้วยการถามเส้นทางของคู่สนทนา
    เช่น “สวัสดี คุณกำลังไปทางไหน”

    ซึ่งจากการใช้ภาษาแบบนี้ ทำให้ชาวอะบอริจินมีความเชี่ยวชาญในการระบุทิศทางได้ดี
    นี่ถือเป็นตัวอย่างแรกที่ชี้ให้เห็นว่าภาษาส่งผลต่อทักษะเช่นกัน

    ตัวอย่างถัดไปก็คือ การแยกเฉดสีของชาวรัสเซีย
    ปกติแล้ว ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษมักจะเรียกสีฟ้าเข้มและอ่อนว่า Blue ทั้งหมด

    แต่ชาวรัสเซียกลับต้องจำแนกเฉดสี
    ระหว่างสีฟ้าอ่อน ที่เรียกว่า “โกลูบอย” กับสีฟ้าเข้ม ที่เรียกว่า “ซีนีย์”
    นั่นจึงทำให้พวกเขามีความสามารถในการแยกแยะสีได้เร็วกว่าชาติอื่น

    และตัวอย่างสุดท้ายคือ ทักษะด้านตัวเลขของชาวจีน
    ชาวจีนเก่งการนับเลขมากกว่าผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษ
    นั่นก็เพราะว่าตัวเลขมีการสื่อสารที่เรียบง่าย
    ในขณะที่เลข 11 ภาษาอังกฤษ คือ Eleven
    หรือ 12 คือ Twelve ซึ่งจะเป็นการสร้างคำพูดใหม่ขึ้นมา

    แต่สำหรับเลขจีน กลับเป็นคำพูดที่เรียบง่าย เช่น เลข 11 หรือ 十一
    อ่านว่า สืออี ซึ่งเป็นการนำคำศัพท์เลข 10 กับเลข 1 มาผสมกัน เท่านั้น

    ทีนี้ เรามาดูอีกผลวิจัยที่พิสูจน์ว่าแต่ละภาษาส่งผลต่อการเล่าเรื่องที่แตกต่างกันด้วย

    ซึ่งเป็นการทดลองโดยการฉายภาพเหตุการณ์หนึ่งขึ้นมา
    ในรูปแบบคลิปวิดีโอเกี่ยวกับแจกันแตก
    เพราะมีคนบังเอิญเดินมาชนอย่างไม่ตั้งใจ

    และมีผู้เข้าร่วมทดสอบ 2 ประเภท คือผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษ และผู้ที่ใช้ภาษาสเปน

    ผลทดลองพบว่า สิ่งที่คนอังกฤษสรุปออกมาได้ก็คือ แจกันแตกเพราะมีคนชนมันตกลง
    ในขณะที่คนสเปนจะจดจำได้เพียงแค่ว่า มีแจกันแตกเท่านั้น

    หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมคนสเปนถึงจำได้แค่นั้น
    นั่นก็เพราะว่าภาษาสเปนจะคำนึงถึงเจตนาด้วย
    หากเป็นอุบัติเหตุ ชาวสเปนจะตัดเรื่องราวส่วนผู้กระทำออกไป
    โดยไม่ให้ความสำคัญกับส่วนนั้นและมองว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องจดจำ

    ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะมันสะท้อนให้เห็นว่า
    แม้เราจะเผชิญเหตุการณ์เดียวกัน แต่เรากลับมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป
    ซึ่งมันก็จะนำไปสู่วิธีคิดและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ต่างกัน

    เรื่องดังกล่าวยังส่งผลกระทบไปถึงการพิพากษาคดี หรือแม้แต่การตัดสินใจร่วมกันของคนต่างชาติ ต่างภาษา อีกด้วย

    นอกจากนี้ ภาษาก็ส่งผลต่อความเชื่อและค่านิยมอีกเช่นกัน
    เช่น ประเทศไทย เป็นหนึ่งประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องลำดับขั้นหรือความอาวุโส
    ซึ่งก็สะท้อนมาจากการใช้คำว่า ครับ หรือ ค่ะ ท้ายประโยคแทนความเคารพ
    แตกต่างจากประเทศฝั่งตะวันตก

