雖然這篇อนุรักษ์นิยม แปลว่า鄉民發文沒有被收入到精華區:在อนุรักษ์นิยม แปลว่า這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 อนุรักษ์นิยม產品中有5篇Facebook貼文,粉絲數超過16萬的網紅Hero Athletes,也在其Facebook貼文中提到, ว่าด้วยความช้าของวงการฟิตเนสไทย Part.6 'การนินทา และความเกรงใจที่สื่อไม่ได้' มีใครทราบไหมครับว่า คำว่า 'เกรงใจ' ในภาษาอังกฤษ แปลว่าอะไร ให้เวลาคิด .....
「อนุรักษ์นิยม」的推薦目錄
- 關於อนุรักษ์นิยม 在 Pachara Bank Panyayong Instagram 的最讚貼文
- 關於อนุรักษ์นิยม 在 ชวัลน์ จันทร์ทรัพย์ เกม Instagram 的最佳貼文
- 關於อนุรักษ์นิยม 在 BallAssanai Instagram 的最佳解答
- 關於อนุรักษ์นิยม 在 Hero Athletes Facebook 的精選貼文
- 關於อนุรักษ์นิยม 在 horrorclub.net Facebook 的最佳解答
- 關於อนุรักษ์นิยม 在 หนังโปรดของข้าพเจ้า Facebook 的最佳解答
อนุรักษ์นิยม 在 Pachara Bank Panyayong Instagram 的最讚貼文
2021-09-03 15:45:36
เพื่อนสนิทผม @danielruk อยู่เท็กซัสทั้งครัว และคอยอัพเดท สถานการณ์ต่างๆที่เรามีความเห็นตรงกัน ซึ่งพ้องกับหมอหลายท่านในไทยนะครับ เพราะทั้งเมกาและไทย.....
อนุรักษ์นิยม 在 ชวัลน์ จันทร์ทรัพย์ เกม Instagram 的最佳貼文
2020-05-03 19:24:10
แม่เล่าให้ฟังว่าสมัยสาวๆใครๆก็อยากได้ห้องแถวไว้ลงทุน ยิ่งถ้าทำเลดีๆนี่คือที่สุด..ยุคนี้มูลค่าและความนิยมของอาคารเหล่านี้เปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตคนกรุงที่...
อนุรักษ์นิยม 在 Hero Athletes Facebook 的精選貼文
ว่าด้วยความช้าของวงการฟิตเนสไทย Part.6 'การนินทา และความเกรงใจที่สื่อไม่ได้'
มีใครทราบไหมครับว่า คำว่า 'เกรงใจ' ในภาษาอังกฤษ แปลว่าอะไร ให้เวลาคิด .....
ติ้กต่อก ติ้กต่อก
ติ้กต่อก
ติ้ก
หมดเวลา
ตอบ
ไม่มีคำแปลครับ
ไม่มีคำแปลหมายความว่ายังไง หมายความว่า ยากมากที่จะมีคนเข้าใจศัพท์คำว่าเกรงใจ ต้องใช้เป็นพหุคำเช่น ' I don't want to bother you' ซึ่งความหมายก็จะไม่ตรงกับคำว่า 'เกรงใจ' ซะทีเดียว ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าประเทศที่แปลคำว่าเกรงใจได้ จะเกรงใจเสมอไป แล้วไม่ได้หมายความว่า ประเทศที่แปลคำว่าเกรงใจไม่ได้ จะไม่เกรงใจเสมอไป
ก็นั่นอีกแหละ สมัยที่เรียนโทอยู่สวิสเซอร์แลนด์ วิชา Sociology ประเทศไทยถูกจัดในหมวดหมู่ประเทศที่เป็น Feminine ไม่ใช่ประเทศที่เป็น Masculine หมายความว่า เป็นประเทศผู้ตาม ไม่มีปากไม่มีเสียง ไม่กล้าเปิดเผย อนุรักษ์นิยม อย่างมากก็เออๆออๆไปตามเรื่อง และได้แต่เก็บเงียบ ไม่ค่อยเปิดเผยความคิดเห็นของตนในที่สาธารณะ แต่จะเก็บไปเล่าให้บุคคลที่สนิทใจฟัง หรือว่า นินทานั่นเอง
