[爆卦]อภิปรายผล ภาษาอังกฤษ是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇อภิปรายผล ภาษาอังกฤษ鄉民發文沒有被收入到精華區:在อภิปรายผล ภาษาอังกฤษ這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 อภิปรายผล產品中有1篇Facebook貼文,粉絲數超過1萬的網紅sittikorn saksang,也在其Facebook貼文中提到, การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่มีผลต่อเนื้อที่ป่าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี (โดย นายสุรินทร์ ทองแท่น ดร.อุทิศ สุภาพ รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง) ...

  • อภิปรายผล 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答

    2013-09-05 23:30:24
    有 3 人按讚

    การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่มีผลต่อเนื้อที่ป่าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี (โดย นายสุรินทร์ ทองแท่น ดร.อุทิศ สุภาพ รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง)

    ผู้วิจัยขอนำเสนอ วัตถุประสงค์ของการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ตามลำดับดังนี้
    วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีเพศ อายุ การศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ต่างกัน และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้วิธีหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตาราง Krejcie และMorgan ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 198 คน คำนวณหากลุ่มตัวอย่างของแต่ละหน่วยงานโดยใช้สัดส่วนโดยการเปรียบเทียบบัญญัติไตรยางศ์ ให้เป็นไปตามสัดส่วนของเจ้าหน้าที่พัสดุตามคณะฯ ต่าง ๆ
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยได้สร้าง โดยทำการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ มาเป็นแนวทางในการจัดทำแบบสอบถาม แบ่งโครงสร้างของแบบสอบถามออกเป็น 3 ตอน ดังนี้
    ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยผู้วิจัยเป็นผู้สัมภาษณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน
    ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นลักษณะคำถามปลายปิด มีลักษณะคำถามเป็นแบบ เลือกตอบ มี 2 ด้าน 1) ด้านกฎหมายและการบังคับใช้ 2) ด้านมาตรการด้านนโยบาย ลักษณะคำถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Reating Scale) แบบลิเคิร์ท (Likert) จำนวน 5 ระดับ ความรู้ความเข้าใจ กล่าวคือ ความรู้ความเข้าใจมากที่สุด ความรู้ความเข้าใจมาก ความรู้ความเข้าใจปานกลาง ความรู้ความเข้าใจน้อย ความรู้ความเข้าใจน้อยที่สุด โดย ระดับความรู้ความเข้าใจเป็น 5 4 3 2 1 ตามลำดับ
    ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด (Opened End) ให้ผู้ตอบแบบสอบถาม ตอบคำถามที่ผู้วิจัยสัมภาษณ์ ได้เสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t - test และ F – test และเมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงทำการทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยวิธี LSD (Least Significant Difference)

    5.1 สรุปผลการวิจัย
    การศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่มีผลต่อเนื้อที่ป่าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นั้น พอสรุปได้ดังนี้
    5.1.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
    ผู้ตอบแบบสอบถาม ทั้งหมด จำนวน 198 คน จำแนกตามตัวแปร ดังต่อไปนี้
    1) จำแนกตามเพศ พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจำนวนทั้งสิ้น 78 คน คิดเป็นร้อยละ 39.4 เพศชาย มีจำนวนทั้งสิ้น 120 คน คิดเป็นร้อยละ 60.6
    2) จำแนกตามอายุ พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีอายุ 22 – 40 ปี มีจำนวนทั้งสิ้น 131 คน คิดเป็นร้อยละ 66.2 อายุ 41- 60 ปี มีจำนวนทั้งสิ้น 67 คน คิดเป็นร้อยละ 33.8
    3) จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีจำนวนทั้งสิ้น 105 คน คิดเป็นร้อยละ 53.0 สูงกว่าปริญญาตรี มีจำนวนทั้งสิ้น 56 คน คิดเป็นร้อยละ 28.3 และต่ำกว่าปริญญาตรี มีจำนวนทั้งสิ้น 37 คน คิดเป็นร้อยละ 18.7
    4) จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการทำงาน 1 – 5 ปี มีจำนวนทั้งสิ้น 75 คน คิดเป็นร้อยละ 37.9 11 ปีขึ้นไป มีจำนวนทั้งสิ้น 57 คน คิดเป็นร้อยละ 28.8 6 - 10 ปี มีจำนวนทั้งสิ้น 66 คน คิดเป็นร้อยละ 33.3

