雖然這篇หมออายุรกรรม ใกล้ฉัน鄉民發文沒有被收入到精華區:在หมออายุรกรรม ใกล้ฉัน這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 หมออายุรกรรม產品中有4篇Facebook貼文,粉絲數超過19萬的網紅หมอๆ ตะลุยโลก,也在其Facebook貼文中提到, เส้นทางชีวิตหลังจบแพทย์แล้ว เป็นอย่างไร วันนี้ขอมาเล่าเรื่องอะไรเล็กน้อย เกี่ยวกับชีวิตของแพทย์นะครับ คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ให้กับผู้อ่านได้ในหลายๆส่ว...
หมออายุรกรรม 在 GRACE KK Instagram 的最佳貼文
2020-05-02 08:40:40
💗👑✨💍💙 จ บ แ บ บ เ ก ร ย์ ๆ ก็ ป ร ะ ทั บ ใ จ ไ ป อี ก แ บ บ มั้ ย ค ะ ห ล า ย ค น ค อ ม เ ม น ท์ กั น ม า ถึ ง ต อ น จ บ ข อ ง อ ร ก ะ น น ท์ ว่ า ท ำ...
หมออายุรกรรม 在 หมอๆ ตะลุยโลก Facebook 的最佳貼文
เส้นทางชีวิตหลังจบแพทย์แล้ว เป็นอย่างไร
วันนี้ขอมาเล่าเรื่องอะไรเล็กน้อย เกี่ยวกับชีวิตของแพทย์นะครับ คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ให้กับผู้อ่านได้ในหลายๆส่วน โดยเฉพาะกับคำถามที่ว่า
“หลังจากจบแพทย์ 6 ปีแล้ว หมอแบบพวกเรา ไปอยู่ส่วนไหนของสังคมกันบ้าง”
อย่างที่ทุกๆคนทราบเหมือนกันว่าการเรียนแพทย์นั้นใช้เวลาเรียน 6 ปี หลังจากจบชั้น ม.6 ในระบบภาคการศึกษาปกติของประเทศไทย เข้ามหาวิทยาลัยตอนอายุ 17-18 ปี ตอนจบอายุจะประมาณ 23-24 ปี แตกต่างกันไปในแต่ละคน
พอมาถึงจุดนี้บางส่วนก็จะเลือกที่จะอยู่ในโรงเรียนแพทย์ต่อและเรียนต่อเฉพาะทางในทันที ก็จะจบออกมาเป็นแพทย์เฉพาะทางตั้งแต่อายุยี่สิบปลายๆ ส่วนอีกทางก็อาจจะเลือกออกไปทำงานชดใช้ทุนตามสัญญาที่มีกับภาครัฐ สั้นบ้าง ยาวบ้าง แล้วแต่สัญญา อยู่ในระหว่าง 1-5 ปี
หลังจากนั้นก็จะกลับมาเรียนต่อเฉพาะทาง
พอถึงจังหวะเรียนต่อเฉพาะทาง ก็จะกลับมาเรียน หมออายุรกรรม หมอผ่าตัด หมอตา หมอหู หมอสูติ หมอเด็ก หมอห้องฉุกเฉิน ฯลฯ จะใช้เวลาราวๆ 3-5 ปีแล้วแต่สาขา
หลังจากนั้นพอจบเฉพาะทางเสร็จแล้ว ก็จะมาต่อเฉพาะทางต่อยอด เป็น หมอหัวใจ หมอไต หมอตับ ฯลฯ ว่ากันไปอีก 1-2 ปี แบบนี้
อันนี้คือภาพการเดินทางของหมอในเส้นทางที่เราจะรู้จักและเข้าใจกันดี ให้ผมอธิบายต่อในอีกหนึ่งมุมมองของหมอที่ไม่ได้ทำงานในโรงพยาบาลครับ ซึ่งเทียบสัดส่วนแล้วอาจจะไม่ได้มาก แต่อาจจะเป็นทางเลือกสำหรับใครหลายๆคน
ก่อนอื่นเนื่องจากการที่ตัวเนื้องานไม่ได้อิงกับโรงพยาบาล นั่นแปลว่า ภาระงานส่วนใหญ่ก็อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับการดูแลหรือรักษาคนที่ป่วยโดยตรง แต่จะออกไปในรูปแบบต่างๆ หรือออกไปในแนวทางของการทำวิจัย (research) หรือ ป้องกันโรคมากยิ่งขึ้น (preventive)
ถ้าเราได้ลองมองสาขาวิชาเฉพาะของเวชศาสตร์ป้องกัน (preventive medicine) ที่มีในเมืองไทยตอนนี้ จะมีอยู่ดังนี้ครับ
