雖然這篇ลงมติ คือ鄉民發文沒有被收入到精華區:在ลงมติ คือ這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 ลงมติ產品中有5篇Facebook貼文,粉絲數超過93萬的網紅IT24Hrs - ไอที 24 ชั่วโมง by ปานระพี,也在其Facebook貼文中提到, เลื่อนอีกรอบ! ครม. ลงมติ เลื่อน PDPA กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไปอีก 1 ปี ไปบังคับใช้ปี 2565 https://www.it24hrs.com/2021/pdpa-postponed-to-2565...
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過265萬的網紅WOODY,也在其Youtube影片中提到,...
ลงมติ 在 Pim Maneethai Instagram 的最佳解答
2020-05-14 05:41:27
ของไม่ค่อยอร่อยที่หน้าตาดีค่ะ ฮ่าๆๆ (หลังจากถามเพื่อนสาวอีก 3 คน ลงมติ) ... แต่ในยามดึก อะไรๆก็ดูดีเน๊อะ ... 😭😭😭 #ไม่อร่อยป้าไม่อยากกิน...
ลงมติ 在 IT24Hrs - ไอที 24 ชั่วโมง by ปานระพี Facebook 的最讚貼文
เลื่อนอีกรอบ!
ครม. ลงมติ เลื่อน PDPA กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไปอีก 1 ปี ไปบังคับใช้ปี 2565
https://www.it24hrs.com/2021/pdpa-postponed-to-2565/
#PDPA #พรบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ลงมติ 在 พ่อบ้านเยอรมัน Facebook 的精選貼文
สรุปข่าวทันโลก (Special Report)
- เยอรมนี Bundesrat ลงมติ ขยายระยะเวลาการผ่อนปรนให้ผู้ถือวีซ่าเชงเก้น ทั้งที่หมดอายุ และใกล้จะหมดอายุสามารถอยู่ต่อในประเทศได้ถึงวันที่ 30.09.2020
- เยอรมนี ยอดผู้ติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งผุ้ติดเชื้อรายใหม่ที่น้อยลง และผู้ติดเชื้อเดิมก็ทยอยหายและกลับบ้าน ล่าสุด ผู้ติดเชื้อสุทธิเหลืออยู่เพียงประมาณ 5,500 คนเท่านั้น
- เยอรมนีประกาศแจ้งเตือนการเดินทางแก่ 160 ประเทศนอก EU (ย้ำว่าประกาศแจ้งเตือน) ซึ่งคุณสามารถเดินทางได้ แต่รัฐแนะนำว่าให้ระวังตัวด้วย จนถึงวันที่ 31.08.2020
- Bremen อนุญาต โรงหนัง, โรงละคร, คอนเสริต์ฮอลล์ เปิดได้ตั้งแต่วันที่ 12.06.2020 เป็นต้นไป
- Baden-Württemberg อนุญาติให้คนในครอบครัวสายตรงพบเจอกันได้ในบ้านได้ไม่จำกัดจำนวน ส่วนที่ไม่ใช่ญาติอนุญาตให้ไม่เกิน 20 คน
- Mecklenburg-Vorpommern หลังจากเปิดให้ท่องเที่ยวพบว่าสถานการณ์ของการติดเชื้อนั้นยังควบคุมได้ดีมาก จึงอนุมัติให้โรงแรมสามารถปล่อยห้องพักเต็มจำนวนให้แขกได้ พร้อมทั้งโรงหนังและโรงละครเปิดได้ตั้งแต่วันที่ 13.06.2020 และ Bar และ Kneipe สามารถเปิดได้ตั้งแต่วันที่ 15.06.2020
- Brandenburg อนุมัติให้สามารถพบเจอหรือประชุมกันได้โดยไม่จำกัดจำนวนคนตั้งแต่วันจันทร์หน้าเป็นต้นไป
- Niedersachsen อนุมัติให้ Kindergarten เปิดได้ตั้งแต่วันที่ 22.06.2020 เป็นต้นไป
- จำนวนผู้ขอลี้ภัยใน EU ลดลง!! เป็นประวัติการณ์ หลังจากมีการแพร่ระบาดของไวรัส
