[爆卦]เทคโนโลยีการแพทย์是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇เทคโนโลยีการแพทย์鄉民發文沒有被收入到精華區:在เทคโนโลยีการแพทย์這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 เทคโนโลยีการแพทย์產品中有2篇Facebook貼文,粉絲數超過178萬的網紅ลงทุนแมน,也在其Facebook貼文中提到, รัสเซีย กำลังกลับมาทวงบัลลังก์ โลกเทคโนโลยี /โดย ลงทุนแมน วัคซีนสปุตนิก วี (Sputnik V) เป็นวัคซีนป้องกันโควิด 19 ที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบัน Gamaleya ในกรุ...

 同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過100萬的網紅LDA World,也在其Youtube影片中提到,อนาคต...มนุษย์อาจโกงความตาย ตายไปแล้ว กลับฟื้นขึ้นมาใหม่ได้ . มารู้จักกับ Cryonics การแช่แข็งมนุษย์ ช่วยรักษาและดูแลร่างกายของคนได้หลายสิบปี . รอเทคโ...

  • เทคโนโลยีการแพทย์ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文

    2021-05-04 11:00:01
    有 4,972 人按讚

    รัสเซีย กำลังกลับมาทวงบัลลังก์ โลกเทคโนโลยี /โดย ลงทุนแมน
    วัคซีนสปุตนิก วี (Sputnik V) เป็นวัคซีนป้องกันโควิด 19 ที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบัน Gamaleya
    ในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย และผลิตโดยใช้เทคโนโลยีเวกเตอร์ไวรัส (Viral Vector) เป็นตัวนำสารพันธุกรรมเข้าสู่เซลล์มนุษย์

    โดยตัว V ในชื่อ มีที่มาจากคำว่า Vaccine
    ไม่ใช่สัญลักษณ์ของเลข 5 ในแบบโรมัน อย่างที่หลายคนเข้าใจผิดในช่วงแรก

    แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ชื่อ “สปุตนิก” ของวัคซีนตัวนี้
    เป็นชื่อเดียวกันกับดาวเทียมดวงแรกของโลก ที่ถูกส่งไปโคจรในอวกาศ เมื่อปี 1957
    และทำให้ชาวโลกได้ประจักษ์ถึงศักยภาพทางเทคโนโลยีของสหภาพโซเวียต

    สปุตนิก มาจากคำว่า Спутник ในภาษารัสเซีย ซึ่งมีหลายความหมาย
    หนึ่งในนั้นคือ “ดาวเทียม”

    การตั้งชื่อวัคซีนว่า “ดาวเทียม” ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งความสำเร็จอย่างงดงามเมื่อ 60 ปีที่แล้ว
    อาจเป็นสัญญาณบางอย่างที่บอกว่า นับตั้งแต่สหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991
    รัสเซียกำลังกลับมาทวงบัลลังก์โลกแห่งเทคโนโลยีอีกครั้ง..

    เรื่องราวนี้ เป็นอย่างไร ?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ย้อนกลับไปช่วงทศวรรษ 1950s-1990s
    สหภาพโซเวียต ถือได้ว่าเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ หรือ Superpower เคียงคู่กับสหรัฐอเมริกา

    ทั้ง 2 ประเทศ แข่งขันขับเคี่ยวกันในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และอวกาศ เป็นที่มาของสิ่งที่ชาวโลกรู้จักกันในชื่อ “สงครามเย็น”

    ผลงานด้านเทคโนโลยีอวกาศของสหภาพโซเวียตที่ทำให้ชาวโลกต้องตะลึง
    ทั้งดาวเทียมดวงแรกของโลก “สปุตนิก 1” และการส่ง “ยูรี กาการิน” มนุษย์คนแรกออกไปโคจรรอบโลกได้เป็นผลสำเร็จ ในปี 1961

    ความก้าวหน้าเหล่านี้ มีเบื้องหลังสำคัญมาจากงบประมาณด้านวิจัยและพัฒนาของสหภาพโซเวียต ที่เคยมีสัดส่วนสูงถึงเกือบ 2% ของ GDP

