雖然這篇มาตรา 231 วิแพ่ง鄉民發文沒有被收入到精華區:在มาตรา 231 วิแพ่ง這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 มาตรา產品中有920篇Facebook貼文,粉絲數超過1萬的網紅sittikorn saksang,也在其Facebook貼文中提到, ข้อสังเกตเกี่ยวกับอำนาจของรัฐสภาที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 เมื่อพิจารณาศึกษาอำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญในการมอบใ...
同時也有23部Youtube影片,追蹤數超過16萬的網紅อนุวัต จัดให้,也在其Youtube影片中提到,ฟังชัดๆ มาตรา33 ได้เยียวยา คนละ 4000บาท เริ่ม กลางมีนาคม 64...
「มาตรา」的推薦目錄
- 關於มาตรา 在 ลูกตาล ชลธิชาศ์ ?✨ Instagram 的最佳解答
- 關於มาตรา 在 Khwankhong⚡️? Instagram 的最佳貼文
- 關於มาตรา 在 ไอวิลเลียม - I William Instagram 的精選貼文
- 關於มาตรา 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於มาตรา 在 Drama-addict Facebook 的最讚貼文
- 關於มาตรา 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於มาตรา 在 อนุวัต จัดให้ Youtube 的最讚貼文
- 關於มาตรา 在 อนุวัต จัดให้ Youtube 的最讚貼文
- 關於มาตรา 在 เจาะข่าวตื้น Shallow News in Depth Youtube 的精選貼文
มาตรา 在 ลูกตาล ชลธิชาศ์ ?✨ Instagram 的最佳解答
2021-09-24 10:36:55
สาระน่ารู้ในวันหยุดค่ะทุกคน :) 💸ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ 💸 💥เป็นหน้าที่ของบิดามารดาชอบด้วยกฎหมายจะต้องช่วยกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาต...
มาตรา 在 Khwankhong⚡️? Instagram 的最佳貼文
2021-09-03 15:54:07
Review BIODERMA Photoderm Cover Touch SPF 50 PA ++++🕶☀️ ครั้งแรกกับกันแดด BIODERMA เวชสำอางจากฝรั่งเศสที่ประสิทธิภาพแน่น จัดเต็มเหมือนเดิม แต่เพิ่มเ...
มาตรา 在 ไอวิลเลียม - I William Instagram 的精選貼文
2021-08-18 09:34:37
“ สิทธิของประชาชนที่จะมีและถือศาสตราวุธจะถูกขัดขวางไม่ได้ “ รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา มาตรา ๒ 🇺🇸 🦅 🇺🇸...
-
มาตรา 在 เจาะข่าวตื้น Shallow News in Depth Youtube 的精選貼文
2021-01-22 09:00:20ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0193426433
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
นะครับ ขอบพระคุณมากครับ
หรือจะร่วมเป็นผู้สนับสนุนแบบรายเดือนให้พวกเราก็คลิกที่ลิงค์นี้ได้เลยครับ
https://www.youtube.com/c/ShallowNewsinDepth/join
แล้วเข้ามาดูของแปลกกันในกลุ่มนะ 555 ?
เจาะข่าวตื้น SpokeDark : ปี 2021 ทั้งปีสงสัยคงหนีไม่พ้นเรื่อง มาตรา 112 เมื่อกฎหมายหมิ่นถูกนำมาใช้กดม็อบแบบเต็มที่กับบรรดาแกนนำ การจัดเต็มของตำรวจที่ขนกันมาแบบไม่แคร์ว่าจะมีกฎหมายรองรับ คดีคุณอัญชัญที่ถูกตัดสินจำคุก 87 ปีและลดโทษกึ่งหนึ่ง เป็นสถิติสูงสุด เรื่องวัคซีนก็ยังเป็น 112 ได้ เมื่อการตั้งคำถามของธนาธรเกี่ยวกับบริษัทยา Siam Bioscience ที่สร้างปรากฎการณ์ภาครัฐดิ้นแทนบริษัทเอกชนแห่งนี้แบบไม่เคยมีมาก่อน พาย้อนดูเรื่องของเผด็จการเกาหลีใต้ยุค 1980 อีกครั้ง โดยเฉพาะในช่วงใกล้หมดอำนาจของเผด็จการทหาร มีการใช้อำนาจกฎหมายที่เขียนเองใช้เอง จนระบบยุติธรรมแทบล่มสลาย ตำรวจก็รับใช้เผด็จการเต็มที่ มาดูเคสที่เป็นจุดจบของวัฒนธรรมลอยนวลของพัก ยอง-ชุล (Bak Jong-cheol) และ ควอน อินซก (Kwon In-sook) ตำรวจที่ทำร้ายนักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองต้องติดคุก และเหล่าบรรดากลุ่มทุนใหญ่ก็ไม่รอดเช่นกัน :วัคซีนเพื่อคนไทย จากใจเผด็จการ : เจาะข่าวตื้น 264
ข้อมูลเพิ่มเติม :
Assessing reform in South Korea: a supplement to the Asia Watch report on legal process and human rights
https://www.hrw.org/sites/default/files/supporting_resources/assessing_reform_in_south_korea.pdf
สองทศวรรษการพัฒนาประชาธิปไตยในเกาหลีใต้:ปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค : วิเชียร อินทะสี https://bit.ly/3qGvhZG
#วัคซีน #การเมือง #เจาะข่าวตื้น
มาตรา 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
ข้อสังเกตเกี่ยวกับอำนาจของรัฐสภาที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560
เมื่อพิจารณาศึกษาอำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญในการมอบให้องค์กรของรัฐต่าง ๆ ในการใช้อำนาจอธิปไตยจะพบว่าไม่มีปัญหาเท่าใดนัก แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ยังคงมีปัญหาในเรื่องอำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญ ก็คือ อำนาจที่รัฐธรรมนูญมอบให้รัฐสภาดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นจะกระทำได้มากน้อยเพียงใดภายใต้ มาตรา 256 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยผู้เขียนจะพิจารณาศึกษาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ดังนี้