- เดนมาร์ก เจ๋ง!! ประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับไวรัสหลังไม่พบสัญญาณที่จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเลย ถึงแม้ว่าจะผ่อนคลายมาตรการแล้ว แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลเดนมาร์กก็ยังจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
- อิตาลีและฝรั่งเศส สถานการณ์ดีขึ้นชัดเจนโดยเฉพาะในส่วนของผู้เสียชีวิตที่ลดน้อยลงมาก แต่ว่ายังมีการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่
- โปแลนด์ เตรียมเปิดพรมแดนให้กับทุกประเทศใน EU ในวันเสาร์ที่จะถึงนี้เป็นต้นไป
- ศรีลังกา ประกาศเลื่อนการเลือกตั้งออกไปสามเดือน เพราะเนื่องจากสถานการณ์ไวรัส
- ตุรกี สถานการณ์หนัก หลังจำนวนผู้ตกงานพุ่งสูงถึง 13.2% ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการได้รับผลกระทบจากไวรัส
- Fujifilm ลงทุนกว่า 928 ล้านดอลลาร์ เพื่อขยายโรงงานในประเทศเดนมาร์ก เพื่อรองรับการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยารักษาโรค และวัคซีนในการต่อสู้กับไวรัส
- USA ยอดผู้ติดเชื้อเกือบแตะ สองล้านคน พร้อมทั้งการประท้วงทั่วประเทศยังส่งผลให้แนวโน้มผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้น
- อินเดีย สถานการณ์น่าเป็นห่วง หลังผู้ติดเชื้อทะลุสองแสน ล่าสุด ล่าสุดภายในหนึ่งวันพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 9,985 คน
- USA เมือง Boston เสนอให้ผู้เข้าร่วมประท้วงในกรณี Black lives Matter เข้าทำการตรวจโควิด19
- กระแสการประท้วงในกรณี Black lives Matter กำลังกระจายไปทั่วยุโรป และทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และแอฟริกา
- USA การประท้วงนั้นเริ่มมีแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้นหลังจากที่ผู้ประท้วงนั้นพร้อมใจกันว่าต้องทำการ ปฏิรูปตำรวจอย่างชัดเจน
- มาเลเซีย หลังจากรัฐบาลออกมาประกาศว่าทำการควบคุมได้แล้ว ก็เตรียมธุรกิจประเภทต่างๆ เช่นร้านทำผม และเปิดโรงเรียนตั้งแต่วันที่ 24.06.2020 เป็นต้นไป
- ไทย ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ล้วนมาจากผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ส่วนผู้ติดเชื้อในประเทศยังไม่มีเป็นเวลาติดต่อกัน 16 วัน
- การปิดน่านฟ้า หรือการกลับไทยนั้นให้รอประกาศจากการบินพลเรือน หรือทางราชการเท่านั้น เพราะตอนนี้ข่าวลือเยอะมาก!!!
- ราศีที่จะดวงพุ่งแรงมากหลังจากที่ซึมมานาน นี่คือเวลาทองของคุณที่จะเริ่มทำในสิ่งที่ท้าทาย หรือสิ่งใหม่ๆ เช่นทำธุรกิจ หรือตัดสินใจเรียนต่อ คือราศี "มิถุน"
- ราศีที่ให้ระวังคนปากหวานก้นเปรี้ยว ที่จะเข้ามาทำให้คุณปั่นป่วนและวุ่นวาย ให้ฟังหูไว้หู โดยเฉพาะใครที่ปากหวานเกินเหตุจงระวังคือราศี "กรกฎ และ ธนู"
"ยังจำกฏของเราได้มั้ยเอ่ย? ไม่ได้ Update มาหลายวัน คิดถึงกันมั้ย?"
