[爆卦]รองศาสตราจารย์ ดร是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇รองศาสตราจารย์ ดร鄉民發文沒有被收入到精華區:在รองศาสตราจารย์ ดร這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 รองศาสตราจารย์產品中有90篇Facebook貼文,粉絲數超過1萬的網紅sittikorn saksang,也在其Facebook貼文中提到, ข้อสังเกตเกี่ยวกับอำนาจของรัฐสภาที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 เมื่อพิจารณาศึกษาอำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญในการมอบใ...

 同時也有4部Youtube影片,追蹤數超過265萬的網紅WOODY,也在其Youtube影片中提到,WOODY FM Special Presented by Merz Aesthetics เพื่อสร้างความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น แบบ “Confidence to be” ความมั่นใจบนคาแรคเตอร์และความสวยงามของตัวเอง ...

รองศาสตราจารย์ 在 Sakaojai Poonsawatd Instagram 的最佳貼文

2021-09-24 09:56:08

"ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึง มาหา ความหมาย ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย สุดท้าย ให้กระดาษ ฉันแผ่นเดียว" ส่วนนึงของบทกวี โดย รองศาสตราจารย์ วิทยากร เช...

รองศาสตราจารย์ 在 ตุ๊กกี้ สุดารัตน์ Instagram 的最讚貼文

2021-08-02 06:35:31

มมส ปฐมนิเทศนิสิตใหม่ รุ่นมฤคมาศ 12 แบบ New Normal วันนี้ ( 17 มิถุนายน 2564) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 25...

  • รองศาสตราจารย์ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文

    2021-09-30 18:46:52
    有 19 人按讚

    ข้อสังเกตเกี่ยวกับอำนาจของรัฐสภาที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560

    เมื่อพิจารณาศึกษาอำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญในการมอบให้องค์กรของรัฐต่าง ๆ ในการใช้อำนาจอธิปไตยจะพบว่าไม่มีปัญหาเท่าใดนัก แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ยังคงมีปัญหาในเรื่องอำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญ ก็คือ อำนาจที่รัฐธรรมนูญมอบให้รัฐสภาดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นจะกระทำได้มากน้อยเพียงใดภายใต้ มาตรา 256 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยผู้เขียนจะพิจารณาศึกษาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ดังนี้
    คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 ได้วินิจฉัยถึงอำนาจจัดให้มีรัฐธรรมนูญ (อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ) เป็นอำนาจของประชาชนอันเป็นที่มาในการให้กำเนิดรัฐธรรมนูญโดยถือว่ามีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญที่ก่อตั้งระบบกฎหมายและองค์กรทั้งหลายในการใช้อำนาจทางการเมือง เมื่อองค์กรที่ถูกจัดตั้งมีเพียงอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ ซึ่งก็คือ อำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้องค์กรใช้อำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญนั้นเองกลับไปแก้ไขรัฐธรรมนูญเหมือนการใช้อำนาจแก้ไขกฎหมายธรรมดา แม้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะเป็นอำนาจของรัฐสภาก็ตาม แต่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยตรงโดยการยกร่างใหม่ทั้งฉบับไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์มาตรา 291 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้มาโยการลงประชามติของประชาชนก็ควรจะให้ประชาชนได้ลงมติเสียก่อนว่าสมควรจะมีรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ หรือรัฐสภาจะใช้อำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายเป็นรายมาตราก็เป็นความเหมาสมและเป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะดำเนินดังกล่าวได้
    คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 กรณีการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (1) โดยระบุตอนหนึ่งว่า การที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 15 (15) บัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกระทำโดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามุ่งประสงค์ให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นการใช้อำนาจของรัฐสภาโดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้กระบวนการใช้อำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภา ในกรณีดังกล่าวมีหลักเกณฑ์และวิธีการซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากการทำหน้าที่ในกระบวนนิติบัญญัติทั่วไป มีเป้าหมายเพื่อปกป้องความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญและรักษาความต่อเนื่องของรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ ดังนั้น แม้รัฐสภามีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ต้องทำตามที่ได้รับมอบอย่างเคร่งครัด ไม่อาจกระทำนอกขอบของหน้าที่และอำนาจที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ได้ ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงต้องอยู่ในเงื่อนไขที่มีความผูกพันกับรัฐธรรมนูญฉบับเดิม ยึดโยงกับหลักการพื้นฐานและให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ “มติมหาชน” การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยวิธีการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้มีหมวด 15/1 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ย่อมมีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2560 อันเป็นการแก้ไขหลักการสำคัญที่ผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญดั้งเดิมต้องการปกป้องคุ้มครองไว้หากรัฐสภาต้องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องจัดให้ประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญออกเสียงประชามติเสียก่อนว่าสมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วย จึงดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป เมื่อเสร็จแล้วต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง
    โดยสรุปศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มีจัดให้มีรัฐธรรมนูญ (อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ) ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชน ลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง
    จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555และ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ได้วางหลักสำคัญ คือ
    1. รัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติถ้าจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องผ่านประชามติจากประชาชนเสียก่อน
    2. ถ้ารัฐธรรมนูญที่ไม่ได้ผ่านประชามติจากประชาชนออกเสียงประชามติจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้
    3. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบางส่วน บางมาตรา นั้นสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องผ่านประชามติเป็นไปตามกระบวนการขั้นตอนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
    4. อำนาจจัดให้มีรัฐธรรมนูญ (อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ) เป็นของประชาชนผู้ลงประชามติเห็นชอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

