[爆卦]อารยัน แปลว่า是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇อารยัน แปลว่า鄉民發文沒有被收入到精華區:在อารยัน แปลว่า這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 อารยัน產品中有4篇Facebook貼文,粉絲數超過9萬的網紅Pyong Traveller X Doctor,也在其Facebook貼文中提到, LIPE หลีเป๊ะ ตอนที่ 1 สวัสดีครับ ผมเปียง กลับมาทักทายกันอีกครั้งหลังจากห่างหายกันไปนานมาก กับทริปต่าง ๆ ของผมครับ หากให้นับกันจริง ๆ ตั้งแต่ช่วงปล...

  • อารยัน 在 Pyong Traveller X Doctor Facebook 的精選貼文

    2021-05-18 19:00:01
    有 10,441 人按讚

    LIPE
    หลีเป๊ะ ตอนที่ 1

    สวัสดีครับ ผมเปียง กลับมาทักทายกันอีกครั้งหลังจากห่างหายกันไปนานมาก กับทริปต่าง ๆ ของผมครับ หากให้นับกันจริง ๆ ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว หลีเป๊ะถือเป็นทริปแรกและทริปเดียวของปีครับ ก่อนสถานการณ์ในปัจจุบัน ประกอบกับหลายเดือนที่ผ่านมา ชีวิตช่วงกำลังเรียนต่อเฉพาะทางของผม เป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างยุ่งมากกับหลายหน้าที่ใหม่ ตามสไตล์เรสสิเดนท์ ทั้งการเรียน งานโรงพยาบาล งานวิจัย ฯลฯ ทำให้ไม่ได้ออกไปไหนไกล ๆ สักเท่าไหร่ หลีเป๊ะเป็นสถานที่ที่ผมตั้งใจว่าจะหาโอกาสไปเยือนมาสักพักใหญ่แล้วครับ ทริปนี้มันจึงเป็น 3 วันที่พิเศษมาก ๆ สำหรับผม

    อะไรคือเสน่ห์ของหลีเป๊ะ?

    วันนี้หยิบเอามาเล่าให้ฟังให้เป็นหนึ่งใน Bucket List Destination ครับ เกาะหลีเป๊ะ ถือเป็นเกาะที่อยู่ตอนใต้สุดของทะเลอันดามันของไทย เป็นหนึ่งในเขตรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ที่นี่ขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องความสวยงามของทะเลและเกาะแก่งต่าง ๆ ที่หาที่ไหนเทียบไม่ได้อีกแล้ว คงจะเป็นเรื่องการดำน้ำดูปะการังแบบ snorkeling ด้วยระบบนิเวศน์ทางทะเลที่ยังอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ทำให้เรายังสามารถมองเห็นปะการังและปลาหลากสีตามธรรมชาติได้ทั่วไปในจุดดูปะการังต่าง ๆ ปลานกแก้ว และ ปลาการ์ตูน ว่ายน้ำให้เราเห็นได้ปกติเลยที่หลีเป๊ะ ถือว่าเป็นเแหล่งที่มีปะการังสวยที่สุดแห่งหนึ่งของไทยก็ว่าได้ครับ

    หลายคนอาจจะสงสัยกันนะครับ ว่า "หลีเป๊ะ" แปลว่าอะไร คำนี้เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า Nipis (นีปิส) ภาษาสิงหล ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองโบราณของกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน แปลว่า บาง ๆ แบน ๆ คล้ายกับลักษณะรูปทรงของเกาะ หากนำโดรนขึ้นบินสำรวจมุมมองด้านบนของเกาะ จะเห็นเป็นรูปทรงคล้ายกับบูมเมอแรงครับ ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของเกาะ มีชายหาดที่น้ำไม่ลึกมาก ถือเป็นเกาะขนาดเล็ก มีภูเขาที่ไม่สูงชัน มีทรัพยากรป่าไม้อยู่พอสมควร

    ในพาร์ทแรกก่อนจะพาไปชมจุดดำน้ำต่าง ๆ ครั้งนี้เดี๋ยวเราจะไปชมรอบเกาะกันก่อนครับ เราจะมาเล่าถึงประสบการณ์การเดินทางไปที่เกาะหลีเป๊ะ และโลเคชั่นที่ไปมารอบเกาะครับ จากหาดใหญ่ สู่ท่าเรือปากบาราที่สตูล กว่า 2 ชั่วโมงบนเรือสู่หลีเป๊ะ ผ่านเกาะแก่งต่าง ๆ ที่มีความสวยงามเฉพาะตัว ดื่มด่ำกับบรรยากาศสุดพิเศษที่หาดซันเซ็ต ชมพระอาทิตย์ตกในทิวทัศน์ที่ดีที่สุดของเกาะ เก็บภาพสวย ๆ ระหว่างทาง ชมวิถีชีวิตรอบ ๆ และมองธรรมชาติบนเกาะ ที่นี่มีอะไรน่าสนใจอยู่เยอะเลยครับ

