[爆卦]2.3.1 studio是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇2.3.1 studio鄉民發文沒有被收入到精華區:在2.3.1 studio這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 2.3.1產品中有31篇Facebook貼文,粉絲數超過1萬的網紅sittikorn saksang,也在其Facebook貼文中提到, ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการกระทำทางปกครองโดยองค์กรภายในฝ่ายปกครอง (ข้อมูลส่วนหนึ่งในรายงานวิจัย เรื่อง “ความสัมพันธ์ระห...

 同時也有64部Youtube影片,追蹤數超過42萬的網紅APPDAYS,也在其Youtube影片中提到,LINK DOWNLOAD APP iOS : https://itunes.apple.com/au/app/pes-2017-pro-evolution-soccer/id1117270703?mt=8 Android : https://play.google.com/store/app...

  • 2.3.1 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文

    2021-05-10 09:41:17
    有 33 人按讚

    ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการกระทำทางปกครองโดยองค์กรภายในฝ่ายปกครอง

    (ข้อมูลส่วนหนึ่งในรายงานวิจัย เรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการกระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะโดยองค์ภายในฝ่ายปกครอง : กรณีศึกษากฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายข้อมูลข่าว)

    เมื่อพิจารณาศึกษาถึงความสำพันธ์ระหว่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการกระทำทางปกครอง คือ พระราชบัญญัติวีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมแบบป้องกัน (การควบคุมก่อนการดำเนินการ) และการควบคุมแบบป้องกัน (การควบคุมหลังดำเนินการ) แต่จะเป็นการควบคุมโดยองค์กรภายในฝ่ายปกครองเท่านั้น ดังนี้

    1.ความสัมพันธ์ระหว่างพระราชบัญญัติวีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 กับพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
    พระราชบัญญัติวีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 กับพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีความสัมพันธ์อยู่หลายประการ ด้วยกันดังนี้

    1.1 ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่อันเกิดจากคำสั่งทางปกครอง

    ในกรณีเจ้าหน้าที่ออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อันเป็นสาระสำคัญที่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 กำหนดไว้ คำสั่งทางปกครองนั้นย่อมเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน กรณีนี้ต้องถือว่าเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ตามาตรา 5 พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และเป็นการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่อันเกิดจากคำสั่งทางปกครอง จึงต้องมีการร้องขอต่อฝ่ายปกครองที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสังกัดให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ตน

    1.2 คำสั่งชดใช้ค่าเสียหายกับผู้ได้รับผลกระทบจากคำสั่งทางปกครอง

    ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งทางปกครองเป็นผู้เสียหายยื่นขอต่อฝ่ายปกครองให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ตน เมื่อฝ่ายปกครองพิจารณาคำขอของผู้เสียหายแล้วมีคำสั่งชดใช้หรือไม่ชดใช้ค่าเสียหาย ตามาตรา 11 พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 คำสั่งดังกล่าวเป็น “คำสั่งทางปกครอง” ตามมาตรา 5 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 หากผู้เสียหายที่ยื่นคำขอไม่พอใจผลของคำสั่งทางปกครองดังกล่าว ผู้เสียหายที่ยื่นคำขอก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองหรือศาลยุติธรรมแล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา 44 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ต่อฝ่ายปกครองอีก

    1.3 คำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้เงิน

    ฝ่ายปกครองสามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยจากหน้าที่ที่ออกคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ชำระเงินตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นจะพึงชดใช้ให้แก่ตนได้ตามมาตรา 12 พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งคำสั่งเรียกให้ใช้เงินดังกล่าวเป็น “คำสั่งทางปกครอง” ตามมาตรา 5 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และหากเจ้าหน้าที่ผู้รับคำสั่งไม่ชำระเงินโดยถูกต้องตามครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด ผู้เป็นหัวหน้าหน่วยงานของฝ่ายปกครองแห่งนั้น อาจมีหนังสือเตือนให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำสั่งชำระเงินภายในเวลาที่กำหนดแต่ไม่น้อยกว่า 7 วัน ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำเตือน ผู้เป็นหัวหน้าหน่วยงานของฝ่ายปกครองแห่งนั้น อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยยึด อายัดทรัพย์สินของเจ้าหนาที่และขายทอดตลาดเพื่อชำระเงินให้ครบถ้วนตามมาตรา 57 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยเจ้าหน้าที่ผู้ที่ถูกไล่เบี้ยสามารถอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับการยึด อายัดทรัพย์สิน ตามมาตรา 44 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ถ้าไม่เป็นผลที่พอใจก็ให้ฟ้องต่อศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรค 1 (1)

