[爆卦]วิญญูชน คือ是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇วิญญูชน คือ鄉民發文沒有被收入到精華區:在วิญญูชน คือ這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 วิญญูชน產品中有1篇Facebook貼文,粉絲數超過1萬的網紅sittikorn saksang,也在其Facebook貼文中提到, ข้อสังเกตเกี่ยวกับการตีความกฎหมาย : กรณีศึกษาการตีความกฎหมาย ย้อนหลังการตัดสิทธิเลือกตั้ง (สมัครรับเลือกตั้ง) กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย* รศ.สิทธิกร ...

  • วิญญูชน 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文

    2013-08-28 00:53:22
    有 9 人按讚

    ข้อสังเกตเกี่ยวกับการตีความกฎหมาย : กรณีศึกษาการตีความกฎหมาย
    ย้อนหลังการตัดสิทธิเลือกตั้ง (สมัครรับเลือกตั้ง) กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย*
    รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง

    ในปัจจุบันในประเทศไทยยังคงมีปัญหาในการตีความกฎหมาย การวินิจฉัยข้อเท็จจริงมาปรับเข้ากับบทกฎหมายในการตอบปัญหาในทางกฎหมายที่เกิดขึ้นในสังคม การตีความกฎหมายเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เพราะการตีความกฎหมายนี้เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตีความกฎหมายจะได้นำไปใช้แก้ไขปัญหาในทางกฎหมายต่างๆ ได้เสมอ ดังนั้น การตีความกฎหมาย จึงหมายถึง การขบคิดค้นหาจากบทบัญญัติของกฎหมายโดยวิธีใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยาและสามัญสำนึก เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อความของกฎหมายที่จะนำไปใช้วินิจฉัยคดีข้อพิพาทได้อย่างถูกต้อง คือ เหมาะสมและเป็นธรรม การตีความกฎหมายจึงเป็นการใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยาและสามัญสำนึก (การให้เหตุผลในทางกฎหมาย) เพื่อนำไปสู่ผลสรุปที่ถูกต้องและเป็นธรรม ซึ่งมีลักษณะที่เป็นสาระสำคัญ คือ
    1. การตีความกฎหมายจะต้องตีความจากบทบัญญัติถ้อยคำของกฎหมาย
    2.การตีความเป็นการขบคิดค้นหาคำตอบทางกฎหมายอย่างใช้เหตุผลไม่ใช่การทาย หรือเดาสุ่ม
    3.การตีความเป็นการใช้สติปัญญาอย่างมุ่งวัตถุประสงค์ที่ขบคิดค้นหา “ข้อความ” ที่จะนำไปวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทให้ได้ผลที่ถูกต้องและเป็นธรรม
    หลักทั่วไปของการตีความกฎหมาย
    การตีความกฎหมายมีหลักการตีความที่สำคัญอยู่ 2 หลัก คือ การตีความตามตัวอักษรและหลักการตีความตามเจตนารมณ์ซึ่งจะต้องตีความควบคู่กันไป แยกอธิบายได้ดังนี้
    1. การตีความตามตัวอักษร
    การตีความตามตัวอักษร คือ การหยั่งทราบความหมายของตัวอักษรตามที่ปรากฏหรือตามที่เข้าใจในวงการ แยกออกได้ดังนี้ คือ
    1) ภาษาธรรมดา ย่อมมีความหมายธรรมดา
    2) ภาษาเทคนิค คือ ภาษาเฉพาะ จึงต้องเข้าใจตามภาษาของกฎหมายที่ใช้อยู่
    3) นิยามศัพท์ได้แก่คำที่กฎหมายประสงค์จะให้มีความหมายพิเศษ ต่างจากความหมายทั่วๆไป
    4) ศัพท์กฎหมายที่ไม่แจ้งชัด บางทีกฎหมายบัญญัติถ้อยคำที่ไม่แจ้งชัด ทำให้ต้องตีความ
    2. การตีความตามเจตนารมณ์
    การตีความตามเจตนารมณ์ คือ การหยั่งทราบเจตนารมณ์ของกฎหมายที่แท้จริง อาจพิจารณา ได้ดังนี้
    1. บันทึกหลักการและเหตุผลในร่างพระราชบัญญัติหรือกฎหมายนั้นๆ เป็นเครื่องช่วยในการตีความกฎหมายตามเจตนารมณ์ได้
    2. ประวัติศาสตร์ของกฎหมายแต่ละฉบับ หรือ สภาพการณ์ที่เป็นอยู่ก่อนวันใช้บังคับกฎหมายมีอยู่อย่างไรก็จะช่วยให้ทราบเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ชัดเจนขึ้น
