雖然這篇ยาลดน้ำมูก ไม่ง่วง鄉民發文沒有被收入到精華區:在ยาลดน้ำมูก ไม่ง่วง這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 ยาลดน้ำมูก產品中有6篇Facebook貼文,粉絲數超過177萬的網紅Group มนุษย์เงินเดือน,也在其Facebook貼文中提到, มาดูดีกว่า ว่าปวดหัวแบบนี้ เรียกว่าอะไร?? 🤔 และมันมีอาการแบบไหน ส่งผลต่อชีวิตเรายังไงบ้าง พร้อมวิธีรีบมือเบื้องต้น แต่ขอเตือนไว้ก่อนเลยนะว่า "หากคุณร...
ยาลดน้ำมูก 在 Kruaeh Instagram 的最佳貼文
2020-06-04 05:55:30
ยาลดน้ำมูก ถูก ๆ ไม่เสียงตังค์ #hisur #aehthejourney...
ยาลดน้ำมูก 在 Yves Sirachaya Instagram 的精選貼文
2020-05-07 07:04:11
นาทีชีวิตดาว! ณ ห้องแต่งตัว ขณะหวัดรับประทานอย่างงอมแงม.... นอนมา 5ชั่วโมง กาแฟสอง บีรอคคาสอง ยาซ่าเชื้อ ยาลดน้ำมูก ออลพลัส! จัดแล้วทั้งนั้น นาทีนี้!...
ยาลดน้ำมูก 在 Group มนุษย์เงินเดือน Facebook 的最讚貼文
มาดูดีกว่า ว่าปวดหัวแบบนี้ เรียกว่าอะไร?? 🤔
และมันมีอาการแบบไหน ส่งผลต่อชีวิตเรายังไงบ้าง พร้อมวิธีรีบมือเบื้องต้น
แต่ขอเตือนไว้ก่อนเลยนะว่า "หากคุณรู้สึกกังวลกับอาการปวดหัว
หรือพบว่ากินยาแก้ปวดก็ไม่ช่วยอะไร ขอแนะนำให้ไปพบแพทย์เลยดีที่สุด"
1. ไมเกรน
เกิดจากการบีบตัว และคลายตัวของหลอดเลือดแดงในสมองมากกว่าปกติ
ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
อาการทั่วไป ได้แก่ :
• ปวดสั่นที่ด้านใดด้านหนึ่งของศีรษะ
• ปวดปานกลางถึงรุนแรง
• ตาพร่ามัวเห็นไฟกะพริบหรือเส้นซิกแซก
• เพิ่มความไวต่อแสง กลิ่น หรือเสียงดัง
• รู้สึกมึนหัว
• รู้สึกคลื่นไส้หรืออาเจียน
ทำอย่างไรดี :
ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นไมเกรนได้ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ยิ่งโดยเฉพาะในกลุ่มวัยคนทำงาน ที่มีสิ่งเร้ามากมายคอยกระตุ้น
เช่น แสงจากคอมพิวเตอร์ กินข้าวไม่ตรงเวลา อดนอน เป็นต้น
หากไม่แน่ใจว่าอะไรที่ทำให้เกิดไมเกรนของคุณ ให้ลอง"จดไดอารี่ไมเกรน"
ที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวด ระดับความปวด มีอาการอื่นร่วมด้วยไหม?