"ช่วงนี้พ่อบ้านจะวุ่นมาก เพราะน้องเริ่มจำหน้าพ่อแม่ได้แล้วครับ นอนน้อยลง แต่กินเก่ง 555 เลยอยากอยู่กับเค้าให้มากขึ้น"
"ดังนั้นจะมาได้แค่ตอนที่คุณลูกนอนนะครับ และขอให้ทุกคนมีแต่ความสุขนะครับ"
#พ่อบ้านเยอรมัน #เยอรมัน #เยอรมนี #Germany #German #ข่าวทันโลก
มติ Bundesrat
https://www.bundesrat.de/SharedDocs/drucksachen/2020/0201-0300/283-20(B).pdf?__blob=publicationFile&v=2
ข่าว Reisewarnung
https://www.inside-digital.de/news/weltweite-reisewarnung-urlaub-bleibt-gefaehrlich
ผู้ติดเชื้อในเยอรมนีลดลง
https://www.bild.de/ratgeber/2020/ratgeber/coronavirus-aktuell-fakten-zahlen-aktive-infektionsfaelle-sinken-r-wert-unter-1-70411860.bild.html
ที่มาของข่าวไวรัสรอบโลก
https://www.aljazeera.com/news/2020/06/china-rejects-study-coronavirus-began-august-live-updates-200609233117988.html
https://www.bild.de/news/inland/news-inland/coronavirus-live-ticker-news-aktuell-hessen-thueringen-berlin-bundeslaender-lockern-regeln-70411946.bild.html#la71189902
ที่มาของข่าวการประท้วงเรื่องการเหยียดสีผิว
https://www.aljazeera.com/news/2020/06/george-floyd-brother-testify-congress-live-updates-200610122439074.html
ลงมติ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
วิเคราะห์การใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการยับยั้งร่างกฎหมายภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
เมื่อพิจารณาศึกษา “การใช้พระราชอำนาจยับยั้งร่างกฎหมายของพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐ” ของประเทศไทยการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในอันที่จะยับยั้ง (veto) ร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จะเป็นไปในลักษณะที่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญกำหนดไว้โดยตรงในรัฐธรรมนูญให้อำนาจประมุขของรัฐในการยับยั้งร่างกฎหมาย กล่าวคือ กำหนดให้ประมุขของรัฐเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจประกาศใช้กฎหมายโดยให้อำนาจที่จะยับยั้งไม่ประกาศใช้ร่างกฎหมายดังกล่าวขึ้นบังคับใช้ได้ตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ เมื่อรัฐสภา มีมติให้ความเห็นชอบในร่างกฎหมาย ฉบับใดฉบับหนึ่งแล้ว ประธานรัฐสภาจะต้องส่งร่างกฎหมายนั้นให้แก่นายกรัฐมนตรีเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายและเมื่อนายกรัฐมนตรีนำร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชวินิจฉัยได้ 3 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 ทรงเห็นชอบซึ่งมีอยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้
1) นายกรัฐมนตรีนำร่างกฎหมายฉบับนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ภายใน 20 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างกฎหมาย
2) พระมหากษัตริย์ทรงพระปรมาภิไธย
3) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กรณีที่ 2 ทรงไม่เห็นชอบด้วยในร่างกฎหมายฉบับนั้น มีอยู่ 2 ประเด็น คือ
ประเด็นที่ 1 ทรงไม่เห็นชอบด้วยในร่างกฎหมายฉบับนั้น และพระราชทานคืนมายังรัฐสภาภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯถวาย อันถือว่าทรงยับยั้ง (veto) โดยชัดแจ้ง
