[爆卦]พระเชษฐา หมายถึง是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇พระเชษฐา หมายถึง鄉民發文沒有被收入到精華區:在พระเชษฐา หมายถึง這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 พระเชษฐา產品中有1篇Facebook貼文,粉絲數超過1萬的網紅นิชา ปาลวัฒน์วิไชย - แพร,也在其Facebook貼文中提到, ชาวไทยน้อมส่งเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สู่สวรรคาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร...

 同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過77萬的網紅SunitJo Travel,也在其Youtube影片中提到,หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ทรงมีหม่อมท่านหนึ่งคือ หม่อมทิพ หริอ หม่อมคำทิพย์ ในปี พ.ศ. 2447 มีบุตรชายหนึ่งคนคือ หม่อมราชวงศ์อ...

  • พระเชษฐา 在 นิชา ปาลวัฒน์วิไชย - แพร Facebook 的精選貼文

    2016-10-13 21:32:00
    有 89 人按讚


    ชาวไทยน้อมส่งเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สู่สวรรคาลัย

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยถึง 70 ปี โดยทรงเป็นที่รักและเทิดทูนของปวงชนชาวไทย ซึ่งพร้อมใจกันถวายพระสมัญญานามให้ทรงเป็นมหาราช

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ที่รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงได้รับการศึกษาที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อยังทรงพระเยาว์ และต่อมาทรงเข้าศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระเชษฐา เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 โดยได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นผู้ฟื้นฟูสถานะและความสำคัญของสถาบันกษัตริย์ ให้กลับมามีบทบาทนำในสังคมไทยอีกครั้ง ผ่านการเสด็จออกเยี่ยมเยียนประชาชนแม้ในถิ่นทุรกันดาร และทรงงานพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรผู้ยากไร้ โดยมีพระราชดำริจัดทำโครงการหลวงกว่า 4,000 โครงการ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและกองทัพ ทั้งยังทรงเป็นผู้วางแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นแนวคิดที่ต้านทานกระแสทุนนิยมยุคโลกาภิวัตน์

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นผู้คลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมืองของไทยหลายครั้ง ทั้งในเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายขวาและขบวนการนักศึกษาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งทรงโปรดให้พลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และพลตรีจำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มผู้ประท้วงรัฐบาลทหารเข้าเฝ้าและมีพระราชดำรัสต่อทั้งสองฝ่าย ซึ่งนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งของพลเอกสุจินดาในเวลาต่อมา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปิดรับคำวิจารณ์จากสาธารณชน โดยในพระราชดำรัสเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ได้มีพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้ แม้จะมีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อยู่ก็ตาม

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 จนในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เสด็จสวรรคต เมื่อเวลา 15.52 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษาปีที่ 89 ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี

  • พระเชษฐา 在 SunitJo Travel Youtube 的最佳貼文

    2014-08-26 15:10:28

    หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    ทรงมีหม่อมท่านหนึ่งคือ หม่อมทิพ หริอ หม่อมคำทิพย์ ในปี พ.ศ. 2447 มีบุตรชายหนึ่งคนคือ หม่อมราชวงศ์อำนวยพร แต่หม่อมทิพก็ถึงแก่กรรมในเวลาไม่นาน[1] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขอเจ้าศรีพรหมาให้อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ในปี พ.ศ. 2459 มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน คือ หม่อมราชวงศ์อนุพร และหม่อมราชวงศ์เพ็ญศรี
    เมื่อ พ.ศ. 2464 ทรงลาออกจากราชการ เพื่อทรงประกอบอาชีพเกษตรกรรม ณ บ้านบางเบิด อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หม่อมเจ้าสิทธิพร ได้ทรงบุกเบิกการเกษตรแผนใหม่ ณ ฟาร์มบางเบิด ทรงริเริ่มนำรถแทรกเตอร์มาใช้ในการเกษตรเป็นครั้งแรก ทรงเลี้ยงไก่พันธุ์เล็กฮอร์น สายพันธุ์ไข่ดก เป็นครั้งแรกที่บางเบิด ทรงสั่งพันธุ์แตงโมจากสหรัฐอเมริกา เพื่อปลูกจำหน่ายรู้จักกันทั่วไปในชื่อ แตงโมบางเบิด

    หม่อมเจ้าสิทธิพร ทรงริเริ่มทดลองปลูกยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย ซึ่งบ่มด้วยความร้อนจนเป็นผลสำเร็จ ณ สถานีทดลองเกษตรแม่โจ้ ซึ่งต่อมากลายเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรทางภาคเหนือ

    หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ร่วมก่อการกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช พระเชษฐา ในกบฏบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2476 ถูกตัดสินลงโทษจำคุกตลอดชีวิต คุมขังที่เรือนจำบางขวาง แล้วย้ายไปคุมขังที่ทัณฑนิคม เกาะตะรุเตา ก่อนย้ายมาเกาะเต่า ก่อนจะได้รับพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. 2487

你可能也想看看

搜尋相關網站