[爆卦]ภัยพิบัติทางธรรมชาติ是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ภัยพิบัติทางธรรมชาติ鄉民發文沒有被收入到精華區:在ภัยพิบัติทางธรรมชาติ這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ產品中有2篇Facebook貼文,粉絲數超過1萬的網紅sittikorn saksang,也在其Facebook貼文中提到, ช่วงนี้มีข่าวเรื่องนายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ ทุจริตเงิน 9 แสนจึงต้องลาออกจากนายกรัฐมนตรี ผมเลยค้นคว้าในเรื่องฝ่ายบริหารของเกาหลีใต้มาให้อ่านกันนะครับ ...

 同時也有3部Youtube影片,追蹤數超過113萬的網紅คอเป็นหนัง,也在其Youtube影片中提到,***โดเนทเพื่อเป็นกำลังใจในการทำคลิปให้ผมได้นะครับขอบคุณมากคับ *ผ่าน True Wallet - 0881558463 *ผ่าน พร้อมเพย์ - 0826694927 *ผ่าน True Money - http://bi...

  • ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答

    2015-04-23 11:16:12
    有 36 人按讚

    ช่วงนี้มีข่าวเรื่องนายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ ทุจริตเงิน 9 แสนจึงต้องลาออกจากนายกรัฐมนตรี ผมเลยค้นคว้าในเรื่องฝ่ายบริหารของเกาหลีใต้มาให้อ่านกันนะครับ

    ฝ่ายบริหาร ของประเทศเกาหลีใต้

    โครงสร้างฝ่ายบริหารของประเทศเกาหลีใต้ประกอบด้วย

    ประธานาธิบดี (President)
    นับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศเป็นต้นมา อาจถือได้ว่าเกาหลีใต้ยึดการปกครองแบบ ประชาธิปไตยในระบบ ประธานาธิบดี (Presidential system) มาโดยตลอด ยกเว้นในช่วงสั้นๆระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1960 – กรกฎาคม 1961 ที่เปลี่ยนมาใช้ระบบรัฐสภา (Parliamentary system) เท่านั้น ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ และเป็นตัวแทนของรัฐในการติดต่อสัมพันธ์กับ ต่างประเทศ ในขณะเดียวกันประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในกรณีที่ประธานาธิบดีเสียชีวิตหรือไม่สามารถปฏิบัติราชการบริหารประเทศได้ นายกรัฐมนตรี หรือสมาชิกในคณะมนตรีแห่งรัฐ (State Council) จะทำหน้าที่แทนจนกว่าจะมีการเลือกตั้งบุคคลคนใหม่ดำรงตำแหน่งแทน
    ประธานาธิบดีจะอยู่ในตำแหน่งเพียงหนึ่งวาระเป็นเวลา 5 ปี โดยได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน สาเหตุที่มีการกำหนดวาระของการดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียวนี้เป็นผลมาจากประสบการณ์ในอดีต ทั้งนี้เพราะในระหว่างทศวรรษที่ 1950 – 1970 แห่งคริสต์ศักราชที่ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประธานาธิบดีอยู่ในอำนาจได้หลายวาระจนทำให้สาธารณรัฐเกาหลีกลายเป็นรัฐเผด็จการไป
