雖然這篇ไข้ ภาษาจีน鄉民發文沒有被收入到精華區:在ไข้ ภาษาจีน這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 ไข้產品中有150篇Facebook貼文,粉絲數超過27萬的網紅อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์,也在其Facebook貼文中提到, วันก่อน ถูกสัมภาษณ์ออนไลน์เกี่ยวกับเรื่อง #โรคไข้หูดับ จากการบริโภคเนื้อหมู ซึ่งมีชาวบ้านที่อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา เสียชีวิตไปนับสิบราย ! โรค...
同時也有12部Youtube影片,追蹤數超過82萬的網紅Chic Chic Channel,也在其Youtube影片中提到,เพียงแค่ทุกคนมีจิตสำนึกต่อผู้อื่น เราก็จะสามารถช่วยกันหยุดเชื้อได้แล้วค่ะ...
「ไข้」的推薦目錄
- 關於ไข้ 在 I Love Japan TH Instagram 的精選貼文
- 關於ไข้ 在 zjb Instagram 的最佳解答
- 關於ไข้ 在 Smith Arayaskul Instagram 的最佳貼文
- 關於ไข้ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最讚貼文
- 關於ไข้ 在 Drama-addict Facebook 的精選貼文
- 關於ไข้ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳解答
- 關於ไข้ 在 Chic Chic Channel Youtube 的最佳解答
- 關於ไข้ 在 Lydia Sarunrat Deane Youtube 的最佳貼文
- 關於ไข้ 在 English AfterNoonz Youtube 的最佳貼文
ไข้ 在 I Love Japan TH Instagram 的精選貼文
2021-09-03 15:59:13
🎌คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเกี่ยวกับโควิด part2🧬🦠💉 . 症状 shoujyou อาการ 熱 netsu ไข้ 咳 seki ไอ くしゃみ kushami จาม 体の痛み karada no itami ปวดตัว 息切れ ikigire หายใจไม่...
ไข้ 在 zjb Instagram 的最佳解答
2021-08-18 09:14:41
สุขสันต์วันแม่ กับ ความเป็นแม่ในชีวิตจริง.. มันคือความว้าวของจริงในชีวิตตั้งแต่ได้เป็นแม่คน บอกเลยภาพที่เห็นในโซเชียล ชีวิตแม่ที่หอมหวาน ตาไม่เป็นแพนด...
ไข้ 在 Smith Arayaskul Instagram 的最佳貼文
2021-07-27 04:49:10
คนไข้หลายท่านเสียโอกาสในการตรวจโควิทไป เนื่องจากการเข้าไปตรวจในสถานพยาบาลหนาแน่นมาก การตรวจด้วยตนเองตอนนี้ผ่านอย.แล้วนะครับ และสามารถใช้ประกอบการลงทะเ...
ไข้ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最讚貼文
วันก่อน ถูกสัมภาษณ์ออนไลน์เกี่ยวกับเรื่อง #โรคไข้หูดับ จากการบริโภคเนื้อหมู ซึ่งมีชาวบ้านที่อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา เสียชีวิตไปนับสิบราย !
โรคไข้หูดับ ยังเป็นโรคที่พบบ่อยครั้งในประเทศไทย ซึ่งสาเหตุหลักๆ ก็มาจากการบริโภคเนื้อหมูที่ไม่ได้ปรุงสุก ทำให้เชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคนี้ยังมีชีวิต และทำอันตรายกับผู้บริโภคได้ โดยมีอันตรายสูงมาก ถึงแก่ชีวิตครับ
เลยเอาคลิปให้สัมภาษณ์มาแชร์ให้ฟังกันนะ รวมทั้งขอแชร์ข้อความข่าวจากไทยรัฐและไทยพีบีเอส ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโรคไข้หูดับนี้ เพื่อเตือนให้ระมัดระวังกันด้วยนะครับ
--------
(รายงานข่าว ไทยรัฐ https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2194158)
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ นายสานิตย์ ศรีทวี นายอำเภอเสิงสาง ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุข้อความว่า
