[爆卦]สัญญาขันธ์ หมายถึง是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇สัญญาขันธ์ หมายถึง鄉民發文沒有被收入到精華區:在สัญญาขันธ์ หมายถึง這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 สัญญาขันธ์產品中有1篇Facebook貼文,粉絲數超過292萬的網紅โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ,也在其Facebook貼文中提到, บทอนัตตลักขณสูตร เจ้าคุณพระพรหมมังคลาจารย์(เจ้าคุณธงชัย) ได้กำหนดให้เจริญ พระพุทธมนต์บทนี้ ในวาระ ท่ีดาวมฤตยูโคจรย้ายราศี ในวันท่ี 6 มีนาคมนี้ มีท่ีมา...

สัญญาขันธ์ 在 Kittiphong Thamsaranachot Instagram 的精選貼文

2020-05-10 11:47:40

-หยุดใคร่ครวญถึงอดีต(สัญญาขันธ์) -หยุดกังวลเรื่องอนาคต(สังขารขันธ์) -ตั้งตนอยู่กับปัจจุบันขณะ รู้ลมหายใจเข้าออกที่มันยังมีเหลืออยู่ก็พอ(รูปขันธ์) #พุท...

  • สัญญาขันธ์ 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最讚貼文

    2016-03-03 20:09:55
    有 4,920 人按讚

    บทอนัตตลักขณสูตร เจ้าคุณพระพรหมมังคลาจารย์(เจ้าคุณธงชัย) ได้กำหนดให้เจริญ พระพุทธมนต์บทนี้ ในวาระ ท่ีดาวมฤตยูโคจรย้ายราศี ในวันท่ี 6 มีนาคมนี้ มีท่ีมาอย่างไร มีข้อมูลตามนี้ครับ

    ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร
    สมเด็จพระศาสดาทรงเข้าพรรษาอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันเป็นพรรษาแรก ทรงสั่งสอนปัญวัคคีย์ที่เหลืออีก ๔ ท่านด้วยพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ดเรียกว่า “ปกิณณกเทศนา” ยังผลให้ได้บรรลุพระโสดาปัตติผลได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นเดียวกับท่านอัญญาโกณฑัญญะโดยลำดับ ท่านวัปปะ บรรลุในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ท่านภัททิยา บรรลุในวันแรม ๒ ค่ำ ท่านมหานามะ บรรลุในวันแรม ๓ ค่ำ และท่านอัสสชิ บรรลุในวันแรม ๔ ค่ำ และต่างได้รับการอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา

    ครั้นถึงวันแรม ๕ ค่ำเดือน ๘ พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร อันมีใจความเกี่ยวกับ ความไม่ใช่ตัวตนของ รูป คือ ร่างกาย เวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ สังขาร คือ ความคิดหรือเจตนา วิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางตา หู เป็นต้น หรือเรียกอีกประการหนึ่งว่า อายตนะทั้ง ๖ อันได้แก่สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ฯลฯ โปรดพระปัญจวัคคีย์ภิกษุทั้ง ๕ รูปนั้นให้บรรลุพระอรหันต์เป็น อเสขอริยบุคคล คือบุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา หรือ ผู้จบการศึกษา คือ ผู้สำเร็จบรรลุแล้ว ในพระพุทธศานา ดังนั้นจึงได้มีพระอรหันต์บังเกิดขึ้นในโลกรวม ๖ องค์ คือ พระบรมศาสดา และพระสาวกอีก ๕ องค์

    สำหรับพระอัญญาโกณฑัญญะนั้น ต่อมาท่านได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็น เอตทัคคะ แปลว่า ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง เป็นเลิศในด้านรัตตัญญู แปลว่า ผู้รู้ราตรี หรือ ผู้มีประสบการณ์ผ่านชีวิตมามาก และท่านมีน้องสาวคนหนึ่งชื่อนางมันตานีซึ่งมีบุตรชื่อปุณณมาณพ ต่อมาพระอัญญาโกณฑะได้อุปสมบทให้แก่หลานของท่านอันปรากฏชื่อภายหลังว่า พระปุณณะ มันตานีบุตร ซึ่งเป็นพุทธสาวกองค์หนึ่งที่มีความรู้ทางพระพุทธศาสนาแตกฉานมาก เพราะได้ศึกษาจากท่านอัญญาโกณฑัญญะนั่นเอง แม้พระสารีบุตรยังปรารถนาจะสนทนาธรรมกับพระปุณณะ มันตานีบุตรซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะเลิศในทางพระธรรมกถึก คือ ผู้แสดงธรรม