ประเด็นที่ 2 ทรงไม่เห็นชอบด้วยในร่างกฎหมายฉบับนั้น คือ พระมหากษัตริย์ไม่ทรงผ่านพระราชทานร่างกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีและปล่อยให้พ้นล่วงเลย 90 วัน ซึ่งเมื่อเวลา 90 วันล่วงพ้นไปก็ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรง ยับยั้ง (veto) ร่างกฎหมายนั้นโดยปริยาย
ในกรณีที่ 2 นี้ เมื่อทรงไม่เห็นชอบด้วยในร่างกฎหมายฉบับนั้นพระราชทานคืนมารัฐสภาทั้งทั้ง 2 ประเด็น รัฐสภามีทางแนวทางอยู่ 2 แนวทาง ดังนี้
แนวทางที่ 1 ปล่อยให้ร่างกฎหมายฉบับนั้นตกไป
แนวทางที่ 2 พิจารณายืนยันด้วยเสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภาเสนอทูลเกล้าฯต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 30 วัน พระมหากษัตริย์ทรงมี 2 ทางเลือก คือ ทางเลือกที่ 1 ทรงเห็นชอบก็ให้ดำเนินการเช่นเดียวในกรณีที่ 1 ข้างต้น ทางเลือกที่ 2 ทรงไม่เห็นชอบด้วยในร่างกฎหมายฉบับนั้น คือ พระมหากษัตริย์ไม่ทรงผ่านพระราชทานร่างกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ และส่งมายังรัฐสภาภายใน 30 วัน หรือ เมื่อเวลา 30 วันล่วงพ้นไปก็ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรง ยับยั้ง (veto) แต่อย่างไรก็ตามผลก็ คือ รัฐสภาสามารถไปประกาศใช้เป็นกฎหมายเสมือนหนึ่งทรงลงพระปรมาภิไธย
เมื่อพิจารณาศึกษาการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะทรง ยับยั้ง (veto) ร่างกฎหมายภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จะพบว่า จะเป็นการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะทรงยับยั้ง (veto) ร่างกฎหมายโดยชัดแจ้งในกรณีที่ 2 หรือโดยปริยาย ในกรณีที่ 3 ก็ตาม รัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) มีแนวทางปฏิบัติ อยู่ 2 แนวทาง ดังนี้
1.1 รัฐสภาปล่อยให้ร่างกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงยับยั้งร่างกฎหมายตกไป
แนวทางที่ 1 เป็นแนวทางที่รัฐสภาปล่อยให้ร่างกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงยับยั้งร่างกฎหมายตกไป ซึ่งในกรณีนี้จะเกิดขึ้น “การใช้พระราชอำนาจยังยั้ง (veto) ร่างกฎหมายของพระมหากษัตริย์” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) จะพบว่ามีอยู่ 3 ฉบับ ดังนี้
ฉบับที่ 1 ทรงยับยั้งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน 1 ที่ให้ลงโทษปรับ การลงโฆษณาสื่อ 20 เท่า ของโทษอาญา ซึ่งผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อทูลเกล้าฯ ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย และรัฐบาลไม่ยืนยันก็ตกไป แสดงให้เห็นว่าสภานิติบัญญัติที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) และไม่มีฝ่ายค้าน เมื่อทรงมีกฎหมายในลักษณะนี้เกิดขึ้น พระองค์ใช้พระราชดำริรับฟังและคงเห็นการวิพากษ์วิจารณ์คัดค้าน พระองค์จึงทรงไม่ลงพระปรมาภิไธยในร่างกฎหมายดังกล่าว
ฉบับที่ 2 ทรงยับยั้งร่างกฎหมายในสมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร คือ ร่างพระราชบัญญัติเหรียญพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ 72 พรรษา คือ ร่างกฎหมายฉบับนี้มีข้อความผิด ทรงพระราชทานร่างกฎหมายกลับคืนมา
ฉบับที่ 3 ทรงยับยั้งร่างกฎหมายในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เช่นกัน คือ ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชกรครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่างกฎหมายฉบับนี้มีข้อความผิดเช่นเดียวกับคือ ร่างพระราชบัญญัติเหรียญพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ 72 พรรษา