รวมไปถึงสิ่งที่ทำในชีวิตประจำวันด้วยยิ่งดี
เมื่ออาการไมเกรนกำเริบขึ้นแล้ว แนะนำว่าให้ย้ายไปอยู่ในห้องที่มืดและเงียบสงบ นอนพักจนกว่าอาการจะหายไป พักผ่อนให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงจากสิ่งเร้าที่บอกไปก่อนหน้านี้ ซึ่งบางคนก็พบว่าความร้อน หรือเอาถุงน้ำแข็งมาประคบก็ช่วยลดอาการไมเกรนได้
โดยปกติแล้ว แพทย์ก็อาจจะแนะนำให้กินยาแก้ปวด แต่ยังไงก็ควรปรึกษาเภสัชหรือแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนกินยาแก้ปวดดีกว่านะ
คำเตือน : หากพบว่าอาการปวดหัวของคุณมันแย่ลงเรื่อย ๆ เป็นบ่อยมากว่า 5 ครั้ง/เดือน หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย แนะนำว่าให้ไปพบแพทย์เลยจะดีกว่านะครับ
2. คลัสเตอร์
การปวดหัวแบบคลัสเตอร์ ว่ากันว่าเป็นอาการที่ปวดหัวที่รุนแรงที่สุด ที่คุณสามารถสัมผัสได้ เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 และระบบประสาทอัตโนมัติ(TACs) มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
อาการทั่วไป ได้แก่ :
• ปวดแสบปวดร้อนร้อนเหมือนว่ามีอะไรมาแทง
โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ตาหรือขมับข้างเดียว
• ปวดเหมือนลูกตาจะหลุด
• น้ำตาไหลหรือน้ำมูกไหล
• เหงื่อออกบริเวณใบหน้าข้างที่ปวด
ทำอย่างไรดี :
อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ จะมีอาการปวดในเวลาที่แน่นอน
มาเป็นชุด ๆ(cluster) โดยทั่วไปอาการปวด มักจะอยู่ระหว่าง
15 นาที - 3 ชั่วโมง แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้บ่อย
น่าเสียดายที่ไม่มีวิธีการรักษาเบื้องต้น ที่เป็นที่รู้จักสำหรับอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ และหากคุณคิดว่าคุณปวดหัวแบบคลัสเตอร์เป็นครั้งแรก แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เลยทันที วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์ของคุณสามารถแยกแยะสาเกตุอื่น ๆ และวินิจฉัยที่ถูกต้องให้ได้
3. ไซนัส
ปวดหัวไซนัสเกิดขึ้นเมื่อไซนัสอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อหรืออาการแพ้
และถูกมักเข้าใจผิดว่าเป็นไมเกรน
อาการทั่วไป ได้แก่ :
• ปวดตุบ ๆ ที่หน้าผากหรือแก้ม
• คัดจมูก หรือมีน้ำมูกข้น
• หายใจมีกลิ่น
• อาจมีเลือดออกทางจมูก
• มีไข้
ทำอย่างไรดี :
หากคิดว่าตัวองมีอาการปวดหัวไซนัส ควรไปพบแพทย์เลยดีกว่า
เพื่อจะได้แยกสาเหตุอื่น ๆ ออกไปด้วย โดยแพทย์อาจสั่งจ่ายยาพวก
ยาลดน้ำมูก ยาแก้แพ้ หรือ สเตียรอยด์พ่นจมูก
นอกจากนี้คุณเอง ก็สามารถที่จะบรรเท่าอการปวดหัวไซัสที่บ้านได้
ได้แก่ ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้ร่างกายตัวเอง โดยเฉพาะน้ำอุ่น
ที่จะช่วยเปิดโพรงจมูกของคุณและลดอาการอักเสบได้ หรือไม่ ก็ลองล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ แต่ก็ควรจะล้างให้อย่างถูกวิธีและถูกสุขอนามัยด้วยเช่นกัน
4. ปวดหัวจากความเครียด
อาการที่เกิดจากกล้ามเนื้อรอบศีรษะและคอเกิดการเกร็งตัว
โดยสาเกตุก็มาจากชื่อของตัวมันเอง ก็คือ "ความเครียด"
อาการทั่วไป ได้แก่ :
• ปวดขมับทั้งสองข้างของศีรษะ
• ปวดตื้อบรืเวณรอบศีรษะ
