雖然這篇Allelopathy鄉民發文沒有被收入到精華區:在Allelopathy這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 allelopathy產品中有2篇Facebook貼文,粉絲數超過27萬的網紅อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์,也在其Facebook貼文中提到, "ต้นพญาสัตบรรณ ไม่ได้ปล่อยสารพิษไซยาไนด์ แต่แค่กลิ่นเหม็น (หอม ?)" เรื่องมั่ว ๆเกี่ยวกับ "ต้นพญาสัตบรรณ" หรือ "ต้นตีนเป็ด" กลับมาแชร์กันอีกแล้วครับ โ...
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
allelopathy 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最讚貼文
"ต้นพญาสัตบรรณ ไม่ได้ปล่อยสารพิษไซยาไนด์ แต่แค่กลิ่นเหม็น (หอม ?)"
เรื่องมั่ว ๆเกี่ยวกับ "ต้นพญาสัตบรรณ" หรือ "ต้นตีนเป็ด" กลับมาแชร์กันอีกแล้วครับ โดยหาว่าเป็นต้นไม้พิษ ที่กลางคืนจะปล่อยพิษ "พวกไซยาไนด์" ออกมา โดยเฉพาะในช่วงฤดูออกดอก ... ไม่จริงนะครับ !! มันเป็นแค่ต้นไม้ที่ดอกส่งกลิ่นแรง ซึ่งบางคนก็ว่าเหม็น บางคนก็ว่าหอม
(อ้อ .. แล้วอย่าสับสนกับ "ต้นตีนเป็ดน้ำ" ที่ยางมีพิษด้วยนะครับ)
#ต้นพญาสัตบรรณหรือต้นตีนเป็ด (รูปขวาบน)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alstonia scholaris (L.) R. Br. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย เป็นไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นชั้น ๆ (เหมือนฉัตร) มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เปลือกต้นหนาเปราะ ผิวต้นเมื่อกรีดจะมียางสีขาว ออกดอกเป็นช่อคล้ายดอกเข็มที่ปลายกิ่งหรือส่วนยอดของลำต้น ดอกมีขาวอมเหลืองหรือเขียว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
พญาสัตบรรณเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาธี (Allelopathy) คือ สารสกัดสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของต้นคะน้า ข้าวโพด ข้าว ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวมัน และคะน้าได้ มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากมายรวมทั้งใช้ใบพอกเพื่อดับพิษต่าง ๆ ได้ (ไม่มีรายงานถึงพิษอันตรายต่อมนุษย์) นอกจากนี้ ยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครอีกด้วย
#ต้นตีนเป็ดน้ำหรือต้นตีนเป็ดทะเล (รูปขวาล่าง)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cerbera odollam Gaertn. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ดเช่นกันกับต้นพญาสัตบรรณ มีถิ่นกำเนิดในอินเดียจนถึงทางตอนใต้ของจีน ในประเทศไทยนั้นจะพบเฉพาะทางภาคใต้ เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดเล็ก ทรงร่ม เรือนยอดเป็นทรงกลมทึบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-15 เมตร เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา มีช่องระบายอากาศเป็นร่องยาว มีน้ำยางสีขาวข้น มักพบขึ้นตามบริเวณริมน้ำ ตามป่าชายเลน ป่าบึงน้ำจืด และป่าชายหาด ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกหลายดอก ดอกย่อยเป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
ต้นตีนเป็ดน้ำมีทรงพุ่มสวยงาม ผลและดอกสวย มีกลิ่นหอม จึงใช้ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาตามลานจอดรถหรือริมถนนได้ แต่ยางจากต้น ใบ ผล และเนื้อในผล มีพิษเป็นอันตราย (มีสาร Cerberoside และ Thevobioside ที่เป็นพิษต่อหัวใจ) เมล็ดมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อหัวใจ ที่เรียกว่า "คาร์เบอริน" (Cerberin) ซึ่งมีการนำมาใช้ในการวางยาพิษ หากได้รับในปริมาณมากก็สามารถฆ่าคนได้เลย น้ำยางหากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ (แต่พิษทั้งหมดนี้ ก็ไม่อยู่ถูกคายออกมาในอากาศ ให้คนสูดดมเข้าไปแล้วเป็นอันตราย แต่อย่างไร) จึงไม่ควรปลูกใกล้กับสนามเด็กเล่นหรือบริเวณที่มีเด็กอยู่