    5.1.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีดังนี้
    1) ผลการวิเคราะห์ความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวม พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความรู้ความเข้าใจ โดยรวมทั้ง 2 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านมาตรการด้านนโยบาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับปานกลาง และด้านกฎหมายและการบังคับใช้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับปานกลาง
    2) ผลการวิเคราะห์ความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามเพศ พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความรู้ความเข้าใจ โดยรวมทั้ง 2 ด้าน เพศชาย และเพศหญิง อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เพศชาย พบว่า ด้านมาตรการด้านนโยบาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับปานกลาง และด้านกฎหมายและการบังคับใช้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับปานกลาง เพศหญิง พบว่า ด้านมาตรการด้านนโยบาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับปานกลาง และด้านกฎหมายและการบังคับใช้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับปานกลาง
    3) ผลการวิเคราะห์ความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามอายุ พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความรู้ความเข้าใจ โดยรวมทั้ง 2 ด้าน อายุ 22 – 40 ปีและ อายุ 41 – 60 ปี อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อายุ 22 – 40 ปี พบว่า ด้านมาตรการด้านนโยบาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับปานกลาง และด้านกฎหมายและการบังคับใช้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับปานกลาง อายุ 41 – 60 ปี พบว่า ด้านมาตรการด้านนโยบาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับปานกลาง และด้านกฎหมายและการบังคับใช้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับปานกลาง
    4) ผลการวิเคราะห์ความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความรู้ความเข้าใจ โดยรวมทั้ง ด้าน ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับการศึกษาปริญญาตรี และระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี พบว่า ด้านมาตรการด้านนโยบาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับปานกลาง และด้านกฎหมายและการบังคับใช้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับน้อย ระดับการศึกษาปริญญาตรี พบว่า ด้านมาตรการด้านนโยบาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับปานกลาง และด้านกฎหมายและการบังคับใช้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับปานกลาง และระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี พบว่า ด้านกฎหมายและการบังคับใช้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับปานกลาง และด้านมาตรการด้านนโยบาย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับปานกลาง
    5) ผลการวิเคราะห์ความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามประการณ์การในการทำงาน พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความรู้ความเข้าใจ โดยรวมทั้ง 2 ด้าน ประสบการณ์ในการทำงาน 1 – 5 ปี ประสบการณ์ในการทำงาน 6 -10 ปี และประสบการณ์ในการทำงาน 11 ปีขึ้นไป อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ประสบการณ์ในการทำงาน 1 – 5 ปี พบว่า ด้านกฎหมายและการบังคับใช้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับปานกลาง และด้านมาตรการด้านนโยบาย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับปานกลาง ประสบการณ์ในการทำงาน 6 – 10 ปี พบว่า ด้านมาตรการด้านนโยบาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับปานกลาง และด้านกฎหมายและการบังคับใช้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับปานกลาง ประสบการณ์ในการทำงาน 11 ปีขึ้นไป พบว่า ด้านมาตรการด้านนโยบาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับปานกลาง และด้านกฎหมายและการบังคับใช้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับปานกลาง
    5.1.3 ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    1) ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามเพศ เมื่อทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-test พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมทั้ง 2 ด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบรายด้าน พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความรู้ความเข้าใจ ด้านกฎหมายและการบังคับใช้ และด้านมาตรการด้านนโยบาย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