ตอนที่เรียน Psychology ที่สวิสเช่นกัน ได้มีโอกาสทำรีเสิชเรื่อง 'Asian Gossip Culture' ซึ่งกลายมาเป็นหัวข้อย่อยหนึ่งในวิทยานิพนธ์ของผมนั้น กล่าวคร่าวๆสืบเนื่องจากว่า ความไม่มั่นใจในตนเองของคนไทยและประเทศแถบเอเชีย จากที่เคยเขียนบทความถึงเรื่อง การอนุมัติ (Authority) สังคมเราต้องการคนอื่น (Others) มารองรับและยอมรับ (Acceptance) ในความเป็นตัวตนของเรา ซึ่งความที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หมู่คณะ เพื่อตอบสนองความต้องการลึกๆตรงนี้ กลับกลายเป็นว่าผสมผสมกับความไม่มั่นใจในตนเองในกลุ่ม การนินทาจึงเหมือนเป็นการสำเร็จความใคร่ทางจิตใจอย่างนึง (Mind-Masturbation) และการที่สมาชิกในกลุ่มได้เห็นร่วมไปในทางเดียวกันกับเรา ยิ่งถือเป็นการถึงจุดสุดยอดทางตัวตน (Self-Image Orgasm) และเกิดการยอมรับในกลุ่มของตนมากขึ้น เกิดเป็นตัวกูของกู เกิดการยอมรับในกลุ่ม เกิดการมีอิทธิพลอำนาจกลวงๆขึ้นมา
ทีนี้ทำไมสองนิสัยนี้ถึงมีความสำคัญอะไรกับความช้าของการพัฒนาวงการฟิตเนสไทย (และประเทศไทย)
1. ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าอยากออกกำลังกาย จึงได้มีการตัดสินใจสมัครคอร์สเทรนเนอร์ (ใช่สิ หาความรู้และแรงบันดาลใจเองมันยากนี่) แต่เนื่องด้วยเกิดอาการไม่มั่นใจในตนเอง เก้ๆกังๆที่จะออกกำลังกายครั้งแรก ทำถูกบ้างผิดบ้าง ต่างฝ่ายต่างเกรงใจกันไปกันมา ไม่กล้าถาม ไม่กล้าบอก จึงได้แต่ ชมว่า 'เก่งมากคับ ดีมากทำถูกแล้ว' ไอ้ห่ากูนั่งดูมึงสอนกันผิดอยู่มีงยังจะบอกว่าถูก ผิดก็คือผิดสิวะ จะไปบอกถูกได้ยังไง แต่ฝ่ายเทรนเนอร์อาจจะด้วย มาตรฐานไม่ถึง และด้วยความเกรงใจ ไม่กล้าตำหนิ เนื่องจากได้มีการกลัว เสีย Self ว่า ตัวเองสอนไม่ดี สอนไม่ถูกต้อง เกรงใจเงินที่ลูกค้าจ่ายมาแล้ว ลูกค้าทำไม่ได้ก็ไม่กล้าบอก เกิดการเพิกเฉยต่อเนื่อง จนไม่เกิดการพัฒนา
2. ฝ่ายลูกค้าเองก็เกรงใจกันไปกันมา ไม่กล้าบอกว่า เฮ้ย กูว่ามันแปลกๆว่ะที่มึงสอนมา ทำไมกูรู้สึกเหมือนเข่ากูจะพัง หลังกูจะหัก ทำไมอะไรคือการที่กูต้องมานั่งชั่งตวงอาหารเป็นกรัม พ่อแม่ให้กำเนิดกูมา 30 ปี ไม่เคยสั่งเคยสอนให้กูชั่งอาหาร ทำไมกูต้องมาทำ กูก็ใช้ชีวิตรอดมาถึงทุกวันนี้ แข่งก็ไม่ได้แข่ง ประกวดก็ไม่ได้ประกวดถ่ายรูปกูไปลงเฟสอีกบอกว่า 'ลูกเทรนผม กับการบ้านของเขา' แต่ก็ไง พอโพสลงสังคม Social แล้วเกิดอาการถึงจุดสุดยอดทางตัวตนว่า (Self-Image Orgasm) เฮ้ย มีคนมากด Like แสดงว่าสิ่งที่กูทำมันต้องถูกต้องแน่ๆ สิ่งที่เทรนเนอร์สอนกูมันต้องถูกต้องแน่ๆ เพราะคนกดไลค์เยอะมาก
3. ฟิตเนสไอดอลลงท่าออกกำลังกายผิดๆในโลกโซเชียล แต่เหล่า Follower ก็เกรงใจที่จะบอกว่า เออ มันดูไม่ค่อยถูก มันดูไม่ค่อย Healthy เลย ก็เกรงใจหน้าตาตัวเองว่า จะเป็นความคิดเห็นที่แตกแยกหรือไม่ เพราะคนส่วนใหญ่เค้ากด Like กัน ไม่มีการติเพื่อก่อที่แท้จริง
ป่าวเลย ถูกก็คือถูก ผิดก็คือผิด ใช่ก็คือใช่ ไม่ใช่ก็คือไม่ใช่ สังคมเราขาดตรงนี้ มันมาเป็นรากฐาน ตั้งแต่เรื่องตัวตนและความมั่นใจตัวเองแล้ว ต้องรอให้คนมาอนุมัติการกระทำของตนเอง โดนเฉพาะ 'คนอื่น'
ทีนี้นิสัยนินทาก็ไม่ต่างกันมาก เป็นเรื่องรากฐานของสังคมที่อยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ ไม่ได้รับการยอมรับทางสังคมเช่น
