雖然這篇หนังสือพิมพ์มติชน鄉民發文沒有被收入到精華區:在หนังสือพิมพ์มติชน這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 หนังสือพิมพ์มติชน產品中有5篇Facebook貼文,粉絲數超過16萬的網紅Sa-ard สะอาด,也在其Facebook貼文中提到, เล่มใหม่เค้าเอง ธนิสร์ วีระศักดิ์วงศ์ Tanis Werasakwong . ‘สะอาด’ นักวาดการ์ตูนอิสระ ถนัดวาดการ์ตูนจิกกัดสังคม เจ้าของเพจ Sa-ard มีผลงานด้านการ์...
「หนังสือพิมพ์มติชน」的推薦目錄
- 關於หนังสือพิมพ์มติชน 在 KHUN PHUNKORN BOONYACHINDA Instagram 的最讚貼文
- 關於หนังสือพิมพ์มติชน 在 KHUN PHUNKORN BOONYACHINDA Instagram 的精選貼文
- 關於หนังสือพิมพ์มติชน 在 Chalermchai Instagram 的最佳貼文
- 關於หนังสือพิมพ์มติชน 在 Sa-ard สะอาด Facebook 的最讚貼文
- 關於หนังสือพิมพ์มติชน 在 ตะลึงกรุง จอนนี่มือปราบ Facebook 的精選貼文
- 關於หนังสือพิมพ์มติชน 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
หนังสือพิมพ์มติชน 在 KHUN PHUNKORN BOONYACHINDA Instagram 的最讚貼文
2021-02-02 17:33:25
“เพลงที่เพราะที่สุด” ดังขอขอบคุณทีม ข่าวบันเทิงจากหนังสือพิมพ์มติชน ครับผม #สหัสสกรพรพันศิวิไลไทประเสริฐ #เพลงที่เพราะที่สุด #ดังพันกร #ดัง #คุณพัน...
หนังสือพิมพ์มติชน 在 KHUN PHUNKORN BOONYACHINDA Instagram 的精選貼文
2021-01-12 20:42:41
“เพลงที่เพราะที่สุด” ดังขอขอบคุณทีมงานจากหนังสือพิมพ์มติชน ครับผม #สหัสสกรพรพันศิวิไลไทประเสริฐ #เพลงที่เพราะที่สุด #ดังพันกร #ดัง #คุณพันกรบุณยะจิ...
หนังสือพิมพ์มติชน 在 Chalermchai Instagram 的最佳貼文
2020-05-23 19:20:20
ขอขอบคุณพี่ๆสื่อมวลชน หนังสือพิมพ์มติชน/ มติชนออนไลน์/ หนังสือพิมพ์ข่าวสด/ข่าวสดออนไลน์ / หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ / หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ / เดลินิวส์ออนไลน...
หนังสือพิมพ์มติชน 在 Sa-ard สะอาด Facebook 的最讚貼文
เล่มใหม่เค้าเอง
ธนิสร์ วีระศักดิ์วงศ์
Tanis Werasakwong
.
‘สะอาด’ นักวาดการ์ตูนอิสระ ถนัดวาดการ์ตูนจิกกัดสังคม เจ้าของเพจ Sa-ard มีผลงานด้านการ์ตูนมาทั้งหมด 8 เล่ม ปัจจุบันเขียนการ์ตูนแก๊กประจำอยู่ที่ หนังสือพิมพ์มติชน นิตยสารสารคดี และ giraffe magazine
___
การ์ตูนเสียดสีสะท้อนชีวิตประจำวัน ที่หยิบเรื่องรอบตัวในชีวิตทั่วไป ทั้งหน้าที่การงาน สิ่งแวดล้อม การเดินทาง จนถึงกิจวัตรประจำวันในสังคมเมืองที่ชวนให้เกิดคำถามว่าทุกวันนี้มี ‘ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว’ แล้วหรือยัง
.
#SALMONBOOKS #Y16HALLA
#SALMONEXHIBITION #BOOKFAIR2017
หนังสือพิมพ์มติชน 在 ตะลึงกรุง จอนนี่มือปราบ Facebook 的精選貼文
มือปราบอินดี้ "จอนนี่" ตร.สุดแนวกับอีกหลายมุมมองที่ไม่ธรรมดา
วันที่ 08 เมษายน พ.ศ. 2558 เวลา 14:26:24 น.