    2) ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามอายุ เมื่อทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-test พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมทั้ง 2 ด้าน เมื่อทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-test พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมทั้ง 2 ด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบรายด้าน พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความรู้ความเข้าใจ ด้านกฎหมายและการบังคับใช้ และด้านมาตรการด้านนโยบาย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
    3) ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมทั้ง 2 ด้าน ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบรายด้าน พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความรู้ความเข้าใจงานพัสดุ ด้านกฎหมายและการบังคับใช้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่าง
    4) ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า โดยรวมทั้ง 2 ด้าน ที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบรายด้าน พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความรู้ความเข้าใจ ด้านกฎหมายและการบังคับใช้ และด้านการด้านนโยบาย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
    5.1.4 ข้อมูลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เสนอแนะเกี่ยวกับ ปัญหา ของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้
    1. ด้านกฎหมายและการบังคับใช้ เร่งรัดปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวข้องกับที่ดินที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์และมีปัญหาในการตีความ หรือการนำไปปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่รัฐต้องศึกษาทำความเข้าใจกฎหมายของหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบให้ชัดเจนถูกต้อง และประชาสัมพันธ์กับประชาชน รวมทั้งให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการปฏิบัติงาน กำหนดยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด/ชาติ และกำหนดให้มีองค์กรระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติ ควรมีมาตรการลงโทษเจ้าหน้าที่ผู้กระทำความผิดอย่างจริงจัง เร่งรัดปรับปรุงแนวเขตอนุรักษ์ และจัดทำแนวเขตให้ชัดเจนเหมาะสมกับสถานที่ ชะลอการจับกุมราษฎรที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิสูจน์สิทธิ หน่วยงานภาครัฐควรปรับเปลี่ยนรูปแบบของการปลูกสวนป่า โยเน้นการฟื้นฟูตามธรรมชาติและป้องกันดูแลรักษาป่าให้มีประสิทธิภาพ
    2. ด้านมาตรการด้านนโยบาย เจ้าหน้าที่เห็นว่า รัฐควรพิจารณาปรับระบบในการออกเอกสารสิทธิเป็นระบบเดียวกัน แต่มีความแตกต่างในสถานะของสิทธิในที่ดิน รัฐควรกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินให้เป็นรูปธรรม รัฐควรปฏิรูประบบราชการโดยพิจารณาให้ความสำคัญต่อภารกิจที่หน่วยงานต้องปฏิบัติ รัฐควรพิจารณายกเลิกพื้นที่สวนป่าหรือที่สัมปทานทับซ้อนที่ดินของราษฎรและจัดสรรให้ราษฎรที่มีส่วนได้เสีย เพื่อความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ควรจัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินและป่าไม้ระดับจังหวัดและอำเภอ ที่ประกอบด้วยป่าไม้เขต ทสจ. แกนนำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความรู้ ความเข้าใจ และปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้แก่เยาวชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อาศัยในเขตป่าไม้ ทบทวนนโยบายให้มีความชัดเจนและความสอดคล้องกัน โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
    เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เสนอแนะเกี่ยวกับ แนวทางแก้ไข ของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้
    1. ด้านกฎหมายและการบังคับใช้ เจ้าหน้าที่เห็นว่า ปรับแก้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ของแต่ละหน่วยงานให้สอดคล้องกันและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งแก้ไขบทบัญญัตินิยามศัพท์ของคำว่า “ป่า” ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ให้มีความหมายถูกต้อง ชัดเจน และเป็นธรรมแก่ประชาชน
    2. ด้านมาตรการนโยบาย เจ้าหน้าที่เห็นว่า เร่งรัดและสนับสนุนงบประมาณในการสำรวจรังวัดและจัดทำแนวเขตป่าไม้และที่ดินของรัฐทุกประเภทให้ถูกต้อง ชัดเจน ตรวจสอบได้ และประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่ทราบโดยทั่วไป ในเขตอนุรักษ์ให้ดำเนินการตามกฎหมายเด็ดขาด เว้นแต่ เป็นประชาชนผู้ยากไร้ ให้พิจารณาให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการปัญหาที่ดินและป่าไม้