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 ได้วินิจฉัยถึงอำนาจจัดให้มีรัฐธรรมนูญ (อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ) เป็นอำนาจของประชาชนอันเป็นที่มาในการให้กำเนิดรัฐธรรมนูญโดยถือว่ามีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญที่ก่อตั้งระบบกฎหมายและองค์กรทั้งหลายในการใช้อำนาจทางการเมือง เมื่อองค์กรที่ถูกจัดตั้งมีเพียงอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ ซึ่งก็คือ อำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้องค์กรใช้อำนาจที่ได้รับมอบจากรัฐธรรมนูญนั้นเองกลับไปแก้ไขรัฐธรรมนูญเหมือนการใช้อำนาจแก้ไขกฎหมายธรรมดา แม้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะเป็นอำนาจของรัฐสภาก็ตาม แต่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยตรงโดยการยกร่างใหม่ทั้งฉบับไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์มาตรา 291 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้มาโยการลงประชามติของประชาชนก็ควรจะให้ประชาชนได้ลงมติเสียก่อนว่าสมควรจะมีรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ หรือรัฐสภาจะใช้อำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายเป็นรายมาตราก็เป็นความเหมาสมและเป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะดำเนินดังกล่าวได้
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 กรณีการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (1) โดยระบุตอนหนึ่งว่า การที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 15 (15) บัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกระทำโดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามุ่งประสงค์ให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นการใช้อำนาจของรัฐสภาโดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้กระบวนการใช้อำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภา ในกรณีดังกล่าวมีหลักเกณฑ์และวิธีการซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากการทำหน้าที่ในกระบวนนิติบัญญัติทั่วไป มีเป้าหมายเพื่อปกป้องความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญและรักษาความต่อเนื่องของรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ ดังนั้น แม้รัฐสภามีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ต้องทำตามที่ได้รับมอบอย่างเคร่งครัด ไม่อาจกระทำนอกขอบของหน้าที่และอำนาจที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ได้ ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงต้องอยู่ในเงื่อนไขที่มีความผูกพันกับรัฐธรรมนูญฉบับเดิม ยึดโยงกับหลักการพื้นฐานและให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ “มติมหาชน” การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยวิธีการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้มีหมวด 15/1 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ย่อมมีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2560 อันเป็นการแก้ไขหลักการสำคัญที่ผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญดั้งเดิมต้องการปกป้องคุ้มครองไว้หากรัฐสภาต้องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องจัดให้ประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญออกเสียงประชามติเสียก่อนว่าสมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วย จึงดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป เมื่อเสร็จแล้วต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง
โดยสรุปศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มีจัดให้มีรัฐธรรมนูญ (อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ) ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชน ลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง
จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555และ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ได้วางหลักสำคัญ คือ
1. รัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติถ้าจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องผ่านประชามติจากประชาชนเสียก่อน
