雖然這篇Deere Co鄉民發文沒有被收入到精華區:在Deere Co這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 deere產品中有87篇Facebook貼文,粉絲數超過178萬的網紅ลงทุนแมน,也在其Facebook貼文中提到, สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง เปิดสูตรเฟ้นหา หุ้นอนาคตในอเมริกาเข้าพอร์ตระยะยาว BBLAM x ลงทุนแมน อังคารที่ 8 กันยายน ที่ผ่านมา ลงทุนแมนได้ชวนผู้เชี่ย...
同時也有940部Youtube影片,追蹤數超過16萬的網紅phan Quốc hải,也在其Youtube影片中提到,các bạn và mọi người cùng xem cảnh máy cắt lúa Kubota binh lên màu vàng cực kỳ đẹp cắt lúa vụ hè thu gặp nhau rất dẻo các bạn và mọi người cùng theo d...
「deere」的推薦目錄
- 關於deere 在 夕霞 Instagram 的最讚貼文
- 關於deere 在 夕霞 Instagram 的最佳解答
- 關於deere 在 春哥投資日誌|股票投資 | 美股投資|投資理財 Instagram 的最佳貼文
- 關於deere 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於deere 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於deere 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於deere 在 phan Quốc hải Youtube 的最讚貼文
- 關於deere 在 phan Quốc hải Youtube 的精選貼文
- 關於deere 在 phan Quốc hải Youtube 的精選貼文
deere 在 夕霞 Instagram 的最讚貼文
2021-09-17 15:32:35
. . . @_heidi_vintage__ . オーバーオール並んだら 間違いなく可愛いんよ🥺❤️🔥 . . kirito / LIBERTY hyuto / john deere . . . いろんなメーカーのオーバーオール 販売されてるから皆checkしてね👌🏻❤️🔥 . . . #...
deere 在 夕霞 Instagram 的最佳解答
2021-09-17 15:32:35
. . . @_heidi_vintage__ . . 私のだいすきなオーバーオール💙💚 ほんま、3人分合わせたら何着あるんやろ、、笑笑 . . けど、だんだん年齢が上がっていくにつれて 可愛いメーカーのがなかなか無くて いつも困るんよなぁ😭 . だけど、 @_heidi_vintage__ さ...
deere 在 春哥投資日誌|股票投資 | 美股投資|投資理財 Instagram 的最佳貼文
2021-09-17 18:01:20
春哥觀察名單 Deere 聽到主打農業設備的公司大家的印象可能是old school或一成不變,但農業設備巨頭 Deere (DE) 卻告訴大眾農業設備也可以不斷創新和進步。DE在農業掀起的創新革命更吸引了以創新為主題的基金ARKQ和ARKX也投資這間巨頭。這篇貼文將為大家分析 Deere的基本面、...
deere 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง
เปิดสูตรเฟ้นหา หุ้นอนาคตในอเมริกาเข้าพอร์ตระยะยาว
BBLAM x ลงทุนแมน
อังคารที่ 8 กันยายน ที่ผ่านมา ลงทุนแมนได้ชวนผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, Head of Investment Strategy กองทุนบัวหลวง
มาพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นการเฟ้นหาหุ้นอนาคตในอเมริกาเข้าพอร์ตระยะยาว
โดยเริ่มตั้งแต่อัปเดตสถานการณ์ล่าสุดในสหรัฐอเมริกา ที่เริ่มเปิดเผยตัวเลขทางเศรษฐกิจในช่วงเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ไปจนถึงผลประกอบการของบริษัทต่าง ๆ ในไตรมาสที่ 2
ตัวเลขเหล่านี้กำลังส่งสัญญาณอะไร ?
เราจะมีวิธีการปรับพอร์ตการลงทุนอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง..
มาเริ่มต้นกันที่ สรุปภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐอเมริกา เกิดอะไรบ้างในช่วงที่ผ่านมา ?
ที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกา มีการทำ QE หรือ การซื้อสินทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ เพื่อให้ระบบมีเงินหมุนเวียนมากขึ้น ทำให้ภาพรวมตลาดหุ้นสามารถดำเนินต่อไปได้
โดยประเด็นหลักที่ตลาดยังคงจับตามองในปีนี้คือ การลดขนาดการเข้าซื้อสินทรัพย์ หรือที่เรียกว่า QE Tapering ซึ่งประธาน FED ออกมาพูดว่า การทำ Tapering จะเริ่มขึ้นในปีนี้ และเป็นการตัดสินใจแยกกันกับ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
หมายความว่า หากเริ่มทำ Tapering ดอกเบี้ยก็ไม่จำเป็นจะต้องปรับขึ้นในทันที
นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกาจะยังใช้นโยบายการเงินที่ค่อนข้างผ่อนคลายต่อไป ทำให้ตลาดสหรัฐอเมริกา กลับมาเป็นขาขึ้น และเงินก็จะวิ่งเข้าหาสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง
ซึ่งทางกองทุนบัวหลวงคาดว่า FED จะค่อย ๆ ลดการทำ QE ลงโดยจะใช้เวลาประมาณ 8 เดือน และ FED มีแนวโน้มจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในปี 2024 แต่ก็ยังเป็นอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ
ดังนั้น นโยบายโดยรวม จึงยังเอื้ออำนวยให้การลงทุนในตลาดหุ้นยังให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าสินทรัพย์อื่น ๆ ไปอีกสักระยะ
แต่ก็ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้ FED ชะลอการทำ QE Tapering ได้ เช่น ตัวเลขการจ้างงาน ที่ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ไปมาก
อีกหนึ่งประเด็นที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง คือ เงินเฟ้อ ที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 5.4%
ถึงแม้ว่า ราคา สินค้าโภคภัณฑ์บางตัว ลดลงมาแล้ว เช่น ราคาไม้ ทองแดง แต่ราคาบ้านและค่าเช่าบ้านในสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่ลดลงมา ก็อาจทำให้เงินเฟ้อยังคงสูงได้
แล้วโหมดการลงทุนช่วงนี้ต้องปรับ หรือจับสัญญาณต่ออย่างไรดี ?
