[爆卦]เสรีภาพในการแสดงออก是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇เสรีภาพในการแสดงออก鄉民發文沒有被收入到精華區:在เสรีภาพในการแสดงออก這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 เสรีภาพในการแสดงออก產品中有11篇Facebook貼文,粉絲數超過214萬的網紅เรียนเหอะ อยากสอน,也在其Facebook貼文中提到, 📌 #รวมคำศัพท์ สิ่งที่ทุกคนมีตั้งแต่เกิด.. ( แต่บางคนไม่รู้ตัว ) human rights = สิทธิมนุษยชน freedom of expression เสรีภาพในการแสดงออก freedom of sp...

 同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過106萬的網紅Adam Bradshaw,也在其Youtube影片中提到,สอบถามเรื่องคอร์สได้ที่ไลน์ @ajarnadam หรือโทร 02 612 9300 รายละเอียดคอร์ส http://www.ajarnadam.tv/ FB: http://www.facebook.com/AjarnAdamBradshaw IG: ...

เสรีภาพในการแสดงออก 在 Nut Devahastin Instagram 的精選貼文

2020-10-08 03:57:45

“คนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม” เป็นไงละจ๊ะ พวกนักเลงคีย์บอร์ดทั้งหลาย ไปด่าใครไว้เสียๆหายๆทั้งที่ไม่ได้รู้เรื่องรู้ราว รู้อีโหน่อีเหน่อะไรเลย แล้วพอเค้...

เสรีภาพในการแสดงออก 在 pj Instagram 的精選貼文

2020-05-02 23:36:24

ถึงประเทศอเมริกา Dear America, ... (Please see Eng. below) จากข่าวที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐ ออกมาบอกว่า "การเข้มงวดในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ...

  • เสรีภาพในการแสดงออก 在 เรียนเหอะ อยากสอน Facebook 的最佳解答

    2021-07-24 10:00:00
    有 4,456 人按讚

    📌 #รวมคำศัพท์ สิ่งที่ทุกคนมีตั้งแต่เกิด.. ( แต่บางคนไม่รู้ตัว )

    human rights = สิทธิมนุษยชน

    freedom of expression
    เสรีภาพในการแสดงออก

    freedom of speech
    เสรีภาพในการพูด

    freedom of thought
    เสรีภาพทางความคิด

    right to information
    สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง

    equality
    ความเสมอภาค

    non-discrimination
    การไม่แบ่งแยก/เลือกปฏิบัติ

    right to life
    สิทธิในการมีชีวิต

    right to education
    สิทธิในการศึกษา

    Don't forget: No one can take away your human rights. 🤍🕊

  • เสรีภาพในการแสดงออก 在 The Wild Chronicles - ประวัติศาสตร์ ข่าวต่างประเทศ ท่องเที่ยวที่แปลก Facebook 的最讚貼文

    2020-12-04 07:48:16
    有 530 人按讚

    ณ เมืองแห่งหนึ่งในเชชเนีย ซึ่งเป็นเขตของชนกลุ่มน้อยมุสลิมทางตอนใต้ของรัสเซีย มีมือมืดทำการ “เปลี่ยนชื่อถนน” โดยเอาชื่ออับดุลลาห์ อันโซรอฟ ไปติดแทนชื่อถนนเก่า

    1. อับดุลลาห์ อันโซรอฟอายุ 18 ปี เป็นผู้อพยพเชื้อสายเชเชน (คือคนที่มีรกรากจากเชชเนีย) ที่อพยพไปฝรั่งเศส

    2. ต่อมาเขารู้สึกโกรธแค้นครูชื่อซามูเอล ปาตีเป็นอย่างมาก เพราะปาตีสอนวิชา “เสรีภาพในการแสดงออก” และนำภาพล้อเลียนนบีมุฮัมมัดจากหนังสือพิมพ์ชาร์ลี เอบโดมาประกอบการสอน

    3. หนังสือพิมพ์ชาร์ลี เอบโดนี้มักตีพิมพ์ล้อเลียนศาสนา จนถูกผู้ก่อการร้ายกราดยิงพนักงานตาย 12 ศพในปี 2015 ปัจจุบันพวกเขายังทำการอยู่

    4. อันโซรอฟจึงลงมือฆ่าตัดคอปาตี เป็นข่าวดังในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