    3. พิจารณาจากกฎหมายในมาตรานั้นเองหรือหลายๆมาตราในเรื่องเดียวกัน ก็พอจะทราบได้ว่ากฎหมายในเรื่องนี้มีเจตนารมณ์อย่างไร
    4. พิจารณาจากเหตุผลในการแก้กฎหมาย โดยดูว่า ก่อนจะมีกฎหมายที่แก้ไขนี้กฎหมายเดิมว่าไว้อย่างไร มีข้อบกพร่องประการใด และกฎหมายที่แก้ไขแล้วนี้ได้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวอย่างไร
    5. การบัญญัติกฎหมายย่อมมุ่งหมายที่จะให้ใช้บังคับได้ หากตีความแล้วปรากฏว่าใช้กฎหมายนั้นไม่ ย่อมไม่ใช่เจตนารมณ์
    6. บทกฎหมายที่เป็นข้อยกเว้น ย่อมเป็นเจตนารมณ์ที่จะให้ตีความอย่างแคบ จึงควรต้องตีความอย่างแคบ
    7.การพิจารณาจากความเป็นธรรม แนวบรรทัดฐานแห่งคำพิพากษา ลัทธิการเมือง ระบบเศรษฐกิจและสังคม ทฤษฎีกฎหมาย


    การตีความกฎหมายในระบบกฎหมายปัจจุบัน
    การตีความกฎหมายในระบบกฎหมายปัจจุบันที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับกันว่าระบบกฎหมายใหญ่ๆของโลกมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law) กับระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วระบบกฎหมายทั้งสองระบบนั้นการตีความกฎหมายจะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นเราจำเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานของการตีความกฎหมายทั้งระบบ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในการตีความกฎหมายย้อนหลังการตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยได้ดียิ่งขึ้น ดังนี้
    1. การตีความกฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law)
    หลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ จะอธิบายการตีความกฎหมายอังกฤษเป็นหลักซึ่งเป็นแม่แบบหรือต้นแบบของระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ที่เป็นคดีที่เกิดขึ้นจริงซึ่งผู้พิพากษาศาลสูงหรือนักกฎหมายของอังกฤษใช้และอ้างอิงถึงในเรื่องของการตีความ
    การตีความกฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) เป็นที่ทราบทั่วไปมี 3 หลัก คือ
    1. หลักการตีความถ้อยคำตามตัวอักษร (Literal Rule)
    2. หลักการตีความโดยเล็งผลเลิศ (Golden Rule)
    3.หลักการตีความโดยอาศัยเหตุที่มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ก่อนออกกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับนั้นเป็นเครื่องมือช่วยตีความ (Mischief Rule)
    1) หลักการตีความถ้อยคำตัวอักษร (Literal Rule)
    หลักการตีความถ้อยคำตามตัวอักษรนี้ผู้พิพากษาหรือผู้มีหน้าที่ในการตีความกฎหมายจะแปลถ้อยคำในบทบัญญัติกฎหมายที่เป็นปัญหาด้วยการอาศัยความหมายธรรมดา หรือความหมายปกติของถ้อยคำนั้นๆ เป็นสำคัญโดยไม่คำนึงถึงว่าผลจากการแปลถ้อยคำตามความหมายธรรมดาเหล่านั้น จะมีเหตุผลมากน้อยเพียงใด (ทั้งนี้เว้นแต่ถ้อยคำนั้น จะมีความหมายเฉพาะในลักษณะที่เป็นการกำหนดไว้เป็นบทนิยามศัพท์) โดยวิธีการตีความตามตัวอักษรนี้ ผู้พิพากษาหรือผู้ที่มีหน้าที่ตีความที่จะต้องพิจารณา ความหมายในทางภาษามากกว่าที่จะพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้นๆ การทำหน้าที่ของศาลสูงในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีที่เกิดจากข้อพิพาททั่วไป ซึ่งในกรณีนั้นศาลสูงจะเป็นผู้สร้างหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law)
    2) หลักการตีความโดยเล็งผลเลิศ (Golden Rule)