กองทุนบัวหลวงก็เชื่อว่าในระยะสั้น เงินจะยังไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และเงินยังอยู่ในหุ้นสหรัฐอเมริกา
โดยในเดือนที่ผ่านมา ผู้จัดการกองทุนหลายรายในสหรัฐอเมริกาเข้าลงทุนกลุ่ม Healthcare มากที่สุด
จากความต้องการหาการลงทุนในเชิงคุณภาพ และหุ้นใหญ่ที่ปลอดภัย และที่ผ่านมากลุ่ม Healthcare ยังถือเป็นกลุ่มที่ Laggard หรือเติบโตได้ช้า เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น
แต่ถ้าหากดูกลุ่มที่ผู้จัดการกองทุนมีการถือครองมากที่สุด ก็ยังคงเป็นกลุ่มเทคโนโลยี
ถ้าเทียบระหว่างเทคโนโลยีที่เป็น Hypergrowth อย่างเช่น หุ้น Tesla, Roku, Shopify กับ ดัชนี Nasdaq ที่ เป็นหุ้นเทคโนโลยีใหญ่ ๆ เช่น Microsoft, Facebook, Amazon ก็จะเห็นว่าในภาพรวม เงินไหลออกจากกลุ่ม Hypergrowth มาเข้าฝั่ง Nasdaq
ซึ่งปริมาณเงินส่วนที่ไหลเข้ามาในตลาด Nasdaq ยังอยู่ที่ประมาณค่าเฉลี่ย ซึ่งหมายความว่า ไม่น่าเกิดฟองสบู่หุ้นเทคโนโลยี อย่างที่หลายคนกังวล
โดย Nasdaq ให้ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีเพิ่มมา 18% ประกอบกับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ยังมีผลกำไรที่ยังเติบโตต่อเนื่อง
กองทุนบัวหลวงมองว่า หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีได้ต่อไป แต่อาจต้องใช้วิธี Active Management หรือการบริหารพอร์ตเชิงรุก เพื่อหาบริษัทที่มูลค่ายังไม่สูงเกินไป
นอกจากนั้น กองทุนบัวหลวงยังมองว่าในสามเดือนสุดท้ายของปีนี้ เงินจะยังอยู่ในฝั่งตลาดพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น เนื่องจากมีความสามารถในการบริหารจัดการโควิด 19 ได้ดี และมีอัตราการฉีดวัคซีนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เศรษฐกิจกลับคืนสู่ภาวะปกติได้เร็ว
สำหรับรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ผ่านมา ถือว่าเติบโตได้ดีมาก
ผลกำไรภาพรวมของตลาด ออกมาสูงกว่าตลาดคาดการณ์ไว้
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีความเสี่ยงและความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ จากห่วงโซ่การผลิตที่มีปัญหาและค่าจ้างที่สูงขึ้น ซึ่งกองทุนบัวหลวงมองว่า เป็นเพียงระยะสั้น และจะคลี่คลายในระยะปานกลางจนกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
คำถามต่อมาคือ S&P 500 จะสามารถไปได้ต่ออีกหรือไม่ และแพงไปแล้วหรือยัง ?
ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นมา ตามกำไรของบริษัทที่ปรับตัวดีขึ้นมาต่อเนื่อง และนักวิเคราะห์มีการปรับประมาณการเป้าหมาย S&P 500 เป็น 4,600 (ตอนนี้อยู่ที่ราว ๆ 4,500) หมายความว่า ดัชนี S&P 500 จะยังคงไปต่อได้
อีกทั้งสหรัฐอเมริกายังเป็นตลาดการเงินที่สภาพคล่องสูงที่สุดในโลก รวมไปถึงมีบริษัทที่มีคุณภาพดีมากที่สุดในโลก ทำให้ P/E ที่ 20 เท่า ก็ยังสามารถลงทุนได้
แล้วควรลงทุนเมื่อไร ดอกเบี้ยขึ้น จับจังหวะอย่างไร ?
ถ้าเราลองย้อนไปดูสถิติ 12 เดือนก่อนที่จะมีการขึ้นดอกเบี้ย จะเห็นว่าตลาดสามารถปรับตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถปรับตัวขึ้นได้อีกหลังจากที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นครั้งแรก
โดยกองทุนบัวหลวง แนะนำหนึ่งเทคนิคที่น่าสนใจ คือให้เข้าสะสมแบบมีวินัย ลงทุนแบบสม่ำเสมอ หรือ DCA เนื่องจากการจับจังหวะตลาดสหรัฐอเมริกา หรือไม่ว่าตลาดไหน ๆ เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
ทีนี้หลายคนคงกังวลว่า เงินทุนเริ่มไหลออกจากกลุ่ม Hypergrowth แล้วเงินส่วนนี้ย้ายไปอยู่ที่ไหน ?