    ห่างหายกันไปนาน ตามไปชมภาพจากทริปล่าสุดของผมครั้งนี้กัน

    เปียง

    #LIPE #PYONGDOCTOR #PYONGSEEWHATISEE

    ปากบารา
    เกาะตะรุเตา
    เกาะไข่
    หาดพัทยา
    Sawan Sunset Resort
    Walking Street
    Zodiac See Sun Beach Bar
    หาดซันเซ็ต

  • อารยัน 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文

    2020-01-16 19:49:00
    有 4,715 人按讚


    สรุปเศรษฐกิจอิหร่าน 3,000 ปี /โดย ลงทุนแมน

    ดินแดนแห่งนี้คือศูนย์กลางของอาณาจักร ที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกยุคโบราณที่เราคุ้นหูกันว่า
    “อาณาจักรเปอร์เซีย”..

    มรดกของอาณาจักรแห่งนี้ ตกทอดมาให้เห็นในยุคปัจจุบัน
    และใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด

    เงินที่เราต้องจ่ายให้รัฐที่เรียกว่า ภาษี
    คำที่ใช้เรียกดอกไม้ที่งดงามแต่มีหนามว่า กุหลาบ

    ทั้งหมดล้วนมีที่มาจากภาษาเปอร์เซีย หรือภาษาฟาร์ซี

    แล้วเปอร์เซีย ฟาร์ซี กับอิหร่าน มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
    ทำไมประเทศนี้ ถึงใช้ชื่อว่า “อิหร่าน” ไม่ใช่ “เปอร์เซีย”

    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
    ╔═══════════╗
    ไม่พลาดวิดีโอสาระน่ารู้จาก ลงทุนแมน
    กดติดตามที่ youtube.com/longtunman
    ╚═══════════╝
    จุดเริ่มต้น ต้องย้อนไปราว 550 ปีก่อนคริสตกาล
    สมัยที่อาณาจักรเปอร์เซียยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
    ครอบครองพื้นที่ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำไนล์ของอียิปต์ มาจนถึงลุ่มแม่น้ำสินธุของอินเดีย

    เมืองหลวงของเปอร์เซียในขณะนั้นคือ กรุงเพอร์เซโปลิส (Persepolis)
    อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอิหร่านในปัจจุบัน

    อาณาจักรเปอร์เซียรุ่งเรืองเป็นเวลาหลายร้อยปี ดินแดนทางตะวันตกขยายไปจนถึงกรีก
    แต่ท้ายที่สุด กองทัพของชาวกรีกทำลายกรุงเพอร์เซโปลิสจนย่อยยับ
    ภายใต้การนำทัพของกษัตริย์หนุ่มพระนามว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช..

    ชื่อเปอร์เซีย มาจากภาษากรีกว่า “Persis” ซึ่งเรียกตามชื่อเมืองหลวงของอาณาจักรแห่งนี้

    ชาวตะวันตกจึงเรียกอาณาจักรแห่งนี้ว่าเปอร์เซีย ตามชาวกรีกนับแต่นั้นมา

    ปัจจุบันกรุงเพอร์เซโปลิส เหลือเพียงซากปรักหักพัง ตั้งอยู่ในจังหวัดฟาร์ซ (Fars) ทางตอนใต้ของอิหร่าน

    และทำให้ภาษาของชาวอิหร่านซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาโบราณถูกเรียกว่า ภาษาฟาร์ซี (Farsi)

    ส่วนคำว่า อิหร่าน เป็นคำที่ชาวอิหร่านใช้เรียกตัวเอง มาจากคำว่า “Ērānšahr”
    ซึ่งใช้เรียกจักรวรรดิภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรเปอร์เซียโบราณ

    คำว่า Ērānšahr มีความหมายว่า “อารยัน”
    แสดงถึงวัฒนธรรมของชาวอิหร่านที่มีความเชื่อมโยงกับชาวอารยันทางตอนเหนือของอินเดีย

    ภาษาฟาร์ซีจึงมีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษาฮินดีของอินเดียมากกว่าภาษาอาหรับ
    แต่ภาษาฟาร์ซีจะใช้ตัวอักษรอาหรับ เนื่องมาจากอิทธิพลทางศาสนา