• ระบาดวิทยา (Epidemiology) เป็นนักระบาดวิทยา ถ้าในยุคโควิดก็จะเห็นภาพชัดเจนที่สุด คือแพทย์ส่วนใหญ่ที่ทำงานในกรมควบคุมโรค มีหน้าที่สอบสวนโรค ส่วนใหญ่แล้วจะทำงานกับภาครัฐเพราะถือเป็น policy maker สามารถขึ้นไปทำงานในองค์กรระหว่างประเทศอย่าง องค์กรอนามัยโลกหรือสำนักงานขององค์กรอนามัยโลกภาคพื้นเอเชีย (SEARO) แบบนี้ ประเทศไทยจะมีหลักสูตรการสอนที่ชื่อว่า FETP ที่มีหมอจากต่างชาติมาเรียนด้วยครับ
• เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว (Travel Medicine) ดูแลนักเดินทาง (ที่ไม่ใช่แค่นักท่องเที่ยว) ก่อนเดินทางก็ดูแลและหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรค ณ สถานที่ปลายทางที่เดินทางไป เช่น จะไปแทนซาเนีย 1 เดือน ควรต้องเตรียมตัวอย่างไร หรือ ถ้ากลับมาจากการเดินทางแล้วป่วย จะสงสัยโรคอะไร เพราะแต่ละประเทศจะมีสาเหตุของการเกิดโรคที่อาจจะเหมือนหรือไม่เหมือนกันได้ แม้จะมาด้วยอาการที่ใกล้เคียงกัน
• เวชศาสตร์การบิน (Aviation Medicine) ดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวกับการแพทย์ที่อยู่เหนือพื้นดินครับ ยกตัวอย่างให้พอเห็นภาพจะมีแพทย์ที่เรียกว่า Flight surgeon ที่ไม่ใช่ศัลยแพทย์นะครับ แต่เป็นแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยระหว่างที่มีการเคลื่อนย้ายทางอากาศ เช่น จำเป็นต้องมีการย้ายผู้ป่วยข้ามประเทศทางเครื่องบินพยาบาล (air ambulance) หรือในเครื่องบินพาณิชย์
• เวชศาสตร์ทางทะเล (Maritime Medicine) ดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวกับทางทะเล ตั้งแต่เวชศาสตร์ใต้น้ำ (underwater) ดูแลเครื่องความดันบรรยากาศสูง (hyperbaric chamber) ซึ่งเรามักจะเข้าใจว่าเอาไว้ภาวะน้ำหนีบในนักดำน้ำ แต่จริงๆเอาไว้ใช้รักษาโรคอื่นได้อีกมากมาย ดูแลคนที่ทำงานในทะเล เพราะในทะเลจะมีระบบกฎหมายการทำงานทางสุขภาพที่แตกต่างของผู้ที่ทำงานบนฝั่งแบบนี้ครับ
• เวชศาสตร์ป้องกันคลินิก (Clinical Preventive Medicine) เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการป้องกันโรคจะพบได้ในคณะแพทยศาสตร์ เนื่องจากเป็นอาจารย์แพทย์ที่จะทำการสอนด้านเวชศาสตร์ป้องกันให้กับนักศึกษาแพทย์หรือแพทย์ประจำบ้านอีกครั้ง
• สาธารณสุขศาสตร์ (Public health)
• สุขภาพจิตชุมชน (Community Mental Health) แพทย์ที่ดูแลด้านสุขภาพจิตในเชิงของการป้องกัน (จิตแพทย์จะลงลึกไปในเรื่องของการรักษาซึ่งเน้นกันคนละจุดครับ)
