雖然這篇เดือนพฤษภาคม 2566鄉民發文沒有被收入到精華區:在เดือนพฤษภาคม 2566這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 เดือนพฤษภาคม產品中有169篇Facebook貼文,粉絲數超過314萬的網紅Sneak out หนีเที่ยว,也在其Facebook貼文中提到, 🌴 คิดถึงการท่องเที่ยวภาคใต้ คิดถึงอะไร ??? 🐠 ไปล่องเรือ ดูน้ำใส นอนอาบแดดชาดหาดเก๋ ๆ 🌊 จัดไปกับ 5 จุดเช็กอินทะเลใต้ที่คิดถึงมากกก . 😍 พันพรือค่าาา พี่...
同時也有29部Youtube影片,追蹤數超過0的網紅CarDebuts,也在其Youtube影片中提到,ตลาดรถยนต์เดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา Mazda ยอมรับว่า การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์เมืองไทยพอสมควร เนื่องจากมีจำนวนผู้...
「เดือนพฤษภาคม」的推薦目錄
- 關於เดือนพฤษภาคม 在 Jan Wattanasin Instagram 的精選貼文
- 關於เดือนพฤษภาคม 在 TADA VARICH Instagram 的最讚貼文
- 關於เดือนพฤษภาคม 在 Janesuda Parnto Instagram 的最佳貼文
- 關於เดือนพฤษภาคม 在 Sneak out หนีเที่ยว Facebook 的最讚貼文
- 關於เดือนพฤษภาคม 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於เดือนพฤษภาคม 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於เดือนพฤษภาคม 在 CarDebuts Youtube 的最佳貼文
- 關於เดือนพฤษภาคม 在 CarDebuts Youtube 的精選貼文
- 關於เดือนพฤษภาคม 在 AeBong Youtube 的最佳貼文
เดือนพฤษภาคม 在 Jan Wattanasin Instagram 的精選貼文
2021-05-29 05:49:38
congratulations @voguethailand for the 100th issue and many more to come🎉 thank you for letting me be part of this celebration and chosen to be one of...
เดือนพฤษภาคม 在 TADA VARICH Instagram 的最讚貼文
2021-05-28 10:01:13
ขอขอบคุณ @voguethailand @kullawit @sanshai และทีมงานทุกท่านมากนะครับ 🙏❤️ เตรียมตัวพบกับ #Vogue100thPeople โว้กจัดทำเนียบบุคคลผู้ทรงอิทธิพลในอุตสาหกรรม...
เดือนพฤษภาคม 在 Janesuda Parnto Instagram 的最佳貼文
2021-05-26 18:53:05
ขอบคุณ @voguethailand ที่ให้โอกาสเจนได้เป็นส่วนหนึ่งของ #Vogue100thPeople โว้กจัดทำเนียบบุคคลผู้ทรงอิทธิพลในอุตสาหกรรมแฟชั่นในประเทศไทย 100 คน ผู้ซึ่ง...
-
เดือนพฤษภาคม 在 CarDebuts Youtube 的最佳貼文
2021-06-05 17:51:31ตลาดรถยนต์เดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา Mazda ยอมรับว่า การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์เมืองไทยพอสมควร เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันค่อนข้างมาก ทำให้ประชาชนยังไม่มั่นใจถึงผลกระทบที่อาจจะตามมา และบางกรณีตัดสินใจชะลอการรับรถออกไปก่อน แต่เชื่อว่าสถานการณ์ จะเริ่มคลี่คลาย ไปในทางที่ดีขึ้น หลังจากที่ประชาชน เริ่มได้รับการฉีดวัคซีนมากขึ้น เห็นได้ชัดจากยอดจำหน่ายรถยนต์มาสด้า ในเดือนพฤษภาคม ที่เริ่มเติบโตอย่างชัดเจน เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนที่ผ่านมา ถึง 27% หรือเพิ่มสูงขึ้น ถึง 75% จากเดือนพฤษภาคมของปีที่ผ่านมา
เดือนพฤษภาคม 2564 ยอดขายรถยนต์มาสด้ารวมทุกรุ่น อยู่ที่ 2,805 คัน โดยเฉพาะรถยนต์มาสด้า2 ที่ยังคงรักษาตำแหน่งแชมป์ยอดขายสูงสุด จำนวน 1,325 คัน เพิ่มขึ้น 47% ตามมาด้วยมาสด้า CX-30 จำนวน 668 คัน เพิ่มขึ้น 73%, มาสด้า CX-3 จำนวน 383 คัน เพิ่มขึ้นถึง 1,061%, มาสด้า3 จำนวน 199 คัน เพิ่มขึ้น 84% ส่วนปิกอัพมาสด้า บีที-50 เริ่มได้ทยอยส่งมอบให้ลูกค้ามากขึ้น หลังจากมีการผ่อนปรนมาตรการจากไฟแนนซ์ ทำให้ส่งถึงมือลูกค้าแล้ว จำนวน 122 คัน เพิ่มขึ้น 190%, มาสด้า CX-8 จำนวน 56 คัน เพิ่มขึ้น 65%, มาสด้า MX-5 จำนวน 3 คัน เพิ่มขึ้น 50% ในขณะที่ยอดจำหน่ายมาสด้า CX-5 มีจำนวน 49 คัน ลดลง 48%