    แต่เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายและแตกออกเป็นประเทศน้อยใหญ่ถึง 15 ประเทศ
    รัสเซียซึ่งเป็นประเทศใหญ่ที่สุด และรับมรดกของสหภาพโซเวียตมามากที่สุด
    กลับต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ทั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การว่างงาน และการปรับตัวเข้าสู่โลกทุนนิยม ทำให้ต้องตัดทอนงบประมาณวิจัยและพัฒนาลงมาเรื่อย ๆ เพื่อมาพยุงเศรษฐกิจในภาพรวม

    ในปี 2018 ถึงแม้รัสเซียจะติด 1 ใน 10
    ประเทศที่ใช้งบประมาณด้านวิจัยและพัฒนาสูงที่สุดในโลก

    แต่เมื่อเทียบสัดส่วนต่อ GDP แล้ว
    พบว่ารัสเซียใช้งบประมาณด้านวิจัยและพัฒนาเพียง 1% ของ GDP
    เป็นสัดส่วนที่น้อยกว่าของประเทศจีน 2 เท่า น้อยกว่าสหรัฐอเมริกา 3 เท่า
    และน้อยกว่าเกาหลีใต้เกือบ 5 เท่า

    การขาดแคลนงบประมาณ ทำให้งานวิจัยที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาเป็นสินค้าเทคโนโลยีมีไม่มาก
    รัสเซียจึงต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
    สินค้าส่งออกหลัก 3 อันดับแรกของรัสเซีย ล้วนเป็นสินค้าโภคภัณฑ์
    ซึ่งราคามักจะผันผวนไปตามความต้องการของตลาดโลก

    อันดับ 1 คือ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ คิดเป็นสัดส่วน 42%
    อันดับ 2 คือ แร่โลหะมีค่า เช่น ทองคำ แพลทินัม คิดเป็นสัดส่วน 9%
    อันดับ 3 คือ แร่เหล็กและเหล็กกล้า คิดเป็นสัดส่วน 5%

    ถึงแม้จะสร้างรายได้มหาศาล แต่สินค้าเหล่านี้ก็เจอกับความผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ
    ปีไหนน้ำมันราคาสูง GDP ของรัสเซียก็เพิ่มสูง เช่น ช่วงปี 2012-2013
    ปีไหนน้ำมันราคาตกต่ำ GDP ของรัสเซียก็ลดลง เช่น ช่วงปี 2014-2016

    เมื่อรวมกับการที่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจดำเนินมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียหลังจากที่รัสเซียรุกรานดินแดนยูเครน ทำให้รัสเซียต้องประสบวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2014

    ปัญหาทั้งหมดทำให้รัฐบาลรัสเซียต้องกำหนดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจใหม่
    โดยในปี 2018 ประธานาธิบดี วลาดีมีร์ ปูติน ได้อนุมัติแผนวิจัยแห่งชาติที่ยาวไปจนถึงปี 2024
    ซึ่งยุทธศาสตร์ที่จะทำให้เศรษฐกิจของรัสเซียอยู่รอด และโดดเด่นบนเวทีโลกในระยะยาว
    ก็คือ “การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”

    ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ยุคจักรวรรดิรัสเซีย
    รัสเซียคือดินแดนหนึ่งที่ผลิตผลงานวิทยาศาสตร์มากมายมาประดับวงการวิชาการของโลก
    ทั้งรถรางไฟฟ้าและตารางธาตุ

    พอมาถึงยุคสหภาพโซเวียต ก็มีเหล่านักวิทยาศาสตร์มากมายที่พัฒนาทั้งเทคโนโลยีนิวเคลียร์ อาวุธ การแพทย์ และเทคโนโลยีอวกาศ

    รัสเซียมีนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลถึง 17 คน (รวมสมัยสหภาพโซเวียต)
    ประกอบไปด้วยสาขาฟิสิกส์ 12 คน สาขาการแพทย์ 3 คน และสาขาเคมี 2 คน