    เมื่อศาสนาอิสลามเผยแผ่จากตะวันออกกลาง
    ดินแดนของอิหร่านก็ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมุสลิม
    มีการผสมผสานทางวัฒนธรรมดั้งเดิมกับวัฒนธรรมมุสลิม
    จนเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างและแยกชาวอิหร่านออกจากชาวอาหรับในตะวันออกกลาง

    แม้อิหร่านจะแห้งแล้ง ไม่มีลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่
    แต่ก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุ ทั้งทองคำ เหล็ก ทองแดง
    และเครื่องเทศราคาแพงอย่าง หญ้าฝรั่น

    ทางตอนเหนือมีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และทะเลสาบแคสเปียนเป็นแหล่งประมงที่สำคัญ
    เป็นที่อยู่ของปลาสเตอร์เจียน ซึ่งไข่ของปลาชนิดนี้มีราคาแพง เรียกว่า “คาเวียร์”

    และด้วยทำเลที่เชื่อมระหว่างตะวันออกกลางกับอินเดีย ทำให้เป็นชุมทางการค้าที่สำคัญ
    ดินแดนแห่งนี้จึงเป็นที่หมายปองของอาณาจักรต่างๆ

    อิหร่านเคยถูกปกครองโดยจักรวรรดิมองโกล
    ก่อนจะเปลี่ยนมือมาอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ (Safavid) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1501

    ภายใต้อาณาจักรซาฟาวิยะห์
    พระเจ้าชาห์ได้ส่งเสริมให้ศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์กลายเป็นศาสนาประจำชาติ
    โดยมีกรุงอีสฟาฮานตั้งอยู่ใจกลางประเทศเป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ
    เชื่อมระหว่างยุโรป ตะวันออกกลาง และอินเดีย
    โดยสินค้าหัตถกรรมอย่างพรมเปอร์เซีย ได้ถูกผลักดันให้แพร่หลายไปทั่วโลก

    พ่อค้าชาวอิหร่านเดินทางไปค้าขายทั่วยุโรปและเอเชีย
    หนึ่งในนั้นคือ “เฉกอะหมัด”
    เฉกอะหมัดได้นำคณะเดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาในปี ค.ศ. 1602 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
    ภายหลังเข้ารับราชการจนได้รับตำแหน่งจุฬาราชมนตรี เป็นผู้นำชาวมุสลิมในสยาม

    เฉกอะหมัดผู้นี้เอง เป็นต้นตระกูล “บุนนาค”
    ตระกูลขุนนางที่สำคัญของทั้งกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์

    วัฒนธรรมของชาวอิหร่าน โดยเฉพาะคำศัพท์ในภาษาฟาร์ซี เช่น ภาษี กุหลาบ และองุ่น
    จึงได้เข้ามาปะปนกับภาษาไทยนับแต่นั้นเป็นต้นมา..

    หลังจากราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ล่มสลาย
    ผู้ปกครองดินแดนนี้ต่อมาคือ ราชวงศ์กอญัร (Qajar) ในปี ค.ศ. 1781
    ได้ย้ายเมืองหลวงจากอีสฟาฮานมายังกรุงเตหะราน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือ
    ซึ่งเป็นเมืองหลวงมาจนถึงปัจจุบัน

    สมัยราชวงศ์กอญัรนี้เอง
    จักรวรรดิรัสเซียเพื่อนบ้านขนาดใหญ่ทางตอนเหนือได้แผ่ขยายดินแดนมาถึงชายแดนของอิหร่าน ทำให้เกิดสงครามอิหร่าน-รัสเซีย ถึง 2 ครั้งในช่วงปี ค.ศ. 1804 - ค.ศ. 1828
    ผลลงเอยด้วยความพ่ายแพ้
    อิหร่านต้องเสียดินแดนแถบเทือกเขาทางตอนเหนือให้แก่รัสเซีย

    ความอ่อนแอของราชวงศ์กอญัร
    ทำให้มหาอำนาจของโลกในช่วงเวลานั้นอย่าง จักรวรรดิอังกฤษ
    ถือโอกาสเข้ามาแทรกแซงกิจการภายใน

    เวลานี้ อิหร่านถูกรายล้อมไปด้วยอิทธิพลของมหาอำนาจตะวันตก..