    อนัตตลักขณสูตร

    อนัตตลักขณสูตร แปลว่า พระสูตรที่แสดงลักษณะ คือ เครื่องกำหนดหมายว่าเป็นอนัตตา มิใช่อัตตาตัวตน พระสูตรนี้มีใจความโดยย่อดังต่อไปนี้

    ตอนที่ ๑ พระบรมศาสดาได้ทรงแสดง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอนัตตา มิใช่อัตตาตัวตน ถ้าทั้งห้านี้ พึงเป็นอัตตาตัวตน ทั้งห้านี้ก็ถึงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลก็จะพึงได้ในส่วนทั้งห้านี้ว่า ขอให้เป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุว่าทั้งห้านี้มิใช่อัตตาตัวตน ฉะนั้น ทั้งห้านี้จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลก็ย่อมไม่ได้ส่วนทั้งห้านี้ว่า ขอให้เป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

    ตอนที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอบความรู้ความเห็นของท่านทั้งห้านั้น ตรัสถามว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งห้านี้เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านทั้งห้า ทูลตอบว่า ไม่เที่ยง ตรัสถามอีกว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ท่านทั้งห้ากราบทูลว่าเป็นทุกข์ ก็ตรัสถามต่อไปว่า สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือจะเห็นสิ่งนั้น.

    ตอนที่ ๓ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรุปลงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งห้านี้ที่เป็นส่วนอดีตก็ดี เป็นส่วนอนาคตก็ดี เป็นส่วนปัจจุบันก็ดี เป็นส่วนภายในก็ดี เป็นส่วนภายนอกก็ดี เป็นส่วนหยาบก็ดี เป็นส่วนละเอียดก็ดี เป็นส่วนเลวก็ดี เป็นส่วนประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี ทั้งหมดก็สักแต่ว่าเป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ ควรเป็นด้วยปัญญาชอบ ตามที่เป็นแล้วว่า นี่ไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นี่ นี่ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

    ตอนที่ ๔ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงผลทีเกิดแก่ผู้ฟังและเกิดความรู้เห็นชอบดั่งกล่าวมานั้นต่อไปว่า อริยสาวก คือ ผู้ฟังผู้ประเสริฐซึ่งได้สดับแล้วอย่างนี้ ย่อมเกิดนิพพิทา คือ ความหน่ายในรูป หน่ายในเวทนา หน่ายใน
    สัญญา หน่ายในสังขาร หน่ายในวิญญาณ เมื่อหน่ายก็ย่อมสิ้นราคะ คือ สิ้นความติด ความยินดี ความกำหนัด เมื้อสิ้นราคะ ก็ย่อมวิมุตติ คือ หลุดพ้น เมื่อวิมุตติ ก็ย่อมมีญาณ คือความรู้ว่าวิมุตติ หลุดพ้นแล้ว และย่อมรู้ว่า ชาติ คือ ความเกิดสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นที่จะพึงทำเพื่อความเป็นเช่นนี้อีกต่อไป.

    พระธรรมสังคาหกาจารย์ หรือ พระอาจารย์ผู้ทำสังคายนาร้อยกรองตั้งเป็นพระบาลีไว้ ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายพระสูตรว่า เมื่อท่านทั้ง ๕ ได้สดับสูตรนี้จบแล้ว ก็มีใจปีติโสมนัสแนบแน่น จิตของท่านของทั้ง ๕ ก็พันจากอาสวกิเลส คือได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้ง ๕ รูป

    พระสูตรที่ ๒ นี้มีใจความดังที่ย่อมากล่าวนั้น แต่ก็ควรทำความเข้าใจสืบต่อไป

    จุดมุ่งของพระสูตรนี้ ต้องการที่จะชี้อนัตตา เพราะได้มีความเข้าใจในเรื่องอัตตาที่แปลกันว่า ตัวตน และมีความเชื่อมั่นกันอยู่หลายแห่ง แต่เมื่อสรุปแล้วก็มักจะมี ทิฏฐิ คือ ความเห็นกันอยู่ ๒ อย่าง

    สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง อย่าง ๑
    อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญอย่าง ๑
    สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยงนั้น คือ เห็นว่าในปัจจุบันชาตินี้ก็มีอัตตา คือ ตัวตน เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วอัตตาคือตัวตนก็ยังไม่สิ้น ยังจะมีสืบภพชาติต่อไป มีชาติหน้าเรื่อยไปไม่มีขาดสูญ แปลว่า มี อัตตา คือ ตัวตนยืนที่ตลอดไป นี้เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ คือความเห็นว่าเที่ยง ส่วนที่มีความเห็นว่าขาดสูญอันเรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ นั้น คือเห็นว่ามีอัตตาตัวตนอยู่ แต่ในปัจจุบันชาตินี้เท่านั้น เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วอัตตาตัวตนก็สิ้นไป ไม่มีอะไรเหลืออยู่ที่จะให้ไปเกิด ดั่งที่เห็นว่า ตายสูญ นี่เรียกว่าอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ

    ในทางพระพุทธศาสนาแสดงว่า ความเห็นทั้ง ๒ นี้เป็น มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด ทั้ง ๒ อย่าง คือเห็นว่าเที่ยงก็ผิด เห็นว่าขาดสูญก็ผิด เพราะทางพระพุทธศาสนาไม่ยอมชี้ว่ามีอะไรเป็นอัตตาคือตัวตน ที่จะให้เป็นที่ตั้งของอุปาทาน คือ ความยึดถืออยู่ในสิ่งนั้นเองยังมีอุปาทานคือความยึดถืออยู่ ก็ยังไม่สิ้นกิเลสและสิ้นทุกข์ เพราะความยึดถือนั้นเป็นตัวกิเลส แต่ว่าได้แสดงเป็นหลักเหตุผลในปฏิจจสมุปบาท ยกมากล่าวเฉพาะที่เกี่ยวข้องว่า เมื่อยังมีอวิชชา เป็นต้น ก็ยังต้องมีชาติคือความเกิด เมื่อสิ้นอวิชชาเป็นต้น ก็สิ้นชาติคือความเกิด ทางพระพุทธศาสนาแสดง เหตุผลดั่งนี้ และไม่ชี้ด้วยว่า จะเป็นชาติอดีต ชาติอนาคต หรือชาติปัจจุบัน สุดแต่ว่าจะยังมีเหตุมีผลดั่งกล่าวนี้ สัมพันธ์กันอยู่อย่างไรเท่านั้น กาลเมื่อไรไม่เป็นข้อสำคัญ สำคัญอยู่แต่ว่า เมื่อยังมีเหตุก็มีผล เมื่อสิ้นเหตุก็สิ้นผล

    คราวนี้ผู้ที่ยังมีความเห็นว่ามี อัตตา คือมี ตัวตน นั้น จะเป็นอัตตาคือตัวตนเฉพาะในปัจจุบันหรือจะสืบต่อไปในอนาคตก็ตาม ก็จะต้องมีความเห็นสืบต่อไปว่าอะไรคืออัตตาตัวตน โดยมากนั้นย่อมมีความยึดถืออยู่ในรูปบ้าง ในเวทนาบ้าง ในสัญญาบ้าง ในสังขารบ้าง ในวิญญาณบ้าง ว่าเป็นอัตตาคือตัวตน