    แต่เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย วิกฤติเศรษฐกิจทำให้นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากต้องตกงาน
    นับหมื่นคน และต้องอพยพออกไปทำงานยังต่างประเทศ ทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป
    ส่วนที่ยังอยู่ก็ต้องเปลี่ยนอาชีพไปทำมาหากินอย่างอื่น

    ตั้งแต่ปี 2008 รัฐบาลรัสเซีย สมัยประธานาธิบดี ดมีตรี เมดเวเดฟ
    จึงเริ่มวางแผนเพื่อผลักดันนโยบายเศรษฐกิจ บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    เริ่มแรกคือการจัดสร้างเมืองแห่งนวัตกรรม Skolkovo ที่ชานกรุงมอสโก
    ให้เป็นศูนย์รวมของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆ
    จัดตั้ง Skolkovo Institute of Science and Technology ในปี 2011
    ให้เป็นศูนย์วิจัยชั้นนำด้านวิศวกรรม ปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีการแพทย์ พลังงานสะอาด และเทคโนโลยีควอนตัม

    มีการจัดตั้ง The Russian Quantum Center ภายในเมือง Skolkovo และทุ่มงบประมาณกว่า 25,000 ล้านบาท เพื่อวิจัยด้านนี้โดยเฉพาะ

    รวมถึงเพิ่มงบประมาณในการปรับปรุงห้องทดลองในสถาบันต่าง ๆ ให้เตรียมพร้อม
    ทั้งสถานที่ อุปกรณ์ทำการวิจัย และบุคลากร ดึงนักวิทยาศาสตร์เก่ง ๆ กลับมาสู่รัสเซีย
    ด้วยการเพิ่มทุนวิจัย เงินเดือน และสวัสดิการที่ดี

    ลำดับต่อมา คือการเพิ่มงบสนับสนุนการทำวิจัย
    มีการจัดตั้ง Russian Science Foundation (RSF) ในปี 2014
    เพื่อให้เงินสนับสนุนงานวิจัยหลากหลายแขนง

    ตัวอย่างเช่น ในด้านอวกาศ RSF ได้มอบทุนสนับสนุนงานวิจัยองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศบนดาวอังคาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม ExoMars ที่รัสเซียร่วมกับสหภาพยุโรป ในการวางแผนจะส่งยานอวกาศไปดาวอังคารภายในปี 2022

    รวมถึงการดึงงบประมาณบางส่วนจาก Russian National Wealth Fund หรือกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ มาสนับสนุนงานวิจัยที่เร่งด่วน เช่น การพัฒนาวัคซีนโควิด 19 โดยสถาบัน Gamaleya

    แต่อุปสรรคของการพัฒนาเทคโนโลยีในรัสเซียก็ยังมีอยู่ไม่น้อย..

    ประการแรก คือ ปัญหาคอร์รัปชันในแวดวงข้าราชการ

    รัสเซียเป็นประเทศที่มีปัญหาการคอร์รัปชันค่อนข้างสูง
    จากดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน รัสเซียถูกจัดให้อยู่ที่อันดับ 129 ของโลก จาก 179 ประเทศ
    ซึ่งเป็นอันดับที่แย่กว่าประเทศไทย และเป็นอันดับท้าย ๆ ของทวีปยุโรป

    และจากการสำรวจของ PwC พบว่า กว่า 71% ของเงินอุดหนุนและอภิสิทธิ์พิเศษต่าง ๆ
    ที่รัฐบาลรัสเซียจัดให้แก่โครงการด้านวิทยาศาสตร์และธุรกิจในปี 2009
    จะถูกเบียดบังไปโดยข้าราชการและตำรวจรัสเซียที่ทำการคอร์รัปชัน

    รวมไปถึงผลการทดลองหรือผลของงานวิจัย ที่หลายครั้งถูกควบคุมจากฝ่ายรัฐบาลอย่างเด็ดขาด ทำให้ข้อมูลที่ได้ขาดความโปร่งใส และไม่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