ติดตามช่องของเราทาง Facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/CarDebuts-891205251089964
หรือเว็บไซต์ https://cardebuts.com/ -
เดือนพฤษภาคม 在 CarDebuts Youtube 的精選貼文
2021-06-03 16:35:54ยอดขายรถยนต์ รถกระบะปิกอัพ ประเทศออสเตรเลีย เดือนพฤษภาคม 2021 / 2564 Isuzu D-MAX ขึ้นมาเป็นอันดับ 3 แซง Mitsubishi Triton โดยมี Toyota Hilux Revo และ Ford Ranger เป็นอันดับ 1 และ 2 ในตลาดรถกระบะปิกอัพ
หอการค้าอุตสาหกรรมยานยนต์ออสเตรเลีย ได้เผยแพร่รายงานยอดขายรถยนต์ประจำเดือนพฤษภาคม ปี 2021 ซึ่งในภาพรวม ถือว่าสถานการณ์ยอดขายดีขึ้น หลังจากที่โดนมรสุมโรคระบาดโควิด 19 โหมกระหน่ำมานานแรมปี ซึ่งยอดขายรวมในเดือนนี้ อยู่ 100,809 คัน เพิ่มขึ้นถึง 68.3% เมื่อเทียบกับเดียวเดือนกันของปีก่อน และเดือนพฤษภาคม เป็นเดือนที่ 2 ในปีนี้ ที่มียอดขายรถยนต์เกิน 1 แสนคัน
สิ่งที่น่าสนใจในเดือนนี้ก็คือ การขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ในด้านยอดขายอีกครั้งของ Toyota Hilux ซึ่งในเดือนเมษายน พลาดท่าให้กับ Ford Ranger และตกลงไปเป็นที่ 3 โดยในเดือนนี้ Toyota สามารถจำหน่าย Hilux ไปได้ 4402 คัน ตามมาด้วยอันดับ 2 Ford Ranger ที่ตัวเลขไม่ห่างกันนัก คือ 4254 คัน แต่ที่น่าเซอร์ไพรซ์ก็คือ Isuzu D-MAX ที่เดือนนี้ สามารถก้าวขึ้นมาจากอันดับ 10 ในด้านยอดขายรวมรถยนต์ทุกประเภท มาเป็นอันดับ 4 หรืออันดับ 3 ในประเภทรถกระบะปิกอัพ ซึ่งสามารถเบียดรถกระบะอันดับ 3 ในเดือนก่อน อย่าง Mitsubishi Triton ให้ตกลงไปเป็นอันดับ 4 แทน โดย D-MAX มียอดขายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ถึง 1000 คัน คืออยู่ที่ 3058 คันในเดือนพฤษภาคมนี้ ทิ้งห่าง TRITON ถึง 700 กว่าคัน แต่ก็ยังตามหลัง 2 เจ้าตลาด ถึง 1,000 กว่าคัน แต่เมื่อมองจากการเติบโตเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาแล้ว D-MAX มีการขยายตัวถึง 202.8% ในขณะที่ Toyota Hilux และ Ford Ranger มียอดขายเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เพียง 24.8% และ 59.7% เท่านั้น นั่นจึงเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับ D-MAX ในตลาดแห่งนี้
ที่มา: https://www.caradvice.com.au/957832/vfacts-may-2021-toyota-hilux-ford-ranger-and-isuzu-d-max-take-out-the-top-four-drive-record-ute-sales/
ติดตามช่องของเราทาง Facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/CarDebuts-891205251089964
หรือเว็บไซต์ https://cardebuts.com/ -
เดือนพฤษภาคม 在 AeBong Youtube 的最佳貼文
2021-06-03 14:09:01เดือนพฤษภาคม มีอะไรที่เอใช้แล้วชอบบ้างนะ อัพเดทกันค่ะ
My Facebook Page: https://goo.gl/ndxhU6
My Blog: aebong.com
https://goo.gl/YBr7jq
IG: ae_bong
https://goo.gl/P7h2Mn
...........................................................
Credit:
Story - AeBong
เดือนพฤษภาคม 在 Sneak out หนีเที่ยว Facebook 的最讚貼文
🌴 คิดถึงการท่องเที่ยวภาคใต้ คิดถึงอะไร ???