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือปัจจุบัน เงินทุนไหลออกจากหุ้นในกลุ่ม Hypergrowth แต่ปรากฏว่าดัชนี Nasdaq นั้นยังคงปรับตัวสูงขึ้น ที่เป็นแบบนี้เพราะเงินกำลังไหลไปยังบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ๆ นั่นเอง
หลายคนอาจมองว่า บริษัทเหล่านี้น่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 แต่กลับกลายเป็นว่า จากวิกฤตินี้ทำให้คนหันมาพึ่งเทคโนโลยีกันมากขึ้น
โดยสังเกตได้จากรายได้ของบริษัทเทครายใหญ่ ที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเรื่องของแผนในอนาคตที่น่าจับตามอง ทำให้นักลงทุนยังคงให้ความสนใจ
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Facebook และ Microsoft
Facebook เป็นบริษัทเจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, WhatsApp ที่มีรายได้หลักมาจากค่าโฆษณาออนไลน์
โดยจุดเด่นของ Facebook คือ ความสามารถในการยิงโฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากกว่าคู่แข่งรายอื่น ๆ พร้อมทั้งยังมีโอกาสเติบโตไปกับอุตสาหกรรมสื่อออนไลน์อีกมาก เนื่องจากโควิด 19 ก็เป็นตัวเร่งที่ทำให้คนหันมาพึ่งเทคโนโลยีกันมากขึ้น
สำหรับแผนในอนาคตของ Facebook นั้นยังคงเป็นเรื่องของแผนการปรับตัวให้บริษัทเป็น บริษัท “Metaverse” หรือโลกแห่งการผสมผสาน ระหว่างโลกจริงและโลกเสมือน อย่างเต็มตัว
โดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก CEO ของ Facebook มองว่า โลกของ Metaverse จะกลายเป็นอนาคตของโลกอินเทอร์เน็ต โดยล่าสุดก็ได้มีการเปิดตัว Horizon Workrooms ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปประชุมได้แบบเสมือนจริง ผ่านตัวละคร Avatar
มาต่อกันที่บริษัทซอฟต์แวร์ที่เราคุ้นเคยกัน อย่าง “Microsoft” ซึ่งในปีที่ผ่านมายังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุน โดยมูลค่าบริษัทยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก ผลประกอบการในไตรมาสที่ผ่านมา ที่ยังคงเติบโต 17% จากบริการ Intelligence Cloud ที่เติบโตได้ดี
แต่ที่น่าสนใจคือเรื่องของแผนในอนาคต อย่างการทำโลกเสมือน หรือที่ทาง Microsoft เรียกว่า Digital Twin ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการทำ Metaverse ของ Facebook แต่จะเป็นการก๊อบปี้ของจริงมาไว้บนโลกออนไลน์แทน เช่น จำลองสถานที่ จำลองตึก เพื่อนำมาใช้ทดสอบการบินของโดรนก่อนเอาออกไปใช้งานจริง
ทั้งนี้ในส่วนของ Theme โลกเสมือนนั้น อาจมีความเสี่ยง เรื่องที่จะต้องใช้เวลาอีกไม่น้อย กว่าที่เราจะได้สัมผัสแบบเต็ม ๆ
แต่นี่เป็นเหมือนการส่งสัญญาณว่าบริษัทเทคโนโลยีหลายรายกำลังตื่นตัวกับการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และมีการเตรียมพร้อม มองหาช่องทางการเติบโตใหม่ ๆ หรือที่เรียกว่า New S-Curve อยู่ตลอดเวลา
มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะเริ่มสงสัยแล้วว่า แล้วกระแสเงินลงทุนที่ดูมีการเปลี่ยนทิศเปลี่ยนทางเช่นนี้ จะมีผลกระทบกับกองทุน B-USALPHA และ B-FUTURE แค่ไหน ?
สำหรับกองทุน B-USALPHA นั้น หลายคนอาจจะคิดว่ากองนี้มีแต่ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอย่างเดียว
แต่ถ้ามาดูสัดส่วนของหุ้นในพอร์ตการลงทุนนั้นจะพบว่า กองทุนพยายามให้ความสมดุลระหว่างหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี กับกลุ่มวัฏจักรในสหรัฐอเมริกา โดยกองทุนนี้มีแบ่งส่วนการลงทุนด้วยกันหลัก ๆ 3 อย่าง คือ
1. กลุ่ม Digital Advertising เช่น Facebook, Pinterest, Snap
2. กลุ่ม สถาบันการเงิน เช่น Morgan Stanley, PayPal, Square
3. กลุ่ม Technology Enabled หรือก็คือ ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสร้างนวัตกรรม เช่น Deere & Company, Freeport-McMoRan, Zillow Group
ทั้งกลุ่ม Digital Advertising และ Technology Enabled นั้นยังมีโอกาสเติบโตไปพร้อมกับการเปิดเมือง
ส่วนการลงทุนในกลุ่มสถาบันการเงิน จะช่วยสร้างสมดุล และลดความเสี่ยงของพอร์ตในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่อาจปรับตัวสูงขึ้น ที่ทำให้กลุ่มของธุรกิจสถาบันการเงินนั้นได้รับประโยชน์ไปด้วย จากอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับสูงขึ้น
ส่วนกองทุน B-FUTURE นั้น มีการกระจายลงทุนในธุรกิจ 3 กลุ่มคือ เทคโนโลยี Hypergrowth, อุตสาหกรรม และกลุ่มธุรกิจ Theme เปิดเมือง
โดยในส่วนของกลุ่ม Hypergrowth นั้น ทางผู้จัดการของกองทุน ก็ได้เน้นอย่างมาก กับการลงทุนในหุ้นที่ยังมี Valuation ไม่สูงจนเกินไป
นอกจากนี้ ทางกองทุนยังเน้นการลงทุนใน Theme อนาคต ไม่ได้เจาะจงในประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยมีผู้จัดการกองทุนที่คอยปรับพอร์ตตามสถานการณ์การลงทุนต่าง ๆ
ด้วยนโยบายการบริหารแบบ Active Management ทำให้ B-FUTURE สามารถปรับเปลี่ยนพอร์ตให้เข้ากับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา
เช่น หากมองว่าในระยะยาว หุ้นกลุ่มเอเชียหรือจีน ยังมีโอกาสเติบโตมาก ความกดดันของรัฐบาลจีนคลี่คลายลง แล้วยังมี Valuation ที่ไม่สูงเกินไป ทางกองทุนก็สามารถปรับน้ำหนักพอร์ตมาลงในหุ้นเอเชียหรือจีนเพิ่มขึ้นได้
ทำให้เห็นว่า B-FUTURE นั้นเป็นกองทุนที่สามารถทยอยสะสมเข้าได้เรื่อย ๆ และเหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเวลามาก แต่อยากลงทุนในหุ้นแห่งอนาคต
สำหรับใครที่กำลังมองหาโอกาสในการลงทุน จากหุ้นในสหรัฐอเมริกา หรือหุ้นใน Theme อนาคต
ทั้งกองทุน B-USALPHA และ B-FUTURE ก็ยังเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ ที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทน ได้โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล พร้อมคอยปรับพอร์ตการลงทุนให้ในระยะยาว ซึ่งการใช้กลยุทธ์ DCA ทยอยลงทุนทุกเดือนก็เป็นวิธีการที่น่าสนใจ
คำเตือน
การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้นผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
deere 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
BREAKING: บิลล์ เกตส์ ไม่กลัวโควิด ซื้อหุ้นโรงแรม Four Seasons เพิ่มเป็น 71%
ล่าสุดมีข่าวว่า บิลล์ เกตส์ มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้ง Microsoft ได้เข้าซื้อกิจการกลุ่มโรงแรมหรู Four Seasons เพิ่มเป็น 71% หลังปิดดีลกับเจ้าชาย Alwaleed ราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย
บิลล์ เกตส์ ได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุดในกิจการโรงแรมหรู Four Seasons ผ่านดีลมูลค่า 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 72,089 ล้านบาท กับราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นดีลใหญ่ครั้งแรกของเขา นับตั้งแต่มีการแบ่งสินทรัพย์กับ เมลินดา เกตส์ อดีตภรรยาไปเมื่อต้นปีนี้
โดยก่อนหน้านี้ บิลล์ เกตส์ เป็นเจ้าของ Four Seasons ร่วมกับ Alwaleed bin Talal เจ้าชายซาอุดีอาระเบีย ตั้งแต่ปี 2007
ซึ่งในตอนนี้ การลงทุนของ บิลล์ เกตส์ ผ่าน Cascade Investment บริษัทด้านการลงทุนของเขา ได้เข้าซื้อหุ้นครึ่งหนึ่งของเจ้าชาย Alwaleed
จากดีลนี้ ทำให้การถือหุ้นใน Four Seasons ของบิลล์ เกตส์ เพิ่มขึ้นเป็น 71%
และการขายหุ้นครั้งนี้เจ้าชาย Alwaleed ได้ขายผ่าน Kingdom Holdings ซึ่งคาดว่าจะได้รับกำไร 52,432 ล้านบาท
ซึ่งการขายหุ้นโรงแรม ของเจ้าชาย Alwaleed ถือเป็นการขายกิจการครั้งแรกนับตั้งแต่เขาได้รับการปล่อยตัว หลังจากถูกกักขังเป็นเวลานานในโรงแรม Riyadh Ritz-Carlton ในปี 2018 ข้อหาที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริต ที่ดำเนินการโดยมกุฎราชกุมาร Mohammed bin Salman ของซาอุดีอาระเบียในขณะที่เขายึดอำนาจในประเทศ
ทั้งนี้ เงื่อนไขในการปล่อยตัวเจ้าชาย Alwaleed นั้นไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้บุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่ถูกคุมขังได้ถูกปล่อยตัวอย่างเงียบ ๆ ผ่านข้อตกลงในการชดใช้เงินก้อนใหญ่ในข้อหาสนับสนุนพฤติกรรมที่เห็นว่าเข้าข่ายทุจริต
ภายใน 1 เดือนหลังเจ้าชาย Alwaleed ได้รับการปล่อยตัว เขาก็ได้ขายธุรกิจของเขาออกไป เช่น โรงแรมและรีสอร์ต Mövenpick มูลค่า 18,660 ล้านบาท แต่เขายังคงเป็นนักลงทุนรายย่อยในเครือโรงแรม Four Seasons อยู่
ซึ่งในช่วงที่ บิลล์ เกตส์ และ เมลินดา เกตส์ ได้ออกมาประกาศว่าจะยุติชีวิตแต่งงานของทั้งคู่ ทำให้เกิดคำถามว่า ทรัพย์สินมูลค่ากว่า 3.9 ล้านล้านบาทที่ บริษัท Cascade และมูลนิธิการกุศลของพวกเขาจะได้รับการจัดสรรอย่างไรบ้าง
หลังจากการประกาศหย่าร้าง ทาง Cascade ได้โอนหุ้นมูลค่า 196,615 ล้านบาท ซึ่งมีทั้งหุ้น Coca-Cola หุ้น CN Rail บริษัทรถไฟยักษ์ใหญ่ของแคนาดา และ หุ้นบริษัท John Deere ให้กับเมลินดา เกตส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงทางการเงิน
หลายคนยังไม่รู้ว่า ไมเคิล ลาร์สัน ผู้บริหาร Cascade เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการบริหารความมั่งคั่งของ บิลล์ เกตส์ และ เมลินดา เกตส์ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ทั้งสองมุ่งความสนใจไปที่งานการกุศลเป็นหลักได้ นอกจากนี้ ลาร์สัน ยังบริหารจัดการเงินบริจาค 1.6 ล้านล้านบาท ของมูลนิธิ Bill & Melinda Gates Foundation
ที่น่าสนใจคือ
เมื่อเดือนเมษายน ปี 2020 ที่ผ่านมา บิลล์ เกตส์ เองได้ออกมาประกาศเตือน 4 ธุรกิจ ประกอบด้วย โรงแรม ร้านอาหาร ท่องเที่ยว และจัดอีเวนต์ ว่าอาจไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป รวมถึงชี้แนะวิธีจัดการของธุรกิจเหล่านี้ด้วย
แต่มาวันนี้ บิลล์ เกตส์ กลับเริ่มเข้ามาเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในกิจการโรงแรม ซึ่งอาจตีความได้ว่า บิลล์ เกตส์ มีมุมมองที่เปลี่ยนไปจากการพูดเมื่อปีก่อน ซึ่งเขาอาจเห็นโอกาสบางอย่าง จึงถือโอกาสเข้าลงทุนเพิ่มในกิจการโรงแรม Four Seasons ซึ่งถือว่าเป็นแบรนด์โรงแรมระดับ Super Luxury ในครั้งนี้..