ที่มา หนังสือพิมพ์มติชน
...Continue Reading
หนังสือพิมพ์มติชน 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
ปัญหาผู้ตีความตามรัฐธรรมนูญกรณีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (บทความนี้ได้เขียนเกี่ยวกับการออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ปี พ.ศ.2549)
รศ. สิทธิกร ศักดิ์แสง
การตีความกฎหมาย คือ การตี “ถ้อยคำ”ของกฎหมายให้ได้เป็น “ข้อความ” ที่จะนำไปใช้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท การตีความจึงจะต้องเป็นการใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยาและสามัญสำนึกเพื่อนำไปสู่ผลสรุปที่ถูกต้องที่ดีและเป็นธรรม การตีความกฎหมายจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตีความกฎหมายจะได้นำไปใช้แก้ไขปัญหาในทางกฎหมายต่างๆ ได้เสมอ ซึ่งในปัจจุบันยังมีปัญหาความสับสนในการตีความกฎหมาย(โดยเฉพาะการตีความตามรัฐธรรมนูญ)เช่น ในการพิจารณาว่าองค์กรตุลาการใดเป็นผู้ตีความในกรณีการปัญหาในการออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 2 เมษายน 2549 นั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่(ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่)
บุคคลที่เกี่ยวข้องในการตีความกฎหมาย
บุคคลที่เกี่ยวข้องในการตีความกฎหมายก็คือ บุคคลที่มีหน้าที่ใช้ในระบบกฎหมายทุกระดับต้องตีความกฎหมายทั้งสิ้นแต่ในระบบกฎหมายจะมีการจัดลำดับให้การตีความกฎหมายขององค์กรใดเป็นที่ยุติไม่อาจโต้เถียงกันต่อไปและมีผลในระบบกฎหมายได้เสมอ ซึ่งขออธิบายสรุปในเรื่องของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการตีความกฎหมายของประเทศไทยเป็น หลักเพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจการตีความกฎหมายที่เกิดผลในทางกฎหมาย ดังนี้คือ
1.ผู้ตีความกฎหมายที่เกิดผลในทางกฎหมายโดยอ้อม
ผู้ตีความกฎหมายที่เกิดผลในทางกฎหมายโดยอ้อมนั้น ได้แก่ ประชาชน ทนายความ นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ เป็นต้น
1)การตีความกฎหมายโดยประชาชนในฐานะใช้กฎหมายย่อมต้องตีความในกฎหมายเพื่อประโยชน์ของตนในการทำนิติกรรมสัญญาระหว่างกันโดยถูกต้อง มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร
2) การตีความกฎหมายโดยทนายความในฐานะเป็นผู้ปรึกษากฎหมายของคู่ความในคดีที่เป็นโจทก์ หรือ จำเลย ในการต่อสู่คดีใน
3) การตีความกฎหมายโดยนักวิชาการด้านนิติศาสตร์ ในฐานะผู้ตีความกฎหมายตามหลักการแนวคิดทฤษฎีค้นคว้างานทางวิชาการ
2.ผู้ตีความกฎหมายที่มีผลในทางกฎหมายโดยตรง
ผู้ตีความกฎหมายที่มีผลในทางกฎหมายโดยตรงนี้มีความสำคัญมากในการตีความกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
1)การตีความกฎหมายโดยศาล ในกรณีที่ศาลตีความ คือผู้พิพากษา หรือตุลาการมีหน้าที่พิจารณาคดีซึ่งถือว่าเป็นผู้ตีความกฎหมาย การตีความโดยศาลนี้ มีน้ำหนักมากกว่าวิธีอื่นและมีความสำคัญที่สุดเพราะถ้าคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การตีความก็เด็ดขาดคดีนั้นต้องบังคับไปตามที่ศาลตัดสิน ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ระบบศาลมีอยู่ 4 ระบบศาล คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม และศาลทหาร
(1) การตีความกฎหมายโดยศาลรัฐธรรมนูญ ในฐานะเป็นผู้ตีความกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อพิพาทตามรัฐธรรมนูญ
(2)การตีความกฎหมายโดยศาลปกครอง ในฐานะเป็นผู้ตีความกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีปกครองระหว่างหน่วยของรัฐกับเอกชน และหน่วยงานของรัฐด้วยกัน หรือหน่วยของรัฐด้วยกันหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐกระทำทางปกครอง
(3)การตีความกฎหมายโดยศาลยุติธรรม ในฐานะเป็นผู้ตีความกฎหมายในการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงเว้นแต่คดีรัฐธรรมนูญนี้ หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองและศาลทหาร
(4)การตีความกฎหมายโดยศาลทหาร ในฐานะเป็นผู้ตีความกฎหมายใน
การพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหารและคดีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ไว้ให้อยู่ในเขตอำนาจศาลทหารเป็นผู้ตีความกฎหมาย
2)การตีความกฎหมายโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ในฐานะเป็นผู้ตีความกฎหมายที่สำคัญ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นผู้ตีความกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งในระดับชาติและท้องถิ่นว่าให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เป็นต้น