🐠 ไปล่องเรือ ดูน้ำใส นอนอาบแดดชาดหาดเก๋ ๆ
🌊 จัดไปกับ 5 จุดเช็กอินทะเลใต้ที่คิดถึงมากกก
.
😍 พันพรือค่าาา พี่บ่าวและสาวนุ้ย คิดถึงการเดินทางกันบ้างไหม มา ๆ สำหรับใครที่คิดถึงการท่องเที่ยวท้องทะเลใต้ ล่องเรือดูน้ำชมความงามของปะการังและหาดทรายขาวสะอาด วันนี้เราจะพาไปเช็กอิน 5 พิกัด ทะเลใต้ที่คิดถึงกัน ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยยย 💃
.
📍 จุด Check In ที่ 1 หมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา หรือเกาะแปด 🌴
เราจะพาไปดูสวรรค์แห่งท้องทะเลใต้ ชายหาดสีขาวเนื้อเนียนละเอียด น้ำทะเลสีฟ้าใสราวคริสตัล และไฮไลต์ที่พลาดไม่ได้ คือ จุดชมวิวหินเรือใบ ซึ่งถือว่าเป็นแลนด์มาร์กของเกาะเลย เป็นมุมถ่ายรูปสุดฮอตฮิต ที่ถึงแม้จะต้องเดินขึ้นเขาและแดดจะร้อนแรงเพียงใดก็ไม่หวั่นจ้าาา 📸
.
🚤 เปิดให้เข้าชมความสวยงามในช่วงเดือนตุลาคม - เดือนพฤษภาคม ของทุกปีน้า
.
📍 จุด Check In ที่ 2 เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ 🌴
ถ้าพูดถึงท้องทะเลไทยที่สวยงามสุด ๆ ต้องนึกถึงที่นี่ เพราะเป็นท้องทะเลอับดับต้น ๆ ที่ทำให้คนทั่วโลกรู้จักท้องทะเลไทย ด้วยทิวทัศน์ของภูเขาหินปูน รูปร่างสวยงามแปลกตา น้ำทะเลสีเขียวฟ้ามรกต มีแนวปะการังและปลาหลากหลายสีสันว่ายวนไปมาอยู่บริเวณรอบ ๆ 🐡🐠
.
🚤 แนะนำช่วงที่เกาะพีพีสวยที่สุด จะอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - เดือนเมษายนจ้าาา
.
📍 จุด Check In ที่ 3 ทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง 🌴
เปลี่ยนบรรยากาศไปชมเมืองเล็ก ๆ สัมผัสวิถีชีวิตท่ามกลาง เต็มไปด้วยเสน่ห์มากมาย ไฮไลต์อยู่ที่การนั่งเรือหางยาวชมยอยักษ์กลางทะเลสาบ ท่ามกลางบรรยากาศของพระอาทิตย์ขึ้น ต่อด้วยอีกหนึ่งกิจกรรม คือ การล่องเรือแลนก ชมบัว และดูฝูงควาย 🕊🌷
.
🚤 โดยราคาเรืออยู่ที่ลำละ 1,200 บาท นั่งได้ 6 คน หารกับเพื่อน ตกคนละประมาณ 200 บาทเอง
.
📍 จุด Check In ที่ 4 เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 🌴
ไปพักผ่อนริมทะเลสุดชิลแล้วไปเที่ยวรอบเกาะ สัมผัสความงามของธรรมชาติ แวะเที่ยวหาดริ้น แลนด์มาร์กสุดฮอตที่รู้จักกันดี ในวันที่มี Full Moon Party แต่ถึงแม้ในช่วงนี้จะไม่มี ก็สามารถแวะมาเดินเล่นได้เหมือนกัน เพราะตอนนี้หาดสะอาด เงียบสงบมาก และก่อนหมดวัน ต้องมาชมพระอาทิตย์ตกริมทะเล บรรยากาศโรแมนติกสุด ๆ !!! 🌅
.
📍 จุด Check In ที่ 5 หาดไร่เล จังหวัดกระบี่ 🌴
เราจะพาไปตามรอยกิจกรรมสุดมันส์กับการปีนหน้าผาสูงชัน และชมความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ สัมผัสเม็ดทรายเนียนละเอียดบริเวณชายหาดที่โค้งตัวสวยรับกับน้ำทะเลสีคราม โดยมีฉากหลังเป็นผาสูงตระหง่าน เหมาะแก่การพักผ่อนพร้อมกับการมาทำกิจกรรมสนุก ๆ 🧗♀️
.