    ปี ค.ศ. 1908 อังกฤษค้นพบน้ำมันดิบในอิหร่าน และเริ่มมีการขุดเจาะเพื่อส่งออกนับตั้งแต่นั้น
    รายได้มหาศาลจากน้ำมันทำให้อิหร่านเริ่มมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมตามแบบอังกฤษ

    แต่อย่างไรก็ตาม ผลของการพัฒนากลับไปตกอยู่ในมือของผู้นำและคนกลุ่มเล็กๆ

    ความเหลื่อมล้ำของรายได้นำมาสู่การปฏิวัติโค่นบัลลังก์ราชวงศ์กอญัร
    ผู้นำการปฏิวัติได้ตั้งตัวเองเป็นพระเจ้าชาห์ เรซา
    และก่อตั้งราชวงศ์ปาห์ลาวี (Pahlawi) ปกครองอิหร่านในปี ค.ศ. 1925

    ก่อนหน้านั้นไม่นาน จักรวรรดิรัสเซีย เพื่อนบ้านทางตอนเหนือ
    ได้เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ภายใต้ชื่อ สหภาพโซเวียต

    ความหวาดกลัวระบอบคอมมิวนิสต์ทำให้พระเจ้าชาห์ของอิหร่าน
    หันมาคบค้ากับโลกทุนนิยมเสรี ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาและอังกฤษอย่างเต็มที่

    รายได้มหาศาลจากน้ำมัน ทำให้อิหร่านมีเงินมาใช้ในการพัฒนาต่างๆ ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงขยายอุตสาหกรรม จนเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมหลากหลาย ทั้งสิ่งทอ เหล็กกล้า และเคมีภัณฑ์

    อิหร่านยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันโลกหรือโอเปกในปี ค.ศ. 1960

    ในช่วงทศวรรษ 1970s ที่ราคาน้ำมันพุ่งสูง
    GDP ต่อหัวของชาวอิหร่านในปี ค.ศ. 1977 อยู่ที่ราว 47,400 บาท

    ซึ่งมากกว่า GDP ต่อหัวของชาวเกาหลีใต้ในช่วงเวลานั้นถึง 2 เท่า
    และมากกว่า GDP ต่อหัวของชาวไทยถึง 5 เท่า

    แต่บทละครฉากเดิมก็วกกลับมาอีกครั้ง
    รายได้ที่ตกอยู่ในมือของคนกลุ่มน้อย ความฟุ่มเฟือยของสมาชิกในราชวงศ์ปาห์ลาวี
    และปัญหาเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันพุ่งสูงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พอใจ

    พ่วงด้วยการนิยมวัฒนธรรมตะวันตกจนเกินพอดี
    ก็สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่เคร่งครัดต่อการปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาอิสลาม

    ในที่สุด ราชวงศ์ปาห์ลาวีก็ถูกปฏิวัติอีกครั้งในปี ค.ศ. 1979

    คราวนี้อิหร่านเปลี่ยนประเทศแบบสุดขั้ว กลายเป็นรัฐทางศาสนาที่เคร่งครัด
    ทิ้งกรอบความคิดแบบตะวันตก
    ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ
    จากเดิมหญิงสาวอิหร่านแต่งกายตามแบบตะวันตก กลายเป็นต้องมีผ้าคลุมหัวมิดชิด

    พร้อมเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น “สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน”
    ภายใต้การนำของผู้นำศาสนา อายะตุลลอฮ์ รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี

    พระเจ้าชาห์หนีไปรักษาตัวจากโรคมะเร็งที่สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาปฏิเสธที่จะส่งตัวพระเจ้าชาห์ตามคำขอของรัฐบาล สร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลอิหร่าน

    รัฐบาลอิหร่านจึงได้สนับสนุนให้ประชาชนบุกยึดสถานทูตสหรัฐอเมริกา และจับชาวอเมริกันเป็นตัวประกัน

    การกระทำที่อุกอาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและสหรัฐอเมริกาสั่นคลอน
    สหรัฐอเมริกาประกาศคว่ำบาตรทางการค้ากับอิหร่านในทันที

    ในขณะที่รัฐบาลอิหร่านก็ยึดสัมปทานบริษัทน้ำมันของสหรัฐอเมริกามาเป็นของรัฐบาล

    ความวุ่นวายทางการเมืองในอิหร่าน ทำให้ “อิรัก” ประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันตก
    ภายใต้การนำของซัดดัม ฮุสเซนได้ทีเข้ามาก่อสงครามกับอิหร่าน
    จนกลายเป็นสงครามอิรัก-อิหร่าน ที่ยาวนานกว่า 8 ปี

    สงครามจบลงในปี ค.ศ. 1988 โดยที่ไม่มีฝ่ายไหนได้รับชัยชนะ
    ทั้ง 2 ฝ่ายต่างสูญเสียชีวิตผู้คนไปกว่า 500,000 คน

    การพัฒนาต่างๆ ของอิหร่านหยุดชะงักไปในช่วงทศวรรษ 1990
    เพื่อทำการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหายในช่วงสงคราม

    มีเพียงน้ำมันเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่สุดคิดเป็นสัดส่วน 80% ของการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมด

    ผลักดันให้อิหร่านกลายเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบอันดับ 4 ของโลกในช่วงทศวรรษนั้น

    แต่แล้วโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และการสะสมแร่ยูเรเนียม
    ก็ทำให้อิหร่านถูกนานาชาติคว่ำบาตรในปี ค.ศ. 2006
    ส่งผลให้การส่งออกน้ำมันและเศรษฐกิจของอิหร่านหยุดชะงัก

    จนในปี ค.ศ. 2015 อิหร่านได้ทำ “ข้อตกลงนิวเคลียร์”
    กับสหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี
    โดยอิหร่านจะลดการถือครองแร่ยูเรเนียมบริสุทธิ์ แลกกับการที่นานาชาติจะเลิกคว่ำบาตรทางการค้ากับอิหร่าน ทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนของอิหร่านกลับมาฟื้นตัว

    แต่ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับสหรัฐอเมริกาก็ปะทุขึ้นอีกครั้งในปี 2019
    เมื่อประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถอนตัวจากข้อตกลงดังกล่าว
    เพราะเห็นว่าเป็นข้อตกลงที่อิหร่านได้ประโยชน์อยู่ฝ่ายเดียว..

    ทั้งหมดคือเรื่องราวประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอย่างคร่าวๆ ของประเทศที่ชื่อว่า “อิหร่าน”
    ท่ามกลางสายลมแห่งประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3,000 ปี

    เป็นที่น่าติดตามว่าชะตากรรมของดินแดนแห่งนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป
    ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับสหรัฐอเมริกาจะลุกลามจนบานปลายเป็นสงครามหรือไม่?

    แต่สำหรับอิหร่านที่ผ่านสงครามมานับครั้งไม่ถ้วน
    และได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้านชื่อ อิรักและซีเรีย

    อิหร่านก็คงรู้ดีว่าตอนจบของสงครามนั้นไม่มีอะไร นอกจากซากปรักหักพัง..
    ╔═══════════╗
    ไม่พลาดวิดีโอสาระน่ารู้จาก ลงทุนแมน
    กดติดตามที่ youtube.com/longtunman
    ╚═══════════╝
    References
    -The No-Nonsense Guide to World History, Chris Brazier
    -เล่าเรื่องเมืองน้ำมัน, ดร.ไสว บุญมา
    -https://www.ancient.eu/Indo-European_Languages/
    -https://www.little-persia.com/rug-guides/rug-history
    -http://news.muslimthaipost.com/news/31062
    -https://www.visualcapitalist.com/the-largest-producers-of-…/
    -http://atlas.cid.harvard.edu/explore…
    -https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD…

  • อารยัน 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答

    2020-01-16 19:49:00
    有 4,703 人按讚

    สรุปเศรษฐกิจอิหร่าน 3,000 ปี /โดย ลงทุนแมน

    ดินแดนแห่งนี้คือศูนย์กลางของอาณาจักร ที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกยุคโบราณที่เราคุ้นหูกันว่า
    “อาณาจักรเปอร์เซีย”..

    มรดกของอาณาจักรแห่งนี้ ตกทอดมาให้เห็นในยุคปัจจุบัน
    และใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด

    เงินที่เราต้องจ่ายให้รัฐที่เรียกว่า ภาษี
    คำที่ใช้เรียกดอกไม้ที่งดงามแต่มีหนามว่า กุหลาบ

    ทั้งหมดล้วนมีที่มาจากภาษาเปอร์เซีย หรือภาษาฟาร์ซี

    แล้วเปอร์เซีย ฟาร์ซี กับอิหร่าน มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
    ทำไมประเทศนี้ ถึงใช้ชื่อว่า “อิหร่าน” ไม่ใช่ “เปอร์เซีย”

    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
    ╔═══════════╗
    ไม่พลาดวิดีโอสาระน่ารู้จาก ลงทุนแมน
    กดติดตามที่ youtube.com/longtunman
    ╚═══════════╝
    จุดเริ่มต้น ต้องย้อนไปราว 550 ปีก่อนคริสตกาล
    สมัยที่อาณาจักรเปอร์เซียยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
    ครอบครองพื้นที่ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำไนล์ของอียิปต์ มาจนถึงลุ่มแม่น้ำสินธุของอินเดีย

    เมืองหลวงของเปอร์เซียในขณะนั้นคือ กรุงเพอร์เซโปลิส (Persepolis)
    อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอิหร่านในปัจจุบัน

    อาณาจักรเปอร์เซียรุ่งเรืองเป็นเวลาหลายร้อยปี ดินแดนทางตะวันตกขยายไปจนถึงกรีก
    แต่ท้ายที่สุด กองทัพของชาวกรีกทำลายกรุงเพอร์เซโปลิสจนย่อยยับ
    ภายใต้การนำทัพของกษัตริย์หนุ่มพระนามว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช..

