[爆卦]ฝ่ายบริหาร ภาษาจีน是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ฝ่ายบริหาร ภาษาจีน鄉民發文沒有被收入到精華區:在ฝ่ายบริหาร ภาษาจีน這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ฝ่ายบริหาร產品中有63篇Facebook貼文,粉絲數超過1萬的網紅sittikorn saksang,也在其Facebook貼文中提到, “ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560” สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ฝ่ายนิติบัญญัติกั...

ฝ่ายบริหาร 在 Athichanan Srisevok Instagram 的最讚貼文

2021-03-14 09:15:28

วันที่ 12 มีนาคม 2564 โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร ได้รับบริจาคเครื่องควบคุมให้สารละลาย ชนิดควบคุมปริมาตร จำนวน 5 เครื่อง จาก คุณไอซ์ อธิชนัน ศรีเสวก คุณเร...

ฝ่ายบริหาร 在 Jennifer Kim Instagram 的最讚貼文

2021-01-06 13:29:21

ประกาศ!!!!! เรียนแขกผู้มีอุปการะคุณทุกท่าน เนื่องด้วยเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 ที่เกิดขึ้นในประเทศขณะนี้และพื้นที่จังหวัดชล...

ฝ่ายบริหาร 在 nuikessarin_dc Instagram 的精選貼文

2020-10-08 03:44:42

ได้รับเกียรติมาร่วมเป็นวิทยากรสัมมนาวิชาการ ในเรื่องบทบาทของพระสงฆ์กับการใช้เทคโนโลยีสื่อธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมในภาวะวิกฤตโควิด19 ในรายวิชาสัมมนาพระพุ...

  • ฝ่ายบริหาร 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文

    2021-09-28 20:12:37
    有 43 人按讚

    “ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560”

    สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

    ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารในระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีสาระที่สำคัญ ดังนี้

    1.ที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร

    1.1 ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)กับวุฒิสภา (ส.ว.)
    ส.ส.มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จำนวน 500 คนแบ่งเขต 350 คน บัญชีรายชื่อจำนวน 150 คน โดยใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวทั้งแบบแบ่งเขตกับแบบบัญชีรายชื่อ
    ส่วน ส.ว. มีที่มาอยู่ 2 ระยะ คือ ระยะ 5 แรก กับระยะ 5 ปีหลัง
    ในระยะ 5 ปีแรก ในบทเฉพาะกาลได้กำหนดไว้ในกรณี 5 ปีแรก ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้ง มาจากการแต่งตั้งของคสช.จำนวน 250 คน (ม.269 )
    ข้อสังเกต ส.ว. มีที่มาจากการแต่งตั้ง จากบุคคลกลุ่มต่างๆ 244 คน กับบุคคลที่ดำรงแหน่งผู้บัญชากองทัพกับตำรวจ 6 คน
    ข้อสังเกต ส.ว. มีอำนาจร่วมพิจารณานายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส. (ม.272)
    ในระยะ 5 ปีหลังมาจากจากการสรรหา (ม.107-113) จากกลุ่มบุคคลต่างๆ หลากหลายอาชีพ จำนวน 200 คน ทำหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายและมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้เช่นเดียวกับส.ส. แต่ไม่มีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี

    หมายเหตุ ปัจจุบันได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 83 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมา จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน
    การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยให้ใช้ บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบละ 1 ใบ คือ หนึ่งใบแบบแบ่งเขต เขตเดียวเบอร์เดียวกับ อีก 1 ใบ แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 รอทิ้ง ไว้ 15 วันและให้นายกฯส่งทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมภิไธย ตามมาตรา 81