    อำนาจและหน้าที่ของประธานาธิบดีเป็นไปตามข้อกำหนด 7 ประการ ดังนี้
    1. ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและเป็นตัวแทนของประเทศทั้งในระบบ
    แห่งรัฐและในความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ประธานาธิบดีเป็นผู้ให้การต้อนรับทูตานุทูตต่างประเทศ มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญเกียรติยศ รวมทั้งเป็นผู้นำในด้านพิธีกรรมและให้อภัยโทษ หน้าที่สำคัญของประธานาธิบดีคือการปกป้องอธิปไตยของชาติให้ธำรงค์ความเป็นเอกราช ศักดิ์ศรีของชาติ และดินแดน อีกทั้งทำหน้าที่สำคัญในการรวมชาติ(กับเกาหลีเหนือ) ด้วยสันติวิธีเพื่อให้บังเกิดความสงบสุขบนคาบสมุทรเกาหลี
    2.ในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีจะทำหน้าที่ในการบังคับใช้
    กฎหมายที่ได้ผ่านรัฐสภาแล้ว ในขณะเดียวกัน ออกพระราชกำหนด และข้อกำหนดอื่นๆเพื่อให้มีการกระทำตามกฎหมาย ประธานาธิบดีมีอำนาจเต็มในการเป็นผู้นำคณะกรรมการแห่งรัฐ และกำกับดูแลองค์กรที่ปรึกษาและหน่วยงานระดับสูง ประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าหน่วยราชการและหน่วยงานการเมืองระดับสูง
    3. ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการทหารสูงสุด มีอำนาจหน้าที่ใน
    การกำหนดนโยบายเกี่ยวกับกองทัพ รวมทั้งมีอำนาจในการประกาศสงคราม
    4.ภายใต้ระบบประธานาธิบดีของเกาหลีในปัจจุบัน ประธานาธิบดีจะดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองมีอำนาจในการแต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในพรรค และให้คำปรึกษาหารือกับพรรคในการเลือกสรรและแต่งตั้งผู้ที่จะเข้าดำรงตำแหน่งระดับสูงในฝ่ายบริหาร
    5.ประธานาธิบดีเป็นหัวหน้ากำหนดนโยบายและเป็นผู้นำในการเสนอร่างกฎหมาย เป็นผู้ชี้แจงกฎหมายที่เสนอเข้าสู่รัฐสภาด้วยตนเอง หรืออาจชี้แจงเป็นข้อเขียนก็ได้ ประธานาธิบดีไม่สามารถยุบสภาได้ อนึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐสภาสามารถยื่นข้อกล่าวหา (impeach) เพื่อถอดถอนประธานาธิบดีได้
    6.ประธานาธิบดีมีอำนาจเต็มที่ในการจัดการกับภาวะวิกฤต เช่น เกิดความยุ่งเหยิงและการจลาจลภายในประเทศ การคุกคามจากภายนอกประเทศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิกฤตการณ์ทางการเงินและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง โดยประธานาธิบดีสามารถออกพระราชกำหนด หรือ ประกาศภาวะฉุกเฉินให้เป็นผลตามกฎหมายได้เพื่อแก้ไขปัญหา

