[爆卦]สาธารณชน หมายถึง是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇สาธารณชน หมายถึง鄉民發文沒有被收入到精華區:在สาธารณชน หมายถึง這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 สาธารณชน產品中有3篇Facebook貼文,粉絲數超過178萬的網紅ลงทุนแมน,也在其Facebook貼文中提到, ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง อุตสาหกรรมไอที ? ตอนที่ 2 /โดย ลงทุนแมน “ซิลิคอนแวลลีย์ไม่ใช่สถานที่ แต่เป็นวิธีคิด” คำกล่าวของ Reid Hoffman ผู้ก่...

  • สาธารณชน 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文

    2021-07-31 11:01:01
    有 1,189 人按讚

    ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง อุตสาหกรรมไอที ? ตอนที่ 2 /โดย ลงทุนแมน
    “ซิลิคอนแวลลีย์ไม่ใช่สถานที่ แต่เป็นวิธีคิด”
    คำกล่าวของ Reid Hoffman ผู้ก่อตั้ง LinkedIn แพลตฟอร์มเครือข่ายธุรกิจในการหางานและผู้ร่วมงาน ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตซิลิคอนแวลลีย์
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ในแง่สถานที่ ซิลิคอนแวลลีย์ คือ พื้นที่หุบเขาราว ๆ 1,500 ตารางกิโลเมตร บริเวณรอบอ่าวซานฟรานซิสโก ทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา

    ซิลิคอนแวลลีย์ประกอบไปด้วยเมืองน้อยใหญ่ ที่ล้วนเป็นสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเหล่าบริษัทไอทีชั้นนำระดับโลก โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากคำว่า “ซิลิคอนชิป” ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่เป็นหน่วยความจำของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

    ส่วนในแง่วิธีคิด มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดปลูกฝังการศึกษาด้านอิเล็กทรอนิกส์ให้งอกงาม ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนากระบวนการผลิตนักศึกษาให้เป็นนักธุรกิจ
    จนนำมาสู่การก่อตั้งบริษัทไอทีระดับโลกแห่งแรกในซิลิคอนแวลลีย์ คือ Hewlett Packard (HP)

    หลังจากนั้น หุบเขาแห่งนี้ก็เบ่งบานไปด้วยบริษัทไอที ดึงดูดนักประดิษฐ์และผู้คลั่งไคล้เทคโนโลยีจากทั่วโลก ให้เข้ามาสานฝันให้กลายเป็นความจริง

    และเมื่อมี “วิธีคิด” ช่วยส่องสว่าง นวัตกรรมทุกอย่างก็จะมีหนทางไป..

    ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
    ตอน ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง อุตสาหกรรมไอที ? ตอนที่ 2

    ด้วยอาณาบริเวณกว้างใหญ่รอบอ่าวซานฟรานซิสโก ต้นน้ำแห่งนวัตกรรมของซิลิคอนแวลลีย์จึงไม่ได้มีแค่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเท่านั้น

    แต่เหนือขึ้นมาราว 50 กิโลเมตร ยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกอีกแห่งหนึ่ง นั่นคือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์

    มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก่อตั้งในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และสร้างนักประดิษฐ์ วิศวกร ไปจนถึงผู้ประกอบการชั้นยอดมากมาย มาประดับวงการไอที

    หนึ่งในนั้นคือ Fred Moore ผู้ก่อตั้งสมาคมคอมพิวเตอร์โฮมบรูว์ สมาคมที่เป็นสถานที่นัดพบของผู้คลั่งไคล้ในโลกของเทคโนโลยี เป็นที่แลกเปลี่ยนทางความคิด
    โดยความปรารถนาสูงสุดของผู้คนในสมาคมนี้ คือการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขึ้นมาเอง

    ในช่วงปี 1975 ที่มีการก่อตั้งสมาคมแห่งนี้
    ความสำเร็จของการประดิษฐ์ “ไมโครโพรเซสเซอร์” ที่ย่อส่วนแผงวงจรรวมจำนวนมากเข้ามาอยู่ด้วยกันในชิปขนาดเล็ก

    ทำให้ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์จากที่มีขนาดใหญ่โตเท่าห้อง มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ ราคาก็ถูกลงเรื่อย ๆ และด้วยหน่วยความจำที่มากขึ้น ความสามารถในการทำงานจึงสูงขึ้นและรวดเร็วขึ้นเป็นทวีคูณ

    Steve Wozniak นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ได้ชักชวนเพื่อนสมัยมัธยมที่ชื่อ Steve Jobs ให้มาเข้าร่วมสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งนี้..