• อาชีวเวชศาสตร์ (Occupational Medicine) เป็นแพทย์ที่ดูแลและป้องกันโรคภัยที่เกิดจากการประกอบอาชีพ มองให้เห็นภาพคือ การจะมีโรงงานอุตสาหกรรมที่คนทำงาน ทำแล้วไม่เกิดปัญหาทางกาย หมอคนนี้คือคนที่ดูแลและป้องกันครับ เช่น โรงงานทำแร่ใยหิน ก็จะจัดการเรื่องแร่ใยหินให้ถูกต้อง ป้องกันไม่ให้เกิดโรคจากแร่ใยหินแบบนี้
• เวชศาสตร์การจราจร (Traffic Medicine) สาขานี้พึ่งจะเริ่มต้นมีประเทศไทยครับ
นอกจากนี้แล้ว จริงๆแล้ว ยังมีสาขาอื่นๆอีก ที่น่าสนใจแต่ยังไม่ได้มีรายละเอียดในบ้านเรามากนักครับ แพทย์ที่ทำงานในด้าน IT โดยเฉพาะ ที่เรียกว่า Medical Informatician ครับ ซึ่งการเรียนการสอนในสาขานี้ เท่าที่ทราบคือยังไม่มีในเมืองไทย ต้องไปเรียนที่ต่างประเทศ
หรือแพทย์ที่ทำงานอยู่ในสายของนักวิจัย เพราะจบทางด้านวิทยาศาสตร์มาพร้อมๆกัน เช่น ด้านเภสัชวิทยา สรีรวิทยา ภายวิภาคศาสตร์ ฯลฯ ส่วนใหญ่ผู้เชี่ยวขาญสาขานี้จะอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่มีคณะแพทย์อยู่ และเป็นผู้ที่ทำการสอนนักศึกษาแพทย์ในช่วงขั้น ปีที่ 2-3 หรือถ้าออกไปทำงานในบริษัทยาก็อาจจะเป็นนักวิจัยยา (Pharmaceutical Researcher)
หรืออาจะเป็นแพทย์ที่ไปทำงานในหน่วยงานของเอกชนที่มีหน่วยงานของแพทย์อยู่ ทำงานเป็นแพทย์ที่เป็นผู้ประสานงานทางการแพทย์ (Medical Coordinator)
ทำงานในบริษัทเอกชนในตำแหน่ง Corporate physician หรือในบริษัทประกัน (Insurance) หรืออาจจะเป็นผู้แทนของบริษัทยา Medical Sales Representative
หรือบางคนอาจจะออกไปโลดแล่นกับหน่วยงานระหว่างประเทศเลย เช่น องค์กรแพทย์ไร้พรมแดน (Médecins Sans Frontières)
หรืออาจจะมาในอาชีพที่คนทั่วไปก็เข้าถึงได้เช่น นักเขียน นักเล่าเรื่อง (medical writer) หรือจะออกมาเริ่มต้นทำธุรกิจในสายงานสุขภาพ (Medical startup entrepreneur) ซึ่งทั้ง 2 อย่างหลังนี้ มีตัวอย่างของผู้ทบุกเบิกไว้ให้เห็นภาพพอสมควรแล้ว
สุดท้ายนี้ ก็ที่เขียนบทความนี้ขึ้นมา ก็อยากให้ทุกคนได้เห็นภาพในอีกด้านหนึ่งของอาชีพที่อาจจะช่วยเป็นแนวทางให้คนหลายๆคน (รุ่นน้องนักศึกษาแพทย์ หรือเพื่อนร่วมวิชาชีพ) หรือผู้ที่สนใจได้ครับ ว่าสามารถมีทางเลือกอะไรที่มีความเป็นไปได้บ้างในตอนนี้
หมออายุรกรรม 在 Drama-addict Facebook 的最佳貼文
ขอบคุณ หมออายุรกรรม หมอ ID คณาจารย์ แพทยสภา ที่ช่วยกันผลักดันแนวทางนี้ ขอบคุณองค์การเภสัชที่กำลังเร่งกำลังการผลิตยาตัวนี้สุดกำลัง และขอบคุณสื่อมวลชนหลายๆท่าน เช่น เฮียสอ ที่ช่วยกระตุ้นสังคมให้เห็นความสำคัญของยาตัวนี้และผลักดันให้แนวทางการจ่าย ฟาวิ ให้ไวที่สุด ออกมาเป็นผลสำเร็จ
ไม่เกี่ยวกับ จขพ ครับ
หมออายุรกรรม 在 Drama-addict Facebook 的最佳貼文
