雖然這篇ไม้พุ่ม เตี้ย กินได้鄉民發文沒有被收入到精華區:在ไม้พุ่ม เตี้ย กินได้這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 ไม้พุ่ม產品中有1篇Facebook貼文,粉絲數超過17萬的網紅Zcongklod Bangyikhan,也在其Facebook貼文中提到, แม่วงก์ควรเก็บน้ำด้วยป่าหรือเขื่อน คนจำนวนไม่น้อยมั่นใจว่าเขื่อนเก็บน้ำได้ดีกว่าป่า เพราะเราเรียนกันมาแบบนั้น ตำราเรียนบอกว่า เขื่อนเป็นสิ่งก่อสร้างท...
ไม้พุ่ม 在 Zcongklod Bangyikhan Facebook 的最佳解答
แม่วงก์ควรเก็บน้ำด้วยป่าหรือเขื่อน
คนจำนวนไม่น้อยมั่นใจว่าเขื่อนเก็บน้ำได้ดีกว่าป่า เพราะเราเรียนกันมาแบบนั้น ตำราเรียนบอกว่า เขื่อนเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีหน้าที่กักเก็บน้ำ แก้ปัญหาน้ำท่วม บรรเทาภัยแล้ง ผลิตกระแสไฟฟ้า และเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ทุกอย่างที่พูดมามองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมด้วยตาเปล่า
ตำราเรียนสอนเราว่า ป่าไม้เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า เป็นต้นกำเนิดสายน้ำ และเป็นแหล่งอาหาร ทุกอย่างล้วนเป็นนามธรรมที่นึกภาพตามลำบาก และเชื่อมโยงยังไงก็ไม่ใกล้ตัว ผมก็เลยอยากจะเล่ากระบวนการเก็บน้ำของป่าแบบง่ายๆ ให้ฟังครับ
‘ป่า’ ไม่ใช่พื้นที่สีเขียว ไม่ใช่พื้นที่ที่มีต้นไม้ แต่เป็นระบบชีวิตที่มีความหลากหลายและความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อน ถ้าว่ากันแค่ต้นไม้ ป่าคือระบบของต้นไม้หลากหลายประเภทที่อยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ทั้งไม้ใหญ่ ไม้เล็ก ไม้เลื้อย ไม้พุ่ม ไม้ผิวดิน และอีกหลายไม้ ทั้งหมดที่ว่านี้อยู่ร่วมกันได้เพราะมันต่างกัน มีความสูงต่างกัน ต้องการแสงต่างกัน มีเงื่อนไขในการดำรงชีวิตต่างกัน มันถึงอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลย์
ฝนที่ตกในเมืองหล่นมาเท่าไหร่ก็นองอยู่ที่พื้นเท่านั้น แต่ฝนที่ตกในป่าที่อุดมสมบูรณ์มากๆ น้ำฝนกว่า 80% จะถูกดูดซับไว้โดยต้นไม้ โดยเรือนยอดหลายชั้นของต้นไม้ ลำต้นของต้นไม้ ไม้พุ่มที่ปกคลุมดิน และใบไม้แห้งบนพื้น น้ำบางส่วนก็ซึมลงสู่ใต้ดิน เหลือน้ำไหลผ่านพืชคลุมดินไปลงแหล่งน้ำไม่เท่าไหร่ ต้นไม้บางชนิดเก็บน้ำไว้ในตัวเองได้มากกว่าน้ำหนักตัวถึง 3 เท่า ฝนที่ตกใส่ป่าจึงเหมือนการเทน้ำใส่ฟองน้ำ หลังจากนั้นต้นไม้จะค่อยๆ ส่งน้ำที่กักเก็บไว้ลงไปยังรากแล้วปล่อยลงสู่ดิน เมื่อน้ำในดินไหลไปรวมกันในจำนวนที่มากพอก็จะผุดออกมาจากหน้าดินอย่างที่เราเรียกว่า ‘ตาน้ำ’ แล้วไหลไปรวมกันกลายเป็นสายน้ำต่อไป กระบวนการคายน้ำของต้นไม้ใช้เวลานานหลายเดือน อย่างที่เราเห็นกันว่าฝนตกเพียงปีละไม่กี่เดือน แต่มีน้ำออกจากป่าผ่านลำธารและน้ำตกมาทั้งปี
นั่นคือประสิทธิภาพในการเก็บน้ำของป่า แต่สวนยางพารา ไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง ไม่สามารถกักเก็บน้ำแบบนี้ได้ เพราะไม่มีพืชหนาแน่นและหลากหลายในทุกระดับเหมือนป่า ซ้ำร้ายยังไม่มีพืชคลุมดิน พอฝนตกโดนดินเลยชะตะกอนลงแหล่งน้ำมาด้วย ยิ่งตัดป่ามาทำเกษตรเชิงเดี่ยวมากเท่าไหร่ ตะกอนก็ยิ่งลงสู่แหล่งน้ำมากเท่านั้น
ส่วนเขื่อนทำหน้าที่กั้นน้ำจากสายน้ำ เมื่อมีตะกอนไหลมากับน้ำก็จะสะสมอยู่บริเวณหน้าเขื่อน ทำให้อ่างเก็บน้ำตื้นขึ้นเรื่อยๆ และเก็บน้ำได้น้อยลงเรื่อยๆ ทุกเขื่อนจึงมีอายุการใช้งาน การเก็บน้ำด้วยเขื่อนมีประสิทธิภาพลดลงทุกปี เมื่อเทียบกับป่าไม้ที่มากขึ้นทุกปี (ในกรณีที่ไม่ถูกรบกวน) นักอนุรักษ์จึงมองว่า การตัดป่าไม้ที่สมบูรณ์ไปสร้างเขื่อนเหมือนกับการทำลายแหล่งเก็บน้ำชั่วชีวิตไปสร้างแหล่งเก็บน้ำชั่วคราว
การขวางการไหลของสายน้ำก็เหมือนฆ่าแม่น้ำ แม่น้ำที่ไม่ไหลเปรียบได้กับแม่น้ำไร้ชีวิต ไม่มีออกซิเจนมาเติมลงในน้ำ และสัตว์น้ำก็ไม่สามารถว่ายทวนน้ำขึ้นไปผสมพันธุ์และวางไข่ได้ เป็นแม่น้ำที่มีค่าเพียงของเหลว
แล้วในกรณีของป่าแม่วงก์ เราควรเก็บน้ำด้วยป่าหรือเขื่อน
ผมคิดว่าเราไม่ควรพิจารณาแค่ความสามารถในการกักเก็บน้ำเท่านั้น แต่ควรดูผลที่เกิดตามมาจากการเก็บน้ำ ถ้าเก็บน้ำในป่า น้ำจะหมุนเวียนในระบบนิเวศให้ชีวิตกับพืชและสัตว์ แต่ถ้าเก็บน้ำด้วยเขื่อนเราจะได้เพียงแค่น้ำที่ไร้ชีวิต
เราควรเลือกแหล่งเก็บน้ำที่ให้ชีวิตหรือทำลายชีวิต
ขออนุญาตเอาภาพป่าแม่วงก์ของคุณเริงฤทธิ์ คงเมือง ที่ผมใช้ประกอบบทบ.ก. a day เล่มล่าสุดมาให้ดู เห็นภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และมีเรือนยอดหลายระดับหลากรูปแบบแล้วคงพอจะนึกออกนะครับว่าป่าไม้เก็บน้ำได้ยังไง