2. ถ้ารัฐธรรมนูญที่ไม่ได้ผ่านประชามติจากประชาชนออกเสียงประชามติจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้
3. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบางส่วน บางมาตรา นั้นสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องผ่านประชามติเป็นไปตามกระบวนการขั้นตอนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
4. อำนาจจัดให้มีรัฐธรรมนูญ (อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ) เป็นของประชาชนผู้ลงประชามติเห็นชอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รองศาสตราจารย์ สิทธิกร ศักดิ์แสง
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
มาตรา 在 Drama-addict Facebook 的最讚貼文
คำสั่งในการยึดและอายัดทรัพย์ของคณะกรรมการธุรกรรม ปปง.ระบุความเป็นมาดังนี้
ด้วยสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สํานักงาน ปปง.) ได้รับรายงาน จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ตามหนังสือ ลับ ที่ ยธ 0811/019 ลงวันที่ 7 เมษายน 2563 เรื่อง ขอส่ง ข้อมูลเกี่ยวกับการกระทําความผิดที่มีพฤติกรรมต้องสงสัยว่าอาจเข้าข่ายเป็นความผิดมูลฐาน ซึ่งเป็นกรณี มีพฤติการณ์แห่งการกระทําความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา กล่าวคือ
กลุ่มมิจฉาชีพมีการประกาศลงข้อความหรือข้อมูลทางสื่อสังคมออนไลน์เพื่อหลอกขายสินค้าโดยที่ไม่มีสินค้าอยู่จริง มีการโฆษณาเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่มีความเป็นจริงและมีการลักลอบนําข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นไปลงทะเบียน เพื่อเปิดใช้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ และมีเจตนาอําพรางตนโดยนําหมายเลขดังกล่าวนั้น ไปรับโอนเงิน ที่ได้มาจากการหลอกลวงผู้เสียหายรายอื่นเป็นทอด ๆ ซึ่งลูกค้าหรือผู้สั่งซื้อสินค้าจะถูกผู้ขายหรือมิจฉาชีพ กําหนดให้ต้องถ่ายภาพใบหน้าคู่กับบัตรประจําตัวประชาชนส่งให้กับผู้ขาย ทั้งนี้ เพื่อเป็นเงื่อนไขในการสั่งซื้อ และให้ชําระเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายก่อนล่วงหน้า โดยกําหนดให้ลูกค้าชําระเงินผ่านหมายเลขบัญชี อิเล็กทรอนิกส์ ตามแต่ผู้ขายจะแจ้งให้ทราบ เมื่อมีการโอนเงินชําระค่าสินค้าไปแล้ว ผู้ซื้อจะไม่สามารถติดต่อ ผู้ขายได้อีกเลย โดยการสืบสวนปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางการเงินได้โอนเข้าไปในบัญชีเงินฝากปลายทาง ชื่อ นางสาวพิยดา ทองคําพันธ์ โดยปรากฏว่าตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม - กันยายน 2562 มีผู้เสียหายจํานวน 83 ราย มีมูลค่าความเสียหายไม่น้อยกว่า 1,147,300 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นเจ็ดพันสามร้อยบาทถ้วน) พนักงานสอบสวน สถานีตํารวจภูธรคลองหลวง ได้รวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติหมายจับต่อศาลเยาวชน และครอบครัวจังหวัดปทุมธานี และสามารถจับกุมตัวนางสาวพิยดา ทองคําพันธ์ ผู้ต้องหาตามคดีอาญาที่ 761/2563 โดยคดีนี้พนักงานสอบสวนได้สรุปสํานวนและมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาตามความผิด ฐานนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทํา ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 341 และมาตรา 343 และได้ส่งสํานวนคดีที่ไปยังพนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว จังหวัดปทุมธานี เพื่อดําเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป อันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (3) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า นางสาวพิยดา ทองคําพันธ์ กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดดังกล่าว
ในการนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน ในการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม 10/2563 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563 ที่ประชุม มีมติมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดําเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 25642 ประกอบกับคําสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ลับ ที่ ม.563/2563 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563 เรื่อง มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ การกระทําความผิด รายนางสาวพิยดา ทองคําพันธ์ กับพวก พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดําเนินการตรวจสอบรายงาน การทําธุรกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทําธุรกรรมของบุคคลดังกล่าวแล้ว ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่า นางสาวพิยดา ทองคําพันธ์ กับพวก มีพฤติการณ์แห่งการกระทําอันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตาม มาตรา 3 (3) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 หรือเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง หรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทําความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน และจากการตรวจสอบข้อมูล การทําธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด รวมทั้งจากการรวบรวมพยานหลักฐาน
ปรากฏว่า บุคคลดังกล่าวได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด จํานวน 10 รายการ พร้อมดอกผล และเนื่องจากทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดในคดีนี้ประกอบด้วยสังหาริมทรัพย์ประเภทเงินสด อันเป็น ทรัพย์สินที่มีสภาพคล่อง สามารถปกปิด ซ่อนเร้น หรือโอนเปลี่ยนมือได้โดยง่าย สังหาริมทรัพย์ประเภท โทรศัพท์เคลื่อนที่ อันเป็นทรัพย์สินที่ไม่ปรากฏหลักฐานในทางทะเบียน โดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองสามารถ โอน จําหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นได้โดยง่าย สังหาริมทรัพย์ประเภทเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร อันเป็นทรัพย์สินที่สามารถโอน ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นได้โดยง่าย และอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดิน ตามโฉนดที่ดิน อันเป็นทรัพย์สินที่ปรากฏหลักฐานในทางทะเบียน ในการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยผู้มีชื่อ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ อาจดําเนินการทางนิติกรรมโอนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียนได้ หากมิได้มีการออกคําสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าวไว้ชั่วคราว เมื่อเจ้าของหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีสิทธิ ในทรัพย์สินดําเนินการโอน จําหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าวไปเสีย และหากต่อมาศาล ได้มีคําสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน สํานักงาน ปปง. อาจไม่สามารถติดตามทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืน มาได้ จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่านางสาวพิยดา ทองคําพันธ์ กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด และอาจมีการโอน จําหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 34 (3) และมาตรา 48 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มติคณะกรรมการธุรกรรมในการประชุม ครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 และระเบียบคณะกรรมการธุรกรรม ว่าด้วยการรับเรื่อง การตรวจสอบ การพิจารณาดําเนินการ และการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2556 ข้อ 35 คณะกรรมการธุรกรรม จึงมีคําสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดไว้ชั่วคราว จํานวน 10 รายการ พร้อมดอกผล มีกําหนดไม่เกิน 90 วัน (เก้าสิบวัน) กล่าวคือ มีคําสั่งให้ยึดทรัพย์สิน จํานวน 4 รายการ ได้แก่ รายการที่ 1 ถึงรายการที่ 4 นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ กล่าวคือ นับตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2564 ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2564 และมีคําสั่งให้อายัดทรัพย์สิน จํานวน 6 รายการ ได้แก่ รายการที่ 5 ถึงรายการที่ 10 นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ กล่าวคือ นับตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2564 ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2564 โดยมีรายการทรัพย์สินที่ยึดและอายัดปรากฏตามบัญชีทรัพย์สินแนบท้ายคําสั่งนี้ (ดูเอกสาร)
มาตรา 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
“ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560”
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารในระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีสาระที่สำคัญ ดังนี้
1.ที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
1.1 ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)กับวุฒิสภา (ส.ว.)