References
-https://www.ft.com/content/3889fdcd-b151-4540-ae29-3a0f54216c1c
-https://www.ceochannels.com/bill-gates-warned-3-businesses-that-will-change-forever-after-covid-19/
deere 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง “กางกลยุทธ์ พิชิตหุ้นสหรัฐฯ”
BBLAM x ลงทุนแมน
ช่วงเวลาที่ผ่านมา คงไม่มีตลาดหุ้นไหนสามารถทำผลงานได้โดดเด่น อย่างตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
ที่ทำให้นักลงทุนสัมผัสได้ถึงความร้อนแรง จนเกิดคำถามว่า หลังจากนี้ โอกาสของหุ้นสหรัฐอเมริกาจะเป็นอย่างไร ?
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา ลงทุนแมน ร่วมพูดคุยกับ 2 ผู้เชี่ยวชาญจากกองทุนบัวหลวง
คือ คุณพูนสิน เพ่งสมบูรณ์ AVP, Portfolio Solutions
และ คุณนวรัตน์ เจียมกิจรุ่ง SVP, Product Development
ถึงประเด็นสำคัญในการลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลานี้
เรื่องราวสำคัญที่นักลงทุนควรรู้ จะมีอะไรบ้างนั้น ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟังเป็นข้อ ๆ แบบเข้าใจง่าย
1. ภาพรวมของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ?
ความร้อนแรงของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ผ่านมา เป็นผลมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ
- นโยบายการเงินการคลัง ที่สามารถส่งต่อไปยังภาคธุรกิจ และภาคการบริโภคได้จริง
- การกลับมาของภาคธุรกิจ ทั้งจากกลุ่มธุรกิจที่เติบโต และกลุ่มธุรกิจที่ฟื้นตัวจากปีก่อน
ประเด็นที่ต้องจับตาต่อจากนี้คือ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกากำลังเข้าสู่ช่วง Mid Cycle ซึ่งแปลว่า เราอาจจะไม่ได้เห็นการปรับตัวขึ้นแรง ๆ ของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาเหมือนในช่วงที่ผ่านมา
ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนจากนี้ไป จึงต้องมีการคัดเลือกหุ้นรายตัว รายกลุ่มอุตสาหกรรมให้มากขึ้น
2. ความน่าสนใจของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา อยู่ที่ตรงไหน ?
ย้อนกลับไปช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาพบปัญหาระหว่างทางมาโดยตลอด
ไม่ว่าจะเป็น สงครามการค้ากับจีน หรือผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 ประกอบกับการเติบโตของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาที่เริ่มตั้งแต่ปี 2009 ก็ดูเหมือนจะจบรอบไปแล้วในปีที่ผ่านมา
ถ้าดูตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ปี 2020 ออกมา -30% แต่ที่น่าสนใจก็คือ สหรัฐอเมริกาฟื้นตัวกลับมาได้ค่อนข้างเร็ว โดยเห็นได้จาก GDP ไตรมาส 3 ปี 2020 ปรับตัวขึ้นกลายเป็น +33%
และถ้าหากสังเกตดัชนี S&P 500 ก็ยิ่งฟื้นตัวแรงไม่แพ้กัน
โดยใช้เวลาฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด 19 แค่ 1 เดือนเท่านั้น และก็ยังทำ New High ต่อเนื่อง อย่างในปี 2021 นี้ก็ +20% จากต้นปีอีกด้วย
ซึ่งต่างไปจากวิกฤติซับไพรม์ปี 2007 ที่ต้องใช้ระยะเวลาฟื้นตัวกว่า 18 เดือน แต่เมื่อฟื้นตัวกลับมาได้ ก็ไปต่อได้ดีเช่นกัน
ดังนั้น จุดที่น่าสนใจของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา เมื่อสังเกตจาก 2 วิกฤติที่ผ่านมาก็คือ เมื่อสหรัฐอเมริกาประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจแล้ว มักจะกลับมาฟื้นตัวได้เร็ว และก็ดีกว่าเดิมเสมอ
3. แล้วจุดขับเคลื่อนสำคัญ ที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาฟื้นตัวได้เร็ว คืออะไร ?