ข้อมูลและรูปจาก https://medthai.com/%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93/ และ https://medthai.com/%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3/
allelopathy 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最讚貼文
"บัวตอง มหันตภัยเอเลี่ยนสปีชีส์ (ต่อ)"
หลังจากโพสต์ที่แล้ว ที่ช่วยอาจารย์ปูเป้ Sasivimon Pu-Pe Swangpol เตือนภัยเกี่ยวกับ "ต้นบัวตอง" ว่าก็เป็นอีกหนึ่งเอเลี่ยนสปีชีส์ สิ่งมีชีวิตรุกรานต่างถิิ่น ที่ทำอันตรายร้ายแรงต่อระบบนิเวศของบ้านเรา และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะไปส่งเสริมให้ปลูกแพร่กระจายพันธุ์ อย่างที่นิยมทำเพื่อการท่องเที่ยวกันอยู่ตอนนี้ ... ก็ได้รับคอมเม้นต์กลับมาเยอะทีเดียว ว่าขอข้อมูลหลักฐานเพิ่ม ก็เลยจัดให้ครับ
ต้นบัวตอง ไม่ใช่พืชท้องถิ่นบ้านเราอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกากลาง และสามารถปรับตัวได้ดีมาก จนมันกลายเป็นพืชต่างถิ่นรุกรานอย่างรุนแรงในหลายประเทศ ทั้งจีน อินเดีย เมียนมาร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ รวมถึงไทย ที่พบระบาดไปหลายจังหวัดในภาคเหนือ โดยเฉพาะแม่ฮ่องสอน (ซึ่งมีการปลูกเพิื่อการท่องเที่ยวด้วย) เชียงใหม่ และเชียงราย
เห็นบัวตองเป็นไม้พุ่ม แต่มันก็สูงได้ถึง 5 เมตร เติบโตได้แม้ว่าดินจะเลว จะร้อน จะแล้ง ก็โตได้ ยิ่งในฤดูฝน มันจะแตกกิ่งหนาแน่นมาก และบังแสงจนทำให้พืชท้องถิ่นที่อยู่ใต้มันเจริญเติบโตไม่ได้ ... แถมมันยังกระจายพันธุ์ได้ดี ตลอดปี ด้วยเมล็ดขนาดเล็กที่มีเป็นจำนวนมาก ปลิวไปได้ง่าย และอัตราการงอกสูง
ปัญหาใหญ่ของบัวตองคือ การที่มันสารพิษ (phytotoxin) ที่เป็นอัลลีโลพาธี allelopathy คือสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชอื่นได้ (ชื่อว่า sesquiterpene lactones) ... พบว่ามันได้แพร่พันธุ์ทำลายทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และป่าหญ้าตามธรรมชาติในหลายประเทศ ส่งผลกระทบให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง
ที่สำคัญคือ บัวตองกำจัดได้ยากมาก เพราะถึงไปตัดฟันทำลาย
ก็จะงอกต้นใหม่จากต้นตอที่เหลือได้อย่างรวดเร็ว ... ต้องใช้วิธีการขุดถอนออกทั้งราก หรือต้องฉีดพ่นฆ่าด้วยสารเคมี เช่น ไกลโฟเสต ถึงจะได้ผล
ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ ในระดับนานาชาติ จึงได้จัดบัวตองให้อยู่ในรายการชนิดพันธุ์รุกรานระดับโลก (Global Invasive Species Database) ( ดู https://www.cabi.org/isc/datasheet/54020 ) แต่บ้านเรา นอกจากในแวดวงวิชาการแล้ว ก็ไม่ค่อยมีใครกล้าไปแตะต้องเรื่องนี้หรอก เพราะมันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวไปแล้ว !
ภาพประกอบจาก http://chm-thai.onep.go.th/…/data_…/Chiangmai/alien_spp.html ของ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลสรุปจาก https://www.facebook.com/sasivimon.swangpol/posts/10212844684406184
------------------
สนใจหนังสือ "อ๋อ! มันเป็นอย่างนี้นี่เอง" ติดต่อสั่งซื้อได้ที่เว็บไซต์ สนพ. มติชน http://www.matichonbook.com/…/matichonb…/newbooks/-2997.html