雖然這篇มุขปาฐะ鄉民發文沒有被收入到精華區:在มุขปาฐะ這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 มุขปาฐะ產品中有1篇Facebook貼文,粉絲數超過105萬的網紅Roundfinger,也在其Facebook貼文中提到, ทำไมไทยแลนด์ไม่ใช่แดนการอ่าน? --- วันนั้นในคลับเฮ้าส์มีการยกหัวข้อนี้ขึ้นมาสนทนากันระหว่างคุยกันเรื่องแท่นพิมพ์ของกูเตนเบิร์ก วันนี้มีคำตอบเพิ่มเติมหล...
มุขปาฐะ 在 Roundfinger Facebook 的最佳解答
ทำไมไทยแลนด์ไม่ใช่แดนการอ่าน?
---
วันนั้นในคลับเฮ้าส์มีการยกหัวข้อนี้ขึ้นมาสนทนากันระหว่างคุยกันเรื่องแท่นพิมพ์ของกูเตนเบิร์ก วันนี้มีคำตอบเพิ่มเติมหลังอ่าน 'การเดินทางในโลกหนังสือ' ของอาจารย์กิ่งแก้ว อัตถากร (เล่มบางแต่ชอบมาก)
ในโลกตะวันตก วัฒนธรรมหนังสือมีมายาวนาน ตั้งแต่โฮเมอร์ เขียนโอดิสซี สันนิษฐานว่าเขาน่าจะเขียนขึ้นมาก่อน จากนั้นจึงถูกถ่ายทอดในกลุ่มนักขับร้องต่อเนื่องกันมา อันนี้ก็เหมือน 'มุขปาฐะ' (เล่า/รู้เรื่องด้วยปาก)
โฮเมอร์เกิดเมื่อไหร่ยังเถียงกันอยู่ ล่าสุดประมาณว่าศตวรรษที่ 10 ก่อน ค.ศ. โดยดูจากสงครามทรอยเกิด 1194–1184 ปีก่อน ค.ศ. นั่นก็นานพอดู มันคือ 3,000 กว่าปีก่อน
แม้งานของโฮเมอร์ถูกเล่าต่อด้วยปาก แต่มาถึงยุคนักปราชญ์กรีกอย่างโสคราตีสและผองเพื่อนก็มีการพูดถึงการ 'ไปหาหนังสือมาอ่าน' และงานเขียนของนักปรัชญาและพวกโซฟิสต์ในตลาดหนังสือ
ขณะที่เมืองไทยมีการแจกหนังสือเป็นของชำร่วยกันประมาณ 100 ปีนี้เอง มิต้องนับว่าการอ่านก็ยังอยู่ในแวดวงจำกัด (คนรู้หนังสือ คนชั้นสูง) คราวนี้พอวิทยุ โทรทัศน์ เลยมาถึงอินเทอร์เน็ตโถมเข้ามา วัฒนธรรมการฟังการดูยังไม่ทันเปลี่ยนมาเป็นการอ่านก็ไหลต่อไปตามสื่อสมัยใหม่ ต่างจากในฝั่งตะวันตกที่การอ่านมีโอกาสหยั่งรากลึกในช่วงก่อนเทคโนโลยีอย่างวิทยุทีวีจะเกิดขึ้น
📖📖📖
อาจารย์ธเนศ วงศ์ยานนาวา เล่าถึงอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้วัฒนธรรมการอ่านของตะวันตกแข็งแรงก็คือการเกิดขึ้นของนิกายโปรแตสแตนท์ ซึ่งก็มาพร้อมๆ กับแท่นพิมพ์ของกูเตนเบิร์ก เกิดการตีพิมพ์คัมภีร์ไบเบิ้ลแพร่หลาย ผู้คนในประเทศที่ปล่อยมือจากอำนาจของคริสตจักรคาทอลิกก็หันมา 'อ่านเอง' กันมากมาย การอ่านไบเบิ้ลทำให้คนให้คุณค่ากับ 'ตำรา' เกิดวัฒนธรรมที่เชื่อว่าหนังสือเป็นความจริง ฉะนั้นการอ่านจึงเป็นการทำความเข้าใจความจริงไปด้วย ไม่ต้องฟังจากบาทหลวงหรือใครๆ อีกต่อไป คุณสามารถเข้าถึงความจริงได้ด้วยตัวเอง แน่นอนว่าหลังจากนั้นก็เกิดความเปลี่ยนแปลงนานาประการ แต่ความรู้สึกลึกๆ ที่คนให้คุณค่ากับหนังสือและการอ่านก็ยังไม่จางหายไปไหน
📖📖📖
จอห์น มิลตัน เคยเขียน Areopagitica คือวาทกรรมขนาดยาวเพื่อ 'the liberty of unlicensed printing' หรือเพื่อ 'เสรีภาพของการตีพิมพ์โดยไม่ต้องมีการควบคุมออกใบอนุญาต' อาจารย์กิ่งแก้วเล่าว่า นี่คือวาทกรรมที่เสนอต่อสภาผู้แทนของอังกฤษ ตีพิมพ์วันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1644 (สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง) 377 ปีที่แล้ว!
