[爆卦]พระขนง是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇พระขนง鄉民發文沒有被收入到精華區:在พระขนง這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 พระขนง產品中有1篇Facebook貼文,粉絲數超過151萬的網紅เข็มทิศชีวิต ฐิตินาถ ณ พัทลุง,也在其Facebook貼文中提到, พระมงคลบพิตร พระพุทธรูปสำคัญแห่งพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อมงคลบพิตร องค์พระก่อด้วยอิฐ หุ้มสำริดแผ่น เป็นพระพุทธรูปประธานประจำวิหารพระมงคลบพิตร ต.ปร...

  • พระขนง 在 เข็มทิศชีวิต ฐิตินาถ ณ พัทลุง Facebook 的最讚貼文

    2020-02-03 10:30:01
    有 837 人按讚

    พระมงคลบพิตร พระพุทธรูปสำคัญแห่งพระนครศรีอยุธยา
    หลวงพ่อมงคลบพิตร องค์พระก่อด้วยอิฐ หุ้มสำริดแผ่น เป็นพระพุทธรูปประธานประจำวิหารพระมงคลบพิตร ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างอย่างแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าถูกสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้นช่วงรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หรือ สมัยสมเด็จพระไชยราชา ระหว่างปี พ.ศ. 1991 – 2145 พุทธลักษณะ พระพักตร์แบบอยุธยาตอนต้น พระขนง(คิ้ว)โค้ง ซึ่งเป็นศิลปะอิทธิพลสุโขทัย
    เดิมประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ในปี พ.ศ. 2146 พระเจ้าทรงธรรมได้โปรดเกล้าฯ ให้นำมาประดิษฐาน ณ สถานที่ปัจจุบัน และสร้างพระมณฑป(อาคารสี่เหลี่ยมจตุรัส) ยอดปราสาทครอบไว้
    ต่อมาในสมัยพระพุทธเจ้าเสือ ราว พ.ศ.2246 เกิดฟ้าผ่ายอดพระมณฑปไฟไหม้พังลงมาทำให้พระเศียรเกิดความเสียหาย ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้รื้อแล้วสร้างใหม่เป็นพระวิหาร แต่คงทำเครื่องยอดอย่างมณฑปของเดิม สมัยพระเจ้าบรมโกศโปรดเกล้า ฯ ให้รื้อยอดมณฑปเดิมเปลี่ยนเป็นพระวิหารมีโครงสร้างหลังคาเช่นในปัจจุบัน
    เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา พระวิหารพังลงมา ถูกพระเกตุมาลาและพระกรขวาขององค์พระหักชำรุด
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 คุณหญิงอมเรศร์สมบัติภรรยาของพระยาอมเรศร์สมบัติ (ต่วน ศุขะวะนิช) เจ้ากรมกองผลประโยชน์ พระคลังข้างที่ ซึ่งมีความศรัทธาในพระมงคลบพิตรเป็นอย่างมาก ได้ยื่นเรื่องขอบูรณะพระวิหารผ่านกรมศิลปากร แต่รัฐบาลไม่อนุญาตเนื่องจากต้องการออกแบบให้เป็นพระพุทธรูปกลางแจ้งเหมือนไดบุซึของญี่ปุ่น
    ในปี พ.ศ.2498 ฯพณฯ ท่านอู้นุ นายกรัฐมนตรีคนแรกของพม่าได้มอบเงิน 200,000 บาทเพื่อบูรณะวิหารมงคลบพิตร และในปี พ.ศ. 2499 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงมีการสร้างพระวิหารมงคลบพิตรตามแบบที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทรงออกแบบขึ้น โดยรัฐบาลไทยได้สมทบงบประมาณเพิ่มเข้าไปอีก 250,000 บาท
    ระหว่างการบูรณะองค์พระมงคลบพิตรในปี พ.ศ. 2500 กรมศิลปากรได้พบพระพุทธรูปบรรจุไว้ในพระอุระด้านขวาและพระพาหาด้านซ้าย ซึ่งแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่คือ
    พระพุทธรูปศิลปะล้านนา , พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย, พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง , พระพุทธรูปศิลปะอยุธยา
    พระพุทธรูปศิลปะอยุธยาสกุลช่างนครศรีธรรมราช (แบบขนมต้ม)
    นักวิชาการเชื่อกันว่าการรวบรวมพระพุทธรูปจากหัวเมืองต่างๆ ไว้ในพระพุทธรูปองค์เดียวกัน เป็นการแสดงถึงการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยมีความหมายว่าแต่นี้ไปหัวเมืองต่างๆ จะเป็นหนึ่งเดียวกับกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันพระพุทธรูปเหล่านั้นถูกเก็บกษาที่พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยาและจันทรเกษม
    ในการบูรณะองค์พระในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ใช้ปูนปั้นทาสีดำทั้งองค์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 สมเด็จพระญาณสังวรณ์ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เสด็จเป็นองค์ประธานหล่อทองพระมงคลบพิตรจำลอง แล้วทรงดำริให้หุ้มทองพระมงคลบพิตรองค์จริงทั้งองค์ด้วย
    พระมงคลบพิตรนับว่าเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญอีกองค์ของไทยซึ่งผู้คนเคารพสักการะมาช้านาน แม้ผ่านช่วงแห่งเหตุเภทภัยใดๆ ท้ายที่สุดก็ได้รับการบูรณะและยังคงความสง่างามมาจนถึงปัจจุบัน

    ที่มา talontiew , Wikipedia
    Cr.pic.FB

你可能也想看看

搜尋相關網站