    1.2 ฝ่ายบริหาร
    หัวหน้าฝ่ายบริหารต้องมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ คือ นายกรัฐมนตรีมาจากผู้ที่พรรคการเมืองเสนอชื่อ ซึ่งเป็น ส.ส.หรือไม่เป็น ส.ส.ก็ได้ แต่ต้องไม่เป็น ส.ว. (ม.88) (มาตรา 159) และเลือกรัฐมนตรี อื่นไม่เกิน 35 คน รวมเป็นคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน กล่าวคือ และรัฐบาลมาจากความไว้วางใจของ ส.ส.เริ่มต้นด้วยการให้ประชาชนเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อได้ ส.ส. ครบถ้วนแล้ว (ม.83-ม.106) สภาก็จะให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งฝ่ายบริหาร โดยมอบให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง (ม.158 - ม.159) เพื่อจัดตั้งฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรีหรือเรียกว่า “รัฐบาล”)
    ข้อสังเกต ที่ 1 ในระยะ 5 ปี แรก ส.ว. พิจารณาเลือก นายกรัฐมนตรี กับ ส.ส.
    ข้อสังเกต ที่ 2 ในกรณีสมัยแรกถ้าไม่สามารถหาได้นายกรัฐมนตรี อาจรัฐสภา (ส.ส. กับ ส.ว.) เสนอบุคคลที่ไม่ได้เสนอตาม ม.88 (ม.272)

    2.การถ่วงดุลอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร
    ในระบบรัฐสภาของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ได้กำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) มีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร (รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี) เนื่องจากฝ่ายบริหารมาจากความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ฝ่ายนิติบัญญัติจึงมีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้ เรียกว่า “อำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน” บนรากฐานของ “ความไว้วางใจของสภา” (Parliament’s confidence) ดังนี้
    1)ฝ่ายบริหารที่จัดตั้งขึ้นเสร็จแล้วต้องแถลงนโยบายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ (ม.162)
    2) การตั้งกลไกกรรมาธิการเพื่อตรวจสอบ กล่าว สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ หรือคณะกรรมาธิการร่วมกันตามมาตรา 137 เพื่อกระทำกิจการพิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใด ๆ และรายงานให้สภาทราบ (มาตรา 129)
    3) สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ (สมาชิกรัฐสภา) สามารถตั้งกระทู้ถาม (Question) ซึ่งอาจจะเป็นการตั้งกระทู้ถามสด หรืออาจจะเป็นการตั้งกระทู้ถามทั่วไปก็ได้(ม.150)ต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในปัญหาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินหรือปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
    4)การเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ (Vote of no Confidence) ทั้งคณะ(เป็นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี) หรือรัฐมนตรีรายบุคคล (ม.151) ซึ่งเป็นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบลงมติโดยสภาผู้แทนราษฎรกับเปิดอภิปรายไม่ไว้วางแบบไม่ลงมติ (ม.152)
    ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม้ไว้วางใจตามมาตรา 151 เป็นมาตรการขั้นเด็ดขาดขั้นสุดท้ายที่จะควบคุมฝ่ายบริหาร
    ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ถือ เป็นไม่ไว้วางใจทั่งคณะ ถ้านายกรัฐมนตรีก็ต้องพ้นทั้งคณะ
    ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบลงมติ จะต้อง ส.ส. เท่านั้น
    ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบไม่ลงมติ เป็น ส.ส. หรือ ส.ว. ก็ได้
    5) เมื่อกรณีฝ่ายบริหารออกพระราชกำหนด ภายใต้เงื่อนไข มาตรา 172 มาตรา 174 และเมื่อเข้าสู่สมัยประชุมการสภานิติบัญัติ (สมัยการตรากฎหมาย) ฝ่ายบริหารต้องนำพระราชกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติอนุมัติ
    6) ฝ่ายบริหารจะดำเนินการ เช่น ที่เกี่ยวกับสัญญาที่มีผลเกี่ยวอาณาเขตของรัฐ อำนาจอธิปไตยของรัฐ การประกาศสงคราม เป็นต้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ
    7) ฝ่ายบริหารก็มีอำนาจควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ ได้คือ การเสนอให้พระมหากษัตริย์ (ประมุขของรัฐ) ยุบสภาผู้แทนราษฎรให้มีการเลือกตั้งใหม่ (ม.103)
    ข้อสังเกต การยุบสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) ถือเป็นการถ่วงดุลของฝ่ายบริหารที่มีต่อฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ฝ่ายนิติบัญญัติกลัวที่สุด