#นอกจากโควิด19 ยังมีโรคไข้หูดับอีก #ขอให้หยุดกินหมูดิบในเขตอำเภอเสิงสางด่วนที่สุดครับ-วันนี้ได้รับรายงานว่าขณะนี้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่อำเภอเสิงสางแล้ว 14 ราย และมีผู้เสียชีวิต 3 ราย-ขอให้งดกินหมูดิบและสัมผัสหมูดิบ ซึ่งอาจจะติดเชื้อ โดยเฉพาะเขียงหมูที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ (ลักลอบเชือด) -บ่ายนี้นายอำเภอเสิงสางจะเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องด่วนที่สุดครับ เพื่อกำหนดมาตรการบางอย่าง และอาจจะกระทบกับพี่น้องชาวเสิงสาง-จึงแจ้งมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
โดยมีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นและแชร์ข้อความดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
ต่อมา ผู้สื่อข่าวจึงได้เดินทางไปที่ว่าการอำเภอเสิงสาง จ.นครราชสีมา เพื่อสอบถามถึงข้อเท็จจริง และลงพื้นที่ตรวจสอบถึงกรณีดังกล่าว โดยนายสานิตย์ ศรีทวี นายอำเภอเสิงสาง เปิดเผยว่า
ตนได้รับรายงานว่า ในพื้นที่อำเภอเสิงสางมีประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคหูดับ เริ่มตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค.-9 ก.ย. จำนวนทั้งสิ้น 15 ราย และเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวจำนวน 3 ราย โดยผู้เสียชีวิตทั้ง 3 รายได้เสียชีวิตก่อนที่ผลตรวจจะออกมาว่าเป็นโรคหูดับ ทราบว่า 2 ใน 3 อยู่ในพื้นที่บ้านโคกสูง ม.3 ต.สระตะเคียน และบ้านซับ ม.4 ต.สิงสาง ทั้ง 2 รายได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา
นายสานิตย์ ศรีทวี นายอำเภอเสิงสาง กล่าวถึงมาตรการแก้ไขสถานการณ์ว่า จะเร่งให้มีการประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้ทราบถึงโทษของการรับประทานอาหารที่เป็นหมูดิบ รวมถึงการสัมผัสหมูที่อาจจะติดเชื้อของโรคหูดับ โดยหากบุคลดังกล่าวมีบาดแผลแล้วไปสัมผัสหมูที่ติดเชื้อเชื้อโรค อาจจะเข้าทางกระแสเลือดได้
พร้อมทั้งจะมีการจัดระบบสำหรับผู้ประกอบการเลี้ยงหมูในพื้นที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายและถูกสุขอนามัย ได้ประสานไปยังปศุสัตว์จังหวัด จากนี้จะมีหนังสือเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินการในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการในพื้นที่ที่จะสามารถนำหมูเข้าสู่โรงฆ่าสัตว์ได้อย่างถูกต้อง
โดยในพื้นที่อำเภอเสิงสางมีโรงฆ่าสัตว์ขนาดเล็กเพียงแห่งเดียว จึงทำให้มีกลุ่มลักลอบค้าหมูยังไม่ถูกต้อง จึงเกิดปัญหาหมูติดโรคหลุดรอดเข้ามาในพื้นที่ เชื่อว่ากลุ่มที่ค้าหมูที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็จะได้เข้ามาอยู่ในระบบที่ถูกต้อง จากนั้นได้มอบหมายให้กับ อปท.ในพื้นที่ร่วมกับปศุสัตว์อำเภอและสาธารณสุขอำเภอ ลงพื้นที่ตรวจสอบและสำรวจโรงฆ่าสัตว์ หรือโรงชำแหละ เพื่อจัดทำทะเบียนและควบคุมสอบสวนโรค พร้อมทั้งการติดตามได้ง่ายในอนาคตต่อไป
ด้านนายแพทย์มงคล เกิดแปลงทอง นายแพทย์ประจำโรงพยาบาล ประธานองค์กรแพทย์โรงพยาบาลเสิงสาง ตัวแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลเสิงสาง ซึ่งเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลโรคหูดับในพื้นที่ เปิดเผยว่า
ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมมีผู้ป่วย 1 รายในพื้นที่ได้เดินทางเข้ามาทำการรักษาภายในโรงพยาบาลเสิงสาง โดยมีอาการของโรคปอดติดเชื้อ ก่อนที่ทีมแพทย์จะตรวจพบเชื้อของโรคหูดับในกระแสเลือด
ต่อมาในต้นเดือนกันยายน พบว่า มีผู้ป่วยจำนวน 4-5 รายเดินทางเข้ามาทำการรักษาด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง จนถึงขั้นมีอาการไตวายและระบบการหายใจล้มเหลว ทีมแพทย์ต้องใส่ท่อส่งต่อไปยังโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
ต่อมามีผู้ป่วยเดินทางเข้ามารักษาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยอาการดังกล่าว พร้อมทั้งมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการหูดับตามมาเพิ่ม หลังจากนั้นแพทย์ได้รอผลการเพาะเชื้อในเลือดประมาณ 3-5 วัน ปรากฏพบว่าติดเชื้อ “สเตรปโตคอคคัส ซูอิส” (Streptococcus Suis) โดยเป็นเชื้อที่ต้องเฝ้าระวังเพราะเป็นการติดต่อจากการกินหมูดิบ หรือการสัมผัสเนื้อหมูที่เชื้อโรคสามารถติดต่อได้บาดแผล
ขณะนี้พบผู้ป่วยในพื้นที่อำเภอเสิงสางเข้าข่ายติดเชื้อทั้งหมด 15 ราย มีการยืนยันว่าติดเชื้อแล้ว 13 ราย และเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ตับวาย ไตวาย และระบบการหายใจล้มเหลวจำนวน 3 ราย
สำหรับโรคไข้หูดับสามารถติดเชื้อโดยตรงจากการที่ผู้ป่วยรับประทานหมูดิบและสามารถติดเชื้อจากการสัมผัสหมูโดยตรงหากมีบาดแผลบริเวณร่างกายเข้าสู่กระแสเลือด แม้จะไม่ได้รับประทานหมูก็ตาม
นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยบางราย จากการสอบถามไม่มีพฤติกรรมในการรับประทานหมูดิบ แต่ชอบรับประทานหมูกระทะเป็นประจำ จึงตั้งข้อสงสัยว่าอาจจะย่างหมูไม่สุกดี และใช้ตะเกียบอันเดียวกันที่ใช้คีบหมูดิบ และตะเกียบที่ใช้ย่างหมูรับประทาน ทำให้เชื้อปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายได้
ส่วนอีกกรณีผู้ที่ทำงานในเขียงหมู อาจจะไม่ได้รับประทานหมูดิบ แต่เป็นผู้ที่สัมผัสหมูโดยตรง หากมีบาดแผลก็สามารถติดเชื้อโรคดังกล่าวผ่านผิวหนังได้
ส่วนอาการของผู้ติดเชื้อโรคหูดับ หลังจากได้รับเชื้อภายใน 3 ชั่วโมง หรือไม่เกิน 3 วัน จะพบอาการเบื้องต้นมีไข้ ถ่ายเหลว และปวดหัว หากติดเชื้อแล้วไม่ได้ทำการรักษาโดยเร็ว เมื่อเชื้อขึ้นไปถึงสมองอาจจะทำให้เสียชีวิต หรือหูดับได้
สำหรับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคหูดับมี 3 ส่วนด้วยกัน โดยต้องเริ่มจากผู้เลี้ยงหมูและผู้ขายหมู ต้องดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยให้ดีสำหรับการเลี้ยงหมู และไม่จำหน่ายหมูป่วยให้กับผู้บริโภค
ส่วนที่ 2 คือ ผู้ที่ประกอบอาหารหากมีบาดแผลต้องสวมถุงมือเพื่อป้องกันเชื้อ ส่วนที่ 3 คือ ผู้บริโภคไม่ควรรับประทานหมูดิบ เช่น เมนูลาบดิบ ก้อยดิบ หากจะรับประทานหมูควรปรุงให้สุก โดยใช้ความร้อนอย่างน้อย 10 นาทีขึ้นไป เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเชื้อดังกล่าว.
