[爆卦]รัฐธรรมนูญ อ่านว่า是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇รัฐธรรมนูญ อ่านว่า鄉民發文沒有被收入到精華區:在รัฐธรรมนูญ อ่านว่า這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 รัฐธรรมนูญ產品中有169篇Facebook貼文,粉絲數超過0的網紅,也在其Facebook貼文中提到, นายกรัฐมนตรี เช้านี้ครับ … พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ปฏิเสธทึ่จะตอบคำถามว่าได้พูดคุยหรือเคลียร์กับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอ...

 同時也有26部Youtube影片,追蹤數超過46萬的網紅เจาะข่าวตื้น Shallow News in Depth,也在其Youtube影片中提到,ร่วมเป็นผู้สนับสนุนพวกเรา ผ่านบัญชีกสิกรไทย 0698966939 บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด หรือสนับสนุนพวกเราแบบรายเดือนคลิกที่ลิงก์นี้เลยคร้าบ https://www.youtub...

รัฐธรรมนูญ 在 Umawadee Napat Sriwarom Instagram 的最佳貼文

2020-05-10 10:19:55

เทศกาลมาแล๊ววววว ปีใหม่ สิ้นปี รัฐธรรมนูญ คริสมาสต์ สอยเค้กผลไม้ไวน์แดง ขนาดกระทัดรัด 1/4 ปอนด์ ราคาน่าคบ สำหรับหัวหน้าสายเปย์แจกลูกน้อง หรือ ลูกน้องไ...

  • รัฐธรรมนูญ 在 Facebook 的最佳解答

    2021-09-10 13:53:12
    有 4,704 人按讚

    นายกรัฐมนตรี เช้านี้ครับ …

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ปฏิเสธทึ่จะตอบคำถามว่าได้พูดคุยหรือเคลียร์กับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐเรียบร้อยแล้วหรือไม่ โดยพล.อ.ประยุทธ์ ย้อนถามว่า "เคลียร์เรื่องอะไร ไปดูมาตรา 171 "

    ถามว่า นายกฯ สบายใจขึ้นแล้วใช่หรือไม่เรื่องการเมือง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "สบายใจมาตลอด แต่เป็นเรื่องที่นายกฯ ต้องปรับเปลี่ยนอะไรบ้างเพื่อให้เกิดผลดีต่อการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐธรรมนูญเขียนไว้แล้วในมาตรา 171"

    รัฐธรรมนูญ มาตรา 171

    “มาตรา 171 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคําแนะนํา”

  • รัฐธรรมนูญ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文

    2021-09-07 22:35:26
    有 32 人按讚

    การยอมรับประกาศคณะปฏิวัติเป็นกฎหมายกรณีศึกษาประสบการณ์ประเทศปากีสถาน

    ในประเทศปากีสถาน ได้มีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1958 ประธานาธิบดีอิสกันตาร์ มีร์ซา ได้มอบการบังตคับใช้กฎอัยการสึกให้แก่ นายพลอายับ ข่าน ทั้งยังแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในเวลาต่อมาทั้ง 2 มีความขัดแย้งกัน นายพลอายับ ข่าน ได้กดดันให้ นายมีร์ซา เนรเทศตนเองไปลอนดอน และได้ตั้งตนเองเป็นประธานาธิบดีแทนนายมีร์ซา ในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1958 ส่วนการยอมรับรัฐประหารของศาลปากีสถานในคดี Dosso v. Federation of Pakistan (1958) ได้ยอมรับการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1958 มีผลสมบูรณ์ทางกฎหมายเรียบร้อย นายพลอายับ ข่าน เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ประกาศคำสั่งใด ๆ ที่ออกมามีสถานะเป็น “กฎหมาย” ตามแนวคิดของฮันส์ เคลเซน