    5. ต่อมาอันโซรอฟถูกตำรวจยิงตาย ตำรวจยังจับผู้ต้องสงสัยสมรู้ร่วมคิดอีกสิบคน เป็นผู้ปกครอง และเพื่อนของอันโซรอฟ และอิหม่ามที่อันโซรอฟนับถือ

    6. จากเหตุการณ์นี้หนังสือพิมพ์ชาร์ลี เองโดจึงตีพิมพ์ภาพล้อเลียนที่เคยทำให้ถูกกราดยิงมาซ้ำอีก

    7. ชาวเชเชนเป็นชนกลุ่มน้อยมุสลิมในรัสเซีย ถูกรัสเซียกดขี่รังแกมาตลอด จึงมีการพยายามก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดนอยู่เสมอ

    8. ดังนั้นการกระทำของอันโซรอฟ แม้มีคนกลุ่มหนึ่งเห็นว่าชั่วร้าย แต่มีคนอีกกลุ่มเห็นว่าเป็นวีรบุรุษ จึงมีการพยายามเปลี่ยนชื่อถนนเช่นนี้

    ข่าวจาก news.ru

    ::: ::: :::

    สนใจอ่านเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตาม เพจ The Wild Chronicles ได้เลยนะครับ https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat
    กรุ๊ปประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ https://www.facebook.com/groups/thewildchronicles/
    กรุ๊ปท่องเที่ยว เที่ยวโหดเหมือนโกรธบ้าน https://www.facebook.com/groups/wildchroniclestravel/
    Blockdit : https://www.blockdit.com/thewildchronicles
    YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCa6L_ZIQpFyDwLeRbGZjIyg
    Line Square: https://line.me/ti/g2/8pIcVHp3cc6-jyQJdzIFrg