3) การตีความโดยองค์กรรัฐสภา ในฐานะ เป็นองค์กรทางการเมืองที่อำนาจหน้าที่ใช้กฎหมายและต้องตีความกฎหมาย องค์กรรัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กำหนดให้ วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎรใช้กฎหมายและตีความกฎหมายในการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
4)การตีความกฎหมายองค์กรรัฐฝ่ายบริหาร องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารซึ่งมีอำนาจในการตีความกฎหมาย แยกได้ 2 ลักษณะคือ
(1)ฝ่ายการการเมือง คือ คณะรัฐมนตรี มีอำนาจตีความกฎหมายว่าอะไร รีบด่วนหรือจำเป็นที่ต้องพระราชกำหนด หรือ ออกมติคณะรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาในการบริหารประเทศ
(2)ฝ่ายประจำซึ่งเรียกว่าองค์กรในฝ่ายปกครอง องค์กรในฝ่ายปกครองซึ่งมีอำนาจตีความกฎหมาย ได้แก่ หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ตำรวจ อัยการ คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี คณะกรรมการฝ่ายบริหารซึ่งมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาท เป็นต้น
ผู้ตีความตามรัฐธรรมนูญในการออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร
การตีความตามรัฐธรรมนูญกับการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรและกำหนดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป วันที่ 2 พฤษภาคม 2549 ซึ่งกำหนดจำนวนวันเลือกตั้งเพียง 37 ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ องค์กรตุลาการองค์กรใดเป็นผู้ตีความว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
เมื่อพิจารณาตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแล้วโดยอาศัยหลักการตีความกฎหมายในระบบซิวิลลอว์ (Civil Law) คือ การตีความตัวอักษรควบคู่ไปกับการตีความตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญในการตีความ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 ตามมาตรา 116 นั้นมีอยู่ด้วย 2 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรนั้นเป็นการยุบสภาฯ เป็นการกระทำของรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารเป็นผู้ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อทรงยุบสภาผู้แทนราษฎร เป็นการใช้อำนาจฝ่ายบริหารที่กำหนดไว้ในระบบรัฐสภา เพื่อให้ฝ่ายบริหารถ่วงดุลและคานอำนาจกับฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นเรื่องความสำคัญระหว่างรัฐบาลกับรัฐสภา ซึ่งเป็นดุลพินิจฝ่ายบริหารอย่างแท้จริงไม่อยู่ภายใต้ตรวจสอบของอำนาจตุลาการ
ส่วนที่ 2 พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดวันเลือกตั้ง แม้จะเป็นการกำหนดโดยรัฐบาล แต่เนื่องจากว่าผู้รับสนองพระบรมราโชวาทตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ที่กำหนดวันเลือกตั้งมีความสัมพันธ์กับการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 145 วรรคหนึ่ง ได้ให้อำนาจไว้มีกำหนดระยะเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการในกระบวนการจัดการเลือกตั้ง การกำหนดวันเลือกตั้งที่รัฐบาลจะต้องกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร จึงจำเป็นต้องประสานงานกับคณะกรรมการเลือกตั้งก่อนและในพระราชกฤษฎีกาส่วนที่ 2 นี้เป็นเรื่องของการกำหนดวันเลือกตั้ง หากมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการก็สามารถที่จะเข้าไปตรวจสอบได้
ผู้เขียนมีความเห็นว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 ตามมาตรา 116 ในการจัดการเลือกตั้งมีปัญหาชอบด้วยรัฐธรรมนูญด้วยเหตุผลดังนี้
พระราชกฤษฎีกายุบสภา ตามมาตรา 116 ที่กำหนดให้เลือกตั้งทั่วไปเพียง 37 วัน ไม่เกิน 45 วัน ไม่มากกว่า 60 วัน เป็น "กฎ" ที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มีข้อพิจารณา คือ
1) จากการวิเคราะห์เหตุผลทางตรรกะของการตีความมาตรา 116 และเจตนารมณ์ของมาตรา 116 ที่ขยายเวลาวันเลือกตั้งไปถึง 60 วัน พออนุมานในชั้นนี้ได้ว่า พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ "มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" (บทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกา คือ จำนวนวัน 37 วัน นั้นขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 116 ประกอบมาตรา 6)
2)พระราชกฤษฎีกายุบสภาฉบับดังกล่าวนี้ มีฐานะทางกฎหมายเป็น "กฎหมาย" หรือเป็น "กฎ" ข้อพิจารณามีดังนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 3 อันเป็นบทนิยามได้ให้ความหมายคำว่า "กฎ" ดังนี้