ส.ส.มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จำนวน 500 คนแบ่งเขต 350 คน บัญชีรายชื่อจำนวน 150 คน โดยใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวทั้งแบบแบ่งเขตกับแบบบัญชีรายชื่อ
ส่วน ส.ว. มีที่มาอยู่ 2 ระยะ คือ ระยะ 5 แรก กับระยะ 5 ปีหลัง
ในระยะ 5 ปีแรก ในบทเฉพาะกาลได้กำหนดไว้ในกรณี 5 ปีแรก ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้ง มาจากการแต่งตั้งของคสช.จำนวน 250 คน (ม.269 )
ข้อสังเกต ส.ว. มีที่มาจากการแต่งตั้ง จากบุคคลกลุ่มต่างๆ 244 คน กับบุคคลที่ดำรงแหน่งผู้บัญชากองทัพกับตำรวจ 6 คน
ข้อสังเกต ส.ว. มีอำนาจร่วมพิจารณานายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส. (ม.272)
ในระยะ 5 ปีหลังมาจากจากการสรรหา (ม.107-113) จากกลุ่มบุคคลต่างๆ หลากหลายอาชีพ จำนวน 200 คน ทำหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายและมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้เช่นเดียวกับส.ส. แต่ไม่มีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ ปัจจุบันได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 83 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมา จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยให้ใช้ บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบละ 1 ใบ คือ หนึ่งใบแบบแบ่งเขต เขตเดียวเบอร์เดียวกับ อีก 1 ใบ แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 รอทิ้ง ไว้ 15 วันและให้นายกฯส่งทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมภิไธย ตามมาตรา 81
1.2 ฝ่ายบริหาร
หัวหน้าฝ่ายบริหารต้องมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ คือ นายกรัฐมนตรีมาจากผู้ที่พรรคการเมืองเสนอชื่อ ซึ่งเป็น ส.ส.หรือไม่เป็น ส.ส.ก็ได้ แต่ต้องไม่เป็น ส.ว. (ม.88) (มาตรา 159) และเลือกรัฐมนตรี อื่นไม่เกิน 35 คน รวมเป็นคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน กล่าวคือ และรัฐบาลมาจากความไว้วางใจของ ส.ส.เริ่มต้นด้วยการให้ประชาชนเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อได้ ส.ส. ครบถ้วนแล้ว (ม.83-ม.106) สภาก็จะให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งฝ่ายบริหาร โดยมอบให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง (ม.158 - ม.159) เพื่อจัดตั้งฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรีหรือเรียกว่า “รัฐบาล”)
ข้อสังเกต ที่ 1 ในระยะ 5 ปี แรก ส.ว. พิจารณาเลือก นายกรัฐมนตรี กับ ส.ส.
ข้อสังเกต ที่ 2 ในกรณีสมัยแรกถ้าไม่สามารถหาได้นายกรัฐมนตรี อาจรัฐสภา (ส.ส. กับ ส.ว.) เสนอบุคคลที่ไม่ได้เสนอตาม ม.88 (ม.272)
2.การถ่วงดุลอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร
ในระบบรัฐสภาของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ได้กำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) มีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร (รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี) เนื่องจากฝ่ายบริหารมาจากความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ฝ่ายนิติบัญญัติจึงมีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้ เรียกว่า “อำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน” บนรากฐานของ “ความไว้วางใจของสภา” (Parliament’s confidence) ดังนี้
1)ฝ่ายบริหารที่จัดตั้งขึ้นเสร็จแล้วต้องแถลงนโยบายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ (ม.162)
2) การตั้งกลไกกรรมาธิการเพื่อตรวจสอบ กล่าว สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ หรือคณะกรรมาธิการร่วมกันตามมาตรา 137 เพื่อกระทำกิจการพิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใด ๆ และรายงานให้สภาทราบ (มาตรา 129)
3) สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ (สมาชิกรัฐสภา) สามารถตั้งกระทู้ถาม (Question) ซึ่งอาจจะเป็นการตั้งกระทู้ถามสด หรืออาจจะเป็นการตั้งกระทู้ถามทั่วไปก็ได้(ม.150)ต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในปัญหาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินหรือปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
4)การเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ (Vote of no Confidence) ทั้งคณะ(เป็นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี) หรือรัฐมนตรีรายบุคคล (ม.151) ซึ่งเป็นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบลงมติโดยสภาผู้แทนราษฎรกับเปิดอภิปรายไม่ไว้วางแบบไม่ลงมติ (ม.152)