    หลักการตีความโดยเล็งผลเลิศนี้ เพื่อไม่ให้การใช้หลักการตีความถ้อยคำตามตัวอักษร (Literal Rule) ก่อให้เกิดผลที่ประหลาดหรือไม่สอดคล้องสมเหตุสมผล หลักการตีความหลักนี้มีสาระสำคัญว่าถ้อยคำในกฎหมายลายลักษณ์อักษรจะต้องตีความไปในทางที่ละเว้นไม่ให้เกิดผลอันไม่พึงปรารถนา คือ
    (1) ในกรณีที่กฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นอาจแปลความหมายไปได้เป็น 2 นัย หรือมากกว่านั้น ศาลย่อมจะตีความไปในทางที่มีความหมายอันสมควรและมิใช่ไปในทางที่ไม่ควรจะเป็นหรือบังเกิดผลประหลาด
    (2) ในกรณีที่ถ้อยคำในกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นมีความหมายตามตัวอักษรเพียงประการเดียว แต่ศาลก็ยังไม่ยอมตีความตามความหมายนั้น ถ้าหากการตีความตามตัวอักษรนั้นจะทำให้เกิดผลประหลาดในแง่ขัดต่อหลักกฎหมายทั่วไป
    ข้อสังเกต หลักการตีความเล็งผลเลิศนี้ในบางกรณีได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ศาลตีความตามเจตนารมณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติโดยอาศัยเหตุผลอื่นนอกจากถ้อยคำและความหมายธรรมดาแห่งถ้อยคำที่ปรากฏในตัวบทกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งศาลไม่สมควรจะมีอำนาจจะกระทำได้เช่นนั้น
    3) หลักการตีความโดยอาศัยเหตุที่มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ก่อนออกกฎหมายลายลักษณ์นั้นเป็นเครื่องมือช่วยตีความ (Mischef Rule)
    หลักการตีความโดยอาศัยเหตุที่มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ก่อนออกกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Mischief Rule) ซึ่งเป็นหลักที่มีมาก่อนหลักการตีความเล็งผลเลิศ (Golden Rule) ซึ่งเป็นหลักที่เปิดโอกาสให้ศาลได้พิจารณาบทบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่รัฐสภาตราขึ้น โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายหมายที่ตราขึ้นใหม่นั้น แต่การจะใช้การตีความโดยอาศัยเหตุที่มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ก่อนออกกฎหมายลายลักษณ์เป็นเครื่องช่วยตีความนี้ (Mischief Rule) ต่อเมื่อไม่อาจจะใช้หลักกฎหมายที่เกิดจากคอมมอนลอว์ (Common Law) บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นได้
    อนึ่ง การตีความกฎหมายอังกฤษโดยเฉพาะในกฎหมายอาญาเกี่ยวกับปัญหาว่าจะตีความให้ครอบคลุมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ที่มิได้อยู่ในขณะที่ตรากฎหมายได้หรือไม่เพียงใด ซึ่งในเรื่องนี้เดิมการตีความให้ครอบคลุมถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่ในขณะที่ออกกฎหมายนั้นจะใช้ในกฎหมายที่มุ่งเยียวยาความเสียหาย (ทางแพ่ง) เท่านั้น จะไม่ใช้ในคดีอาญา แต่ในเรื่องนี้ ต่อมานักกฎหมายอังกฤษได้คลายความเคร่งครัดในการตีความกฎหมายอาญาลงไป

    2. การตีความกฎหมายในระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law)
    หลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายซิวิลลอว์ที่ใช้กันอยู่ในประเทศภาคพื้นยุโรปที่สำคัญ คือ การใช้และการตีความกฎหมายจะกระทำโดยการพิจารณาถ้อยคำตามตัวอักษร (Grammatical Interpretation) ควบคู่กับการค้นหาเจตนารมณ์ของบทบัญญัติกฎหมาย (Construction) นั้นไปพร้อมๆ กัน หรือที่เรียกว่าหลักการตีความตามเหตุผลทางตรรก (Logical Interpretation) เนื่องจากเหตุผลดังนี้ คือ
    1) สืบเนื่องจากประวัติความเป็นมาและนิติวิธีของระบบกฎหมายซิวิลลอว์ ถือว่า กฎหมายลายลักษณ์อักษรไม่ว่าจะเป็นประมวลกฎหมายหรือพระราชบัญญัติที่กำหนดขึ้น ย่อมเป็นหลักกฎหมายทั่วไปเพียงประการเดียวมิได้มาจากหลักกฎหมายอื่น ทำนองเดียวกันในประเทศอังกฤษที่มีทั้งหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) ดั้งเดิมและกฎหมายที่บัญญัติเฉพาะเรื่อง ซึ่งนักกฎหมายอังกฤษถือว่ากฎหมายที่บัญญัติเฉพาะเรื่องเป็นข้อยกเว้นของหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law)