    รูปนั้น ก็ได้แก่รูปกายทั้งหมด ที่ประกอบด้วยอาการต่าง ๆ ทั้งภายนอกทั้งภายใน ดั่งที่เรียกว่าอาการ ๓๑ หรือ ๓๒ หรือจะแยกให้ละเอียดไปกว่านั้นในทางสรีรวิทยาก็ตาม หรือว่าจะกล่าวโดยสรุปก็ได้แก่ มหาภูตรูป รูปที่เป็นใหญ่ มุ่งถึงส่วนที่เป็นธาตุทั้ง ๔ และ อุปาทายรูป รูปอาศัย เช่นประสาทต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่กับรูปใหญ่นั้นก็ตาม ทั้งหมดรวมเรียนกว่ารูป เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า รูปขันธ์ แปลว่า กองรูป หรือ หมวดรูป เพราะว่ามีลักษณะอาการ มีส่วนประกอบมากมายด้วยกัน ตามตำราศัพท์เล่าว่า ครั้งเดิมทีเดียว คนเราสังเกตเอาว่าเมื่อหัวใจยังเต้นตุ๊บ ๆ อยู่ ก็ยังมีชีวะหรือยังมีอัตตาตัวตนอยู่ เมื่อดับลมหายใจเสียแล้ว ก็สิ้นชีวะ อัตตาตัวตนก็ดับ จึงเรียกลมหายใจว่า อัตตา ในสันสกฤตเรียกว่า อามตัน บาลีก็เป็น อัตตา อาตมันนี้ก็ไปตรงกับศัพท์กิริยาในภาษาเยอรมัน แปลว่า หายใจเหมือนกัน แล้วก็เขียนอ่านว่าเป็นอาตมัน เหมือนอย่างสันสกฤต นี่แสดงว่าคนครั้งดั้งเดิมนั้น เข้าใจว่าอัตราก็อยู่ที่ลมหายใจนี่แหละ ตั้งชื่อเรียกว่า อาตมัน มาตรงกับบาลีว่า อัตตา นี่เข้าใจแต่รูปเท่านี้

    อนึ่ง ก็เข้าใจว่าอัตตาอยู่ที่เวทนา เวทนาก็ได้แก่ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นกลาง ๆ ไปทุกข์ไม่สุขบ้าง ลำพังรูปแม้จะยังหายใจอยู่ ถ้าไม่มีเวทนาก็ยังไม่รู้สึกว่าเป็นทุกข์เป็นสุขอย่างไร แต่ว่าเพราะมีเวทนานี่แหละ จึงจะรู้สึกว่าเป็นสุขเป็นทุกข์ ฉะนั้น จึงได้เลื่อนความเข้าใจว่า อัตตาคือตัวตนนั้น ก็ได้แก่เวทนานี่เอง เพราะว่าเป็นสภาพที่คอนกินสุขกินทุกข์ และก็แปล อัตตา ว่า ผู้กิน อันหมายความว่า กินสุขกินทุกข์ก็ได้แก่เวทนานี่เอง

    อนึ่ง มีความเข้าใจเลื่อนไปถึงสัญญา สัญญาก็ได้แก่ความจำหมาย คือความจำได้หมายรู้ต่าง ๆ มีมากด้วยกัน จึงเรียกว่า สัญญาขันธ์ แปลว่า กองสัญญา หรือว่า หมวดสัญญา เห็นว่าลำดังแก่กินสุขกินทุกข์ กินแล้วก็ลืม จำอะไรไว้ไม่ได้ก็ไม่ยั่งยืนอะไร ความยั่งยืนมาอยู่ที่ความจำได้หมายรู้ ฉะนั้น สัญญาคือความจำได้หมายรู้จึงเป็นอัตตาตัวตน

    อนึ่ง มีความคิดเลื่อนไปอีกว่า สังขาร คือ ความคิดปรุงหรือปรุงคิด เป็นอัตตาคือตัวตน เพราะลำพังสัญญาคือความจำได้หมายรู้นั้น ก็สักแต่ว่าจำ ๆ เท่านั้น ถ้าจำแล้วไม่เอาไปคิดอ่านให้เป็นเรื่องเป็นราวอะไรต่อไป ก็ไม่ได้เรื่องได้ราวอะไรติดต่อกัน แต่การที่จะเป็นเรื่องเป็นราวอะไรติดต่อกัน ก็ต้องมีความคิดปรุง หรือความปรุงคิด ตัวตามคิดปรุง หรือความปรุงคิดนี้ จึงเป็นอัตตาตัวตน และความคิดปรุง หรือความปรุงคิดนี้ก็มีมาก จึงเรียกว่า สังขารขันธ์ กองสังขาร หรือหมวดสังขาร