  • เสรีภาพในการแสดงออก 在 2how Facebook 的最讚貼文

    2020-10-31 17:42:16
    有 236 人按讚


    เมื่อศิลปะไม่ใช่อาชญากรรมแต่กลับละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว
    .
    จากการที่ผู้คนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารและใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์มากขึ้น การถ่ายภาพถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถสร้างการสื่อสารกับบุคคลอื่น รวมถึงเป็นการเก็บบันทึกเพื่อเป็นหลักฐานบางอย่างต่อทั้งความทรงจำ เก็บเป็นหมุดหมายเวลา หรือบางครั้งก็เป็นกิจกรรมที่สร้างความสนุก รื่นรมย์ จนนำไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะผ่านภาพถ่าย กลายเป็นงานศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่เรียกว่า Street photography หรือที่เราคุ้นหูกันว่า ภาพสตรีท
    .
    การถ่ายภาพอย่าง Street photography ที่กำลังเป็นที่นิยมในสังคมไทยตอนนี้ ผู้คนหันมาทดลองถ่ายรูปบนพื้นที่สาธารณะ บนฟุตบาท ข้างถนน ขนส่ง คมนาคมสาธารณะ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่แน่นอนว่าต้องเป็นเมืองที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอย่างกรุงเทพฯ ที่กลายเป็นพื้นที่ทดลองถ่ายภาพสตรีท บางคนถ่ายเพื่อสร้างพื้นที่ตีความใหม่ ความหมายใหม่ขึ้นมาในภาพถ่ายนั้น ๆ
    .
    “แอบถ่าย” คือคำที่ถูกใช้เรียกการกระทำของช่างภาพแนว street ท่านหนึ่งหลังเกิดกระแสดราม่าในช่วงเดือนสิงหาคม และผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในสังคมออนไลน์หลายคนออกมาแสดงความไม่พอใจในวิธีการถ่ายภาพของเขาที่ออกไปถ่ายภาพผู้คนบนท้องถนนและไม่ได้มีการขออนุญาตคนที่ถูกถ่ายและมีการนำเอาคลิปที่เกิดการปะทะกันเล็กน้อยกับชายที่เป็นวินมอเตอร์ไซค์มาลงใน YouTube โดยช่างภาพเองให้เหตุผลว่าในแง่กฎหมายแล้วนั้นเขาไม่ได้ทำอะไรผิดดังนั้นเขาจึงทำสิ่งที่ทำอยู่ได้และมีการออกมายืนยันสิทธิในการแสดงออกของตนเองอีกด้วยซ้ำผ่านการใช้วาทกรรมศิลปะไม่ใช่อาชญากรรม ซึ่งยิ่งทำให้เกิดความไม่พอใจแก่ชาวเน็ตอย่างมากโดยทางชาวเน็ตมองว่าการกระทำของช่างภาพคนนี้ที่ไปถ่ายภาพผู้คนในที่สาธารณะและไม่ได้ขออนุญาตเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและสมควรที่จะถูกดำเนินคดี และจากประเด็นดราม่านี้เองทำให้เกิดข้อถกเถียงในเรื่องความเป็นส่วนตัวกับประโยชน์สาธารณะ
    .
    คำถามคือแล้วทำไมการถ่ายภาพสตรีทจึงเป็นปัญหา?
    .
    ด้วยคำนิยามของ Street photo ที่มีความหลากหลาย อย่าง Visit Kulsiri หนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม Street Photo Thailand (SPT) ได้ให้ความหมายของ Street photo ว่าคือ “ถ่ายภาพผู้คน(หรือไม่มีคน)ในที่สาธารณะ โดยไม่มีการโพสท่าหรือจัดฉาก ทุกสิ่งมันอยู่รอบ ๆ ตัวเรา เพียงแต่เราต้องสังเกต มองหามันให้เจอ และจับภาพไว้ให้ทัน”
    .
    หรืออย่าง Mrsung Sungkrit สมาชิกของ SPT ที่นิยามว่า “Street Photography คือการสะท้อนภาพของชีวิตจริง ไม่มีการเซ็ตจัดฉาก จากสถานที่จริง ที่ที่ทุกคนใช้ชีวิตร่วมกันเป็นประจำวัน หรือสัญจรไปมา ส่วนใหญ่จะเป็นที่สาธารณะ มีผู้คนอาศัยเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นหน้าห้างร้าน รถไฟฟ้าใต้ดิน หน้าสำนักงาน ภาพถ่ายส่วนใหญ่มักจะเป็นภาพที่ผู้คนไม่ทันได้สังเกต หรือมองเห็นไม่บ่อยนักในชีวิตประจำวัน รวมไปจนถึงรายละเอียดปลีกย่อยของผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน
    .
    ช่างภาพจะป็นคนกำหนดและให้ความสำคัญกับฉาก ช่วงเวลาและผู้คน จากประสบการณ์ความรู้สึกภายใต้จิตสำนึกของช่างภาพเอง ซึ้งเป็นการจับอารมณ์และหยุดเวลาบันทึกภาพผ่านชัตเตอร์ภายในเสี้ยววินาที กล้องเป็นเพียงส่วนขยายและหยุดเวลานัยน์ตาของช่างภาพ เพื่อบันทึกเก็บไว้เท่านั้นเอง”
    .
    ด้วย concept หลัก ๆ ของ street photography นั้น ต้องเป็นการถ่ายในพื้นที่สาธารณะ ไม่มีการจัดฉาก เน้นสะท้อนภาพของชีวิตจริง จากสถานที่จริง การสร้างสรรค์ผลงานจึงจำเป็นต้องเจอกับผู้คนทั่วไป การถ่ายภาพที่ต้องปะทะหรือพบปะกับผู้คนจึงมีค่อนข้างสูง