    2) นักกฎหมายในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law) มีทัศนะต่อการใช้การตีความกฎหมายว่าถ้อยคำที่เข้าใจว่า สามารถแปลได้ตามความหมายธรรมดานั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนเสมอไป เพราะถ้อยคำที่เข้าใจได้ตามความหมายธรรมดานั้น ความจริงแล้วอาจมีความหมายอย่างอื่นก็ได้ ด้วยเหตุนี้แนวคิดดั้งเดิมที่เป็นคำกล่าวในภาษาลาตินว่า “in claris non fit interpretario” เมื่อถ้อยคำมีความชัดเจนแล้วก็ไม่จำเป็นต้องตีความ ในปัจจุบันนักกฎหมายของระบบกฎหมายซิวิลลอร์ (Civil Law) เห็นว่ามิได้เป็นเช่นนั้น
    แนวทางหรือหลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law) ส่วนใหญ่ มาจากงานค้นคว้าในทางวิชาการและโดยที่ฝรั่งเศสเป็นแม่แบบที่สำคัญ เพื่อพิจารณาถึงหลักการตีความกฎหมายในระบบกฎหมาย ซิวิลลอว์ (Civil Law) เราอาจสรุปแนวทางหรือหลักการตีความกฎหมาย ซึ่งใช้หลักการตีความตามตัวอักษรกับการตีความเจตนารมณ์ของกฎหมายควบคู่กับหลักการตีความตามเหตุผลทางตรรก ดังนี้คือ
    ประการแรก ศาลหรือผู้มีหน้าที่ตีความกฎหมายจะพิเคราะห์ถ้อยคำตามตัวอักษรเป็นหลัก ถ้าปรากฏว่าจากความหมายของถ้อยคำดังกล่าวนั้นจะก็ให้เกิดผลประหลาดหรือความหมายของถ้อยคำนั้นๆ มีความหมายกำกวมอาจแปลได้หลายความหมายหรือบทบัญญัติในกฎหมายนั้นบกพร่อง จำเป็นต้องมีการอุดช่องว่างของกฎหมาย ศาลหรือผู้มีหน้าที่ในการตีความย่อมสามารถที่จะค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นได้อย่างกว้างขวาง คือ เริ่มจากการพิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายนั้นทั้งหมดที่มีส่วนสัมพันธ์เชื่อมโยงกันทั้งฉบับ ซึ่งน่าจะเริ่มด้วยการพิจารณาจากโครงสร้างของกฎหมายนั้นที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน ซึ่งอาจทำให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นได้ชัดเจนขึ้น
    ประการที่สอง ศาลหรือผู้มีหน้าที่ตีความกฎหมาย อาจพิเคราะห์จากประวัติความเป็นมาของการจัดทำกฎหมาย ซึ่งเรียกว่า การตีความโดยอาศัยประวัติกฎหมาย (Historical Interpretation) ซึ่งสามารถค้นหาได้จากตัวร่างกฎหมายเดิมที่เสนอต่อสภา บันทึกหลักการและเหตุผล บันทึกชี้แจงในการเสนอร่างกฎหมาย ตลอดจนจากรายงานของคณะกรรมาธิการของรัฐสภา หรือแม้กระทั่งรายงานการประชุมสภา
    นอกจากการตีความโดยอาศัยประวัติกฎหมายแล้วมีแนวทางการตีความตามเจตนารมณ์ หรือความมุ่งหมายของกฎหมาย (Construction) ในกรณีที่ปรากฏว่าภายหลังจากที่ได้ตรากฎหมายออกมาใช้บังคับแล้ว เมื่อมีปัญหาตีความกฎหมายเกิดขึ้นอันสืบเนื่องจากมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่คาดเห็นล่วงหน้าเกิดขึ้น ซึ่งบทบัญญัติในกฎหมายเรื่องนั้นไม่ได้กล่าวถึงว่าตี่ความบทบัญญัติในกฎหมายนั้นอย่างไร ซึ่งในกรณีนี้ในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) เป็นที่ยอมรับว่าอาจใช้บทบัญญัตินั้นแต่กรณีที่เกิดขึ้นในภายหลังได้เพื่อความเป็นธรรมในสังคม
    กรณีศึกษาการตีความกฎหมายย้อนหลังในการตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
    ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์เป็นหลัก เมื่อพิจารณาการตีความกฎหมายย้อนหลังกรณีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3-5 /2550 ที่ได้วินิจฉัยว่าประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข (คปค.) นั้น เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อบังคับย้อนหลังในการตัดสิทธิเลือกตั้ง(สมัครรับเลือกตั้ง) กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 5 ปี ที่กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 โดยให้เหตุผลว่าโทษที่บังคับย้อนหลังได้เพราะไม่ใช่โทษทางอาญา ซึ่งสอดคล้องกับศาสตราจารย์ทวี เจริญพิทักษ์ หมายเหตุท้ายฎีกาที่ 815/2491 ว่า กฎหมายจะบัญญัติให้มีผลร้ายย้อนหลังในทางอาญาไม่ได้ แต่ผลร้ายในทางแพ่ง ในทางวิธีพิจารณา ในทางภาษี สภามีอำนาจที่จะบัญญัติให้ไปย้อนหลังไปไกลอย่างไรก็ได้ มีประเด็นที่ต้องศึกษาการตีความย้อนหลัง คือ
    ในประเด็นที่ต้องพิจารณา สภาในความหมายนี้ คือ ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถออกกฎหมายย้อนหลังได้ถ้าไม่ใช่กฎหมายอาญา แต่ถ้าเป็นคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารใช้อำนาจออกกฎหมายย้อนหลังได้หรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารเมื่อยึดอำนาจปกครองประเทศย่อมใช้อำนาจทางนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการได้ สอดคล้องกับแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 1662/2502 ได้วินิจฉัยว่า เมื่อปี พ.ศ.2501 คณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศไทยได้สำเร็จหัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือว่าเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกมาด้วยคำแนะนำหรือยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรหรือสภานิติบัญญัติ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2549 (ฉบับชั่วคราว) ก็ยอมรับอำนาจการกระทำคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จึงถือว่าคณะปฏิวัติและคณะรัฐประหาร สามารถออกกฎหมายย้อนหลังได้ แต่มิใช่โทษในทางอาญา ในประเด็นนี้ผู้เขียนเห็นพ้องด้วย แสดงว่าในทางกฎหมายมหาชนของไทยก็ยอมรับการออกกฎหมายย้อนหลังได้เหมือนกัน แต่อย่างก็ตามท่านอาจารย์วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ได้กล่าวถึง กฎหมายมหาชนออกมาบังคับย้อนหลังไม่ได้ โดยนำคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ที่ 82-155 เกี่ยวกับโทษทางภาษี (เป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน) มีใจความว่า “หลักไม่มีผลบังคับย้อนหลังของกฎหมาย...หาได้ใช้บังคับเท่าเฉพาะกับกฎหมายที่บัญญัติกำหนดความความผิดและโทษทางอาญา ซึ่งศาลที่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเป็นผู้ลงแก่ผู้กระทำความผิดเท่านั้นไม่ หากแต่ยังต้องขยายไปใช้บังคับกับกฎหมายที่กำหนดความผิดและโทษทุกคนทุกประเภท แม้ว่าฝ่ายนิติบัญญัติจะเห็นสมควรมอบหมายให้องค์กรอื่นที่มิใช่องค์กรตุลาการเป็นผู้ลงแก่ผู้กระทำผิดด้วย”
    เมื่อพิจารณาศึกษาการตีความกฎหมายในกรณีดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดทรรศนะที่แตกต่างระหว่างผู้ที่ไม่เห็นด้วยและเห็นด้วยกับการตีความกฎหมายย้อนหลังตัดสิทธิเลือกตั้ง (สมัครรับเลือกตั้ง) กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน ดังนี้