    ชื่อเปอร์เซีย มาจากภาษากรีกว่า “Persis” ซึ่งเรียกตามชื่อเมืองหลวงของอาณาจักรแห่งนี้

    ชาวตะวันตกจึงเรียกอาณาจักรแห่งนี้ว่าเปอร์เซีย ตามชาวกรีกนับแต่นั้นมา

    ปัจจุบันกรุงเพอร์เซโปลิส เหลือเพียงซากปรักหักพัง ตั้งอยู่ในจังหวัดฟาร์ซ (Fars) ทางตอนใต้ของอิหร่าน

    และทำให้ภาษาของชาวอิหร่านซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาโบราณถูกเรียกว่า ภาษาฟาร์ซี (Farsi)

    ส่วนคำว่า อิหร่าน เป็นคำที่ชาวอิหร่านใช้เรียกตัวเอง มาจากคำว่า “Ērānšahr”
    ซึ่งใช้เรียกจักรวรรดิภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรเปอร์เซียโบราณ

    คำว่า Ērānšahr มีความหมายว่า “อารยัน”
    แสดงถึงวัฒนธรรมของชาวอิหร่านที่มีความเชื่อมโยงกับชาวอารยันทางตอนเหนือของอินเดีย

    ภาษาฟาร์ซีจึงมีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษาฮินดีของอินเดียมากกว่าภาษาอาหรับ
    แต่ภาษาฟาร์ซีจะใช้ตัวอักษรอาหรับ เนื่องมาจากอิทธิพลทางศาสนา

    เมื่อศาสนาอิสลามเผยแผ่จากตะวันออกกลาง
    ดินแดนของอิหร่านก็ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมุสลิม
    มีการผสมผสานทางวัฒนธรรมดั้งเดิมกับวัฒนธรรมมุสลิม
    จนเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างและแยกชาวอิหร่านออกจากชาวอาหรับในตะวันออกกลาง

    แม้อิหร่านจะแห้งแล้ง ไม่มีลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่
    แต่ก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุ ทั้งทองคำ เหล็ก ทองแดง
    และเครื่องเทศราคาแพงอย่าง หญ้าฝรั่น

    ทางตอนเหนือมีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และทะเลสาบแคสเปียนเป็นแหล่งประมงที่สำคัญ
    เป็นที่อยู่ของปลาสเตอร์เจียน ซึ่งไข่ของปลาชนิดนี้มีราคาแพง เรียกว่า “คาเวียร์”

    และด้วยทำเลที่เชื่อมระหว่างตะวันออกกลางกับอินเดีย ทำให้เป็นชุมทางการค้าที่สำคัญ
    ดินแดนแห่งนี้จึงเป็นที่หมายปองของอาณาจักรต่างๆ

    อิหร่านเคยถูกปกครองโดยจักรวรรดิมองโกล
    ก่อนจะเปลี่ยนมือมาอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ (Safavid) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1501

    ภายใต้อาณาจักรซาฟาวิยะห์
    พระเจ้าชาห์ได้ส่งเสริมให้ศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์กลายเป็นศาสนาประจำชาติ
    โดยมีกรุงอีสฟาฮานตั้งอยู่ใจกลางประเทศเป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ
    เชื่อมระหว่างยุโรป ตะวันออกกลาง และอินเดีย
    โดยสินค้าหัตถกรรมอย่างพรมเปอร์เซีย ได้ถูกผลักดันให้แพร่หลายไปทั่วโลก

    พ่อค้าชาวอิหร่านเดินทางไปค้าขายทั่วยุโรปและเอเชีย
    หนึ่งในนั้นคือ “เฉกอะหมัด”
    เฉกอะหมัดได้นำคณะเดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาในปี ค.ศ. 1602 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
    ภายหลังเข้ารับราชการจนได้รับตำแหน่งจุฬาราชมนตรี เป็นผู้นำชาวมุสลิมในสยาม

    เฉกอะหมัดผู้นี้เอง เป็นต้นตระกูล “บุนนาค”
    ตระกูลขุนนางที่สำคัญของทั้งกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์

    วัฒนธรรมของชาวอิหร่าน โดยเฉพาะคำศัพท์ในภาษาฟาร์ซี เช่น ภาษี กุหลาบ และองุ่น
    จึงได้เข้ามาปะปนกับภาษาไทยนับแต่นั้นเป็นต้นมา..

    หลังจากราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ล่มสลาย
    ผู้ปกครองดินแดนนี้ต่อมาคือ ราชวงศ์กอญัร (Qajar) ในปี ค.ศ. 1781
    ได้ย้ายเมืองหลวงจากอีสฟาฮานมายังกรุงเตหะราน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือ
    ซึ่งเป็นเมืองหลวงมาจนถึงปัจจุบัน

    สมัยราชวงศ์กอญัรนี้เอง
    จักรวรรดิรัสเซียเพื่อนบ้านขนาดใหญ่ทางตอนเหนือได้แผ่ขยายดินแดนมาถึงชายแดนของอิหร่าน ทำให้เกิดสงครามอิหร่าน-รัสเซีย ถึง 2 ครั้งในช่วงปี ค.ศ. 1804 - ค.ศ. 1828
    ผลลงเอยด้วยความพ่ายแพ้
    อิหร่านต้องเสียดินแดนแถบเทือกเขาทางตอนเหนือให้แก่รัสเซีย

    ความอ่อนแอของราชวงศ์กอญัร
    ทำให้มหาอำนาจของโลกในช่วงเวลานั้นอย่าง จักรวรรดิอังกฤษ
    ถือโอกาสเข้ามาแทรกแซงกิจการภายใน

    เวลานี้ อิหร่านถูกรายล้อมไปด้วยอิทธิพลของมหาอำนาจตะวันตก..

    ปี ค.ศ. 1908 อังกฤษค้นพบน้ำมันดิบในอิหร่าน และเริ่มมีการขุดเจาะเพื่อส่งออกนับตั้งแต่นั้น
    รายได้มหาศาลจากน้ำมันทำให้อิหร่านเริ่มมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมตามแบบอังกฤษ

    แต่อย่างไรก็ตาม ผลของการพัฒนากลับไปตกอยู่ในมือของผู้นำและคนกลุ่มเล็กๆ

    ความเหลื่อมล้ำของรายได้นำมาสู่การปฏิวัติโค่นบัลลังก์ราชวงศ์กอญัร
    ผู้นำการปฏิวัติได้ตั้งตัวเองเป็นพระเจ้าชาห์ เรซา
    และก่อตั้งราชวงศ์ปาห์ลาวี (Pahlawi) ปกครองอิหร่านในปี ค.ศ. 1925

    ก่อนหน้านั้นไม่นาน จักรวรรดิรัสเซีย เพื่อนบ้านทางตอนเหนือ
    ได้เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ภายใต้ชื่อ สหภาพโซเวียต

    ความหวาดกลัวระบอบคอมมิวนิสต์ทำให้พระเจ้าชาห์ของอิหร่าน
    หันมาคบค้ากับโลกทุนนิยมเสรี ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาและอังกฤษอย่างเต็มที่

    รายได้มหาศาลจากน้ำมัน ทำให้อิหร่านมีเงินมาใช้ในการพัฒนาต่างๆ ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงขยายอุตสาหกรรม จนเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมหลากหลาย ทั้งสิ่งทอ เหล็กกล้า และเคมีภัณฑ์

    อิหร่านยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันโลกหรือโอเปกในปี ค.ศ. 1960

    ในช่วงทศวรรษ 1970s ที่ราคาน้ำมันพุ่งสูง
    GDP ต่อหัวของชาวอิหร่านในปี ค.ศ. 1977 อยู่ที่ราว 47,400 บาท

    ซึ่งมากกว่า GDP ต่อหัวของชาวเกาหลีใต้ในช่วงเวลานั้นถึง 2 เท่า
    และมากกว่า GDP ต่อหัวของชาวไทยถึง 5 เท่า

    แต่บทละครฉากเดิมก็วกกลับมาอีกครั้ง
    รายได้ที่ตกอยู่ในมือของคนกลุ่มน้อย ความฟุ่มเฟือยของสมาชิกในราชวงศ์ปาห์ลาวี
    และปัญหาเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันพุ่งสูงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พอใจ

    พ่วงด้วยการนิยมวัฒนธรรมตะวันตกจนเกินพอดี
    ก็สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่เคร่งครัดต่อการปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาอิสลาม

    ในที่สุด ราชวงศ์ปาห์ลาวีก็ถูกปฏิวัติอีกครั้งในปี ค.ศ. 1979

    คราวนี้อิหร่านเปลี่ยนประเทศแบบสุดขั้ว กลายเป็นรัฐทางศาสนาที่เคร่งครัด
    ทิ้งกรอบความคิดแบบตะวันตก
    ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ
    จากเดิมหญิงสาวอิหร่านแต่งกายตามแบบตะวันตก กลายเป็นต้องมีผ้าคลุมหัวมิดชิด