    อนึ่ง มีความคิดสืบเข้าไปอีกว่า วิญญาณ นี่เป็นอัตตาตัวตน วิญญาณนี้ หมายถึงใจหรือหมายถึงสิ่งที่จะไปเวียนก็มี หมายเพียงความรู้สึกเห็นรูป รู้สึกได้ยินเสียง ในเวลาที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง เป็นต้นก็มี ฝ่ายที่มีความเห็นว่าวิญญาณเป็นอัตตานั้น ก็ด้วยมีความเข้าใจว่า วิญญาณก็คือใจที่เป็น (ไม่ตาย) ล่องลอยไปไหนก็ไปได้ เหมือนอย่างเราอยู่ที่นี้ แต่ว่าใจล่องลอยไปอยู่ที่โน้นที่นี้ ไปไกลเท่าไรก็ได้ และไปได้อย่างรวดเร็ว และถ้ายิ่งมีความเข้าใจว่า เมื่อตายไปแล้ว วิญญาณเป็นตัวไปเกิด ก็ยิ่งจะมีความเห็นกระชับลงไปว่า นี่เองเป็นอัตตาตัวตน และความเข้าใจของคนโดยมากก็เข้าใจดั่งนี้ คือเมื่อเรียกว่าวิญญาณก็เข้าใจว่าได้แก่ใจที่ล่องลอยไปไหนก็ได้ หรือว่าเป็นตัวที่จะไปเกิดต่อไป

    ในคนเราก็มีสิ่งทั้งห้านี้ คือ มีรูป ได้แก่รูปกายหรือรูปขันธ์ กองรูป มีเวทนาขันธ์ กองเวทนา มีสัญญาขันธ์ กองสัญญา มีสังขารขันธ์ กองสังขาร มีวิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ มีอยู่ด้วยกันทั้งห้า และที่เข้าใจกันว่าเป็นตัวเป็นตน ก็เข้าใจกันอยู่ที่สิ่งทั้งห้านี้ ในเวลาที่สิ่งทั้งห้านี้ยังมีอยู่บริบูรณ์ ก็เข้าใจว่ามีตัวตนบริบูรณ์ ถ้าพิการก็เข้าใจว่าอัตตาพิการ เช่น ถ้ารูปขันธ์พิการเสีย อย่างเช่น ตาบอด หูหนวก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รส กายเป็นอัมพาต ก็หมดเรื่องกันเท่านั้น ถ้ายิ่งสลบไสลไปด้วยเสียอีก ก็ยิ่งไม่รู้อะไร ฉะนั้น เพียงแต่รูปขันธ์อย่างเดียวเท่านั้น ก็เป็นข้อสำคัญ เมื่อยังมีอยู่บริบูรณ์ ทุก ๆ คนจึงมีความสึกอะไรต่อมิอะไร คิดอะไรต่อมิอะไรอยู่ได้ อีก ๔ อย่างนั้นก็เหมือนกัน เพราะมีเวทนาอยู่ จึงมีความสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์อะไรต่าง ๆ มีวิญญาณอยู่ จึงมีความรู้สึกต่าง ๆ ถ้าอาการเหล่านี้เสียไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นความบกพร่อง ถ้าขาดไปเสียทั้งหมดก็เลยเป็นผู้มีความไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะฉะนั้น ที่บุคคลยังมีความสึกเป็นตัวตนอยู่ มีชีวะอยู่อย่างบริบูรณ์ ก็เพราะมีอาการทั้ง ๕ นี้ ประกอบกันอยู่อย่างสมบูรณ์ และเป็นไปโดยสะดวกไม่ขัดข้อง ฉะนั้น จึงยึดถืออาการทั้ง ๕ เหล่านี้นี่เองว่าเป็นอัตตาตัวตน ถ้าหากว่าสิ้นอาการทั้ง ๕ เหล่านี้ ก็ไม่มีอะไรให้ยึดถือ และไม่มีอะไรที่จะให้มีความคิดในการที่จะให้ยึดถือ ในสมัยพุทธกาลหรือสมัยไหน ๆ ก็คงเป็นเช่นนี้ ในปัจจุบันก็เป็นเช่นนี้ และพระปัญจวัคคีย์นั้นก็ย่อมมีความยึดถืออยู่เช่นนี้อย่างมั่นคง เพราะฉะนั้น เมื่อฟังธรรมจักร ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะจึงได้ดวงตาเห็นธรรมเพียงรูปเดียว เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมอบรมอีก จึงได้ดวงตาเห็นธรรมจนครบทั้ง ๕ รูป แต่ก็ได้เพียงดวงตาเห็นธรรม เท่ากับว่าเห็นทุกขสัจ ความจริงคือทุกข์ขึ้นเท่านั้น พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงแสดงพระสูตรที่ ๒ ชี้ลักษณะของอาการทั้ง ๕ เหล่านี้ว่าเป็น อนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตนโดยชัดเจน

    อธิบายเบญจขันธ์

    ได้เล่าถึงเรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง อนัตตลักขณสูตร ได้ย่อความของพระสูตรนั้น และได้อธิบายเรื่อง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าแต่ละอย่างมีลักษณะอย่างไร จึงขอสรุปความในตอนนั้นว่า สิ่งทั้งห้าเหล่านั้น แต่ละสิ่งมีมากด้วยกัน ฉะนั้นจึงเรียกว่า ขันธ ที่แปลว่า กอง หรือ หมู่หมวด คือเรียกว่า รูปขันธ์ กองรูป เวทนาขันธ์ กองเวทนา สัญญาขันธ์ กองสัญญา สังขารขันธ์ กองสังขาร วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ รวมเรียกว่า ปัญจขันธ์ แปลว่าในกองทั้งห้า หรือเรียกว่าเป็นไทยว่า เบญจขันธ์ คำนี้จะได้พบในหนังสือทางพระพุทธศาสนาหรือในเทศนาเป็นอันมาก เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะกำหนดชื่อไว้และทำความเข้าใจ

    ทุก ๆ คน เมื่อกล่าวถึงอัตตาตัวตน โดยปรกติก็จะต้องมุ่งไปที่ปัญจขันธ์นี้ เพราะเว้นจากปัญจขันธ์นี้แล้ว ก็ไม่มีในอะไรที่จะสมมติบัญญัติว่าเป็นอัตตาตัวตน ฉะนั้น ความเข้าใจว่าอะไรเป็นอัตตาตัวตน จึงเข้าใจกันที่ปัญจขันธ์นี้ และก็ยึดกันที่ปัญจขันธ์นี้ว่า เป็นอัตตาตัวตน ฉะนั้น จึงมีคำเรียกอีกคำหนึ่งว่า ปัญจอุปาทานขันธ์ ปัญจะ ก็แปลว่า ๕ อุปาทาน ก็แปลว่า เป็นที่ยึดถือ ขันธ์ ก็แปลว่า ขันธ์ แปลรวมกันว่า ขันธ์เป็นที่ยึดถือ ๕ ประการ คือเป็นที่ยึดถือว่าเป็นอัตตาตัวตนดั่งกล่าว ในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงยกเอาปัญจขันธ์นี้ขึ้นชี้ว่า เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน เป็นการค้านการยึดถือของภิกษุปัญจวัคคีย์และของคนทั่วไป ได้ทรงแสดงเหตุผลในข้อนี้ไว้ว่า ถ้าปัญจขันธ์จะพึงเป็นอัตตาตัวตนไซร้ ปัญจขันธ์ก็จะไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใคร ๆ ก็จะพึงได้ในปัญจขัน์ว่า ขอให้เป็นอย่างนี้ ขออย่าให้เป็นอย่างนั้น แต่เพราะเหตุที่ปัญจขันธ์เป็นไปเพื่ออาพาธ และใคร ๆ ก็ไม่ได้ในปัญจขันธ์ว่า ขอให้ปัญจขันธ์เป็นอย่างนี้ อย่าเป็นอย่างนั้น ฉะนั้น จึงเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนนี้เป็นเหตุผลที่ทรงชี้ในพระสูตรนี้