    Steve Wozniak เป็นผู้คลั่งไคล้ในวิศวกรรมและมีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้น เคยทำงานให้กับ Hewlett Packard

    ส่วน Steve Jobs เป็นผู้มีหัวการค้า มีนิสัยกล้าคิดกล้าทำ เขาเคยทำงานให้กับบริษัทสร้างวิดีโอเกมชื่อ Atari และเคยทำงานในช่วงฤดูร้อนให้กับ Hewlett Packard ด้วยเช่นกัน

    Wozniak ได้นำความรู้และประสบการณ์มาทดลองออกแบบคอมพิวเตอร์ด้วยแนวทางของตัวเอง โดยใช้ชิปเท่าที่จะหาได้ มาประกอบกับคีย์บอร์ด QWERTY และมีจอโทรทัศน์เป็นเครื่องแสดงผลในช่วงแรกเริ่ม

    และเมื่อออกมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล Jobs ก็เป็นผู้เสนอความคิดให้ลองนำสิ่งประดิษฐ์นี้ออกวางขายในเวลาต่อมา

    ผลงานการประดิษฐ์ชิ้นนั้นของ Wozniak ถือเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะรุ่นแรก ๆ ของโลก เครื่องคอมพิวเตอร์นี้ถูกตั้งชื่อต่อมาว่า “Apple I”

    สิ่งสำคัญไม่แพ้การสนับสนุนจากสถาบันการศึกษาก็คือ “เสรีภาพทางความคิด”

    ซิลิคอนแวลลีย์ มีสมาคมมากมายที่เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนทางความคิด นำเสนอไอเดีย จึงกลายเป็นวัฒนธรรมที่หล่อหลอมให้คนรุ่นใหม่กล้าคิดกล้าทำ และเติบโตไปบนหนทางสร้างสรรค์ที่ตัวเองตั้งใจ

    คอมพิวเตอร์ของ Wozniak ก็ถูกนำเสนอแก่สายตาสมาชิกในสมาคมโฮมบรูว์ในช่วงปลายปี 1975 ซึ่งหนึ่งในผู้เข้ามาร่วมชม คือ เจ้าของร้าน The Byte Shop ร้านขายของเบ็ดเตล็ดและอุปกรณ์ไอที
    ที่เกิดความประทับใจกับคอมพิวเตอร์ชิ้นนี้มาก จึงได้สั่งซื้อคอมพิวเตอร์นี้ถึง 50 เครื่อง

    แล้วก้าวแรกของบริษัท Apple ก็เริ่มต้นขึ้นในเมืองคูเปอร์ติโน ทางตอนใต้ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในอีก 1 ปีถัดมา..

    ใครจะไปเชื่อว่า จากบริษัทเล็ก ๆ ที่มีผู้ก่อตั้งเป็นผู้คลั่งไคล้เทคโนโลยี 2 คน
    ในปี 1980 หลังการก่อตั้งเพียง 4 ปี บริษัทสามารถเติบโตจนเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นในฐานะบริษัทมหาชนได้สำเร็จ และได้กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ในตอนนี้..

    เมื่อมีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแล้ว อีกหนึ่งก้าวสำคัญของซิลิคอนแวลลีย์ ก็เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970s
    นั่นก็คือ จุดเริ่มต้นของ “อินเทอร์เน็ต”

    เมื่อบริษัทไอที ชื่อ Xerox ได้จัดตั้งศูนย์วิจัยในเมืองพาโล อัลโต ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ชื่อว่า Xerox Palo Alto Research Center หรือ Xerox PARC

    Xerox PARC ได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีเชื่อมต่อ จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ในยุคแรกที่มีชื่อว่า ระบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet)

    อีเทอร์เน็ต ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1973 โดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครื่องพิมพ์ ผ่านเครือข่ายบริเวณระยะใกล้ หรือเครือข่าย LAN (Local Area Network)

    ต่อมาในปี 1978 Vint Cerf ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ร่วมมือกับ Bob Kahn พัฒนาโพรโทคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

    ซึ่งโพรโทคอลที่ว่านี้ คือชุดของขั้นตอนและกฎระเบียบ ทำให้ภายในชุดกฎระเบียบเดียวกัน ทั้ง 2 เครื่องจะสามารถเข้าใจระบบของกันและกัน และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้

    โดยเฉพาะเลข Internet Protocol (IP) ที่เป็นการปูรากฐานให้กับโลกของอินเทอร์เน็ต
    อุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตจะต้องมีเลขนี้ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน โดย IP จะระบุว่า เครือข่ายต่าง ๆ ควรเชื่อมโยงกันอย่างไร

    เมื่อโลกอินเทอร์เน็ตถูกปูรากฐาน ต่อมาในยุค 1980s ก็เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของการพัฒนาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้ทรงประสิทธิภาพมากขึ้น

    Doug Engelbart นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ได้มาทำงานให้ PARC และได้พัฒนาระบบส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ หรือ Graphic User Interface (GUI)