---------
(รายงานข่าว ไทยพีบีเอส https://news.thaipbs.or.th/content/307921)
เมื่อวันที่ 14 ก.ย.2564 นายสานิตย์ ศรีทวี นายอำเภอเสิงสาง จ.นครราชสีมา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า
อ.เสิงสาง 2 สัปดาห์พบผู้ป่วย 14 คน เสียชีวิต 3 คน และหูหนวกถาวร 2 คน โดยเกิดจากการรับประทานหมูดิบ ทั้งเมนูลาบดิบ ก้อยดิบ ตับลวก ตับหวาน ส้มหมู แหนมหมู หมูกระทะ และเชื้อจากหมูผ่านผิวหนังที่เป็นแผล
#สำหรับอาการที่พบ
ในระยะเวลาหลังรับประทาน 3 ชั่วโมง ไม่เกิน 3 วันจะมีอาการ 1 ใน 3 อย่าง ให้รีบไปโรงพยาบาลเพื่อรักษา ได้แก่ 1.ไข้ 2.อาเจียน,ถ่ายเหลว 3.ปวดศีรษะ หากมาช้าเกิน 3 วันอาจเกิดอาการชัก หูหนวกถาวร และเสียชีวิตได้
#วิธีป้องกัน คนเลี้ยงหมูต้องสะอาดทั้งคอกและเขียง คนปรุงต้องสวมถุงมือก่อนจับหมู และคนบริโภคห้ามรับประทานหมูดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ หมูกระทะต้องแยกตะเกียบย่างกับกะเกียบกิน
ในวันเดียวกัน นายอำเภอเสิงสางพร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลเสิงสาง สาธารณสุขอำเภอเสิงสาง ปศุสัตว์อำเภอเสิงสาง ตำรวจ ปลัดฝ่ายมั่งคง กำนัน ได้จัดประชุมปรึกษาหารือแนวทางการป้องกันโรคระบาดสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (โรคไข้หูดับ) เพื่อกำหนดมาตรการงดกินหมูดิบและสัมผัสหมูดิบ
ทั้งนี้ เนื่องจากอาจจะติดเชื้อ โดยเฉพาะเขียงหมูที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ ล่าสุด พบผู้ป่วยไข้หูดับ จำนวน 15 คน และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 คน
#สถิติคนไทยป่วยโรคไข้หูดับ
ก่อนหน้านี้ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลสถานการณ์ของโรคไข้หูดับ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. -11 มิ.ย.2564 พบผู้ป่วยแล้ว 243 คน เสียชีวิต 11 คน
ส่วนภาคที่มีอัตราป่วยที่สุดคือ ภาคเหนือ (พบผู้ป่วย 162 คน คิดเป็นร้อยละ 66 ของผู้ป่วยทั้งหมด) จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ลำปาง พะเยา อุตรดิตถ์ นครราชสีมา และสุโขทัย ตามลำดับ ขณะที่ปี 2563 พบผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 342 คน เสียชีวิต 12 คน
#รู้จักอาการโรคไข้หูดับ
สำหรับโรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) โดยเชื้อนี้จะอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และอยู่ในเลือดของหมูที่กำลังป่วย สามารถติดต่อได้ 2 ทาง คือ
1. เกิดจากการบริโภคเนื้อและเลือดหมู ที่ปรุงแบบดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ
2. การสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อทั้งเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมูที่เป็นโรค จากทางบาดแผล รอยขีดข่วนตามร่างกายหรือทางเยื่อบุตา หรือสัมผัสเลือดของหมูที่กำลังป่วย
หลังจากได้รับเชื้อ 3-5 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง หูหนวก ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ขอให้รีบพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการกินหมูดิบและสัมผัสเนื้อหมูให้ทราบเพราะหากมาพบแพทย์และวินิจฉัยได้เร็ว จะช่วยลดอัตราการเกิดหูหนวกและการเสียชีวิตได้
ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ติดสุราเรื้อรัง ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน ไต มะเร็ง หัวใจ ผู้ที่เคยตัดม้ามออก เป็นต้น หากติดเชื้อจะมีอาการป่วยรุนแรงเนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ
#2วิธีป้องกันโรคไข้หูดับ
ทั้งนี้ วิธีการป้องกันโรคไข้หูดับ คือ
1.ควรบริโภคอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อน ทำสดใหม่ โดยเฉพาะเนื้อหมู ควรเลือกซื้อเนื้อหมูจากตลาดสดหรือห้างสรรพสินค้าที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์ ไม่ซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ ขอให้แยกอุปกรณ์ที่ใช้หยิบเนื้อหมูสุกและดิบออกจากกัน ไม่ใช้เขียงของดิบและของสุกร่วมกัน