จับกลุ่มกันดึงคนอื่นลง รวมกลุ่มกันเนื่องด้วยตัวเองทำเป้าหมายที่ต้องการกระทำไม่ได้ ความพยายามอะไรต่างๆนาๆไม่มากพอก็ว่าไป เช่นลดน้ำหนักยังไงก็ไม่ได้ ตัวใหญ่ยังไงก็ไม่เท่า หุ่นดีก็ไม่เท่า พอเห็นคนอื่นทำได้ ได้ดีกว่า เกิดอาการแทนที่จะพัฒนาตนเอง แต่ด้วยรูปสังคมและอุปนิสัยของสังคมนั้น ต้องได้รับการยอมรับจากกลุ่มมาก่อน จึงเกิดการจับกลุ่มนินทาว่าร้ายนำตนเองเปรียบเทียบกับผู้อื่น ไม่พอ ยังจะดึงสมาชิกในกลุ่มให้เพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ เป็นธรรมดาของผู้ที่สภาพจิตใจอ่อนแอ ใครเล่าเรื่องคนอื่นให้ฟัง ก็จะเกิดความสำคัญตัวเองว่า 'เออมันมาเล่าเรื่องนี้ให้กูฟัง มันต้องไว้ใจกูแน่ๆ' สรุปแล้วก็ไม่มีใครพัฒนาตนเองจริงๆจังๆสักที มีแต่สำเร็จความใคร่ทางความคิดไปวันๆ ว่า " เออ พอใจละ มีพวกละ กูไม่จำเป็นต้องดีก็ได้ "
สองนิสัยนี้ชี้ให้เห็นถึงรากฐานทางความคิดของผู้คนในแถบเอเชียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่แค่ประเทศไทยแต่เป็นมากในประเทศรอบๆที่เป็น Feminine Country โดยยากมากแก่การที่จะแก้ไขในส่วนนี้ ทำให้วงการฟิตเนสซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยอยู่แล้ว ช้ามากเข้าไปอีก
เพราะความที่เราต้องการยอมรับจากคนส่วนมาก ต้องการให้ใครมา 'อนุมัติ' การกระทำของเรา โดยที่เราไม่สนเลยว่า มันเป็น การกระทำที่ก่อให้เกิดการพัฒนา (Productive Action) หรือไม่
ที่เขียนให้อ่านเนี่ย
เขียนให้คิด
ไม่ได้เขียนแบบเกรงใจหรอกนะ
#KnowledgeisPower
#TeamHeroAthletes
อนุรักษ์นิยม 在 horrorclub.net Facebook 的最佳解答
ADMIN REVIEW: The Hunt (มีสปอยบางอย่าง ด้วยมิอาจหลีกเลี่ยงได้)
.
มันส์สัสปังปุริเย่.... ประสบการณ์ "ทัวร์ลง" ที่แท้ทรู อารมณ์เหมือนดูพวกหัวก้าวหน้า ลิเบอรัล อนุรักษนิยมตบกันในทวิตเตอร์ โดยมีพวกเฟมทวิต เบียว มาผสมโรง นี่มันหนังไล่ฆ่าแห่งยุคสมัยของจริง!!!!!
.
พล๊อตหนังที่ว่าด้วยกลุ่มเศรษฐีใจหมาลักพาตัวคนมาเพื่อไล่ฆ่า แท้จริงเป็นเพียงแค่ยอดภูเขาน้ำแข็ง เป็นเพียงแค่ 20% ของเรื่องจริง ๆ ที่ฉิบหาย และไปไกลสุดโต่งกว่านั้นมาก ๆ
.
นี่ไม่ใช่หนังไล่ฆ่าธรรมดา แต่เป็นหนังไล่เหยียดด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองชนิดหน้าไหว้หลังหลอก ไม่แปลกใจที่นักวิจารณ์ในอเมริกาจะสับสนว่าหนังเลือกข้างฝั่งไหน เพราะท่าทีของหนังเหมือนจะแซะฝั่งขวา อนุรักษ์นิยม แต่ดูไปดูมาก็ตีแสกหน้าใส่พวกลิเบอรัลด้วยเช่นกัน ด้วยภาวะคล้าย ๆ เหยียบเรือสองแคม จึงอาจทำให้หนังดูอิหลักอิเหลื่อสักเล็กน้อย แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความสนุกลดลง ไม่แน่คุณอาจได้รับอรรถรสของหนังเต็มขั้นถ้าคุณเป็นคนที่ตามติดการเมืองอเมริกา เพราะหนังแม่งกวาดมาหมดแทบทุกประเด็นร้อนในอเมริกายุคนี้ ทั้ง ประเด็นโลกร้อน / เทรนด์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม / กระแสคลั่งความถูกต้องทางการเมือง (Political Correctness) / ความเท่าเทียมทางเพศ / ทหาร / การเก็บภาษี / ผู้ลี้ภัย / เสรีภาพในการครองครองอาวุธปืน ฯลฯ
.