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม้ไว้วางใจตามมาตรา 151 เป็นมาตรการขั้นเด็ดขาดขั้นสุดท้ายที่จะควบคุมฝ่ายบริหาร
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ถือ เป็นไม่ไว้วางใจทั่งคณะ ถ้านายกรัฐมนตรีก็ต้องพ้นทั้งคณะ
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบลงมติ จะต้อง ส.ส. เท่านั้น
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบไม่ลงมติ เป็น ส.ส. หรือ ส.ว. ก็ได้
5) เมื่อกรณีฝ่ายบริหารออกพระราชกำหนด ภายใต้เงื่อนไข มาตรา 172 มาตรา 174 และเมื่อเข้าสู่สมัยประชุมการสภานิติบัญัติ (สมัยการตรากฎหมาย) ฝ่ายบริหารต้องนำพระราชกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติอนุมัติ
6) ฝ่ายบริหารจะดำเนินการ เช่น ที่เกี่ยวกับสัญญาที่มีผลเกี่ยวอาณาเขตของรัฐ อำนาจอธิปไตยของรัฐ การประกาศสงคราม เป็นต้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ
7) ฝ่ายบริหารก็มีอำนาจควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ ได้คือ การเสนอให้พระมหากษัตริย์ (ประมุขของรัฐ) ยุบสภาผู้แทนราษฎรให้มีการเลือกตั้งใหม่ (ม.103)
ข้อสังเกต การยุบสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) ถือเป็นการถ่วงดุลของฝ่ายบริหารที่มีต่อฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ฝ่ายนิติบัญญัติกลัวที่สุด
สรุป ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา ของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีประเด็นปัญหาที่ไม่เป็นระบอบประชาธิปไตย ใน 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ
1.เรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่มีจารีตประเพณีที่ว่า นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงมาก คือ ได้จำนวน ส.ส. มากที่สุด สามารถจัดคั้งรัฐบาลและผู้ที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง แต่รัฐธรรมนูญ2560 นี้ได้ทำลายหลักการนี้ไปแล้ว คือ
1.1 นายกฯมาจากผู้ที่พรรคการเมืองเสนอ 3 รายชื่อ เป็น ส.ส.หรือไม่ก็ตาม และไม่จำเป็นต้องเป็นพรรคการเมืองที่มี จำนนวน ส.ส. มาก เป็นผู้มีสิทธิ ขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองที่สามารถรวบรวม ส.ส.มากกว่ากัน และมิหนำซ้ำ ในกรณี 5 ปีแรกในบทเฉพาะกาลที่ให้มี ส.ว. ที่มาจากการแต่ตั้ง คสช. (องค์ชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้ง) สามารถเลือกนายกฯร่วมกับ ส.ส. ได้ ไม่จำเป็นต้องมีการรวบรวม ส.ส.มาก แต่ถ้ารวมกับ กับ ส.ว. อีก 250 คนได้ มากกว่า ก็เป็นนายกฯได้แล้ว ตัวอย่างเช่น
ส.ส. 500 คน ได้เสียง ส.ส. 126 คน รวมกับ ส.ว.250 คน ก็สามารถเลือกนายกฯ ได้แล้ว ถือเป็นการทำลายหลักประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก ที่ว่า ผู้ปกครองที่บริหารประเทศต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจจากประชาชน ด้วยการเลือกตั้งที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ ในระบบประขาธิปไตยทางผู้แทน คือ เสียง ส.ส. ที่ประชาชนเลือกตั้ง
1.2 ในกรณีที่ไม่สามารถหานายกฯได้ ในบทเฉพาะกาล กำหนดว่า ให้ รัฐสภา (ส.ส.กับ ส.ว.) เลือกบุคคลที่ไม่อนู่ในรายชื่อ 3 รายชื่อ ที่พรรคการเมืองเสนอให้ประชาชนเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกพรรคและเลือก ส.ส. ใช้บัตรใบเดียวกันทั้งประเทศ ดังนั้น นายกฯก็ต้องมาจาก บุคคลที่ พรรคการเมืองเสนอ จะให้เป็นบุคคลที่ไม่อยู่ในรายชื่อเสนอให้กัยประขาขนเลือก ถือ เป็นการทำลายหลักประชาธิปไตย ที่ว่า ระบอบการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
2. ที่มาของ ส.ว. ในระยะ 5 ปี ที่มาจากการแต่งตั้ง จาก คสช.( องค์ชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้ง) โดยเฉพาะจากผู้นำเหล่าทัพ ถือ เป็นสืบทอดอำนาจเผด็จการ สืบทอดอำนาจที่มาจากการรัฐประหาร เพราะ คสช. ก็คือ กองทัพ ที่สนับสนุน รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร อีกส่วนหนึ่งก็มาจากข้าราชการทหาร ตำรวจ แบะบุคคลที่เป็นเครือข่ายของคณะรัฐประหาร ดังนั้นที่มา ส.ว. ในระยะ 5 ปี ไม่ได้มาจากประขาชนหรือตัวแทนประชาชนที่แท้จริง
3. จากที่มาของนายกฯหัวหน้าฝ่ายบริหาร กับที่มา ส.ว. ที่เป็นพวกหรือกลุ่มเดียวกัน การตรวจสอบ หรือการถ่วงดุลฝ่ายบริหารของฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถทำได้เลย หรือทำได้ยากมาก วุฒิสภา คือ จึงเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารที่ทรงพลังเป็นอย่างมากถือ เป็นการใช้อำนาจที่ไม่ยึดโยงจากประชาชนตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยภายใต้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาที่นานาอารยประเทศใช้กันอยู่