    .
    เกิดข้อถกเถียงว่าระหว่างเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานกับสิทธิในความเป็นส่วนบุคคล หรือความเป็น privacy ของแต่ละคน ปัญหามีอยู่ว่า มุมของคนถ่ายสตรีท ก็ต้องการจะถ่ายเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน โดยวัตถุประสงค์ “ไม่จัดฉาก” การจะขอความยินยอม (consent) กับตัวแบบก่อน มันจึงขัดแย้งกับหลักการถ่ายภาพ street ของการถ่ายภาพในพื้นที่สาธารณะคือ คนที่ถูกถ่ายไม่ได้รับคำยินยอมก่อนจะถ่าย แต่ฝ่ายผู้ถ่ายก็จะอ้างว่าเป็นเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะ
    .
    เสรีภาพในการแสดงออก ถูกรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) บรรดาประเทศสมาชิกของ UN ได้ร่วมกันรับรอง เมื่อปีค.ศ. 1948 ถือเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติต่อกันของมวลมนุษย์และของบรรดานานาชาติ ถึงแม้ว่า UDHR จะไม่ได้มีผลบังคับทางกฎหมายเช่นเดียวกับสนธิสัญญา อนุสัญญา หรือ ข้อตกลงระหว่างประเทศ แต่ UDHR ฉบับนี้นับเป็นกฎเกณฑ์จารีตประเพณีระหว่างประเทศ มีพลังสำคัญทางศีลธรรม จริยธรรม และมีอิทธิพลทางการเมืองไปทั่วโลก และถือเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่บรรดาประเทศทั่วโลกยอมรับ
    .
    โดยในข้อ 19 ได้บัญญัติว่า ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความเห็นโดยปราศจากการแรกสอดและที่จะแสวงหา รับและแจกจ่ายข่าวสารและความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ และโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน
    .
    ไม่ได้มีแค่ UDHR ที่ไทยไปร่วมรับรองเท่านั้น ยังมีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง (ICCPR) ที่ไทยได้ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539 เนื้อหาของ ICCPR ในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก ได้ปรากฎในข้อที่ 19 ว่า “บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์ อักษรหรือการตีพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก”
    .
    หากมองมายังกฎหมายไทย เสรีภาพการแสดงออกได้ถูกรับรองและถูกจำกัดโดยกฎหมายไปพร้อม ๆ กัน กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ทั้งฉบับปีพ.ศ. 2540, 2550 และฉบับปี พ.ศ. 2559 ต่างก็รับรองให้ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงออกในลักษณะเดียวกัน กล่าวโดยเฉพาะ รัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2559 รับรองเสรีภาพการแสดงออกไว้ในมาตรา 34 และกำหนดไว้ด้วยว่า “เสรีภาพการแสดงออก จะถูกจำกัดได้ตามกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน” อย่างไรก็ดีการจำกัดก็เพื่อเหตุผลทางความมั่นคงทางการเมือง ผลประโยชน์ทางการเมือง แต่กฎหมายเฉพาะที่พูดถึงการแสดงออกในรูปแบบการถ่ายรูปแบบสตรีทนั้นไม่เป็นความผิดทางกฎหมาย จนกว่าจะเผยแพร่ แล้วทำให้บุคคลอื่นเกิดความเสียหาย
    .
    การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ได้รับรองแบบกว้าง ๆ ไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทย ปี พ.ศ.2560 ได้รับรองไว้ในมาตรา 32 ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว การกระทำอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ”
    .
    กฎหมายเฉพาะ อย่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นั้น มีเนื้อหาที่ต้องการจะคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของประชาชน แต่อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังไม่มีผลบังคับใช้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบการเลื่อนบังคับใช้บางมาตราใน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ออกไป 1 ปี เป็นวันที่ 27 พ.ค.2564 จากเดิมจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 27 พ.ค.63 นี้ ตามที่กระทรวงดีอีเอสเสนอ โดยสาเหตุที่ต้องเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายออกไป เนื่องจากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มสมาคมและภาคธุรกิจต่างๆได้ยื่นข้อร้องเรียนไปยังนายกรัฐมนตรี ถึงความไม่พร้อมในการดำเนินการตามกฎหมาย เนื่องจากในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทุกองค์กรได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะภาคเอกชน
    .
    แล้วต่างประเทศล่ะ เขามีปรากฎการณ์อย่างไรบ้าง?
    .
    การถ่ายภาพในที่สาธารณะก็เป็นหนึ่งประเด็นที่ร้อนแรงในต่างประเทศเช่นกัน อีกทั้งแต่ละประเทศก็ได้มีวิธีการจัดการหรือมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพในพื้นที่สาธารณะต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวิธีคิดเบื้องหลังของสังคมนั้น ๆ จะขอยกตัวอย่าง 3 ประเทศ ประกอบไปด้วย เยอรมนี ญี่ปุ่น และอเมริกา
    .
    1. ประเทศเยอรมนี มักจะถูกเข้าใจว่ามีกฎหมายที่เข้มงวดและเน้นสิทธิส่วนบุคคลของผู้คน การถ่ายภาพในที่สาธารณะจึงได้กลายเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เราได้เห็นถึงข้อขัดแย้งนี้โดยมีนักเขียนท่านหนึ่งถึงกับบอกว่าสำหรับในประเทศเยอรมนีแล้วแม้แต่จะกล่าวอ้างในนามศิลปะแต่สิทธิส่วนบุคคลก็ไม่ควรที่จะถูกละเมิด หากจะกล่าวโดยสรุปถึงการถ่ายภาพในที่สาธารณะและการเผยแพร่ภาพถ่ายแล้วในเยอรมนีสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ
    .
    ประกอบไปด้วยการถ่ายภาพในที่สาธารณะนั้นสามารถถ่ายได้และไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมหากจะเป็นการถ่ายโดยบุคคลและใช้ส่วนบุคคลเท่านั้น (personal use only) แต่หากจะนำไปใช้กับองค์กรหรือหน่วยงานรัฐจำเป็นที่จะต้องขอความยินยอม การเผยแพร่ภาพถ่ายของบุคคลที่ถ่ายในที่สาธารณะจำเป็นต้องขอคำยินยอมแต่หากเป็นบุคคลสาธารณะนั้นไม่จำเป็นและได้รับการยกเว้น และในส่วนของการนำภาพถ่ายบุคคลที่ถ่ายในพื้นที่สาธารณะไปใช้ในเชิงพาณิชย์นั้นจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตเสมอและต้องได้รับคำยินยอม
    .
    ในกรณีของการถ่ายภาพในที่สาธารณะของประเทศเยอรมนีที่มีข้อพิพาทและได้รับคำตัดสินจากศาลคืองานของช่างภาพที่ชื่อว่า Espen Eichhofer ที่เป็นช่างภาพถ่ายภาพประเภท street ได้จัดแสดงภาพถ่ายของเขาในแกลเลอรีที่ตั้งอยู่ในเมืองเบอร์ลิน หนึ่งในภาพถ่ายที่ถูกจัดแสดงอยู่มีภาพของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังเดินอยู่บนถนนและอยู่ในชุดลายเสือ โดยผู้หญิงคนที่อยู่ในภาพได้ฟ้อง Espen เพื่อให้นำภาพของเธอออกและชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการจ้างทนาย โดยศาลได้ตัดสินให้ Espen ผิดเพราะไม่ได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของภาพและจำเป็นต้องจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี โดยในกรณีนี้เกิดขึ้นตามกฎหมายลิขสิทธิ์สำหรับงานศิลปะของเยอรมนีหรือ Kunsturhebergesetz อย่างไรก็ตามในกฎหมายนี้ก็คงยังมีข้อยกเว้นอยู่ตรงที่หากผู้คนในภาพเป็นเพียง “เครื่องประดับ” หรือส่วนประกอบที่ไม่ได้มีความสำคัญต่อภาพอย่างเช่นภาพของคนในถ่ายวิวทิวทัศน์จะได้รับการยกเว้น ในกรณีของเยอรมนีนี้จะเห็นได้ว่าสิทธิส่วนบุคคลหรือความเป็นส่วนตัวจะได้รับการให้ความสำคัญอย่างมาก แม้ว่าจะอ้างว่าเป็นงานศิลปะก็ตาม
    .
    2. ประเทศสหรัฐอเมริกา การถ่ายภาพในที่สาธารณะนั้นก็ได้สะท้อนอุดมการณ์เบื้องหลังของประเทศเช่นกัน โดยประเทศสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นประเทศที่เป็นมิตรกับผู้ถ่ายภาพอย่างมาก โดยหากเปรียบเทียบกันในประเด็นเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ สามข้อที่กล่าวมาข้างต้นจะพบว่า การถ่ายภาพบุคคลในที่สาธารณะนั้นไม่จำเป็นต้องขออนุญาต และการเผยแพร่นั้นก็ไม่จำเป็นเช่นกัน แต่ในส่วนของการใช้ภาพถ่ายที่ถ่ายในพื้นที่สาธารณะนั้นต้องดูไปในรายละเอียดของแต่ละรัฐ
    .