"กฎ" หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ฯลฯ ซึ่งสอดคล้องกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 27/2544 วินิจฉัยสรุปว่า "กฎหมาย” คือ กฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ เช่นพระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชกำหนด แต่พระราชกฤษฎีกา มีลำดับศักดิ์ทางกฎหมายเป็นเพียง "กฎ" ที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร" หากพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ ก็เข้าไปตรวจสอบได้
ดังนั้นจึงมีปัญหาในเรื่องของการแบ่งอำนาจในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญว่าองค์กรใดเป็นผู้ตีความหรือเป็นผู้ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในเรื่องดังกล่าว ระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับศาลปกครอง ผู้เขียนมีความเห็นว่าหลักเกณฑ์ที่ควรจะนำมาใช้ในการแบ่งแยกเขตอำนาจศาลในการตีความควรอาศัยมาจากที่มาของอำนาจในการตรากฎหมาย คือ หาก “กฎ”นั้นตราโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ หากมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตีความ หาก “กฎ” นั้นออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติหรือกฎหมายที่มีค่าบังคับเท่าพระราชบัญญัติ หากมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็ให้ศาลปกครองเป็นผู้ตีความ
ข้อสังเกต คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 24/2543 ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ออกโดยอาศัยอำนาจพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ สรุปได้ว่าระเบียบที่ออกโดยองค์อิสระตามรัฐธรรมนูญอยู่ในอำนาจการควบคุมของศาลรัฐธรรมนูญ
สรุป กระบวนการออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 ในส่วนที่เป็นเรื่องการกำหนดการเลือกตั้ง แม้จะเป็นการกำหนดโดยรัฐบาล แต่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเลือกตั้งซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามที่รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจไว้ และมีกำหนดระยะเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการในกระบวนการจัดการเลือกตั้ง การกำหนดวันเลือกตั้งที่รัฐบาลจะต้องกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร จึงจำเป็นต้องประสานงานกับคณะกรรมการเลือกตั้งก่อนและในพระราชกฤษฎีกาส่วนที่ 2 นี้เป็นเรื่องของการกำหนดวันเลือกตั้ง หากมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ องค์กรตุลาการที่ใช้อำนาจในการตีความ คือศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนในเรื่องของการจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในลักษณะที่บุคคลภายนอกสามารถสังเกตได้ว่าผู้เลือกตั้งใช้สิทธิหมายเลขใด อันละเมิดหลักการลงคะแนนเลือกตั้งต้องดำเนินการโดยตรงและลับ รวมทั้งมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการสั่งการออกประกาศและออกคำสั่งในเรื่องต่างๆ การสืบสวนเพื่อวินิจฉัยปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตลอดจนการพิจารณาประกาศรับรอง ผลการเลือกตั้งโดยไม่มีการประชุม ปรึกษาหารือ หรือมิได้มีการปรึกษาหารือโดยกรรมการครบถ้วนตามจำนวนที่มีอยู่ รวมถึงการให้ความเห็นชอบ ซึ่งล้วนแล้วเป็นการกระทำทางปกครองขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง องค์กรตุลาการที่ใช้อำนาจในการตีความ คือ ศาลปกครอง
บรรณานุกรม
โกเมศ ขวัญเมือง “ความเห็นการตีความรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการกำหนดวันเลือกตั้ง
ทั่วไป” หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันศุกร์ ที่5 พฤษภาคม 2549
คณิต ณ นคร “ความรับผิดชอบในการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549” หนังสือพิมพ์มติชน
รายวัน วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2549
ชาญชัย แสวงศักดิ์ “หลักการตีความหมาย กับกรณีศึกษา : ปัญหาการแต่งตั้งตุลาการในศาล
ปกครองสูงสุดครั้งแรกและปัญหาลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก
วุฒิสภา กรณี “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม,2543
ธานินทร์ กรัยวิเชียร “คำแนะนำนักศึกษากฎหมาย” กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง ,2518
------------------ และวิชา มหาคุณ “การตีความกฎหมาย” โครงการสืบทอดตำราครูทาง
นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนชวนพิมพ์จำกัด,2539
บรรเจิด สิงคะเนติ “หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญู
ชน,2547
อำพน เจริญชีวินทร์ “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการฟ้องและการดำเนินคดีศาลปกครอง” กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์นิติธรรม,พิมพ์ครั้งที่3 ,2546