    สรุป ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา ของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีประเด็นปัญหาที่ไม่เป็นระบอบประชาธิปไตย ใน 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ
    1.เรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่มีจารีตประเพณีที่ว่า นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงมาก คือ ได้จำนวน ส.ส. มากที่สุด สามารถจัดคั้งรัฐบาลและผู้ที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง แต่รัฐธรรมนูญ2560 นี้ได้ทำลายหลักการนี้ไปแล้ว คือ
    1.1 นายกฯมาจากผู้ที่พรรคการเมืองเสนอ 3 รายชื่อ เป็น ส.ส.หรือไม่ก็ตาม และไม่จำเป็นต้องเป็นพรรคการเมืองที่มี จำนนวน ส.ส. มาก เป็นผู้มีสิทธิ ขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองที่สามารถรวบรวม ส.ส.มากกว่ากัน และมิหนำซ้ำ ในกรณี 5 ปีแรกในบทเฉพาะกาลที่ให้มี ส.ว. ที่มาจากการแต่ตั้ง คสช. (องค์ชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้ง) สามารถเลือกนายกฯร่วมกับ ส.ส. ได้ ไม่จำเป็นต้องมีการรวบรวม ส.ส.มาก แต่ถ้ารวมกับ กับ ส.ว. อีก 250 คนได้ มากกว่า ก็เป็นนายกฯได้แล้ว ตัวอย่างเช่น
    ส.ส. 500 คน ได้เสียง ส.ส. 126 คน รวมกับ ส.ว.250 คน ก็สามารถเลือกนายกฯ ได้แล้ว ถือเป็นการทำลายหลักประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก ที่ว่า ผู้ปกครองที่บริหารประเทศต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจจากประชาชน ด้วยการเลือกตั้งที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ ในระบบประขาธิปไตยทางผู้แทน คือ เสียง ส.ส. ที่ประชาชนเลือกตั้ง
    1.2 ในกรณีที่ไม่สามารถหานายกฯได้ ในบทเฉพาะกาล กำหนดว่า ให้ รัฐสภา (ส.ส.กับ ส.ว.) เลือกบุคคลที่ไม่อนู่ในรายชื่อ 3 รายชื่อ ที่พรรคการเมืองเสนอให้ประชาชนเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกพรรคและเลือก ส.ส. ใช้บัตรใบเดียวกันทั้งประเทศ ดังนั้น นายกฯก็ต้องมาจาก บุคคลที่ พรรคการเมืองเสนอ จะให้เป็นบุคคลที่ไม่อยู่ในรายชื่อเสนอให้กัยประขาขนเลือก ถือ เป็นการทำลายหลักประชาธิปไตย ที่ว่า ระบอบการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
    2. ที่มาของ ส.ว. ในระยะ 5 ปี ที่มาจากการแต่งตั้ง จาก คสช.( องค์ชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้ง) โดยเฉพาะจากผู้นำเหล่าทัพ ถือ เป็นสืบทอดอำนาจเผด็จการ สืบทอดอำนาจที่มาจากการรัฐประหาร เพราะ คสช. ก็คือ กองทัพ ที่สนับสนุน รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร อีกส่วนหนึ่งก็มาจากข้าราชการทหาร ตำรวจ แบะบุคคลที่เป็นเครือข่ายของคณะรัฐประหาร ดังนั้นที่มา ส.ว. ในระยะ 5 ปี ไม่ได้มาจากประขาชนหรือตัวแทนประชาชนที่แท้จริง
    3. จากที่มาของนายกฯหัวหน้าฝ่ายบริหาร กับที่มา ส.ว. ที่เป็นพวกหรือกลุ่มเดียวกัน การตรวจสอบ หรือการถ่วงดุลฝ่ายบริหารของฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถทำได้เลย หรือทำได้ยากมาก วุฒิสภา คือ จึงเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารที่ทรงพลังเป็นอย่างมากถือ เป็นการใช้อำนาจที่ไม่ยึดโยงจากประชาชนตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยภายใต้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาที่นานาอารยประเทศใช้กันอยู่