⛵ เป็นยังไงกันบ้างพี่บ่าววว สาวนุ้ยยย พอจะคลายความคิดถึงกันได้บ้างไหม หรือว่าพอจะเป็นไอเดียในการเดินทางครั้งต่อไปได้หรือเปล่าน้าาา แต่บอกเลยว่า เที่ยวทะเลภาคใต้หลังจากนี้ ทั้งทะเล หาดทราย สายลมและสองเรา เอ้ย ! ไม่ใช่ ๆ และธรรมชาติจะสวยงามมากกว่าที่เราได้เคยมองแน่ๆ ✨
.
💟 ใครที่ไปเที่ยวมาแล้วหรือคิดถึงการเที่ยวภาคใต้สุด ๆ อย่าลืมมาแชร์ประสบการณ์ดี ๆ ได้ Link นี้น้าาา https://forms.gle/oW4B6twaT2iuB3Rt8 แอบบอกนิดนึงว่า #มีลุ้นรับรางวัลด้วยนะ ดีงามมาก !!! 😆
.
#อันซีน #เกาะ #ภาคใต้ #พังงา #พัทลุง #ทะเล
#ภูเก็ต #กระบี่ #สุราษฎร์ธานี #Southern #Thailand
#MemoryofSouthernThailand #ชีพจรลงSouth #ททท.
#SneakOut #หนีเที่ยว #SneakOutThailand #คนหนีเที่ยว
#ชมรมคนหนีเที่ยว #เที่ยวมุมมองใหม่ไปกับSneakOut
#เที่ยวโดนใจทุกไลฟ์สไตล์ #เที่ยวตามได้ไม่มีOut
เดือนพฤษภาคม 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
สรุปเส้นทาง เว็บเบราว์เซอร์ จาก Netscape สู่ Google Chrome /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงการท่องโลกอินเทอร์เน็ต สิ่งที่เป็นเหมือนประตูบานแรกที่ทุกคนต้องเดินผ่าน ก็คือ “เว็บเบราว์เซอร์”
รู้ไหมว่า ความสำคัญของเว็บเบราว์เซอร์นั้น ได้นำไปสู่การต่อสู้เพื่อแย่งชิงฐานผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างดุเดือด ซึ่งเหตุการณ์ก็ยืดเยื้อมานานเกือบ 30 ปี และพลิกผันอยู่หลายครั้ง จนทำให้ผู้ชนะในศึกแรก ๆ กลับกลายเป็นผู้แพ้ในท้ายที่สุด
สงครามระหว่างผู้ให้บริการเว็บเบราว์เซอร์ มีเรื่องราวเป็นอย่างไร
แล้วตอนจบ ใครเป็นผู้ชนะ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จุดเริ่มต้นของมหากาพย์ ต้องย้อนกลับไปเมื่อปี 1993
เว็บเบราว์เซอร์หลายเจ้า ถูกคิดค้นขึ้นและนำมาใช้กันแพร่หลาย และถือเป็นประตูบานสำคัญ ที่ทำให้มนุษย์ได้รู้จักกับโลกออนไลน์
ในขณะนั้น เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมมากสุด คือ “Mosaic” ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์การประยุกต์ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา
ต่อมา ก็มีหลายบริษัทขอซื้อลิขสิทธิ์ของ Mosaic ไปสร้างเป็นเว็บเบราว์เซอร์ของตัวเอง โดยหนึ่งในนั้น คือ บริษัท Netscape Communications Corporation ของคุณ Marc Andreessen ซึ่งปัจจุบันเป็นนักลงทุนชื่อดังของวงการ Venture Capital
เว็บเบราว์เซอร์ของ Netscape มีชื่อว่า “Netscape Navigator” ซึ่งได้รับความนิยมในทันที เพราะใช้งานง่าย และแสดงผลการค้นหาได้ดีกว่าเจ้าอื่น ทำให้บริษัทยึดครองส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 80% ในช่วงปี 1995
ความสำเร็จดังกล่าว ทำให้ Netscape สามารถจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ แม้เพิ่งก่อตั้งมาเพียงปีเดียว และยังถือเป็นการ IPO ที่มีมูลค่าสูงสุดของตลาดในเวลานั้นอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การเติบโตของอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต ก็ดึงดูดให้ผู้เล่นรายใหญ่อย่าง “Microsoft” เข้ามาสู่ธุรกิจเว็บเบราว์เซอร์ จนเกิดเป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่า “สงครามเว็บเบราว์เซอร์ครั้งที่ 1”
หลังจาก Netscape เข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ 15 วัน บริษัท Microsoft ก็เปิดตัวเว็บเบราว์เซอร์ ชื่อว่า “Internet Explorer”
เนื่องด้วย Microsoft เป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ที่มีเงินทุนจากการขายซอฟต์แวร์ จึงทำให้สามารถทุ่มทรัพยากรเพื่อพัฒนา Internet Explorer จนมีฟีเชอร์ก้าวตาม Netscape ทัน ภายในเวลาไม่นาน
และในปี 1997 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของสงคราม เมื่อ Microsoft ตัดสินใจผูกโปรแกรม Internet Explorer ไว้เป็นเว็บเบราว์เซอร์เริ่มต้นของระบบปฏิบัติการ Windows แบบฟรี ๆ
หมายความว่า คนที่ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows ไปใช้ จะกดเข้า Internet Explorer ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาไปดาวน์โหลดหรือหาซื้อเว็บเบราว์เซอร์ใหม่
ซึ่งขณะนั้น Windows ครองส่วนแบ่งตลาดระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กว่า 90% ส่งผลให้การใช้งาน Internet Explorer เพิ่มขึ้นรวดเร็วมาก
จนในปี 2002 Netscape Navigator ก็มีส่วนแบ่งตลาดน้อยมาก
จากข้อมูลของ TheCounter.com
Internet Explorer ส่วนแบ่งตลาด 93.9%
Netscape Navigator ส่วนแบ่งตลาด 2.3%
บทสรุปของสงครามเว็บเบราว์เซอร์ครั้งที่ 1 ผลปรากฏว่า Microsoft เป็นผู้ชนะอย่างเด็ดขาด..