    ในขณะเดียวกัน เราก็มีคำสรรพนามที่ใช้เรียกผู้อื่นหรือตัวเองที่มีอยู่มากมาย
    ตั้งแต่ เรา ผม หนู ฉัน ดิฉัน กระผม ข้า ข้าพเจ้า หม่อมฉัน
    ซึ่งแต่ละสรรพนามก็ใช้แตกต่างกันตามสถานะของอีกฝ่าย

    เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเอง ก็เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับความอาวุโสเช่นกัน
    จึงเห็นได้ว่าทั้ง 2 ประเทศมีคำที่ใช้สื่อสารต่อผู้คนที่แตกต่างกัน

    เช่น เกาหลีใต้ คำว่า 요 หรือ -습니다
    จะถูกใช้ท้ายประโยคเหมือนคำว่า ครับ หรือ ค่ะ ของคนไทย
    และเหล่าคำกริยาก็สามารถผันเป็นรูปอื่น
    เพื่อแสดงความเคารพต่อคนที่อาวุโสกว่า

    ภาษาญี่ปุ่น はい แปลว่า ครับ หรือ ค่ะ เป็นการตอบแบบสุภาพ ใช้ได้กับทุกสถานการณ์
    ในขณะที่ ええ แปลว่า ครับ หรือ ค่ะ เช่นกัน แต่ใช้ได้แค่คนระดับเดียวกันหรือรองลงมา

    ในทางกลับกัน ชาวเกาหลีใต้และญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเวลาอย่างมาก
    แต่ประเทศไทยกลับไม่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าคำศัพท์ของไทยไม่มีการผันตามเวลา
    ซึ่งต่างจาก 2 ประเทศข้างต้น ที่มีการผันคำศัพท์ที่แตกต่างตามช่วงเวลา

    จากตัวอย่างทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าภาษาคือสิ่งที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและความคิดของผู้คนแต่ละพื้นที่ จึงไม่แปลกใจที่คนพูดได้หลายภาษาจะสามารถมองโลกได้กว้างกว่า

    และนี่จึงอาจจะเป็นเหตุผลที่ว่า
    ทำไมบางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในประเทศหนึ่ง
    อาจจะไม่ได้เป็นที่นิยมมากนักในบางประเทศ

    จากเรื่องนี้ก็ทำให้เห็นความสำคัญว่า ทำไมเราจึงควรเรียนรู้ภาษาของประเทศอื่น
    เพราะสิ่งที่เราได้รับ นอกจากจะได้ภาษาใหม่แล้ว ยังเป็นการสร้างมุมมองใหม่อีกด้วย
    ซึ่งการมีมุมมองที่รอบด้าน ก็จะกลายเป็นโอกาสทางธุรกิจที่มากขึ้นตามไปด้วย
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - longtunman.com
    Blockdit - blockdit.com/longtunman
    Facebook - facebook.com/longtunman
    Twitter - twitter.com/longtunman
    Instagram - instagram.com/longtunman
    Line - page.line.me/longtunman
    YouTube - youtube.com/longtunman
    Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
    Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
    Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
    References
    -https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-biolinguistic-turn/201702/how-the-language-we-speak-affects-the-way-we-think
    -https://www.ted.com/talks/lera_boroditsky_how_language_shapes_the_way_we_think?language=th
    -https://so04.tci-thaijo.org/index.php/abc/article/view/60825/50088
    -https://itdev.win/14215/13.pdf

  • determinism 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文

    2020-11-02 08:19:40
    有 41 人按讚

    “กฎหมายเป็นผลหรือผลสะท้อนของโครงสร้างเศรษฐกิจหรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ”