    คำว่า เป็นไปเพื่ออาพาธ โดยทั่วไปหมายความว่า เป็นไปเพื่อความเจ็บไข้ เหราะอาพาธใช้ในความหมายว่า เจ็บไข้ แต่คำว่า อาพาธ อาจอธิบายให้เห็นความหมายกว้างไปกว่านั้นคือ คำว่า อาพาธ แปลว่า เป็นที่ถูกเบียดเบียน เป็นที่ถูกทำลายให้หมดสิ้น เมื่อให้คำแปลอย่างนี้ก็อาจอธิบายกว้างออกไปอีกว่า ปัญจขันธ์เมื่อเกิดขึ้นก็จะต้องถูกความแก่เบียดเบียน ถูกพยาธิคือความป่วยไข้เบียดเบียน ตลอดจนถึงถูกความตายเบียดเบียน รวมความว่า เมื่อเกิดขึ้นมาก็ต้องมีแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปจนถึงดับในที่สุด ฉะนั้น จึงต้องถูกความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงและถูกความดับเบียดเบียนทำลายล้างให้หมดสิ้น

    จะพึงเห็นได้ว่า รูปขันธ์ กองรูป ก็เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ตั้งแต่เกิดมาจนบัดนี้ก็เปลี่ยนแปลงเรื่อยมา แต่อาศัยบุคลลบริโภคอาหารเข้าไปทำนุบำรุง คอยซ่อมส่วนที่สึกหรออยู่เสมอ จึงรู้สึกมีความสืบต่อเรื่อยมา แม้แต่ในทางการแพทย์ปัจจุบันก็รับรองว่า แม้ส่วนที่แข็งที่สุดในร่างกาย เช่น กระดูก ก็เปลี่ยนไปอยู่ กระดูกเมื่อเกิดกับกระดูกในบัดนี้ก็เป็นคนละส่วนแล้ว ส่วนที่อ่อนกว่านั้น เช่น เนื้อหนัง ก็ยิ่งจะเปลี่ยนไปได้เร็ว ฉะนั้น รูปขันธ์ก็มีความเกิดดับอยู่เรื่อย แต่อาศัยที่มี สันตติ คือความสืบต่อ เพราะชีวิตยังดำรงอยู่ จึงยังเป็นไปได้ เวทนาขันธ์ กองเวทนา ปรากฏเกิดดับเห็นได้ชัด อย่างเช่นความสุขเกิดขึ้นแล้วหายไป ความทุกข์เกิดขึ้นแล้วก็หายไป ความเป็นกลาง ๆ เกิดขึ้นแล้วก็หายไป เปลี่ยนกันไปอยู่เสมอ สัญญาขันธ์ กองสัญญา ความจำหมาย ก็เกิดดับอยู่เสมอ สังขารขันธ์ คือความคิดปรุง หรือคามปรุงคิด เป็นเรื่องต่าง ๆ ก็กัดดับอยู่เสมอ วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณก็เกิดดับอยู่เสมอ

    คราวนี้ ควรจะทำความเข้าใจคำว่า วิญญาณ ได้เคยให้ความหมายทั่ว ๆ ไปไว้แล้วว่า หมายถึง ใจ หมายถึง สภาพที่จะไปเกิดต่อไป หมายถึง ความรู้สึกเห็นรูป ได้ยินเสียง เป็นต้น ที่หมายถึงใจหรือหมายถึงสภาพที่จะเวียนเกิดต่อไปนั้น เป็นความหมายที่เข้าใจกันอยู่ ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป แม้ในเรื่องทางพระพุทธศาสนาเองที่เป็นเรื่องเล่า เมื่อเล่าถึงสิ่งที่จะไปเวียนเกิดใช้คำว่า วิญญาณ ก็มี แต่ความหมายในปัญจขันธ์นี้ ไม่ใช่หมายความถึงสภาพเช่นนั้น แต่หมายถึงความรู้สึกเห็นรูป ในเรื่องตากับรูปกระทบกัน อันเรียกว่า จักขุวิญญาณ ความรู้สึกได้ยินเสียง ในเวลาที่หูกับเสียงกระทับกัน เรียกว่า โสตวิญญาณ ความรู้สึกได้กลิ่น ในเมื่อฆานะกับกลิ่นกระทบกัน เรียกว่า ฆานวิญญาณ ความรู้สึกในรส ในเมื่อลิ้นกับรสกระทบกัน เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ ความรู้สึกถูกต้องที่กายถูกต้อง ในเวลาที่กายกับสิ่งที่ถูกต้องกายกระทบกัน เรียกว่า กายวิญญาณ ความรู้สึกในเรื่องที่มโนหรือมนะรู้ ในเวลาที่มนะกับเรื่องกระทบกัน เรียกว่า มโนวิญญาณ วิญญาณในปัญจขันธ์ หมายถึงวิญญาณ ๖ คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางอายตนะทั้ง ๖ ดั่งกล่าวแล้ว ฉะนั้น ความรู้สึกดั่งกล่าวนี้จึงมีมาก เมื่อตาเห็นรูป เกิดความรู้สึกเห็นรูป นี้ก็เป็นจักขุวิญญาณ ครั้นหูได้ยินเสียง ก็เกิดความรู้สึกได้ยินเสียงขึ้น ก็เป็นโสตวิญญาณเป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงมิใช่มีหนึ่ง แต่ว่ามีมาก จึงเรียนกว่าเป็นวิญญาณขันธ์ ดั่งที่กล่าวมาแล้ว วิญญาณขันธ์ที่มีอธิบายอย่างนี้ ก็เป็นสิ่งที่เกิดดับอยู่เสมอ