ส่วนผลการดำเนินงานของ Netscape ก็ถดถอยลง และตัดสินใจขายกิจการให้กับบริษัท America Online ในปี 1998 ก่อนที่จะหยุดให้บริการเว็บเบราว์เซอร์ ในเวลาต่อมา
ถึงแม้การต่อสู้ศึกนี้จบลงแล้ว แต่สงครามในสนามรบเว็บเบราว์เซอร์ ยังไม่ปิดฉากลงง่าย ๆ
พอไร้คู่แข่ง ดูเหมือนว่า Microsoft จะตายใจ และแทบไม่ได้พัฒนา Internet Explorer ต่อสักเท่าไร หลักฐานที่ชัดเจนคือ ระหว่างปี 2001-2006 มีการอัปเดตเบราว์เซอร์แค่เวอร์ชันเดียวเท่านั้น
แต่ความประมาทและความตายใจของ Microsoft นี่เอง ที่กลายเป็นช่องโหว่ขนาดใหญ่ ที่ทำให้เกิด “สงครามเว็บเบราว์เซอร์ ครั้งที่ 2”
เพราะหลังจาก Netscape พ่ายแพ้ พวกเขาก็ได้เปิดเผยข้อมูลโคดทิ้งไว้ ซึ่งต่อมา องค์กร Mozilla Foundation ได้นำเอาไปพัฒนาเป็นเว็บเบราว์เซอร์ตัวใหม่ ที่ชื่อว่า Mozilla Firefox หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “Firefox”
Firefox ได้มุ่งเน้นพัฒนาบริการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ที่เริ่มเบื่อหน่ายกับประสิทธิภาพการทำงานของ Internet Explorer
จึงทำให้ Firefox สามารถแสดงผลของเว็บไซต์รุ่นใหม่ได้ดีกว่า รวมทั้งเพิ่มฟีเชอร์ลูกเล่นให้กับเบราว์เซอร์อีกมากมาย ส่งผลให้คนเริ่มสนใจลองดาวน์โหลด Firefox ไปใช้งานแทน Internet Explorer
ส่วนแบ่งตลาดเว็บเบราว์เซอร์ ในปี 2009 จากข้อมูลของ StatCounter
Internet Explorer ส่วนแบ่งตลาด 60.1%
Firefox ส่วนแบ่งตลาด 30.5%
จะเห็นได้ว่า Firefox แย่งชิงผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไปจาก Internet Explorer พอสมควร ถึงขนาดที่หลายฝ่ายมองว่าอาจถึงขั้นแซงขึ้นเป็นเจ้าตลาด
แต่มันก็ไม่ทันได้เกิดขึ้น..