ข้อสังเกต ร่างกฎหมายที่พระองค์ทรงยับยั้งในฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 ทรงพระราชทานร่างกฎหมายคืนมาพร้อมพระราชทานเหตุผลที่ทรงยับยั้งมาด้วย
1.2 รัฐสภาพิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นอีกครั้งหนึ่ง
แนวทางที่ 2 เป็นแนวทางที่รัฐสภาพิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นอีกครั้งหนึ่ง และหากรัฐสภาลงมติร่างกฎหมายนั้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา นายกรัฐมนตรีจะต้องนำร่างกฎหมายฉบับนั้นทูลเกล้าถวายฯอีกครั้งหนึ่ง และหากพระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน นายกรัฐมนตรีจึงนำร่างกฎหมายฉบับนั้นไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับ เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ทรงได้ลงพระปรมาภิไธย แต่ถ้ารัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) มีมติยืนยันร่างกฎหมาย ที่พระมหากษัตริย์ทรงยับยั้ง (veto) โดยชัดแจ้งหรือปริยายด้วยคะแนนเสียงไม่ถึง 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ 2 สภา ร่างกฎหมายฉบับนั้นก็ตกไปนำไปประกาศใช้ไม่ได้ การใช้พระราชอำนาจเฉพาะที่ใช้โดยพระองค์เอง ซึ่งถือว่าเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยเพียงลำพัง ในการยับยั้งร่างกฎหมาย เหตุที่ไม่เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยเพียงลำพัง ก็เพราะว่าการยับยั้งนั้นไม่เป็นการยับยั้งที่เด็ดขาดนั้นคือ แม้พระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายใด จึงไม่ลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมา รัฐสภาก็ยังสามารถลงคะแนนเสียงเพื่อยืนยันการประกาศใช้ร่างกฎหมายที่ถูกยับยั้งได้โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการลงพระปรมาภิไธย พระราชอำนาจยับยั้งร่างกฎหมายนี้จึงเป็นเพียงการยับยั้งเพื่อการถ่วงเวลาเท่านั้น ซึ่งในกรณีเกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จ ประปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 กล่าวถึง เรื่องนี้ไว้ โดยสรุปดังนี้
กรณีที่ 1 ทรงยับยั้ง ร่าง พระราชบัญญัติเมื่อ วันที่ 8 สิงหาคม 2477 รัฐบาล ได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติอากรมรดก และ การรับมรดก สภาผู้แทนราษฎร ลงมติเห็นชอบ จึงนำขึ้น ทูลเกล้าฯถวาย เพื่อ ทรงลงพระปรมาภิไธย แต่ ได้พระราชทาน ร่างพระราชบัญญัตินั้น คืนมาให้ สภาฯพิจารณาใหม่ โดย ทรงจะให้เพิ่ม บทบัญญัติ ยกเว้น การเก็บอากรมรดก จากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ให้ชัดแจ้งว่า ไม่ต้องเก็บ อากรมรดก มีพระราชประสงค์ จะให้เติมข้อความ ต่อไปนี้คือ “พระราชทรัพย์สินใดๆ ที่เป็น พระราชมรดก ไปยังผู้อื่น นอกจาก ผู้สืบราชสมบัติ ต้องเก็บ อากรมรดก นอกจากนั้น เป็นพระราชทรัพย์ ฝ่ายพระมหากษัตริย์ ไม่ต้องเสีย อากรมรดก” คณะรัฐมนตรี ยืนยันว่า ตามร่าง พ.ร.บ.นี้ ทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ต้องเสีย อากรมรดกอยู่แล้ว ที่ประชุมสภา ได้พิจารณา และ ลงมติ ด้วยคะแนนลับ ยืนยัน ตามร่างเดิม ด้วยคะแนนเสียง 132 ต่อ 89 นายกรัฐมนตรี จึงได้ทูลเกล้าฯถวาย เพื่อ ทรงลงพระปรมาภิไธย อีกครั้งหนึ่ง
