[爆卦]DATABANK 大4孔資料夾 13K是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇DATABANK 大4孔資料夾 13K鄉民發文沒有被收入到精華區:在DATABANK 大4孔資料夾 13K這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 databank產品中有23篇Facebook貼文,粉絲數超過3萬的網紅ReLab - Review Laboratory,也在其Facebook貼文中提到, TOP 10 NỀN KINH TẾ CÓ TỐC ĐỘ TĂNG TRƯỞNG NHANH NHẤT THẾ GIỚI (1960-2020) Trong 60 năm này , Việt Nam đã phải trải qua nhiều cuộc chiến liên miên rồi ...

 同時也有5部Youtube影片,追蹤數超過28萬的網紅ジェットダイスケ/JETDAISUKE,也在其Youtube影片中提到,カシオ CASIO データバンク 腕時計 DBC32-1A [逆輸入品]を購入しました。チープカシオやっぱりいいですね。製品はこちら→ http://www.amazon.co.jp/o/ASIN/B000AQVRWO/jetdaisuke-22/ バックトゥザフューチャーのモデルCA-53W-1Z...

databank 在 Rei Shito シトウレイ Instagram 的最讚貼文

2021-05-09 11:41:10

InterFM 今日22時からです📻 良かったら是非お聴きください😊 InterFM today at 10 p.m. Please listen to it if you'd like 😊. I had the pleasure of talking to you about the pho...

  • databank 在 ReLab - Review Laboratory Facebook 的最佳貼文

    2021-09-02 17:06:32
    有 74 人按讚

    TOP 10 NỀN KINH TẾ CÓ TỐC ĐỘ TĂNG TRƯỞNG NHANH NHẤT THẾ GIỚI (1960-2020)

    Trong 60 năm này , Việt Nam đã phải trải qua nhiều cuộc chiến liên miên rồi lại bị Mỹ cấm vận cho đến tận năm 1994. Vậy nhưng những gì mà chúng ta cố gắng và gặt hái được thì trên cả mức tuyệt vời...

    Tự hào là con dân của Việt Nam <3

    Video của hồ sơ X dựa theo thông số của Databank, Wikipedia
    #ReLab #VietNam #Number1

  • databank 在 Focus Taiwan Facebook 的最佳貼文

    2020-10-12 20:00:13
    有 15 人按讚


    A plaque unveiling ceremony for an office that will supervise the National Biobank Consortium of Taiwan, an integrated platform that seeks to establish a mega databank to promote the development of Taiwan's biotechnology industry, was held Monday in Taipei.
    https://focustaiwan.tw/sci-tech/202010120016

  • databank 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答

    2020-08-14 19:49:25
    有 6,802 人按讚

    โมเดลที่จะช่วยทำให้ประเทศไทยหลุดพ้น กับดักรายได้ปานกลาง /โดย ลงทุนแมน
    ประเทศไทยติดกับดักรายได้ปานกลาง
    เราคงเคยได้ยินคำนี้บ่อยๆ แต่อาจยังไม่รู้ความหมายลึกซึ้ง

    อธิบายง่ายๆ คือ ประเทศไทยเราก้าวข้ามจากประเทศที่มีรายได้น้อย
    สู่รายได้ปานกลางอย่างรวดเร็ว แต่สุดท้ายตัวเลขรายได้กลับเติบโตแบบชะลอตัวอยู่นาน
    จนไม่สามารถก้าวข้ามไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงสักที
    ซึ่งประเทศไทยเราติดกับดักนี้มานานกว่า 20 ปี

    โดยในปี 2019 ประชากรไทยมีรายได้เฉลี่ย 248,257 บาทต่อปี
    และหากอยากหลุดพ้นกับดักนี้ รายได้ประชากรไทยต้องมากกว่า 382,000 บาทต่อปี
    เพื่อก้าวสู่ประเทศรายได้สูง ตามกฎเกณฑ์ของธนาคารโลก
    ซึ่งนั้นหมายถึงเราต้องเพิ่มรายได้ประชากรไทยอีกถึง 54%

    เรื่องนี้ก็เลยทำให้ภาครัฐคิดค้นแผนเศรษฐกิจที่ชื่อ BCG Economy Model
    หรือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

