雖然這篇ไม้ฝาง鄉民發文沒有被收入到精華區:在ไม้ฝาง這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 ไม้ฝาง產品中有1篇Facebook貼文,粉絲數超過292萬的網紅โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ,也在其Facebook貼文中提到, พระพุทธรูปยืนสมัยอยุธยา ปางห้ามพระญาติ( เนื้อทองคำ) ประทับบนฐานดุนเงิน ความสูง องค์พระ 9 ซ.ม. น้ำหนักทองคำเฉพาะองค์พระ 68.07 กรัม ความสูงรวมฐาน...
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過21萬的網紅Triptravelgang,也在其Youtube影片中提到,ชมการทำผ้าหมักโคลน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำผ้ามาหมักในน้ำโคลนเพื่อให้สีที่ย้อมคงทนและได้สีที่สวยงาม โดยมีส่วนประกอบของสีต่างๆจากวัตถุดิบธรรมชาติ อาทิ เป...
-
ไม้ฝาง 在 Triptravelgang Youtube 的最佳貼文
2014-08-28 21:30:32ชมการทำผ้าหมักโคลน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำผ้ามาหมักในน้ำโคลนเพื่อให้สีที่ย้อมคงทนและได้สีที่สวยงาม โดยมีส่วนประกอบของสีต่างๆจากวัตถุดิบธรรมชาติ อาทิ เปลือกมังคุด มะเกลือ ไม้ฝาง ซึ่งต้องใส่ใจในทุกขั้นตอนและรายละเอียด ทำให้ผ้าหมักโคลนมีสีธรรมชาติ ดูคลาสสิกเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์และขึ้นชื่อของบ้านนาต้นจั่น ก่อนกลับอย่าลืมแวะซื้อผ้าหมักโคลนย้อมสีธรรมชาติกลับไปเป็นของฝากหรือจะซื้อไปใส่เองก็ดี โดยมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกหลายรูปแบบ อาทิ 1.ผ้าพันคอ 2.ผ้าคลุมไหล่ 3.เสื้อผ้าสำเร็จรูป 4.ของฝากของที่ระลึก
ท่องเที่ยวไปกับพวกเราได้ทุกวันที่ http://triptravelgang.com
ติดตามแฟนเพจได้ที่ https://www.facebook.com/Triptravelgang
ไม้ฝาง 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的精選貼文
พระพุทธรูปยืนสมัยอยุธยา ปางห้ามพระญาติ( เนื้อทองคำ) ประทับบนฐานดุนเงิน
ความสูง องค์พระ 9 ซ.ม. น้ำหนักทองคำเฉพาะองค์พระ 68.07 กรัม
ความสูงรวมฐาน 12 ซ.ม.
พระทองคำองค์นี้ ศิลปะอ่อนช้อย หล่อชายปีกชายผ้าบางมาก ความงดงาม ดังคำร่ำลือ ในศิลปะ ทองคำอันทรงคุณค่า ในสมัยอยุธยา
* รางวัลที่ 3 พระยืนทองคำ สมัยอยุธยา ประกวดงานใหญ่ เมื่อวันอาทิตย์ 10 มิถุนายน 2561
โต๊ะที่ 1
รายการที่ 42
รหัส 69361
ในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้ปรากฏหลักฐานจากบันทึกการเดินทางของชาวต่างประเทศ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา คือ ชาวโปรตุเกส ซึ่งเข้ามา ติดต่อค้าขายใน พ.ศ. ๒๐๕๔ ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ได้กล่าวไว้ว่า สินค้าออกของประเทศสยาม ได้แก่ ครั่ง กำยาน ไม้ฝาง ตะกั่ว เงิน ดีบุก ทองคำ และงาช้าง โดยชาวสยามนำภาชนะ ที่ทำด้วยทองแดง ทองคำ และเครื่องประดับที่ทำจากเพชร และทับทิมไปขายด้วย ตลาดคู่ค้าที่สำคัญคือ จีน มะละกา กัมพูชา เบงกอล ในบันทึกยังกล่าวต่อไปอีกว่า พระเจ้าแผ่นดินสยามส่งผู้แทนพระองค์ไปพบอัลฟองโซ เดออัลบูร์เกอร์กี ผู้สำเร็จราชการโปรตุเกส ที่เมืองมะละกา และได้พระราชทานขันทองคำ สำหรับดื่มเหล้า และดาบทองคำ เพื่อขอความสนับสนุนช่วยเจรจา ให้รัฐบาลโปรตุเกสคืนเมืองมะละกาให้แก่กรุงศรีอยุธยา จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาทรงมอบเครื่องบรรณาการ ของขวัญ ของกำนัล โดยนิยมใช้ทองคำที่ประดิษฐ์ เป็นงานศิลปะชั้นสูง ในการแลกเปลี่ยนพระราชศุภอักษรสาส์น หรือพระสุพรรณบัฏกับกษัตริย์ต่างประเทศ เมอซิเออร์ เดอลาลูแบร์ อัครราชทูตชาวฝรั่งเศส ซึ่งเดินทางเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กล่าวไว้ว่า ชาวสยามถลุงแร่ทองคำได้มาก เพื่อนำมาประดับพระพุทธรูปซึ่งสร้างขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังนำไปประดับเป็นส่วนประกอบของโบสถ์ วิหาร วัดวาอารามต่างๆ เช่น ประดับช่อฟ้า ใบระกา เพดาน หน้าบัน ด้วยการลงรักปิดทองลงลวดลายต่างๆ และกล่าวอีกว่า ชาวสยามเป็นช่างกะไหล่ทองที่มีฝีมือ และรู้จักนำทองคำมาตีแผ่เป็นแผ่นบาง เมื่อพระเจ้ากรุงสยามมีพระราชสาส์นไปยังกษัตริย์พระองค์อื่น พระองค์โปรดให้จารึกข้อความศุภอักษรลงในพระสุพรรณบัฏ ซึ่งบางเหมือนกระดาษ นอกจากนี้ ยังโปรดให้ทำจานทองคำขึ้นเป็นพิเศษสำหรับใส่ผลไม้ เมื่อครั้งพระราชทานเลี้ยงแก่เมอซิเออร์ เดอ โชมองต์ แสดงให้เห็นว่า ทองคำของพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยาคงจะมีอยู่มาก
ทองคำในสมัยอยุธยามาจากที่ใด ?