    จากคอมพิวเตอร์รุ่นแรก ๆ ที่ใช้งานยากและต้องใช้งานผ่านตัวอักษร
    ระบบ GUI ได้เข้ามาช่วยเปลี่ยนการใช้งานให้ง่ายขึ้นผ่านทางสัญลักษณ์หรือภาพ เช่น ไอคอน หน้าต่างการใช้งาน เมนู ปุ่มเลือก รวมถึงการพัฒนา “ตัวชี้ตำแหน่ง X-Y” ซึ่งต่อมาก็คือ “เมาส์”

    ทั้งระบบ GUI และเมาส์นี่เอง ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ Steve Jobs นำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาและเกิดเป็น “Macintosh” ในปี 1984 ซึ่งถือเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรก ๆ ที่มีการออกแบบอย่างเข้าใจผู้ใช้งาน

    ในเวลานี้ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ
    ครัวเรือนชาวอเมริกันที่ครอบครองคอมพิวเตอร์เพิ่มจากร้อยละ 5 ในช่วงต้นทศวรรษ 1980s
    มาเป็นร้อยละ 20 ในปี 1989

    โลกอินเทอร์เน็ตถูกเชื่อมโยงเข้ากับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเปิดทางให้เกิดการพัฒนา World Wide Web ในช่วงปี 1989 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นเมื่อ นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัย CERN ในสวิตเซอร์แลนด์ ต้องการส่งข้อมูลให้กับเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก

    World Wide Web, WWW คือ ระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต จากแหล่งข้อมูลหนึ่ง ไปยังแหล่งข้อมูลที่อยู่ห่างไกลทั่วโลก ให้มีความง่ายต่อการใช้งานมากที่สุด
    โดยผ่านซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า “เบราว์เซอร์”

    แล้ว “สาธารณชน” ในยุค 1990s ก็เข้าถึงโลกอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก!

    สหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศที่มีผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตสัดส่วนสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ในปี 1996 มีชาวอเมริกันเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงถึงร้อยละ 16
    ในขณะที่หลายประเทศในยุโรปตะวันตกยังเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไม่ถึงร้อยละ 5

    การเกิดขึ้นของ World Wide Web ทำให้ย่านซิลิคอนแวลลีย์เริ่มคึกคักไปด้วยบริษัทที่มีโมเดลทำรายได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ถูกมองว่าเป็นนวัตกรรมแห่งอนาคต ขึ้นมามากมาย

    และสิ่งสำคัญที่สุด ที่มีมาตั้งแต่การก่อตั้งบริษัทไอทีในยุค 1950s คือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ Venture Capital ดึงดูดให้บริษัทสตาร์ตอัปมากมาย หลั่งไหลเข้ามาใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบเหล่านี้

    นักศึกษาปริญญาเอกสาขาคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด 2 คน
    คือ Larry Page และ Sergey Brin ได้ร่วมกันพัฒนาโปรแกรมสำหรับใช้ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของ Search Engine

    โดยใช้การทำงานของ Robot ที่ชื่อว่า Spider ซึ่งเป็นตัวสำรวจข้อมูล เมื่อพบข้อมูลที่ต้องการก็จะส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทาง

    ปี 1998 ทั้ง 2 คน ได้ตั้งบริษัทที่ชื่อว่า “Google” ในเมืองเมนโลพาร์ก และ IPO เข้าสู่ตลาดหุ้นในอีก 5 ปีถัดมา

    แล้วก็ไม่ต่างอะไรกับบริษัท Apple เพราะอีก 20 ปีต่อมา บริษัท Google ที่เปลี่ยนชื่อเป็น Alphabet ก็ได้กลายมาเป็น บริษัทที่มีมูลค่าเป็นอันดับ 5 ของโลก..

    แม้ความรุ่งเรืองจากการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต จะพาซิลิคอนแวลลีย์เข้าสู่การเติบโตที่รวดเร็วเกินไปจนเกิดวิกฤติฟองสบู่ดอตคอมในช่วงก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 จนสร้างความเสียหายหลายบริษัทและนักลงทุนในตลาดหุ้นจำนวนมาก

    แต่อย่างไรก็ตาม วิกฤติครั้งนั้น ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการพัฒนาของเทคโนโลยี ณ หุบเขาแห่งนี้ได้

    หลังจากวิกฤติไม่นาน ก็มีการพัฒนาระบบ IPv6 ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน IP ช่วยให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น นอกเหนือจากเครื่องคอมพิวเตอร์

    ซึ่งปูทางมาถึงการเกิดขึ้นของ “สมาร์ตโฟน” โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถในการใช้งานมัลติมีเดีย และเชื่อมต่อเข้ากับโลกอินเทอร์เน็ตอย่างไร้รอยต่อ ด้วยระบบ IPv6