    2.ความสัมพันธ์ระหว่างพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539กับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

    พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539กับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้

    2.1 การออกคำสั่งที่ไม่เดเผยหรือเปิดเผยข้อมูลที่เป็นคำสั่งทางปกครอง
    การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ในหลายกรณีต้องกระทำในรูปของคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา 5 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เช่น คำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 14,15 คำสั่งไม่รับคำคัดค้านของผู้ถูกกระทบถึงประโยชน์ได้เสียจากการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา 25 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เป็นต้น

    2.2 กรณีที่ต้องรักษาข้อมูลข่าวสารไว้เป็นความลับ

    พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 31 วรรค 1 กำหนดให้คู่กรณีย่อมมีสิทธิขอตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานที่จำเป็นเพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจงหรือปังกันสิทธิของตนเท่านั้น มิใช่ขอดูเอกสารเพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่น อย่างไรก็ตามถ้าเอกสารหรือพยานหลักฐานที่คู่กรณีขอตรวจดูนั้นเป็นเอกสารหรือพยานหลักฐานที่ต้องเก็บรักษาไว้เป็นความลับ เจ้าหน้าที่ย่อมมีสิทธิปฏิเสธไม่อนุญาตให้คู่กรณีตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานตามที่ขอได้เช่นกัน ตามมาตรา 32 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งเอกสารที่เป็นความลับ เช่น เอกสารที่มีเนื้อหากระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เจ้าหน้าที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับเสมอ ตามมาตรา 14,15 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เป็นต้น

    2.3 สิทธิขอให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ

    สิทธิขอให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการพระราชพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดให้สิทธิบุคคลทั่วไปมีสิทธิที่ขอดูข้อมูลข่าวสารของราชการ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ขอดู แต่ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 31 ให้สิทธิคู่กรณีในกระบวนการพิจารณาทางปกครองเท่านั้นที่จำเป็นต้องได้รู้เพื่อประโยชน์ในการโต้แย้งหรือชี้แจงหรือป้องกันสิทธิของตน ซึ่งมีข้อพิจารณาในเรื่องสิทธิขอให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ ดังนี้

    2.3.1 พิจารณาถึงการเข้าถึงสิทธิที่จะขอดูข้อมูลข่าวสารของราชการ
    พิจารณาถึงการเข้าถึงสิทธิที่จะขอดูข้อมูลข่าวสารของราชการ จะเห็นได้ว่า ผู้มีสิทธิที่เป็น “บุคคลทั่วไป” ให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามพระราชพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 จะกว้างกว่า ผู้มีสิทธิที่เป็น “คูกรณี” ที่ขอให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเพื่อประโยชน์ในการโต้แย้งหรือชี้แจงหรือป้องกันสิทธิของตน ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

    2.3.2พิจารณาในแง่ขอบเขตของเนื้อหาที่สามารถขอให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ
    พิจารณาในแง่ขอบเขตของเนื้อหาที่สามารถขอให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ จะเห็นได้ว่าขอบเขตของเนื้อหาที่ให้สิทธิ “บุคคลทั่วไป”สามารถร้องขอเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 แคบกว่าขอบเขตของเนื้อหาที่ให้สิทธิ “คู่กรณี” ร้องขอให้สามารถเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 กล่าวอีกนัยหนึ่ง “คู่กรณี” ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ย่อมมีสิทธิที่จะขอตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้มากกว่าสิทธิของ “บุคคลทั่วไป” พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

    3.ความสัมพันธ์ระหว่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 กับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

    พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 กับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีความสัมพันธ์กันในประเด็นที่สำคัญ คือ การปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 อาจก่อให้เกิดความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่เช่นกันการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ เช่นการละเมิดอันเกิดจากการละเลยไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้ตามคำขอ การละเมิดอันเกิดจากคำสั่งไม่แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล การละเมิดอันเกิดจากคำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น ในกรณีเหล่านี้ย่อมถือได้ว่าเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 5 พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และในขณะเดียวกันก็เป็นการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่อันเกิดการใช้กฎหมาย หรือ จาก กฎ หรือ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่นๆหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินเกิน ที่ต้องถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

  • 2.3.1 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文

    2020-05-07 07:51:08
    有 7 人按讚

    ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นศาลที่จัดตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยมีการสถาปนาขึ้นครั้งแรกภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีวัตถุระสงค์เพื่อให้เป็นองค์กรตุลาการที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในทางกฎหมาย ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ได้รับรองให้มีศาลดังกล่าวเช่นกัน ในปัจจุบันภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังคงบัญญัติให้มีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกาอยู่เช่นเดิม ดังนี้

    1. ที่มาและอำนาจหน้าที่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    เมื่อพิจารณาถึงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาราจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดให้มีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกาในระบบศาลยุติธรรมแยกต่างหากจากศาลยุติธรรมปกติ มีที่มาและอำนาจหน้าที่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนี้

    1.1 ที่มาและการพ้นจากตำแหน่งของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    1.1.1 ที่มาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาราจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 195[1] กำหนดให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีองค์คณะผู้พิพากษา ประกอบด้วย ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 9 คน และให้เลือกเป็นรายคดีตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 11

    ข้อสังเกต พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 9 ได้กำหนดในกรณีที่ยังไม่มีองค์คณะผู้พิพากษาให้ประธานศาลฎีกาแต่งตั้งผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวนตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวนตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิพากษาประจำแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    1.1.2 การพ้นหน้าที่ของผู้พิพากษาในองค์คณะผู้พิพากษา

    ภายใต้มาตรา 12 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 ได้กำหนดวิธีการพ้นหน้าที่ของผู้พิพากษาในองค์คณะผู้พิพากษา มีดังนี้

    1. พ้นจากการเป็นข้าราชการตุลาการ

    2. ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ไปดำรงตำแหน่งที่ศาลอื่น

    3. ถอนตัวเนื่องจากจากการคัดค้านผู้พิพากษาและองค์คณะผู้พิพากษามีคำสั่งยอมรับการคัดค้าน

    4. มีเหตุสมควรและได้รับอนุญาตจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้ถอนตัว

    1.2 อำนาจหน้าที่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธสักราช 2560 มาตรา 195 และมาตรา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 10 กำหนดให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ดังต่อไปนี้

    1. คดีที่มีมูลแห่งคดีเป็นการกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเฉพาะตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตุลาการรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระหรือผู้ว่าตรวจเงินแผ่นดิน ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

    2. คดีที่คณะผู้ไต่สวนอิสระเห็นว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่ขัดหรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

    3. คดีที่มีมูลแห่งคดีเป็นการกล่าวหาบุคคลอื่นซึ่งมิใช่บุคคลตาม 1. และ 2. เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดทางอาญาตามตาม 1. หรือ 2. รวมทั้งผู้ให้ ผู้ขอให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่บุคคลตามตาม 1. หรือ 2. เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการหรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่

    4. คดีที่บุคคลตาม 1. หรือกรรรมการ ป.ป.ช. หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามมาตรา 57 วรรค 2 จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบและมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สิน

    2. กระบวนการการดำเนินคดีอาญาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    กระบวนการการดำเนินคดีอาญาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะกล่าวถึง ผู้มีอำนาจฟ้อง คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ การฟ้องคดีอาญาต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ การพิจารณาและการไต่สวนพยานหลักฐาน การดำเนินคดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน การดำเนินคดีต่อกรรมการ ป.ป.ช. การดำเนินคดีเกี่ยวกับการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน การอุทธรณ์คำพิพากษา และผลของคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ดังนี้

    2.1 ผู้มีอำนาจฟ้องคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    ผู้มีอำนาจฟ้องคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ประกอบด้วย อัยการสูงสุด กับคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกำหนด

    การฟ้องคดีอาญาสำหรับการกระทำอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทและบทใดบทหนึ่งอยู่ในอำนาจของศาล ให้ศาลรับพิจารณาข้อหาความผิดบทอื่นไว้ด้วย ในกรรีที่พบว่า ศาลอื่นรับฟ้องคดีในข้อหาความผิดอาญาบทอื่นจากการกระทำผิดกรรมเดียวกับการกระทำความผิดตามที่มีการยื่นฟ้องคดีให้องค์คณะผู้พิพากษาแจ้งไปยังศาลอื่นที่รับฟ้องดังกล่าวเพื่อโอนคดีดังกล่าวมายังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือศาลอื่นจะขอโอนคดีดังกล่าวมายังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเองก็ได้ และให้ถือว่ากระบวนการพิจารณาที่ได้ดำเนินการไปแล้วในศาลอื่นก่อนมีคำพิพากษาไม่เสียไป เว้นแต่องค์คระผู้พิพากษาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

    2.2 การฟ้องคดีอาญาต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    การฟ้องคดีอาญาต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นั้นคำฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีข้อความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158[2] แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีข้อความที่เป็นการกล่าวหาเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย และต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่ากระทำความผิด พร้อมทั้งชี้ชิ่งพยานหลักฐานให้ชัดเจนเพียงพอที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปได้

    ในวันยื่นฟ้องให้จำเลยมาหรือคุมตัวมาศาล เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาศาลและอัยการสูงสุดหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหลักฐานแสดงต่อศาลว่าได้เคยมีการออกหมายจับผู้ถูกกล่าวหาแล้วแต่ยังไม่ได้ตัวมา หรือเหตุที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาศาลเกิดจากการประวิงคดีหรือไม่มาศาลตามนัดโดยไม่มีเหตุแก้ตัวอันควร ให้ศาลประทับรับฟ้องไว้พิจารณาได้ แม้จะไม่ปรากฏผู้ถูกกล่าวหาต่อหน้าศาลโดยให้โจทก์ส่งสำรนวนไต่สวนของคระกรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะผู้ไต่สวนอิสระแล้วแต่กรณี พร้อมสำเนาอิเล็กทรอนิกส์ต่อศาลเพื่อใช้เป็นหลักในการพิจารราและรวมไว้ในสำนวน ทั้งนี้ศาลอาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร กรณีที่ศาลเห็นว่าฟ้องไม่ถูกต้อง ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง การฟ้องคดีอาญาต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง

    ในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล เมื่อศาลประทับรับฟ้องไว้แล้วและศาลได้สางหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้จำเลยราบโดยชอบแล้ว แต่จำเลยไม่มาศาล ให้ศาลออกหมายจับจำเลยและให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการติดตามหรือจับกุมจำเลยรายงานผลการติดตามจับกุมเป็นระยะตามที่ศาลกำหนด ในกรณีที่ได้ออกหมายจับเลยและได้มีการดำเนินการติดตามจับกุมแล้ว แต่ไม่สามารถจับจำเลยได้ภายใน 3 เดือน นับแต่ออกหมายจับ ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีได้โดยไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะตั้งทนายความมาดำเนินการแทนตนได้ และไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะมาศาลเพื่อต่อสู้คดีในเวลาใดก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา แต่การมาศาลดังกล่าวไม่มีผลให้การไต่สวนและการดำเนินกระบวนการพิจารณาที่ได้ทำไปแล้วต้องเสียไป

    เมื่อได้ยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้อายะความสุดหยุดลง ในกรณีที่ผู้ถูกล่าวหาหรือจำเลยหลบหนีไปในระหว่างถูกดำเนินคดีหรือระหว่างการพิจารณาคดีของศาลมิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ ในกรณีมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลย ถ้าจำเลยหลบหนีไปในระหว่างต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา98[3] แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับ และเมื่อศาลประทับรับฟ้องแล้วห้ามมิให้ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง เว้นแต่จะได้ความว่าหากไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องจะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรม

    2.3 การพิจารณาและการไต่สวนพยานหลักฐาน

    การพิจารณาและการไต่สวนพยานหลักฐานในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีดังนี้