2.ไม่สัมผัสเนื้อหมูและเลือดดิบด้วยมือเปล่า โดยเฉพาะผู้เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละเนื้อหมู สัตวบาล สัตวแพทย์ ควรสวมรองเท้าบู๊ทยาง สวมถุงมือ รวมถึงสวมเสื้อที่รัดกุมระหว่างทำงาน หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด และล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง
ไข้ 在 Drama-addict Facebook 的精選貼文
เอกสารกำกับยาของวัคซีน moderna ภาษาไทยมาแล้ว
ตามกำหนดจะมาถึงไทยช่วง พย-ธค ใครสนใจไปอ่านเอกสารกำกับกันก่อนได้
คร่าๆวก็ ขวดนึงฉีดได้ 10 โดส
โดสแรก โดสสอง ห่างกัน 4 สัปดาห์ มีการศึกษาในสัตว์ทดลองไม่พบอันตรายหรือความผิดปรกติของตัวอ่อน ถ้าแพทย์พิจารณาว่าให้วัคซีนมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ก็ให้ได้ ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ไข้ ปวดเมื่อยตามตัว และ ต่อมน้ำเหลืองโต
https://www.fda.moph.go.th/Pages/Document/covid19_vaccine/Moderna/SmPC%20-%20COVID-19%20Vaccine%20Moderna%20(Thai).pdf
ไข้ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳解答
เป็นอีกข่าวดีหนึ่ง ที่ควรจะเป็นอย่างนี้ตั้งแต่แรกอยู่แล้วนะ ที่ไทยเราจะแก้ปัญหาการที่ไม่มีวัคซีน astrazeneca เพียงพอจะฉีด 2 เข็มได้ (ตามแผนที่ควรวางไว้ตั้งแต่ต้นปี) ด้วยการฉีดแอสตร้าเป็นเข็ม 1 แล้วใช้วัคซีน mRNA อย่างของ บ. ไฟเซอร์มาเป็นเข็ม 2
ซึ่งสูตรการฉีด heterologous prime-boost แบบนี้ เป็นแบบที่นิยมทำในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศนะครับ (สาเหตุจริงๆ มักจะเป็นจากการที่เขาพยายามหยุดใช้วัคซีน astrazeneca) โดยผ่านการศึกษา วิจัย ตีพิมพ์ และทดลองในอาสาสมัครจำนวนมากแล้ว ก่อนจะนำมาใช้เป็นนโยบายของชาติ
รวมทั้ง สูตรวัคซีนไขว้ ไวรัลเวกเตอร์+mRNA นี้ ก็ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกแล้ว ว่าให้สามารถทำได้ เมื่อเกิดสภาวะวัคซีนขาดแคลน
ซึ่งคนละอย่างกับสูตรวัคซีนไขว้แบบไทยๆ ที่ทดลองทำกันเอง โดยไม่มีชาติอื่นเขาทำด้วย
-------
(รายงานข่าว)
#ทำไมต้องไขว้AstraZeneca_Pfizer
วัคซีนไขว้ (Heterologous prime-boost vaccination) หรือวัคซีน Mix & Match คือการฉีดวัคซีนต่างชนิดกันระหว่างวัคซีนเข็มที่ 1 (Primimg) และวัคซีนเข็มที่ 2 (Boosting) เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยก่อนหน้านี้มีการวิจัยในโรคติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบ วัณโรค มาลาเรีย ถึงแม้ว่าจะวิจัยในระดับสัตว์ทดลอง ต่อมาในระยะหลังเริ่มมีการวิจัยวัคในโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี และอีโบลาในระดับมนุษย์
สำหรับโควิด ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลด้านไวรัสหรือภูมิคุ้มกัน แต่มาจาก 2 สาเหตุคือ หลายประเทศในยุโรปมีความกังวลต่อภาวะเกล็ดเลือดต่ำและหลอดเลือดอุดตันภายหลังได้รับวัคซีน (VITT) ซึ่งผลข้างเคียงรุนแรงของวัคซีน AstraZeneca ถึงแม้จะพบยากก็ตาม และอีกสาเหตุคือ บางประเทศประสบปัญหาความล่าช้าในการส่งมอบวัคซีน จึงอนุมัติการฉีดวัคซีนไขว้และการวิจัยไปพร้อมกัน
ทั้งนี้ วัคซีนโควิดแบ่งตามเทคโนโลยีการผลิตเป็น 4 ชนิดหลัก ได้แก่ ชนิดสารพันธุกรรม (messenger RNA: mRNA) ชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine) ชนิดที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine) และชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine) ดังนั้น วัคซีนไขว้สูตรใหม่นี้เป็นการฉีดวัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ + ชนิดสารพันธุกรรม
#ผลการวิจัยสูตรไขว้ในต่างประเทศ
งานวิจัยหลักของวัคซีนไขว้ชื่อว่า Com-Cov (Comparing COVID-19 Vaccine Schedule Combination) ในสหราชอาณาจักร เป็นการศึกษาเชิงทดลองเปรียบเทียบการฉีดวัคซีน 4 สูตร ระหว่างการฉีดวัคซีน AstraZeneca หรือ Pfizer 2 เข็มตามปกติ และการฉีดวัคซีนสลับชนิด โดยฉีด AstraZeneca หรือ Pfizer ก่อน ในอาสาสมัครอายุ 50 ปีขึ้นไป เริ่มมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564