  • ฝ่ายบริหาร 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文

    2021-05-29 09:44:25
    有 45 人按讚

    หลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of powers)

    ความมุ่งหมายแท้จริงของหลักการแบ่งแยกอำนาจจึงควรเป็นการกระจายหน้าที่ตามความสามารถเฉพาะด้านและดูแลให้เกิดการคานและดุลกัน (Check and Balance) เพื่อมิให้เกิดการใช้อำนาจโดยมิชอบกล่าวคือ
    1. อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ในการจัดทำกฎหมายถ้าเป็นระบบการปกครองแบบรัฐสภา ร่างกฎหมายส่วนใหญ่จะเสนอโดยรัฐบาล (ฝ่ายบริหาร) และรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) จะเป็นผู้พิจารณาต่อไปว่าจะรับหรือไม่ ถ้าเป็นระบบการปกครองแบบประธานาธิบดีการจัดทำกฎหมายเป็นการริเริ่มโดยรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) แต่การประกาศให้บังคับกฎหมายต้องให้ประธานาธิบดีลงนาม ซึ่งประธานาธิบดีอาจใช้สิทธิยับยั้ง ไม่ยอมลงนามให้ใช้เป็นกฎหมาย เว้นแต่รัฐสภาจะยืนยันโดยมติพิเศษจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกสภา เป็นต้น ดังนั้น จะต้องมีการตรากฎหมายปกครองโดยฝ่ายนิติบัญญัติขึ้นมามอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารใช้กฎหมายปกครอง
    2. อำนาจบริหาร อำนาจบริหารเป็นอำนาจของรัฐบาลฝ่ายบริหารการใช้อำนาจตามกฎหมาย 2 ลักษณะ คือ
    1) การใช้อำนาจบริหารกระทำในฐานะทางการเมืองโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญเป็นหลัก
    2) กระทำในฐานะฝ่ายปกครองโดยอาศัยอำนาจกฎหมายปกครองเป็นหลัก
    ซึ่งจะการกระทำดังกล่าวจะกระทำเกินขอบเขตของกฎหมายให้อำนาจไว้ไม่ได้ ดังนั้นการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองนั้นต้องมีกฎหมายให้อำนาจถึงจะกระทำได้และต้องกระทำภายในขอบเขตของกฎหมายให้อำนาจนั้นโดยต้องไม่เป็นการกระทำกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ดังนั้นกฎหมายปกครองจึงเป็นกฎหมายที่วางหลักอยู่บนพื้นฐานภายใต้หลักนิติรัฐที่กำหนดให้ฝ่ายปกครองต้องกระทำการใดๆต้องมีกฎหมายให้อำนาจและต้องกระทำอยู่บนหลักสมควรแก่เหตุ หลักความได้สัดส่วนและหลักความเสมอ
    3. อำนาจตุลาการ อำนาจตุลาการเป็นอำนาจที่ทุกคนเห็นตรงกันว่าต้องใช้โดยบุคคลที่มีความเป็นกลางและต้องมีความเป็นอิสระเพื่อค้ำประกันความเป็นกลางนั้นด้วย อำนาจวินิจฉัยคดี มอบหมายให้ศาล (ฝ่ายตุลาการ) เป็นผู้ใช้อำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีข้อพิพาทในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการใช้อำนาจทางนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร อ้างใน ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ “กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จีรัชการพิมพ์,2539) หน้า 339-342
    ดังนั้นอำนาจตุลาการมีอาจควบคุมการกระทำทางปกครองของฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองมิให้กระทำทางปกครองเกินขอบเขตของกฎหมายที่ให้อำนาจหรือภายในขอบเขตของกฎหมายแต่ก็ทำให้ประชาชนเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำทางปกครอง
    อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัตินั้นเป็นการยากที่จะแยกอำนาจอธิปไตยออกจากกันอย่างเด็ดขาด การจะพิจารณาว่าการกระทำขององค์กร 1 ใน 3 นี้ องค์กรใดขัดหรือฝ่าฝืนต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) หรือไม่เพียงใด จึงพิจารณาเพียงว่าการกระทำนั้นๆจะต้องไม่กระทบแก่นของหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่งอาจพิจารณาได้จากหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
    1. ดูจากเจตนาว่าการกระทำนั้นๆว่าจะต้องไม่มีเจตนาร้ายที่จะขัดขวางการใช้อำนาจขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง
    2. ดูจากผลของการกระทำนั้นๆว่าจะต้องไม่ส่งผลรุนแรงถึงขนาดที่ทำให้อำนาจอื่นไม่สามารถดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดได้
    3. ดูจากปริมาณของกรณีที่ถูกกระทบว่าจะต้องไม่ก้าวก่ายเข้าไปในอำนาจอื่นหลายครั้ง หากเป็นกรณีครั้ง 2 ครั้งและไม่เข้าข่าย ข้อ (1) และ (2) ก็อาจพออนุโลม
    (อ้างใน สิทธิกร ศักดิ์แสง “ศาลเป็นผู้สร้างหลักกฎหมายได้หรือไม่ในระบบกฎหมายไทย” วารสารกฎหมายใหม่ ปีที่ 5 ฉบับที่ 83 พฤษภาคม 2550 หน้า 52)