    11 ปี ภายใต้การปกครองของรัฐบาลอายับ ข่าน เกิดความไม่พอใจของประชาชนเกิดการต่อต้าน ในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1969 นายพลอายับ ข่าน ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีและได้โอนอำนาจปกครองประเทศ ให้กับนายพลอาย่าห์ ข่าน และนายพลยาย่าห์ ข่าน ได้ประกาศกฎอัยการศึกยกเลิกรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1962 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากการรัฐประหาร ในปี ค.ศ. 1958 ยกเลิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และตั้งรัฐบาลทหาร โดยให้สัญญาว่าจะให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใน ปี.ศ. 1970 และในการเลือกตั้ง ส.ส. จำนวน 300 ที่นั่งเดือนธันวาคม ค.ศ. 1970 เกิดความขัดแย้ง ในเรื่องความคิดที่จะแบ่งแยกประเทศปากีสถานระหว่างฝั่งตะวันออก (ปัจจุบันประเทศบังคลาเทศ) กับฝั่งตะวันตก (ปัจจุบันประเทศปากีสถาน) กล่าวคือ พรรคสันนิบาตอวามี (Awami League) ของมูจิบูร์ เราะห์มาน ได้ที่นั่ง ส.ส. 160 ซึ่งมาจากเขตเลือกตั้งในเขตปากีสถานตะวันนออกทั้งหมดมีนโยบายต้องการให้ปากีสถานฝั่งตะวันออกมีอิสระในการปกครองตนเอง ขณะที่พรรคประชาชนปากีสถาน (Pakistan Peoples Party) ของซัลพิการ์ อาลี บุตโต ได้ 81 ที่นั่ง ซึ่งมาจากเขตเลือกตั้งในปากีสถานตะวันตกทั้งหมด ส่วนพรรคสันนิบาตมุสลิม (Muslim League) ได้ ส.ส. ทั้งฝั่งปากีสถานตะวันออกและตะวันตก แต่มีจำนวนไม่มากที่จัดตั้งรัฐบาลได้

    ความขัดแย้งระหว่างพรรคสันนิบาตอวามี (Awami League) ของมูจิบูร์ เราะห์มาน กับพรรคประชาชนปากีสถาน (Pakistan Peoples Party) ของซัลพิการ์ อาลี บุตโต ทำให้ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมได้ ทำให้ประชาชนในปากีสถานตะวันออกลุกฮือเรียกร้องอิสรภาพ นายพลยาย่าห์ ข่าน ตัดสินใจส่งกองทัพเข้าไปปราบปรามอย่างรุนแรง ในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1971 ทำให้ มูจิบูร์ เราะห์มาน นำประชาชนในปากีสถานตะวันออกแยกตัวเป็นอิสระจากปากีสถาน เกิดสงครามเพื่ออิสรภาพ แต่ก็ถูกกองทัพของปากีสถาน (ตะวันตก)จับกุม รัฐบาลอินเดียส่งกองทัพเข้ามาช่วยปากีสถานตะวันออก กองทัพปากีสถาน (ตะวันกตก) พ่ายแพ้ทำให้ปากีสถานตะวันออกจึงเป็นรัฐใหม่เกิดขึ้นเป็น “ประเทศบังคลาเทศ”
    หลังจากปากีสถานตะวันตกพ่ายแพ้นายพล ยาย่าห์ ข่าน ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี พรรคประชาชนปากีสถานก็เข้ามาปกครองประเทศ โดยมีนายซัลพิการ์ อาลี บุตโต หัวหน้าพรรคเป็นประธานาธิบดี และได้ปล่อยตัวนายมูจิบูร์ เราะห์มาน ทึ่ถูกคุมขังในขณะนั้นออกนอกปากีสถาน (ตะวันตก) หลังจาก นายมูจิบูร์ เราะห์มาน ได้ถูกปล่อยตัวก็ได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศบังคลาเทศที่แยกตัวไปจากปากีสถาน (ตะวันตก)