    ​ นักทฤษฎี มาร์กซิสต์ ได้สรุป ความเกี่ยวกับกฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไข
    ข้อสรุปนี้เป็นผลของการตีความทฤษฎี สสารธรรมประวัติศาสตร์ของ มาร์ก และ เองเกลส์
    สสารธรรมประวัติศาสตร์ ( Historical Materialism ) หมายถึง การปรับใช้หลักสสารธรรมประติการเข้ากับการศึกษาพัฒนาการของสังคมหรือประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โดยถือว่า ความคิดของมนุษย์และบรรดาสถาบันต่าง ๆ ในสังคม (รวมถึงกฎหมาย, ศีลธรรม, การเมือง, อุดมการณ์) เป็นเสมือนโครงสร้างส่วนบนของสังคม (Super Structure of Society) ที่เป็นผลผลิตหรือถูกกำหนดโดยส่วนใหญ่จากรากฐาน ทางวัตถุและเทคโนโลยีซึ่งแน่นอน กล่าวคือ เศรษฐกิจหรือความสัมพันธ์ทางการผลิตซึ่งเป็นเสมือนโครงสร้างส่วนฐานของสังคม (Infra Structure of Society) และพลังจูงใจให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคม (สังคมที่ยังเป็นรัฐหรือมีการปรากฏตัวของรัฐบาล) คือ การต่อสู่ของชนชั้นที่เป็นปรปักษ์กันอันเนื่องจากความขัดแย้งทางวัตถุหรือเศรษฐกิจ
    ​โดยถือว่า บรรดารูปการทั้งหลายซึ่งเป็นเรื่องจิตสำนึกของมนุษย์ในเรื่องการเมือง สังคม , ศาสนา, วัฒนธรรมหรือกฎเกณฑ์ทางสังคมต่าง ๆ ล้วนถูกกำหนดโดยระบบการผลิต หรือระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ โดยที่รูปการของจิตสำนึกดังกล่าวเป็นเสมือน “โครงสร้างส่วนบนของสังคม” ซึ่งวางอยู่บนฐานของระบบเศรษฐกิจ หรือ “โครงสร้างส่วนล่างหรือส่วนฐานของสังคม” ขณะเดียวกันก็ถือว่า กฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบนของสังคม โดยที่รูปแบบเนื้อหาหรือแนวความคิดทางกฎหมายจะเป็นผลสะท้อนของระบบเศรษฐกิจหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

    ​อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปดังกล่าว เป็นการสะท้อนให้เห็นความเชื่อในปรัชญา แบบนัยนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Determinism) หรือ “เศรษฐกิจกำหนด” อันเป็นปรัชญาความเชื่อว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจหรือผลประโยชน์ของตัวเองในเชิงเศรษฐกิจ เป็นตัวกำหนดตัดสินการกระทำของปัจเจกชนในเรื่องการเมืองโดยตรง จากจุดนี้เองทำให้ข้อสรุปของแนวคิดที่มองลักษณะด้านเดียวว่า กฎหมาย (ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบน) เป็นสิ่งที่ถูกกำหนด (ฝ่ายเดียว) โดยเศรษฐกิจ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเปราะบางหรือจุดอ่อนของกลุ่มแนวคิดมาร์กซิสต์

    จากแนวคิดข้อสรุป ข้อที่ว่ากฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไข ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ซึ่งอาจสรุปได้ว่า


    เป็นการมองว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจเป็นตัวเข้ามากำหนดความเป็นไปหรือตัวธรรมชาติที่เป็นจริงของกฎหมายในแต่ละยุคแต่ละสมัย กฎหมายในแง่นี้จึงไม่ใช่เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นเรื่องของเจตจำนงของรัฐาธิปัตย์ที่เป็นอิสระ แต่สิ่งที่เป็นเจตจำนงรัฐาธิปัตย์ที่ยังอยู่ภายใต้สิ่งที่เป็นเงื่อนไข
    ทางเศรษฐกิจ หรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจอีกชั้นหนึ่ง

    1. ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับความคิดแบบกฎหมายธรรมชาติ กฎหมายธรรมชาตินั้นไม่ได้กล่าวถึง
    เรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมหรือรูปธรรมเกี่ยวกับความเป็นจริงของสังคมว่าสัมพันธ์กับธรรมชาติของกฎหมายอย่างไร

    ​2. ส่วนปฏิฐานนิยมนั้นอาจจะมองกฎหมายในแง่ข้อเท็จจริง คือ รัฏฐาธิปัตย์ อำนาจรัฐ
    ระบบกฎหมาย แต่ไม่ได้มองว่าเบื้องหลังของรัฏฐาธิปัตย์คืออะไร เบื้องหลังของระบบกฎหมายมีอะไรเป็นตัวอิทธิพล