  • ฝ่ายบริหาร 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文

    2021-01-30 11:30:01
    有 1,846 人按讚

    เบอร์ลิน เมืองเศรษฐกิจซบเซา ที่ก้าวขึ้นมาเป็น ศูนย์กลางสตาร์ตอัป /โดย ลงทุนแมน
    เราอาจคุ้นเคยกับความคิดที่ว่า เมืองหลวงของประเทศ
    จะเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ

    แต่นั่นอาจไม่ใช่สำหรับประเทศเยอรมนี

    ศูนย์กลางการเงินและการบินของประเทศนี้ อยู่ที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต
    ศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ อยู่ที่เมืองมิวนิก ชตุทท์การ์ท และโวล์ฟสบวร์ก
    ส่วนเมืองฮัมบวร์กทางตอนเหนือ เป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุด และศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญ

    แต่กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของเยอรมนี
    กลับไม่โดดเด่นมากนักในแง่เศรษฐกิจ เมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ของประเทศ
    และยังพ่วงด้วยอัตราว่างงานที่เคยสูงถึงเกือบ 15%

    แต่นั่นกำลังจะกลายเป็นอดีต
    เพราะในวันนี้ เบอร์ลินคือเมืองที่กำลังคึกคักไปด้วยบริษัทสตาร์ตอัป
    เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทระดับโลกอย่าง Delivery Hero เจ้าของแอปดิลิเวอรี Foodpanda และ Zalando สตาร์ตอัปยูนิคอร์นตัวแรก ของเยอรมนี

    อะไรที่ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้ พลิกฟื้นจากเมืองที่เศรษฐกิจซบเซา
    จนก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางสตาร์ตอัปของยุโรป ได้สำเร็จ ?

    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    กรุงเบอร์ลิน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี
    เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วยจำนวนประชากรราว 3.7 ล้านคน
    และจัดเป็นรัฐหนึ่งในจำนวน 16 รัฐ ของประเทศเยอรมนี

    ครั้งหนึ่งในช่วงสงครามเย็น เบอร์ลินเคยถูกแบ่งออกเป็น 2 เมือง ใน 2 ประเทศ
    และถูกแบ่งแยกจากกันด้วยกำแพงเบอร์ลิน

    เบอร์ลินตะวันตก อยู่ในเยอรมนีตะวันตก มีเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี
    และเบอร์ลินตะวันออก อยู่ในเยอรมนีตะวันออก มีเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

    เมื่อเยอรมนีตะวันตก และเยอรมนีตะวันออกรวมกันเป็นประเทศเยอรมนีหนึ่งเดียวในปี 1990 เบอร์ลินก็กลับมารวมกันอีกครั้ง และได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของเยอรมนี

    ในช่วงแรกของการรวมเมือง ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อฟื้นฟูเบอร์ลินฝั่งตะวันออกที่เคยเป็นเขตคอมมิวนิสต์ ในขณะที่ประชาชนในฝั่งตะวันออก ต่างก็อพยพไปทำงานที่เมืองอื่นๆ ในเยอรมนีฝั่งตะวันตก ที่มีเศรษฐกิจดีกว่า เช่น แฟรงก์เฟิร์ต มิวนิก และชตุทท์การ์ท

    เนื่องจากเบอร์ลินไม่มีอุตสาหกรรมที่โดดเด่นเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ของเยอรมนี
    ประชากรวัยแรงงานของเบอร์ลินจึงอพยพออกจากเมืองไปหาชีวิตที่ดีกว่า
    คนที่ยังอยู่ก็ประสบปัญหาว่างงาน เมืองเต็มไปด้วยภาพของความซบเซา
    อัตราว่างงานของเบอร์ลินพุ่งสูงเกือบ 15%

    ท่ามกลางความสิ้นหวัง สิ่งเดียวที่ฝ่ายบริหารของรัฐเบอร์ลินมองเห็นก็คือ “ศิลปะ”

    เบอร์ลินเป็นเมืองเก่าแก่ ก่อตั้งมานานตั้งแต่ศตวรรษที่ 13
    ถึงแม้จะผ่านมรสุมมาหลายยุคหลายสมัย แต่ก็มีพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ โรงละคร
    และแกลเลอรีศิลปะมากมาย ศิลปะจึงกลายเป็นนโยบายหลักที่ใช้ส่งเสริมเศรษฐกิจในช่วงแรกของการรวมเมือง

    โดยมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปะหลากแขนง
    และที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ก็อย่างเช่น

    - Berlin International Film Festival งานนิทรรศการภาพยนตร์ที่จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1951
    ที่นำเสนอภาพยนตร์จากทุกภูมิภาคทั่วโลก จนกลายเป็น 1 ใน 3 งานเทศกาลภาพยนตร์ชั้นนำของโลก

    - 48 Stunden Neukölln งานศิลปะที่จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1999 โดยการเนรมิตย่าน Neukölln ซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยของผู้อพยพ ให้กลายเป็นพื้นที่ทดลองสำหรับงานศิลปะประเภทต่างๆ ภายในช่วงเวลา 48 ชั่วโมง

    งานเทศกาลศิลปะที่จัดขึ้น กลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดศิลปินจากทั่วเยอรมนีและทั่วโลก
    จนเบอร์ลินกลายเป็นสวรรค์ของศิลปะแทบทุกแขนง จนเรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางความฮิปสเตอร์ของยุโรป

    Klaus Wowereit อดีตผู้ว่าการแห่งรัฐเบอร์ลินในช่วงทศวรรษ 2000s
    เคยกล่าวคำขวัญเล่นๆ ให้กับกรุงเบอร์ลินว่า “Poor But Sexy”..

    เมื่อศิลปะเริ่มเบ่งบาน สิ่งที่ฝ่ายบริหารเริ่มมองหาก็คือ
    จะต่อยอดอย่างไรจากการเป็นเมืองแห่งความคิดสร้างสรรค์
    โดยเริ่มต้นคือการมองหาจากสิ่งที่โดดเด่นของเบอร์ลิน แล้วก็พบว่ามีจุดเด่นอยู่ 3 ประการ

    ประการที่ 1 ค่าครองชีพถูก

    ด้วยความที่เศรษฐกิจซบเซา เมืองแห่งนี้จึงมีแต่ผู้อพยพออก อาคารบ้านเรือน สำนักงานหลายแห่งจึงถูกทอดทิ้งเป็นจำนวนไม่น้อย กลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เบอร์ลินมีค่าเช่าถูกกว่าที่อื่น ค่าใช้จ่ายในหลายๆ ด้านของเบอร์ลิน ไปจนถึงค่าครองชีพจึงถูกกว่าเมืองอื่นๆ ในเยอรมนีฝั่งตะวันตกมาก