    2.3.1 การพิจารณาคดีอาญาในกรณีมีตัวจำเลย

    การพิจารณาและการไต่สวนพยานหลักฐานในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้กระทำโดยเปิดเผย เมื่อศาลประทับรับฟ้องแล้วให้ศาลส่งสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยและนัดคู่ความมาศาลในวันพิจารณาครั้งแรก ในการนี้นับแต่วันที่จำเลยได้รับสำเนาฟ้อง ให้จำเลยมีสิทธิขอตรวจและขอคัดสำเนาเอกสารในสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในพิจารณาครั้งแรก เมื่อจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลและศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้ฟังและถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คำให้การของจำเลยให้บันทึกไว้ ถ้าจำเลยไม่ให้คำให้การก็ให้บันทึกไว้ และถ้าจำเลยให้การปฏิเสธหรือไม่ให้การ ก็ให้ศาลกำหนดวันตรวจพยานหลักฐานโดยให้โจทก์ จำเลย ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วัน ในกรณีที่จำเลยมิได้มาศาลในวันพิจารณาครั้งแรกไม่ว่าด้วยเหตุใดให้ถือว่าจำเลยให้การปฏิเสธ

    ในกรณีที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แม้ข้อหาที่จำเลยรับสารภาพนั้นกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกน้อยกว่า 5 ปี หรือโทษสถานที่เบากว่านั้น ศาลอาจเรียกพยานหลักฐานมาไต่สวนต่อไป เพื่อทราบถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยกระทำความผิดจริงได้

    ให้โจทก์ จำเลย ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลพร้อมสำเนาในจำนวนที่เพียงพอก่อนวันพิจารณาตรวจพยานหลักฐานไม่น้อยกว่า 7 วัน การยื่นบัญชีระบุพยานเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าวจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากองค์คณะผู้พิพากษา เมื่อมีเหตุอันควรแสดงได้ว่าไม่สามารถทราบถึงพยานหลักฐานนั้นหรือเป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยติธรรมหรือเพื่อให้โอกาสแก่จำเลยในการต่อสู้คดี

    ในวันตรวจพยานหลักฐานให้โจทก์ จำเลย ส่งพยานเอกสารและพยานวัตถุต่อศาลเพื่อให้อีกฝ่ายตรวจสอบ เว้นแต่องค์คณะผู้พิพากษาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น เนื่องจากสภาพและความจำเป็นแห่งพยานหลักฐานนั้น หลังจากนั้นให้โจทก์ จำเลย แถลงแนวทางการเสนอพยานหลักฐานต่อองค์ต่อองค์คณะผู้พิพากษา เพื่อประโยชน์ในการค้นหาความจริง แม้จำเลยจะมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานหรือมิได้ส่งพยานเอกสารและพยานวัตถุต่อศาล เพราะเหตุที่จำเลยไม่มาศาลและไม่มีทนายความหรือแม้โจทก์ จำเลย จะมิได้มีการโต้แย้งพยานหลักฐานไว้ หรือมีการโต้แย้งพยานหลักฐานภายหลังวันตรวจพยานหลักฐาน องค์คณะผู้พิพากษาจะไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมก็ได้

    ในกรณีที่ต้องมีการไต่สวนให้องค์คณะผู้พิพากษากำหนดวันเริ่มไต่สวนโดยแจ้งให้โจทก์ จำเลย ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน การไต่สวนพยานบุคคลไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลเรียกมาเอง ให้องค์คณะผู้พิพากษาสอบถามพยานบุคคลเอง โดยการแจ้งให้พยานทราบประเด็นและข้อเท็จจริงที่จะไต่สวน แล้วให้พยานเบิกความในข้อนั้นโดยวิธีการแถลงด้วยตนเองหรือตอบคำถามศาล ศาลอาจถามพยานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด ๆ ที่เกี่ยวกับคดี แม้คู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างก็ตาม แล้วจึงอนุญาตให้คู่ความถามพยานเพิ่มเติม การถามพยานจะใช้คำถามนำตามที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ หลังจากคู่ความถามพยานแล้ว ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดถามพยานอีก เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล

    2.3.2 การพิจารณาลับหลังจำเลย

    เพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะสำคัญ ให้ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาเป็นการลับได้ เมื่อศาลเห็นเป็นการสมควร เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปโดยไม่ชักช้า ศาลมีอำนาจไต่สวนพยานหลักฐานลับหลังจำเลยได้ในกรณี ดังต่อไปนี้

    1. กรณีจำเลยไม่อาจมาฟังการไต่สวนพยานหลักฐานได้เนื่องจากความเจ็บป่วยหรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ เมื่อจำเลยมีทนายและจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลที่จะไม่มาฟังการพิจารณาและสืบพยาน

    2. กรณีจำเลยเป็นนิติบุคคลและศาลได้ออกหมายจับผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคลนั้นแล้วแต่ยังจับตัวไม่ได้

    3. กรณีจำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้วแต่ได้หลบหนีไปและศาลได้ออกหมายจับแล้วแต่ยังจับตัวมาไม่ได้ หากต้องมีการส่งหนังสือ คำสั่ง หรือหมายศาลให้ส่งไปยังทนายความของจำเลยแทน

    4. กรณีในระหว่างพิจารณาหรือไต่สวน ศาลมีคำสั่งให้จำเลยออกจากห้องพิจารณา เพราะเหตุขัดขวางการพิจารณาหรือจำเลยออกจากห้องพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล

    5.กรณีจำเลยทราบวันนัดแล้วไม่มาศาลโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องไต่สวนพยานหลักฐานใดในในนัดนั้นโดยไม่เลื่อนคดี

    2.3.3 การดำเนินคดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน

    นอกจากการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในกรณีที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติแล้วต้องมีการดำเนินคดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ดังนี้

    1. ผู้มีอำนาจร้องขอ คือ อัยการสูงสุด คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

    2. คำร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป้นของแผ่นดิน นอกจากจะต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกล่าวหาและพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ถูกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติแล้ว จะต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินและสถานที่ตั้งของทรัพย์สินที่ขอให้ตกเป็นของแผ่นดิน ชื่อและที่อยู่ของผู้ครอบครองหรือมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในขณะยื่นคำร้องด้วย เมื่อได้รับคำร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินให้ศาลประกาศคำร้องดังกล่าวในที่เปิดเผยตามวิธีการในข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา บุคคลภายนอกอาจร้องคัดค้านเข้ามาในคดีได้ แต่ต้องกระทำก่อนศาลมีคำพิพากษา

    3. ผู้ใดกล่าวอ้างโต้แย้งว่าทรัพย์สินที่ร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดินมิได้เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ ผู้นั้นมีภาระพิสูจน์ต่อศาล ถ้าผู้มีภาระการพิสูจน์ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินที่ร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดินมิได้เกิดจากการร่ำรวยผิดปกติ ให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป้นของแผ่นดิน

    4. ในกรณีที่ผู้ที่กล่าวอ้างโต้แย้งเป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดก ให้ศาลคำนึงถึงความสามารถในการพิสูจน์ของบุคคลดังกล่าวและพิจารณาพิพากษาตามที่เห็นว่าเป็นธรรม

    2.3.4 การดำเนินคดีอาญาโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อกรรมการ ป.ป.ช.

    การดำเนินคดีต่อกรรมการ ป.ป.ช. โดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นั้นผู้สิทธิยื่นเสนอให้ดำเนินคดี ผู้มีอำนาจไต่สวนคดี และผู้มีอำนาจฟ้องคดีดังนี้

    1. ผู้มีสิทธิยื่นเสนอให้ดำเนินคดีอาญาต่อกรรมการ ป.ป.ช. มีดังต่อไปนี้

    1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้ง 2 สภา จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา

    2) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20,000 คน

    2. ข้อกล่าวหาของกรรมการ ป.ป.ช. ที่จะถูกดำเนินคดี คือ กรรมการป.ป.ช. ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามาตรฐานทางจริยธรรมมายังศาลฎีกา

    3. การตั้งและการดำเนินการของผู้ไต่สวนอิสระ ดังนี้

    1) ให้ประธานศาลฎีกาพิจารณาตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระจำนวน ไม่น้อยกว่า 7 คนทำหน้าที่ไต่สวนอิสระ มีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