มีหลายมุกในหนังที่น่าสนใจ อย่างเช่น
- การเอา Hilary Swank มารับบทหัวหน้าขบวนการล่ามนุษย์ ตอนแรกแอดก็นึกว่าหนังจะล้อกับการที่เรามักเห็นเจ๊แสวงมักรับบทเป็นคนดีบ่อย ๆ เลยจับนางมาพลิกร้าย แต่ไป ๆ มา ๆ ก็นึกได้ว่าจริง ๆ ผกก. อาจเลือกเจ๊มา เพราะชื่อเจ๊เหมือน Hilary Clinton มากกว่า
เพราะในหนังจะมีซีนที่เจ๊ Swank เรียกพวกเหยื่อว่า "deplorable" ซึ่งคำนี้เป็นคำเดียวกับที่ Clinton ใช้เรียกกลุ่มผู้สนับสนุนทรัมป์ว่า "Basket of deplorables" อันเป็นการเหมารวมว่าผู้สนับสนุนทรัมป์ส่วนใหญ่คือพวกเหยียดเพศ เหยียดเชื้อชาติ ซึ่งมีนัยยะเหยียดไปถึงการไม่ได้รับการศึกษา
.
- หนังใช้ reference จากหนังสือ Animal Farm มาเป็นสัญลักษณ์เสียดสีอะไรหลายอย่าง ทั้งการตั้งชื่อหมูว่า Orwell (คนเขียนหนังสือ) การเรียกชื่อเหยื่อด้วยสมญานามตัวละครในเรื่อง เพื่อสื่อถึงอาการสับปรับของพวกผู้นำ ไปจนถึงการตั้งชื่อปฏิบัติการณ์ทุ่งสังหารครั้งนี้ว่า Manorgate (ล้อชื่อฟาร์มในหนังสือ)
.
- นอกจากนั้นก็ยังมีมุกเลว ๆ เช่นฟังค์ชั่นของตัวละคร Emma Robert (สารภาพว่าช็อคมาก แบบ มึงเล่นงี้เลยเหรอ) / ฉากตายของเฟมินิสต์ที่ยอมตายเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ / ฉากที่ตัวละครผู้หญิงออกมาตำหนิเพื่อนว่า "เราไม่ควรใช้คำสรรพนามเรียกกลุ่มว่า you guys เพราะเป็นการระบุเพศชัดเกินไป" โอ๊ยย ประสาทแดกมากกกก
.
- หรือฉากเฉลยต้นตอของความรุนแรงในเรื่องที่เอาจริง ๆ เป็นเหตุผลที่อ่อนมาก อารมณ์แบบเล่นมุก "จับเข้าห้องรมแก๊ส" "เอาไปทำนารวม" "เก้าอี้" แล้วถูกพวกคลั่ง PC เอาไปด่าเสียบประจาน แต่เมื่อนึกได้ว่ายุคนี้ ขนาดพิมพ์คำว่า "อ้วน" "เพศที่ 3" ยังถูกด่าว่า ignorance (บอกว่าเพศที่ 3 แสดงว่าคุณเห็นว่าเกย์เป็นเพียงคนชั้นรอง เป็นคนลำดับท้าย) ฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ตัวละครผู้ล่าในเรื่องจะลุกฮือขึ้นมาฆ่าคนแบบนั้น มันเป็นเหมือนสงครามของ คนที่เรียกตัวเองว่าหัวก้าวหน้า กับพวกที่คลั่งความถูกต้องทางการเมืองเข้าเส้น จริง ๆ
.
ชอบฉากสุดท้ายที่ตัวละครเหยื่อ และผู้ล่า คุยกันว่าใครในพวกเธอที่เป็นตัวแทนของ Snowball เผด็จการขายฝันจอมสร้างภาพลักษณ์ ในหนังสือ Animal Farm แล้วพวกเธอต่างก็ยัดเยียดว่าอีกฝ่ายคือ Snowball สิ่งนี้อาจเป็นภาพแทนของสงครามในทวิตเตอร์ หรือในโลกออนไลน์ที่เราต่างพร้อมแปะฉลากเหยียดฝั่งตรงข้าม เพื่อเพิ่มมูลค่าความเกลียดชัง ในขณะเดียวกันสิ่งที่เราประณาม ก็อาจถูกอีกฝ่ายย้อนมาด่าเราเช่นกัน
.