    หนึ่งในสมาร์ตโฟนที่โดดเด่นที่สุดก็คือ iPhone จากบริษัท Apple ที่เปิดตัวในปี 2007
    เช่นเดียวกับ Google ที่ได้เข้าซื้อบริษัท Android และเปิดตัวโทรศัพท์แอนดรอยด์ในปี 2008
    และทั้งสองก็แข่งขันกันพัฒนาระบบปฏิบัติการของตัวเอง

    เมื่อผู้คนเริ่มใช้สมาร์ตโฟนมากขึ้น นำมาสู่การเกิดขึ้นของ “Application” ซอฟต์แวร์ที่ใช้เพื่อช่วยการทำงานต่าง ๆ ของผู้ใช้งาน

    โดยแอปพลิเคชัน จะมีส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) หรือ UI เพื่อเป็นตัวกลางในการใช้งานให้ราบรื่น

    และด้วยความที่ซิลิคอนแวลลีย์เต็มไปด้วย Venture Capital ที่คอยให้เงินทุนสนับสนุนไอเดียล้ำ ๆ
    หุบเขาแห่งนี้ จึงยังคงเป็นแม่เหล็กดึงดูดบริษัทใหม่มากมาย โดยเฉพาะบริษัทที่จะมาสร้างสรรค์เครือข่ายสังคมออนไลน์..

    ปี 2003 LinkedIn เกิดแพลตฟอร์มเครือข่ายธุรกิจในการหางานและผู้ร่วมงาน
    ก่อตั้งโดย Reid Garrett Hoffman วิศวกรที่เคยทำงานให้กับ Apple

    ปี 2004 เกิด Facebook เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้งานหลายพันล้านคนทั่วโลก
    ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากการคิดค้นวิธีการเชื่อมผู้คนในรูปแบบใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ของ Mark Zuckerberg พร้อมกับเพื่อนอีก 4 คน

    ปี 2006 หลังออกจากมหาวิทยาลัย Jack Dorsey พร้อมกับเพื่อนอีก 3 คน
    ได้ก่อตั้งเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภท Microblog ที่แสดงข้อความสั้น ๆ ความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร
    โดยคิดค้นชื่อที่มาจากคำว่า Tweet ซึ่งแปลว่าเสียงนกร้อง Logo ของบริษัทจึงเป็นรูปนก และบริษัทนี้มีชื่อว่า Twitter

    ปี 2009 เกิด WhatsApp แอปพลิเคชันในการติดต่อสื่อสารด้วยข้อความ ก่อตั้งโดย Jan Koum โปรแกรมเมอร์ที่เห็นประโยชน์จากการเกิดขึ้นของสมาร์ตโฟน

    บริษัททั้งหมดล้วนมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในซิลิคอนแวลลีย์
    หุบเขาแห่งเทคโนโลยีแห่งนี้ยังคงดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกให้เข้าไปเติมเต็มความฝัน เพื่อสร้างสรรค์อุปกรณ์ไอทีที่ไฮเทคขึ้นเรื่อย ๆ

    และเปลี่ยนแปลงมาสู่โลกของเครือข่ายอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตและเชื่อมต่อกันและกัน หรือเรียกว่า “Internet of Things” ที่จะเข้ามามีบทบาทในทุกย่างก้าวของชีวิต

    ความสำเร็จของอุตสาหกรรมไอทีที่ทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นมหาอำนาจของโลก ล้วนมีที่มาจากหลายปัจจัย

    ทั้งระบบการศึกษาที่เข้มแข็ง ที่สร้างองค์ความรู้และช่วยวางรากฐานสู่โลกธุรกิจ
    วัฒนธรรมแห่งเสรีภาพ ที่สนับสนุนให้คนรุ่นใหม่กล้าคิดกล้าทำเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
    แหล่งเงินทุน ที่เข้าถึงง่ายและมีหลากหลายรูปแบบ
    และเครือข่ายผู้คิดค้นนวัตกรรมที่เติมเต็มความฝันต่อยอดกันไปไม่รู้จบ

    หากถามว่า อิทธิพลทางเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาจะคงอยู่อีกนานแค่ไหน ?

    เมื่อไรที่มนุษย์จะหยุดฝัน เมื่อนั้นอาจเป็นคำตอบ..
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - longtunman.com
    Blockdit - blockdit.com/longtunman
    Facebook - facebook.com/longtunman
    Twitter - twitter.com/longtunman
    Instagram - instagram.com/longtunman
    Line - page.line.me/longtunman
    YouTube - youtube.com/longtunman
    Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
    Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
    Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
    References:
    -มิเชลล์ ควินน์, เมื่อซิลิคอนแวลลีย์เติบใหญ่ นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2562
    -https://www.parc.com/about-parc/parc-history/
    -https://www.internetsociety.org/wp-content/uploads/2017/09/ISOC-History-of-the-Internet_1997.pdf
    -https://searchnetworking.techtarget.com/definition/TCP-IP
    -https://www.lifewire.com/transmission-control-protocol-and-internet-protocol-816255
    -https://tradingeconomics.com/united-states/personal-computers-per-100-people-wb-data.html
    -https://www.businessinsider.com.au/highest-valued-public-companies-apple-aramco-biggest-market-cap-2020-1
    -https://www.forbes.com/profile/reid-hoffman/#5f276ca61849
    -http://startitup.in.th/the-rags-to-rich-jan-koum-whatsapp-co-founder-startup-story/
    -https://www.set.or.th/set/enterprise/html.do?name=vc