    2) คณะผู้ไต่สวนอิสระมีอำนาสั่งการให้กรรมการ ป.ป.ช. ผู้ถูกกล่าวหาแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุติที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เพื่อประกอบการไต่สวนตามรายการวิธีการและภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน โดยจะเรียกรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ได้เคยยื่นไว้จากผู้ซึ่งเก็บรักษาเพื่อนามาเทียบเคียงก็ได้

    3) การดำเนินการไต่สวนแล้วเสร็จ ถ้าเห็นว่าไม่มีมูลให้สั่งยุติเรื่องและให้คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุด ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์ตามที่กล่าวหาและมิใช่เป็นกรณีที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้ส่งสำนวนไต่สวนไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    4) การไต่สวนและดำเนินกรต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็นให้ยื่นคำขอต่อประธานศาลฎีกาเพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาตามที่เห็นสมควร

    5) ให้อัยการสูงสุดฟ้องคดีอาญาตามความเห็นของคณะผู้ไต่สวนอิสระภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง ในกรณีที่ไม่อาจฟ้องคดีได้ก่อนพ้นระยะเวลา 60 วัน ให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อประธานศาลฎีกาเพื่อขาอนุญาตขยายระยะเวลาฟ้องคดีออกไปได้อีกไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันครบกำหนด แต่ทั้งนี้ต้องฟ้องภายในอายุความ

    2.3.5 การดำเนินคดีเกี่ยวกับการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน

    การดำเนินคดีเกี่ยวกับการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน มีข้อพิจารณา ดังนี้

    2.3.5.1 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินคดีเกี่ยวกับการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน

    การดำเนินคดีเกี่ยวกับการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินมีกรณีดังต่อไปนี้

    1. ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเฉพาะที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระหรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินผู้ใดจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือจงใจยืนบัญชีแสดงทรัพย์สินหรือหนี้สินอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบและมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำเป็นคำร้องยื่นตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกำหนด

    2.ในกรณีที่กรรมการ ป.ป.ช.หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ถูกกล่าวหาอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้เป็นอำนาจชองหน่วยงานที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกำหนด

    2.3.5ใ2 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับคำร้องดำเนินคดีเกี่ยวกับการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน

    คำร้องดำเนินคดีเกี่ยวกับการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งผู้นั้น บุคคลซึ่งผู้นั้นมีหน้าที่รับผิดชอบต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ระยะเวลาที่ต้องยื่นรวมทั้งข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดโดยชัดแจ้ง พร้อมทั้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ผลการตรวจสอบและรายงานของพนักงานเจ้าหนาที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต รวมทั้งมติและรายงานการประชุมของคระกรรมการ ป.ป.ช.

    2.4 การฟังคำพิพากษาคดี

    เมื่อการไต่สวนพยานหลักฐานเสร็จสิ้นโจทก์ จำเลยมีสิทธิแถลงปิดคดีของตนภายในเวลาที่ศาลกำหนด แล้วให้องค์คณะผู้พิพากษามีคำพิพากษาและให้อ่านคำพิพากษาภายใน 30 วัน นับแต่วันเสร็จการพิจารณา ในกรณีที่ศาลนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่จำเลยที่ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาฟังคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งลับหลังจำเลยได้ และให้ถือว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นแล้ว ในการพิจารณาคดีที่มีการออกหมายจับจำเลย แต่ไม่สามารถจับจำเลยได้ ภายใน 3 เดือน นับแต่วันออกหมายจับ เมื่อศาลนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ปิดประกาศแจ้งการนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ณ ภูมิลำเนา หรือ ที่อยู่ที่ปรากฏตามหลักฐานทางทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของจำเลย หรือวิธีการอื่นตามที่เห็นสมควรและให้ถือว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้ว