ปัจจัยที่ 1 คือ อำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ผ่าน 2 เครื่องมือสำคัญ นั่นคือ
- นโยบายทางการเงิน ที่จะช่วยให้ตลาดการเงินของสหรัฐอเมริกายังคงดำเนินต่อไปได้ โดยการซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ในตลาด เพื่อพยุงราคาไม่ให้ถูกเทขาย
เช่น พันธบัตรรัฐบาล, Mortgage-Backed Securities (ตราสารทางการเงินที่มัดรวมสินเชื่อบ้านเข้าด้วยกัน โดยมีสถาบันการเงินเป็นคนกลางจับคู่ระหว่างผู้กู้ยืมและนักลงทุน), หุ้นกู้ในกลุ่ม Fallen Angels ที่ถูกปรับลดระดับเครดิตต่ำกว่า BBB (Non-Investment Grade)
- นโยบายการคลัง ที่จะช่วยเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
เช่น การอัดฉีดเงินกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐไปให้ชาวอเมริกันที่ได้รับผลกระทบจากการว่างงาน
เนื่องจากโครงสร้าง GDP สหรัฐอเมริกามาจากภาคการบริโภค 70%
ดังนั้น หากชาวอเมริกันกลับมาบริโภคได้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็จะกลับคืนมาด้วย
แต่ก็ต้องยอมรับว่า ทั้ง 2 นโยบายที่ว่านี้ คงจะมีแต่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น ที่สามารถทำได้
หากเป็นประเทศอื่น ๆ เราคงเห็นปัญหาตามมาอีกมากมาย เช่น ประเทศไทยที่มีสัดส่วนการบริโภคแค่ 1 ใน 4 ถ้าหากเราอัดฉีดเม็ดเงินเช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาค่าเงินบาทอ่อนหรือปัญหาเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นแรง เป็นผลมาจากการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่มากเกินไป
โดยเหตุผลที่สหรัฐอเมริกาสามารถทำเช่นนี้ได้ เพราะความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจโลกครองสัดส่วน 1 ใน 4 ของมูลค่า GDP โลก และเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ก็ยังเป็นเงินสกุลหลักของการค้าระหว่างประเทศ
ปัจจัยที่ 2 คือ โครงสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งและหลากหลาย ส่งผลให้ภาพรวมฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
หากสังเกตดัชนี S&P 500 จะพบว่า Market Cap. ของกลุ่มเทคโนโลยี 27% สูงเป็นอันดับที่ 1 ถัดมาจะเป็นกลุ่ม Health Care 13% และกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย 12% ล้วนเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโต
ที่น่าสนใจคือ เทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราขึ้นเรื่อย ๆ เสมือนเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิตคนเรา และหลากหลายกลุ่มเทคโนโลยีอนาคตอย่าง Innovation, FinTech, Digital Advertising ยังมีส่วนสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการแข่งขันในอนาคตอีกด้วย
นอกจากนี้ วิกฤติโควิด 19 ยังเป็นปัจจัยผลักดันการเติบโตของสินค้าเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เช่น การช็อปปิงออนไลน์, การดูวิดีโอสตรีมมิงแทนการเข้าโรงภาพยนตร์
ขณะที่ภาคธุรกิจเอง ก็หันมาให้ความสนใจ Digital Advertising มากกว่าป้ายบิลบอร์ดเดิม ๆ ส่งผลให้ลดต้นทุน, ลดขั้นตอน Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งหมดนี้ จึงทำให้เชื่อว่า หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐอเมริกาจะยังเติบโตตามผลประกอบการต่อไปได้
4. หลังจากการฟื้นตัว ก้าวต่อไปคือการเข้าสู่ Mid Cycle ?
เมื่ออัตราการว่างงานลดลง ซึ่งคาดว่า 8-10 เดือนข้างหน้า ก็จะสามารถกลับเข้าสู่ระดับปกติก่อนเกิดวิกฤติโควิด 19 ได้ ขณะเดียวกัน Fed ก็เริ่มส่งสัญญาณถอนคันเร่งมาตรการกระตุ้น ด้านสวัสดิการว่างงานก็เริ่มลดลง สะท้อนได้ว่า สหรัฐอเมริกากำลังเข้าสู่ช่วง Mid Cycle
ดังนั้น เราน่าจะไม่ได้เห็นสภาพคล่องท่วมตลาดเหมือนอย่างเคยอีกต่อไป
กลยุทธ์การลงทุนในช่วง Mid Cycle จึงต้องเลือกลงทุนหุ้น Growth เช่น หุ้นเทคโนโลยี
หรือลงทุนหุ้นที่จะได้รับผลประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ ในโครงการที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กำลังผลักดันอยู่ในขณะนี้ เช่น
- American Rescue Plan วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นสวัสดิการชดเชยการว่างงาน
- Infrastructure Bill วงเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศ
- American Families Plan วงเงิน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมนุษย์
- American Jobs Plan วงเงิน 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน, Health Care, อุตสาหกรรม EV, พลังงานสะอาด
- U.S. Innovation and Competition Act วงเงิน 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแข่งขันกับจีน
หากโครงการเหล่านี้ได้รับการอนุมัติทั้งหมด จะกลายเป็นเม็ดเงินพัฒนาเศรษฐกิจที่เยอะที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ที่จะช่วยพัฒนาประเทศระยะยาว 5-10 ปี เลยทีเดียว
5. ตอนนี้ Master Fund ระดับโลก มองการลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาอย่างไร ?