    กลุ่มที่ไม่เห็นด้วย เห็นว่า คำวินิจฉัยคณะตุลการรัฐธรรมนูญเปรียบเสมือนการประหารชีวิตทางการเมืองของพรรคไทยรักไทยและสมาชิกอย่างแท้จริง เพราะคณะตุลาการรัฐธรรมนูญย่อมทราบถึงประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 ที่ให้เพิกถอนสิทธิ (สมัครรับเลือกตั้ง) กรรมการบริหารพรรคการเมือง 5 ปี ออกมาภายหลังเพื่อใช้กับคดียุบพรรค แต่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญยอมรับการออกกฎหมายย้อนหลังในบังคับใช้ประกาศของ คปค.ฉบับที่ 27 การตัดสิทธิทางการเมืองนั้น เป็นการออกกฎหมายย้อนหลังนั้นเป็นผลร้ายเพื่อขจัดศรัตรูทางการเมือง ได้ส่งผลกระทบต่อหลักกฎหมาย หลักนิติรัฐและกระบวนการยุติธรรม
    กลุ่มที่เห็นด้วย ได้ให้ความเห็นถึงการตีความกฎหมายในกรณีดังกล่าว คือ ต้องตีความตามตัวอักษรควบคู่กับการตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมกันเพื่อใช้แก้ปัญหาไม่ใช่สร้างหรือสะสมปัญหา จึงต้องใช้ได้ทันทีเพื่อให้เหมาะสมทันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม อาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็นำไปใช้ย้อนหลังขณะที่ศาลพิจารณาพิพากษาได้
    หากการตีความกฎหมายย้อนหลังไปเป็นโทษแล้วต้องห้าม เหตุผลก็เพราะไม่กำหนดความผิดและโทษไว้ก่อนการกำหนดความผิด กฎหมายต้องประกาศให้ทราบก่อนว่าการกระทำใดเป็นความผิด จะได้ไม่ทำผิดนั้น หมายถึง การกำหนดความผิดใหม่ๆ ขึ้น จะนำไปกล่าวหาผู้กระทำย้อนหลังไม่ได้เพราะ เขาไม่รู้มาก่อนว่าการกระทำของเขาจะเป็นความผิด แต่ตามข้อเท็จจริงในคดี ที่ปรากฏตามสำนวนของตุลาการรัฐธรรมนูญ การกระทำของนักการเมืองและพรรคการเมืองเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของความไม่ซื่อสัตย์สุจริต เลือกตั้งแบบคดโกง ทุจริตผิดกฎหมาย เป็นสิ่งต้องห้ามที่มีอยู่เดิมแล้ว จึงไม่ใช่การกำหนดความผิดขึ้นใหม่ กลุ่มผู้กระทำจะว่าไม่รู้ว่าเขาห้ามโกง ห้ามทุจริต คงผิดวิสัยเพราะก่อนการเข้ารับตำแหน่งก็สาบานกันแล้วว่าจะไม่โกง ไม่ทุจริต บางคนสาบานตั้งหลายรอบ ดังนั้นการวินิจฉัยความผิดนี้จึงไม่ใช่การย้อนหลังการกำหนดโทษ
    และที่สำคัญการตัดสิทธิเลือกตั้ง (สมัครรับเลือกตั้ง) ไม่ใช่โทษ แต่เป็นมาตรการทางกฎหมายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้ อย่างไรก็ตามกฎหมายอาญาก็ไม่ห้าม การใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยย้อนหลัง โดยกำหนดให้ใช้ได้ในขณะศาลพิพากษา แม้ว่าขณะกระทำความผิดจะไม่มีมาตรการเหล่านี้ก็ตาม เพราะมาตรการใหม่ๆ ย่อมจะนำมาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำความผิดในอนาคตได้ดีกว่าเป็นประโยชน์ทั้งผู้กระทำผิดเพราะไม่ใช่โทษอาญาและเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม เพราะมีมาตรการใหม่กับการกระทำเพื่อป้องกันการเกิดความผิดได้ดีกว่าเดิม การตัดสิทธิดังกล่าว เป็นการตัดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานหรือไม่ การใช้สิทธิและการใช้เสรีภาพของบุคคลตามกฎหมายวางอยู่บนรากฐานแห่งหลัก "สุจริต" (Good faith) สิทธิและเสรีภาพจึงมีไว้ให้ผู้ที่สุจริตใช้อย่างเต็มที่ ว่าการใช้สิทธิต้องใช้โดยสุจริต การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้นเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย กฎหมาย ก็ต้องให้หยุดทำได้ เพื่อระงับความเสียหายที่จะเกิดต่อไปภายหน้า ในทางมหาชนใช้สิทธิไม่สุจริตต่อมหาชนยิ่งจะส่งผลกระทบและก่อความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่คนจำนวนมาก
    ในทางกฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับการย้อนหลังของกฎหมายนั้น ในตำรากฎหมายของเยอรมันจะแบ่งข้อพิจารณาในเรื่องกฎหมายย้อนหลังได้หรือไม่ออกเป็น 2 กรณี คือ