• รู้สึกกดดันหลังดวงตา ตึงที่ด้านหลังศีรษะ
• ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอหรือไหล่
ทำอย่างไรดี :
วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาเบื้องต้น แนะนำให้กินยาแก้ปวดและหาที่เงียบ ๆ พักผ่อนซะ เพราะอาการปวดหัวจากความเครียดจะรุนแรงมากขึ้น
เมื่อมีความเครียด เสียงดัง และอดนอน
คำเตือน : ไม่แนะนำให้ใช้ยาแก้ปวดมากเกินหรือบ่อยเกินไปเพื่อระงับอาการปวดหัวนะ เพราะนอกจากจะเกิดอาการดื้อยาแล้ว ยังส่งผลให้ตับทำงานหนักขึ้นอีก แนะนำว่าหากยังไม่สามารถควบคุมอาการปวดหัวด้วยยาได้ แนะนำให้ไปพบแพทย์ดีกว่าครับ
5. หลอดเลือดที่ขมับอักเสบ
จากที่อ่านมา นี่อาจจะเป็นชื่อที่ไม่คุ้นสุดแล้ว ภาวะนี้เป็นการอักเสบของหลอดเลือดแดงในศีรษะ ซึ่งถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินหากไม่ได้รับการรักษา เพราะอาจเป็นสาเหตุให้ตาบอดและเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้
อาการทั่วไป ได้แก่ :
• ปวดหัวรุนแรงบริเวณขมับ และเส้นเลือดปูดที่ขมับขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด
• ปวดหัวบริเวณขมับเมื่อเคี้ยวอาหาร ลามไปปวดบริเวณกรามและลิ้น
• มีอาการตามัว มองเห็นไม่ชัดเวลารู้สึกปวด
โดยเฉพาะอาการมองเห็นไม่ชัดข้างเดียว
• มีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย ปวดเนื้อ ปวดตัว
• มีอาการเบื่อหาร จนน้ำหนักลดลง
ทำอย่างไรดี :
ส่วนใหญ่จะพบในวัยของผู้ใหญ่ที่มีอายุมาก 50 ปีขึ้นไป
อาการนี้ถือว่าร้ายแรง และอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ถาวร
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงที่ศีรษะหรือคออักเสบ
อาการมักจะเกิดขึ้นเร็วมาก และคนที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่มักจะรายงานว่าพวกเขาไม่มีอาการเตือนก่อนที่จะเริ่มมีอาการปวด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์
ดังนั้นหากคุณคิดว่ามีอาการอย่างที่ว่า แนะนำให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว!!!
ยังไงก็ขอเน้นย้ำอีกครั้งนนะครับว่าการไปพบแพทย์เลย เป็นทางออกที่ดีที่สุดบางทีอาจจะเป็นโรคร้ายที่เกิดขึ้นเงียบ ๆ ก็ได้ หรือหากไม่สะดวกไป
โรงพยาบาล เดี๋ยวนี้เขาก็มีแอปพลิเคชัน ที่ให้ปรึกษากับแพทย์ได้เป็นการส่วนตัว ซึ่งอาจจะมีเก็บค่าบริการต่าง ๆ ไปตามเงื่อนไขของแอปฯนั้น ๆ ครับ
ข้อมูล :
- livehealthily
- thonburihospital
- rama channel
- bangkokinternationalhospital
- siamhealth
ยาลดน้ำมูก 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的精選貼文
"กักกันตัวเองอย่างไร เมื่อคุณน่าจะติดเชื้อแล้ว"
เคยตั้งคำถามนี้ไว้เมื่อเดือนก่อน ว่าถ้าเกิดเรารู้ตัว ว่าเราเป็นผู้ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้ว เราจะต้องทำตัวอย่างไรบ้าง? ซึ่งก็รู้สึกว่าไม่ค่อยมีใคร (โดยเฉพาะจากภาครัฐ) ที่ให้คำตอบที่ชัดเจนเลย ... แถมมีแนวโน้มว่า หลังสงกรานต์ คงจะมีการสกรีนสุ่มตรวจหาคนที่ติดเชื้อมากขึ้นด้วย .. เลยคิดว่ามาหาข้อมูลเตรียมตัวไว้ดีกว่า ว่าถ้าจะ "กักกันตัวเอง self isolation" จะต้องทำตัวอย่างไรบ้าง ?