    แล้วแผนนี้เป็นอย่างไร
    จะทำให้ประเทศไทยมีรายได้สูงเหมือนประเทศชั้นนำอื่นๆ ได้จริงหรือ?
    ลงทุนแมน จะวิเคราะห์ให้ฟัง
    ╔═══════════╗
    สัมผัสเทคโนโลยีรูปแบบใหม่จากสตาร์ตอัปไทย Blockdit
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
    ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
    รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
    ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ปัญหานี้หลายคนอาจจะบอกว่ามาจากประเทศเราเน้นผลิตสินค้าเกษตร
    ไม่มีแบรนด์สินค้าเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง
    ทำให้สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ติดอยู่กับดักเดิมๆ
    คือแม้ปริมาณสินค้าส่งออกจะมีจำนวนมาก แต่กลับมีรายได้เข้าประเทศน้อย
    ขณะที่กลุ่มประเทศรายได้สูงเน้นส่งออกสินค้าเทคโนโลยีจำนวนมาก และมีรายได้มหาศาล

    ทีนี้หลายคนอาจคิดว่า เรื่องนี้ง่ายนิดเดียวก็แค่เปลี่ยนให้ประเทศไทย
    หันมาผลิตหรือเป็นเจ้าของสินค้าเทคโนโลยีให้มากขึ้น

    คำถามคือ หากสมมติเราเปลี่ยนมาผลิตสินค้าเทคโนโลยีเต็มตัว
    ด้วยการมาทีหลัง เราจะสามารถเทียบชั้นกับคู่แข่งในตลาดโลกได้หรือไม่
    ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือแม้แต่ประเทศจีน
    เรื่องนี้ทุกคนน่าจะมีคำตอบอยู่ในใจ

    โจทย์ก็คือ..ทำไมเราไม่ทำสิ่งที่เราแข็งแกร่งและถนัดที่สุดให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมา
    ในวันนี้ประชากรไทยมีถึง 27 ล้านคนที่อยู่ในภาคการเกษตร
    หรือคิดเป็น 69% จากจำนวนแรงงานทั้งหมดในประเทศ
    แต่กลับสร้างรายได้แค่ 8% จากมูลค่า GDP ทั้งหมดในประเทศ 1.68 ล้านล้านบาท

    เรื่องนี้..เลยทำให้ภาครัฐกำลังคิดจะเปลี่ยนวิธีการทำเกษตร
    จากเดิม “ผลิตมาก รายได้น้อย” ให้เป็น “ผลิตน้อย รายได้มาก”
    ซึ่งหากจะทำอย่างนั้นได้ เราต้องเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรจนถึงอาหารทุกชนิดด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งการ ลดต้นทุน ลดการสูญเสีย เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร
    และส่วนสำคัญอีกอย่างคือเราต้องคิดค้นนวัตกรรมตัวเอง ลดการพึ่งพาต่างประเทศ

    ยกตัวอย่างง่ายๆ ให้เห็นภาพชัดเจน
    อ้อย หากแปรรูปขั้นต้นก็คือ น้ำตาล ซึ่งราคาขายคือ 23 บาทต่อกิโลกรัม
    หากอัปเกรดไปสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีแปรรูปขั้นสูง
    มาเป็น อาหารสัตว์เลี้ยง 100 บาทต่อกิโลกรัม หรือหลอดจากชานอ้อย 160 บาทต่อกิโลกรัม
    จะเห็นว่ามูลค่าเพิ่มขึ้น 300 - 600% เลยทีเดียว

    ที่น่าสนใจก็คือ ยังมีสินค้าเกษตรและอาหารอื่นๆ อีกมากมาย
    ที่สามารถใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อแปรรูปเพิ่มมูลค่าได้

    รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศบนโลกใบนี้
    ที่ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารได้มากกว่าการบริโภคในประเทศตัวเอง
    แต่เรากลับขายสินค้าเหล่านี้ได้ในราคาที่ไม่สูง

    และในอนาคตอันใกล้อีก 30 ปีข้างหน้าหรือในปี 2050
    โลกเราจะมีความต้องการอาหารเพิ่มขึ้นจากเดิม 60%