    อย่างไรก็ตาม การกระทำดังกล่าวจะสามารถกระทำได้ก็ต่อเมื่อไม่มีเวลาเพียงพอที่จะเปิดประชุมสภาผู้แทน นอกจากนั้นการใช้อำนาจดังกล่าวต้องเป็นไปเพื่อความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อยของสังคม จากนั้น ประธานาธิบดีต้องแจ้งแก่รัฐสภาเพื่อความเห็นชอบ หากประธานาธิบดีดำเนินการดังกล่าว คำสั่งเหล่านั้นจะไม่เป็นผลตามกฎหมาย
    7.ประธานาธิบดีสามารถประกาศภาวะฉุกเฉินในกรณีที่เกิดสงคราม เกิดการสู้รบ หรือเกิดเหตุการณ์วิกฤตใดๆ การประกาศภาวะฉุกเฉินนั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาด้วย

    องค์กรในสังกัดสำนักประธานาธิบดี (Presidential agencies)ในการปฏิบัติภาระหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายบริหารนั้น ประธานาธิบดีจะได้รับการช่วยเหลือด้านบุคลากรและคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ที่ขึ้นตรงต่อตัวเขา องค์กรเหล่านี้ได้แก่ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council) คณะที่ปรึกษาประชาธิปไตย และการรวมชาติโดยสันติ (Advisory Council on Democratic and Peaceful Unification)กรรมาธิการวางแผนและงบประมาณ (Planning and Budget Commission) กรรมาธิการด้านกิจการสตรี (Presidential Commission on Women’s Affairs) สภาประธานาธิบดีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย(Presidential Council on Science and Technology) และ คณะกรรมการประธานาธิบดีด้านธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (Presidential Commission on Small and Medium Business) หัวหน้าของสภากรรมาธิการของแต่ละองค์กรจะมีตำแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรี และทำหน้าที่รับผิดชอบในการตระเตรียมนโยบายให้แก่ประธานาธิบดีในภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเฉพาะขององค์กรแต่ละองค์กร
    อนึ่ง นอกเหนือจากสภากรรมาธิการดังกล่าวข้างต้นนั้นแล้วยังมีอยู่อีก 2องค์กรที่ขึ้นโดยตรงต่อ ตัวประธานาธิบดี นั่นคือ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และการไต่สวน (Board of Audit and Inspection) และหน่วยงานข่าวกรองแห่งชาติ (National Intelligence Service) หัวหน้าขององค์กรทั้งสองนี้จะได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี อย่างไรก็ตามการแต่งตั้งคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินและการไต่สวนนั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเสียก่อน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและการไต่สวนมีอำนาจในการตรวจสอบบัญชีทุกประเภทของรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และองค์กรของรัฐ คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจอย่างกว้างขวางในการตรวจสอบการใช้อำนาจผิด ๆ ของข้าราชการที่มีพฤติกรรมมิชอบของเหล่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ จากนั้นจะต้องส่งรายงานผลการไต่สวนไปยังประธานาธิบดีและรัฐสภา
    หน่วยข่าวกรองแห่งชาติมีหน้าที่ในการเก็บข่าวสารข้อมูลทางยุทธศาสตร์ทั้งภายในและภายนอกประเทศอีกทั้งต้องร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสภาความมั่นคงแห่งชาติเพื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมายของชาติ

    นายกรัฐมนตรี (Prime Minister)
    ในประเทศที่มีการปกครองระบบรัฐสภานั้น นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร แต่สำหรับกรณีของเกาหลีใต้ซึ่งใช้ระบบการปกครองแบบประชากรชาตินายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นผู้ช่วย อันดับที่หนึ่งที่ขึ้นตรงต่อประธานาธิบดี โดยมีอำนาจหน้าที่ในการดูแลการดำเนินงานของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ในฐานะเป็นหัวหน้าเหล่าข้าราชการทั้งหมด ข้อมูลนับจนถึงเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 1998 เกาหลีใต้มีกระทรวงหลัก 17 กระทรวง และหน่วยงานอิสระที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง (หรือเทียบเท่าทบวง) อีก 17 หน่วยงาน
    นายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี แต่ไม่มีกฎเกณฑ์หรือระเบียบการใดๆที่วางไว้ว่าบุคคลที่เหมาะสมที่จะเข้าดำรงตำแหน่งนี้ควรจะเป็นเช่นไร ยกเว้นการเสนอการแต่งตั้งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
    องค์กร/หน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ สำนักงานประสานงานนโยบายของรัฐ (Office for Government Policy Coordination); กรรมาธิการการค้าเสรี (Fair Trade Commision); กระทรวงยุติธรรม (Ministry of Justice); สำนักงานสารนิเทศ (Office of Public Information); คณะกรรมการวางแผนภาวะฉุกเฉิน (Emergency Planning Committee ); และองค์การการบริหารผู้รักชาติ และทหารผ่านศึก (Patriots and Veterans Administration Agency)
    นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการกำหนดนโยบายสำคัญๆของชาติ และเข้าร่วมประชุมรัฐสภา อนึ่ง นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการบริหารงานในงานแทนประธานาธิบดีเมื่อได้รับมอบหมาย นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการเสนอให้ประธานาธิบดีแต่งตั้งหรือถอดถอนรัฐมนตรี หรือสมาชิกคณะมนตรีแห่งชาติ