    1.การย้อนหลังโดยแท้ หมายถึง การย้อนหลังของกฎหมายไปใช้กับข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วในอดีต
    2.การย้อนหลังโดยไม่แท้ หมายถึงการย้อนหลังของกฎหมายไปใช้กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตและยังเป็นอยู่ต่อเนื่องกันมาจนถึงวันที่ออกกฎหมายใหม่และต่อไปหากไม่มีกฎหมายใหม่มายกเลิก
    การย้อนหลังโดยแท้ โดยทั่วไปแล้วกระทำไม่ได้ แต่การย้อนหลังโดยไม่แท้กระทำได้ ซึ่งการที่จะย้อนหลังได้หรือไม่ทั้ง 2 กรณี จะขึ้นอยู่กับ “ประโยชน์สาธารณะ” (Public Interest) ในแต่ละกรณีไป ดังนั้นการใช้มาตรการการตัดสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน ย้อนหลังจึงไม่ใช่เรื่องกฎหมายย้อนหลังอันเป็นผลร้ายหรือเป็นโทษแก่บุคคล เป็นหน้าที่ของนักกฎหมายมหาชนที่ดูแลนิติรัฐ ที่จะต้องชั่งน้ำหนักการตัดสิทธิเลือกตั้ง (สมัครรับเลือกตั้ง)เป็นโทษกับเอกชน (กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน) กับการไม่ตัดสิทธิเลือกตั้งเป็นโทษกับมหาชน (ประชาชน 63 ล้านคน) ท่านจะเลือกอย่างไร หากเอามหาชนเป็นหลัก คือ หลักการกระทำไปเพื่อประโยชน์สาธารณะและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อให้เกิดดุลยภาพกันในสังคม การใช้มาตรการดังกล่าว จึงไม่ใช่การย้อนหลังไปเป็นโทษแต่กลับเป็นคุณแก่มหาชน ดังนี้
    1)เป็นคุณแก่ประชาชนผู้มีอำนาจสูงสุดจะไม่ถูกลบหลู่ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
    2)เป็นคุณแก่รากฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
    3)เป็นคุณแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองที่จะได้รับการคุ้มครอง
    4)เป็นคุณแก่หลักนิติรัฐที่จะไม่ถูกคนกลุ่มนี้มาทำลายในอนาคต
    5)เป็นคุณแก่ความมั่นคงทางการเมืองของชาติ
    6)เป็นคุณแก่สมาชิกพรรคไทยรักไทย กว่า 14 ล้านคน จะได้ตาสว่างเห็นพฤติการณ์
    ทุจริต
    7)ในการเลือกตั้งที่พรรคและบุคคลที่ตนมอบศรัทธาและความไว้วางใจ กระทำเอาลับ
    หลังตน
    8)เป็นคุณแก่สมาชิกกว่า 14 ล้านคนเหล่านี้จะได้ไม่ถูกบังคับให้หลับตาเลือกคนที่มาทำลายความไว้วางใจของเขาเหล่านั้นอีก
    9)เป็นคุณแก่คนไทยที่ไม่ใช่สมาชิกเป็นคุณแก่อีกกว่า 45 ล้านคน ที่จะได้เลือกตั้งอย่างสบายใจขึ้น
    10)เป็นการจรรโลงความชอบธรรมทางการเมืองเพราะเป็นพรรคที่มิได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติ หากแต่มุ่งประสงค์ที่จะดำเนินการทุกวิธีทางเพื่อให้ได้มายังอำนาจในการปกครองประเทศเพื่อหาประโยชน์เข้าพวกพ้องของตนเท่านั้น
    11)เป็นคุณต่อผู้ถูกตัดสิทธิทั้งหมดทุกคนนั้นด้วย เพราะจะไม่มีโอกาสได้ไปกระทำความผิดที่เคยทำนั้นอีกอย่างน้อย เป็นเวลา 5 ปี หากปล่อยไว้เขาก็จะไปกระทำความผิดจนเขาอาจถึงขั้นติดคุกได้การใช้มาตรการดังกล่าวจึงกลับเป็นคุณแก่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะผู้อยู่ในกรอบของกฎหมายและความสุจริตหากไม่ตัดสิทธิ การทุจริตก็จะกลับเกิดซ้ำซากอีก
    คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตุลารัฐธรรมนูญ ที่ 3-5 /2550 ที่ได้วินิจฉัยว่าประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 27 นั้นเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อบังคับย้อนหลังในการตัดสิทธิ (สมัครรับเลือกตั้ง)กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน ที่กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าถ้าทุกคนเห็นตามแนวคิดหลักการตีความกฎหมายย้อนหลังตามความเห็นของรองศาสตราจารย์ ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ข้างต้นก็น่าจะยอมรับฟังกันได้