"การกักกันตัวเอง เมื่อพบว่ามีอาการคล้ายติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) เช่น มีไข้สูง หรือไอต่อเนื่อง" (ตามแนวทางของ NHS ประเทศอังกฤษ)
1. ต้องไม่ออกจากบ้านด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ควรสั่งอาหารผ่านทางโทรศัพท์หรือออนไลน์ หรือให้ใครก็ได้เอามาส่งให้ที่บ้าน
2. ไม่รับแขกเข้ามาในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนฝูงหรือเครือญาติ
3. ออกกำลังกายอยู่แต่ในบ้านเท่านั้น เดินเล่นแค่เพียงในสวนของบ้าน
4. เมื่อมีอาการของโรค ควรจะต้องกักกันตัวเองเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน
.. หลังจาก 7 วันแล้ว ถ้าไม่มีอาการไข้ ก็ไม่จำเป็นต้องกักกันตัวเองต่อ
... แต่ถ้ายังมีอาการไข้ ก็ให้กักกันตนเองต่อไป จนกว่าอุณหภูมิของร่างกายจะลดลงมาสู่ระดับปกติ
... ถ้ามีแค่อาการไอ ก็ไม่ต้องกักกันตนเองต่อ เพราะอาการไอสามารถยังคงอยู่ได้อีกหลายวันแม้ว่าจะหายจากโรคแล้วก็ตาม
(แต่ถ้าคุณอยู่อาศัยร่วมกับใครที่เป็นโรค คุณควรจะต้องกักกันตัวเองเป็นเวลา 14 วัน หลังจากที่คนๆ นั้นแสดงอาการของโรคแล้ว เพื่อให้มั่นใจว่ากักกันจนครบระยะฟักตัวของโรค)
5. หลังจากหมดระยะกักกันตนเองแล้ว คุณยังควรจะต้องอยู่ที่บ้านต่อไป แต่สามารถออกไปทำธุระข้างนอกได้ตามความจำเป็น เช่น ไปซื้อกับข้าว
6. ถ้าคุณมีอาการของโรค และต้องอยู่กับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุเกิน 70 ปี ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง สตรีมีครรภ์ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ก็ควรจะให้พวกเขาไปอยู่กับเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้องเป็นเวลา 14 วัน
... แต่ถ้าจำเป็นจะต้องอยู่ในบ้านเดียวกัน ให้พยายามเว้นระยะห่างกัน 2 เมตร และไม่ใช้เตียงนอนร่วมกัน
7. ลดการแพร่ระบาดของโรคในบ้านของคุณ ด้วยการ
- ล้างมือด้วยสบู่และน้ำบ่อยๆ ล้างเป็นเวลานานอย่างน้อย 20 วินาที
- ใช้เจลน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ในกรณีที่ไม่มีน้ำและสบู่ล้างมือไม่ได้
- ปิดปากและจมูกทุกครั้งเมื่อไอหรือจาม (ใช้กระดาษทิชชู่หรือผ้า ไม่ให้ใช้มือปิดปาก)
- ทิ้งกระดาษทิชชู่ที่ใช้แล้วลงในถังขยะทันที แล้วล้างมือต่อจากนั้น
- ทำความสะอาดสิ่งของและผิวสัมผัสของวัสดุที่คุณจับบ่อย เช่น ลูกบิดประตู กาต้มน้ำ และโทรศัพท์ ด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- ทำความสะอาดห้องน้ำที่ใช้ร่วมกัน ทุกครั้งหลังจากคุณใช้แล้ว เช่น เช็ดถูวัสดุในห้องน้ำที่คุณสัมผัส