๑. ได้จากการเก็บส่วย
ในสมัยอยุธยา มีระบบการเก็บส่วยซึ่งเป็นภาษีที่เก็บจากประชาชนในท้องถิ่น โดยในบางกรณี ส่วยที่เรียกเก็บนั้นต้องจ่ายเป็นทองคำ เช่น ส่วยที่เรียกเก็บจากเมืองบางสะพาน ในส่วนของราษฎรที่ร่อนทองได้ ก็ต้องส่งส่วยภาษีเป็นทองคำเช่นกัน
๒. ได้จากการเกณฑ์กรณีพิเศษ
เป็นการรวบรวมทรัพย์สินเงินทองเพื่อทำกิจกรรมสำคัญ เช่น การร่วมกันสร้างศาสนสถาน การหล่อพระพุทธรูป การสร้างเจดีย์ การเรี่ยไรบริจาคจากข้าราชบริพาร ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และราษฏรทั่วไป ตามกำลังฐานะและแรงศรัทธา
๓. ได้จากการค้าขายแลกเปลี่ยน
จากบันทึกของนักเดินทางชาวยุโรป ระบุว่า กรุงศรีอยุธยาเป็นตลาดค้าขายทองคำ ซึ่งพ่อค้านำเข้ามาจากต่างประเทศ คือ ชวา สุมาตรา มลายู อาหรับ เปอร์เซีย และจีน กรุงศรีอยุธยาอาจนำทองคำที่ขุดหาได้ออกขายเพื่อแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่น การค้าขาย ในสมัยอยุธยาจึงมีบทบาทมากต่อการแสวงหาทองคำมาใช้ประโยชน์ เพื่อตอบสนองค่านิยมของสังคม
๔. ได้จากเครื่องราชบรรณาการ
ธรรมเนียมประเพณีของหัวเมืองขึ้นและประเทศราช ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ เป็นต้นไม้เงินต้นไม้ทองให้แก่กรุงศรีอยุธยาทุกๆ ๓ ปี เพื่อแสดงว่า ยอมสวามิภักดิ์หรือยอมอยู่ใต้อำนาจ ทำให้มีทองคำนำเข้าสู่ ท้องพระคลัง และนำไปแปรรูปเป็นเครื่องราชูปโภคต่างๆ
๕. ได้จากการนำ หรือการริบจากเอกชนเข้าเป็นของหลวง
มีหลายกรณี เช่น ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดกระทำความผิดร้ายแรงต้องโทษประหารชีวิต ยังจะต้องริบทรัพย์สินทุกอย่างเข้าหลวง ที่เรียกว่า พัทธยา หรือเรียกคืนเครื่องยศต่างๆ ที่ทำจากทองคำ เมื่อขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์ผู้นั้นสิ้นชีวิตแล้ว รวมทั้งการยึดทรัพย์สินมีค่าจากศัตรูคู่สงคราม
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีเหตุการณ์ต่างๆ ที่แสดงถึงการใช้ทองคำเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมากลายเป็นธรรมเนียมประเพณีของไทยในระยะหลัง ตัวอย่างเช่น ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ได้โปรดให้หล่อพระพุทธรูปนามว่า “ศรีสรรเพชญ์” ประดิษฐานไว้ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์ ขนาดสูงจากพระบาทถึงยอดพระรัศมี ๘ วา พระพักตร์ยาว ๔ ศอก และกว้าง ๓ ศอก พระอุระกว้าง ๑๑ ศอก ทองสำริดที่ใช้หล่อหนัก ๕๓,๐๐๐ ชั่ง ทองคำหุ้มหนัก ๒๘๖ ชั่ง หรือ ๑๗๑.๖ กิโลกรัม ข้างหน้าเป็นทองเนื้อเจ็ด ข้างหลังเป็นทองเนื้อหก
ในส่วนของสามัญชน ก็มีตลาดค้าขายทอง มีช่างทำทองรูปพรรณอยู่ทั่วไป หากมีการค้าขายทองและมีช่างทองอยู่กันอย่างหนาแน่นเป็นย่าน ก็มีชื่อเรียกขานเป็นที่รู้จัก เช่น ย่านป่าทอง ขายทองคำเปลว ย่านวัดกระชีช่าง ทำพระพุทธรูปทองคำ การทำทองรูปพรรณในสมัยอยุธยา ช่างทองมีวิธีการทำคล้ายกับช่างทองโบราณสุโขทัย แต่อาจแตกต่างกันไปบ้าง วิธีการเหล่านี้นิยมทำกันจนช่างทองสมัยอยุธยา
ขอบคุณ ข้อมูลจาก คุณหนึ่ง บูชา
สมบัติผลัดกันชม ลักษณ์ เรขานิเทศ