    คณะมนตรีแห่งรัฐ (State Council)
    ในการตัดสินและการแก้ไขปัญหาของชาติอยู่ที่การปรึกษาหารือ อย่างรอบคอบ
    จากคณะมนตรีแห่งรัฐโดยจะใช้ฉันทามติในการกำหนดนโยบาย และกิจกรรมต่างๆของประเทศ คณะมนตรีแห่งรัฐนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับ คณะรัฐมนตรี ดังเช่นของประเทศไทย คณะมนตรีแห่งรัฐนี้ปกครองด้วยสมาชิก ดังนี้ ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีราว 15-30 คน ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งเป็นประธาน และนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน เมื่อคณะมนตรีแห่งรัฐได้สรุปและให้ความเห็นชอบในเรื่องต่าง ๆ แล้ว ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ตัดสินในขั้นสุดท้ายก่อนประกาศใช้ ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2000) คณะมนตรีแห่งรัฐประกอบด้วย ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ 17 คน รวมเป็น 19 คน
    การที่คณะมนตรีแห่งรัฐ ประชุมร่วมกันเพื่อไตร่ตรองนโยบายหลักของชาติ และนำเสนอให้ประธานาธิบดีเพื่อตัดสินใจขั้นสุดท้าย อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คณะมนตรีแห่งรัฐเป็นเสมือนที่ปรึกษาของ ประธานาธิบดีนั่นเอง ทั้งนี้เพราะภาระหน้าที่ของคณะมนตรีแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญนั้น มิใช่เป็นองค์กรทำหน้าที่ตัดสินใจดังปรากฎในมาตรา 89 ในรัฐธรรมนูญที่กำหนดว่า คณะมนตรีแห่งชาติจะให้คำปรึกษาแก่ประธานาธิบดีในเรื่อง ดังต่อไปนี้
    -แผนพัฒนาประเทศและนโยบายทั่วไปของกระทรวง ทบวง กรม
    -การประกาศสงคราม การทำสนธิสัญญาสันติภาพ และเรื่องกิจการต่างประเทศ
    -ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ร่างข้อเสนอกิจการต่างๆแห่งชาติ ร่างสนธิสัญญา ร่างกฎหมาย และร่างพระราชกำหนด
    -ร่างงบประมาณแผ่นดิน การปิดงบประมาณ แผนการยกเลิกทรัพย์สินของรัฐ การทำพันธะสัญญาในเรื่องการเงิน การคลัง ของรัฐ
    -คำสั่งประธานาธิบดีในภาวะวิกฤต ข้อปฏิบัติในวิกฤตการณ์ทางการคลัง และเศรษฐกิจของประเทศ และการประกาศใช้หรือยุติการใช้ภาวะฉุกเฉิน
    -กิจการทางการทหารที่สำคัญ
    -การขอเปิดประชุมรัฐสภาสมัยพิเศษ
    -การมอบเหรียญรางวัลเกียรติยศ
    -การอภัยโทษ
    -การปรับโครงสร้างการบริหารงาน ของแต่ละกระทรวง
    -แผนการทั่วไปเกี่ยวกับการจัดสรรอำนาจของฝ่ายบริหาร
    -การประเมินและวิเคราะห์ความก้าวหน้าในนโยบายที่สำคัญของรัฐ
    -การกำหนดนโยบายและความร่วมมือของแต่ละกระทรวง
    -คำสั่งการยุบพรรคการเมือง
    -พิจารณาคำร้องและส่งคำร้องต่อฝ่ายบริหารในเรื่องนโยบายของรัฐบาล
    -แต่งตั้งอัยการสูงสุด อธิการบดีมหาวิทยาลัย เอกอัครราชทูต ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และข้าราชการ รวมทั้งผู้อำนวยการรัฐวิสาหกิจที่ได้รวมไว้ในกฎหมาย
    -กิจการอื่นใดที่ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และสมาชิกของคณะมนตรีแห่งรัฐเสนอให้พิจารณา

  • ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文

    2014-01-14 10:03:33
    有 7 人按讚

    เรามาฟังเสียงนักวิชาการที่คิดต่าง ว่าการเลื่อนการเลือกตั้งทำไม่ได้ คือ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวถึง "ข้อเสนอเลื่อนเลือกตั้งยิ่งต่ออายุ รบ.รักษาการ ย้ำ กม.ไม่ให้ตรา พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่"
    วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557 เวลา 18:36:35 น.Tweet (ไทยรัฐออนไลส์)