    พร้อมเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น “สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน”
    ภายใต้การนำของผู้นำศาสนา อายะตุลลอฮ์ รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี

    พระเจ้าชาห์หนีไปรักษาตัวจากโรคมะเร็งที่สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาปฏิเสธที่จะส่งตัวพระเจ้าชาห์ตามคำขอของรัฐบาล สร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลอิหร่าน

    รัฐบาลอิหร่านจึงได้สนับสนุนให้ประชาชนบุกยึดสถานทูตสหรัฐอเมริกา และจับชาวอเมริกันเป็นตัวประกัน

    การกระทำที่อุกอาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและสหรัฐอเมริกาสั่นคลอน
    สหรัฐอเมริกาประกาศคว่ำบาตรทางการค้ากับอิหร่านในทันที

    ในขณะที่รัฐบาลอิหร่านก็ยึดสัมปทานบริษัทน้ำมันของสหรัฐอเมริกามาเป็นของรัฐบาล

    ความวุ่นวายทางการเมืองในอิหร่าน ทำให้ “อิรัก” ประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันตก
    ภายใต้การนำของซัดดัม ฮุสเซนได้ทีเข้ามาก่อสงครามกับอิหร่าน
    จนกลายเป็นสงครามอิรัก-อิหร่าน ที่ยาวนานกว่า 8 ปี

    สงครามจบลงในปี ค.ศ. 1988 โดยที่ไม่มีฝ่ายไหนได้รับชัยชนะ
    ทั้ง 2 ฝ่ายต่างสูญเสียชีวิตผู้คนไปกว่า 500,000 คน

    การพัฒนาต่างๆ ของอิหร่านหยุดชะงักไปในช่วงทศวรรษ 1990
    เพื่อทำการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหายในช่วงสงคราม

    มีเพียงน้ำมันเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่สุดคิดเป็นสัดส่วน 80% ของการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมด

    ผลักดันให้อิหร่านกลายเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบอันดับ 4 ของโลกในช่วงทศวรรษนั้น

    แต่แล้วโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และการสะสมแร่ยูเรเนียม
    ก็ทำให้อิหร่านถูกนานาชาติคว่ำบาตรในปี ค.ศ. 2006
    ส่งผลให้การส่งออกน้ำมันและเศรษฐกิจของอิหร่านหยุดชะงัก

    จนในปี ค.ศ. 2015 อิหร่านได้ทำ “ข้อตกลงนิวเคลียร์”
    กับสหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี
    โดยอิหร่านจะลดการถือครองแร่ยูเรเนียมบริสุทธิ์ แลกกับการที่นานาชาติจะเลิกคว่ำบาตรทางการค้ากับอิหร่าน ทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนของอิหร่านกลับมาฟื้นตัว

    แต่ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับสหรัฐอเมริกาก็ปะทุขึ้นอีกครั้งในปี 2019
    เมื่อประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถอนตัวจากข้อตกลงดังกล่าว
    เพราะเห็นว่าเป็นข้อตกลงที่อิหร่านได้ประโยชน์อยู่ฝ่ายเดียว..

    ทั้งหมดคือเรื่องราวประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอย่างคร่าวๆ ของประเทศที่ชื่อว่า “อิหร่าน”
    ท่ามกลางสายลมแห่งประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3,000 ปี

    เป็นที่น่าติดตามว่าชะตากรรมของดินแดนแห่งนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป
    ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับสหรัฐอเมริกาจะลุกลามจนบานปลายเป็นสงครามหรือไม่?

    แต่สำหรับอิหร่านที่ผ่านสงครามมานับครั้งไม่ถ้วน
    และได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้านชื่อ อิรักและซีเรีย

    อิหร่านก็คงรู้ดีว่าตอนจบของสงครามนั้นไม่มีอะไร นอกจากซากปรักหักพัง..
    ╔═══════════╗
    ไม่พลาดวิดีโอสาระน่ารู้จาก ลงทุนแมน
    กดติดตามที่ youtube.com/longtunman
    ╚═══════════╝
    References
    -The No-Nonsense Guide to World History, Chris Brazier
    -เล่าเรื่องเมืองน้ำมัน, ดร.ไสว บุญมา
    -https://www.ancient.eu/Indo-European_Languages/
    -https://www.little-persia.com/rug-guides/rug-history
    -http://news.muslimthaipost.com/news/31062
    -https://www.visualcapitalist.com/the-largest-producers-of-crude-oil-1965-2017/
    -http://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=107&product=undefined&year=1996&productClass=HS&target=Partner&partner=undefined&startYear=undefined
    -https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=IR-TH

你可能也想看看

搜尋相關網站