    รองศาสตราจารย์ สิทธิกร ศักดิ์แสง
    คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

  • รองศาสตราจารย์ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的精選貼文

    2021-08-18 17:59:57
    有 38 人按讚

    (บางส่วนของบทความ) จากรายการ หนุ่ยทอล์ก ประจำวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา เรื่อง “ถอดกลยุทธ์ จีนปราบโควิด ช่วยชีวิตคนอย่างไร?”

    รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชา​ชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นด้วยกับรองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม เรื่องความสำคัญของผู้นำ

    “ทั้งนี้ไม่จำเป็นจะต้องดึงคนให้ลงจากตำแหน่ง แต่ต้องเปลี่ยนคนที่ออกไปสื่อสารกับสังคมได้แล้ว ภาษาทางการเมืองเขาเรียกว่า เอาคนที่ ‘หน้ายังไม่ช้ำ’ ออกไปสื่อสารให้คนเข้าใจมากขึ้น ปัญหาอีกอย่างนึงคือประชาชนไม่ได้อยากฟังแค่เรื่องสาธารณสุข พวกเขาฟังมาปีกว่าแล้ว แต่พวกเขาอยากฟังมุมมองทางเศรษฐกิจ รัฐศาสตร์ อุตสาหกรรมหรือภาคท่องเที่ยวว่ามีแผนทางออกอะไรบ้าง มากกว่าที่จะรอว่ารัฐสั่งให้ทำอะไร ผมว่าเราน่าจะแก้วิกฤตศรัทธาได้ดีขึ้นครับ”

    รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ยังเสริมอีกว่า “หลายคนคิดว่าอู่ฮั่นโมเดลคือความสำเร็จ แต่มุมของวิทยาศาสตร์และการแพทย์กลับมองว่าอู่ฮั่นคือความล้มเหลวและความผิดพลาดที่กลายเป็นบทเรียนครั้งใหญ่ที่สุด ที่จีนเองภายหลังต้องออกมายอมรับและเอามาปรับใช้กับเมืองอื่น ๆ จนเกิดเป็น ‘กว่างโจวโมเดล’ รวมถึงแพตเทิร์นต่อไปที่จะเอามาสู้กับสายพันธุ์เดลตา”

    “หนึ่งในความล้มเหลวของอู่ฮั่นโมเดลคือการปฏิเสธข่าวว่ามีการระบาดที่ตลาดปลาในเมืองอู่ฮั่น พอมีการระบาดเกิดขึ้นก็ไม่ยอมรับอีกว่าสามารถแพร่จากคนสู่คนได้ แต่กลับบอกว่าติดมาจากสัตว์ จนกลายเป็นการระบาดครั้งใหญ่ถึงจะออกมายอมรับ มีนายแพทย์ใหญ่คนหนึ่งออกมาพูดถึง ‘Golden Period’ หรือวินาทีทอง ที่ถ้าควบคุมตั้งแต่ตอนนั้นก็สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ แต่จีนเลยช่วงเวลาของ Golden Period นั้นมานานแล้ว ทำให้เกิดเป็นอู่ฮั่นโมเดลที่ล็อกดาวน์เมืองทั้งหมด 72 วันตามมา ซึ่งจีนมองว่าต้องไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก จะทำอะไรต้องเร็ว สิ่งที่จีนทำได้คือการตรวจเชื้อวันละ 1 ล้านคน”

    ท้ายที่สุดรองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์มองว่า ถึงแม้อู่ฮั่นโมเดลคือโมเดลใช้งานได้สำเร็จ แต่ก็แลกมาด้วยวิกฤตและความเสียหาย เป็นตัวอย่างของบทเรียนที่ดีให้แก่การจัดการในเมืองอื่น ๆ อย่าง กว่างโจวโมเดลต่อมา แต่ก็ต้องถามว่าประเทศไทยทำอย่างเขาได้หรือเปล่า?

    รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ เสริมเรื่องการจัดการของผู้นำว่า “ต้องจัดการโครงสร้างใหม่ ดึงเอกชนเข้ามาร่วมเยอะ ๆ เลิกรวมศูนย์ ประเภทที่ตัวเลข ชุดตรวจหรือการรักษาต้องอยู่ในมือฉันเท่านั้นควรเปลี่ยนได้แล้ว เลิกคิดแต่ว่ารัฐคือผู้คุมทุกอย่างได้แล้ว ในสภาวะที่เราไม่สามารถเปลี่ยนผู้นำได้ สิ่งที่เราทำได้ในวันนี้คือเปลี่ยนกลไกในการตัดสินใจทั้งหมด”

    ประเด็นสุดท้ายที่พูดคุยกันยังคงอยู่กับเรื่องวัคซีน mRNA ยังคงเป็นคำตอบของไทยในเวลานี้หรือไม่? รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ กล่าวว่า

    “mRNA หรือวัคซีนที่เป็นโปรตีนมีความจำเป็นตั้งแต่แรก จนถึงวันนี้ รวมถึงอนาคตด้วย อย่าลืมว่ากลไกของจีนไม่ได้พึ่งแค่วัคซีนอย่างเดียว แต่รวมถึงการล็อกดาวน์อย่างเข้มข้น การระดมตรวจอย่างมหัศจรรย์ การเยียวยาที่สามารถแบ่งปันอาหารกันได้ ไปจนถึงเศรษฐกิจเขาใหญ่เพียงพอที่ไม่ต้องเดินทางไปไหนก็ยังประคองตัวกันได้

    ดังนั้นการที่เขาใช้วัคซีนระดับกลางจึงเพียงพอสำหรับการระบาดของสายพันธุ์เดิมหรืออัลฟา แต่การมาถึงของสายพันธุ์เดลตาทำให้นักวิจัยของจีนเริ่มพัฒนาวัคซีนเจเนอเรชันที่ 2 สำหรับใช้ในปีหน้าแล้ว เพราะเขาต่างรู้ดีว่าวัคซีนตัวเดิมเริ่มประสิทธิภาพถดถอย ขณะเดียวเขาก็เห็นแล้วว่าประสิทธิภาพของ mRNA นั้นได้ผล จึงเริ่มมีการผลิตและคาดว่าจะนำมาฉีดให้กับประชาชนในฐานะวัคซีนบูสต์เข็มที่ 3 ไปจนถึงคนที่ยังไม่ได้ฉีดด้วยเช่นกัน แต่ปัญหาของประเทศเราไม่ใช่ว่าวัคซีนตัวไหน แต่จำนวนที่มันไม่พอสำหรับคนทั้งประเทศนี่แหละที่เป็นปัญหา ซึ่งเป็นปัญหามาตั้งแต่โครงสร้าง แต่การมาของเดลตามันเปลี่ยนวิธีคิดทุกอย่างไปโดยปริยาย สิ่งที่ผมกังวลคือในช่วงเวลา 1 เดือนที่ผ่านมาเราไม่ได้ยินคำตอบใหม่ ๆ จากรัฐบาลเลย”

    “ผมมักโพสต์เสมอว่าขอวัคซีนเพิ่มได้ไหม วันนี้เราต้องการลดการตายก่อน การตายเป็นเรื่องใหญ่มากกว่าการติดเชื้อ ผู้สูงอายุในบ้านเราเพิ่งฉีดวัคซีนไปเพียง 10-20% ถ้าเป็นประเทศอังกฤษเขาเน้นฉีดที่ผู้สูงอายุก่อนแล้วค่อย ๆ ไล่อายุลงมาด้วยซ้ำ แต่บ้านเรากลับฉีดสะเปะสะปะมาก ผมว่าต้องเปลี่ยนแผนใหม่ ต้องระดมซื้อวัคซีนให้มากขึ้น รวมถึงฉีดให้กับผู้สูงอายุให้เร็วที่สุดภายในเวลากี่เดือนก็ว่าไป ทำแค่ 2 อย่างนี้ก็เพียงพอมากกว่าจะไปเรียกร้อง mRNA แล้วครับ แต่ผมกลับไม่เห็นอะไรเลย”