เพราะสงครามครั้งนี้ ยังมีตัวละครอื่นเข้าร่วมวงต่อสู้อีก
ซึ่งตัวละครใหม่ที่ว่า นั่นก็คือ “Google”
Google เป็นเจ้าตลาดเซิร์ชเอนจิน และมีผลิตภัณฑ์ออนไลน์อื่น ๆ มากมาย ซึ่งมีความต้องการจะเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศบริษัทเพิ่มเติม จึงได้พัฒนาและเปิดตัวเว็บเบราว์เซอร์ ชื่อว่า “Google Chrome” ขึ้นมา และเริ่มเปิดให้ใช้งานในปี 2008
เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต จะสามารถใช้บริการทุกอย่างของ Google ผ่านเบราว์เซอร์ Google Chrome ได้อย่างสะดวกสบายและครบวงจรในที่เดียว
รวมทั้ง Google ยังมีความพร้อมด้านทรัพยากรและเงินทุน ที่สนับสนุนให้ทีมงานมีการอัปเดตฟีเชอร์ใหม่ ๆ ของเบราว์เซอร์ อยู่ตลอดเวลา จนรายอื่นเริ่มขยับตามได้ยาก
ด้วยเหตุนี้ ฐานผู้ใช้งาน Google Chrome จึงเติบโตแบบก้าวกระโดด และแซงหน้าขึ้นมาครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 นับตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา
นอกจากนั้น ในยุคสมาร์ตโฟน ผู้เล่นอีกรายหนึ่งที่มาแรง คือ “Apple”
ในช่วงหลัง พฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต เปลี่ยนไปอยู่บนสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตมากขึ้น ซึ่ง Apple ถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ส่งผลให้เว็บเบราว์เซอร์ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ iOS ของตัวเครื่อง อย่าง “Safari” ถูกเปิดใช้งานเพิ่มขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง จนสามารถก้าวขึ้นมามีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 ตั้งแต่ช่วงปี 2015
แล้วในปัจจุบัน สถานการณ์ของสงครามนี้ เป็นอย่างไร ?
ส่วนแบ่งตลาดเว็บเบราว์เซอร์ เดือนพฤษภาคม ปี 2021 จากข้อมูลของ StatCounter
- Google Chrome ส่วนแบ่งตลาด 64.8%
- Safari ส่วนแบ่งตลาด 18.4%
- Firefox ส่วนแบ่งตลาด 3.3%
- Internet Explorer ส่วนแบ่งตลาด 0.6%
เราคงพอสรุปได้ว่า Google Chrome คือผู้คว้าชัยชนะ ของสงครามเว็บเบราว์เซอร์ ในตอนนี้
ในขณะที่ ผู้ยิ่งใหญ่ในอดีตอย่าง Internet Explorer ได้สูญเสียความสามารถในการแข่งขันไปแล้ว ซึ่งทำให้ Microsoft เตรียมยกเลิกโปรแกรมในเดือนมิถุนายน ปี 2022 และมุ่งพัฒนาเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ ชื่อว่า “Microsoft Edge” ขึ้นมาแทน
นี่คงเป็นแง่คิดที่ดีว่า การเป็นผู้ชนะนั้นยากแล้ว แต่การรักษาตำแหน่งผู้ชนะอาจเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า
เพราะเมื่อไรที่เราหยุดพัฒนา ก็อาจพลิกมาเป็นผู้แพ้ในสักวัน จนไม่มีโอกาสแก้ตัวใหม่ ก็เป็นได้..
ปิดท้ายด้วยประเด็นที่หลายคนอาจสงสัยว่า
Google Chrome กับ Safari ที่ดูเหมือนเป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อกันที่สุดในตอนนี้ ความจริงแล้วเขาทั้งสอง เป็นพันธมิตรกันในบางส่วน
เพราะในทุก ๆ ปี Google ตกลงยอมจ่ายเงินมหาศาลให้กับ Apple เพื่อขอให้ Google เป็นเว็บไซต์ค้นหาเริ่มต้นบนเบราว์เซอร์ Safari
โดยในปี 2021 คาดว่าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะอยู่ที่ประมาณ 4.9 แสนล้านบาท
ถ้าถามถึงเหตุผล ก็คงเป็นเพราะ Google ให้ความสำคัญกับการครองส่วนแบ่งตลาดเซิร์ชเอนจินมากกว่า เรื่องเบราว์เซอร์ เพราะตัวสร้างรายได้ให้ Google จะอยู่ที่เซิร์ชเอนจินเป็นหลัก
Google อยากได้แทรฟฟิกการค้นหาข้อมูลเบราว์เซอร์ Safari เพื่อปิดประตูไม่ให้ผู้เล่นรายอื่น เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดเซิร์ชเอนจินไป ถึงแม้จะรู้ว่า ทำให้มีคนใช้งาน Safari เพิ่มมากขึ้นก็ตาม
ส่วนฝั่ง Apple คงเลือกรับเงินดีกว่า เพราะอย่างไร คนส่วนใหญ่ก็จะเข้า Safari แล้วไปค้นหาใน Google อยู่ดี
ซึ่งอาจพอตีความได้ว่า ตอนนี้ทั้งคู่เลือกที่จะอยู่ร่วมกันบนโลกออนไลน์ แบบเป็นพันธมิตรกัน มากกว่าทำสงคราม แล้วต้องมีใครสักคนบาดเจ็บหนัก..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://acodez.in/browser-wars/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Browser_wars
-https://en.wikipedia.org/wiki/Usage_share_of_web_browsers
-https://gs.statcounter.com/browser-market-share#monthly-201201-202105