  • สาธารณชน 在 DJ Suharit Siamwalla Facebook 的最讚貼文

    2017-06-22 19:30:36
    有 506 人按讚


    อันดับความน่าสะพรึงของอิสตรี
    10 สวยมากเหลือเชื่อแต่เป้าตุง
    9 จะขอเดทต้องถามแม่ก่อน พอแม่ให้ไปเดท เฮ้ยพี่โต้....ชนเว้ย เอ้าดื่ม ดื่มเพื่อลืมมัน ไอ้แฟนเลว
    8 เรียบร้อยสุดๆ แต่งกายเรียบร้อยมาก พอไปหัวหินเท่านั้นแหละ โหย แต่ละชุด เลือดกำเดาพุ่ง cicada มาก
    7 ตอนงานแต่ง ณ สาธารณชน ก้มกราบแบบอ่อนช้อย พอถึงห้องหอ.....ไอ้โต้ มึงถอดกิ๊ปผมกูเดี๋ยวนี้เลย แกะให้เสร็จหลับเฉย
    6 เวลาอยู่กับเราสวยเฉยๆ พอจะไปกับเพื่อนเท่านั้นแหละ จะสวยไปไหนวะ คือสวย sexy มากอ่ะ หึงโว้ย ชิส์
    5 เวลาถามว่าเป็นอะไร ไม่ตอบ เงียบ แสยะยิ้ม แล้วถามคำถามเราว่าไปทำอะไรมา มีอะไรหรือเปล่าคะที่รัก อันนี้เสียวมากๆ กูตาย ตายแน่ๆ
    4 เวลาอ่อนหวานมากๆ เอาใจมากๆ สวยมากๆ หอมมากๆ น่ากอด น่าหอม แล้วถือมีดมาขอดูโทรศัพท์
    3 นั่งดูสมุดรุ่นของแฟนสาว แล้วหาแฟนไม่เจอ เจอแต่คนคล้ายๆ ชื่อนามสกุลเดียวกัน แปลกมากๆ พอเดินไปถามก็บอกว่ามันพิมพ์รูปผิด
    2 เลิกบ่น เลิกโทรตาม เลิกให้จับมือ แต่งตัวมิดชิดมานอน
    1 ดูซีรี่ส์เกาหลี เอากระดาษมาเช็ดเลือดกำเดาตลอดเวลา หันมามองเราแล้วเบ้ปาก กลับไปดูอีเกาหลีต่อ ซับเลือดกำเดาไม่หยุด เลิกไว้เล็บยาวบางนิ้ว
    อิสตรีคือผู้มีอำนาจ
    สุหฤท สยามกูยอมแระครับ

  • สาธารณชน 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答

    2013-09-10 23:08:11
    有 2 人按讚

    กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: การคืนอำนาจแก่เหยื่ออาชญากรรมและชุมชน

    งานวิจัยจุฑารัตน์ เอื้ออำนวยและคณะที่ได้ทุนสนับสนุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) .2548 เรื่อง “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : การคืนอำนาจแก่เหยื่ออาชญากรรมและชุมชน” ได้กล่าวถึงแนวคิดกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เริ่มปรากฏขึ้นใหม่ในสังคมและได้รับความนิยมจากกลุ่มนักคิดทวนกระแสทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับนั้นได้มีบรรดาข้อถกเถียงทางวิชาการในประเด็นต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย บ้างก็เป็นการเสริมประเด็นสนับสนุนแนวคิดกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ บ้างก็เป็นประเด็นเชิงหักล้างที่ไม่เห็นด้วยกับการมอบอำนาจชี้ขาดความยุติธรรมทางสังคมให้แก่ผู้อื่นหรือกลุ่มบุคคลอื่นๆ หรือยังกังวลใจในการยินยอมให้ประชาชนทั่วไปมีอำนาจดำเนินการควบคุมสังคมโดยยังคงเชื่อมั่นว่าหน้าที่การควบคุมสังคมควรจะต้องเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น ดังนี้