    ซึ่งข้าพเจ้าเห็นด้วยกับแนวคิดของ มาร์กซิสต์ ที่พยายามชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของเศรษฐกิจหรือโครงสร้างของเศรษฐกิจว่าเป็นตัวกำหนดที่สำคัญต่อกฎหมาย

  • determinism 在 電扶梯走左邊 Jacky Youtube 的精選貼文

    2021-04-12 18:50:24

    ✨本集來賓:Audrey Liu 😇
    IG: https://www.instagram.com/audreyliugulu
    FB: https://www.facebook.com/liu.audrey.96
    Linkedin: https://www.linkedin.com/in/audrey-liu-96892868/

    - 把工作當成真命天子,27歲就當上 P&G Marketing Director | Falling in love with your career. becoming marketing director at age 27
    - What is marketing? Marketing 不只是廣告銷售,更是影響人們生活的一個方式 | Marketing changes peoples' lives
    - 其實從小孩、童心的角度檢視自己,是認識自己很好的方法 | Learn about yourself from your childhood
    - 內向者的力量:兼具內向者的想法,和開啟外向模式的力量 | The power of introverts
    - 不快樂不是你的錯,但只有你有責任讓自己快樂 | Unhappiness is not your fault, but your responsibility

    📚 Books Mentioned:
    - The Existentialist Cafe 存在主義咖啡館
    - The Happiness Project 過得還不錯的一年:我的快樂生活提案
    - Quiet 安靜,就是力量:內向者如何發揮積極的力量

    我們每集都會辦抽書活動,記得 follow 我們 🤩
    IG: https://www.instagram.com/leftsideescalator.jacky/
    FB: https://www.facebook.com/LeftSideEscalator.Jacky/

    ***

    (00:01:22) 三個字形容自己 | Describe yourself in 3 words
    (00:03:07) 認為 Marketing 是自己的真愛 | Marketing is her true love
    (00:06:22) 上海的 Marketing 調研故事 | Marketing research story in Shanghai
    (00:09:38) Marketing更深的意義 | The essence of marketing
    (00:12:29) 大學做四個實習 多方嘗試找尋目標 | 4 internships in college, trying various things
    (00:14:11) 其實你喜歡做什麼小時候就知道 | Learning from your childhood
    (00:17:08) 如何27歲就成為行銷總監 | Becoming director at 27
    (00:18:58) 人事管理的哲學 | People management philosophy
    (00:21:36) 主管就像是當一面鏡子 | Manager is like a mirror
    (00:23:51) 當上主管的第一課 | First lesson of being a manager
    (00:25:17) 情境領導模式 因材施教 | Situational leadership
    (00:27:29) 帶領團隊的核心理念 | Core values of leadership
    (00:31:12) 理想規劃的一週 | Ideal week
    (00:34:19) 內向的領導者更有力量 | Introverted leadership
    (00:39:01) 時間管理:GTD信奉者 | Time management, GTD
    (00:40:21) 總監下班之後去打工 | Working side jobs for fun
    (00:42:14) 制定自己的快樂計畫 | Managing your own happiness
    (00:43:59) 管理並檢視自己的快樂 | Reflect on your own happiness
    (00:45:32) 享受當下和達成目標的平衡 | Balance between being present and achieving your goals
    (00:49:07) 對快樂的定 | Definition of happiness
    (00:51:06) 完整的快樂架構 | Structure of happiness
    (00:55:22) 存在主義的真諦 | Existentialism
    (00:58:52) 即使是宿命論之下 還是要努力 | Determinism
    (01:01:48) 只有你有責任讓自己快樂 | You are responsible for your happiness
    (01:04:25) 因為不快樂而決定離開P&G | Leaving P&G
    (01:08:09) 跳進田裡吃泥巴 | Eating mud in the farm
    (01:10:56) 決定到Teach for Taiwan工作 | moving to Teach for Taiwan

你可能也想看看

搜尋相關網站