    ประการที่ 2 คือ ปัญหาความร่วมมือกับประเทศตะวันตก

    เนื่องจากรัสเซียโดนคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งล้วนแต่เป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้า

    การนำเข้าสารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการทดลอง
    รวมไปถึงอุปกรณ์วิเคราะห์จากประเทศเหล่านี้จึงใช้ระยะเวลานานมาก
    ด้วยข้อจำกัดทางการค้าและการทูต จากระยะเวลาไม่กี่วันอาจยาวนานเกือบ 3 เดือน

    เช่นเดียวกับหลายโครงการที่ร่วมมือกันระหว่างรัสเซียกับสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้รับการอนุมัติ
    หรือดำเนินไปอย่างล่าช้า เนื่องด้วยข้อจำกัดในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน

    อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของรัสเซียที่จะพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ยังคงดำเนินต่อไป
    รัฐบาลรัสเซียตั้งเป้าไว้ว่า งบประมาณด้านวิจัยและพัฒนาของรัสเซียจะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 1.2%
    ของ GDP ให้ได้ ภายในปี 2024..

    ก็เป็นที่น่าติดตามต่อไป ว่ารัสเซียจะกลับมาทวงบัลลังก์แห่งโลกเทคโนโลยีได้หรือไม่ ?

    แต่รัสเซียก็แสดงให้เห็นว่าเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่สามารถวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ของตัวเอง
    ซึ่งนับเป็นการประกาศให้โลกรับรู้ถึงศักยภาพด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ของรัสเซีย
    ที่ไม่น้อยหน้าใคร และสิ่งเหล่านี้อาจถูกต่อยอดจนกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของรัสเซียในอนาคต

    ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษย์ มีบทพิสูจน์ชัดเจนแล้วว่า
    ประเทศใดที่เป็นผู้ครองเทคโนโลยี ประเทศนั้นก็มีศักยภาพพอที่จะเป็นผู้ครองโลก

    เวลานี้สงครามเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน
    ก็เป็นที่จับตามองของคนทั้งโลกอยู่แล้ว

    และหากว่าจะมีรัสเซียเพิ่มเข้ามาอีกหนึ่งประเทศในสงครามนี้
    โลกในศตวรรษที่ 21 ก็คงจะน่าตื่นเต้นขึ้นกว่าเดิม ไม่น้อยเลยทีเดียว..
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - longtunman.com
    Blockdit - blockdit.com/longtunman
    Facebook - facebook.com/longtunman
    Twitter - twitter.com/longtunman
    Instagram - instagram.com/longtunman
    Line - page.line.me/longtunman
    YouTube - youtube.com/longtunman
    Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
    Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
    Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
    References:
    -https://www.nature.com/articles/d41586-020-00753-7
    -https://data.worldbank.org/indicator/GB.XPD.RSDV.GD.ZS?locations=RU-TH-CN-KR
    -https://tass.com/society/968471
    -https://www.worldstopexports.com/russias-top-10-exports/
    -https://www.kaspersky.com/blog/secure-futures-magazine/russian-technology-inventions/28073/

  • เทคโนโลยีการแพทย์ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文

    2020-12-17 12:59:34
    有 2,084 人按讚

    TMB I Thanachart x ลงทุนแมน
    สถานการณ์ตลาดแบบนี้ ลงทุนลดหย่อนภาษีอย่างไรให้อุ่นใจ
    ใกล้สิ้นปีแล้ว หลายคนคงกำลังหากองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีอยู่
    แต่ด้วยสถานการณ์ตลาดที่ผันผวนมาตลอดทั้งปี
    เราก็คงเกิดความกังวล ว่าจะเลือกกลยุทธ์การลงทุนอย่างไรดี