ผลการวิจัยเบื้องต้นที่เผยแพร่ออกมาในขณะนี้เป็นการศึกษาด้านภูมิคุ้มกันและความปลอดภัย โดยการศึกษาด้านภูมิคุ้มกัน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ระดับภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนาม (Anti-spike IgG) หลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ครบ 28 วัน ซึ่งคล้ายกับที่หลายคนไปเจาะเลือดตรวจระดับภูมิคุ้มกันที่โรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย และ 2. การตอบสนองของเม็ดเลือกขาวชนิด T (T cell response)
ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของระดับภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนามของสูตร AstraZeneca + Pfizer เท่ากับ 12,906 ELU/mL เทียบกับสูตร AstraZeneca ปกติ 1,392 ELU/mL หรือคิดเป็น 9.2 เท่า ในขณะที่สูตร Pfizer + AstraZeneca กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้น้อยกว่าสูตร Pfizer ปกติ (ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของระดับภูมิคุ้มกันเท่ากับ 7,133 เทียบกับ 14,080 ELU/mL หรือคิดเป็น 0.51 เท่า)
ส่วนการตอบสนองของเม็ดเลือดขาวชนิด T ซึ่งมีบทบาทสำคัญในภูมิคุ้มกันระยะยาว สูตร AstraZeneca + Pfizer มีการตอบสนองสูงที่สุดเท่ากับ 185 SFC/106 PBMCs เปรีบเทียบกับ 50, 80 และ 99 SFC/106 PBMCs ของสูตร AstraZeneca ปกติ, Pfizer ปกติ และ Pfizer + AstraZeneca ตามลำดับ ผลการศึกษาทั้ง 2 ส่วนจึงแสดงให้เห็นว่าสูตร AstraZeneca + Pfizer สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี
การศึกษาด้านความปลอดภัย หลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ในสูตรไขว้ พบว่ามีผลข้างเคียงมากกว่า เมื่อเทียบกับสูตรปกติของแต่ละชนิด ได้แก่ ไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดเมื่อย และปวดกล้ามเนื้อ แต่ไม่มีอาการรุนแรงจนต้องรักษาในโรงพยาบาล และส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมงหลังการฉีดวัคซีน และเมื่อติดตามผลข้างเคียงต่อจนถึง 1 เดือน ไม่พบความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม
นอกจากนี้ยังมีอีกงานวิจัยชื่อ CombiVacS ในสเปน เป็นการศึกษาเชิงทดลอง แบ่งผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca 1 เข็มเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกได้รับวัคซีน Pfizer เป็นเข็มที่ 2 ส่วนอีกกลุ่มไม่ได้รับวัคซีน เมื่อเดือนเมษายน 2564 พบว่าระดับภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนามเพิ่มขึ้นจาก 71.5 เป็น 7,756.7 BAU/mL หลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นระยะเวลา 14 วัน แต่มีข้อจำกัดตรงที่ไม่มีสูตรปกติเปรียบเทียบ
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนสูตรไขว้นี้ยังมีน้อย ข้อมูลเบื้องต้นจากงานวิจัยในเดนมาร์ก เป็นการศึกษาเชิงสังเกตในประชากร 5,542,079 คน (97.6% ของประชากรในเดนมาร์ก) มีผู้ที่ได้รับวัคซีนสูตรไขว้ 136,551 คน พบว่าวัคซีนสูตรไขว้มีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อ 88% และไม่พบอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตจากโควิด แต่ในขณะนั้นสายพันธุ์อัลฟายังเป็นสายพันธุ์หลัก
ปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยอมรับวัคซีนไขว้สูตรนี้ เช่น เวียดนาม เกาหลีใต้ แคนาดา และอย่างน้อย 15 ประเทศในสหภาพยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี รวมถึงสหราชอาณาจักร
โดยสรุปวัคซีนไขว้สูตร AstraZeneca + Pfizer ที่จะเริ่มใช้ในประเทศไทยในเดือนตุลาคมนี้มีผลการวิจัยในต่างประเทศรองรับ และต่างประเทศให้การยอมรับ แต่ยังต้องมีการติดตามประสิทธิผลของวัคซีนต่อในอนาคต