    ′วรเจตน์′ ซัดข้อเสนอเลื่อนเลือกตั้ง เหมือนมองไม่เห็นหัวคนที่เคารพสันติภาพ ชี้ยิ่งเลื่อนยิ่งต่ออายุรัฐบาลรักษาการ แนะแก้ปัญหาบนวิถี ′อารยะชน′ ไม่ใช่ ′อันธพาล′

    กลุ่มนิติราษฎร์ได้เผยแพร่บทความของ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ หัวข้อ “ข้อเสนอเลื่อนการเลือกตั้ง:ข้อเสนอที่มองไม่เห็นหัวคน” ใจความตอนหนึ่งว่าเมื่อพิจารณาจากรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว ข้อเรียกร้องดังกล่าวเป็นข้อเรียกร้องที่ไม่มีฐานทางกฎหมายรองรับ และขาดเหตุผลความชอบธรรม 4 ข้อ ดังนี้

    1.การยุบสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา108 กำหนดให้กระทำเป็นพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปภายในไม่น้อยกว่า 45 วัน และไม่เกิน 60 วัน ซึ่งมีการกำหนดวันเลือกตั้งไว้วันที่ 2 ก.พ.ไม่ปรากฏว่ารัฐธรรมนูญให้อำนาจแก่องค์กรใด ๆ ในการตราพระราชกฤษฎีกาใหม่ให้เลื่อนวันเลือกตั้ง ทั้งที่ยังไม่เกิดการเลือกตั้งขึ้นเลยได้ การเสนอให้ ครม.ดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่เกิดการเลือกตั้งขึ้น หรือมีปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้งในวันเลือกตั้ง จึงเป็นการเรียกร้องหรือเสนอแนะให้ครม.ที่รักษาการอยู่ในขณะนี้กระทำการอันขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายการเสนอให้ ครม.กระทำการอันขัดต่อรัฐธรรมนูญ และกฎหมายเช่นนี้เป็นการเสนอที่ไร้ความรับผิดชอบ

    2. มีผู้กล่าวอ้างว่าหากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในวันเลือกตั้ง หรือเกิดภัยพิบัติต่างๆ ขึ้น ก็จะต้องเลื่อนการเลือกตั้ง เป็นข้ออ้างที่อำพรางความต้องการที่แท้จริงคือความต้องการที่จะขับไล่ ครม.รักษาการ และการตั้งครม.นอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ และหากถึงวันเลือกตั้งแล้วมีเหตุการณ์ที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถไปออกเสียงลงคะแนนได้ เช่น การจลาจล ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอื่นใด เจ้าหน้าที่ที่จัดการการเลือกตั้งย่อมมีอำนาจประกาศการงดลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งนั้น และกำหนดวันลงคะแนนใหม่ได้ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ฯ มาตรา 78 คือการเลื่อนการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งสามารถกระทำได้ตามเหตุที่กฎหมายกำหนด ซึ่งต้องพิจารณาเป็นหน่วยเลือกตั้งไป ไม่ใช่เอาเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้เลื่อนการเลือกตั้งทั้งประเทศออกไป

    3.มีผู้กล่าวอ้างว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. อาจเป็นโมฆะด้วยเหตุผลต่าง ๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุผลที่ในบางเขตเลือกตั้งไม่สามารถรับสมัครเลือกตั้งได้ เนื่องจากมีการขัดขวางการเลือกตั้ง ตนเห็นว่าการไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้เป็นความรับผิดชอบของ กกต. เพราะไม่ขยายระยะเวลาการสมัครรับเลือกตั้งออกไป ทั้ง ๆ ที่สามารถทำได้ตามกฎหมาย และหลังจากการเลือกตั้ง หากปรากฏว่าเขตเลือกตั้งใดยังไม่มี ส.ส.ย่อมเป็นหน้าที่ของ กกต. ที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้ได้มา ซึ่ง ส.ส.จนครบจำนวนในภายหลังในกรณีที่ยังไม่สามารถเปิดสภาฯได้ ครม.รักษาการย่อมมีความชอบธรรมที่จะอยู่ในตำแหน่งต่อไป