    ในปี ค.ศ. 1972 ในปากีสถานได้มีคดีเกี่ยวกับการรัฐประหาร คือ คดี Asma Jilani v. Government of Punjab (1972) นายพลมาลิก คูลาม ไลจานี (Malik Ghulam Jilani) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์และนักกิจกรรมทางการเมืองได้ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมโดยอาศัยอำนาจตามประกาศกฎอัยการศึก ฉบับที่ 78 ซึ่งออกโดยนายพลยาย่าห์ ข่าน ในปี ค.ศ. 1971 ซึ่งมีผลบังคับใช้อยู่ไม่ได้ยกเลิก ตามประกาศกฎอัยการศึกนี้ได้ให้อำนาจเจ้าหน้ทที่จับกุมกักขังบุคคลได้โดยไม่ต้องมีหมายศาลและไม่มีระยะเวลา บุตรของนายมาลิก ไจลานี คือ อัสมา ไจลานี (Asma Jilani) ได้โต้แย้งต่อศาลว่าการจับกุมภายใต้กฎอัยการสึกดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในศาลชั้นต้นได้ตัดสินว่ากฎอัยการสึกนั้นชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเดินตามคำพิพากษาคดี Dosso (1958) ซึ่งยืนยันว่าการรัฐประหารสำเร็จมีอำนาจปกครองสุงสุดในการปกครองประเทศ ดังนั้นประกาศ คำสั่งของคณะรัฐประหารมีสถานะทางกฎหมายเป็น “กฎหมาย” ที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคม อัสมา ไจลานี ได้อุทธร์ต่อศาลสูงสุดและศาลสูงสุดได้กลับคำพิพากษาโดยไม่นำแนวคำพิพากษาคดี Dosso (1958) มาใช้โดยให้เหตุผล อยู่ 5 ประเด็น ดังนี้

    ประเด็นที่ 1 การนำหลักประสิทธิภาพมาปรับใช้เพียงเพื่อรองรับการรัฐประหารใน คดี Dosso (1958) มาปรับใช้ในคดี ไจลานี ไม่ถูกต้อง เนื่องจากศาลสูงสุดในคดี Dosso (1958) ยืนยันว่ารัฐประหารสำเร็จทั้งนี้เหตุการณ์เพิ่งผ่านยไปได้เพียงไม่กี่วันภายในระยะเวลาไม่กี่วันย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ศาลสูงสุดจะยืนยันข้อเท็จจริงได้ว่า รัฐประหารสำเร็จแล้ว

    ประเด็นที่ 2 ศาลสูงสุดในคดี ไจลานี เห็นว่า คดี Dosso (1958) ที่ศาลอ้างหลักประสิทธิภาพตามแนวความคิดของ ฮันส์ เคลเซ่น มาปรับใช้นั้นถือว่าไม่ถูกต้องเพราะแนวความคิดของฮันส์เคลเซ่นเป็นเพียงทฤษฎีกฎหมาย ไม่ได้มีสถานะเป็นหลักการพื้นฐานหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องนำมาตัดสินคดี

    ประเด็นที่ 3 ความสมบุรณ์ของการรัฐประหารไม่อาจพิจารณาได้จากความสำเร็จในการสืบทอดอำนาจการปกครองประเทศ แต่ต้องพิจารณาจากการต่อต้านขัดขืนของพลเมือง

    ประเด็นที่ 4 การอ้างกฎหมายระหว่างประเทศว่ามีรัฐต่างประเทศให้การรับรองรัฐบาลใหม่ที่เกิดจากการรัฐประหารแล้วนั้นยังไม่เพียงพอ เพราะในทางกฎหมายระหว่างประเทส รัฐต่างประเทศให้การยอมรับรองรัฐ ไม่ใช่การรับรองประมุขของรัฐหรือรัฐบาล ส่วนบุคคลหรือรัฐบาลใด ๆ จะถือว่าเป็นประมุขของรัฐหรือรัฐบาลที่สมบูรณ์ทางกฎหมายหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับกฎหมายในรัฐนั้น

    ประเด็นที่ 5 ศาลสูงสุดในคดี ไจลานี เห็นว่าผู้พิพากษาในคดี Dosso (1958) มีส่วยเกี่ยวข้องกับการรัฐประหารโดยไปช่วยยกร่างกฎอัยการสึก ซึ่งเป็นเหตุสำคัญของคดี การที่ผู้ยกร่างกฎอัยการศึกมาเป็นผู้พิพากษาตัดสินรองรับให้กฎอัยการสึกและการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกสมบุรณ์ทางกฎหมายเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าผู้พิพากษาไม่มีความเป็นกลางและมีส่วนเกี่ยวข้องในคดี

    ในปี ค.ศ. 1973 มีรัฐธรรมนูญใหม่ คือ รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1973 ในปี ค.ศ. 1977 ได้มีการเลือกตั้งครั้งแรกหลังจากปากีสถานตะวันออกแยกตัวออกไปเป็นประเทศบังคลาเทศ ผลปรากฏว่า พรรคประชาชนปากีสถาน พรรครัฐบาล ชนะเลือกตั้ง พรรคการเมืองกลุ่มพันธมิตรไม่เห็นด้วยกับผลการเลือกตั้ง เพราะพรรคประชาชนปากีสถานโกงการเลือกตั้ง จึงได้ทำการประท้วงและมีการปราบปรามการประท้วง ทำให้นายพลโมฮัมหมัด เซยอุลฮัก (Muhommad Zia-ul-Haq) ผู้บัญชาการกองทัพตัดสินใจก่อการรัฐประหาร เนื่องจากการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับพรรคการเมืองกลุ่มพันธมิตรล้มเหลวและไม่มีหนทางอื่นใดสามารถยุติวิกฤตครั้งนี้ได้ นายพลโมฮัมหมัด เซียอุลฮัก ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1973 บางมาตรา ทำการยุบเลิกรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี รวมทั้งประกาศยกเว้นอำนาจสูงสุดในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และได้จับกุมนายอาลี บุตโต (Ali Bhutto) ในฐานความผิดสั่งการให้ลอบสังหารนักการเมืองฝ่ายค้านคนหนึ่ง แต่สาลได้ตัดสินให้นายอาลี บุตโต พ้นผิดต่อมานายอาลี บุตโต ได้ถูกจับกุมอีกครั้งหนึ่งโดยใช้กฎอัยการศึกเพื่อดำเนินคดีในข้อหาเดิม

    ในการดำเนินคดีขึ้นสู่ศาล นางเบกุม นุสรัต บุโต (Begum Nusrut Bhutto) ภรรยานายอาลี บุตโต ได้โต้แย้งต่อศาลว่า การจับกุมคุมขังนายอาลี บุตโต สามีของนางตามประกาสกฎอัยการสึกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1973 และเป็นการใช้อำนาจที่สืบเนื่องจากการรัฐประหาร 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1977 จึงต้องพิจารณาว่า การรัฐประหารครั้งนั้นสมบุรณ์ทางกฎหมายหรือไม่ และคณะรักษาความสงบที่นำโดยนายพลเซีย อุลฮัก เป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

    ข้อสังเกต การรัฐประหารครั้งนี้ได้มีการยกเว้นอำนาจของศาลสุงสุดในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลที่มาจากการัฐประหาร แต่ศาลสูงสุดก็ดำเนการพิจารณาว่า ไม่ยอมรับประกาศของคณะรัฐประหาร ยืนยันว่าศาลสูงสุดมีอำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาล จึงรับคำฟ้องของนางนุสรัต บุตโต ทำให้รัฐบาลคณะรัฐประหารของนายพลเซีย อุลฮัก สั่งย้ายนายยากูบ อาลี (Yaqub Ali) ประธานศาลสูงสุดออกจากตำแหน่ง ทำให้นายยากูบ อาลี ลาออกจากตำแหน่งผู้พิพากษา ศาลสูงสุดในคดี Begum Nusrat v. The Chief of the Army Staff (1977) ได้นำ”หลักความจำเป็น”มาปรับใช้ว่า เมื่อพิจารณาถึงเหตุการณ์ตั้งแต่การเลือกตั้ง 7 มีนาคม ค.ศ. 1977 เป็นต้นมาประเทศปากีสถานอยู่ภาวะวิกฤต รัฐประหารเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1977 และการประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1973 เกิดขึ้นจากข้อพิจารราถึงความจำเป็นและความผาสุกของประชาชน รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1973 ยังคงมีผลในทางกฎหมายต่อไป เพียงแต่งดใช้บางส่วนเท่านั้น เว้นแต่ส่วนว่าด้วยอำนาจของศาลในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรับบาล ซึ่งศาลสูงสุดเห็นว่าบทบัญญัติในส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องดใช้ เป็นการยืนยันว่าการรัฐประการและการใช้อำนาจต่าง ๆ ของคณะรัฐประหารนั้นมีผลสมบุรณ์ทางกฎหมาย เพราะจำเป็นในสถานการณ์ที่ต้องใช้อำนาจเข้าตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลได้