    5.2 อภิปรายผล
    การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่มีผลต่อเนื้อที่ป่าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้วิจัยได้นำผลที่พบจากการวิจัย มาอธิบายเชื่อมโยงกับทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเด็นดังต่อไปนี้
    จากการศึกษาความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุ 22 – 40 ปี ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และส่วนใหญ่ประสบการณ์ในการทำงาน 1 -5 ปี มากที่สุด เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความรู้ความเข้าใจ ทั้ง 2 ด้านโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ทั้ง 2 ด้าน คือ 1) ด้านกฎหมายและการบังคับใช้ และ 2) ด้านมาตรการด้านนโยบาย พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง อภิปรายผลได้ว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความรู้ความเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบ งบประมาณ การจัดซื้อ จัดจ้าง การควบคุม นโยบายและการบังคับใช้ อยู่ในระดับที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ดังนั้น เจ้าหน้าที่ต้องมีความพร้อม มีการศึกษาในด้านงานของตนเองเสมอ และในการส่งเสริมกิจกรรมของเจ้าหน้าที่ เพื่อจะทำให้ปัญหาในระบบการปฏิบัติหน้าที่ลดน้อยลง ฉะนั้น ทางรัฐบาลต้องให้ความสำคัญและสนับสนุนงานเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ให้อยู่ในระดับที่น่าเชื่อถือ ของประชาชน ผลการวิจัยพบว่า ด้านความรู้ ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน ส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และการได้เข้ารับการอบรมสัมมนาเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ อยู่ในระดับปานกลาง ควรมีการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ ให้มีความรู้ในระดับที่สามารถปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    1. ด้านกฎหมายและการบังคับใช้ ผลการวิจัย พบว่า เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อแยกเป็นประเด็น พบว่า ด้านกฎหมายและการบังคับใช้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับปานกลาง อภิปรายผลได้ว่า ในการบังคับใช้กฎหมายก็เพราะต้องการให้การทำงานของแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งให้เกิดประสิทธิภาพ และเป็นไปอย่างถูกต้องในการปฏิบัติหน้าที่ ถ้าไม่มีกฎหมาย และระเบียบบังคับ ต่างคนต่างทำองค์กรก็จะไปไม่รอด จะเกิดความไม่โปร่งใส ดังนั้น ระเบียบ เปรียบเสมือนข้อบังคับที่จะต้องให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบปฏิบัติ ถ้าไม่ปฏิบัติ ฝ่าฝืน ก็ต้องรับโทษตามที่ระเบียบกำหนดไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อความถูกต้อง ความโปร่งใสต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ควรมีการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจของบุคลากร ให้มีความรู้ในระดับที่สามารถปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    2. ด้านมาตรการนโยบาย ผลการวิจัย พบว่า เมื่อจำแนก เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
    ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามเพศ อายุ และประสบการณ์ พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ที่ตั้งไว้ว่า เจ้าหน้าที่ที่มีเพศต่างกัน จะมีความรู้การปฏิบัติหน้าที่แตกต่างกัน สมมติฐานข้อที่ 2 ที่ตั้งไว้ว่า เจ้าหน้าที่ที่มีอายุต่างกัน จะมีความรู้การปฏิบัติหน้าที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐาน เพราะเจ้าหน้าที่ไม่ว่าอายุมากหรือน้อยเมื่อเข้ามาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ก็ทำความเข้าใจในกฎระเบียบน้อย ส่วนสมมติฐานข้อที่ 3 และข้อที่ 4 ที่ตั้งไว้ว่าเจ้าหน้าที่ที่มีระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความรู้การปฏิบัติหน้าที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลเป็นเช่นนี้เพราะว่าความรู้เรื่องกฎระเบียบเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้

    5.3 ข้อเสนอแนะ
    5.3.1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
    ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้เป็นเพราะ โดยส่วนใหญ่จบไม่ตรงสายงานพัสดุ จึงทำให้ผลการวิจัยความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
    1. ด้านกฎหมายและการบังคับใช้ เจ้าหน้าที่ ควรมีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทลงโทษการมอบอำนาจหน้าที่ เร่งรัดปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวข้องกับป่าไม้ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ และมีปัญหาในการตีความหรือการนำไปปฏิบัติของเจ้าหน้าที่
    2. ด้านมาตรการด้านนโยบาย เจ้าหน้าที่ควรมีการปรับปรุงพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายของรัฐ และพัฒนาความรู้ในหน้าที่ที่ตนเองปฏิบัติงานอยู่ในแต่ละหน่วยงานนั้นๆ
    5.3.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย
    จากการศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่มีผลต่อเนื้อที่ป่าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้วิจัยได้ตรวจสอบค่าเฉลี่ยระดับความรู้ความเข้าใจเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับน้อย และน้อยที่สุด 3 อันดับมาประมวลความคิด และเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้
    1. ควรศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    2. ควรศึกษาความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

你可能也想看看

搜尋相關網站