มีคนส่งโพสแปลกๆมาสอบถาม เป็นโพสที่ ใครก็ไม่รู้ เห็นบอกว่าตัวเองเป็นหมอ แล้วด่าสรยุทธ์ว่าทำไมไปพูดให้รัฐหาฟาวิพิลาเวียร์มาแจกจ่ายคนไข้ มันจะทำให้เกิดเชื้อดื้อยา บลาๆ แล้วคนก็เอาไปแชร์กันหลายพัน
อันนี้ชี้แจงว่า ยาฟาวิพิลาเวียร์นี่ ตามหลักมันก็ต้องทำแบบที่สรยุทธเขาเสนอไงครับ คือสรยุทธแกไม่ใช่นั่งมโนเอาเองนะ แกก็ไปหาข้อมูลของแกมา แล้วหมอโรคติดเชื้อ หมออายุรกรรม เขาก็หาทางผลักดันแนวทางนี้กันอยู่ เพราะมันมีข้อมูลค่อนข้างชัดเจนว่า เคสที่ติดโควิด และได้รับยาฟาวิ ไวเนี่ย มันช่วยทำให้คนไข้อาการไม่หนัก และลดการแพร่ระบาดในบ้านได้ด้วย ถ้ารีบให้เคสนี้กับเคสที่กักตัวในบ้านแต่เนิ่นๆ
และแนวทางนี้ล่าสุดก็อัพเดทแล้ว ให้จ่ายยาฟาวิให้กับคนไข้ที่เริ่มมีอาการให้ไวที่สุด และกำลังจะแจกจ่ายให้กับคนที่กักตัวอยู่บ้านด้วย อันนี้ทางแพทยสภาผลักดันเองเลยครับ
จ่าเลยงงว่า ทำไมมีหมอคนไหนออกมาบอกว่าแนวทางนี้มันไม่เหมาะวะ งงมาก ก็นี่อ่ะครับ ที่หมอหน้างานเขาต้องการ เพราะมันจะลดเคสที่ต้องแอดมิทได้ หลายๆเคสถ้ามีอาการนิดๆ ซัดยาเลยตั้งแต่อยู่บ้าน แล้วอาการโอเค ก็อยู่บ้าน จบ ไม่ต้องแอดมิท แล้วเราก็จะมีเตียงว่างไว้รองรับเคสหนักมากขึ้น แล้วเฮียสอแกก็เป็นกระบอกเสียงช่วยส่งเสียงดังๆให้หมอหน้างานเหล่านั้น และตอนนี้หลายๆฝ่ายกำลังร่วมกันผลักดันแนวทางนี้ให้ยามันไปถึงคนไข้ที่ยังอยู่บ้านยังหาเตียงไม่ได้อยู่ เพราะถึงแม้ว่าสถานการณ์ตอนนี้เราจะเลวร้ายมาก แต่ถ้าใช้แนวทางนี้ มันมีโอกาสพลิกเกมได้จริงๆครับ เหมือนสมัยไข้หวัดใหญ่ 2009 ระบาด ถ้าจำกันได้นะ ตอนนั้นจ่าก็อยู่หน้างานรักษาเคสติดเชื้อกันหลังขดหลังแข็ง จนกระทั่งมีการออกแนวทางการใช้ tamiflu ออกมาชัดเจนนี่ สถานการณ์การติดเชื้อมันกระเตื้องขึ้นทันตาเลย
ส่วนประเด็นสเตียรอยด์ ที่มีคนบ้งเบ้งบอกว่าจะจ่ายฟาวิอย่างเดียวไม่ได้ ต้องให้สเตียรอยด์ด้วย ไม่งั้นคนไข้จะอาการหนักนี่ คืออยากบอกว่าสเตียรอยด์เป็นยาที่มีข้อมูลว่าช่วยคนไข้โควิดได้ แต่เราไม่ได้ให้พร่ำเพรื่อ เพราะว่าผลข้างเคียงมันก็มี เช่นกดภูมิคุ้มกัน เราจะให้เมื่อจำเป็น หลักๆก็ตอนคนไข้มีอาการปอดบวมหนัก และค่าออกซีเจนต่ำกว่า 93 หรือต้องใช้ออกซีเจนเกินสามลิตรตลอดเวลา อะไรงี้ แต่ไม่ได้แปลว่า ให้ฟาวิแล้วไม่ให้สเตียรอยด์ไม่ได้นะ
เอาเป็นว่า พ่อแม่พี่น้องเจอใครโพสอะไรแปลกๆเพี้ยนๆเกี่ยวกับเรื่องการรักษาโควิดนี่ หาเอกสารอ้างอิงเช็คก่อนได้นะครับ ว่าที่เขาอ้างมามันจริงมั้ย เรื่องแบบนี้เอกสารอ้างอิงเรามีตรึม
https://www.facebook.com/ittaporn/posts/4413736912020414?__cft__[0]=AZUpm9Nq6q1UWeeu9sqbeA2tRd9solIJAyCRqztPnFXHluxxzz_Jgbb7n1P-VBiHHHpZFetH5wN-sZH8uFFgxLqX7GgsGym38yPEokGzJv7iB8axsXU6T2Qp6IdTpQnD8C8&__tn__=%2CO%2CP-R