- ห้ามใช้ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดจาน ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน
8. ระหว่างที่กักกันตัวอยู่ที่บ้านนั้น คุณจะต้อง
- พักผ่อนและนอนหลับ
- ดื่มน้ำให้มากๆ ไม่ให้เกิดอาการขาดน้ำ
- กินยาพาราเซตามอล เพื่อลดไข้
ข้อมูลจาก
https://www.nhs.uk/conditions/coronavirus-covid-19/self-isolation-advice/
ภาพประกอบจาก https://www.facebook.com/942079872656748/posts/1288406718024060/?app=fbl
ปล. สำหรับประเทศไทยเรา สถานการณ์ตอนนี้คือ สาธารณสุขยังรับช่วยเหลือรักษาคนที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 อยู่ ยังไม่ถึงขนาดให้ผู้ติดเชื้อต้องดูแลตัวเองเหมือนอย่างในต่างประเทศ แต่เตรียมการไว้ก่อนก็ดีนะครับ จะได้ไม่ประมาท
ปล.2 ส่วนตัวผม นอกจากซื้อยาพาราเซตามอลมาเพิ่มไว้ที่บ้านแล้ว ยังซื้อวิตามินรวม วิตามินซี ฟ้าทะลายโจร ยาลดเสมหะ ยาลดน้ำมูก ฯลฯ รวมถึงข้าวสารอาหารแห้ง สำรองไว้ด้วย แถมด้วยซื้อประกันโควิด ไว้อีก 2 กอง เผื่อจำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาลเอกชน
ยาลดน้ำมูก 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的精選貼文
#ตอบคำถามเรื่องความเจ็บป่วย
1.ลูกติดเชื้อได้ยังไง/ลูกเป็นหวัดได้ยังไง/ลูกเป็นปอดบวมได้ยังไง
A: เด็กรับเชื้อไวรัสก่อโรคทางเดินหายใจได้หลักๆ 3 ทาง
- ทางแรก ผู้ป่วยที่มีเชื้อ ไอ จาม และมีเชื้อปนเปื้อนล่องลอยมาเข้าปาก เข้าจมูกของคนอื่น คนที่ได้รับก็จะป่วยได้ถ้าไวรัสนั้นมากพอที่จะเอาชนะภูมิคุ้มกันของเราได้
- ทางที่2 มีน้ำมูก น้ำลาย ขี้ตา ที่ปนเปื้อนเชื้อ ติดอยู่ตามสิ่งแวดล้อม เช่น ผู้ป่วยมีน้ำมูกเปื้อนมือ แล้วเอาไปจับลูกบอล เด็กอีกคนเอามือมาจับลูกบอลลูกนั้น และเผลอเอามือขยี้ตา ขยี้จมูก หรืออมมือ เด็กก็จะได้รับเชื้อ
- ทางที่ 3 ใช้ภาชนะร่วมกัน เช่นใช้แก้วใบเดียวกัน หลอดดูดน้ำร่วมกัน ก็จะได้รับเชื้อทางน้ำลายของผู้ป่วยที่ปนเปื้อนกับภาชนะ
ดังนั้นจะเห็นว่า หมอระบุไม่ได้ 100% หรอกนะคะ
เพราะในแต่ละวัน เราก็จำไม่ได้ว่าสัมผัสอะไรมาบ้าง
อยู่กับใคร ณ วินาทีไหน
แต่เราก็สามารถรู้ได้คร่าวๆ เช่น ถ้าคนใกล้ชิดเป็น โอกาสติดเชื้อก็จะมากกว่า หรือ มีประวัติเพื่อนห้องเดียวกันเป็น ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นเชื้อเดียวกัน (โดยเฉพาะเด็กอนุบาลที่มักจะเผลออมนิ้ม ขยี้ตาอยู่เสมอ)