ลำพังแค่เกร็ดเหล่านี้ก็อาจจะพอประกอบเป็นคำตอบได้แล้วว่าเหตุไฉนสังคมไทยจึงมิใช่สังคมแห่งการอ่านอย่างกว้างขวาง ยังมิต้องนับว่าการอ่านถูกทำให้เป็นการ 'อ่านเพื่อเชื่อ' มากกว่า 'อ่านเพื่อขบและถกเถียง'
📖📖📖
ส่วนตัวแล้วผมพบว่าความรู้ 'ขม' เมื่อต้องหยิบหนังสืออ่านนั้นเกิดขึ้นในห้องเรียน เพราะตำราเหล่านั้นไม่สนุก การเรียนการสอนเองก็ไม่มีพื้นที่ของแลกเปลี่ยนความเห็นที่แตกต่าง--ไม่ขบก็เลยขม
ประสบการณ์กับหนังสือในช่วงวัยเด็กเป็นเรื่องสำคัญว่าเด็กคนนั้นจะรู้สึกอย่างไรกับหนังสือและการอ่าน หากหนังสือดูเหมือนคนดุๆ แข็งๆ พูดอะไรมาก็ต้องเชื่อ เด็กคงเบื่อและไม่อยากเข้าใกล้ แต่ถ้าหนังสือเป็นบานประตูเปิดไปสู่ความคิดอื่น ความเป็นไปได้ใหม่ อันนี้เหมือนได้เข้าสู่ดินแดนอัศจรรย์
หนังสือและการอ่านจึงต้องมาพร้อมเสรีภาพในการคิดด้วย
หาไม่แล้วมันจะเหมือนคำสั่งให้จำมากกว่าชนวนความคิด
📖📖📖
ไม่แน่ใจว่าเราจะคาดหวังอะไรได้บ้างในประเทศที่ยังมีการยึดหนังสือ บุกสำนักพิมพ์ให้เห็นอยู่เนืองๆ วัฒนธรรมการอ่านนั้นเกิดขึ้นพร้อมเครื่องหมายคำถามในหัวผู้คน
อ่านแล้วสงสัย
อ่านแล้วไม่เชื่อ
อ่านแล้วดื้อ
ไม่แปลกที่รัฐที่ตอกย้ำเรื่อง 'ความมั่นคง' อยู่ตลอดเวลาจะสอดส่องการอ่านอย่างเคร่งครัด เลยเถิดมาถึงสื่อออนไลน์ต่างๆ เพราะการคุมการอ่านก็คือคุมความคิด ในบรรยากาศของการคุมการอ่านให้อ่านเฉพาะที่อยากอ่าน ให้เขียนเฉพาะที่อยากให้เขียน (ไม่งั้นถูกปลดจากศิลปินแห่งชาตินะจ๊ะ) อันนำมาซึ่งให้คิดเฉพาะที่อยากให้คิด
การอ่านจึงไม่สนุก วัฒนธรรมการอ่านจึงไม่แพร่ไปในวงกว้าง
377 ปีก่อน จอห์น มิลตัน พูดถึงเสรีภาพของการตีพิมพ์โดยไม่ต้องมีการควบคุมออกใบอนุญาต ในปี 2021 สังคมไทยเป็นอย่างไร?
ทำไมไทยแลนด์ไม่เป็นแดนแห่งการอ่าน?
นั่นสิ น่าสงสัย
แต่อย่าสงสัยเลย เพราะความสงสัยเป็นเรื่องต้องห้ามในดินแดนที่การอ่านถูกกำหนดให้อ่านเฉพาะสิ่งที่เขาอยากให้อ่าน กระนั้นในสังคมเดียวกันก็ต้องการเยาวชนที่กล้าคิด กล้าแตกต่าง กล้าสร้างสรรค์ และรณรงค์เรื่องการอ่านอยู่เสมอ
และมีคนตั้งคำถามอยู่บ่อยๆ ว่า ทำไมคนไทยไม่รักการอ่าน
สภาพพพพพพ
---
ขอบคุณ สถาบันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อการศึกษาคติชนวิทยาและปรัชญาอมตะ ที่จัดทำหนังสือทรงคุณค่าเป็นวิทยาทานอย่างต่อเนื่องครับ