    ประการที่ 2 ทำเลที่ตั้งที่อยู่ใจกลางทวีปยุโรป

    เบอร์ลินมีเส้นทางขนส่งเชื่อมโยงกับหลายประเทศ และเชื่อมระหว่างยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะเมื่อประเทศในยุโรปตะวันออกเข้าร่วมสหภาพยุโรปในปี 2004 เบอร์ลินซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของสหภาพยุโรป จึงดึงดูดแรงงานผู้อพยพจากยุโรปตะวันออก เช่น โปแลนด์ เช็ก และ ฮังการี

    ประการที่ 3 ผู้คนเปิดกว้าง และเปิดรับวัฒนธรรมใหม่ๆ

    เมื่อเบอร์ลินก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางศิลปะทุกแขนง ก็ยิ่งดึงดูดศิลปิน นักคิด ไปจนถึงผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้มาใช้ชีวิตและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้กับเมืองแห่งนี้

    เมื่อมองเห็นจุดเด่น สิ่งที่ฝ่ายบริหารทำเป็นประการแรก คือ การดึงดูดผู้ประกอบการรุ่นใหม่เข้ามาเริ่มต้นธุรกิจในเมือง

    โดยเริ่มจากการดำเนินนโยบายแก้ไขทางกฎหมาย เพื่อดึงดูดผู้อพยพที่มีความสามารถ เช่น การผ่อนปรนข้อจำกัดของวีซ่าให้มีขั้นตอนที่สะดวกมากขึ้น ทั้งอายุของวีซ่า ไปจนถึงการขอวีซ่าระยะยาว

    การให้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยใช้ภาษาอังกฤษได้
    เพื่อเพิ่มความเป็นนานาชาติ และดึงดูดผู้ประกอบการจากประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาเยอรมัน

    ในขณะที่องค์กรภายในเมืองก็ได้ร่วมมือกับภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการหน้าใหม่อย่างเต็มที่ในทุกๆ ด้าน

    ทั้ง Investitionsbank Berlin ธนาคารเพื่อการพัฒนา ที่ก่อตั้งโดยรัฐเบอร์ลิน ที่คอยให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน และมอบเงินทุนให้กับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีแผนธุรกิจน่าสนใจ

    Berlin Partner องค์กรเอกชนที่ภาครัฐก่อตั้งขึ้นมา
    เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านนวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา และการตลาดแก่ผู้ประกอบการหน้าใหม่

    กระทรวงเศรษฐกิจและพลังงาน คอยให้ความช่วยเหลือด้านการทำตลาดกับต่างประเทศ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีให้พร้อมสำหรับธุรกิจยุคใหม่

    นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกันระหว่าง ฝ่ายบริหาร สถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชนชั้นนำ เช่น
    Technische Universität Berlin, บริษัท Siemens, Deutsche Telekom
    เพื่อพัฒนาพื้นที่อาคาร และสำนักงานที่ว่างเปล่าหลายแห่งในเมืองให้เป็น Co-Working Space และ Startup Incubator หรือศูนย์บ่มเพาะบริษัทสตาร์ตอัปในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ

    เมื่อปัจจัยทุกอย่างเอื้อให้เกิดการพัฒนา เบอร์ลินจึงค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นเมืองแห่งบริษัทสตาร์ตอัป และเริ่มมีบริษัทหน้าใหม่เกิดขึ้น ณ เมืองแห่งนี้ ในช่วงทศวรรษ 2000s-2010s
    ยกตัวอย่างเช่น

    - Rocket Internet ก่อตั้งในปี 2007
    บริษัทให้บริการด้านต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น บริการช่วยเหลือด้าน IT, บริการด้านการตลาดออนไลน์ และเป็น Venture Capital ที่คอยให้เงินทุนกับบริษัทสตาร์ตอัปเล็กๆ รายอื่น