คุณจะชอบหนังเรื่องมากขึ้นถ้า
1. คุณเบื่อกระแสคลั่ง PC
2. คุณสนใจการเมืองอเมริกา
3. คุณอ่านหนังสือ Animal Farm
4. คุณหมั่นไส้พวกที่เรียกตัวเองว่าเป็น "หัวก้าวหน้า"
อนุรักษ์นิยม 在 หนังโปรดของข้าพเจ้า Facebook 的最佳解答
The Crown ซีซั่น 3 (สามารถดูได้ใน Netflix)
นับเฉพาะซีรีส์ที่ได้ดู ขอบอกเลยว่าเป็นซีรีส์เรื่องเดียวที่ขนาดผ่านไป 3 ซีซั่นแล้วยังคงรักษาคุณภาพระดับเกรด A เอาไว้ได้ ในซีซั่น 3 เล่าช่วงกลางถึงปลายยุค 60's เศรษฐกิจของอังกฤษตกต่ำถึงขั้นวิกฤติ พรรคแรงงานชนะการเลือกตั้งได้ครั้งแรกในรอบหลายสิบปี มหาอำนาจในโลกเปลี่ยนมือไปเป็นการแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ กับโซเวียตที่พัฒนาเทคโนโลยีและแข่งขันกันสำรวจอวกาศ ความยิ่งใหญ่ของเครือจักรภพเริ่มหมดสิ้น ภายในสถาบันกษัตริย์มีความหวาดระแวงจะถูกต่อต้านทั้งจากกระแสประชาชนที่เริ่มวิจารณ์การใช้จ่ายของราชวงศ์ รวมถึงในหมู่นักการเมืองก็มีบางกลุ่มสนับสนุนการเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ดังนั้นในซีซั่นนี้จึงได้เห็นเนื้อหาการเล่าเรื่องที่แตกต่างออกไปจากเดิมอยู่สักหน่อย
.
ไม่แน่ใจว่าเพิ่งมาสังเกตหรือเป็นมาตั้งแต่ทั้ง 2 ซีซั่นก่อนหน้า ซีซั่นนี้บทซีรีส์ที่เขียนโดยปีเตอร์ มอร์แกน แล้วกระจายไปให้ผู้กำกับหลายคนมากำกับนั้นดูจะมีการตีความอารมณ์และโทนแต่ละตอนออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น อย่างตอน Imbroglio เป็นช่วงรัฐบาลประกาศลดการจ่ายไฟพอดี งานถ่ายภาพยิ่งออกมาเป็นโทนครอบครัวตัวร้ายเขย่าขวัญ, หรืออย่างตอนสุดท้าย Cri de Coeur นี่ก็เหมือนหนังรักรสขม ที่มีโทนสดใสซาบซ่ามาร์กาเร็ตเจอหนุ่มใหม่ที่เด็กกว่าสามี ตัดกับโทนหม่น ๆ ในช่วงท้าย, และในตอน Moondust ก็ให้ความรู้สึกเหมือนดูหนังที่เล่นกับการค้นหาคำตอบของพระเจ้าผ่านความท้าทายของการได้ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์และศรัทธาต่อศาสนาที่ค่อย ๆ หมดสิ้น
.
สิ่งหนึ่งที่เด่นขึ้นมากอีกอย่างคืองานกำกับภาพ ซีซั่นนี้มีหลายช็อตที่ประทับใจมาก ๆ อย่างตอน Imbroglio มีทั้งช็อตที่ชาร์ลส์รู้สึกตัวเองเป็นคนนอก สายตาของครอบครัวพร้อมกับการถ่ายนี่ให้โทนครอบครัวตัวร้าย หรือตอนแอนน์ถูกเรียกตัวไปถามถึงความรักของพี่ชายก็ช่างน่าสะพรึงเหลือเกิน ผิดกับสมัยที่เราดูเนื้อหาแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นกับมาร์กาเร็ตยังถ่ายโทนไม่ออกชัดขนาดนี้ อีกอย่างคือแคสต์นักแสดงมาเทพมาก เทพของเรานอกเหนือจากทักษะการแสดงแล้ว คนแคสต์และแต่งหน้าทำผมแต่ละคนออกมาให้มีความต่อเนื่องจาก 2 ซีซั่นก่อนหน้าชนิดที่แทบไม่ผิดเพี้ยน ทั้งบุคลิกและตัวนักแสดงเนียนจนบางทียังรู้สึกว่าเป็นนักแสดงเก่าที่แก่ขึ้นมาจริง ๆ ไม่มีขัดใจเลย
.