    “รัฐ” ควรคืนอำนาจแก่เหยื่ออาชญากรรมและชุมชน

    งานวิจัยจุฑารัตน์ เอื้ออำนวยและคณะ ได้กล่าวถึง “รัฐ” ควรคืนอำนาจการอำนวยความยุติธรรมบางลักษณะแก่เหยื่ออาชญากรรมและชุมชนไปจัดการดูแลและใช้อำนาจควบคุมสังคมกันเองนั้นเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบที่ชัดเจนลงไปว่า ควรเป็นภาคส่วนใดของรัฐที่ควรคืนอำนาจเหล่านี้ให้แก่ประชาชน กล่าวคือ ควรเป็นภาคส่วนที่คุมอำนาจบริหาร หรือภาคส่วนที่คุมอำนาจตุลาการของสังคม เพราะลำพังฝ่ายบริหารจะสามารถจัดการผ่องถ่ายอำนาจได้เฉพาะส่วนที่เป็นอำนาจกึ่งตุลาการ (Quasi judicial Power) เท่าที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารและเท่าที่กฎหมายกำหนดให้กระทำได้เท่านั้น เช่น อำนาจของหน่วยงานตำรวจ และอัยการ ส่วนฝ่ายตุลาการเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของประเทศในกิจการงานตุลาการทั้งหลายทั้งปวงเพื่อประสาทความยุติธรรมตามหน้าที่ที่กฎหมายให้อำนาจไว้
    อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการยินยอมคืนอำนาจให้เหยื่ออาชญากรรมและชุมชนของฝ่ายใดก็ตาม ฝ่ายนิติบัญญัติก็น่าที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะของภาคส่วนที่กำหนดกฎ กติกาใช้บังคับควบคุมสังคมอย่างเป็นทางการมากที่สุด คือ กำหนดออกมาในรูปของกฎหมายที่ทุกฝ่ายยินยอมและเห็นพ้องต้องกัน ที่สำคัญคือ สังคมควรต้องมีการถกเถียงทางวิชาการอย่างจริงจังและเห็นพ้องต้องกันก่อนว่า การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้อย่างมีกฎหมายและกลไกกระบวนการทางสังคมรองรับต่อไปนั้นมิใช่เป็นการลดทอนอำนาจตุลาการและเพิ่มอำนาจให้แก่ฝ่ายบริหารมีอำนาจจัดการด้านงานยุติธรรมในสังคมแต่อย่างใด แต่เป็นการที่ทั้งสองฝ่ายต่างยินยอมลดทอนอำนาจการควบคุมสังคมของฝ่ายตนลงเพื่อให้ประชาชนเจ้าของอำนาจเดิมได้มีโอกาสมีส่วนร่วมใช้อำนาจบางส่วนควบคุมชุมชนสังคมของตนเองต่างหาก ซึ่งประชาชนเจ้าของอำนาจเดิมนั้นในที่นี้ปรากฏในรูปของ “เหยื่ออาชญากรรม” และ “ชุมชน” ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขเยียวยาเหยื่ออาชญากรรมและผู้กระทำความผิดที่เป็นสมาชิกชุมชนของตนเป็นสำคัญ