หลังจากที่กองทุนบัวหลวงได้พูดคุยกับผู้จัดการกองทุน J.P. Morgan หนึ่งใน Master Fund ระดับโลก
พบว่า หากเป็นการลงทุนระยะกลาง J.P. Morgan กำลังพุ่งเป้าไปที่กลุ่มธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจหลังจากผ่านวิกฤติโควิด 19 เช่น
- กลุ่มธุรกิจ Reopening ที่เชื่อว่าจะกลับมาฟื้นตัว และได้รับประโยชน์จากความต้องการซื้อที่อัดอั้นมาจากวิกฤติโควิด 19 เช่น การจองโรงแรม, การเช่ารถ, ร้านอาหาร
- กลุ่ม Health Care ทั้งในแง่ของการรับมือกับโควิด 19, การพัฒนาวัคซีน, การวิจัยเชื้อกลายพันธุ์ และพฤติกรรมพร้อมจ่ายของคนเราเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง จึงมองว่ากลุ่มยา และกลุ่ม Biotech ยังเติบโตได้ดี
- กลุ่มพลังงานสะอาด จากการผลักดันนโยบาย EU Green Deal ขณะที่ต้นทุนของพลังงานลม และพลังงานโซลาร์เซลล์ ที่ถูกลงมากเมื่อเทียบกับพลังงานดั้งเดิม รวมทั้งกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์กักเก็บพลังงานก็น่าสนใจ
ขณะเดียวกัน หากเป็นการลงทุนระยะยาว J.P. Morgan กำลังจับตากลุ่มธุรกิจที่สอดรับกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า
ซึ่งนอกจาก 3 กลุ่มข้างต้นแล้ว ก็ยังมีกลุ่มเครื่องจักรอัตโนมัติ หรือกลุ่ม Smart ต่าง ๆ เช่น Smart Home, Smart TV ที่กำลังเติบโตตามโลกอนาคต อีกด้วย
6. กลยุทธ์การลงทุนหุ้น Growth ในช่วงเวลานี้ ?
กลยุทธ์การวิเคราะห์ลงทุนหุ้น Growth ของ J.P. Morgan จะออกเป็น 2 รูปแบบ นั่นคือ
- รูปแบบ Bottom Up คือการวิเคราะห์หุ้นรายตัวเป็นหลัก
- รูปแบบ Micro Focus คือการวิเคราะห์ลงรายละเอียดเล็ก ๆ เพราะเชื่อว่าจุดเล็ก ๆ จะนำไปสู่ความแตกต่างจากบริษัทอื่นอย่างมีนัยสำคัญได้ เช่น Facebook ที่กำลังได้รับประโยชน์จากโฆษณาออนไลน์อย่างต่อเนื่อง
เป้าหมายคือ การค้นหาหุ้นสหรัฐอเมริกาที่กำลังเติบโตมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ภายใต้ 3 ลักษณะสำคัญคือ
- ธุรกิจที่มีผลต่อการบริโภค หรือการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป
- ธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว มีกำไรที่แข็งแกร่ง
- ธุรกิจที่มีการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น (Momentum) ทิศทางเชิงบวก ดังนั้นต้องรู้จักทำใจให้นิ่งเพื่อรอจังหวะ Momentum ที่ดีได้
อีกหนึ่งกลยุทธ์การลงทุนที่สำคัญก็คือ การปรับพอร์ตลงทุนอยู่เสมอ โดยจะลดน้ำหนักหุ้นที่มีราคาปรับตัวขึ้นมานานหลายปี และตลาดรับรู้ข่าวทั้งหมดแล้ว
เช่น กลุ่มเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง Microsoft, Apple ถูกลดสัดส่วนตั้งแต่ปีที่แล้ว เพื่อนำเงินไปลงทุนหุ้นที่จะเป็น “Big Winner” ตัวต่อไป แต่ก็ไม่ได้ขายหมดทั้งพอร์ต เพราะยังมองว่าเป็นธุรกิจที่ดีระยะยาว
นอกจากนี้ ด้วยความเป็นกองทุนแบบ Active ของ J.P. Morgan ยังมองเห็น 2 กลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจคือ
- กลุ่มการเงิน โดยจะลงทุนทั้งสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น และกลุ่ม Online Payment
- กลุ่มเทคโนโลยี 5G และ EV โดยที่มองลงลึกไปถึง “ทองแดง” ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของกลุ่มเทคโนโลยี จึงเข้าไปลงทุนบริษัท Freeport-McMoRan หนึ่งในธุรกิจเหมืองแร่ทองแดงที่ใหญ่ที่สุดในโลก
7. ตัวอย่างธุรกิจที่เข้าข่ายหุ้น Growth ที่น่าสนใจ ?
ธุรกิจในกลุ่ม Digital Advertising เช่น Snap Inc. เจ้าของแอปพลิเคชัน Snapchat ที่มียอดผู้ใช้งานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ยังมีการขยายฐานผู้ใช้งานไปยังประเทศอินเดีย ทำให้มีโอกาสเติบโตในเรื่องของเม็ดเงินโฆษณาได้อีกมาก ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา รายได้ของ Snapchat ก็เติบโตเฉลี่ยปีละ 46%
ธุรกิจในกลุ่มต่อมาก็คือ Online Payment เช่น PayPal ที่ได้ประโยชน์จากการใช้ชีวิตในยุค New Normal และตอบโจทย์ในการชำระเงินยุคใหม่
ซึ่งจากผลการดำเนินงานในไตรมาสล่าสุด PayPal มีจำนวนบัญชี Active User เติบโต 16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่จำนวนธุรกรรมเติบโต 40% จากปีก่อนหน้า
ธุรกิจในกลุ่มสุดท้ายก็คือ ธุรกิจนอกกลุ่มเทคโนโลยี เช่น John Deere ผู้ผลิตและจำหน่ายรถแทรกเตอร์ อุปกรณ์การเกษตรที่นำเทคโนโลยีมาใช้กับการเกษตร ตอบโจทย์การเกษตรสมัยใหม่และเทรนด์ความยั่งยืน
หากสหรัฐอเมริกามีการเก็บภาษีจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็จะเป็นประโยชน์โดยตรงกับ John Deere
ซึ่งหุ้น 3 ตัวนี้ ก็เป็นหุ้นที่ J.P. Morgan ลงทุนเป็น Top Holding อีกด้วย
8. ตอนนี้หุ้น Growth แพงไปหรือยัง ?