    4.การที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องมีการเลือกตั้งทั่วไปภายหลังจากที่ยุบสภาไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน เนื่องมาจากรัฐธรรมนูญไม่ต้องการให้ ครม.ที่พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ เนื่องจากการยุบสภาอยู่ในตำแหน่งในฐานะเป็น ครม.รักษาการนานเกินไป ดังนั้นผู้ที่เสนอให้เลื่อนการเลือกตั้งพึงสำเหนียกไว้ด้วยว่าหากมีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไป ก็เท่ากับว่า ครม.รักษาการก็จะต้องอยู่รักษาการนานต่อไปด้วยจนกว่า ครม.ชุดใหม่

    “ความพยายามขัดขวางการเลือกตั้ง ความพยายามให้เลื่อนการเลื่อนตั้งออกไปเท่ากับการยอมให้ ครม.รักษาการต้องอยู่ในตำแหน่งต่อไปเช่นกัน หากผู้ใดเสนอให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไป แต่ให้ ครม.รักษาการต้องออกจากตำแหน่งทั้งคณะ หรือแม้ไม่ได้แสดงออกอย่างชัดแจ้งให้ ครม.รักษาการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ แต่ภายในใจต้องการเช่นนั้นข้อเสนอเช่นนี้ย่อมเป็นข้อเสนอที่เรียกว่าเอาแต่ได้ เป็นข้อเสนอที่น่าชิงชังรังเกียจ เพราะผู้เสนอมองไม่เห็นหัวของผู้คนจำนวนมหาศาลที่รักสันติภาพเคารพความแตกต่างในระบอบประชาธิปไตย และต้องการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นตามวิถีทางของอารยะชนไม่ใช่วิถีทางของอันธพาล..."

  • ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 在 คอเป็นหนัง Youtube 的最佳貼文

    2019-02-24 08:00:00

    ***โดเนทเพื่อเป็นกำลังใจในการทำคลิปให้ผมได้นะครับขอบคุณมากคับ
    *ผ่าน True Wallet - 0881558463
    *ผ่าน พร้อมเพย์ - 0826694927
    *ผ่าน True Money - http://bit.ly/2mVhm5z
    *ผ่าน Paypal - https://goo.gl/sFbN5j
    -----------------------------------------------------------------------------------------------------

    เป็นการรีวิวสไตล์บ้านๆของคนชอบดูหนังคนนึงนะครับ ถ้ามีข้อมูลผิดพลาดหรือพูดอะไรไม่ถูกต้องไม่ถูกใจต้องขออภัยด้วยกันไวด้วยนะจ๊ะ. . ....

    ติดต่องานรีแอ็คชั่น+โฆษณษณาอื่นๆต่อติดต่อได้ทางเพจ https://www.facebook.com/KorPenNang/

    #คอเป็นหนัง #คอเป็นหนังรีวิว

  • ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 在 อันจัง Channel Youtube 的最佳解答

    2018-12-05 21:10:24

    ตามชุมชนของญี่ปุ่น จะมีเครื่องมือตามจุดต่างๆใช้งานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด หรือไฟไหม้ต่างๆ แต่ละปีจะต้องส่งตัวแทนบ้านละ 1-2 คนมาร่วมดูการสาธิตวิธีใช้เครื่องมือพวกนี้ค่ะ ชุมชนที่อันจังอยู่ จัดกิจกรรมนี้ปีละ 2 ครั้ง ค่ะ ไปดูกันว่าเค้ามีอะไรบ้าง

  • ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 在 ProGresS 89 Youtube 的精選貼文

    2016-06-28 08:44:49

    ROBLOX หนีตาย...ภัยพิบัติทางธรรมชาติ...ว๊ากกกก

    สวัสดีค่าวันนี้ก็มาพบกับเกรสอีกแล้วนะคะ วันนี้เราก็มาตะลุยด่านในเกมส์ROBLOXกันคะไปชมกันเลย

    อย่าลืมกดSUBSCRIBEติดตาม กดไลค์เป็นกำลังใจให้เกรสด้วยนะคะ

    ด่านที่เล่น : Natural Disaster Survival

    WEB : https://www.roblox.com/games/189707/Natural-Disaster-Survival

    Instagram : Progress89_gamer

你可能也想看看

搜尋相關網站