雖然這篇ผู้ป่วยวิกฤต คือ鄉民發文沒有被收入到精華區:在ผู้ป่วยวิกฤต คือ這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 ผู้ป่วยวิกฤต產品中有3篇Facebook貼文,粉絲數超過3萬的網紅ณัชชา พุฒ พร้อม เภา,也在其Facebook貼文中提到, ดูปากณัชชานะคะ‼‼ 📌 1 ทุ่มตรง วันนี้‼‼📌เปิดรับสมัครพร้อมกันทั่วโลก 👍English with Natcha กับโครงการ Chance รอบที่ 3 🥳🥳🥳🥳 เตรียมตัวให้พร้อมกับคอร์สเรี...
ผู้ป่วยวิกฤต 在 ณัชชาลูกสาวพี่บ๊อบ & ครอบครัว Instagram 的最讚貼文
2021-09-03 16:05:24
#เปิดรับสมัครโครงการ Chance รอบที่ 3 เตรียมตัวให้พร้อมนะคะกับคอร์สเรียนภาษาอังกฤษ "English with Natcha" เราจะเปิดรับสมัครพร้อมกัน 📌วันจันทร์ที่ 30 ...
ผู้ป่วยวิกฤต 在 ณัชชา พุฒ พร้อม เภา Facebook 的精選貼文
ดูปากณัชชานะคะ‼‼ 📌 1 ทุ่มตรง วันนี้‼‼📌เปิดรับสมัครพร้อมกันทั่วโลก
👍English with Natcha กับโครงการ Chance รอบที่ 3 🥳🥳🥳🥳
เตรียมตัวให้พร้อมกับคอร์สเรียนภาษาอังกฤษ "English with Natcha"
✅รอบนี้จะเปิดการเรียนการสอนวันเสาร์ที่ 23 ต.ค. 64 - วันเสาร์ที่ 13 พ.ย. 64
✅รายได้ทั้งหมดจากการเข้าร่วมโครงการจะนำไปบริจาคมูลนิธิ ร.พ.เด็ก ภายใต้โครงการ "Little Miracle ผู้ป่วยวิกฤต ICU (รวมไปถึงผู้ป่วยเด็กโควิด) ....ยังมีเด็กอีกมากที่รอความช่วยเหลือจากพวกเราค่ะ
ที่ผ่านมา ...โครงการ Chance รอบที่ 1 และ 2 ได้ทำการบริจาคให้กับมูลนิธิ ร.พ.เด็กไปทั้งสิ้น 110,000 บาทค่ะ (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
🙏🙏🙏🙏กราบขอบพระคุณคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนและเปิดโอกาสให้เด็กๆสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันที่แท้จริงค่ะ
สำหรับน้องๆที่พลาดโอกาสรอบที่ผ่านมา รอบนี้ห้ามพลาด‼‼
พี่ณัชชารอน้องๆทุกคนอยู่ค่า ❤️❤️
🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏
#EnglishWithNatcha
#ChanceThailand
#ดูปากณัชชานะคะ
📌📌Link ช่องทางการสมัคร📌📌
https://forms.gle/U61JFzWfXYdY8EAU9
ผู้ป่วยวิกฤต 在 Drama-addict Facebook 的最佳解答
ข่าวประชาสัมพันธ์ : รพ.พระมงกุฏเกล้าประกาศแนวทางการให้บริการของโรงพยาบาลในสถานการณ์โควิด 19
เนื่องด้วยในขณะนี้มีผู้ป่วยโควิด-19 รับการรักษาในโรงพยาบาลจำนวนมาก ทาง รพ.พระมงกุฎเกล้า ขอแจ้งการดำเนินการดังนี้
1.งดผ่าตัดล่วงหน้า (Elective case) และหัตถการที่ไม่จำเป็น ยกเว้นกรณีเร่งด่วน ฉุกเฉิน
2.ห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ให้บริการเฉพาะ ผู้ป่วยวิกฤต ฉุกเฉิน หรือเร่งด่วน
3.ลดการให้บริการผู้ป่วยนอก (OPD) โดยงดรับผู้ป่วยใหม่ ผู้ป่วยส่งต่อ และผู้ป่วยเดิมที่ไม่ได้นัด ยกเว้นผู้ป่วยวิกฤต ฉุกเฉิน หรือเร่งด่วน
