[爆卦]อุปราช หมายถึง是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇อุปราช หมายถึง鄉民發文沒有被收入到精華區:在อุปราช หมายถึง這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 อุปราช產品中有2篇Facebook貼文,粉絲數超過0的網紅,也在其Facebook貼文中提到, #ญาอ้าย คำบรรดาศักดิ์ ที่หญิงอีสานใช้เรียกแทนชื่อผู้ชาย แต่โบราณมา เมื่อเทียบกับภาษากลาง ในพจนานุกรม อาจยังไม่กำหนด ไว้ ( ในหนังสือ พจนานุกรมอีสาน ขอ...

อุปราช 在 nuikessarin_dc Instagram 的精選貼文

2021-06-16 07:37:57

คำสอนส่วนหนึ่งจากหนังสือมุตโตทัย บันทึกคำสอนพระอาจารย์หลวงปู่มั่น บันทึกโดยหลวงพ่อวิริยังค์ ธรรมชาติของดีทั้งหลาย ย่อมเกิดมาแต่ของไม่ดี อุปมาดั่งดอกป...

  • อุปราช 在 Facebook 的最佳解答

    2021-09-05 13:04:33
    有 1,422 人按讚

    #ญาอ้าย คำบรรดาศักดิ์ ที่หญิงอีสานใช้เรียกแทนชื่อผู้ชาย แต่โบราณมา เมื่อเทียบกับภาษากลาง ในพจนานุกรม อาจยังไม่กำหนด ไว้ ( ในหนังสือ พจนานุกรมอีสาน ของ อ. ปรีชา พิณทอง จ.อุบลราชธานี คงมี **กำลังตามหาหนังสือ ครับ) แต่พอเทียบเคียงได้กับคำว่า " คุณพี่" หรือ " เจ้าคุณพี่"
    เพราะ " ญา" ( ออกเสียง "ญ"ขึ้นจมูก)

    คำนี้หากนำมาใช้นำหน้าสรรพนามใด จะอยู่ในข่าย คำสุภาพ คำให้เกียรติ เทียบกับภาษากลาง ก็คงเป็นคำว่า "คุณ" หรือ "ท่าน" เช่น
    ใช้กับพระผู้ใหญ่ ที่เป็นถึง " พ่อท่าน" คนอีสาน ยุคก่อน ก็จะเรียก "ญาท่าน" สมณศักดิ์พระอีสาน บางชั้น ก็จะมีเรียก " ญาคู" เป็นต้น

    รวมถึง คำว่า "ญา" ที่นำไปผสมอยู่ในหมวดยศฐา ทางการปกครองของอีสานยุคก่อน จะใช้เรียก"เจ้านาย"ด้วยคำว่า " อัญญา "
    ( เจ้านายฝ่ายปกครองอีสานโบราณ คือ อัญญา 4 ได้แก่ เจ้าเมือง อุปราช (อุปฮาด) ราชบุตร ราชวงศ์ ) ซึ่งหมายถึง ผู้มีอำนาจ
    ( อัญญา หรือ อาชญา ก็เรียก )

    " ญาอ้าย" ในอีสานยุคหลังๆ จะปรากฏ ในคำ "ผญา" สุภาษิต หรือ ใช้เรียกกัน ในการแสดงวรรณคดี อีสาน บางเรื่อง ที่คณะหมอลำนำไปแสดง

    " ญาอ้าย" ที่ อ.ภานุวัฒน์ วิเศษวงศา นำใช้ใน sigle ของ "แพ็กกี้ สกลนรี" น้ำหนักน่าจะอยู่ตรงกับคำว่า " เจ้าคุณพี่ " มากกว่า
    เพราะถูกนำมาใช้เรียกพี่ชายที่หมายปอง เชิงเกี้ยวพา หรือ หยิกหยอก ชายผู้หมายไว้เป็นที่รัก
    ** ทั้งหมดที่ว่ามา..คือความเห็นส่วนตัวครูสลาเด้อ 😊

    สนใจคำอีสานที่ถึงแก่น ลองหา หนังสือ "พจนานุกรมอีสาน" ของ อ.ปรีชา พิณทอง มาไว้เป็นคู่มือนะครับ 🙏🙏

    แพ็กกี้ สกลนรี

  • อุปราช 在 โอตาคุบริโภคมาม่า Facebook 的最讚貼文

    2017-11-02 19:16:11
    有 89 人按讚


    นักเล่นไวโอลินระดับเซียนคนหนึ่งเคยบอกผมว่า ไวโอลินที่ดีนั้นจะได้ตำแหน่งวางนิ้วพอดีเป๊ะ ให้เสียงใสกังวานจนสะดุดหู นี่คือข้อแตกต่างระหว่างไวโอลินราคาสองพันบาทกับไวโอลินตัวละสองแสนบาท แต่ไม่ทุกคนที่ฟังออก!

    ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่บอบบาง แผ่นไม้บางเชื่อมกันด้วยกาวเท่านั้น จึงต้องดูแลรักษาต่อเนื่องสม่ำเสมอ ไม่ให้ถูกความชื้นกับแดด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำลายหรือลดคุณภาพไวโอลิน

    เขายังสอนผมว่า ภายในไวโอลินชั้นดีทุกตัว สลักชื่อของคนสร้างสรรค์งานไว้บนผิวไม้ภายใน ไวโอลินที่ดีไม่ว่าผ่านมากี่ร้อยปี ก็ยังส่งเสียงแผ่วพลิ้วอ่อนหวานจับใจ และมีแต่คนที่ฝึกโสตประสาทอย่างดีจึงสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างไวโอลินดีกับไวโอลินเกือบดีได้

    ประโยคสุดท้ายของเขาที่ติดหูผมมาจนบัดนี้คือ “เมื่อเล่นของดีแล้ว ก็จะไม่เล่นของไม่ดีอีก”

    การเล่นไวโอลินก็เหมือนกินอาหาร กินร้านอร่อยแล้วก็ไม่อยากกินร้านเดิมที่ไม่อร่อยอีก เมื่อรู้ความแตกต่างระหว่างอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการกับอาหารขยะ ก็ลดเสพอาหารขยะ เพราะไม่รู้จะทำร้ายร่างกายตัวเองไปทำไม

    นี่มิใช่การดูหมิ่นเหยียดหยามของราคาถูก มันเพียงชี้ว่า ของดีมักมีราคาสูงกว่า ตามต้นทุนการผลิต ราคาสูงจึงต่างจากราคาแพง เพราะราคา ‘แพง’ กับราคา ‘สูง’ มีความหมายต่างกัน สินค้าราคาสิบบาทอาจจะแพงมากก็ได้ ไวโอลินตัวละห้าร้อยบาทอาจแพงมหาศาลก็ได้ ถ้าเล่นแล้วเสียงที่ออกมาเป็นเสียงเลื่อยไม้!


    เช่นเดียวกับนักเขียนส่วนมาก ประสบการณ์การอ่านหนังสือของผมเริ่มที่นิยายเริงรมย์ นิยายเหล่านี้สนุกมาก แต่เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ลองอ่านหนังสือที่เดิมเคยอ่านสนุก กลับพบว่าจำนวนมากเป็นหนังสือที่ไม่ประเทืองปัญญา (แต่ก็อาจมีประโยชน์คือการปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน) งานเขียนจำนวนมากทำร้ายสังคม โดยเฉพาะประเภทที่สอนให้เชื่อแบบงมงาย เมื่อโตขึ้นอ่านหนังสือดีมากขึ้น ก็ไม่อ่านเรื่องแบบนั้นอีก เพราะอ่านหนังสือที่ก่อให้เกิดปัญญาแล้ว ก็ไม่รู้จะทำร้ายตัวเองด้วยการอ่านหนังสือขยะไปทำไม

    รสนิยมของคนเราพัฒนาขึ้นได้หากรู้จักแยกแยะ ‘รส’

    นี่ก็คือการพัฒนารสนิยมและความสามารถในการเสพศิลปะ

    รสนิยมของคนเราเปลี่ยนได้ พัฒนาได้ และลดลงได้เช่นกัน

    สิ่งที่ผู้เสพควรทำก็คือการเปิดหูเปิดตาเปิดใจ เสพงานที่ดี นานวันเข้าก็สามารถแยกแยะของดีกับของไม่ค่อยดี เช่นเดียวกับที่การคลุกคลีอยู่กับคนเก่งนาน ๆ ก็เรียนรู้ได้มาก

    .………………..

    การเดินทางของชีวิตคนเรานั้น หลายคนเริ่มจากที่ต่ำ เปียกสกปรก แล้วค่อย ๆ ไต่ขึ้นที่สูงที่แห้ง ส่วนบางคนก็เดินจากที่สวยงามไปยังที่สกปรก หรือบ่อโคลนตมจนเลอะเทอะทั้งตัว

    เราจะเลี่ยงการเดินลงสู่บ่อโคลนได้อย่างไร หากเราแยกแยะบ่อน้ำดีกับบ่อโคลนไม่ออก?

    เช่นเดียวกับรสนิยมทางศิลปะ เราสามารถพัฒนาปัญญาได้โดยเรียนรู้ส่วนดีและส่วนไม่ดีของงานแต่ละชิ้น

    เมื่อรู้ว่าอะไรคือบ่อโคลนและมันแย่อย่างไร ก็จะไม่ลงไปเกลือกกลั้วกับมัน

    พัฒนาตนเองให้ดีขึ้น ทั้งกาย ใจ และปัญญา

    แต่สิ่งแรกคือการชนะใจตนเอง หรืออำนาจใฝ่ต่ำ (ซึ่งไม่ได้หมายถึงกามราคะอย่างเดียว) ปรารถนาให้ตนเองพัฒนาขึ้น รักตนเองจึงให้สิ่งดี ๆ แก่ตนเอง

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต กล่าวว่า “ธรรมชาติของดีทั้งหลายนั้นย่อมเกิดมาแต่ของไม่ดี มีอุปมาดังดอกปทุมชาติอันสวยงามก็เกิดขึ้นมาจากโคลนตมอันเป็นของสกปรก ปฏิกูล น่าเกลียด แต่ว่าดอกบัวนั้นเมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้วย่อมเป็นสิ่งสะอาด เป็นที่ทัดทรงของพระราชา อุปราช อำมาตย์ เสนาบดี เป็นต้น และดอกบัวนั้นก็มิกลับคืนไปยังโคลนตมอีก”

    เมื่อเล่นของดีแล้ว ก็จะไม่เล่นของไม่ดีอีก

    .………………..

    จากหนังสือ ชีวิตคือปาฏิหาริย์! โดย วินทร์ เลียววาริณ

    เฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/winlyovarin/

你可能也想看看

搜尋相關網站