    อย่างไรก็ตาม ก่อนจะไปถึงจุดนั้น เรามาดูกันดีกว่าว่า
    ในปีนี้เราสามารถซื้อกองทุนอะไรเพื่อลดหย่อนภาษีได้บ้าง
    และกองทุนแต่ละประเภท นำไปลดหย่อนภาษีได้เท่าไร

    เริ่มจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ซึ่งเราน่าจะคุ้นเคยกันดี
    สามารถนำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุน มาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง
    แต่ต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท

    โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี แต่ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นกองเดิมเหมือนกันทุกปี
    และต้องถือหน่วยลงทุนไว้อย่างน้อย 5 ปี รวมถึงไม่ขายจนกว่าผู้ถือจะอายุครบ 55 ปี

    RMF จึงเหมาะกับคนที่อยากวางแผนการเงินเพื่อไว้ใช้ในยามเกษียณ
    นอกจากนั้นยังเป็นการฝึกวินัยไปในตัว เพื่อมีเงื่อนไขกำหนดให้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง

    นอกจาก RMF แล้ว ปีนี้ยังมีกองทุนน้องใหม่ ที่ใช้ลดหย่อนภาษีแทน LTF
    ซึ่งก็คือ กองทุนรวมเพื่อการออม หรือ SSF

    โดยเราสามารถนำเงินที่ซื้อหน่วยลงทุนมาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง
    แต่ต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท
    ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี แต่ต้องถือครองจนครบ 10 ปี จึงจะเข้าเงื่อนไข

    ซึ่งเมื่อรวมจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดที่ซื้อ RMF และ SSF
    รวมกับ กบข./กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน + กองทุนการออมแห่งชาติ + ประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วจะสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

    พอรู้อย่างนี้แล้ว ปัญหาที่ตามมาก็คือ เราจะเลือกลงทุนกับ RMF หรือ SSF กองไหนดี?

    เรื่องนี้ทีเอ็มบีและธนชาต เข้าใจว่าความต้องการของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน
    จึงมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ มาเพื่อตอบโจทย์คนแต่ละสไตล์
    โดยเราสามารถแบ่งกองทุนออกได้เป็น 4 กลุ่มหลักๆ ตามความสนใจ

    1. กลุ่มที่ต้องการลงทุนในประเทศที่มีอัตราการเติบโตด้านเศรษฐกิจสูง อย่างประเทศจีน
    กองทุน SSF ที่น่าสนใจ คือ T-ES-CHINAA-SSF
    กองทุน RMF ที่น่าสนใจ คือ T-ES-CHINAA-RMF และ TMBCORMF

    กองทุนแรก “กองทุนเปิดธนชาต อีสท์สปริง China A” หรือ “T-ES-CHINAA”
    ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบที่เป็น SSF และ RMF ให้เลือก

    เป็นกองทุนที่ลงทุนในกองทุน UBS (Lux) IS - China A Opportunity
    ซึ่งเน้นการลงทุนในหุ้นจีนกลุ่ม New Economy ที่จดทะเบียนในแผ่นดินใหญ่ (A Share)
    เช่น Ping An Insurance หรือ Moutai บริษัทเหล้าระดับพรีเมียมของจีนที่มีชื่อเสียงมายาวนาน
    และที่สำคัญผู้จัดการกองทุน ก็ได้รับรางวัล Rating AAA จาก Citywire เป็นระยะเวลาถึง 35 เดือน

    กองถัดไป “กองทุนเปิดทหารไทย China Opportunity เพื่อการเลี้ยงชีพ” หรือ “TMBCORMF”
    ซึ่งลงทุนกับกองทุน UBS (Lux) Equity Fund–China Opportunity
    เน้นการลงทุนในหุ้นที่มีรายได้เติบโตสูงจากในประเทศจีน
    แต่ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น ช่วยให้สามารถลงทุนในหุ้นคุณภาพสูงที่มักเลือกเข้าตลาดหลักของโลก
    เช่น Alibaba เลือกจดทะเบียนในสหรัฐฯ และฮ่องกง เป็นต้น