    บรรณานุกรม
    หนังสือ
    กิติศักดิ์ ปรกติ “ความเป็นมาและหลักการใช้นิติวิธีในระบบ ซีวิวลอว์และคอมมอนลอว์”
    กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน,2546
    โกเมศ ขวัญเมืองและสิทธิกร ศักดิ์แสง “การศึกษาแนวใหม่ : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ
    กฎหมายทั่วไป” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน,2549
    คณิต ณ นคร “ปัญหากฎหมายย้อนหลังคดียุบพรรค” หักดิบกฎหมาย กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
    วิญญูชน,2550
    ชาญชัย แสวงศักดิ์ “หลักการตีความหมายกับกรณีศึกษา : ปัญหาการแต่งตั้งตุลาการใน
    ศาลปกครองสูงสุดครั้งแรกและปัญหาลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภากรณี “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม,2543
    ธานินทร์ กรัยวิเชียร “คำแนะนำนักศึกษากฎหมาย” กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง ,2518
    ------------------และวิชา มหาคุณ “การตีความกฎหมาย” โครงการสืบทอดตำราครูทาง
    นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนชวนพิมพ์จำกัด,พิมพ์ครั้งที่ 4 ,2548
    ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ “กฎหมายเบื้องต้นทางธุรกิจ”กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่10,2547
    วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ “สิทธิและเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540”
    กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน,2543
    วิชา มหาคุณ “การใช้เหตุผลทางกฎหมาย” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ,2549
    หยุด แสงอุทัย “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป” กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ประกายพรึก
    ,พิมพ์ครั้งที่ 10,2547
    อักขราทร จุฬารัตน “การตีความกฎหมาย” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กฎหมายไทย,2542
    เอกสารและวารสาร
    ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ “ตัดสิทธิเลือกตั้ง... ย้อนหลังได้” หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน วันที่ 30
    ตุลาคม พ.ศ.2549
    ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ “หลักนิติรัฐกับคนเนรคุณ” หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 18 มิถุนายน
    พ.ศ. 2550
    ปิยบุตร แสงกนกกุล “บทวิเคราะห์คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ กรณียุบพรรค
    การเมือง” วารสารวันรพี 2550

    พิเชษฐ เมาลานนท์กับทีมวิจัยปัญหาตุลาการศาสตร์ “เลี่ยงที่ไม่ได้ที่กฎหมายจะย้อนหลัง ซ้ำ
    ยังไม่ขัด “หลักนิติธรรม” เสมอไป” วารสารกฎหมายใหม่ ปีที่ 5 ฉบับที่ 88 ตุลาคม 2550
    วรเจตน์ ภาคีรัตน์ “การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งย้อนหลัง หลักนิติรัฐและศักดิ์ศรีนักกฎหมาย
    ไทย” หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
    สิทธิกร ศักดิ์แสง “การยกเลิกกฎหมายนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญขัดต่อหลักนิติรัฐหรือไม่”
    วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยตาปี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (เมษายน - มิถุนายน 2550)

你可能也想看看

搜尋相關網站