ทีนี้ พอได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะติดเชื้อหรือไม่ และมีความรุนแรงของโรคมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับ
1.ความรุนแรงของเชื้อที่ได้รับ เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ จะรุนแรงกว่าหวัดธรรมดา
2.ปริมาณเชื้อที่ได้รับ
3.ความแข็งแรงของภูมิคุ้มกันร่างกายของคนที่ได้รับเชื้อ
ดังนั้น ติดเชื้อเดียวกัน อาจจะไม่ได้รุนแรงเท่ากัน
และหมอคิดว่า เราไม่ต้องหาว่าใครผิด แต่ให้รู้ว่าครั้งหน้าจะป้องกันให้ดีขึ้นได้อย่างไร ดีกว่านะคะ
วิธีการป้องกัน
ที่เราทำได้คือ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ
คนที่เจ็บป่วย ก็ต้องใส่หน้ากากและล้างมือ เพื่อลดการแพร่เชื้อสู่คนอื่นๆ
พ่อแม่ต้องเสียสละ หากลูกมีอาการเจ็บป่วย ก็ต้องให้หยุดเรียน เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อนะคะ
เพราะเราไม่รู้จริงๆ...ว่าใครจะเป็นคนที่มีอาการหนัก
=======================
2. ทำไมเด็กเล็กติดไวรัสหวัดแล้วอาการรุนแรง ทั้งๆที่ผู้ใหญ่ไม่มีไข้มีแค่น้ำมูกไหล
A: ถ้าคุณพ่อคุณแม่ ต่อย กับเด็กสัก 7 ขวบ ใครจะชนะล่ะคะ
แล้วถ้าให้เด็กอายุ 2 เดือน ต่อยกับเด็ก 7 ขวบ ผลจะเป็นยังไง
การติดเชื้อก็เช่นกัน
พ่อแม่คิดว่า เราไม่เป็นไร แค่น้ำมูกไหลไม่มีไข้
เลยลืมป้องกัน ลืมใส่ mask ลืมล้างมือ
แต่อย่าลืมว่า เชื้อที่มันทำอะไรเราไม่ได้
เทียบกับเด็กเล็กแล้ว มันก็ทำให้ก่อโรคที่ร้ายแรงกับเค้าได้
พ่อแม่แค่น้ำมูกไหล แต่เด็กเล็กถึงขั้นหายใจล้มเหลว
หมอก็เจอมาบ่อยแล้วนะคะ
========================
3.ยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ หยุดกินได้เมื่อไหร่
A: ยากลุ่มนี้ เป็นเพียงยา #ช่วยให้อาการทุเลา
แค่ให้ดีขึ้น ไม่ได้ทำให้หาย เพราะไม่ใช่แก้ที่สาเหตุ
เราให้กินตามอาการ ถ้าไม่มีอาการก็ไม่ต้องกิน
.
โรคที่เกิดจากไวรัส การกำจัดเชื้อนั้น เป็นหน้าที่ของร่างกาย
หมอให้ยา แนะนำให้คุณแม่ดูแล
วัตถุประสงค์หลักคือ ช่วยให้คนไข้รู้สึกสบายตัวขึ้น เท่านั้น
ดังนั้น ไข้ก็จะขึ้นๆลง ตราบที่สงครามระหว่างไวรัสกับเม็ดเลือดขาวยังไม่จบ
ไอ ก็ยังมี ตราบที่การอักเสบในโพรงจมูก ในหลอดลมยังไม่ดีขึ้น เราทำได้เพียงบรรเทาให้ดีขึ้น...แต่ทำให้หายเหมือน
ร่ายเวทมนต์หลังกินยา..ทำไม่ได้
=========================
4.ลูกกินยายากมาก ทำยังไงดี
A: ถ้าเป็นยารักษาตามอาการ ของโรคหวัด ลองไปอ่านที่หมอเขียนก่อนหน้านี้ ว่าไม่ใช้ยามีอย่างอื่นแทนได้หรือไม่