    2. กลุ่มที่ต้องการลงทุนแบบกระจายการลงทุนไปทั่วโลก ไปยังอุตสาหกรรมที่หลากหลาย
    กองทุน SSF ที่น่าสนใจ คือ T-ES-GCG-SSF และ UGQG-SSF
    กองทุน RMF ที่น่าสนใจ คือ TMBGQGRMF และ TMBGINCOMERMF

    กองทุนแรกที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนทั่วโลก คือ “กองทุนเปิดธนชาต อีสท์สปริง Global Capital Growth เพื่อการออม” หรือ “T-ES-GCG-SSF”
    ซึ่งไปลงทุนในกองทุน Amundi Fund Polen Capital Global Growth

    กองทุนนี้จะเน้นลงทุนในบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการที่โลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคสังคมออนไลน์
    มีการเติบโตดีและมีความสามารถในการแข่งขันสูง
    แต่ราคาหุ้นมีความผันผวนต่ำเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

    นอกจากนั้นก็มี “กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล ควอลิตี้ โกรท ฟันด์” หรือ “UGQG-SSF”
    และ “กองทุนเปิดทหารไทย Global Quality Growth เพื่อการเลี้ยงชีพ” หรือ “TMBGQGRMF”
    ซึ่งมีนโยบายไปลงทุนใน Wellington Global Quality Growth Fund

    โดยกองทุนหลักนี้ จะไปลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีพื้นฐานธุรกิจดี
    มีโอกาสในการเติบโตที่ดีในระยะ 5 - 7 ปี ข้างหน้า
    กระจายไปยังอุตสาหกรรม ทั้ง IT, การอุปโภคบริโภค และการสื่อสารที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ

    อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่ยังต้องการกระจายการลงทุนไปทั่วโลก
    แต่ไม่อยากรับความผันผวนมาก รวมถึงต้องการการเติบโตอย่างสม่ำเสมอ

    และกองที่น่าสนใจกองสุดท้ายในกลุ่มนี้ คือ “กองทุนเปิดทีเอ็มบี Global Income เพื่อการเลี้ยงชีพ” หรือ “TMBGINCOMERMF”
    ก็ถือว่าตอบโจทย์

    เพราะเป็นกองทุนที่ลงทุนใน PIMCO GIS Income Fund
    ซึ่งกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ประเภทต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก

    3. กลุ่มที่ต้องการลงทุนด้านเทคโนโลยี ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงในอนาคต
    เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ควรมีในพอร์ตระยะยาว เพราะถือเป็นเมกะเทรนด์ของโลก
    กองทุน SSF ที่น่าสนใจ คือ T-ES-GTECH-SSF

    “กองทุนเปิดธนชาต อีสท์สปริง Global Technology เพื่อการออม” หรือ “T-ES-GTECH-SSF”
    ถือเป็นกองทุนที่น่าสนใจในหมวดนี้

    เพราะมีการไปลงทุนในบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ที่โตระเบิด
    อย่าง Apple, Facebook และ Google
    รวมถึงมีนโยบายลงทุนใน 8 ธีมเทคโนโลยี
    ที่มีแนวโน้มในการเติบโตและสามารถสร้างผลตอบแทนสูงในอนาคต
    เช่น Mobility 5G, Payment Fintech หรือ Cloud Infrastructure

    และมาถึงกลุ่มสุดท้ายที่ต้องการลงทุนแบบเกาะกระแสเมกะเทรนด์อย่างกลุ่ม เทคโนโลยีการแพทย์
    เนื่องจากแนวโน้มของจำนวนสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
    กองทุน SSF ที่น่าสนใจ คือ UGH-SSF

    “กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล เฮลท์แคร์ ฟันด์” หรือ “UGH-SSF”

    กองทุนนี้จะไปลงทุนกับกองทุนที่เน้นไปที่หุ้นของบริษัท Healthcare ทั่วโลก
    โดยคัดเลือกบริษัทที่มีนวัตกรรม และมีความสามารถเติบโตในระยะยาว
    เช่น กลุ่มการให้บริการทางการแพทย์ กลุ่มการคิดค้นและผลิตยา กลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ และกลุ่มเทคโนโลยีทางการแพทย์อื่น