    - Zalando ก่อตั้งในปี 2008
    สตาร์ตอัปที่ให้บริการด้าน E-Commerce ที่มีผู้ใช้บริการทั่วสหภาพยุโรป
    เป็นสตาร์ตอัปที่มีมูลค่ามากกว่า 30,000 ล้านบาท ภายใน 6 ปีหลังก่อตั้ง
    ซึ่งนับเป็นสตาร์ตอัปยูนิคอร์นตัวแรกของเยอรมนี
    โดยปัจจุบัน Zalando จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แฟรงก์เฟิร์ต

    - Delivery Hero ก่อตั้งในปี 2011 และ Foodpanda ก่อตั้งในปี 2012
    แพลตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์ที่ขยายจากในประเทศเยอรมนีไปทั่วโลก
    ซึ่งต่อมาในปี 2016 Foodpanda ก็กลายมาเป็นแพลตฟอร์มภายใต้บริษัท Delivery Hero

    เมื่อมีกิจการใหม่ๆ มากมาย GDP ต่อหัวของคนในเบอร์ลินก็ค่อยๆ สูงขึ้น
    จนตอนนี้ GDP ต่อหัวของผู้คนในรัฐเบอร์ลินอยู่ที่ปีละ 1.5 ล้านบาท
    สูงกว่าผู้คนในรัฐนอร์ทไรน์ เวสต์ฟาเลีย ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมเหล็ก และเคมีที่สำคัญของเยอรมนีฝั่งตะวันตกแล้ว

    ในขณะที่อัตราว่างงานของผู้คนในเบอร์ลินก็ลดต่ำลงเรื่อยๆ
    จากราว 15% ในช่วงปลายทศวรรษ 1990s หลังจากรวมประเทศ
    ค่อยๆ ลดลงจนเหลือ 8% เมื่อต้นปี 2020

    ทุกวันนี้ เบอร์ลินยังคงเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกให้เข้ามาริเริ่มธุรกิจใหม่ๆ
    และกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสตาร์ตอัปที่สำคัญทั้งของเยอรมนีและสหภาพยุโรป
    จนเคยมีคำกล่าวว่า ในทุกๆ 20 นาที เบอร์ลินจะมีบริษัทสตาร์ตอัปก่อตั้งขึ้นอย่างน้อย 1 แห่ง

    เรื่องราวของเบอร์ลินจึงเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
    ฝ่ายบริหารของเมืองสามารถพัฒนาจากเมืองที่เงียบเหงา
    ให้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งบริษัทสตาร์ตอัปที่คึกคัก

    โดยหัวใจสำคัญที่สุดบนเส้นทางพัฒนาของเมืองหลวงแห่งนี้
    คือการมองเห็นข้อดีของตัวเอง และร่วมมือกันเพื่อพัฒนาต่อยอดจากข้อดีเหล่านั้น

    แต่หากสังเกตให้ดีๆ แล้ว ข้อได้เปรียบของเบอร์ลินทั้ง 3 ประการ
    คือ ค่าครองชีพต่ำ ทำเลที่ดี และผู้คนที่เปิดกว้าง
    ก็ล้วนเป็นข้อได้เปรียบ ที่คล้ายคลึงกับเมืองหลวงของประเทศไทย ไม่น้อยเลยทีเดียว..
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - longtunman.com
    Blockdit - blockdit.com/longtunman
    Facebook - ลงทุนแมน
    Twitter - twitter.com/longtunman
    Instagram - instagram.com/longtunman
    Line - page.line.me/longtunman
    YouTube - youtube.com/longtunman
    Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
    Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
    Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
    References
    -https://www.uktech.news/news/berlin-becoming-europes-number-one-tech-hub-20180905
    -https://www.entrepreneur.com/article/317079
    -https://hexgn.com/moving-to-berlin-a-guide-for-entrepreneurs-and-startups/
    -https://www.berlin-partner.de/en/about-us/
    -https://www.ceicdata.com/en/germany/registered-unemployment-rate/registered-unemployment-rate-east-germany-berlin

你可能也想看看

搜尋相關網站