    มิติด้านสังคมและวัฒนธรรมของการคืนอำนาจการอำนวยความยุติธรรมแก่เหยื่ออาชญากรรม

    งานวิจัยจุฑารัตน์ เอื้ออำนวยและคณะ ได้กล่าวถึงผู้มีส่วนได้เสียในอาชญากรรมที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง รวมทั้งวิเคราะห์ถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมแล้ว พบว่า อาชญากรรมก่อให้เกิดผลกระทบแก่ผู้คนกลุ่มต่างๆ ในวงกว้าง คือ มีทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมโดยตรง ได้แก่ ผู้กระทำความผิด เหยื่ออาชญากรรม ครอบครัวเหยื่ออาชญากรรมครอบครัวผู้กระทำผิด เพื่อนสนิท พยานผู้เห็นเหตุการณ์ เพื่อนบ้านและชุมชนใกล้ชิด รวมทั้งหน่วยปกครองท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชนท้องถิ่น ส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมโดยอ้อม ได้แก่ สาธารณชน องค์กรภาคเอกชนระดับชาติ สังคมส่วนรวม รัฐบาลและประเทศชาติที่สะท้อนถึงความล่มสลายของระบบการควบคุมสังคมและระบบข่ายใยของวัฒนธรรมที่โยงยึดควบคุมบรรดาสมาชิกให้อยู่ในบรรทัดฐานเดียวกัน เรียกได้ว่าได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมมากบ้างน้อยบ้างในทุกภาคส่วนของสังคม
    กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่เปิดมิติด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องขึ้นใหม่อีกครั้ง ภายหลังจากที่ต่างก็สูญเสียความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันไปชั่วขณะหนึ่งเมื่อเกิดอาชญากรรมขึ้น มิติใหม่นี้เป็นมิติที่มีความหวังเกิดขึ้นในการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างกลุ่มต่างๆ และเป็นการมองปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยกรอบทัศนะที่แตกต่างออกไปโดยมิได้จำกัดอยู่เพียงกรอบทัศนะทางด้านกฎหมายเท่านั้น คือ
    1.เหยื่ออาชญากรรมกับอำนาจที่ได้รับคืนมาจากผู้กระทำความผิด เมื่อมีอาชญากรรมเกิดขึ้น เหยื่ออาชญากรรมซึ่งเป็นผู้ถูกกระทำที่อาจได้รับอันตรายทั้งทางร่างกาย ทรัพย์สิน และทางจิตใจ ย่อมรู้สึก “สูญเสียอำนาจ” รวมทั้งสูญเสียความสามารถในการควบคุมชีวิตความเป็นอยู่ของตนไปขณะหนึ่ง ขึ้นอยู่กับการปรับตัวของแต่ละคนว่าจะสามารถปรับจิตใจยอมรับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วมากน้อยเพียงใด กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ช่วยทำให้เกิดเวทีที่ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูล อารมณ์ความรู้สึก และแสดงการขออภัย – ให้อภัยซึ่งกันและกัน
    2.เหยื่ออาชญากรรมกับอำนาจที่ได้รับคืนมาจากกระบวนการยุติธรรมระบบงานยุติธรรมจัดว่าเป็นบริการพื้นฐานของสังคมที่ผู้รับบริการทุกฝ่ายควรได้รับบริการอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกันรวมทั้งเหยื่ออาชญากรรมด้วย แม้ว่า กฎหมายจะเป็นอุปสรรคที่ไม่เปิดช่องให้ระบบยุติธรรมเอื้อต่อการจัดบริการโดยคำนึงถึงความรู้สึกของเหยื่ออาชญากรรมมากนักก็ตาม แต่การจัดบริการโดยหน่วยงานอื่นๆ ของกระทรวงยุติธรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุน ให้การเยียวยาและให้กำลังใจแก่บรรดาเหยื่ออาชญากรรมทั้งหลายในฐานะหน่วยงานที่ให้บริการพื้นฐานด้านงานยุติธรรมของรัฐแก่ประชาชนนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ รวมทั้งการเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายบางฉบับให้คุ้มครองเหยื่ออาชญากรรมและกระบวนการเรียกร้องเพื่อให้มีการชดใช้ค่าเสียหายระหว่างผู้กระทำความผิดกับเหยื่ออาชญากรรมให้มากขึ้นอย่างน้อยที่สุดก็ควรจะให้เกิดความสมดุลกับกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญาที่อยู่มากมายหลายฉบับในปัจจุบัน จึงอาจกล่าวได้ว่า การที่กระบวนการยุติธรรมไม่ละเลยต่อสิทธิพื้นฐานอันพึงมีพึงได้ของเหยื่ออาชญากรรมและการช่วยเป็นแกนนำผลักดันให้มีการประกาศและรับรองสิทธิของเหยื่ออาชญากรรมอย่างแพร่หลายในสังคมนั้น นับได้ว่าเป็น “การคืนอำนาจ” และ “การเสริมพลัง” แก่ประชาชนกลุ่มที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมซึ่งถูกผลักดันให้อยู่ชายขอบของกระบวนการยุติธรรมทางหนึ่งเช่นกัน
    3. เหยื่ออาชญากรรมกับการได้รับการเสริมพลังอำนาจจากชุมชนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เป็นต้นมา เป็นเวลากว่า 50 ปีที่สังคมไทยได้มีการนำวิธีการคุมประพฤติผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนมาใช้ และในปี พ.ศ. 2522 ได้นำวิธีการคุมประพฤติผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่มาใช้ในระยะต่อมา ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดในชุมชนทางหนึ่งคือเป็นทางเลือกแทนการลงโทษผู้กระทำความผิดคดีที่ไม่ร้ายแรงในเรือนจำ และทำให้สังคมได้มีโอกาสนำ “ทรัพยากรชุมชน” ที่มีคุณค่าทั้งด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและการเป็นเวทีฝึกปฏิบัติจริงมาใช้ “เสริมพลัง” ผู้กระทำความผิดให้แก้ไขปรับปรุงความประพฤติและกลับตนเป็นพลเมืองดีต่อไป
    การที่สังคมได้จุดประกายแนวคิดกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ที่มีองค์ประกอบสำคัญคือการให้ความสำคัญกับผู้ที่ถูกกระทำหรือเหยื่ออาชญากรรมไม่น้อยไปกว่าองค์ประกอบอื่นๆ คือผู้กระทำความผิดและชุมชนนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สังคมอาจถือโอกาสนี้ในการกำหนดนโยบาย สร้างกิจกรรม และกระตุ้นให้ชุมชนได้มีส่วนสำคัญในการเสริมพลังแก่เหยื่ออาชญากรรมซึ่งก็คือสมาชิกส่วนหนึ่งของชุมชนให้มากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับที่ชุมชนได้เสริมพลังแก่ผู้กระทำความผิดที่พลาดพลั้งไปและรับกลับคืนสู่ชุมชนด้วยดีตลอดมา รวมทั้งเป็นการตระเตรียมการให้ชุมชนได้เรียนรู้ที่จะป้องกันลูกหลานและเพื่อนบ้านของชุมชน จากกรณีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ปลอดภัยจากอาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้นซ้ำรอยเดิมในอนาคตได้อีกทางหนึ่ง ตามแนวทางของยุติธรรมชุมชนที่เน้นการป้องกันอาชญากรรมต่อไป