    2.5 การอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    คำพิพากษาของศาลให้อุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ในกรณีที่จำเลยซึ่งไม่ได้ถูกคุมขังเป็นผู้อุทธรณ์จำเลยจะยื่นได้ต่อเมื่อแสดงตนต่อหน้าเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ มีฉะนั้นให้ศาลมีคำสั่งไม่รับคำอุทธรณ์คำพิพากษา คดีที่ไม่มีการอุทธรณ์คำพิพากษาให้เป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ศาลได้อ่านคำพิพากษาหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษา แต่ถ้าเป็นคดีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ศาลมีหน้าที่ต้องส่งสำนวนคดีดังกล่าวต่อไปให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพื่อพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ การวินิจฉัยอุทธรณ์ของที่ประชุมใหญ่ ให้ดำเนินการโดยองค์คณะของศาลฎีกา ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษา จำนวน 9 คน ซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจากผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งไม่เคยพิจารณาคดีนั้นมาก่อนโดยให้เลือกเป็นรายคดี คำวินิจฉัยอุทธรณ์ขององค์คณะให้ถือว่าเป็นคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา

    2.6 ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    เมื่อศาลศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองประทับรับฟ้องให้ผู้ถูกกล่าวหา “หยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคำพิพากษา เว้นแต่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะมีคำสั่งเป็นย่างอื่น”ดังนี้

    ในกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะมีคำพิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์หรือกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาแล้วแต่กรณี “ให้ผู้ต้องหาคำพิพากษานั้นพ้นจากตำแหน่ง นับแต่วันหยุดปฏิบัติหน้าที่” และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้นและจะเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดไม่เกิน 10 ปีด้วยหรือไม่ก็ได้ ผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไม่ว่ากรณีใด ผู้นั้นไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไปและไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ

    ในกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหามีความผิดฐานร่ำรวยผิดปกติหรือทุจริตต่อหน้าที่ ให้ริบทรัพย์สินที่ผู้นั้นได้มาจากการกระทำความผิด รวมทั้งบรรดาทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้มาแทนทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน

    [1]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาราจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 195

    ให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา โดยองค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คนแต่ไม่เกิน 9 คนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยให้เลือกเป็นรายคดี

    ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

    วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้อุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษา

    การวินิจฉัยอุทธรณ์ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตามวรรคสี่ ให้ดำเนินการโดยองค์คณะของศาลฎีกาซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา หรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาซึ่งไม่เคยพิจารณาคดีนั้นมาก่อน และได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจำนวนเก้าคน โดยให้เลือกเป็นรายคดี และเมื่อองค์คณะของศาลฎีกาดังกล่าวได้วินิจฉัยแล้ว ให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นเป็นคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา

    ในกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาให้ผู้ใดพ้นจากตำแหน่ง หรือคำพิพากษานั้นมีผลให้ผู้ใดพ้นจากตำแหน่ง ไม่ว่าจะมีการอุทธรณ์ตามวรรคสี่หรือไม่ ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษา

    หลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์ตามวรรคสี่ และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคห้า ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    [2] ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158

    ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี

    (1) ชื่อศาลและวันเดือนปี

    (2) คดีระหว่างผู้ใดโจทก์ผู้ใดจำเลย และฐานความผิด

    (3) ตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ ถ้าราษฎรเป็นโจทก์ให้ใส่ชื่อตัว นามสกุล อายุ ที่อยู่ ชาติและบังคับ

    (4) ชื่อตัว นามสกุล ที่อยู่ ชาติและบังคับของจำเลย

    (5) การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี

    ในคดีหมิ่นประมาท ถ้อยคำพูด หนังสือ ภาพขีดเขียนหรือสิ่งอื่นอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท ให้กล่าวไว้โดยบริบูรณ์หรือติดมาท้ายฟ้อง

    (6) อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด

    (7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง

    [3] ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 98

    “เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด ผู้นั้นยังมิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนี แล้วแต่กรณี เกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลงโทษ จะลงโทษผู้นั้นมิได้

    (1) 20 ปี สำหรับโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุก 20 ปี

    (2) 15 ปี สำหรับโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึง 20 ปี

    (3) 10 ปี สำหรับโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึง 7 ปี

    (4) 5 ปี สำหรับโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีลงมาหรือโทษอย่างอื่น”

你可能也想看看

搜尋相關網站