  • รัฐธรรมนูญ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答

    2021-09-05 12:13:40
    有 30 人按讚

    “คสช.สิ้นไป : คำสั่งหัวหน้า คสช. 37/2560 สิ้นผลไปด้วยหรือไม่

    มีหลายคนยังมีความเข้าใจผิดคลาดเคลื่อนว่า คสช.(คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) พ้นสภาพเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่มาบริหารประเทศ มาตรา ๔๔ ก็ตายไปด้วย ดังนั้น คำสั่งตามมาตรา ๔๔ ก็ตายไปด้วยนั้น ถือเป็นการเข้าใจผิด ครับ

    ถาม การบริหารงานของสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา มักปรากฏปัญหาการได้มาซึ่งผู้ดํารงตําแหน่งผู้บริหาร ทําให้การบริหารงานของสถานศึกษาต้องหยุดชะงัก มีการแก้ไขปัญหาอย่างไร
    ตอบ ปัจจุบันปัญหาการบริหารงานของสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา มักปรากฏปัญหาการได้มาซึ่งผู้ดํารงตําแหน่งผู้บริหาร ทําให้การบริหารงานของสถานศึกษาต้องหยุดชะงัก ไม่สามารถขับเคลื่อนสถานศึกษาได้อย่างเป็นระบบ ขาดความต่อเนื่อง และเกิดความล่าช้าในการบริหารงานที่สําคัญหลายกรณี ส่งผลให้การดําเนินการเพื่อปฏิรูปการศึกษาซึ่งเป็นเรื่องสําคัญเรื่องหนึ่งในการปฏิรูปประเทศตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ไม่อาจบรรลุผลสําเร็จลงได้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๖๕ ของรัฐธรรมนูญ ประกอบกับมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงมี คําสั่งที่ ๓๗/๒๕๖๐เรื่องการแก้ไขปัญหาการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา ดังต่อไปนี้
    ๑.ในคําสั่งนี้ “สถาบันอุดมศึกษา”หมายความว่า สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นส่วนราชการและเป็นนิติบุคคล “สภาคณาจารย์”หมายความว่า สภาคณาจารย์และข้าราชการ หรือสภาคณาจารย์และบุคลากร หรือสภาที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งทําหน้าที่ทํานองเดียวกับสภาคณาจารย์แล้วแต่กรณี ตามกฎหมายจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา
    ๒.เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษาให้มีความต่อเนื่องและเกิดประสิทธิภาพ ให้สถาบันอุดมศึกษามีอํานาจแต่งตั้งบุคคลใดที่มิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษามาดํารงตําแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะได้ สําหรับคุณสมบัติและลักษณะ ต้องห้ามอื่นให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและกฎหมายจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ ความในวรรคหนึ่ง ให้นํามาใช้บังคับกับผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะอยู่ในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ และผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวในวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับด้วย
    ๓. มิให้นําบทบัญญัติที่เกี่ยวกับระยะเวลาในการรักษาราชการแทนผู้ดํารงตําแหน่งอธิการบดีที่บัญญัติอยู่ในกฎหมายจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษามาใช้บังคับกับการรักษาราชการแทนในระหว่างการดําเนินการสรรหาหรือดําเนินการเพื่อแต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าว
    ๔.ในการดําเนินการเพื่อให้มีสภาคณาจารย์ตามกฎหมายจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา ให้คณาจารย์และบุคลากรอื่นของสถาบันอุดมศึกษานั้นซึ่งมิได้เป็นคณาจารย์แต่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานของสถาบันอุดมศึกษานั้นมีสิทธิเลือกและดํารงตําแหน่งในสภาคณาจารย์ได้เช่นเดียวกัน
    ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ ความในวรรคหนึ่ง มิให้มีผลกระทบต่อผู้ดํารงตําแหน่งในสภาคณาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ หรืออยู่ระหว่างการดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้ดํารงตําแหน่งในสภาคณาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาในวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ
    ๕.ในกรณีเห็นสมควรนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้
    ๖.คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

