雖然這篇แบรนด์ดังในไทย鄉民發文沒有被收入到精華區:在แบรนด์ดังในไทย這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 แบรนด์ดังในไทย產品中有1篇Facebook貼文,粉絲數超過45萬的網紅Mao-Investor,也在其Facebook貼文中提到, เมื่อ TU ทำกำไร All Time New High คนที่ติดตามผลประกอบการปี 2563 ของ TU ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป คงอู้หู้โอ้โหไปตามๆ กัน เพราะในช่วงโควิดที่หลายๆ บริษัทต้องเ...
แบรนด์ดังในไทย 在 Mao-Investor Facebook 的最讚貼文
เมื่อ TU ทำกำไร All Time New High
คนที่ติดตามผลประกอบการปี 2563 ของ TU ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป คงอู้หู้โอ้โหไปตามๆ กัน เพราะในช่วงโควิดที่หลายๆ บริษัทต้องเจอความท้าทาย แต่ TU มียอดขาย 132,402 ล้านบาท (+4.9% YoY) ในขณะที่กำไรสุทธิ 6,246 ล้านบาท (+63.7% YoY) ยอดขายแสนกว่าล้านบาทอันนี้เป็นปกติของเขา แต่กำไรทำ All time High เกินหกพันล้านบาทนี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ยอดขายเพิ่มไม่มากแต่กำไรเพิ่มอย่างเยอะ เกิดอะไรขึ้นกับ TU ?
ธุรกิจของ TU สรุปในหนึ่งประโยคคือ “ผู้นำอาหารทะเลโลก” บรีฟคร่าวๆ ธุรกิจหลักคือทูน่ากระป๋องและอาหารทะเลแช่แข็ง แบรนด์ดังในไทย เช่น ซีเล็ค,ฟิชโช่ แต่ตลาดไทยยอดขายแค่ 10% ความจริงตลาดใหญ่ยอดขายเกิน 70% อยู่ที่อเมริกาเหนือและยุโรป ภายใต้แบรนด์ Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar ฯลฯ ทำธุรกิจมาแล้วกว่า 40 ปี
แล้วปีที่ผ่านมานี้ทำไม TU ได้กำไรเพิ่มอย่างเยอะ ?
1. โควิด-19 ทำให้คนทั่วโลกต้องกักตัวอยู่กับบ้าน ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวและสัตว์เลี้ยงมากขึ้น ทำอาหารกินเองมากขึ้น และใส่ใจกับคุณภาพของอาหารมากขึ้น ซึ่ง TU ได้รับอานิสงส์เต็มๆ เพราะโรงงานผลิตได้มาตรฐานสากล แบรนด์ติดตลาดอยู่แล้ว ทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์เลี้ยง จึงทำให้อาหารกระป๋องขายดีขึ้น โดยเฉพาะอาหารสัตว์เลี้ยงซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตรากำไรสูง
2. ช่วงก่อนหน้าโควิด-19 ไม่นาน TU มีการปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจใหม่ กิจการไหนกำไรไม่ดีก็ปิดทิ้ง กิจการไหนคล้ายกันก็ควบรวม ทำให้ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการได้มากขึ้น
3. ลดค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่จำเป็นช่วงโควิด-19 เช่น การลงทุนใหม่(CAPEX), ค่าโฆษณา
ทั้ง 3 เหตุผลจึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผลประกอบการของ TU ปี 2563 เติบโตอย่างแข็งแกร่ง
อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนจะเกิดคำถามในใจ เอ๊ะ…แล้วถ้าโควิดหายแล้ว TU จะยังดีอยู่ไหม งั้นเรามาดูยุทธศาสตร์ 5 ปีข้างหน้าของ TU กัน ถ้าจำกันได้ยุทธศาสตร์ TU เมื่อ 5 ปีก่อนจะเน้นปริมาณ ขยายกิจการเพื่อสร้างการเติบโต แต่ 5 ปีต่อจากนี้จะเน้นคุณภาพ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งตั้งเป้าการเติบโตไว้ปีละ 5% โดยการเติบโตจะมาจากธุรกิจใหม่ที่มีอัตรากำไรสูงและการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน
1. ธุรกิจ Alternative Protein เทรนด์ผู้บริโภคต่างประเทศตอนนี้ กำลังให้ความสนใจกับ อาหาร Plant-Based Food คือเนื้อสัตว์เทียมจากพืชที่ให้รูป-รส-กลิ่นเสมือนจริง ซึ่ง TU ก็อินเทรนด์ ปีนี้เปิดแบรนด์ใหม่ในไทยชื่อ OMG Meat ทำอาหารสำเร็จรูป เช่น หอยจ๊อปูเทียม ไก่ทอด พี่เม่าลองกินมาแล้วทั้ง 2 อย่าง ฟีลจะต่างจากการกินหมูปลอมในผัดหมี่ช่วงเทศกาลกินเจ เพราะอันนั้นต้องหลอกตัวเองนิดนึงแต่อันนี้ไม่ต้อง คือเนียนเลยแหละ ยอมรับว่าคล้ายจริงๆ ถ้าไม่บอกว่า Plant-Based ก็คิดว่าปูจริง ไก่จริง ผัสสะทั้ง 6 โดนหลอกโดยสมบูรณ์ ลองไปหาทานกันดูนะ แนะนำให้ไปลองหอยจ๊อปูเทียมของ OMG Meat ตอนนี้ก็เริ่มวางขายตามซูเปอร์มาร์เก็ตแล้วนะจ๊ะ ลองไปเสาะหากันดู
นอกจากนี้ TU ยังจัดตั้งกองทุน VC ลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพด้านอาหารด้วย ปัจจุบันลงทุนไปแล้ว 6 แห่ง ถ้านวัตกรรมด้านอาหารอันไหนมา TU มั่นใจว่าเขาจะไม่เอาท์แน่นอน
2. ธุรกิจ Ingredients เช่น น้ำมันจากปลาทูน่า, แคลเซียมผงจากกระดูกปลา , คอลลาเจนเปปไทน์, โปรตีนไฮโดรไลเสด ฯลฯ ซึ่งธุรกิจนี้ใช้วัตถุดิบที่ TU มีอยู่แล้วมาสร้างคุณค่าเพิ่ม ตอบโจทย์เทรนด์ผู้บริโภคทั่วโลกที่หันมาดูแลตัวเอง
3. การลงทุนระบบ Automation ในกระบวนการผลิต อันนี้ส่วนตัวคิดว่าเวิร์คในระยะยาว เพราะหลายปีมานี้มีหลายบริษัทที่ลงทุนไปกับเทคโนโลยี ถึงจะต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่ในระยะยาวคือช่วยลดต้นทุนการผลิตได้จริง สะท้อนมาที่งบการเงินกันเห็นๆ ซึ่งต้องติดตามต่อไปว่า TU จะสามารถสร้างอัตรากำไรได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเหมือนบริษัทผู้ผลิตอื่นที่ประสบความสำเร็จจาก Automation หรือไม่
และปลายปีนี้ น่าจะมีบริษัทย่อยของ TU จดทะเบียนเข้าตลาด คือบริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด(มหาชน) หรือ TFM ทำธุรกิจอาหารสัตว์น้ำ ก็จะเป็นอีกหนึ่งอีเว้นท์สำคัญสำหรับ TU และนักลงทุน ถ้ามีความคืบหน้าอะไรเพิ่มเติม พี่เม่าจะเอามาเล่าให้ฟังใหม่นะจ๊ะ :)