    อ่านมาถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่าไม่ว่าจะเป็นคนสไตล์ไหน หรือมีความต้องการลงทุนแบบไหน
    ก็สามารถเลือกลดหย่อนภาษีได้ตรงใจ
    เพียงแค่ลงทุนกับทีเอ็มบีและธนชาต

    ถ้าใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.tmbbank.com/tax20/ltm หรือเข้าไปลงทุนได้ผ่านช่องทางดังนี้
    - แอป TOUCH
    - ทีเอ็มบีและธนชาต ทุกสาขา
    หรือติดต่อ TMB Investment Line โทร. 1558 กด #9 (ในเวลาทำการธนาคาร)
    แถมยังมีโปรโมชันดีๆ ตั้งแต่วันนี้ - 30 ธ.ค. 63 อีกด้วย รายละเอียดเพิ่มเติม www.tmbbank.com/promotion/tax2020

    หมายเหตุ:
    -ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน รวมทั้งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ก่อนตัดสินใจลงทุน
    -การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน
    -สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ทีเอ็มบีและธนชาต ทุกสาขา

  • เทคโนโลยีการแพทย์ 在 LDA World Youtube 的最佳貼文

    2021-03-28 11:16:34

    อนาคต...มนุษย์อาจโกงความตาย
    ตายไปแล้ว กลับฟื้นขึ้นมาใหม่ได้
    .
    มารู้จักกับ Cryonics การแช่แข็งมนุษย์
    ช่วยรักษาและดูแลร่างกายของคนได้หลายสิบปี
    .
    รอเทคโนโลยีในอนาคตมารักษาและฟื้นชีพอีกครั้ง
    “ร้อยปีค่อยตื่นขึ้นมาใหม่” อาจทำได้จริงก็ได้ค่ะ

    #Cryonics #การแช่แข็งมนุษย์ #เทคโนโลยีในอนาคต
    #FasterFuture #FutureIsFun
    -------------------------------------------------------------
    ABOUT US
    Instagram: http://www.instagram.com/ldaworld
    Facebook: http://www.facebook.com/LDAworld
    Twitter: http://twitter.com/ldaworlds
    Blog: http://www.ldaworld.com

    PODCAST
    Spotify : https://spoti.fi/2v8nNY9
    Apple Podcast : https://apple.co/35NteJc
    Podbean : https://ldapodcast.podbean.com

    ติดต่องาน/ลงโฆษณา : contact@flourish.co.th
    โทร : 086-363-6683

  • เทคโนโลยีการแพทย์ 在 LDA World Youtube 的精選貼文

    2019-12-25 17:00:16

    เทรนด์ปีหน้าที่ต้องจับตามอง! Telemed รักษาทางไกล ไม่ต้องไปรพ. ?
    .
    ?? หาหมอได้แม้ไม่ออกจากบ้าน
    ?? อยู่พื้นที่ห่างไกล ก็มีโอกาสได้รับการรักษากับแพทย์มือฉมัง
    ?? หมดปัญหาฝ่ารถติดไปแต่เช้า กว่าจะได้เข้าตรวจเที่ยง!
    ?? เลือกพบหมอเฉพาะทางได้ ลดความเสี่ยงในการรักษา
    .
    Telemedicine คืออะไร? เวิร์คจริงมั้ย? ทำได้จริงรึเปล่า? คลิปนี้เล่าให้ฟังค่า
    -------------------------------------------------------------
    ABOUT ME
    Instagram: http://www.instagram.com/faunglada
    Facebook: http://www.facebook.com/LDAworld
    Twitter: http://twitter.com/faunglada
    Blog: http://www.ldaworld.com
    ติดต่องาน/ลงโฆษณา : contact@flourish.co.th
    โทร : 086-363-6683

你可能也想看看

搜尋相關網站