    ถาม การรับรองการใช้อำนาจและรับรองความชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญของคำสั่งหัวหน้า คสช. ๓๗/๒๕๖๐
    ตอบ เมื่อพิจารณาศึกษาถึงการรับรองการใช้อำนาจและรับรองความชอบด้วยกฎหมาย ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของคำสั่งหัวหน้า คสช. ๓๗/๒๕๖๐ จะปรากฏอยู่ในมาตรา ๒๖๕ กับมาตรา ๒๗๙ รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ดังนี้
    “มาตรา ๒๖๕ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ยังคงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่
    ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงมีหน้าที่และอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๙ และให้ถือว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไป
    ให้นำความในมาตรา ๒๖๓ วรรคเจ็ด มาใช้บังคับแก่การสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม”
    “มาตรา ๒๗๙ บรรดาประกาศ คำสั่ง และการกระทำของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ หรือที่จะออกใช้บังคับต่อไปตามมาตรา ๒๖๕ วรรคสอง ไม่ว่าเป็นประกาศ คำสั่งหรือการกระทำที่มีผลใช้บังคับในทางรัฐธรรมนูญ ทางนิติบัญญัติ ทางบริหาร หรือทางตุลาการให้ประกาศ คำสั่ง การกระทำ ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำนั้นเป็นประกาศ คำสั่ง การกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมาย และมีผลใช้บังคับโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป การยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวให้กระทำเป็นพระราชบัญญัติ เว้นแต่ประกาศหรือคำสั่งที่มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจทางบริหารการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้กระทำโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี
    บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๙ ว่าเป็นการชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมาย”

    ถาม คสช.สิ้นไป ประกาศ คำสั่ง คสช. คำสั่งหัวหน้า คสช.สิ้นไปผลได้ด้วยหรือไม่
    ตอบ เมื่อพิจารณาถึงปัจจุบันตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ มาตรา ๒๖๕ คือ มีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศแล้ว คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สิ้นไปแล้ว การใช้อำนาจตามมาตรา ๔๔ รัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ๒๕๕๗ ที่ได้รับรองไว้ในมาตรา ๒๖๕ ก็ไม่มีการใช้อำนาจนั้น คือ ไม่มีการใช้อำนาจมาตรา ๔๔ ได้แล้ว แต่ ประกาศ คำสั่ง หัวหน้า คสช. ตามมาตรา ๔๔ ที่ได้ประกาศมาใช้แล้วนั้นยังอยู่ใช้ได้อยู่ตามมาตรา ๒๗๙ รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ดังนั้น คําสั่งที่ ๓๗/๒๕๖๐เรื่องการแก้ไขปัญหาการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา ยังใช้บังคับอยู่