    มิติด้านสังคมและวัฒนธรรมของการคืนอำนาจการอำนวยความยุติธรรมแก่ชุมชน

    งานวิจัยจุฑารัตน์ เอื้ออำนวยและคณะได้กล่าวถึงมิติด้านสังคมและวัฒนธรรมของการคืนอำนาจการอำนวยความยุติธรรมแก่ชุมชน ดังนี้
    1.ชุมชนกับบทบาทหน้าที่ในการป้องกันอาชญากรรม การรื้อฟื้นแนวคิดยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้อีกครั้งนั้น ทำให้แนวคิดยุติธรรมชุมชน (Community Justice) ซึ่งส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อนำไปสู่การมีพลวัตเชิงสร้างสรรค์ในการป้องกันชุมชนจากอาชญากรรมได้รับความสนใจตามมาด้วย โดยแนวคิดยุติธรรมชุมชนมุ่งให้ความสนใจป้องกันปัญหาอาชญากรรมที่ชุมชนเป็นสำคัญ ด้วยการจัดให้ประชาชนรู้จักป้องกันตนเองและลูกหลานมิให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม รวมทั้งป้องกันตนเองและลูกหลานไม่ให้ประกอบอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นการเสริมพลังทางบวกและเป็นรากฐานแห่งระบบยุติธรรมในอนาคตที่สำคัญยิ่งทางหนึ่ง
    2.ชุมชนกับบทบาทหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม อาชญากรรมที่เกิดขึ้นทุกครั้งมีลักษณะที่เป็นการลดทอนความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม เมื่อปัญหาอาชญากรรมเกิดขึ้นที่ชุมชน เกิดจากคนในชุมชนกระทำแก่คนในชุมชนด้วยกันเอง ปัญหาอาชญากรรมเหล่านั้นก็ควรได้รับการควบคุมแก้ไขโดยชุมชนเช่นกัน บทบาทหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมนี้จึงไม่อาจพรากไปจากความรับผิดชอบของชุมชนได้ เพราะเป็นบทบาทที่สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของผู้คนในสังคมให้กลับคืนมาอีกครั้งและเมื่อใดก็ตามที่ระบบกลไกที่สลับซับซ้อนทางสังคมได้ริบเอาหน้าที่ดังกล่าวไปจากชุมชนไปเป็นของรัฐหรือหน่วยงานทางสังคมที่มีอำนาจมากกว่าแล้ว ย่อมส่งผลให้การควบคุมปัญหาอาชญากรรมในชุมชนไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังเช่นที่หลายประเทศต้องประสบกับปัญหาการควบคุมอาชญากรรมทั้งหลายในสังคมในปัจจุบัน รวมทั้งสังคมไทยด้วย
    การคืนอำนาจการอำนวยความยุติธรรมแก่ชุมชนจึงเป็นการเสริมพลังชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนปฏิกิริยาของชุมชนและวิธีการปฏิบัติงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทั้งองคาพยพเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาแบบธรรมเนียมนิยมไปสู่ปฏิกิริยาแบบกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ที่เชื่อมโยงเสริมพลังกันเป็นเครือข่าย
    ในงานวิจัยของจุฑารัตน์ เอื้ออำนวยและคณะได้กล่าวสรุป “การคืน “อำนาจ” แก่เหยื่ออาชญากรรมและชุมชน” ว่าเป็นกระบวนวิธีการและกลไกของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เป็นกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์โยงใยกันระหว่าง “เหยื่ออาชญากรรม – ผู้กระทำความผิด – ชุมชน” เมื่อมีการคืนอำนาจและเสริมพลังแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายในปัญหาอาชญากรรม คือ เหยื่อ – ผู้กระทำผิด –ชุมชนอย่างครบถ้วนเสมอภาคกันแล้ว ย่อมนำมาซึ่งความสมานฉันท์สันติสุขของสังคมส่วนรวม (social harmony) ดังที่แนวคิดกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ได้กำหนดไว้เป็นเป้าหมายสุดท้ายที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมบรรลุถึงได้ทั่วหน้ากันในระยะเวลาอันสมควร

你可能也想看看

搜尋相關網站