ซีซั่นนี้มีหลายตอนที่น่าพูดถึงแบบเน้น ๆ แม้ซีรีส์ดูจะประนีประนอมกับราชวงศ์ในเนื้อหาที่หมิ่นเหม่ แต่ยังรู้สึกได้ว่าความเป็นข้อเท็จจริงผสมเรื่องแต่งยังเปิดช่องให้มองได้สองแง่มุมเสมอ ขึ้นอยู่กับวิธีคิดของคนดูที่มีต่อสถาบัน เหมือนที่คนในอังกฤษดูอาจจะรู้สึกเป็นโฆษณาชวนเชื่อเพราะเขาเกี่ยวข้องตรง ๆ แต่ชาติอื่นดูอาจจะชื่นชมความแกรนด์อะไรประมาณนั้น เคยเขียนถึง The Queen เอาไว้ที่กระทู้นี้ https://pantip.com/topic/31696713 การปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ 'อนุรักษ์นิยม' ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งมีความคล้ายกับ The Crown อย่างหนึ่งคือเป็นการใช้สื่อภาพยนตร์สร้างภาพลักษณ์ได้อย่างชาญฉลาด
.
ในตอน Margaretology เป็นการเปรียบเปรยถึงคนที่ตกเป็นรองคนที่สถานะโดดเด่นกว่าได้อย่างยอดเยี่ยม บทของมาร์กาเร็ตเป็นคนที่อยู่รองจากควีนเอลิซาเบ็ธมาตลอดชีวิต ถูกกำหนดสถานะมาตั้งแต่วัยเด็ก กลายเป็นปมที่ต้องการพื้นที่ให้ตัวเองได้เฉิดฉาย ซีรีส์เล่าเส้นเรื่องอังกฤษพยายามขอกู้เงินจากสหรัฐฯ ไปคืน IMF สลับกับความเจิดจรัสของมาร์กาเร็ตระหว่างทัวร์อเมริกา แล้วตบเข้าหาการได้ไปงานเลี้ยงที่ทำเนียบขาวได้คมกริบ ชัยชนะของมาร์กาเร็ตอาจจะไม่ได้รางวัลอย่างที่เธอคาดหวัง(ของานเพิ่ม) แต่อย่างน้อยก็ทำให้เห็นว่าบุคลิกของเธอสามารถเล่นบทบาทที่นอกเหนือจากมารยาททางการทูตตามธรรมเนียมนิยมได้เหมือนกัน ซึ่งเป็นบทบาทที่ควีนเอลิซาเบ็ธไม่สามารถทำได้ จะว่าไปก็แสดงให้เห็นความอิจฉาระหว่างพี่น้องแบบที่เคยดูมาตลอด 2 ซีซั่น และได้เห็นความกลัวของพี่สาวที่กังวลว่าน้องตัวเองจะโดดเด่นกว่าหากเพิ่มบทบาทให้
.
ตอน Aberfan ก็เป็นอีกตอนที่ดีในแง่ของการแก้ต่างแทนควีนเอลิซาเบ็ธ จะมีสื่อชิ้นไหนที่สามารถแก้ไขภาพลักษณ์ชวนเชื่อได้งดงามแบบภาพยนตร์ เป็นตอนที่พูดถึงเหตุเหมืองถล่มจนมีเด็กถูกดินโคลนทับตายเป็นร้อยศพ ทั้งนายกฯ ทั้งบางคนในวังอย่าง โทนี่ (สามีมาร์กาเร็ต) รีบรุดไปที่เกิดเหตุ แต่ควีนเอลิซาเบ็ธตั้งใจอย่างเดียวคือสถานะของเธอควรจะไปเยี่ยมที่โรงพยาบาลเท่านั้น ออกแอ็คชั่นล่าช้ากว่าจะเริ่มเคลื่อนไหวคือกังวลกระแสสังคมต่อต้าน ในช่วงที่บางคนในรัฐบาลวางแผนจะเบี่ยงเบนกระแสประชาชนให้ไปด่าสถาบันที่นิ่งเฉยแทนตัวเอง สุดท้ายเรายังมองว่าตอนนี้คือการแก้ต่างแทนน่ะแหละ ด้วยการตบท้ายมาว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่ควีนเอลิซาเบ็ธเสียใจมากที่สุดในชีวิต
.
Bubbikins ก็เป็นอีกตอนที่ดี เปิดมาด้วยเจ้าชายฟิลิป ซึ่งแต่งงานกับควีนเอลิซาเบ็ธ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่รวยที่สุดในโลก แต่สามีของเธอกลับบ่นออกรายการโทรทัศน์ที่สหรัฐฯ ว่าตัวเองไม่ได้ปรับขึ้นเงินเลย ต้องใช้จ่ายรัดกุม อดเล่นโปโล อาจต้องย้ายไปอยู่วังเล็กลง ทั้งที่ในห้วงเวลานั้นเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรกำลังย่ำแย่ จนทำให้หนังสือพิมพ์เขียนบทความวิจารณ์อย่างรุนแรง แม้กระทั่งในกลุ่มรัฐบาลที่มาจากพรรคแรงงานก็มีบางคนที่เคยเป็นกลางกับสถาบันเริ่มสองจิตสองใจ ทำให้ในวังเริ่มวางแผนตอบโต้ด้วยการสร้างความนิยมกับประชาชน แผนการของเจ้าชายฟิลิปคือ การให้โทรทัศน์เข้ามาถ่ายทำสารคดีว่าคนในวังทรงงานหนักขนาดไหน (ต้องเลี้ยงแขก, จัดเลี้ยงหรูหรา, ต้อนรับทูต) และสร้างภาพความเป็นครอบครัวพร้อมหน้าพร้อมตา
.