    ถาม สภามหาวิทยาลัยใช้อำนาจเปลี่ยนรักษาการอธิการบดี ได้หรือไม่
    ตอบ ไม่ได้ เพราะต้องปฏิบัติตาม ข้อ ๓ มิให้นําบทบัญญัติที่เกี่ยวกับระยะเวลาในการรักษาราชการแทนผู้ดํารงตําแหน่งอธิการบดีที่บัญญัติอยู่ในกฎหมายจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษามาใช้บังคับกับการรักษาราชการแทนในระหว่างการดําเนินการสรรหาหรือดําเนินการเพื่อแต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าว ของดังนั้น คําสั่งที่ ๓๗/๒๕๖๐เรื่องการแก้ไขปัญหาการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา

    ถาม ถ้าสภามหาวิทยาลัยใช้อำนาจมติ คำสั่ง กฎ ที่ออกมาขัดหรือแย้งต่อ คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ ๓๗/๒๕๖๐ เปลี่ยนรักษาการอธิการบดี ผิดหรือไม่
    ตอบ อาจโดนฟ้องฐานขัดคำสั่ง ข้อ ๓ คําสั่งที่ ๓๗/๒๕๖๐เรื่องการแก้ไขปัญหาการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา ดังนั้นดังนั้น มติ คำสั่ง กฎ ที่ออกมาขัดหรือแย้งต่อ คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ ๓๗/๒๕๖๐ จะกระทำไม่ได้เพราะถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เข้าข่ายการปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มาตรา ๑๕๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และที่สำคัญถือเป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓/๒๕๕๘ เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยดำเนินการป้องกันและปราบปราม การกระทำอันเป็นความผิด ๑) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามมาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ๒)ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๑๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ๓)ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด สำหรับใช้เฉพาะ แต่ในการสงคราม ๔)ความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

    ถาม ถ้ารักษาการอธิการลาออก สามารถดำเนินแต่งตั้งรักษาการอธิการบดีได้หรือไม่
    ตอบ ได้ ตาม ข้อ ๒.เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษาให้มีความต่อเนื่องและเกิดประสิทธิภาพ ให้สถาบันอุดมศึกษามีอํานาจแต่งตั้งบุคคลใดที่มิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษามาดํารงตําแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะได้ สําหรับคุณสมบัติและลักษณะ ต้องห้ามอื่นให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและกฎหมายจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ ความในวรรคหนึ่ง ให้นํามาใช้บังคับกับผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะอยู่ในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ และผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวในวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับด้วย

  • รัฐธรรมนูญ 在 เจาะข่าวตื้น Shallow News in Depth Youtube 的最佳解答

    2021-06-25 09:00:07

    ร่วมเป็นผู้สนับสนุนพวกเรา ผ่านบัญชีกสิกรไทย 0698966939 บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
    หรือสนับสนุนพวกเราแบบรายเดือนคลิกที่ลิงก์นี้เลยคร้าบ https://www.youtube.com/c/ShallowNewsinDepth/join
    แล้วเข้ามาดูของแปลกกันในกลุ่มนะ 555 ?

    เจาะข่าวตื้น SpokeDark : สุขสันต์วันชาติ 24 มิถุนายน 2564 วันครบรอบ 89 ปีของการเทสต์เดโมรัฐธรรมนูญไทย หรือจะเรียกว่าวันม็อบเดย์ วันดันเพดานแห่งชาติดี มาพูดถึงความดีงามของการดันเพดานตลอดปีที่ผ่านมา ศาลยุติธรรมเอาไปเทียบกับศาลรัฐธรรมนูญได้ยัง? ต้องลอง ไปดูคดีละเมิดศาลของเบญจา อะปัญ ต่อมาไปดูสลิ่มที่ยังเหลือรอดและยังออกหน้าออกตาอยู่ในทุกวันนี้ ว่าเป็นสลิ่มแบบไหน ผ่านกลุ่ม “นักเรียนดี” ร่างมารของ “นักเรียนเลว” ที่ดันเพดาน LGBTQ+ ที่กระทรวงศึกษาธิการ และเราดันเพดานกันจนพวกอำนาจนิยมหน้าด้านได้ยากขึ้นในกรณีกระทรวงมหาดไทยจะสั่งให้ผู้ว่าแต่ละจังหวัดช่วยบริการพนักงานและพ่อแม่พี่น้องของบริษัทไทยเบฟ ดันเพดานจนสื่อต่างประเทศ Financial Times ยังช่วยขยี้กรณีวัคซีนแอสตร้าเซเนก้ากับบริษัทรับจ้างผลิตในไทย สุดท้ายอัพเดตหมอไม่พร้อม ที่บอกว่าให้แต่ละโรงพยาบาลไปบริหารกันเองแล้วแต่บริบท ทั้งหมดนี้ใน!!! ประเทศอะไรเอ่ย ฝ้าเตี้ยที่สุดในโลก 555 ดันสิครับ! รอให้มันทับพ่องตายเหรอ?: เจาะข่าวตื้น 276