4.ผู้ป่วยอาการคงที่ ติดต่อขอรับยาทางไปรษณีย์ได้ทาง https://bit.ly/pmkdlv หรือ QR code
รพ.พระมงกุฎเกล้า ขออภัยในความไม่สะดวก ณ โอกาสนี้ (18/7/64)
ผู้ป่วยวิกฤต 在 Facebook 的最佳貼文
"รู้จักกับคุณแม่บ้านและประสบการณ์ศึกษาต่อและทำงานของสายอาชีพพยาบาลในเยอรมนี"
มาๆ วันนี้พ่อบ้านจะขอนำคุณไปรู้จักคุณแม่บ้านให้มากขึ้นกัน!! 💕ว่าแล้วไปลุยกันน๊า~
สวัสดีค่ะชื่ออลิสนะคะ หรือบางคนอาจจะเรียกติดปากว่าคุณแม่บ้าน 😆
ปัจจุบันทำอาชีพเป็นพยาบาลห้องฉุกเฉินที่เยอรมนี และมีโอกาสได้ทำหน้าที่ล่ามภาษาไทยให้ทีมแพทย์เยอรมันเวลาไปสอนที่เมืองไทยด้วยค่ะ 😊
วันนี้มีโอกาสเลยอยากมาทำความรู้จักและแชร์ประสบการณ์การเรียนสายอาชีพในสาขาพยาบาลเพื่อเป็นแรงบันดาลใจ และกำลังใจให้สำหรับคนที่กำลังศึกษาต่อในด้านนี้ที่เยอรมันค่ะ
โดยในสมัยก่อนนั้นตอนที่อลิสมานั้น ได้ทำการสมัครโดยใช้ผลสอบด้านภาษาในระดับ C1 แต่ในปัจจุบันในหลายๆที่ ได้มีการปรับเงื่อนไขลงจนเหลือระดับ B2
และนอกจากนี้คนที่จบพยาบาลจากไทยยังสามารถทำเรื่องเทียบวุฒิได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องไปเรียนหรือฝึกงานเพิ่มเติมค่ะ โดยขึ้นอยู่กับประสบการณ์และรัฐที่เราทำการเทียบวุฒิด้วย
โดยปกติโรงพยาบาลขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ของเยอรมัน ก็จะมีวิทยาลัยสอนพยาบาลในรพ.นั้นๆเลยค่ะ เรียกได้ว่าเรียนจบมาก็ทำงานต่อกันได้เลยไม่ต้องออกไปหางานให้เหนื่อย รพ.ที่อลิสเรียนและได้มีโอกาสทำงานมากว่า 10 ปี มีประมาณ1,000 เตียงค่ะ ซึ่งก็ถือว่าเป็นรพ.ที่ใหญ่ระดับนึงเลย (คนไข้ก็เยอะตามไปด้วยค่ะ 😅)
เรียนยากมั้ย? และเรียนกี่ปี?
สำหรับหลักสูตรพยาบาลที่เยอรมันจะทำการเรียนเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยเป็นรูปแบบการเรียนทฤษฎี และปฏิบัติควบคู่กันไป คือเข้าคลาสเรียน อาจจะ3-4เดือน และต่อด้วยเข้าฝึกงานอีก2-3เดือน เรียนแบบนี้ไปพร้อมๆกัน เรื่อยๆจนจบค่ะ
ซึ่งอลิสเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ดีงามมากกกก มันคือการได้ทำงานพยาบาลจริงๆ ขึ้นวอร์ดจริง คนไข้จริง เคสฉุกเฉินจริง CPRจริง มันทำให้เราสนุกกับการเรียนมาก และการได้เข้าปฏิบัติงาน มันทำให้เราเข้าใจในสิ่งที่เราเพิ่งเรียนไปในทางทฤษฎี และยังได้รู้จักการทำงานของแต่ละแผนก เช่นแผนกผิวหนัง, ศัลยกรรม, หูคอจมูก, ห้องผ่าตัด, ห้องฉุกเฉิน, ผู้ป่วยวิกฤต, ห้องคลอด ฯ (รวมถึงเข้าห้องชันสูตรศพด้วย อันนี้คือไม่บังคับ
"ถามว่าอลิสได้เข้าไปมั้ย? เข้าค่ะ!"