-https://www.reuters.com/technology/microsoft-unplug-internet-explorer-it-seeks-edge-browser-war-2021-05-20/
-https://9to5mac.com/2021/08/25/analysts-google-to-pay-apple-15-billion-to-remain-default-safari-search-engine-in-2021/
เดือนพฤษภาคม 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
การทำ QE คืออะไร ? ทำไมประเทศไทย ไม่ใช้มาตรการนี้ /โดย ลงทุนแมน
“775 ล้านล้านบาท” คือ มูลค่าการอัดฉีดเงินเข้าระบบการเงิน ผ่านมาตรการ QE ทั้งหมดของธนาคารกลางขนาดใหญ่ของโลก 4 แห่ง คือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ณ สิ้นปี 2020
ถามว่าตัวเลขนี้มากขนาดไหน ? ถ้าลองเทียบกับ GDP รวมทุกประเทศในโลกปี 2020 ที่ประมาณ 2,824 ล้านล้านบาท มูลค่าอัดฉีดดังกล่าว จะคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของ GDP โลก
มาตรการ QE นี้ มันมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไรบ้าง
และทำไมประเทศไทย ถึงยังไม่ใช้มาตรการนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะตกต่ำ แต่ละประเทศจะดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อทำให้ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวกลับขึ้นมา
ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น จะแบ่งนโยบายต่าง ๆ ออกเป็น 2 กลุ่มคือ นโยบายการคลัง และนโยบายการเงิน
ซึ่งในส่วนของนโยบายการคลังจะถูกดำเนินการโดยรัฐบาล
โดยรัฐบาลจะใช้จ่ายมากกว่ารายได้ ในกรณีนี้จะเรียกว่า “งบประมาณขาดดุล” ซึ่งเกิดจากก่อหนี้สาธารณะผ่านการกู้ยืมเพื่อมาใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล
นอกจากนี้ นโยบายการคลังยังรวมไปถึงการลดอัตราภาษีต่าง ๆ เพื่อให้คนมีเงินเหลือมากขึ้น จนนำเงินออกมาใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน
ผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ทำให้ปัจจุบัน หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยต่างก็ต้องใช้นโยบายการคลัง อัดฉีดเงินช่วยเหลือให้ประชาชนผ่านนโยบายต่าง ๆ เพื่อพยุงและเร่งให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมา
นอกจากรัฐบาลที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ว ในอีกขาหนึ่ง ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ก็จะดำเนินนโยบายการเงิน ผ่านการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำหรือซบเซา ธนาคารกลางจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จูงใจให้คนนำเงินออกมาใช้จ่าย แทนที่จะฝากไว้ในธนาคาร
ซึ่งกรณีนี้ถูกเรียกว่า “นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย” ที่หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้นำมาใช้ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง เราจะเห็นว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพียงอย่างเดียว กลับไม่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเหมือนอย่างเคย
หลักฐานก็คือ เราเห็นธนาคารกลางหลายประเทศทำการปรับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมากแล้ว จนบางประเทศอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0% แต่ก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเท่าไร
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ก็ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่ง จึงมีการนำมาตรการที่มีชื่อว่า Quantitative Easing (QE) ซึ่งเป็นนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย อีกรูปแบบหนึ่งออกมาใช้เพื่อรับมือกับปัญหาการชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะ
หรือพูดง่าย ๆ ว่ามาตรการ QE เป็นเครื่องมือพิเศษที่มาช่วยสนับสนุนและช่วยกดดันอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำลงในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั่นเอง
อธิบายวิธีการดำเนินมาตรการ QE แบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ธนาคารกลางจะพิมพ์เงินเพิ่ม และนำเงินดังกล่าวไปซื้อตราสารทางการเงินระยะกลาง-ยาว เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน
คำถามที่สำคัญต่อมาก็คือ แล้วข้อดี ข้อเสียของการทำ QE คืออะไร ?