สิ่งที่น่าตลกคือในเวลานั้นผู้คนสนับสนุนสถาบันเพราะราชพิธีสืบทอดยาวนานและความลึกลับท่ามกลางความโจ่งแจ้งที่ประชาชนเห็นภายนอก ไม่ใช่ต้องการเห็นสถาบันเป็นคนธรรมดามาปิ้งบาบีคิวหรือดูโทรทัศน์พร้อมหน้ากันในครอบครัว (ปลอมมาก) การดำรงอยู่ของสถาบันจึงกลายเป็นอะไรที่ประชาชนมองเป็นแบบอย่างได้ เหมือนเป็นมนุษย์ในอุดมคติที่ไม่มีรอยด่างพร้อย ทั้งที่ความจริงแล้วพวกในวังก็เป็นคนธรรมดาเหมือนเรา ไม่ได้เป็นสมมติเทพ ซ้ำร้ายยังดำรงอยู่ด้วยเงินภาษีจากประชาชนอย่างเราอีก อย่างราชวงศ์อังกฤษปี 1967 คือใช้เงินต่อวันเป็น 4 เท่าของรายได้เฉลี่ยประชาชนต่อปี พูดง่าย ๆ ว่าชาวบ้านตาดำ ๆ ทำงาน 4 ปียังมีเงินไม่เท่าที่ราชวงศ์ผลาญไปในวันเดียว ยิ่งตอกย้ำความปลอมและความสุรุ่ยสุร่ายของสถาบันมากขึ้นไปอีก
.
ส่วนตัวชอบจุดพลิกผันใน Bubbikins อย่างหนึ่งคือในขณะที่เจ้าชายฟิลิปพยายามสร้างภาพด้วยสารคดีจอมปลอมขนาดไหน สุดท้ายสิ่งที่สะกิดใจนักข่าวที่โจมตีสถาบันคือเรื่องราวของแม่เจ้าชายฟิลิปนั่นเอง ทั้งการต้องเร่ร่อนจากการปฏิวัติในกรีซ ความบกพร่องทางการได้ยินในวัยเด็ก ถูกส่งไปรักษาตัวทางจิตแบบที่รุนแรงถึงขั้นช็อตไฟฟ้า/ฉีดยา แต่แทนที่เธอจะโกรธเกรี้ยวเกลียดชังโลก เธอกลับทำในสิ่งที่แสนวิเศษเมื่อหนีออกมาได้คือการอุทิศตัวให้ศาสนามาอย่างยาวนานและเรียกร้องความยุติธรรม รวมถึงทำงานการกุศลบริการสาธารณะ อันนี้คือความเหน็ดเหนื่อยและคู่ควรให้ศรัทธามากกว่าเรื่องสตอเบอร์แหลที่พยายามถ่ายทำสารคดีเสียอีก
.
หรืออย่างในตอน Coup ที่หลายคนชอบมากเพราะเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร ในช่วงที่เศรษฐกิจย่ำแย่จนรัฐบาลต้องประกาศลดค่าเงินปอนด์ สิ่งที่รัฐบาลในเวลานั้นพยายามทำคือลดรายจ่าย เริ่มต้นด้วยการปลดผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่ไม่ยอมอ่อนข้อให้กับการลดงบกระทรวงกลาโหม อันนำมาสู่แผนการรัฐประหารที่เป็นความร่วมมือระหว่างสื่อหนังสือพิมพ์, คนในแวดวงการเงิน, และลอร์ดเมานธ์แบตเตน อดีตผบ.ทบ.ที่มีตำแหน่งในราชวงศ์ด้วย
.
ในประเทศเล็ก ๆ การทำรัฐประหารอาจจะไม่ยากเย็นสักเท่าไร ใช้ทหารแค่หลักร้อยหลักพันคนก็สามารถยึดอำนาจได้แล้ว แต่ในสหราชอาณาจักรที่เคลมตัวเองว่าสังคมประชาธิปไตยสูงส่งนั้นย่อมแตกต่างออกไป เพราะต้องควบคุมสื่อ, ควบคุมเป้าหมายในคณะปกครอง, ควบคุมเศรษฐกิจ, ต้องอาศัยความจงรักภักดีของทุกเหล่าทัพ ซึ่งประเทศใหญ่แบบสหราชอาณาจักรจำเป็นต้องยึดอำนาจทั้งรัฐสภา, ศูนย์ราชการ, กระทรวงกลาโหม, สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ต้องวางแผนปิดขนส่งทั้งสนามบิน/รถไฟ/, แถมยังต้องระวังการต่อต้านจากตำรวจอีก เรียกว่าต้องใช้ทหารหลายหมื่นคนแบบไม่มีแตกแถวจึงจะประสบความสำเร็จ แล้วยังต้องมีความชอบธรรมในการรัฐประหาร(ข้ออ้างที่ฟังขึ้น) เพื่อจะได้โน้มน้าวสถาบันเก่าแก่ต่าง ๆ อย่างเช่นศาลยุติธรรม เรียกว่าความหวังในการทำรัฐประหารให้สำเร็จริบหรี่มาก ยกเว้นแต่ได้รับการสนับสนุนจากควีนเอลิซาเบ็ธ ที่เวลานั้นเศรษฐกิจแย่แค่ไหนก็ยังวุ่นวายกับการแข่งม้า
.