    โดยคำตัดสินของศาลก็ได้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับอุดมการณ์ดังกล่าว อย่างเช่นในกรณีของชายชาวยิวที่ชื่อว่า Erno Nussenzweig ที่ได้ฟ้องช่างภาพที่ชื่อว่า Philip-Lorca Dicorcia หลังจากที่เขาเห็นภาพของตนเองถูกจัดแสดงอยู่ในแกลเลอรี่โดยที่เขาไม่ยินยอม อย่างไรก็ตามศาลเห็นว่างานของ Dicorcia เป็นการแสดงออกทางศิลปะให้ Dicorcia ชนะคดีไป และในกรณีของช่างภาพ Thomas Hoepker ที่ได้ถ่ายภาพของ Barbara Kruger และหลังจากนั้น Babara Kruger ได้ใช้ภาพของเธอเองที่ถูกถ่ายโดย Hoepker เพื่อใช้ประกอบงานศิลปะโดยไม่ได้รับคำยินยอมจาก Hoepker ทำให้ Hoepker ผู้ที่เป็นช่างภาพฟ้อง Kruger ที่ได้นำภาพไปใช้ แต่ในกรณีนี้ศาลตัดสินให้ Kruger ชนะโดยให้เหตุผลว่าการใช้ภาพนั้นไม่ได้เป็นไปในเชิงพาณิชย์แต่เป็นการใช้ในฐานะศิลปะ และอีกหนึ่งตัวอย่างคือข้อพิพาทระหว่างนิตยสาร The New York Times กับนาย Clarence Arrington ในปีค.ศ. 1982 หลังจากที่เขาได้เห็นภาพถ่ายของตนเองขณะที่กำลังเดินอยู่บนถนนในเมืองนิวยอร์กลงบนหน้าปกของนิตยสารโดยไม่ได้มีการขออนุญาตเขาก่อน เขาจึงได้ทำการฟ้องร้องต่อศาล และศาลได้ติดสินว่า The New York Times ไม่ผิดโดยอ้างหลัก First Amendment ที่เน้นเสรีภาพในการแสดงออกที่อยู่เหนือสิทธิส่วนบุคคล จากทั้งสามกรณีจะเห็นได้ว่าศาลของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสำคัญกับสิทธิในการแสดงออกมากกว่าสิทธิส่วนบุคคล
    .
    ประเทศญี่ปุ่น การถ่ายภาพมีข้อจำกัดที่ค่อนข้างมีลักษณะที่โดดเด่น ถ้าหากกล่าวโดยสรุปจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อหลักคือ การถ่ายภาพของบุคคลในที่สาธารณะต้องได้รับคำยินยอม, การตีพิมพ์ภาพบุคคลที่ถ่ายในพื้นที่สาธารณะต้องได้รับคำยินยอมเช่นกัน และการใช้ภาพที่ถ่ายบุคคลในพื้นที่สาธารณะในเชิงพาณิชย์ต้องได้รับคำยินยอมเสมอ
    .
    ในกรณีข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพในที่สาธารณะของญี่ปุ่นนั้นอาจจะสามารถเห็นได้จากคำตัดสินของศาลโดยมีหนึ่งกรณีที่โด่งดังที่เกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1969 ที่ศาลสูงสุดของญี่ปุ่น (supreme court of Japan Grand Bench) ได้ตัดสินกรณีที่ผู้ประท้วงถูกถ่ายภาพขณะที่ประท้วงโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ประท้วงไม่ยินยอมให้ถ่าย โดยศาลสูงสุดได้ตัดสินให้การถ่ายภาพแม้จะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐแต่หากไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ถูกถ่ายและไม่มีเหตุผลที่ดีพอในการถ่ายให้ถือว่าขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญและไม่อนุญาต และอีกหนึ่งกรณีของการถ่ายภาพในที่สาธารณะในกรณีของบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ คือกรณีที่เกิดขึ้นในปีค.ศ. 2005 ที่มีการฟ้องร้องจากผู้ต้องหาที่ถูกถ่ายภาพโดยนิตยสารเล่มหนึ่ง โดยมีภาพของเขาที่ถูกตำรวจจับกุมและใส่กุญแจมือไขว้หลังอยู่โดยศาลได้ตัดสินว่าภาพถ่ายที่ได้รับการตีพิมพ์อยู่ในพื้นที่ของนิตยสารนั้นมีความผิดเพราะทำให้บุคคลเสื่อมเสียเกียรติ (the picture taken is content that hurts the honorary feeling of the person) นี้คือกรณีหนึ่งที่ทำให้เห็นได้ว่าศาลยังยึดตามหลักการสิทธิส่วนบุคคลและมีความพยายามในการที่จะปกป้องสิทธิส่วนบุคคลอยู่
    .
    จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น สะท้อนความท้าทายที่วงการถ่ายภาพสตรีทเผชิญอยู่ และต้องมาหาทางออกร่วมกันว่าจะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร และจะมีทางออกหรือบรรทัดฐานใหม่เพื่อสร้างให้งานภาพถ่ายแบบ street นั้นเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้คนได้อย่างไรต่อไป
    .
    .
    แหล่งที่มา
    https://themomentum.co/thailand-personal-data-protection-a…/
    http://www.streetviewphotography.net/b-spvsdp/
    https://law.photography/law/street-photography-laws-in-japan
    https://streetbounty.com/should-street-photography-be-ille…/

你可能也想看看

搜尋相關網站