ผ่านไปสิบกว่าปีแล้วยังไม่ลืมภาพคุณยายอาจารย์ใหญ่ท่านนั้นเลย) คือเวียนไปจบครบทุกแผนก ซึ่งมันมีผลให้เราได้ค้นพบตัวตนตั้งแต่ตอนเรียนเลย พอจบมาก็เป็นเหมือนตัวช่วย ให้รู้ว่าเราชอบด้านไหน และเลือกที่จะทำงานแผนกใด ซึ่งผู้ที่สอบจบได้คะแนนสูงจะเป็นผู้ที่มีสิทธิเลือกก่อน ก่อนจบอาจารย์จะให้ทำการแจ้งไว้3แผนกที่อยากไปทำมากที่สุด ส่วนอลิสสอบได้ที่3ค่ะ (แอบเกินคาด)
และมีเมนเทอร์จากแผนกที่เลือกไว้ทั้ง 3 แผนกเขียนจดหมายถึง Chief Nursing Officer ว่าอยากได้เราไปทำงานด้วยค่ะ ทั้งปลื้มใจทั้งเครียด เลือกไม่ถูกว่าจะไปทำงานที่ไหนดี คิดอยู่หลายคืนจนในที่สุดก็เลือกแผนกฉุกเฉินค่ะ เพราะคิดว่ามันเป็นงานที่ท้าทาย และเราจะได้เรียนรู้อะไรๆอีกมากมาย และที่สำคัญเวรดึกจะไม่ต้องอยู่คนเดียวค่ะ! (สมัยก่อนกลัวผี😂😂)
อ้อ และต้องไปฝึกงานและเรียนรู้เรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ เช่นต้องไปเรียนรู้ระบบประกันสังคมในบริษัทประกัน ไปโรงพยาบาลจิตเวช รวมทั้งสถานบำบัดคนติดยาด้วย และเมื่อมีโอกาสไปทำงานทุกแผนกแล้ว
คุณก็จะต้องสอบ!! วัดใจกันเลยล่ะค่ะ
สอบปฏิบัติ : จากที่คุณได้ไปทำงานหรือฝึกงานในทุกแผนกแล้ว ดังนั้นคุณพอรู้แล้วใช่มั้ยว่าแผนกไหนที่คุณชอบที่สุด และอยากไปประจำอยู่แผนกไหน ดังนั้น คุณจะต้องทำการเลือกแผนกที่คุณถนัดที่สุดเป็นแผนกในการสอบปฏิบัติ ซึ่งแต่ละแผนกนั้นก็จะมีวิธีในการสอบแตกต่างกันอย่างชัดเจน
สอบปากเปล่า : คุณจะต้องเดินเข้าไปจับฉลากเรื่องที่คุณจะต้องสอบแล้วพูดตรงนั้นเลยทันที มีผู้คุมสอบ3ท่าน อาจารย์ของเรา 2 ท่านและคุณหมอ1ท่าน อลิสจับฉลากได้เรื่องของ "โรคปอด" คุณก็ต้องพูดความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นให้มากที่สุด ทั้งAnatomy และโรคต่างๆ และที่สำคัญคือห้ามหยุด เป็นเวลาอย่างน้อย 25-30 นาที! (ถ้าหยุดหรือพูดผิดจะโดนถามเจาะลึกทันที ดิฉันต้องขอบอกว่าวันนี้ล่ะ ที่พูดภาษาเยอรมันไฟแล่บมากที่สุดในชีวิต😅)
สอบข้อเขียน : คือว่ายากกกกที่สุด คือคุณจะต้องไปสอบภาคทฤษฏีที่สุดแสนหฤโหด ที่รวบรวมทุกอย่างที่คุณเรียนมา โดยจะทำการสอบที่ใช้ข้อสอบเดียวกันพร้อมกันทั้งรัฐ โดยสภาพยาบาลกลางประจำรัฐจะเป็นผู้ตรวจข้อสอบและออกข้อสอบ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการโกงเกิดขึ้นโดยเด็ดขาด คืออลิสกลัวมาก เนื่องด้วย ณ ตอนนั้นภาษาเยอรมันก็ไม่ได้เป๊ะเท่าไหร่ ไม่รู้เขียนไปยังไงได้10หน้ากระดาษ A4 แม่งงตัวเองมากค่ะ ไม่มีหรอกนะคะสุ่มกากบาทวัดใจเหมือนตอนเด็กๆ😂
เท่าที่สัมผัสและสอบถามมา น้อยนักที่จะสอบผ่านกันทั้งห้อง เพราะด้วยความยากสุดๆของการสอบนี่เองค่ะ
และการเรียนพยาบาลที่นี่ มีรายได้ระหว่างเรียนด้วย!
