雖然這篇แร่ควอตซ์ ประเภทหิน鄉民發文沒有被收入到精華區:在แร่ควอตซ์ ประเภทหิน這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 แร่ควอตซ์產品中有2篇Facebook貼文,粉絲數超過27萬的網紅อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์,也在其Facebook貼文中提到, ที่เมื่อวานมีข่าวว่า มีคนขุดค้นพบหินประหลาดโปร่งแสง และคาดว่าจะเป็นแร่ที่มีราคาแพง จนแห่กันไปขุดนั้น ... ความจริงเป็นแค่หินควอตซ์ ที่ไม่ได้มีราคาอะไรน...
แร่ควอตซ์ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的精選貼文
ที่เมื่อวานมีข่าวว่า มีคนขุดค้นพบหินประหลาดโปร่งแสง และคาดว่าจะเป็นแร่ที่มีราคาแพง จนแห่กันไปขุดนั้น ... ความจริงเป็นแค่หินควอตซ์ ที่ไม่ได้มีราคาอะไรนะครับ
------
(รายงานข่าว) ตามที่ปรากฏเป็นข่าววันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 ผ่านสื่อมวลชนและสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ กรณีชาวบ้านหมู่ 9 บ้านโคกสะอาด ตำบลกันจุ อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ขุดสระ พบก้อนหินประหลาดโปร่งแสง มีผลึก ผิวมีความมันวาว สะท้อนแสง
กรมทรัพยากรธรณี ขอชี้แจงว่า หินที่ปรากฏเป็นข่าวนั้น แท้จริงแล้ว คือ แร่ควอตซ์ ที่มีซิลิก้า (SiO2) เป็นองค์ประกอบหลัก โดยธรรมชาติจะมีสีขาวโปร่งแสงและใสเหมือนกระจก หากเป็นผลึกจะเรียกว่าหินเขี้ยวหนุมาน ในธรรมชาติแร่ควอตซ์มีหลายสีหากมีม่วงเรียก Amethyst สีเหลืองเรียก Citrine เป็นต้น
คุณสมบัติของแร่ควอตซ์ มีความคงทนต่อการถูกทำลายสูง มีความแข็งเท่ากับ 7 (เพชรความแข็งเท่ากับ 10) ในธรรมชาติเมื่อแร่ควอตซ์ผุพัง ถูกกัดเซาะทำลาย จะแตกสลายเป็นเม็ดกรวด ทราย ปะปนอยู่ในดินทั่วไป สันทรายหรือชายหาด
สำหรับประเด็นที่ข่าวนำเสนอว่า ขณะที่รถแบคโฮกำลังขุดอยู่ มีแสงประหลาดพุ่งสะท้อนขึ้นมานั้น เป็นไปได้ว่าเกิดจากการกระทบของเล็บบุ้งกี๋แบคโฮกับแร่ควอตซ์ซึ่งแข็งกว่า ทำให้เกิดประกายไฟ
ประโยชน์ของแร่ควอตซ์ นำมาถลุงในอุตสาหกรรมแก้ว กระจก ขวดน้ำ แต่ส่วนใหญ่จะใช้ทรายแก้วที่ได้จากการผุพังและสะสมตัวของแร่ควอตซ์ สำหรับควอตซ์ที่บริสุทธิ์ นำมาใช้ทำเส้นใยไฟเบอร์ออพติค และไมโครชิพสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
TIPS วิธีทดสอบเบื้องต้น…
1) นำตัวอย่างมาขูดหรือขีดบนแผ่นกระจก หากขูดเข้าเป็นรอย สันนิษฐานเบื้องต้นว่าเป็นแร่ควอตซ์ เนื่องจาก ควอตซ์มีความแข็ง 7 กระจก แข็ง 5.5
2) หากขูดไม่เข้า หรือไม่พบรอย ให้ใช้กรดหรือน้ำส้มสายชูหยด หากเกิดเป็นฟองก๊าสเล็กๆ สันนิษฐานว่าเป็นแร่แคลไซต์ (ความแข็ง 3)
3) หากแร่ที่พบ มีความแข็งน้อย จนสามารถใช้เล็บขูดเป็นรอยได้ สันนิษฐานว่าเป็นแร่ยิปซัม (ความแข็ง 2)
แร่ควอตซ์ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
ล่าสุด วันที่ 23 ก.ค.62 ผู้สื่อข่าวไทยรัฐออนไลน์ ได้สอบถามไปยัง รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงกรณีดังกล่าว เปิดเผยว่า จากการไล่ข้อมูลจะเห็นว่ามีการทดลองเอาไฟลน แล้วเอามีดกรีด พบว่าไฟลนแล้วไม่ได้ไหม้ไฟ เป็นแค่คราบดำๆ และมีการแตกกะเทาะออกบ้าง จึงไม่น่าจะเป็นก้อนเรซิ่นที่ทำจากพลาสติก แต่น่าจะไปทางพวกแก้วมากกว่า
การกรีดใบมีดก็เช่นเดียวกัน ดูแล้วไม่ค่อยเป็นรอยแสดงว่ามีความแข็งสูงน่าจะไปทำแก้วมากกว่าเหมือนกัน ส่วนตัวของก้อนเองก็มีฟองอากาศอยู่ข้างในค่อนข้างมาก จึงไม่น่าจะเป็นผลึกของแร่ธรรมชาติ รวมๆ แล้วส่วนตัวคิดว่าน่าจะเป็นแก้วที่คนทำขึ้นมามากกว่า
แต่อย่างไร ก็ต้องส่งให้นักธรณีวิทยาช่วยพิสูจน์อีกครั้งว่า โครงสร้างคืออะไร ซึ่งหลายคนคาดว่า จะเป็น แร่ควอตซ์ หรือไม่ก็ หินออบซิเดียน แต่ตนว่าไม่น่าใช่ทั้งคู่.