    แผนเศรษฐกิจนี้ ก็เลยทำให้หน่วยงานรัฐและมหาวิทยาลัยต่างๆ เตรียมความพร้อมให้ความรู้และเทคโนโลยีเกษตรชั้นสูง จนถึงสร้างระบบนิเวศโครงสร้างขั้นพื้นฐานเพื่อเอื้อต่อนวัตกรรมเกษตรรูปแบบใหม่ เพื่อรองรับความต้องการอาหารที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

    หากทำสำเร็จจะทำให้ภาคการเกษตรมีมูลค่า GDP สูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท
    และเพิ่มสัดส่วนการส่งออกสินค้าในกลุ่มมูลค่าสูง
    จาก 20% เป็น 30% ในอีก 5 ปีข้างหน้า

    อย่างไรก็ตามการจะเปลี่ยนสถานะมาสู่ประเทศที่มีรายได้สูง
    หากประชากรในประเทศสุขภาพไม่แข็งแรงตามฐานะการเงินที่ดีขึ้น
    ประเทศก็จะเปราะบางดูดีแค่ภายนอกเท่านั้น

    ดังนั้นนอกจากกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร จะถูกพัฒนาให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและดีต่อสุขภาพคนไทย
    การจัดทำ Thailand Genomic Databank และศูนย์พัฒนานโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมบริการทางการแพทย์ครบวงจร จึงถูกบรรจุเข้าสู่แผนเศรษฐกิจนี้ด้วย

    ซึ่งนอกจากทำให้ประเทศไทยสามารถผลิตยาและอุปกรณ์การแพทย์
    ที่สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์ถึง 70,000 ล้านบาทต่อปี
    ส่วนอีกมุมหนึ่ง ก็ต้องการต่อยอดให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub

    ที่สำคัญโครงการนี้ยังทำให้ประชากรในประเทศ
    สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลในราคาที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น

    ที่กล่าวมาทั้งหมด หลายคนคงน่าจะมีคำถามเดียวกันก็คือ
    ประเทศไทยจะก้าวไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงเมื่อไร
    อีกสัก 10 หรือ 20 ปีข้างหน้า

    ก็ต้องบอกว่าเวลานี้ทั้งภาครัฐผู้กำหนดนโยบาย,สถาบันวิจัย, ตลอดจนภาคเอกชน
    กำลังร่วมมือกันขับเคลื่อนและพัฒนาระบบแผนเศรษฐกิจนี้อย่างจริงจัง

    นับเป็นอีกหนึ่งความหวังเพื่อให้ประเทศเราสามารถหลุดพ้น
    จากกับดักรายได้ปานกลางที่เป็นอยู่มาอย่างยาวนาน

    แต่...สุดท้ายแล้วนอกจากการร่วมมือกันของหน่วยงานต่างๆ อาจไม่เพียงพอ
    เพราะอีกหนึ่งคนสำคัญที่จะทำให้ฝันนี้เป็นจริงขึ้นมาก็คือ
    คนไทยทั้งประเทศที่ต้องร่วมมือกัน ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ

    สรุปแล้วก็คือ มันก็เหมือนเราต่อจิกซอว์ภาพหนึ่ง
    หากขาดชิ้นส่วนใดชิ้นหนึ่ง
    ภาพนั้น ก็จะไม่สมบูรณ์..
    ╔═══════════╗
    สัมผัสเทคโนโลยีรูปแบบใหม่จากสตาร์ตอัปไทย Blockdit
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
    ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
    รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
    ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - longtunman.com
    Blockdit - blockdit.com/longtunman
    Facebook - ลงทุนแมน
    Twitter - twitter.com/longtunman
    Instagram - instagram.com/longtunman
    YouTube - youtube.com/longtunman
    References
    -https://www.nstda.or.th/th/nstda-strategy-plan/nstda2/12785-bcg-economy
    -https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_7Nov2017.pdf
    -https://www.facebook.com/watch/live/?v=297993291559280&ref=watch_permalink
    -https://www.onlinenewstime.com/สภาพัฒน์-เผยเศรษฐกิจไทย/news-update/