ในการนี้ ได้ให้ ม.จ.วรรณไวทยากร วรวรรณ กราบบังคมทูล ถวายรายงานด้วยว่า ตามร่างพระราชบัญญัตินั้น ตรงกับ พระราชประสงค์แล้ว คือ จะไม่เรียกเก็บ อากร จากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และ รัฐบาลจะร่างกฎหมาย ยกเว้นอากรดังกล่าว ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในที่สุด ได้ทรงยอม ลงพระปรมาภิไธย
กรณีที่ 2 ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม 2477 รัฐบาล เสนอร่าง พ.ร.บ.ต่อ สภาฯ ซึ่ง มีหลักการอย่างเดียวกัน รวม 3 ฉบับ คือ ร่าง พระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา, ร่าง พระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาทหาร สำหรับเนื้อหา ในการแก้ไข คือ เมื่อ มีการตัดสินประหารชีวิต ให้ใช้วิธีการประหาร ด้วยการยิง แทน การตัดหัว ซึ่ง นายกรัฐมนตรี ได้แถลงเหตุผลว่า การประหารชีวิต โดยวิธีตัดศีรษะนั้น เป็นที่น่าสยดสยอง อย่างยิ่ง บางครั้ง เป็นการทรมาน อย่างน่าเวทนา เพชฌฆาตบางคน ไม่มีความชำนาญพอ มีการพลาดบ่อยๆ บางครั้ง มีเสียงโอดครวญน่าสงสาร เพราะ แทนที่จะฟันคอ ไปฟันถูก ศรีษะบ้าง หลังบ้าง การตระเตรียมประหาร ก็เป็นเรื่องใหญ่โต ซึ่ง เป็นการทรมานมากขึ้น จนนักโทษบางคน บ้าไป หรือ เกือบบ้าไป ขณะที่ ค่าใช้จ่าย ในการจ้างเพชฌฆาต และ การตระเตรียม ก็ใช้เงิน มิใช่น้อย ถ้า เปลี่ยนเป็น วิธียิงเสีย จะทุ่นค่าโสหุ้ยมาก
นอกจากนั้น ยังบัญญัติไว้ว่า “ในการลงอาญาประหารชีวิต ให้เอาตัว ไปประหารชีวิต ณ ตำบล และ เวลาที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการนั้น จะเห็นสมควรแต่ห้ามมิให้เอาตัวไปประหารชีวิตภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด”
หลังจากที่ ร่างกฎหมาย ทั้ง 3 ฉบับ ผ่านสภาแล้ว ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย แต่ พระมหากษัตริย์ พระราชทานคืน ร่างกฎหมาย มาให้สภา พิจารณาใหม่ โดยกำหนด ให้แน่นอนว่า
(1) ผู้ต้องคำพิพากษา ลงโทษให้ประหารชีวิตนั้น จะต้องให้ได้ทูลเกล้าฯถวาย เพื่อ พระราชทานอภัยโทษ และ ยอมให้ ญาติ หรือ ผู้ต้องคำพิพากษานั้น ทูลเกล้าฯแทนได้ด้วย
(2) ในระหว่างที่ ยังไม่ได้ พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย ให้รอ การประหารชีวิต
(3) ต้องบัญญัติ ให้ชัดเจนว่า ฎีกานั้น จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยไม่ละเลยชักช้า
วันที่ 29 กันยายน สภาฯ ลงมติ ด้วยคะแนนลับ ยืนยัน ตามร่างเดิม จึงได้ทูลเกล้าฯถวายไป อีกครั้งหนึ่ง แต่ พระมหากษัตริย์ ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย คืนมา ภายในกำหนดเวลา ในรัฐธรรมนูญ จึงเป็นอันให้ใช้บังคับ ร่าง พระราชบัญญัติทั้ง 3 ฉบับนี้เป็นกฎหมายได้
เมื่อพิจารณาศึกษาวิเคราะห์ถึงพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในอันที่จะยับยั้ง (veto) ร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) แล้ว ซึ่งเป็นพระราชอำนาจที่ไม่จำเป็นต้องมีองค์กรใดถวายคำแนะนำและไม่จำเป็นต้องมีองค์กรใดลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ถือเป็นข้อยกเว้น พระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอำนาจที่ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับองค์กรอื่น และการยับยั้งร่างกฎหมายของพระมหากษัตริย์ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ จะวางหลักการใช้พระราชอำนาจการการยับยั้งร่างกฎหมายของพระมหากษัตริย์นั้นเป็น “พระราชอำนาจยับยั้งชั่วคราว” เท่านั้น