เรามาเริ่มที่ข้อดีกันก่อน
- สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
กรณีของธนาคารนั้น เมื่อมีสภาพคล่องมากขึ้น ก็สามารถนำไปปล่อยสินเชื่อได้สูงขึ้น ส่วนภาคธุรกิจที่มีเงินไหลเข้ามาซื้อหุ้นกู้ บริษัทก็จะมีเงินนำไปใช้จ่าย ลงทุน และขยายงาน ได้ด้วยเช่นกัน
- ต้นทุนทางการเงินที่ลดลง
การเข้าซื้อตราสารทางการเงินเหล่านั้นยังส่งผลกดดันให้อัตราผลตอบแทนของตราสารทางการเงินเหล่านั้นลดลงมา ทำให้ต้นทุนในการระดมทุนผ่านการออกตราสารเหล่านี้ของรัฐบาลและเอกชนลดลง
จนมีแนวโน้มที่ทำให้สถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้กู้ในการนำเงินไปลงทุนหรือจับจ่ายใช้สอย จนทำให้ภาวะเศรษฐกิจกลับมาเติบโต
- เพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ผู้บริโภค
การใช้มาตรการ QE ยังส่งผลให้ราคาสินทรัพย์หลายอย่างปรับตัวสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ทองคำ ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์
ทำให้นักลงทุนที่ถือสินทรัพย์ดังกล่าวรู้สึกมั่งคั่งขึ้น (Wealth Effect) ทำให้รู้สึกอยากนำเอาส่วนหนึ่งของทรัพย์สินออกมาใช้จ่าย จนส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัว
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการใช้มาตรการ QE ในปริมาณมากและนานเกินไป ก็อาจส่งผลเสียด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
- มูลค่าของเงินลดลง
ถึงแม้ว่าการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงิน ผ่านการซื้อตราสารทางการเงินต่าง ๆ จะไม่ได้อัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจจริง และมันอาจจะไม่ได้ส่งผลต่อเงินเฟ้อโดยตรง แต่การอัดฉีดนี้ถ้าทำมากเกินไป ก็อาจทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจจริงเพิ่มขึ้นในทางอ้อม และทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ จนทำให้มูลค่าที่แท้จริงของเงินลดลง และอำนาจซื้อของผู้บริโภคลดลงตามไปด้วย
- ภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์
การอัดฉีด QE จะทำให้ภาวะอัตราดอกเบี้ยถูกกดให้ต่ำ และทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงนั้นลดลง ซึ่งเรื่องนี้ยิ่งทำให้นักลงทุนต้องการนำเงินออกไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น
จนอาจนำไปสู่ภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ
- กระทบต่อการออมในภาพรวมของประเทศ
อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ส่งผลให้ประชาชนขาดแรงจูงใจในการออมเงิน ซึ่งอาจทำให้คนจำนวนไม่น้อยมีเงินไม่พอใช้ตอนเกษียณ
หรือแม้แต่ผู้ที่เกษียณอายุไปแล้ว และต้องการรายได้ที่สม่ำเสมอจากการลงทุนในการฝากเงินหรือตราสารหนี้ ก็จะได้รับผลตอบแทนที่ลดลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยภาพรวมในระบบที่ลดลง
สำหรับประเทศไทยเรา ทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ยังไม่ได้มีการหยิบเอามาตรการ QE ออกมาใช้ในวิกฤติครั้งนี้
แต่รู้ไหมว่า ที่ผ่านมาก็มีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้เสนอให้ ธปท. นำมาตรการ QE ออกมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
เพราะมองว่า นโยบายการเงินของไทยมีข้อจำกัดมากขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% แล้ว
อย่างไรก็ตาม ธปท. มองว่า การนำมาตรการ QE มาใช้ในประเทศไทย อาจจะยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมในตอนนี้
เพราะว่า ปัจจุบัน สภาพคล่องในระบบ ที่สะท้อนออกมาในรูปของปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยนั้นอยู่สูงกว่า 14.4 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2564)
นอกจากนี้ ภาคเอกชนของไทยยังมีการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ในสัดส่วนที่น้อย เมื่อเทียบกับประเทศใหญ่ ๆ ที่มีการนำมาตรการ QE มาใช้ ขณะที่ต้นทุนการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ขณะนี้อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว
ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ที่ตลาดตราสารหนี้มีขนาดใหญ่สุดในโลก ที่พออัดฉีดเงินเข้าไปในตลาดตราสารหนี้แล้ว จะเห็นผลกระทบกับเศรษฐกิจภาพรวมได้อย่างชัดเจน
ดังนั้น การใช้มาตรการ QE ในประเทศไทย จึงอาจไม่ได้ส่งผลบวกในวงกว้างเหมือนกับประเทศที่มีตลาดตราสารหนี้ขนาดใหญ่มากนัก
และนี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในรอบนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเลือกที่จะนำมาตรการการเงินอื่น ๆ เช่น การพักชำระหนี้ การให้สินเชื่อพิเศษ การปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ แต่ยังไม่หยิบเอามาตรการอย่าง QE มาใช้ นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.CD
-https://www.bot.or.th/Thai/BOTStoryTelling/Pages/MonetaryPolicy_StoryTelling_AcademicAndFI.aspx
-https://www.investopedia.com/terms/q/quantitative-easing.asp
- https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_27Oct2020.aspx
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/thailand-economic-qe-covid-040864?fbclid=IwAR3R788vgTs8-J9kaX730qOWpxnGIrHLDOWRdqpHDQfJphSbElF9xh9W2cY
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=31&language=TH
-https://www.atlanticcouncil.org/blogs/econographics/global-qe-tracker/
-https://www.icmagroup.org/Regulatory-Policy-and-Market-Practice/Secondary-Markets/bond-market-size/