ในมุมมองของกองทุนบัวหลวง คิดว่าหุ้น Growth ยังไม่แพงเกินไป ถึงแม้ว่าจะผ่านช่วงสูงสุดไปแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสเติบโตได้อยู่
โดยหากมาดูในส่วนของค่ากลางของ P/E Ratio S&P 500 พบว่า อยู่ที่ 20 เท่า สะท้อนให้เห็นว่า ยังมีโอกาสที่เรายังสามารถหาหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตในราคาที่สมเหตุสมผลได้อยู่
และที่ผ่านมาดัชนี S&P 500 ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ P/E ทยอยปรับลดลง ซึ่งมีสาเหตุมาจากกำไรของบริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว
โดยในปี 2021 มีการคาดการณ์ว่ากำไรของบริษัทใน S&P 500 จะโต 60% ในขณะที่ในปี 2022 S&P มีการคาดการณ์ว่ากำไรจะโตต่ออีก 15% จากปี 2021
จากตรงนี้ก็จะเห็นได้ว่า ยังมีอีกหลายธุรกิจที่ผลการดำเนินงานยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อยู่
9. ผลตอบแทนการลงทุน ด้วยกลยุทธ์แบบ J.P. Morgan เป็นอย่างไร ?
จากกลยุทธ์ Active Management ที่เน้น Micro Focus ทำให้กองทุน JPM US Growth ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกา มีผลการดำเนินงานที่ค่อนข้างดีมาอย่างต่อเนื่อง
หากเรามาดูผลการดำเนินงานของกองทุน JPM US Growth จะพบว่า ถ้าดูย้อนหลังไป 3 ปี เฉลี่ยต่อปีแล้ว ผลตอบแทนจะเท่ากับ 27% สูงกว่าเมื่อเทียบกับ Benchmark ที่เป็น Russell 1000 ที่เน้นเฉพาะหุ้นเติบโต ซึ่งถ้าย้อนหลัง 5 ปี ผลการดำเนินงานก็ดีกว่าเช่นกัน
เมื่อมาดูการจัดอันดับของ Morningstar พบว่ากองทุน JPM US Growth อยู่ใน First Quartile คือเป็นหนึ่งในกองทุนที่ทำผลการดำเนินงานได้ดีอยู่ในเกณฑ์ดีที่สุดในกลุ่มอีกด้วย
หากมาดูด้าน Valuation ของกองทุน JPM US Growth จะเห็นว่า กองทุนนี้มี P/E Ratio ที่ต่ำกว่า Benchmark แต่มีอัตราการเติบโตของกำไร (%EPS Growth) สูงกว่า Benchmark และ S&P 500
10. เราจะลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาในรูปแบบกองทุน ได้อย่างไร ?
กองทุน B-USALPHA เป็นกองทุน Feeder Fund ที่ลงทุนในกองทุนหลัก คือ JP Morgan US Growth Fund ไม่ต่ำกว่า 80%
ซึ่ง JP Morgan US Growth Fund เป็นกองทุนแนว Active Management เน้นลงทุนในหุ้นที่เติบโตสูงกว่าที่ตลาดมองไว้
และในส่วนที่เหลือผู้จัดการกองทุนของบัวหลวง ก็อาจลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกาที่น่าสนใจเป็นรายตัว
ซึ่งน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีระยะยาวได้ เหมือนที่ทำกับ B-FUTURE และ B-CHINE-EQ
กองทุนนี้ ยังมีนโยบายการจ่ายเงินปันผล เพราะปัจจุบันอยู่ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ผู้ลงทุนส่วนใหญ่จึงหันมาหาสินทรัพย์เสี่ยง หรือหุ้น กันมากขึ้น การจ่ายเงินปันผลจะช่วยให้ผู้ลงทุนมีเงินระหว่างทาง ไม่ต้องคอยดูจังหวะการขายทำกำไร และสามารถลงทุนได้นานขึ้น
11. สุดท้ายแล้ว แนวทางของกองทุน B-USALPHA จะช่วยบริหารพอร์ตการลงทุนภาพรวมของคุณได้อย่างไร ?
ในมุมมองการจัดพอร์ตลงทุน การกระจายสินทรัพย์เสี่ยงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ในมุมมองของกองทุนบัวหลวงคือ การจัดพอร์ตให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยง ทั้งในส่วนสินทรัพย์เสี่ยงต่ำและเสี่ยงสูง
ในส่วนสินทรัพย์เสี่ยงสูงที่เป็นหุ้นทั่วโลก ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การเอามาเป็นแกนหลักของพอร์ต (Core Port) กับเอาเป็นตัวเร่งในแต่ละธีม (Thematic) โดยส่วนที่เป็นแกนหลัก ควรที่จะให้มีการกระจายหลายประเทศ และหลายกลุ่มอุตสาหกรรม
แล้วควรลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกาเท่าไร ? หากอ้างอิงจาก MSCI Index มีสัดส่วนบริษัทในสหรัฐอเมริกา กว่า 58% อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับความชอบ ความเสี่ยงที่รับได้ และความเข้าใจของแต่ละคนด้วย
เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ที่พัฒนาแล้ว มีผลการดำเนินงานดีที่สุดใน 10 ปีที่ผ่านมา คือปีละ 14% และมีความผันผวนต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ
สรุปได้ว่า การลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นของต้องมีในพอร์ต และกลยุทธ์การลงทุนแบบ Active ในหุ้นเติบโต ย่อมมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย นั่นเอง..