เราค่อนข้างเห็นต่างกับหลายคนเรื่องควีนเอลิซาเบ็ธปกป้องประชาธิปไตย เพราะเรามองว่าในเวลานั้นควีนกำลังปกป้องตัวเองมากกว่า ข้ออ้างที่บอกว่าปกป้องนายกรัฐมนตรี, ปกป้องรัฐธรรมนูญ, เพื่อปกป้องประชาธิปไตยเป็นเพียงข้ออ้างเท่านั้น ในช่วงเวลาดังกล่าวสถาบันเริ่มถูกโจมตีเรื่องการใช้จ่ายต่าง ๆ มีประชาชนและคนในรัฐบาลที่เริ่มสองจิตสองใจ อย่าลืมว่าคนส่วนใหญ่เป็นอนุรักษ์นิยม ไม่ได้ชื่นชอบความเปลี่ยนแปลงยกเว้นแต่หมดความอดทนจริง ๆ ดังนั้นในช่วงที่ก้ำกึ่งจะแตกหักได้ การอยู่เฉย ๆ ลอยตัวเหนือปัญหาปากท้องของประชาชนดูจะเป็นทางออกที่เสียหายต่อตัวเองน้อยกว่า
.
ในช่วงเวลาที่สถาบันเสื่อมความนิยม พร้อมกับคำขู่ของนายกฯ ที่จะเข้าร่วมกับกลุ่มนิยมสาธารณรัฐ (เปลี่ยนประมุขของประเทศเป็นประธานาธิบดี) การที่ควีนเอลิซาเบ็ธตัดสินใจขัดขวางการรัฐประหารอันนำโดยคนในราชวงศ์จึงดูเป็นทางเลือกเพื่อปกป้องตัวเองเป็นหลัก เพราะหากการรัฐประหารเกิดขึ้น ไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว มันไม่ได้มีอะไรรับรองความปลอดภัยของสถาบันเลย ทั้งการลุกฮือของประชาชนที่เจริญแล้ว, และกลุ่มคนในรัฐบาลที่อาจถือโอกาสนี้ใช้เป็นข้ออ้างโจมตีสถาบันที่เข้ามายุ่งเกี่ยวการเมืองด้วยการชวนเชื่อถึงสาธารณรัฐ ชั่งน้ำหนักดูแล้วการขัดขวางรัฐประหารจึงเป็นทางที่ปลอดภัยที่สุด ทั้งถูกต้องตามหลักการ ไม่เปลืองตัว แล้วรอให้ประชาชนเลือกรัฐบาลของพวกเขาเอง
.
ในตอน Tywysog Cymru ก็ดูจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ช่วงที่ต้องเรียนภาษาเวลส์ ชอบการเปรียบเทียบตัวเองกับชาติเวลส์ในแง่ของการถูกเมิน/ไม่มีตัวตน/ถูกมองข้าม จากอังกฤษ/ครอบครัว สะท้อนผ่านสปีชเรียกร้องให้เคารพตัวตนของกันและกัน เพราะทุกคนมีความปรารถนา มีอัตลักษณ์ มีสิทธิ์มีเสียง ที่ไม่ควรถูกใครควบคุม โดยเฉพาะจากคนที่ไม่มีความเข้าใจในความแตกต่าง ซึ่งที่ชอบอีกอย่างคือมันไปรับกับตอนอื่น ๆ ของชาร์ลส์ที่ต้องหาคนรักมาเสริมให้ตัวเขามีความมั่นใจ และการได้แรงสนับสนุนจากเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดหล่อหลอมให้เขากล้าเป็นตัวของตัวเองโดยไม่ยอมอ่อนข้อให้ครอบครัวง่าย ๆ
ทั้งหมดในซีซั่นนี้ยังคงคู่ควรกับการเป็นซีรีส์เกรดเอของเราเช่นเคย
Creators: Peter Morgan, Edward Hemming
10 Episodes (เฉลี่ยตอนละ 55 นาที)
A
#หนังโปรดxซีรีส์Netflix