การทำ Ausbildung ที่เยอรมันนั้นส่วนใหญ่จะมีรายได้ระหว่างเรียนและอาชีพพยาบาลก็เช่นกันโดยขออ้างอิงจาก Website Ausbildung.de โดยค่าเฉลี่ยคือในปัจจุบันคือ
ปีแรกได้เดือนละ = 1,040 Euro (39,520 บาท)
ปีที่สองได้เดือนละ = 1,100 Euro (41,800 บาท)
ปีที่สามได้เดือนละ = 1,200 Euro (45,600 บาท)
ข้อดีคือเมื่อคุณจบพยาบาลของเยอรมนีนั้นคุณสามารถจะไปทำงานได้หลากหลายประเทศมากค่ะเพื่อนหลายคนย้ายไปทำงานที่สวิส หรือประเทศอื่นๆ มากมาย และโอกาสในการตกงานของอาชีพนี้นั้นเรียกได้ว่าแทบจะเป็นศูนย์เลยทีเดียว(ถ้าคุณไม่ได้ไปทำผิดอะไรร้ายแรงนะ😅)
แต่ก็ต้องบอกว่าอาชีพนี้ ในบางแผนกจะเครียดมาก อย่างอลิสที่ทำในแผนกฉุกเฉิน ซึ่งทุกนาทีหมายถึงชีวิตคนไข้กันเลยทีเดียว คือแม้จะรู้ตั้งแต่ต้นแล้วว่าจะต้องเครียดและทำงานแข่งกับเวลา
สำหรับแนวทางการต่อยอดของสายอาชีพนี้นั้นถ้าคุณยังไม่หมดไฟ ยังสามารถต่อสายเฉพาะทางเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษในด้านต่างๆ หรือว่านำไปเทียบและสามารถเปลี่ยนไปเรียนอาชีพอื่นๆ ในสายการแพทย์ได้อีกด้วย (การเทียบนั้นจะได้มากหรือน้อยมีหลายปัจจัยเลยค่ะ)
เรื่องของการลาพักร้อน และพักผ่อนที่นี่คือดีมาก เวลาหยุดบินกลับไทยทีก็ไปเลย6 -7อาทิตย์ จนเพื่อนๆที่ไทยคิดว่าอีนี่โดนไล่ออกไปแล้ว😅 แต่ด้วยกฏหมายที่ระบุไว้ บวกกับการได้หยุดพิเศษเพิ่มเติมจากการเข้าเวรดึก เราก็จะสะสมเอาไว้ได้ค่ะ
และตอนนี้มีลูกชายตัวน้อยๆ ชื่อน้องคริส ตอนนี้ 1 ขวบแล้วค่ะ อลิสเลือกลา 2 ปีอยู่ดูแลลูกที่บ้านค่ะ โดยก็ยังได้เงินสนับสนุนจากทางรัฐ
ส่งท้าย!! ตอนที่เรียนท้อบ่อยมากค่ะ เพราะด้วยความที่เกิดที่ประเทศไทยและใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศไทยมาระยะนึง ก่อนจะย้ายตามครอบครัวมาอยู่ที่นี่ตอนประมาณ16 ปี
ภาษาเยอรมันก็ไม่เป๊ะ มาถึงก็เข้าคอร์สภาษาไปเลยเกือบ 1 ปีเต็ม ดังนั้นเวลาที่เรียนในสมัยก่อน Dictionary คือสิ่งที่ต้องพกติดตัวอยู่ตลอดเวลา และคืออัดเสียงอาจารย์กลับไปฟังที่บ้านอีกรอบนึง!! (อาจารย์อนุญาต) วิชายากๆ หรือวิชาที่อาจารย์พูดเร็วๆนี่เครียดมาก
ซึ่งปัจจุบันแม้จะผ่านมาสิบกว่าปีแล้ว ก็ยังได้ฟังมาจากรุ่นน้องแทบทุกรุ่นที่เข้ามาฝึกงานกับเรา บอกว่า "อ้อออ.. พี่นี่เองที่อาจารย์เล่าให้ฟัง! " คืออาจารย์เอาเคสของเราไปบอกต่อรุ่นน้องถัดๆไป ถึงการนั่งเรียนไปเปิดดิคไป แต่ก็ยังผ่านมาได้ถึงทุกวันนี้!
"เพราะเชื่อว่าถ้าทุกคนมีความฝันและตั้งใจ อยากจะทำอะไรก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน ดังนั้นขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนนะคะ"
#ทีมพยาบาล #พ่อบ้านเยอรมัน #เยอรมัน #เยอรมนี #Germany #German