(หรือจะลองหาคำว่า cold remedies at home ก็ได้ค่ะ)
แต่ถ้าเป็น #ยาที่จำเป็นต้องกิน ตามที่แพทย์สั่ง
เช่นยาปฏิชีวนะ ยาเสตียรอยด์ในคนไข้โรคหืด
#คุณแม่ก็ต้องป้อนให้ได้ค่ะ
เทคนิคแล้วแต่บุคคล หมอบอกแค่ว่า ต้องทำให้ได้
ลองคิดว่า สงสารที่ลูกร้องไห้ตอนกินยา
กับ สงสารตอนที่อาการหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาล
แบบไหนจะดีกว่ากัน
=======================
5.ลูกไอเหมือนมีเสมหะ/ มีน้ำมูก ควรพาไปดูดเสมหะหรือไม่
A:ตอบในฐานะกุมารแพทย์โรคทางเดินหายใจนะคะ
เมื่อทางเดินหายใจอักเสบ จะมีการหลั่งสารคัดหลั่งมากขึ้น
จมูกอักเสบ สารคัดหลั่งเรียกน้ำมูก
หลอดลมอักเสบ สารคัดหลั่งเรียก เสมหะ
ถุ้าการอักเสบยังดำเนินไป จะมีการสร้างน้ำมูก เสมหะ มากผิดปกติตลอดเวลา
น้ำมูก การล้างจมูกจะช่วยได้ ทั้งในแง่ เอาน้ำมูกที่คั่งค้างออกมา และช่วยลดการอักเสบ
แต่เสมหะที่เกิดจากหลอดลมในปอดอักเสบ
ร่างกายจะกำจัด โดยการไอ และการกระแอม/ขากเสมหะออกมาจากหลอดลมปอด
คนไข้ที่ไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ
#เราไม่สามารถดูดเสมหะในปอดออกมาได้ เพราะร่างกายเรามีกลไลที่ไม่ให้สิ่งใดลุกล้ำผ่านเข้าไปในหลอดลมได้ง่ายๆ
เพราะฉะนั้น
ที่พาไปดูดๆกัน ดูดได้เฉพาะในจมูก และในปาก
มิใช่ในหลอดลม
ซึ่งถ้าไม่มีข้อบ่งชี้...หมอไม่แนะนำ
เนื่องจาก #เจ็บมากและได้ประโยชน์น้อย
ถ้าเด็กดิ้น ดูดไปมา จะยิ่งทำให้จมูกลมบาดเจ็บ บวมมากขึ้น หรือในบางรายมีเลือดกำเดาไหล
มันอาจจะดี เพราะพ่อแม่รู้สึกว่า ได้ทำอะไรบางอย่าง
แต่คนที่ต้องเจ็บ และกลัวโดยใช่เหตุ คือเด็กน้อย
ซึ่งบางคน เค้าเป็นแค่หวัดเท่านั้น ไม่ได้มีข้อบ่งชี้ในการดูดเสมหะแต่อย่างใด
เอาเป็นว่า ถ้าลูกเป็นแค่หวัด ใช้ล้างจมูกก็ช่วยได้นะคะ
หรือ ถ้าเป็นหลอดลมอักเสบ ไอเหมือนมีเสมหะ
ก็ให้ลูกดื่มน้ำ อย่าให้มีภาวะขาดน้ำเด็ดขาด
และใช้ยาละลายเสมหะก็พอจะช่วยได้ (ทำให้กลไกการกำจัดของร่างกายทำได้เร็วขึ้น) แล้วก็ติดตามดูอาการใกล้ชิด
ข้อบ่งชี้ในการดูดเสมหะคือ
1. ผู้ป่วยปอดอักเสบ (ไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ) แต่ต้องระบายเสมหะเพื่อป้องกันเสมหะอุดตันหลอดลม...กรณีนี้ต้องมีการจัดท่า พ่นยา และเคาะปอดร่วมด้วย เพื่อกระตุ้นให้เสมหะที่อยู่ในปอดขึ้นมา บริเวณคอหอยจะได้ดูดเสมหะออกได้
2. ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ
3. ผู้ป่วยบางโรค ที่ไม่สามารถไอออกมาได้ด้วยตัวเอง