    #แก้รัฐธรรมนูญ #ม็อบ24มิถุนา #เจาะข่าวตื้น

  • รัฐธรรมนูญ 在 เจาะข่าวตื้น Shallow News in Depth Youtube 的最佳貼文

    2021-06-18 09:00:11

    ร่วมเป็นผู้สนับสนุนพวกเรา ผ่านบัญชีกสิกรไทย 0698966939 บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
    หรือสนับสนุนพวกเราแบบรายเดือนคลิกที่ลิงก์นี้เลยคร้าบ https://www.youtube.com/c/ShallowNewsinDepth/join
    แล้วเข้ามาดูของแปลกกันในกลุ่มนะ 555 ?

    เจาะข่าวตื้น SpokeDark : ประยุทธ์ ลั่นจะเปิดประเทศใน 120 วัน แต่วัคซีนยังเทประชาชนอยู่เลย ไหนบอกว่า single command แต่ทำไมถึงตีกันเอง ทั้ง กทม. โรงพยาบาลต่างๆ ส่วนท้องถิ่น ศบค. สาธารณสุข บรรดาหมอนักบริหารยัน ทุกอย่างเป็นไปตามแผน (ที่มีแต่กรอบ) แอสตร้าเซเนก้า ยังมาสม่ำเสมอแค่ไม่รู้ว่าจะมาตอนไหนบ้างเท่านั้นเอง! พลังประชารัฐดันแก้กฎหมายเลือกตั้งกลับไปเป็นเลือกตั้ง 2 ใบ จะเลิกระบบ”ส.ส.พึ่งมี”ในปาร์ตี้ลิสท์ แต่ยังให้ส.ว.เลือกนายกได้อยู่ดี เพื่อไทยกับก้าวไกล ฮึ่มใส่กัน ว่าควรจะเอาด้วยหรือไม่ ทำยังไงถึงจะเอาชนะเผด็จการได้ซักที ยังไงมันก็มี ส.ว. 250 ขวางความเจริญอยู่เนี่ย! ทั้งหมดนี้ใน!!! โทนี่จำนำข้าว ลึงค์ตู่จำนำเห้ แล้วใครจะเป็นนายกล่ะทีนี้ : เจาะข่าวตื้น 275

    ข้อมูลเพิ่มเติม : ร่วมลงชื่อได้กับ Re-Solution ถึงเวลารัฐธรรมนูญใหม่ : www.resolutioncon.com

    #แก้รัฐธรรมนูญ #แอสตร้าเซเนก้า #เจาะข่าวตื้น

  • รัฐธรรมนูญ 在 ARMNTP Youtube 的最佳貼文

    2020-07-19 11:20:30

    สำหรับใครที่อยากตามไปเที่ยว คลิ๊กลิ้งค์ได้เลยครับ??
    https://www.facebook.com/deforrestvip

    Camera : Sony A5100

    Editor Program : Premier Pro

    우리와 함께 구독하거나 아래 소셜 미디어를 통해 우리의 작업을 수행 할 수 있습니다.
    ? FB:https://www.facebook.com/armmer17
    ? IG: https://www.instagram.com/arm_natp/
    #Vlog #ARMNTP #Deforest