  • รองศาสตราจารย์ 在 Facebook 的精選貼文

    2021-08-16 12:53:52
    有 346 人按讚

    ได้แชร์ประสบการณ์และสนุกกับการเรียนรู้เป็นเกษตรกรสายปลูกข้าว “THE RICE JOURNEY“ กับ คุณปอ North Gate Jazz Co-Op , พี่เป๊ก เปรมณัช และ พี่นิว นภัสสร พร้อม รองศาสตราจารย์ ดร.ชนากานต์ ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ค่ะ💖✌🏻🙏🏻
    .
    พบกันใน Live ที่ FACEBOOK PAGE : Chiang Mai Rice Now และ Peckanew Channel วันจันทร์ที่16 สิงหาคม 2564 เวลา 19.30 น. คืนนี้นะคะ💖
    .
    #LannaGastronomy #ChiangMICECMU #7signatures #ChiangmaiRiceNow

  • รองศาสตราจารย์ 在 WOODY Youtube 的最佳貼文

    2021-01-10 13:00:24

    WOODY FM Special Presented by Merz Aesthetics เพื่อสร้างความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น แบบ “Confidence to be” ความมั่นใจบนคาแรคเตอร์และความสวยงามของตัวเอง เมื่อมีความมั่นใจแล้ว ก็จะรู้สึกดี และดูดีกว่าที่เคยเป็น

    EP เราจะพูดถึงความงามที่สาวๆ ฮิตกันมากที่สุดอีกอย่าง คือการเติมโบ หรือ “โบทูไลนุ่ม ท็อกซิน” แต่บางคนเติมโบแต่ก็ไม่เห็นผล เพราะเจออาการดื้อโบ จะสวยยังไงให้ระวังดื้อโบ ต้องมาคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเรา “อาจารย์เพ็ญ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง รังสิมา วณิชภักดีเดชา” จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช

    และฝากติดตาม WOODY FM Special Presented by Merz Aesthetics ในทุกช่องทาง รวมถึง instagram @woodyfm_official ด้วยครับ

  • รองศาสตราจารย์ 在 เจาะข่าวตื้น Shallow News in Depth Youtube 的最佳貼文

    2020-12-04 09:00:06

    ร่วมเป็นผู้สนับสนุนพวกเรา ผ่านบัญชีกสิกรไทย 0698966939 บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
    หรือสนับสนุนพวกเราแบบรายเดือนคลิกที่ลิงก์นี้เลยคร้าบ https://www.youtube.com/c/ShallowNewsinDepth/join
    แล้วเข้ามาดูของแปลกกันในกลุ่มนะ 555 ?

    เจาะข่าวตื้น SpokeDark : ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินแล้วว่าการอยู่บ้านฟรีด้วยภาษีประชาชนของตู่ไม่ผิด ถึงแม้ตู่จะเกษียณแล้วก็ตาม เพราะตู่เป็นคนดี ครั้งแรกในรอบหลายสิบปี ที่เรื่องทรัพย์สิน(ส่วน)พระมหากษัตริย์ออกฟรีทีวีอย่างน้อยๆ ก็สองช่อง ทำให้งานวิจัยในตำนาน “Thailand Crown Property and Its Investment สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์” กลับมาโด่งดังอีกครั้งหนึ่ง มาดูกันดีกว่างานวิจัยชิ้นนี้มีเนื้อหาอะไรบ้าง : เปิดสาเหตุ! ทำไมประชาชน ต้องสนใจกับสมบัติของเจ้า กันหนักหนา :เจาะข่าวตื้น 263

    ข้อมูลเพิ่มเติม : Thailand Crown Property and Its Investment สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ : https://bit.ly/37Lu9fB

    #ราษฎรปลดแอก #ปฎิรูปสถาบันกษัตริย์ #สำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์

  • รองศาสตราจารย์ 在 Poyd Treecha Youtube 的精選貼文

    2016-08-17 17:21:12

    เรียนวิชา จุลชีววิทยา Source of contamination โดย รองศาสตราจารย์ มรกต สุกโชติรัตน์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Poyd Treecha ปอย ตรีชฎา : https://www.facebook.com/poydtreechaa/videos/1227798310584817/

    twitter update : https://twitter.com/Poydtreecha

你可能也想看看

搜尋相關網站