    ฉะนั้น ปัญจขันธ์ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ คือต้องถูกเบียดเบียน คือต้องถูกทำลายล้างให้สิ้นไป ด้วยอำนาจของความแก่ เจ็บ ตาย หรือว่า เกิด ดับ อยู่เสมอ ใคร ๆ จะบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ คือบังคับให้เป็นอย่างนี้ อย่าให้เป็นอย่างนั้น ก็บังคับไม่ได้ อย่างเช่น รูปขันธ์ จะบังคับว่าจะต้องให้คงอยู่อย่างนั้น อย่าให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้ ดังที่จะพึงเห็นได้ว่า เมื่อเกิดขึ้นมาก็เปลี่ยนแปลงมาจนถึงที่สุด ใครจะชอบใจในระยะไหนและปรารถนาจะให้คงอยู่ระยะนั้นก็ปรารถนาไม่ได้ กองเวทนาก็เหมือนกัน ก็ย่อมปรารถนาสุข แต่จะบังคับให้เป็นสุขอยู่เสมอไม่ได้ ทุกข์ก็เหมือนกัน เมื่อทุกข์เกิดขั้น โดยปรกติก็ไม่ชอบ แต่ทุกข์นั้นก็ต้องถูกเบียดเบียนเหมือนกัน คือว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องหายไป แล้วเกิดอย่างอื่นขึ้นแทน กองสัญญาก็เหมือนกัน จะบังคับให้จำได้หมายรู้อยู่ตลอดไปก็ไม่ได้เหมือนกัน กองสังขารคือความคิดปรุงหรือความปรุงคิด ก็ไม่ได้เหมือนกัน และกองวิญญาณคือความรู้ทางอายตนะ ดั่งกล่าวมานั้น ก็เหมือนกัน บังคับให้เป็นไปตามความปรารถนาไม่ได้ เพราะเหตุที่บังคับไม่ได้ดั่งกล่าวมานี้ ปัญจขันธ์ต้องเป็นไปเพื่ออาพาธ ต้องเป็นไปตามคติธรรมดา ฉะนั้น จึงเป็น อนัตตา ไม่ใช่ อัตตาตัวตน

    ตามลักษณะนี้พึงเห็นว่า สิ่งที่จะเป็นอัตตาตัวตนนั้น ก็ควรจะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ เป็นสิ่งที่บังคับให้เป็นไปตามปรารถนาได้ ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นก็ไม่ชื่อว่าอัตตา ดั่งเช่นปัญจขันธ์ ซึ่งเป็นที่ยึดถือว่าเป็นอัตตา เมื่อพิจารณาแล้วก็จะพึงเห็นว่าไม่ใช่ แต่เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน ด้วยเหตุผลดั่งทีกล่าวมานี้

    ที่มา : ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า
    พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
    วัดบวรนิเวศน์วิหาร

你可能也想看看

搜尋相關網站